ก่อนบ่าย เดอะ มูฟวี่ ตอน : รักนะ…พ่อต๊ะติ๊งโหน่ง

ก่อนบ่าย เดอะ มูฟวี่ ตอน : รักนะ...พ่อต๊ะติ๊งโหน่ง (2550/2007) กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ ท่ามกลางไอหมอกในอ้อมอกขุนเขาเขียวชะอุ่มเหนือสุดแดนสยาม ยังมีสามหนุ่ม เด๋อทูบี (ที่ไม่ใช่ดีทูบี) นามว่า ทีป้อ (ศุภณัฐ เฉลิมชัยเจริญกิจ) หล่อซา (ชูเกียรติ เอี่ยมสุข) หม่าจู (สมชาติ ทรงกลด) เป็นขวัญใจของคนในหมู่บ้าน และแล้วกามเทพก็หลบร้อนขึ้นดอยไปแผลงศรไปปักอกทั้งสามเด๋อ เมื่อได้เจอะกับสามสาวเมืองกรุง หนึ่งในนั้นคือ แอนนี่ (อเล็กซานดร้า สติเบิร์ท) ทีป้อถึงกับอุทานเรียกชื่อเธอว่า คุงด่อม้า สวยจาง (แปลให้ คุณดอกไม้สวยจัง) แถวบ้านเรียกว่าตกหลุมรักแบบจังเบอร์ และอุบัติเหตุรักต่าง ๆ ก็พาให้ทีป้อคิดไปไกล หารู้ไม่ว่าตัวเองรักเขาข้างเดียว ฮือ ๆ แต่ช่วงเวลาความสุขช่างแสนสั้น แอนนี่ต้องกลับกรุงเทพไปพร้อมความเข้าใจผิดบางอย่าง ทีป้อและแก๊งสามเด๋อจึงต้องลงดอยเข้าสู่เมืองกรุง เพื่อปฏิบัติการภารกิจที่มีชื่อว่า ตามหาดอกไม้ใจดอย ยังไงละทีนี้ เมืองกรุงออกจะกว้างใหญ่ สามเด๋อเลยเซ่อซ่าไปเจอเรื่องราวอลวนและผู้คนมากมาย ทั้งหมู่บ้านประหลาดที่มีแต่ผู้คนเพี้ยน ๆ กะเทยร่างใหญ่ใจนักเลง คนหน้าเหลี่ยมที่สั่งอาหารชื่อแปลก ๆ แถมยังต้องขี่รถไฟฟ้าถูกตามล่าทั่วเมืองอีกต่างหาก พอได้เจอคุณดอกไม้สมใจก็อกหักดังเป๊าะ เพราะสาวเจ้าดันมี ภคิณ (ตระการ พันธุมเลิศรุจี) เป็นเจ้าของแล้ว ซึ่งภคิณกำลังคิดร้ายกับคุณดอกไม้อยู่ งานเข้าแล้วสิ งานนี้ทีป้อกับแก็งสามเด๋อจะสามารถปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จหรือไม่

คู่แรด (2550)

คู่แรด (2550/2007) เซกิ นายตำรวจญี่ปุ่นเดินทางสืบหาฆาตกรโหด ซึ่งสังหารเหยื่อเป็นจำนวนมากในประเทศไทย ฆาตกรรายนี้จะตามล่าเฉพาะกะเทยเท่านั้น โดยมีพยานที่สามารถชี้ตัวฆาตกรผู้นี้ได้คือ ลิลลี่ (แสดงโดยหม่ำ จ๊กมก) และหนึ่งในผู้ที่ถูกฆาตกรรายนี้ฆ่าก็คือ แองจี้ (สมเกียรติ จันทร์พราหมณ์) ซึ่งเป็นเพื่อนรักของลิลลี่ ลิลลี่สามารถใช้เส้นสายจากที่บ้าน ไปเข้าทำงานในคลับคาบาเร่ต์แห่งหนึ่งได้ โดยเซกิทำหน้าที่ปกป้องเธอ แต่เมื่อเกิดการไล่ล่าขึ้นในแหล่งซ่อนตัวของเธอ เซกิเริ่มตระหนักได้ว่าลิลลี่ไม่ได้อ่อนแออย่างกะเทยทั่วไป ลิลลี่สามารถเตะ ต่อย และหลบเลี่ยงจากการถูกรุมได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว ต่อมาลิลลี่ตัดสินใจกลับไปหากลุ่มเพื่อนฝูงเหมือนเดิม แล้วเซกิกับลิลลี่ก็มีเหตุให้ไปรู้ว่า มีการแอบลอบวางระเบิดอยู่ใต้เวทีการแสดงในงานประกวดกะเทยประจำปี ในที่ทำงานของเธอ และเป็นวันที่ฆาตกรโหดกำลังจะกระทำการล่าเหยื่อรายต่อไป

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ (2550/2007) พ.ศ. 2114 “สมเด็จพระมหาธรรมราชา” ซึ่งพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อจากพระมหินทราธิราชได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นอุปราชครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองสวรรคตในปี พ.ศ. 2124 “พระเจ้านันทบุเรง” ขึ้นเสวยราชย์สืบแทน และสถาปนาพระโอรส “มังสามเกียด” ขึ้นเป็น “พระมหาอุปราชา” รัชทายาท ในการนี้เจ้าเมืองประเทศราชทั้งหลายต้องมาร่วมแสดงความสวามิภักดิ์ รวมถึงพระมหาธรรมราชาและสมเด็จพระนเรศวรด้วย ในขณะที่เจ้าฟ้าเมืองคังไม่ได้เสด็จมาร่วมพระราชพิธีสำคัญครั้งนี้ เป็นเหตุให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงทรงมอบหมายให้พระมหาอุปราชา, พระราชนัดดา “นัดจินหน่อง” พระโอรสเจ้าเมืองตองอู, และสมเด็จพระนเรศวรช่วยกันเข้าตีเมืองคัง แต่พระมหาอุปราชากลับสั่งให้สมเด็จพระนเรศวรเข้าตีเป็นทัพสุดท้าย ด้วยความมั่นใจว่าทัพของพระองค์และนัดจินหน่องจะประสบความสำเร็จ แต่ปรากฏว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงมีชัยชนะในศึกเมืองคังนี้ สามารถจับตัวเจ้าฟ้าเมืองคังและพระธิดา “เลอขิ่น” กลับมาได้ รัชทายาทหงสาวดีและราชนิกูลฝ่ายพม่าซึ่งเป็นคู่ปรับกันมาตั้งแต่เยาว์วัยจึงขุ่นเคืองอาฆาตสมเด็จพระนเรศวรเป็นทวีคูณ ต่อมาเมื่อเกิดศึกอังวะ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงให้สมเด็จพระนเรศวรนำทัพมาช่วยรบ แต่พระมหาอุปราชากลับใช้โอกาสนี้วางแผนลอบปลงพระชนม์ ในขณะที่สมเด็จพระนเรศวรทรงยั้งทัพอยู่ ณ เมืองแครง แต่ข่าวการลอบปลงพระชนม์ได้ล่วงรู้ถึงสมเด็จพระนเรศวรผ่านทางพระมหาเถรคันฉ่อง สมเด็จพระนเรศวรจึงถือเหตุการลอบปลงพระชนม์ในการประกาศอิสรภาพตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดี และกวาดต้อนชาวไทยชาวมอญกลับคืนพระนคร ฝ่ายหงสาวดีเมื่อทราบว่าการลอบปลงพระชนม์ไม่สำเร็จจึงให้นายทัพสุระกำมาเร่งนำทัพออกติดตามทัพของสมเด็จพระนเรศวร ในที่สุดก็ทัพหงสาวดีก็ตามมาถึงในขณะที่สมเด็จพระนเรศวรและไพร่พลกำลังข้ามแม่น้ำ และศึกครั้งนี้สมเด็จพระนเศวรทรงใช้พระแสงปืนต้นยิงข้ามแม่น้ำสะโตงถูกแม่ทัพสุระกำมาตายบนคอช้าง ทัพพม่าจึงล่าถอยกลับไป

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา (2550/2007) พุทธศักราช 2106 “พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง” ทรงกรีฑาทัพเข้าตีราชอาณาจักรอยุธยาทางด่านระแหงแขวงเมืองตาก ทัพพม่ารามัญซึ่งมีรี้พลเหลือคณานับได้เข้ายึดครองหัวเมืองฝ่ายเหนือของราชอาณาจักรอยุธยาอันมีเมืองพิษณุโลกเป็นประหนึ่งเมืองราชธานีได้เป็นผลสำเร็จ ครั้งนั้น “สมเด็จพระมหาธรรมราชา” (ฉัตรชัย เปล่งพานิช) พระราชบิดาของ “สมเด็จพระนเรศวร” หรือ “พระองค์ดำ” (ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์) ซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินครองเมืองพิษณุโลกจำต้องยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนองเพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตอาณาประชาราษฎร์มิให้ต้องมีภยันตรายและจำต้องยอมร่วมกระบวนทัพพม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยา ศึกครั้งนั้นสมเด็จพระมหา จักรพรรดิเจ้าแผ่นดินอยุธยาทรงยอมเจรจาหย่าศึกกับพม่ารามัญ และยอมถวายช้างเผือก 4 เชือก ทั้งให้สมเด็จพระราเมศวรราชโอรสโดยเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปประทับยังนครหงสาวดีตามพระประสงค์ของกษัตริย์พม่า ข้างสมเด็จพระมหาธรรมราชาซึ่งได้ยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนองก็ได้ถวายสมเด็จพระนเรศวรราชโอรสองค์โตให้ไปเป็นองค์ประกันประทับยังหงสาประเทศเฉกเช่นกัน ครั้งนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้เพียง 9 ชันษา สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นที่รักใคร่ของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองประดุจพระราชบุตรร่วมสายสันตติวงศ์ ด้วยองค์ยุพราชอยุธยาทรงมีพระปรีชาสามารถด้านพิชัยยุทธ ทั้งยังองอาจกล้าหาญสบพระทัยกษัตริย์พม่าซึ่งก็ทรงเป็นนักการทหาร นิยมผู้มีคุณสมบัติเป็นนักรบเยี่ยงพระองค์ พระเจ้าบุเรงนองทรงมีสายพระเนตรยาวไกล แลเห็นว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะได้ขึ้นเป็นใหญ่ในอุษาคเนย์ประเทศ จึงทรงคิดใคร่ปลูกฝังให้สมเด็จพระนเรศวรผูกพระทัยรักแผ่นดินหงสา เพื่อจะได้อาศัยพระองค์เป็นผู้สืบอำนาจอุปถัมภ์ค้ำชูราชอาณาจักรซึ่งพระองค์ทรงสถาปนาขึ้นด้วยความยากลำบาก เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระเจ้าบุเรงนองนั้นหาได้วางพระทัยในพระราชโอรสคือ “มังเอิน – พระเจ้านันทบุเรง” (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์) และพระราชนัดดา “มังสามเกียด” (โชติ บัวสุวรรณ) นัก ถึงแม้ทั้งสองพระองค์จะทรงเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขโดยตรง ด้วยทรงเล็งเห็นว่าราชนิกุลทั้งสองพระองค์นั้นหาได้เป็นผู้ทรงคุณธรรมอันจะน้อมนำเป็นพื้นฐานให้เติบใหญ่เป็นบูรพกษัตริย์ ปกป้องครองแผ่นดินที่พระองค์ทรงสร้างและทำนุบำรุงมาด้วยกำลังสติปัญญาและความรักใคร่หวงแหน เหตุทั้งนี้เป็นชนวนให้พระเจ้านันทบุเรงและราชโอรสมังสามเกียดขัดพระทัย ทั้งผูกจิตริษยาสมเด็จพระนเรศวรซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองกว่าราชนิกุลข้างพม่าทั้งหลายทั้งสิ้น พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดให้ “พระมหาเถรคันฉ่อง” (สรพงษ์ ชาตรี) พระรามัญผู้มากด้วยวิทยาคุณและเจนจบในตำราพิชัยสงครามเป็นพระอาจารย์ถ่ายทอดศิลปะวิทยาการแก่สมเด็จพระนเรศวร นับแต่เริ่มเข้าประทับในหงสานครยังผลให้ยุพราชอยุธยาเชี่ยวชาญการยุทธ กลช้าง กลม้า กลศึก ทั้งข้างอยุธยาและข้างพม่ารามัญหาผู้เสมอเหมือนมิได้ ข้อได้เปรียบตามกล่าวเป็นเสมือนทุนทางปัญญาอันส่งผลให้สมเด็จพระนเรศวรสามารถกอบกู้เอกราช แก้ทางศึกจนมีชัยเหนือพม่ารามัญในภายภาคหน้า พุทธศักราช 2112 ปรากฏข่าวระบือไปถึงหงสาวดีว่าหัวเมืองพิษณุโลกฝ่ายเหนือแลกรุงศรีอยุธยาราชธานีฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรสยามครั้งนั้นเกิดขัดแย้งปีนเกลียวกัน เหตุเนื่องมาจาก “สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ” (ศรัณยู วงศ์กระจ่าง) เจ้าแผ่นดินอยุธยาเสด็จออกผนวช แลสถาปนา “สมเด็จพระมหินทร์” (สันติสุข พรหมศิริ) ราชโอรสองค์รองขึ้นเสวยราชสมบัติสืบแทน สมเด็จพระมหินทร์ทรงคลางแคลงพระทัยในความจงรักภักดีของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแต่ครั้งสงครามชิงช้างเผือกในปีพุทธศักราช 2106 ขณะที่เจ้าแผ่นดินพิษณุโลกก็หาได้ยำเกรงสมเด็จพระมหินทร์เช่นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อเห็นการใดมิควรก็บังคับบัญชาให้สมเด็จพระมหินทร์ปฏิบัติตามพระประสงค์จนเป็นที่ขุ่นเคืองพระราชหฤทัยกษัตริย์อยุธยาพระองค์ใหม่ถึงกับหันไปสมคบกับ “สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช” (รอน บรรจงสร้าง) พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวร่วมกันแต่งกลเข้าตีเมืองพิษณุโลก แต่กระทำการมิสำเร็จพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเห็นเชิงสบโอกาสก็ยกทัพใหญ่เข้าตีกรุงศรีอยุธยาอีกคำรบ ครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรร่วมโดยเสด็จมากับทัพหงสาแต่หาได้ตามพระเจ้าบุเรงนองลงมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ทรงประทับอยู่เพียงเมืองพิษณุโลก มีเพียงสมเด็จพระมหาธรรมราชาโดยเสด็จกษัตริย์หงสาลงมาล้อมกรุงด้วยตั้งพระทัยจะเกลี้ยกล่อมให้สมเด็จพระมหินทร์ยอมสวามิภักดิ์พระเจ้าบุเรงนอง เพราะเล็งเห็นว่าอยุธยายากจะต่อรบเอาชัยทัพพม่ารามัญซึ่งมีกำลังไพร่พลเหนือกว่าได้ หากขัดขืนต่อรบจะได้ยากแก่สมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎร์ ศึกครั้งนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงลาผนวชมาบัญชาการรบด้วยพระองค์เอง แต่อยู่ได้มิช้านานก็เสด็จสวรรคตเสียระหว่างศึกพุทธศักราช 2112 มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 11 ค่ำ กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ข้างสมเด็จพระนเรศวรซึ่งประทับอยู่ยั้งยังนครพิษณุโลกแต่ต้นศึก หาได้ทรงเห็นงามหรือคิดครั่นคร้ามอ่อนน้อมต่อหงสา ถึงจะทรงรู้ซึ้งว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดามิได้คิดคดเป็นกบฏต่อแผ่นดิน แต่ก็หาได้เห็นด้วยกับการอ่อนข้อสวามิภักดิ์พม่ารามัญ น้ำพระทัยอันมั่นคงเด็ดเดี่ยวนั้น ถึงแม้จะมิได้แพร่งพรายถึงพระกรรณพระเจ้าบุเรงนอง แต่ก็ประจักษ์อยู่ในหมู่ข้าราชบริพารใกล้ชิดผู้รักและหวงแหนในเอกราชของแผ่นดินจึงพากันนิยมในน้ำพระทัย แลพร้อมใจถวายความจงรักภักดีแต่นั้นมา ครั้นเสร็จศึกอยุธยาพุทธศักราช 2112 สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงถวาย “พระสุพรรณกัลยา” (เกรซ มหาดำรงค์กุล) พระพี่นางสมเด็จพระนเรศวรแก่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง แลขอตัวสมเด็จพระนเรศวรไว้ช่วยราชการข้างอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรจึงประทับยั้งอยู่ยังเมืองพิษณุโลก สืบต่อมาครั้นลุปีพุทธศักราช 2114 สมเด็จพระมหาธรรมราชา ซึ่งพระเจ้าบุเรงนองสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อจากสมเด็จพระมหินทร์ก็โปรดให้สมเด็จพระนเรศวรเสวยราชย์ครองเมืองพิษณุโลกเป็นใหญ่เหนือหัวเมืองเหนือทั้งปวง เหตุการณ์ข้างพม่า หลังจากพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองสิ้นพระชนม์ในปีพุทธศักราช 2124 พระเจ้านันทบุเรงได้ขึ้นเสวยราชสืบต่อและได้สถาปนามังสามเกียดขึ้นเป็นรัชทายาทครองตำแหน่งมหาอุปราชาแห่งราชอาณาจักรหงสาวดี เมื่อแผ่นดินหงสามีอันต้องผลัดมือมาอยู่ในปกครองของพระเจ้านันทบุเรง สัมพันธไมตรีระหว่างอยุธยาและหงสาวดีก็เริ่มสั่นคลอน ด้วยพระเจ้าหงสาวดีพระองค์ใหม่มิได้วางพระทัยในสมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระนเรศวรเองก็หาได้เคารพยำเกรงในบุญบารมีของพระเจ้าแผ่นดินพม่ารามัญเช่นกาลก่อน มิเพียงเท่านั้นสมเด็จพระนเรศวรยังได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถให้เป็นที่ปรากฏครั่นคร้าม ดังคราวนำกำลังทำยุทธนาวีกับพระยาจีนจันตุและศึกเมืองคังเป็นอาทิ พระเจ้านันทบุเรงทรงเกรงว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะเป็นภัยต่อพระราชวงศ์แลแผ่นดินหงสา จึงหาเหตุวางกลศึกหมายจะปลงพระชนม์สมเด็จพระนเรศวรเสียที่เมืองแครง แต่พระมหาเถรคันฉ่องพระราชครูลอบนำแผนประทุษร้ายนั้นมาแจ้งให้ศิษย์รักได้รู้ความ สมเด็จพระนเรศวรจึงถือเป็นเหตุประกาศเอกราช ตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดี แลกวาดต้อนครัวมอญไทยข้ามแม่น้ำสะโตงกลับคืนพระนคร ซึ่งเป็นชนวนให้พระเจ้านันทบุเรงเปิดมหายุทธสงครามสั่งทัพเข้ารุกรานราชอาณาจักรอยุธยาสืบแต่นั้นมา

ต้มยำกุ้ง (2548)

The Protector ต้มยำกุ้ง (2548/2005) การเดินทางข้ามโลกของ “ขาม” (จา พนม ยีรัมย์) เด็กหนุ่มบ้านป่าที่ชีวิตต้องพลิกผันโดยเงื้อมมือของผู้มีอิทธิพลระดับประเทศที่ลักพาช้างพลายสองพ่อลูก ซึ่งเด็กหนุ่มและ “พ่อของขาม” (โสรธร รุ่งเรือง) เขารักดั่งชีวิต และมีความมุ่งหมายอันสูงสุดที่จะมอบเป็นคชบาทแด่ในหลวง ไปขาย ณ ประเทศออสเตรเลีย ทางเดียวที่จะช่วยเหลือและรักษาชีวิตของช้างอันเป็นที่รักของเขาได้ นั่นก็คือ การบุกตะลุยถึงถิ่นเสือ โดยการเดินทางข้ามโลก เรื่องไม่ง่ายอย่างใจคิด แม้เขาจะได้รับความช่วยเหลือจาก “จ่ามาร์ค” (หม่ำ จ๊กมก) นายตำรวจไทยและ “ปลา” (บงกช คงมาลัย) สาวไทยที่ถูกหลอกมาขายตัวในซิดนีย์ก็ตาม แต่ที่นั่น เขากลับต้องไปพัวพันกับการไล่ล่าของแก๊งมาเฟียที่นำโดย “มาดามโรส” (จิน ซิง) ที่มีลูกสมุนต่างชาติที่เต็มไปด้วยฝีมือทางการต่อสู้อย่าง “จอห์นนี่” (จอห์นนี่ เหงียน) และ “ทีเค” (นาธาน โจนส์) พร้อมลูกสมุนย่อยที่มีฝีไม้ลายมือทางการต่อสู้เหลือรับอย่าง “คาโปเอร่า” (ลาธีฟ คราวเดอร์) และ “วูซู” (จอน ฟู) อย่างไม่ได้ตั้งใจ ณ วินาทีนี้ การต่อสู้ข้ามชาติเพื่อเอาชีวิตรอดของเด็กหนุ่มและเพื่อนพ้อง ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เพื่อตามหาและช่วยเหลือ พ่อใหญ่ และ ขอน ช้างพ่อลูก ที่เปรียบได้กับญาติพี่น้องของเขา นำไปสู่บททดสอบและการต่อสู้ครั้งสำคัญที่สุดในชีวิตของเขาให้โลกได้ล่วงรู้ถึง อานุภาพของ "ไม้มวยไทยโบราณ" ที่หนักหน่วง รุนแรง และยังไม่เคยได้รับการเปิดเผยมาก่อน โดยเฉพาะ "ตำนานมวยคชสาร"

บุปผาราตรี เฟส 2 (2548)
เรื่องย่อ : บุปผาราตรี เฟส 2 (2548/2005) ออสการ์อพาร์ทเมนต์ ขึ้นชื่อลือชาว่าเฮี้ยนนักเฮี้ยนหนา โดยเฉพาะห้อง 609 ที่เจ้าของอพาร์ทเมนต์ถึงกับปิดตายทั้งชั้น "รับประกันความเฮี้ยน" จะมีก็แต่แก๊งโจรมือใหม่หัดปล้น และ ทิพย์ สาวตาบอด ที่ไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวอะไรกับใครเขา ขอเปิดห้องพักหน้าตาเฉย แต่เมื่อคนอยู่ดีไม่ว่าดีดันไปยุ่มย่ามในที่ของผี เจ้าของห้อง 609 อย่าง บุปผา เลยระเบิดแรงอาฆาตตามคำขอ อพาร์ทเมนต์ผีสิงจึงได้อลหม่านฮาแตกอีกครั้ง!! คณะตลกตกอับ ตัดสินใจผันเปลี่ยนอาชีพมาเป็นโจรปล้นธนาคาร พวกเขาหอบเงินหลบหนีตำรวจไปกบดานอยู่ ณ อพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งโดยหารู้ไม่ว่ามันคืออพาร์ทเมนต์ผีสิง ระหว่างที่พวกโจรกำลังจะทำการแบ่งเงินกันนั้น พวกเขาพบว่าเงินก้อนนั้นได้หายไปอย่างลึกลับ... พวกโจรออกค้นหาทุกซอกทุกมุมในอพาร์เมนต์ เหลืออยู่แต่เพียงชั้น 6 ที่เจ้าของอพาร์ทเมนต์ปิดตายไว้ห้ามไม่ให้ใครเข้า โจรทั้งสี่ไม่ฟังคำเตือนออกค้นหาเงินในชั้น 6 จนได้พบว่าเงินซ่อนอยู่ในห้อง 609 แต่พวกเขาก็ไม่สามารถนำเงินออกจากห้องนั้นได้เพราะถูกผีเจ้าของห้องออกมาหลอกหลอน โจรทั้งสี่จึงต้องคิดหาวิธีเอาเงินออกจากห้อง 609 ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้จะกลัวผีเพียงไรก็ตาม ขณะเดียวกัน ตำรวจก็เริ่มระแคะระคายแกะรอยโจรทั้งสี่มาถึงอพาร์ทเมนต์แล้ว
เกิดมาลุย (2547)

เกิดมาลุย (2547/2004) โดยเรื่องราวพูดถึงการเผชิญหน้า กับเหตุการณ์ร้ายแรงที่สุดในชีวิต ที่อยู่นอกเหนือจากความควบคุม อันนำมาซึ่งความเป็นความตายของผู้คนจำนวนมาก เมื่อตกอยู่ภายใต้การจับกลุ่มของผู้ก่อการร้าย ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย ที่ตั้งใจสร้างความปั่นป่วนให้กับประเทศไทย พร้อมกับชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งหนึ่งริมชายแดน ที่พวกเขาและเธอตั้งใจนำข้าวของมาบริจาค และช่วยพัฒนาหมู่บ้าน วิธีเดียวที่จะรักษาชีวิตของพวกพ้องและชาวบ้าน คือต้องนำเอาความสามารถเฉพาะตัวทางด้านกีฬาในแต่ละประเภท มาผสมผสานในการต่อสู้ด้วยมือเปล่า โดยมีเงื่อนไขของเวลา ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นให้ได้

องค์บาก (2546)

องค์บาก (2546/2003) ในประวัติศาสตร์หมู่บ้านหนองประดู่ ที่ยาวนานตั้งแต่ครั้นสมัยสงครามไทยกับพม่า ตำนานของครูดำ ผู้แกร่งกล้าด้วยศิลปะการต่อสู้ คือชายไทยผู้กล้าที่เคยแหวกฝ่ากองทัพพม่า ไปแย่งชิงเอาองค์พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ถูกทหารพม่าบุกมาปล้นสดมภ์ และแย่งชิงไปจากหมู่บ้าน เมื่อคราครั้งกระโน้นได้เป็นผลสำเร็จ จนเกิดปาฏิหาริย์แห่งรอยบาก อยู่บนพระพักตร์ขององค์พระ ว่ากันว่าร่องรอยดังกล่าว คือบาดแผลจากการต่อสู้ ที่เกิดจากอิทธิฤทธิ์ขององค์พระศักดิ์สิทธิ์ ที่รับแทนคมหอกคมดาบ ที่ทหารพม่าถาโถมฟาดฟัน เข้าใส่ร่างของครูดำนั่นเอง ว่ากันว่าความเชื่อดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับครูดำ และผู้คนในหมู่บ้านได้ถูกเล่าขาน สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แต่แล้วองค์บากกลับถูก ดอน (วรรณกิตย์ ศิริพุฒ) อดีตลูกหลานบ้านหนองประดู่ ที่ปัจจุบันหันหน้าเข้าสู่โลกแห่งความชั่วช้าอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งเรื่องของยาเสพติด การพนัน และที่ร้ายแรงที่สุด คือการแอบตัดเศียรองค์พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ไปให้กับนักสะสมวัตถุโบราณ ที่มีจิตใจชั่วช้าในกรุงเทพ ในคืนก่อนงานเฉลิมฉลองงานบุญ ที่ชาวหนองประดู่จัดขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองศรัทธาต่อองค์บาก ที่ได้หมุนเวียนมาครบ 24 ปี ส่งผลให้เหตุการณ์ดังกล่าว สร้างความสะเทือนใจ ต่อทุกชีวิตในบ้านหนองประดู่ โดยเฉพาะบรรดาผู้เฒ่าผู้แก่ ที่รอวันนี้มาค่อนชีวิต ราวกับว่านี่คือกงล้อแห่งศรัทธา ที่หมุนเวียนบรรจบมา เพื่อทดสอบในศรัทธาแห่งความความผูกพัน และพลังแห่งความดีงาม ของผู้คนในบ้านหนองประดู่อีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะกับผู้ที่ได้รับการสืบทอดชะตากรรม จากองค์บากโดยตรงอย่าง ทิ้ง (จา พนม ยีรัมย์) เด็กหนุ่มลูกกำพร้า ที่ได้รับการชุบเลี้ยงเติบโต จนมีสายเลือดของบ้านหนองประดู่อย่างข้นคลั่ก รวมทั้งเคล็ดวิชานวอาวุธ (อาวุธที่ก่อเกิดจากอวัยวะสำคัญ ในร่างกายของมนุษย์ทั้ง 9 อันประกอบไปด้วย 1 ศรีษะ 2 หมัดกร้าวแกร่ง 2 แรงกระทุ้งของศอก ตอกย้ำความหนักหน่วงของ 2 เข่า และความคล่องแคล้วว่องไวของ 2 เท้า) ผสมผสานกับศิลปะมวยไทยโบราณ ที่ได้รับการถ่ายทอดจากพระครู หลวงพ่อผู้เป็นดั่งเสาหลัก ที่เคารพนับถือของผู้คนในหมู่บ้านหนองประดู่ ลูกศิษย์คนสำคัญของครูดำ ปูชนียบุคคลที่มีคุณอนันต์ของหมู่บ้าน การเดินทางมุ่งหน้าสู่หนทางแห่งการต่อสู้ การทบทวนจิตวิญญาณแห่งความใฝ่ดี และการเผชิญหน้ากับโลกใหม่ ที่เต็มไปด้วยผู้คนที่ลุ่มหลงนิยมในวัตถุเงินทอง ท่ามกลางแสงสีของเมืองหลวง ที่เต็มไปด้วยความคดโกง หลอกหลวง และแก่งแย่งชิงดี ทิ้งได้พบกับบททดสอบแห่งศรัทธา และภาระรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่มากขึ้น อันตรายมากขึ้น โดยมีคนๆ เดียวในเมืองหลวง ที่จะช่วยทิ้งตามหาดอนได้คือ หำแหล่ หรือ ยืนยง (หม่ำ จ๊กหมก) ลูกชายของผู้ใหญ่น้อย อีกหนึ่งลูกหลานบ้านหนองประดู่ ที่ถูกส่งมาเล่าเรียน เพื่อกอบโกยเอาความรู้ นำกลับไปพัฒนาถิ่นเกิด แต่กลับกลายเป็นว่า ทิ้งถูกหำแหล่ ที่บัดนี้เปลี่ยนรูปโฉมเป็น ไอ้ยอร์จ หนุ่มหัวทองไร้ซึ้งหัวจิตหัวใจ หลอกขโมยเอาถุงห่อของมีค่า ที่รวบรวมเอาแบ๊งค์ยี่สิบเก่าๆ เงินเหรียญ และบรรดาทรัพย์สมบัติของผู้เฒ่าผู้แก่ ลูกหลานของบ้านหนองประดู่ ที่รวบรวมให้ทิ้งเพื่อเป็นทุนรอน ในการตามหาองค์บากในเมืองใหญ่ ไปวางเดิมพันในมวยเถื่อนเสียแล้ว เส้นทางในการเสาะหาองค์บาก ดึงเอาทิ้งเข้าไปเกี่ยวข้อง กับชีวิตของผู้คนอันหลากหลายในเมืองใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น เง็ก (รุ่งระวี บริจินดากุล) หญิงสาวสู้ชีวิต ที่ถูกความเหลวแหลกของเมืองหลวง กัดกินทั้งร่างกายและจิตใจ, หมวยเล็ก (ภุมวารี ยอดกมล) เด็กสาวแก่นแก้ว ที่งดงามทั้งหน้าตาและจิตใจ, ไอ้เป๋ง (เชษฐวุฒิ วัชรคุณ) นักเลงหัวไม้ หัวโจกของบรรดาจิ๊กโก๋คุมซอย คู่ปรับคนสำคัญของยอร์จ ความเป็นจริงในความหวังที่ไม่เพียงดูริบหรี่ แต่กลับเริ่มไกลห่าง ออกไปจากตัวทิ้งมากขึ้นทุกที เมื่อจิตศรัทธาแห่งความดีงาม จากคนรอบข้างที่มีต่อองค์บาก ค่อยรางเลือนมากยิ่งขึ้น กลับกันกับชักนำให้ทิ้ง ถล้ำเข้าไปสู่วังวนแห่งการต่อสู้ ที่ดูเหมือนจะขัดกับถ้อยคำที่พร่ำสอนจากพระครู เมื่อทิ้งถูกดึงเข้าไปเกี่ยวข้อง กับเกมการต่อสู้และการไล่ล่า ที่อบอวลไปด้วยความชั่วร้าย จากทั้งคนไทยด้วยกันเองและชาวต่างชาติ และนี่คือจุดเริ่มต้น ของการเดินทางแห่งจิตศรัทธา ที่นำมาซึ่งการต่อสู้ เพื่อพิสูจน์ศักดิ์ศรีของศิลปะการต่อสู้ ที่เรียกขานว่า แม่ไม้มวยไทยโบราณ

มนต์เพลงลูกทุ่งเอฟ.เอ็ม. (2545/2002) มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2545 ผลงานร่วมสร้างของ สหมงคลฟิล์ม และ ลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. และเป็นผลงานกำกับเรื่องแรกของบัณฑิต ทองดี โดยเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในประวัติศาสตร์ของวงการเพลงลูกทุ่ง และภาพยนตร์ไทย ที่รวบรวมไว้มากที่สุด ตั้งแต่นักร้อง นักแต่งเพลง นักจัดรายการลูกทุ่งเอฟ.เอ็ม. รวมถึงบุคคลที่อยู่ในวงการเพลงลูกทุ่งไทย กว่า 200 ชีวิต มาแสดงในภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน และบทเพลงทั้งที่กำลังได้รับความนิยมในช่วงนั้นและที่เคยได้รับความนิยมก่อนหน้านั้น กว่า 30 เพลง มาใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ รวมทั้งบทเพลงใหม่ที่แต่งขึ้นโดยเฉพาะอีก 1 เพลง

สุริโยไท (2544/2001) เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สวรรคตในปี พ.ศ. 2072 พระอาทิตยาจึงได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนาม สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ทุกพระองค์เสด็จย้ายจากพิษณุโลกไปประทับ ณ กรุงศรีอยุธยาเมืองหลวง พระเฑียรราชา และ พระสุริโยไท มีโอรสธิดาทั้งสิ้น 5 พระองค์ คือ พระราเมศวร , พระมหินทร, พระบรมดิลก, (พระวิสุทธิ์กษัตริย์) และ พระเทพกษัตรี ประทับอยู่ ณ วังชัย ดำรงอิสริยยศเป็นพระเยาวราช เมื่อสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรสวรรคตด้วยโรคไข้ทรพิษ พระไชยราชา ผู้ซึ่งดำรงพระยศเป็นพระอุปราช ควรจะได้สืบสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ แต่สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรทรงขอให้ สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระโอรสวัย 5 พรรษา อันเกิดแต่พระอัครชายา วัย 17 พรรษา เป็นผู้ขึ้นครองราชย์แทน ระหว่างนั้น บ้านเมืองถูกบริหารโดยขุนนางทุจริต ติดสินบนเถลิงอำนาจ โดยเฉพาะ เจ้าพระยายมราช บิดาของพระอัครชายา 5 เดือนให้หลังสมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงเข้ายึดราชบัลลังก์ และให้สำเร็จโทษพระรัษฏาธิราช ตามราชประเพณีโบราณ รวมถึงสั่งประหารขุนนางทุจริตทุกคน และทรงขึ้นครองราชย์ แผ่บุญญาธิการ เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไป ทรงออกรบปราบหัวเมืองอยู่เนือง ๆ และได้แต่งตั้งพระเฑียรราชาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชา ว่าราชการแทนพระองค์ อยู่ที่กรุงอโยธยา ส่วนพระมเหสีของพระไชยราชา คือ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ได้ลักลอบมีความสัมพันธ์กับ ขุนชินราช ผู้ดูแลหอพระ เชื้อราชวงศ์อู่ทองด้วยกัน และได้สมคบคิดกัน ลอบวางยาพิษปลงพระชนม์พระไชยราชา พระยอดฟ้า พระโอรสของพระไชยราชา ที่ประสูติจาก ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้ขึ้นครองราชย์แทน ในขณะที่มีพระชนม์เพียง 10 พรรษา แต่ต่อมาไม่นาน ก็ถูกท้าวศรีสุดาจันทร์ปลงพระชนม์อีกองค์หนึ่ง แล้วสถาปนาขุนชินราชขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระวรวงศาธิราช นับตั้งแต่สิ้นรัชกาลพระไชยราชา พระเฑียรราชาก็ได้ผนวชเพื่อเลี่ยงภัย ส่วนพระสุริโยไททรงเตรียมฝึกทหาร โดยมีผู้จงรักภักดี คือ ขุนพิเรนทรเทพ, ขุนอินทรเทพ, หมื่นราชเสน่หานอกราชการ และหลวงศรียศลานตากฟั เฝ้าคุ้มกันภัยให้ ได้ร่วมกันปลงพระชนม์ขุนวรวงศา และท้าวศรีสุดาจันทร์ เสียบหัวประจานไว้ที่วัดแร้ง แล้วอัญเชิญพระเฑียรราชา ให้ลาสิกขาบทขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ระหว่างนั้นทางพม่าได้รวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น และแผ่ขยายอำนาจรุกรานไทยภายใต้พระมหากษัตริย์ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ และได้เดินทัพมายังกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2091 เกิดเป็นสงครามยุทธหัตถี ที่ทุ่งมะขามหย่อง ซึ่งเป็นเหตุให้ พระสุริโยไทสิ้นพระชนม์บนคอช้าง เรื่องจบลงด้วยสงครามยุทธหัตถี อันเป็นเรื่องราวความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและความตายของวีรกษัตรีย์ "สุริโยไท" ที่พลีชีพเพื่อรักษาอาณาจักรอยุธยา

ผีสำออย (2533)

ผีสำออย (2533/1990) ข้อความบนใบปิด เลิศฤทธิ์โปรดั๊กชั่น โดย วิชัย เลิศฤทธิ์เรืองสิน ผีสำออย LOVE OF GHOST บิณฑ์ บันลือฤทธิ์ พิมพิไล ไชโย ชลิต เฟื่องอารมย์, จุ๋มจิ๋ม เข็มเล็ก ขอแนะนำดาวรุ่ง ต้อยเปา ทิฟฟานี่, เลิศฤทธิ์ เรืองสิน ดาราเกียรติยศ ดร.เสรี วงษ์มณฑา ไนซ์กาย กำกับฯ สหมงคลฟิล์ม จัดจำหน่าย

 
ร่านดอกงิ้ว (2530)
ร่านดอกงิ้ว (2530/1987) ข้อความบนใบปิด คำว่า “ร่าน” นี้ มักใช้กับผู้หญิง..แต่คุณรู้ไหมว่าผู้ชายก็ร่าน ร่านดอกงิ้ว ของ นันทนา วีระชน ยุรนันท์ ภมรมนตรี นาถยา แดงบุหงา วิศรุต เกษประสิทธิ์ วจี อรรถไกวัลวที ขอแนะนำ จวนรุ่ง ศรัทธาธรรม ภีม ภูรีศรี พันธุ์เทพ อรรถไกวัลวที กำกับการแสดง สหมงคลฟิล์ม จัดจำหน่าย
ผู้ชายป้ายเหลือง (2530)
ผู้ชายป้ายเหลือง (2530/1987) ข้อความบนใบปิด สหมงคลฟิล์ม โดย สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ อาชีพผู้ชายมีหลายอย่าง แต่เขาเป็นได้แต่....ผู้ชายป้ายเหลือง ผู้ชายป้ายเหลือง เริงศิริ ลิมอักษร กำกับการแสดง วิศรุต เกษประสิทธิ์ เสาวลักษณ์ ลีละบุตร เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ วัชระ สิทธิกูล, เฉลิมพร พุ่มพันธ์วงศ์, ปรารถนา สัชฌุกร, วรายุฑ มิลินทจินดา, กฤษณ์ ศุกระมงคล, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, ชูศรี โรจนประดิษฐ์, ดารารับเชิญ กำธร สุวรรณปิยะศิริ, อมรา อัศวนนท์, ปาริฉัตร สัชฌุกร สหมงคลฟิล์ม จัดจำหน่าย
อีก 10 วันโลกจะแตก (2530)
อีก 10 วันโลกจะแตก (2530/1987) ข้อความบนใบปิด สหมงคลฟิล์ม โดย สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ เมื่อโลกอนุญาตให้หายใจได้อีกแค่ 10 วัน! จะทำอะไร...ยังไง...กันดีล่ะ หนังแปลกแหวกทศวรรษ ฮ๊า...ฮา บ้าล้ำหน้าไปอีก 6 ปีแสง...ว้าว..ว...ว...ว ครั้งแรกบนจอเงิน... ไตรภพ ลิมปพัทธ์ V.S. ญาณี ตราโมท อรุณ ภาวิไล (ซูโม่ตุ๋ย) V.S. ดิลก ทองวัฒนา พบนางเอกใหม่...จามจุรี เชิดโฉม ขอแนะนำ... วราภรณ์ สืบนพรัตน์-ต้องตา พงษ์งาม อัจฉราภรณ์ อินทนา (จาก “เทวดาตกสวรรค์”) ขวัญจีรา แก้วเกิด ร่วมด้วย.. กฤษณ์ ศุกระมงคล, จุ๋มจิ๋ม เข็มเล็ก บทภาพยนตร์ดัดแปลงจากเรื่องเดิมของ ประทีป โกมลภิส ในนิตยสารบางกอก โดย... อาจารย์ชวนะ ภวกานันท์ และ สุนทรี เนตรไทย สุนทรี เนตรไทย ผู้ช่วยผู้กำกับ อาจารย์ชวนะ ภวกานันท์ (จากวารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์) กำกับการแสดง สหมงคลฟิล์ม จัดจำหน่าย
จระเข้ศรีวันทอง (2528)
จระเข้ศรีวันทอง (2528/1985) ข้อความบนใบปิด จาตุศมโปรดักชั่น เสนอ... ภายใต้ความสวย ความสาวของเธอคนนี้ จะปะทุที่สุดของความดุร้าย แนะนำ แพร เพชรชมภู รับบทจระเข้สาวโหด! จระเข้ศรีวันทอง “กังสดาล” กำกับ นำโดย มงคล พิชิตชัย, รุ้งเพชร ทรัพย์สุวรรณ, ธวัช ธนภูมิ, สมศักดิ์ ชัยสงคราม, จรัล พรหมรังษี, วันทนา สุทธิ, โป๋ เป่าปี่, เดช ดำเกิง, จิตร โตปฐม, น้อย มะนาว, ศิรินันท์ นิลใส, นัยนา เชื้อชั้น, ไกรสุข อาจเอี่ยม มิตร นิมิตโชตินัย ถ่ายภาพ สหมงคลฟิล์ม จัดจำหน่าย
สวัสดีความรัก (2528)
สวัสดีความรัก (2528/1985) ข้อความบนใบปิด สหมงคลฟิล์ม ภูมิใจเสนอผลงานที่ “ไพรัช กสิวัฒน์” กำกับการแสดง บทพิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของความรัก สวัสดีความรัก อรพรรณ พานทอง เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ ทนงศักดิ์ ศุภการ ไชยา สุริยัน ร่วมด้วย จุ๋มจิ๋ม เข็มเล็ก, สมศักดิ์ ชัยสงคราม, สีดา สุทธิรักษ์ ฯลฯ ขอแนะนำพระนางคู่ใหม่ จิรพร ทรัพย์อาภรณ์, พงษ์ศักดิ์ จันทรร์ประเสริฐ จันนิภา อัตตชัย เรื่อง-บทภาพยนตร์ พิพัฒน์ พยัคฆะ ถ่ายภาพ พิพัฒน์ พิชิตนภากุล ดำเนินงานสร้าง ไพรัช กสิวัฒน์ กำกับการแสดง เตือนใจ เตชะรัตนประเสริฐ อำนวยการสร้าง