Placeholder
ศพ 5 ปี 2536
Placeholder

มัจจุราชสีน้ำผึ้ง (2536/1993) เมื่อความรักเปลี่ยนเป็นความเกลียดชัง เสน่หา กลับกลายเป็นความแค้น เธอจึง เหมือนตกอยู่ในอุ้งมือแห่งมัจุราช

แรงเทียน (2536/1993) เทียนศรี (สุธิตา) ผิดหวังกับความรัก จึงทำให้เธอมองว่าไม่มีผู้ชายคนไหนที่จะจริงใจกับเธอ แล้วเธอต้องมาประสบอุบัติเหตุรถคว่ำ โดยผู้ที่เธอขับรถไปชนก็คือทิวา (สถาพร) ทิวาให้การช่วยเหลือเทียนศรีทุกอย่าง เพราะเขาเริ่มที่จะชอบเธอ เทียนศรีก็พอจะมีใจให้ แต่วันหนึ่งเธอก็ได้รู้ว่าทิวาเป็นพี่เขยของแฟนเก่าเธอ ทำให้เทียนศรีเสียใจมาก และอยากจะไปจากที่ที่เคยอยู่ ความรักของเขาทั้งคู่จะลงเอยอย่างไร ทิวาจะสามารถทำให้เทียนศรีได้รับรู้ถึงความรักที่เขามีต่อเธอได้หรือไม่ หรือเธอจะจากเขาไปจริงๆ...

เสน่หาเงินตรา (2536/1993) ฟ่าง หรือ ฟาริดา เด็กหญิงที่ฉลาดและน่ารัก พออายุ 10 ขวบ นายพจน์ ผู้เป็นพ่ออ้างว่าต้องย้ายไปทำงานราชการที่ต่างจังหวัดแต่ที่จริงแล้วจะไปอยู่กับภรรยาคนใหม่ โดยให้ เนียนนิภา ภรรยาดูแลฟ่างลูกสาวอยู่ที่กรุงเทพฯ ในคืนวันฝนตกนายพจน์มาพร้อมกับภรรยาใหม่ และได้กล่าวหาว่าเนียนนิภามีชู้และฟ่างคือลูกชู้ โดยไม่ฟังเสียงร้องไห้วิงวอนใด เนียนนิภาคลั่งและ ช็อคจนกลายเป็นคนเสียสติ คิดว่าฟ่างเป็นต้นเหตุของเรื่องทั้งหมด เธอจึงทุบตีฟ่าง ติดตามต่อได้ใน เสน่หาเงินตรา

ไฟในดวงตา 2536

เรื่องย่อ : ไฟในดวงตา (2536/1993) จุไร แม่ม่ายสามีตาย ต้องผจญกับญาติสามีที่เห็นแก่ตัว อยากได้เธอไว้รับใช้ย่าที่ปากร้ายใจร้าย จุไรมีลูกสาวคือ พัดชา เป็นเด็กหูหนวกและเป็นใบ้ จุไรอยากให้ลูกหาย เธอตัดสินใจพาลูกมารักษาตัวที่กรุงเทพฯ โดยมาอาศัยอยู่กับพี่สาวที่เป็นคนรับใช้ในครอบครัวนักธุรกิจเชื้อสายจีน ธัญ เป็นน้องชายของนายผู้หญิงของบ้านที่พี่สาวจุไรทำงานอยู่ ธัญเป็นหนุ่มที่รักอิสระ ทะลึ่ง ปากร้ายแต่ใจดี พ่อแม่ของธัญอยากให้ธัญแต่งงานกับลูกสาวของเพื่อน แต่ธัญไม่ยอม น้องชายธัญจึงแต่งงานกับสาวคนนั้นแทน ธัญเห็นจุไรก็นึกชอบทันที จึงเสนอซื้อตัวจุไรเพื่อแลกกับเงินค่ารักษาพัดชา จุไรอยากให้ลูกหายจึงยอมรับเงื่อนไขนั้น ธัญเดินทางไปติดต่อธุรกิจที่ ต่างประเทศ ระหว่างนั้นจุไรได้เข้าไปทำงานรับใช้ที่บ้านพ่อแม่ของธัญ ดูแลแม่ของธัญที่เป็นอัมพาต เพื่อรอคอยธัญ เมื่อเขาเดินทางกลับมา ทั้งคู่ก็ยังมีความสัมพันธ์กัน โดยที่คนในครอบครัวก็รู้ แต่ทำเฉยเพราะจุไรเป็นคนเดียวที่ทนอารมณ์ของคนป่วยอย่างแม่ของธัญได้ จุไรทำความดีต่อครอบครัวนี้จนทุกคนยอมรับในตัวจุไรในที่สุด

รอยอาลัย (2536/1993) รอยแห่งความรักและคิดถึง “มอบให้ไว้แด่ผู้ที่สูญเสียรักลงอย่างสิ้นเชิง” ริมระเบียงหน้าบ้านไม้ร่มรื่นน้ำในสายคลองที่ไหลเอื่อย แม้ไม่ใสเช่นวันคืนเมื่อวันเด็กจะข้นคล้ำไปบ้าง แต่เสียงธารน้ำไหลก็ดีกว่าเสียงจอแจของสังคมขวักไขว่ ผมอาศัยร่มเงาของบ้านอาศัยความหอมหวานของครอบครัวอ่านเรื่องราวอันเสมือนหนึ่งความทรงจำ เช่นเดียวกับผู้เขียน…รอยอาลัย ผมคิดถึง…บ้านของเรา “คุณล่ะครับ ปีนี้ คุณได้เปลี่ยนแปลงภาวะอะไรในบ้านบ้างหรือเปล่า คุณๆจะไม่จารึกภาพแห่งความสุขระหว่างพ่อ…แม่…ลูก…เพื่อกาลข้างหน้า ซึ่งรุดผ่านไปไม่หยุดยั้งบ้างหรือครับ…คุณ คุณจะไม่เสียดายบ้างหรือ…ที่อนาคตภายหน้ายามแก่ตัวลง คุณจะไม่มีรอยประทับใจถึงวัยอันแสนหวานและความสุขอันอบอุ่นระหว่างชีวิตในบ้านบ้างเลย…?” ครอบครัว…บ้าน…ของเรา…ของรักของเรามักเริ่มต้น ณ ที่นี้ รอยอาลัย…ฝากรอยสัมผัสของชีวิตที่อบอุ่น หนักแน่นในความผูกพัน รอยความเชื่อมั่นต่อคนเป็นพ่อ รอยความรักของแม่อันมากมายต่อลูก…และเคียงข้างพ่อเสมอ รอยความทรงจำของลูกๆ ของครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งที่ทอดผ่านการบอกเล่าของ “นายตั้ม”…ทุกข์ สุข สนุกกับชีวิตตามวัย ตามวุฒิร่วมเดิน ช่วยเหลือ ผลักดัน เป็นความรักของกันและกัน และถึงวันที่ของรักถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง ขอจงเข้มแข็งหนักแน่น เรายังมีโอกาสเป็นที่รักแก่คนอื่น และมีของรักอีกมากมายนัก ถ้าเรามัวร้องไห้ให้แก่ของรักทุกชิ้น เราจะไม่มีน้ำตาเพียงพอต่อการสูญเสีย แด่น่ำตาที่หล่อรื้น เมื่อกระดาษหน้าสุดท้ายปิดลง...

Placeholder

หน้าที่