7 ซุปเปอร์เปี๊ยก (2521)

7 ซุปเปอร์เปี๊ยก (2521/1978)สักกะ จารุจินดา จงใจสร้างเป็นของขวัญสำหรับเด็ก สุดสนุก ซึ้งซาบประทับใจ "เมตตา" จากนางอิจฉา กลายเป็น ซินเดอเรลล่า โรแมนติค เข้าท่า

ครูระบำพานักเรียนไปเข้าค่ายพักแรมที่หาดยาว ครูระบำปล่อยเด็กๆ ไปเดินเล่น ธงชัยและเพื่อนอีก 6 คน เดินเล่นและไปพบกับบ้านหลังหนึ่ง จึงแอบเข้าไปดูด้วยความซุกซน และได้รู้ว่าเป็นที่หลบซ่อนตัวของพวกโจรขโมยทอง ธงชัยและเพื่อนๆ ช่วยกันวางแผนจนสามารถนำทองกลับมามอบให้ตำรวจสำเร็จ

เมื่อโรงเรียนปิดเทอม ครูระบำ (เมตตา รุ่งรัตน์) กับครูโป้ง (ปัญญา นิ่มเจริญพงษ์) ก็พานักเรียนประมาณ 40 คนไปเที่ยวชายทะเลที่จังหวัดระยอง โดยไปตั้งแค้มป์พักกันเองเพราะต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ต่อมาเด็กกลุ่มหนึ่ง 7 คนซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องก็พากันไปเที่ยวตกปลาหาหอยไกลจากที่พักและไปพบบ้านร้างหลังหนึ่งซึ่งสมัยก่อนเคยเป็นที่พักของทหารอเมริกัน มีป้ายปักหน้าบ้านว่า ห้ามเข้า ผีดุ เด็กๆ ก็เห็นว่าเป็นเรื่องตลกเพราะครูสอนว่า ผีไม่มีในโลก จึงจะพากันเข้าไปพิสูจน์ในบ้านหลังนั้น แต่ก็ถูกชายคนหนึ่งไล่ออกมาก่อน เด็กๆ ก็คิดกันว่า บ้านร้าง แต่มีคนเฝ้า มันต้องมีอะไรสักอย่างที่เป็นเรื่องไม่ดีเหมือนอย่างที่เคยเห็นในหนังทีวี จึงจะแอบเข้าไปดูให้รู้ความจริง แม้ว่าจะมีเด็กๆ บางคนคัดค้าน แต่สุดท้ายก็ตามไปด้วย

พอแอบเข้าไปในบ้านร้าง เด็กๆ ก็ได้ยินฝรั่งคนร้ายพูดถึงเรื่องการนำทองคำแท่งซึ่งปล้นมาจากธนาคารไปแลกกับอาวุธสงคราม ก็รีบไปบอกครูโป้ง แต่ครูโป้งกลับเตือนไม่ให้เข้าไปยุ่งกับที่นั่นเอง พอดีจ่าหงอยผ่านมาเยี่ยมแค้มป์ เด็กๆ ก็เล่าเรื่องให้จ่าหงอยฟัง จ่าหงอยฟังแล้วกลับคิดว่าเด็กๆ เล่าเรื่องจากหนังทีวีให้ฟัง ทำให้เด็กๆ ก็พากันน้อยใจที่ไม่มีใครเชื่อคำพูดตน จึงตกลงกันว่า จะต้องไปเอาทองคำแท่งมาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เด็กๆ อย่างเราพูดจริง จากนั้นก็พากันกลับไปที่บ้านร้างและลอบเข้าไปในห้องใต้ดินและก็นำทองคำแท่งมาใส่ไว้ในเสื้อของจุ๋มจิ๋มเด็กตัวอ้วนๆ แต่ขณะกำลังจะหนีออกมา คนร้ายก็รู้ตัวและจับจุ๋มจิ๋มไว้ เด็กๆ ก็รีบกลับไปบอกครูและตำรวจมาช่วยจุ๋มจิ๋ม คนร้ายรู้ว่า ความลับรั่วไหลและตำรวจกำลังจะมาจึงหลบหนีไป เด็กๆ ก็รอดปลอดภัยกลับมา

เทพบุตรต๊ะติ๊งโหน่ง (2520)
เทพบุตรต๊ะติ๊งโหน่ง (2520/1977) ข้อความบนใบปิด ไฟว์สตาร์โปรดัคชั่น เสนอ ฮาที่สุด..ในรอบปี.. อร๊อย..อร่อย..ขบขันที่สุด.. เทพบุตรต๊ะติ๊งโหน่ง เด่น ดอกประดู่ พบ 2 นางเอกวัยรุ่น ลลนา สุลาวัลย์ พจนีย์ อินทรมานนท์ พร้อมด้วย เด๋อ ดอกสะเดา, เทพ โพธิ์งาม, ล้อต๊อก, ชูศรี มีสมมนต์, ทองแถม, สมศักดิ์ ชัยสงคราม, กีกเฮง และดาวตลกครอบจักรวาล.. สังเวียน น้อยเจริญ ถ่ายภาพ “สมพงษ์ ตรีบุปผา” กำกับการแสดง เกียรติ เอี่ยมพึ่งพร อำนวยการสร้าง นิยม ตันติเวชกุล ดำเนินงานสร้าง
7 ประจัญบาน (2520)
7 ประจัญบาน (2520/1977) ข้อความบนใบปิด สหมงคลฟิล์ม เสนอผลงานยิ่งใหญ่ เพื่อคนไทยทั้งชาติ กรุง ศรีวิไล สรพงศ์ ชาตรี เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ เรวดี ปัตตะพงษ์ วิยะดา อุมารินทร์ ทักษิณ แจ่มผล 7 ประจัญบาน ร่วมด้วย นิรุตติ์ ศิริจรรยา, สายัณห์ จันทรวิบูลย์, ลักษณ์ อภิชาติ, ศรีไพร ใจพระ, เกชา เปลี่ยนวิถี, สมจินต์ ธรรมทัต, ล้อต๊อก, วัฒนา กีชานนท์, ถวัลย์ คีรีวัตร, โกร่ง กางเกงแดง สง่า อนันตวิไลกิจ อำนวยการสร้าง ลิขิต กฤษณะมิตร ถ่ายภาพ สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ ที่ปรึกษา ส.อาสนจินดา ประพันธ์เรื่องเดิม ชรินทร์ ทองสิงห์ สร้างบทภาพยนตร์ วิเชียร วีระโชติ กำกับฯ สหมงคลฟิล์ม จัดจำหน่าย
อะไรกันนักหนา (2516/1973) ข้อความบนใบปิด เอกรินทร์ภาพยนตร์ อะไรกันนักหนา ของ ฉกาจ ปูคะวนัช รัก ผจญภัย ครื้นเครง เฮฮา สุทิศา พัฒนุช สายัณห์ จันทรวิบูลย์ ภูษิต อภิมัน โฉมฉาย ฉัตรวิไล พนม นพพร โสภา สถาพร นำ ร่วมด้วย สุวิน สว่างรัตน์, เมืองเริง ปัทมินทร์, โสภิต, สังข์ทอง สีใส, ดาวน้อย ดวงใหญ่, ศรีสละ ทองธารา และ นาฏศิลป์อินทรดารา ไสว เชื้อพลายเวช อำนวยการสร้าง อัศนีย์ สุวรรณทัต-สล้าง สราภัยวาณิช ถ่ายภาพ ฉกาจ ปูคะวนัช กำกับการแสดง-กำกับบท มงคลฟิล์ม จัดจำหน่าย *ใบปิดวาดโดย บรรหาร (ที่มา :Thai Movie Posters)
หาดใหญ่ใจสู้ (2512)
หาดใหญ่ใจสู้ (2512/1969) ข้อความบนใบปิด สู้ไม่เข็ด! เด็ดกว่า! “หนึ่งต่อเจ็ด” ทุกตอน.. ส.อาสนจินดา ภาพยนตร์ เสนอ หาดใหญ่ใจสู้ สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ พบเชือกกล้วย กางเกงแดง เป็นครั้งแรก! ร่วมด้วย ส.อาสนจินดา, วิภาวดี ตรียะกุล, ใจดาว บุษยา, ชาณีย์ ยอดชัย, ชินตา ธนานนท์, อดุลย์ กรีน, ประมินทร์ จารุจารีต, ประกอบ ไชยพิพัฒน์, ทองฮะ, สีเทา, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, โขน หมอผี ขอแนะนำ ผา เพียงพะเนิน วิเชียร วีระโชติ ถ่ายภาพ ฉลวย ศรีรัตนา ลำดับภาพ ส.อาสนจินดา สร้างบท-กำกับการแสดง
สามเกลอเจอล่องหน (2509)

สามเกลอเจอล่องหน (2509/1966) เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อสามเกลอ พล นิกร และกิมหงวน ต้องต่อกรกับสายลับล่องหน ซึ่งฝ่ายผู้ก่อการร้ายส่งเข้ามาสังหารดร.ดิเรกนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของไทย แม้จะสามารถหยุดยั้งแผนร้ายนี้ได้ แต่ปัญหากลับเกิดขึ้น เมื่อสามเกลอพบว่าสายลับล่องหนเป็นสาวสวยที่ทำให้พวกเขาต้องหวั่นไหว พล นิกร และกิมหงวน สามเกลอจอมป่วนต้องต่อกรสายลับล่องหน ซึ่งฝ่ายผู้ก่อการร้ายส่งเข้ามาทำการสังหาร ดร.ดิเรก นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของไทย สามเกลอสามารถหยุดยั้งแผนร้ายนี้ได้แต่กลับพบว่าสายลับล่องหน เป็นสาวสวยที่ทำให้พวกเขาหวั่นไหว ถึงขั้นมีปัญหากับภรรยาตัวจริงเลยทีเดียว และเกิดเรื่องปั่นป่วนจนเหมือนทุกอย่างจะเข้าแผนผู้ก่อการร้ายอีกครั้ง เหล่าสามเกลอจึงต้องกลับมายับยั้งแผนร้ายอีกครั้ง

เจ็ดประจัญบาน (2506)
เจ็ดประจัญบาน (2506/1963) ข้อความบนใบปิด วัชรภาพยนตร์ ภูมิใจเสนอเป็นอย่างยิ่ง เจ็ดประจัญบาน จากบทประพันธ์ของ ส.อาสนจินดา 54 ดารา มิตร ชัยบัญชา ส.อาสนจินดา ทักษิณ แจ่มผล อาคม มกรานนท์ รุจน์ รณภพ และ 3 สาวต่างประเทศประชันโฉม มิสคริสติน เหลียง แห่ง ฮ่องกง มิสจางเซฟาง แห่ง ไต้หวัน มิสลินดา แห่ง ญี่ปุ่น ขอแนะนำสาวสวยคนใหม่ ปันใจ นาควัฒนา ส.อาสนจินดา กำกับฯ ฉลอง ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ วิมล ยิ้มละมัย อำนวยการสร้าง สนั่น นาคสู่สุข ดำเนินงานสร้าง
สิบสองนักสู้ (2502)
สิบสองนักสู้ (2502/1959) *ชื่อเดิม “สิบสองมือปืน” ไม่ผ่านเซ็นเซ่อร์ จึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น “สิบสองนักสู้” อดุลย์-วิไลวรรณ ข้อความบนรูปโฆษณา วิจิตรภาพยนตร์ เสนอ เกรียงไกรและยิ่งใหญ่ เหนือกว่านักสู้ทั้งหลายบนปฐพี.. นั่นคือ สิบสองนักสู้ ส.อาสนจินดา สร้างบทภาพยนตร์ และกำกับการแสดง วิจารณ์ ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ นำแสดงโดย อดลย์ ดุลยรัตน์, ชรินทร์ งามเมือง, ส.อาสนจินดา, อบ บุญติด, จำรูญ หนวดจิ๋ม, ทองฮะ วงศ์รักไทย, เปิ่น ปาฏิหาริย์ สิงห์ มิลินทราศัย, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, สุระ นานา, ชาลี อินทรวิจิตร, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, วิภา วัฒนธำรง, สงวน, สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช พร้อมด้วย เมืองเริง ปัทมินทร์, เทียนชัย สุนทรการันต์, จุมพล ปัทมินทร์, ประกอบ ดาราผู้ให้เกียรติ อาคม มกรานนท์, สาหัส บุญหลง, ประมินทร์ จารุจารีต, ศิริพงษ์ อิศรางกูร, ทองแป๊ะ, เกริก, พงษ์ศิริ และผู้ร่วมแสดงนับร้อย กำลังฉายวันนี้ที่ พัฒนากร-เอ็มไพร์ ฉายวันละ 5 รอบ 12.00 น. 14.00 น.16.30 .19.00 น. 21.15 น. (ที่มา :Thai Movie Posters)
หนึ่งต่อเจ็ด (2501)
หนึ่งต่อเจ็ด (2501/1958) หนึ่งต่อเจ็ด เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2501 เป็นผลงานการกำกับของ ส.อาสนจินดา เป็นภาพยนตร์ตอนแรกในภาพยนตร์ชุด หนึ่งต่อเจ็ด ภาพยนตร์ภาคต่อของไทยที่ได้รับการสร้างอย่างต่อเนื่องมากที่สุดในอดีต โดยเป็นเรื่องราววีรกรรมการกอบกู้ชาติไทย เชือกกล้วย กางเกงแดง กลายเป็นเอกลักษณ์ของจ่าดับ จำเปาะ ที่รับบทโดย ส.อาสนจินดา ซึ่งเป็นตัวละครหลักของภาพยนตร์เรื่องนี้
สามเกลอหักด่าน (2499)
สามเกลอหักด่าน (2499/1956) เรื่องราวความโกลาหลของ สมพงษ์ คนกวาดถนนที่ถึงคราวต้องไปรับใช้ชาติ สมพงษ์สังกัดอยู่ในกรมกองเดียวกับ ล้อต๊อก และ หมู่จุมพล อริเก่า และเพิ่งจะรู้ว่า ซูหยิน หญิงสาวที่เขาหลงรักเป็นน้องสาวของล้อต๊อก ส่วน สารภี คนรักของล้อต๊อกก็บังเอิญเป็นน้องสาวของสมพงษ์ ทั้งสามเกลอจึงลืมเรื่องบาดหมางในอดีตและปรองดองกัน ขณะนั้น ศัตรูประกาศรุกรานประเทศไทยทหารสามเกลอถูกส่งตัวไปทำหน้าที่พลลาดตระเวนสอดแนมข้าศึก ภายใต้ความรับผิดชอบของ ร.ต.อธึกระหว่างนั้น พลประสาน ปัทมเวณูได้หายตัวไป ทุกคนจึงออกตามหา สามเกลอซึ่งกำลังลอบเข้าไปค่ายข้าศึก แอบได้ยินแผนการโจมตีประเทศไทย และได้เห็นพลประสานกำลังถูกข้าศึกทรมานเสียชีวิต สามเกลอใช้ความพยายามขโมยแผนการโจมตีลับได้สำเร็จ ล้อต๊อกกลับไปแจ้งข่าวกับผู้บัญชาการ กองทัพไทยจึงยกทัพเข้าโจมตีจนเกิดการรบขึ้น ล้อต๊อกตรึงกำลังอยู่และได้เห็นว่าข้าศึกมีกำลังเยอะกว่า จึงยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อมายับยั้งการบุกโจมตีของกองทัพไทย เมื่อรวบรวมกำลังคนได้เท่าเทียมกับข้าศึก กองทัพไทยจึงเข้าต่อสู้อีกครั้ง พลทหารสมพงษ์ได้เสียสละชีวิตกระโดดเข้ารับลูกระเบิดเพื่อไม่ให้ผู้อื่นเป็นอันตราย ประเทศไทยจึงรอดพ้นจากการรุกรานของข้าศึกมาได้
เชื้อไม่ทิ้งแถว 2470
เรื่องย่อ : เชื้อไม่ทิ้งแถว (2470/1927) เป็นเรื่องสมเหตุสมผล พร้อมไปด้วยคติสอนใจ โลดโผน โศก รัก ตลก คะนอง กับยังมียวดยานเกือบทุกประเภทแสดงประกอบอยู่ในเรื่อง เช่น รถยนต์ รถไฟ เรือยนต์ เรือแข่ง เรือกระฐินหลวง เครื่องบิน ฉวี (พระเอก) ต้องผจญภัยไม่แต่เพียงในเรื่องเท่านั้น แม้แต่นอกเรื่องก็ถูกผจญภัยด้วย ดังข่าวตกเครื่องบินในขณะทำการแสดง ดังปรากฏในข่าวหนังสือพิมพ์ที่เคยลงซู่ซ่ากันมาแล้ว ผู้ที่ได้รับความชมเชยเป็นพิเศษยังมีอีก เช่น เล็ก ซึ่งแสดงเป็นตัวนางลม้าย ภรรยานายสมบุญ (เชงจู) ผู้นี้นับว่าทำหน้าที่แม่ได้สนิทมาก โรคปากมากก็เป็นที่ 1 บูชาพ่อหลานชาย (สนอง) เสียเป็นเทวดา เข้าใกล้ผัวทีใดเป็นมีเรื่องทะเลาะกับผัววันยังค่ำ ทุกสิ่งของแม่ลม้ายไม่มีสิ่งใดที่จะเหลือไว้ให้สงสัยเลยว่าพ่อหลานชายยอดยากของแก เป็นบรมจอมโจรที่จะคอยล้วงตับแกในวันแล้ววันอีก ถ้าผัวคัดค้านถึงเรื่องพ่อหลานชายคนนี้ แม่ลม้ายเป็นแหงคัดค้านเสียจนคอหอยแทบจะระเบิดทีเดียว ในที่สุดนายสมบุญก็ต้องยอมแพ้ตามเคย เพราะทนปากแม่ลม้ายไม่ไหว ยังอีกคนหนึ่งคือ ตุ๊ ซึ่งแสดงเป็นนางผ่อง คนใช้ผู้สัตย์ซื่อของนางเอก นางผ่องคนนี้ไม่แต่เป็นคนใช้ที่ซื่อสัตย์ ยังทำหน้าที่เป็นตัวโจ๊กของเรื่องได้อย่างขบขันมาก ความขบขันของนางผ่องผู้นี้จะเห็นได้คราวหนึ่ง เผอิญไปแอบเห็นนายสาวกำลังกอดกับพระเอก นางผ่องจะเกิดรู้สึกขันอย่างไรไม่ทราบ ถึงกับปล่อยถาดถ้วยกาแฟลงไปกับพื้นดังโครมใหญ่ ยังอีกตอนหนึ่ง อารามตกใจว่าคู่รัก ของนายสาวถูกเจ้าสนั่น ตัวโกงหลอกเอาไป วิ่งกระหืดกระหอบไปบอกนายเสียจน "หางหงษ์" หลุด ความจริง สังขารของนางผ่อง ประกอบกับท่าทางที่แสดง ก็ชวนให้ น่าขันอยู่แล้ว ยิ่งไปทำอาการจูบพระธรณีในขณะที่วิ่งจนนางหางหงษ์หลุด จึงดูอาการคล้ายๆ กับลูกฟักใบเขื่องๆ ตกตุบลงในกองดินอย่างหนักๆ ตอนนี้จะทำให้ท่านผู้ดูถึงกับกลั้นหัวเราะไว้ไม่ไหวทีเดียว เพื่อเป็นหลักฐานแสดงให้ท่านเห็นว่าเรื่อง "เชื้อไม่ทิ้งแถว" เป็นเรื่องควรแก่การทัศนาของท่านเพียงใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี ภายหลังเมื่อได้ทอดพระเนตรแล้ว มีพระราชดำรัสชมเชยว่า "เรื่องนี้ของเขาพอดูได้" (ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวภาพยนตร์ พ.ศ. 2470)