ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี (2554/2011) การประกาศเอกราชที่เมืองแครง และสังหารสุระกำมาเหนือยุทธภูมิฝั่งแม่น้ำสะโตงของ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” (สมเด็จพระนเรศ) ในปีพุทธศักราช 2127 ได้สร้างความตระหนกแก่ “พระเจ้านันทบุเรง” องค์ราชันหงสาวดีพระองค์ใหม่ ด้วยเกรงว่าการแข็งข้อของอยุธยาในครั้งนี้จะเป็นเยี่ยงอย่างให้เหล่าเจ้าประเทศราชที่ขึ้นกับหงสาวดีอาศัยลอกเลียนตั้งตัวกระด้างกระเดื่องตาม แต่จนพระทัยด้วยติดพันศึกอังวะ จึงจำต้องส่งเพียงทัพ “พระยาพะสิม” และ “พระเจ้าเชียงใหม่” เข้าประชิดกรุงศรีอยุธยา ทางหนึ่งนั้นพระเจ้านันทบุเรงทรงประมาทสมเด็จพระนเรศ ด้วยเห็นว่ายังอ่อนพระชันษาคงมิอาจรับมือจอมทัพผู้ชาญณรงค์ทั้งสองได้ ทางหนึ่งก็สำคัญว่ากรุงศรีอยุธยายังบอบช้ำแต่คราวสงครามเสียกรุง ไพร่พลเสบียงกรังยังมิบริบูรณ์คงยากจะรักษาพระนคร ครั้งนั้นพม่ารามัญยกเข้ามาเป็นศึกกระหนาบถึง 2 ทาง ทัพพระยาพะสิมยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์เลยล่วงเข้ามาถึงแดนสุพรรณบุรี ส่วนพระเจ้าเชียงใหม่-นรธาเมงสอมาจากทางเหนือ นำทัพบุกลงมาตั้งค่ายถึงบ้านสระเกศ แขวงเมืองอ่างทอง กิตติศัพท์การชนะศึกของสมเด็จพระนเรศหลายครั้งหลายคราระบือไกลถึงแผ่นดินละแวก “เจ้ากรุงละแวก” มิได้ทอดธุระ ได้ลอบส่งจารชนชาวจีนฝีมือกล้านามว่า “พระยาจีนจันตุ” มาลอบสืบความที่กรุงศรีอยุธยาแต่ถูกจับพิรุธได้จนต้องลอบตีสำเภาหนีกลับกรุงละแวก สมเด็จพระนเรศทรงนำทัพเรือออกตามจนเกิดยุทธนาวี แต่พระยาจีนจันตุหนีรอดได้ เมื่อเจ้ากรุงละแวกได้ทราบกิตติศัพท์การณรงค์ของพระนเรศจึงเปลี่ยนพระทัยหันมาสานไมตรีกับอยุธยา และส่ง “พระศรีสุพรรณราชาธิราช” ผู้อนุชามาช่วยอยุธยาทำศึกหงสา หากแต่พระศรีสุพรรณผู้นี้ต่างจากเจ้ากรุงละแวกเพราะหาใคร่พอใจผูกมิตรด้วยอยุธยา การได้พระศรีสุพรรณฯ มาเป็นสหายศึกจึงประหนึ่งอยุธยาได้มาซึ่งหอกข้างแคร่

ภูเก็ต PHUKET (2553/2010) จิน (อิม ซูจอง) เป็นดาราสาวชื่อดังของเกาหลี เธอเบื่อหน่ายกับชื่อเสียงและมายาภาพในวงการบันเทิง จึงเดินทางมาพักผ่อนยังจังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย ที่นั่น เธอได้พบกับ พงษ์ (สรพงษ์ ชาตรี) คนขับรถลีมูซีนของโรงแรม วัยกลางคน ซึ่งได้พาเธอไปรู้จักกับภูเก็ตในแง่มุมที่ต่างออกไป พร้อมกับมิตรภาพอันงดงามของคนต่างเพศ ต่างวัย และต่างวัฒนธรรม ของทั้งคู่ก็บังเกิดและพัฒนาขึ้น

เรื่องย่อ : เสน่ห์กรุงเทพ (2009/2553) เสน่ห์กรุงเทพ หรือ สวัสดีบางกอก เป็นภาพยนตร์สั้น 9 เรื่อง จาก 9 ผู้กำกับฯ และหลายนักแสดงที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก ความยาวตอนละประมาณ 20 นาที จากการอำนวยการสร้างและผลิตโดย กรุงเทพมหานคร และสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย

ตอน : มาหานคร สน ชาวนาชาวอ่างทองบังเอิญถูกล็อตเตอรี จึงเดินทางมากรุงเทพฯเป็นครั้งแรก พร้อมกับ ม้าย เมียสาว เพื่อหวังที่จะถ่ายรูปวัดพระแก้ว สนและม้ายได้ไปในหลายที่ของที่มีคนบอกว่า คือ สัญลักษณ์ของกรุงเทพฯที่แท้จริง ในที่สุด เขาก็ต้องตกรถ แต่ในที่สุดเขาและเมียก็ได้พบกับความหมายที่แท้จริงของคำว่า "กรุงเทพฯ"

ตอน : ทัศนา นา สาวตาบอด หารายได้จากการขายล็อตเตอรีอาศัยอยู่ใต้สะพานโทรม ๆ เธอปรารถนาที่จะมองเห็น จนกระทั่งในวันหนึ่งเธอก็ได้พบกับเทวดา ผู้ที่ทำหน้าที่เสมือนดวงตาให้เธอ

ตอน : กรุงเทพมหาเสน่ห์ ภาพยนตร์ในเชิงสารคดีถ่ายทอดเรื่องราวของหลากหลายวิถีชีวิตผู้คนในกรุงเทพฯ ด้วยอารมณ์ขันแบบเสียดสี ตลก แต่น่ารัก

ตอน : หลงแต่ไม่ลืม แอ๊ด อดีตนักดนตรีวัยกว่า 60 เดินทางด้วยรถเมล์ เขาได้พบกับนักดนตรีหนุ่มรุ่นหลานบนรถ และหลงทางไปจนถึงเวิ้งนาครเกษม ณ ที่นั่นความทรงจำเดิม ๆ ในวัยหนุ่มจึงกลับมาคืนมาอีกครั้ง

ตอน : Silence หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวโฉบเฉี่ยวตามสมัย เธอออกเที่ยวกลางคืนอย่างสุดเหวี่ยง แต่เผอิญขากลับรถเกิดเสีย เธอได้พบกับคนบ้าใบ้ท่าทางน่ากลัว เหมือนกับว่าจะมาคุกคามเธอ แต่แล้วเธอก็ได้พบกับความหมายที่แท้จริง

ตอน : Bangkok Blues เด็กหนุ่มลูกครึ่ง 2 คน เพื่อนกัน คนหนึ่งกำลังหัวเสียเนื่องจากแฟนสาวบอกเลิก จึงชวนอีกคนหนึ่งตามไปง้อ ซึ่งเด็กหนุ่มคนนั้นเป็นคนชอบบันทึกเสียงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ต่างสถานที่ ต่างเวลากัน

ตอน : กรุงเทพที่รัก ภาพยนตร์สารคดี บทสัมภาษณ์ของหลากหลายผู้คนในกรุงเทพฯ ตั้งแต่พระสงฆ์จนถึงสาวประเภทสอง

ตอน : พี่-น้อง เอิน เด็กสาววัยมัธยมต้น มีความอิจฉาลึก ๆ ต่อ แอน พี่สาว ซึ่งเป็นนักกีฬายิมนาสติกลีลาสาวสวยของโรงเรียน แอนมีทุกอย่างสมบูรณ์พร้อมไปหมด เอินพยายามจะทำทุกวิถีทางเพื่อหาจุดอ่อนที่จะเป็นความล้มเหลวของพี่สาวตัวเองให้ได้ และเมื่อแอนกำลังจะมีแฟนหนุ่ม เอินจึงพยายามทำลาย แต่แล้วเธอก็ได้พบกว่า แท้จริงแล้วพี่สาวเธอ รวมทั้งพ่อแม่รักเธอยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด

ตอน : ผีมะขาม ชายหนุ่มคนหนึ่งได้ซื้อบริการและหลับนอนกับโสเภณี ที่โรงแรมโทรม ๆ เขาและเธอได้พูดคุยกัน พร้อมกับเดินไปด้วยกันจากสนามหลวงจนถึงถนนราชดำเนินในยามค่ำคืน ณ ที่นั่น เธอได้เล่าเรื่องราวของเธอให้เขารู้ ท้ายที่สุดเขาไม่แน่ใจว่า เธอคือ คนหรือผีกันแน่

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ (2550/2007) พ.ศ. 2114 “สมเด็จพระมหาธรรมราชา” ซึ่งพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อจากพระมหินทราธิราชได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นอุปราชครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองสวรรคตในปี พ.ศ. 2124 “พระเจ้านันทบุเรง” ขึ้นเสวยราชย์สืบแทน และสถาปนาพระโอรส “มังสามเกียด” ขึ้นเป็น “พระมหาอุปราชา” รัชทายาท ในการนี้เจ้าเมืองประเทศราชทั้งหลายต้องมาร่วมแสดงความสวามิภักดิ์ รวมถึงพระมหาธรรมราชาและสมเด็จพระนเรศวรด้วย ในขณะที่เจ้าฟ้าเมืองคังไม่ได้เสด็จมาร่วมพระราชพิธีสำคัญครั้งนี้ เป็นเหตุให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงทรงมอบหมายให้พระมหาอุปราชา, พระราชนัดดา “นัดจินหน่อง” พระโอรสเจ้าเมืองตองอู, และสมเด็จพระนเรศวรช่วยกันเข้าตีเมืองคัง แต่พระมหาอุปราชากลับสั่งให้สมเด็จพระนเรศวรเข้าตีเป็นทัพสุดท้าย ด้วยความมั่นใจว่าทัพของพระองค์และนัดจินหน่องจะประสบความสำเร็จ แต่ปรากฏว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงมีชัยชนะในศึกเมืองคังนี้ สามารถจับตัวเจ้าฟ้าเมืองคังและพระธิดา “เลอขิ่น” กลับมาได้ รัชทายาทหงสาวดีและราชนิกูลฝ่ายพม่าซึ่งเป็นคู่ปรับกันมาตั้งแต่เยาว์วัยจึงขุ่นเคืองอาฆาตสมเด็จพระนเรศวรเป็นทวีคูณ ต่อมาเมื่อเกิดศึกอังวะ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงให้สมเด็จพระนเรศวรนำทัพมาช่วยรบ แต่พระมหาอุปราชากลับใช้โอกาสนี้วางแผนลอบปลงพระชนม์ ในขณะที่สมเด็จพระนเรศวรทรงยั้งทัพอยู่ ณ เมืองแครง แต่ข่าวการลอบปลงพระชนม์ได้ล่วงรู้ถึงสมเด็จพระนเรศวรผ่านทางพระมหาเถรคันฉ่อง สมเด็จพระนเรศวรจึงถือเหตุการลอบปลงพระชนม์ในการประกาศอิสรภาพตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดี และกวาดต้อนชาวไทยชาวมอญกลับคืนพระนคร ฝ่ายหงสาวดีเมื่อทราบว่าการลอบปลงพระชนม์ไม่สำเร็จจึงให้นายทัพสุระกำมาเร่งนำทัพออกติดตามทัพของสมเด็จพระนเรศวร ในที่สุดก็ทัพหงสาวดีก็ตามมาถึงในขณะที่สมเด็จพระนเรศวรและไพร่พลกำลังข้ามแม่น้ำ และศึกครั้งนี้สมเด็จพระนเศวรทรงใช้พระแสงปืนต้นยิงข้ามแม่น้ำสะโตงถูกแม่ทัพสุระกำมาตายบนคอช้าง ทัพพม่าจึงล่าถอยกลับไป

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา (2550/2007) พุทธศักราช 2106 “พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง” ทรงกรีฑาทัพเข้าตีราชอาณาจักรอยุธยาทางด่านระแหงแขวงเมืองตาก ทัพพม่ารามัญซึ่งมีรี้พลเหลือคณานับได้เข้ายึดครองหัวเมืองฝ่ายเหนือของราชอาณาจักรอยุธยาอันมีเมืองพิษณุโลกเป็นประหนึ่งเมืองราชธานีได้เป็นผลสำเร็จ ครั้งนั้น “สมเด็จพระมหาธรรมราชา” (ฉัตรชัย เปล่งพานิช) พระราชบิดาของ “สมเด็จพระนเรศวร” หรือ “พระองค์ดำ” (ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์) ซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินครองเมืองพิษณุโลกจำต้องยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนองเพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตอาณาประชาราษฎร์มิให้ต้องมีภยันตรายและจำต้องยอมร่วมกระบวนทัพพม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยา ศึกครั้งนั้นสมเด็จพระมหา จักรพรรดิเจ้าแผ่นดินอยุธยาทรงยอมเจรจาหย่าศึกกับพม่ารามัญ และยอมถวายช้างเผือก 4 เชือก ทั้งให้สมเด็จพระราเมศวรราชโอรสโดยเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปประทับยังนครหงสาวดีตามพระประสงค์ของกษัตริย์พม่า ข้างสมเด็จพระมหาธรรมราชาซึ่งได้ยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนองก็ได้ถวายสมเด็จพระนเรศวรราชโอรสองค์โตให้ไปเป็นองค์ประกันประทับยังหงสาประเทศเฉกเช่นกัน ครั้งนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้เพียง 9 ชันษา สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นที่รักใคร่ของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองประดุจพระราชบุตรร่วมสายสันตติวงศ์ ด้วยองค์ยุพราชอยุธยาทรงมีพระปรีชาสามารถด้านพิชัยยุทธ ทั้งยังองอาจกล้าหาญสบพระทัยกษัตริย์พม่าซึ่งก็ทรงเป็นนักการทหาร นิยมผู้มีคุณสมบัติเป็นนักรบเยี่ยงพระองค์ พระเจ้าบุเรงนองทรงมีสายพระเนตรยาวไกล แลเห็นว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะได้ขึ้นเป็นใหญ่ในอุษาคเนย์ประเทศ จึงทรงคิดใคร่ปลูกฝังให้สมเด็จพระนเรศวรผูกพระทัยรักแผ่นดินหงสา เพื่อจะได้อาศัยพระองค์เป็นผู้สืบอำนาจอุปถัมภ์ค้ำชูราชอาณาจักรซึ่งพระองค์ทรงสถาปนาขึ้นด้วยความยากลำบาก เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระเจ้าบุเรงนองนั้นหาได้วางพระทัยในพระราชโอรสคือ “มังเอิน – พระเจ้านันทบุเรง” (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์) และพระราชนัดดา “มังสามเกียด” (โชติ บัวสุวรรณ) นัก ถึงแม้ทั้งสองพระองค์จะทรงเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขโดยตรง ด้วยทรงเล็งเห็นว่าราชนิกุลทั้งสองพระองค์นั้นหาได้เป็นผู้ทรงคุณธรรมอันจะน้อมนำเป็นพื้นฐานให้เติบใหญ่เป็นบูรพกษัตริย์ ปกป้องครองแผ่นดินที่พระองค์ทรงสร้างและทำนุบำรุงมาด้วยกำลังสติปัญญาและความรักใคร่หวงแหน เหตุทั้งนี้เป็นชนวนให้พระเจ้านันทบุเรงและราชโอรสมังสามเกียดขัดพระทัย ทั้งผูกจิตริษยาสมเด็จพระนเรศวรซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองกว่าราชนิกุลข้างพม่าทั้งหลายทั้งสิ้น พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดให้ “พระมหาเถรคันฉ่อง” (สรพงษ์ ชาตรี) พระรามัญผู้มากด้วยวิทยาคุณและเจนจบในตำราพิชัยสงครามเป็นพระอาจารย์ถ่ายทอดศิลปะวิทยาการแก่สมเด็จพระนเรศวร นับแต่เริ่มเข้าประทับในหงสานครยังผลให้ยุพราชอยุธยาเชี่ยวชาญการยุทธ กลช้าง กลม้า กลศึก ทั้งข้างอยุธยาและข้างพม่ารามัญหาผู้เสมอเหมือนมิได้ ข้อได้เปรียบตามกล่าวเป็นเสมือนทุนทางปัญญาอันส่งผลให้สมเด็จพระนเรศวรสามารถกอบกู้เอกราช แก้ทางศึกจนมีชัยเหนือพม่ารามัญในภายภาคหน้า พุทธศักราช 2112 ปรากฏข่าวระบือไปถึงหงสาวดีว่าหัวเมืองพิษณุโลกฝ่ายเหนือแลกรุงศรีอยุธยาราชธานีฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรสยามครั้งนั้นเกิดขัดแย้งปีนเกลียวกัน เหตุเนื่องมาจาก “สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ” (ศรัณยู วงศ์กระจ่าง) เจ้าแผ่นดินอยุธยาเสด็จออกผนวช แลสถาปนา “สมเด็จพระมหินทร์” (สันติสุข พรหมศิริ) ราชโอรสองค์รองขึ้นเสวยราชสมบัติสืบแทน สมเด็จพระมหินทร์ทรงคลางแคลงพระทัยในความจงรักภักดีของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแต่ครั้งสงครามชิงช้างเผือกในปีพุทธศักราช 2106 ขณะที่เจ้าแผ่นดินพิษณุโลกก็หาได้ยำเกรงสมเด็จพระมหินทร์เช่นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อเห็นการใดมิควรก็บังคับบัญชาให้สมเด็จพระมหินทร์ปฏิบัติตามพระประสงค์จนเป็นที่ขุ่นเคืองพระราชหฤทัยกษัตริย์อยุธยาพระองค์ใหม่ถึงกับหันไปสมคบกับ “สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช” (รอน บรรจงสร้าง) พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวร่วมกันแต่งกลเข้าตีเมืองพิษณุโลก แต่กระทำการมิสำเร็จพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเห็นเชิงสบโอกาสก็ยกทัพใหญ่เข้าตีกรุงศรีอยุธยาอีกคำรบ ครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรร่วมโดยเสด็จมากับทัพหงสาแต่หาได้ตามพระเจ้าบุเรงนองลงมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ทรงประทับอยู่เพียงเมืองพิษณุโลก มีเพียงสมเด็จพระมหาธรรมราชาโดยเสด็จกษัตริย์หงสาลงมาล้อมกรุงด้วยตั้งพระทัยจะเกลี้ยกล่อมให้สมเด็จพระมหินทร์ยอมสวามิภักดิ์พระเจ้าบุเรงนอง เพราะเล็งเห็นว่าอยุธยายากจะต่อรบเอาชัยทัพพม่ารามัญซึ่งมีกำลังไพร่พลเหนือกว่าได้ หากขัดขืนต่อรบจะได้ยากแก่สมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎร์ ศึกครั้งนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงลาผนวชมาบัญชาการรบด้วยพระองค์เอง แต่อยู่ได้มิช้านานก็เสด็จสวรรคตเสียระหว่างศึกพุทธศักราช 2112 มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 11 ค่ำ กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ข้างสมเด็จพระนเรศวรซึ่งประทับอยู่ยั้งยังนครพิษณุโลกแต่ต้นศึก หาได้ทรงเห็นงามหรือคิดครั่นคร้ามอ่อนน้อมต่อหงสา ถึงจะทรงรู้ซึ้งว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดามิได้คิดคดเป็นกบฏต่อแผ่นดิน แต่ก็หาได้เห็นด้วยกับการอ่อนข้อสวามิภักดิ์พม่ารามัญ น้ำพระทัยอันมั่นคงเด็ดเดี่ยวนั้น ถึงแม้จะมิได้แพร่งพรายถึงพระกรรณพระเจ้าบุเรงนอง แต่ก็ประจักษ์อยู่ในหมู่ข้าราชบริพารใกล้ชิดผู้รักและหวงแหนในเอกราชของแผ่นดินจึงพากันนิยมในน้ำพระทัย แลพร้อมใจถวายความจงรักภักดีแต่นั้นมา ครั้นเสร็จศึกอยุธยาพุทธศักราช 2112 สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงถวาย “พระสุพรรณกัลยา” (เกรซ มหาดำรงค์กุล) พระพี่นางสมเด็จพระนเรศวรแก่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง แลขอตัวสมเด็จพระนเรศวรไว้ช่วยราชการข้างอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรจึงประทับยั้งอยู่ยังเมืองพิษณุโลก สืบต่อมาครั้นลุปีพุทธศักราช 2114 สมเด็จพระมหาธรรมราชา ซึ่งพระเจ้าบุเรงนองสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อจากสมเด็จพระมหินทร์ก็โปรดให้สมเด็จพระนเรศวรเสวยราชย์ครองเมืองพิษณุโลกเป็นใหญ่เหนือหัวเมืองเหนือทั้งปวง เหตุการณ์ข้างพม่า หลังจากพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองสิ้นพระชนม์ในปีพุทธศักราช 2124 พระเจ้านันทบุเรงได้ขึ้นเสวยราชสืบต่อและได้สถาปนามังสามเกียดขึ้นเป็นรัชทายาทครองตำแหน่งมหาอุปราชาแห่งราชอาณาจักรหงสาวดี เมื่อแผ่นดินหงสามีอันต้องผลัดมือมาอยู่ในปกครองของพระเจ้านันทบุเรง สัมพันธไมตรีระหว่างอยุธยาและหงสาวดีก็เริ่มสั่นคลอน ด้วยพระเจ้าหงสาวดีพระองค์ใหม่มิได้วางพระทัยในสมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระนเรศวรเองก็หาได้เคารพยำเกรงในบุญบารมีของพระเจ้าแผ่นดินพม่ารามัญเช่นกาลก่อน มิเพียงเท่านั้นสมเด็จพระนเรศวรยังได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถให้เป็นที่ปรากฏครั่นคร้าม ดังคราวนำกำลังทำยุทธนาวีกับพระยาจีนจันตุและศึกเมืองคังเป็นอาทิ พระเจ้านันทบุเรงทรงเกรงว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะเป็นภัยต่อพระราชวงศ์แลแผ่นดินหงสา จึงหาเหตุวางกลศึกหมายจะปลงพระชนม์สมเด็จพระนเรศวรเสียที่เมืองแครง แต่พระมหาเถรคันฉ่องพระราชครูลอบนำแผนประทุษร้ายนั้นมาแจ้งให้ศิษย์รักได้รู้ความ สมเด็จพระนเรศวรจึงถือเป็นเหตุประกาศเอกราช ตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดี แลกวาดต้อนครัวมอญไทยข้ามแม่น้ำสะโตงกลับคืนพระนคร ซึ่งเป็นชนวนให้พระเจ้านันทบุเรงเปิดมหายุทธสงครามสั่งทัพเข้ารุกรานราชอาณาจักรอยุธยาสืบแต่นั้นมา

มวยไทย นายขนมต้ม (2546/2003) นายขนมต้ม (ภาณุทัต รัตนไตร) ลูกชายของนายเกิดและนางอี่ ชาวบ้านกุ่ม แขวงขุนเสนา มีพี่สาวชื่ออีเอื้อย ทั้งสามถูกพม่าฆ่าตายตั้งแต่ขนมต้มยังเด็ก จึงอาศัยอยู่กับหลวงตาคง (เล็ก เฉยสวัสดิ์)วัดปีกกาจนเติบใหญ่ นายขนมต้มถูกอ้ายดำรังแก แต่มี ชายนิรนาม (ดามพ์ ดัสกร) ช่วยไว้ ทำให้ขนมต้มเห็นคุณค่าของแม่ไม้มวยไทย จึงขอร้องให้ชายนิรนามสอนให้แต่ถูกปฏิเสธ นายสอน (ไกร ครรชิต) และ อ้ายดำ ขอท้ามวยกับชายนิรนาม ถึงสองครั้งสองคราแต่ถูกปฏิเสธ ขนมต้มขอสู้กับอ้ายดำและเป็นฝ่ายชนะ นายสอนผู้เป็นพ่อจึงขอแก้มือ และทำให้รู้ว่า ชายนิรนามคือคนที่เขาตามหา หวังให้ร่วมรับศึกกับพม่า ทำให้ทั้งหมดร่วมใจกันคิดสู้พม่า และหลังจากนั้น ขนมต้มกับอ้ายดำ ก็เป็นเพื่อนรักกันตั้งแต่นั้นมา จากนั้น ขนมต้มได้ลาหลวงตาคง เดินทางร่วมกับอ้ายดำไปป่าโมก เพื่อฝึกวิชามวยเพิ่ม โดยขนมต้มไปอาศัยอยู่กับ ทองอยู่ (นิวัติ พิบูลย์ศิริ) และนางยมซึ่งเป็นญาติ ขณะที่อ้ายดำไปหาครูเสา (มีศักดิ์ นาครัตน์) ข่าวข้าศึกพม่าประชิดกรุงศรีฯ และจะมีทัพพม่าผ่านทางป่าโมก พันเพชร (ยอดชาย เมฆสุวรรณ) กับ ครูสุก (สมชาติ ประชาไทย) ได้วางแผนดัน อ้ายเปลว (สุเมธ อ่อนนวล) เป็นนายทัพ โดยเรียกครูเสากับทองอยู่มาประชุม ครูเสาได้ต่อว่าครูสุก ที่ให้อ้ายเปลวออกไปรบกับพม่า โดยไม่ให้พวกตนไปด้วย ครูสุกบอกว่าพวกครูเสาเป็นเพียงทัพหลัง หาใช่ดั่งอ้ายเปลว ที่เป็นเหมือนนายทัพ และกล่าวว่าหากคิดว่ามีฝีมือดีก็ลองดู... วันต่อมา อ้ายดำและ อ้ายเทียบ (เฉลิมชัย สายทอง) นำพวกแอบซุ่มโจมตีฆ่าพม่าได้ยี่สิบคน แต่อ้ายดำได้รับบาดเจ็บ ครูสุกจึงมีความโกรธแค้น ที่อ้ายดำและอ้ายเทียบพร้อมพรรคพวก ทำได้เช่นเดียวกับอ้ายเปลว อีกทั้งทราบข่าวว่า ขนมต้มกับออนุ่น ซึ่งเป็นฝ่ายสอดแนม กำลังเดินทางไปกรุงศรีฯ จึงตามไปดักรอในป่าที่โพงเพง เมื่อประจันหน้ากันแล้ว ครูสุกได้ใช้แม่ไม้มวยไทยกับขนมต้มจนได้รับบาดเจ็บ และฆ่าออนุ่นตาย เหตุเพราะต้องการทราบว่า ขนมต้มเรียนแม่ไม้มวยไทยมาจากใคร เพราะคนๆ นั้นคือคนที่ครูสุกตามหาอยู่ อีกทั้งหมายจะฆ่าขนมต้มด้วย แต่ชายนิรนามมาช่วยไว้ทัน เมื่อทุกคนทราบว่า ครูสุกดักทำร้ายขนมต้มและฆ่าออนุ่นตาย จึงมีความโกรธแค้นและยกพวกมาจับครูสุก ครูสุกขัดขืนและหนีไป ส่วนอ้ายเปลวโดนจับและกักตัวไว้ แต่ จั๊กกะจั่น (บุญธิดา นาคเจริญ) แอบมาช่วยให้อ้ายเปลวหนีไป หลังจากทุกคนทราบว่า ครูสุกและอ้ายเปลวหักหลังคนไทยด้วยกัน โดยอ้ายเปลวนำทัพพม่าบุกป่าโมก จึงให้ขนมต้มกับอ้ายมิ่งขึ้นกรุงศรีฯ ขออาวุธและทหารมาช่วย แต่ระหว่างทาง เจอครูสุกดักรอขอประลองมวย ครูสุกแพ้จึงคิดใช้ดาบฆ่าขนมต้ม แต่ชายนิรนามมาช่วยไว้ทัน และฟันครูสุกคอขาดกระเด็น จากนั้นทั้งสองจึงเดินทางต่อ แต่ก็หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ฝ่ายป่าโมก โดนพม่าซึ่งมีอ้ายเปลวเป็นคนนำทัพโจมตี ทำให้นายสอน, ครูทองอยู่, ครูเสา, จั๊กกะจั่น, มะขาม, อ้ายดำ ตายสิ้น รวมทั้งพันเพชรด้วย ทำให้อ้ายเปลวเกิดความละอายใจ และด้วยความแค้น จึงวิ่งไล่ฆ่าพม่าและคนไทยด้วยกันโดยไม่ยั้งคิด กรรมตามสนองอ้ายเปลวคนขายชาติ มังทอคะยา (อาคะเน บุญเกิด) สั่งจับอ้ายเปลวเป็นเชลย รวมกับคนไทยคนอื่นด้วย ที่ค่ายกักกัน มีการเกณฑ์เชลยไทยมาสร้างเจดีย์หลวง ตามความประสงค์ของพระเจ้ามังระ (ครรชิต ขวัญประชา) ขนมต้มกลายเป็นเชลยศึก และเมื่อทราบเรื่องราวต่างๆ จากอ้ายโตจึงเกิดความเดือดดาล เมื่อเจอกับอ้ายเปลว ทั้งคู่จึงต่อสู้กันด้วยลีลาแม่ไม้มวยไทย แต่ มังสุรนาถ (สมเกียรติ พัฒนทรัพย์) มาห้ามไว้และกล่าวว่า เหตุใดคนไทยจึงชอบมีเรื่องวิวาทกัน และสั่งให้ทั้งสองสู้กัน หากใครแพ้จะถูกบั่นหัวเสียบประจาน ผลออกมาขนมต้มเป็นฝ่ายชนะ เพื่อไม่ให้เป็นการขายหน้าแผ่นดินไทย ขนมต้มจึงต่อยอ้ายเปลวจนตาย ตายด้วยน้ำมือคนไทยด้วยกัน ดีกว่าถูกพม่าบั่นคอเสียบประจาน ตราบจนถึงวาระที่พระเจ้ามังระจัดฉลองพระเจดีย์ จึงได้มีพระราชโองการให้เบิกตัวนายขนมต้มจากที่คุมขัง มาแสดงฝีมือมวยไทยหน้าพระที่นั่ง โดยมีเดิมพันว่า หากขนมต้มแพ้จะถูกบั่นคอ แต่หากชนะขนมต้มประสงค์สิ่งใดก็ทูลขอได้ การต่อสู้มวยไทยของขนมต้ม เป็นไปตามลีลาแม่ไม้มวยไทยที่เป็นต้นตำรับขนานแท้ จนเอาชนะพม่าได้ถึงสิบคน ในเวลาเพียงกะลายังไม่จมน้ำ พระเจ้ามังระทรงให้รางวัลแก่ขนมต้ม เป็นนางสนมถึงสองคนเพื่อไปทำเมีย แต่ขนมต้มปฏิเสธและทูลขอให้พระเจ้ามังระ ทรงพระราชทานอภัยโทษแก่คนไทยได้เป็นอิสระ ไม่ตกเป็นเชลยของพม่าอีกต่อไป พระเจ้ามังระเป็นกษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ ทรงปลดปล่อยคนไทยเป็นอิสระจากการตกเป็นเชลยศึกของพม่า และทรงตรัสชมขนมต้มว่า "คนไทยนี้มีพิษสงรอบตัว แม้มือเปล่ายังเอาชนะคนได้ถึงเก้าคนสิบคน นี่หากว่ามีเจ้านายดี มีความสามัคคีกัน ไม่ขัดขากันเอง และไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว และโคตรตระกูลแล้ว ไฉนเลยกรุงศรีอยุธยาจะเสียทีแก่ข้าศึก ดั่งที่เห็นอยู่ทุกวันนี้"

สุริโยไท (2544/2001) เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สวรรคตในปี พ.ศ. 2072 พระอาทิตยาจึงได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนาม สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ทุกพระองค์เสด็จย้ายจากพิษณุโลกไปประทับ ณ กรุงศรีอยุธยาเมืองหลวง พระเฑียรราชา และ พระสุริโยไท มีโอรสธิดาทั้งสิ้น 5 พระองค์ คือ พระราเมศวร , พระมหินทร, พระบรมดิลก, (พระวิสุทธิ์กษัตริย์) และ พระเทพกษัตรี ประทับอยู่ ณ วังชัย ดำรงอิสริยยศเป็นพระเยาวราช เมื่อสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรสวรรคตด้วยโรคไข้ทรพิษ พระไชยราชา ผู้ซึ่งดำรงพระยศเป็นพระอุปราช ควรจะได้สืบสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ แต่สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรทรงขอให้ สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระโอรสวัย 5 พรรษา อันเกิดแต่พระอัครชายา วัย 17 พรรษา เป็นผู้ขึ้นครองราชย์แทน ระหว่างนั้น บ้านเมืองถูกบริหารโดยขุนนางทุจริต ติดสินบนเถลิงอำนาจ โดยเฉพาะ เจ้าพระยายมราช บิดาของพระอัครชายา 5 เดือนให้หลังสมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงเข้ายึดราชบัลลังก์ และให้สำเร็จโทษพระรัษฏาธิราช ตามราชประเพณีโบราณ รวมถึงสั่งประหารขุนนางทุจริตทุกคน และทรงขึ้นครองราชย์ แผ่บุญญาธิการ เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไป ทรงออกรบปราบหัวเมืองอยู่เนือง ๆ และได้แต่งตั้งพระเฑียรราชาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชา ว่าราชการแทนพระองค์ อยู่ที่กรุงอโยธยา ส่วนพระมเหสีของพระไชยราชา คือ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ได้ลักลอบมีความสัมพันธ์กับ ขุนชินราช ผู้ดูแลหอพระ เชื้อราชวงศ์อู่ทองด้วยกัน และได้สมคบคิดกัน ลอบวางยาพิษปลงพระชนม์พระไชยราชา พระยอดฟ้า พระโอรสของพระไชยราชา ที่ประสูติจาก ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้ขึ้นครองราชย์แทน ในขณะที่มีพระชนม์เพียง 10 พรรษา แต่ต่อมาไม่นาน ก็ถูกท้าวศรีสุดาจันทร์ปลงพระชนม์อีกองค์หนึ่ง แล้วสถาปนาขุนชินราชขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระวรวงศาธิราช นับตั้งแต่สิ้นรัชกาลพระไชยราชา พระเฑียรราชาก็ได้ผนวชเพื่อเลี่ยงภัย ส่วนพระสุริโยไททรงเตรียมฝึกทหาร โดยมีผู้จงรักภักดี คือ ขุนพิเรนทรเทพ, ขุนอินทรเทพ, หมื่นราชเสน่หานอกราชการ และหลวงศรียศลานตากฟั เฝ้าคุ้มกันภัยให้ ได้ร่วมกันปลงพระชนม์ขุนวรวงศา และท้าวศรีสุดาจันทร์ เสียบหัวประจานไว้ที่วัดแร้ง แล้วอัญเชิญพระเฑียรราชา ให้ลาสิกขาบทขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ระหว่างนั้นทางพม่าได้รวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น และแผ่ขยายอำนาจรุกรานไทยภายใต้พระมหากษัตริย์ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ และได้เดินทัพมายังกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2091 เกิดเป็นสงครามยุทธหัตถี ที่ทุ่งมะขามหย่อง ซึ่งเป็นเหตุให้ พระสุริโยไทสิ้นพระชนม์บนคอช้าง เรื่องจบลงด้วยสงครามยุทธหัตถี อันเป็นเรื่องราวความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและความตายของวีรกษัตรีย์ "สุริโยไท" ที่พลีชีพเพื่อรักษาอาณาจักรอยุธยา

ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ (2543/2000) พ.ศ. 2484 เด็กนักเรียนโรงเรียนศรียาภัยจับกลุ่มกัน 8 คน มารุต ประยุทธ บรรจง สนั่น สังวาน สังเวียน ประชุม และวัฒนา ทั้งหมดเป็นเด็กหนุ่มในวัยที่เต็มไปด้วยความฝันและจินตนาการ แต่แล้วสงครามทำให้เด็กวัยรุ่นกลุ่มนี้ ต่างพร้อมใจกันอาสาสมัครที่จะไปตายเพื่อชาติ เมื่อ ร้อยเอกถวิล และ สิบเอกสำราญ และกลุ่มลูกน้อง เดินทางมาจังหวัดชุมพร เพื่อคัดเลือกและฝึกยุวชนทหาร เพื่อเสริมกำลังพลของชาติที่มีไม่เพียงพอหากเกิดสงครามขึ้น ทั้ง 8 คน จึงตัดสินใจลงสมัครพร้อมเพื่อนๆ ในชั้นเรียน การฝึกยุวชนทหารทั้งหมดเป็นการฝึกหนักเยี่ยงการฝึกทหารหาญทั่วไป แม้ขาดอาวุธในการฝึก เพราะไม่มีใครคาดคิดว่าสงครามจะเกิดขึ้น จึงขาดการสนับสนุนจากทางราชการ ร้อยเอกถวิลและเหล่ายุวชนทหารก็ได้จัดการแสดงยุทธกีฬา เพื่อเรื่ยไรเงินมาซื้ออาวุธ ร้อยเอกถวิลนั้นเป็นครูฝึกที่ดุมาก และคุมเข้มในการฝึกทหาร ซึ่งทำให้ร้อยเอกถวิลเป็นครูฝึกที่เด็กๆ ทั้งรักและกลัว ในขณะที่ยุวชนทหารฝึกทหารกัน มารุตกับประยุทธก็เกิดไปชอบพอสาวคนเดียวกัน คือ ชิดชง ทำให้ทั้งคู่ยิ่งชิงดีชิงเด่นกันตลอดเวลา ทั้งเรื่องเรียน การฝึกทหาร และความรัก จนทำให้ทั้งคู่แตกคอกัน ในที่สุด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ชุมพร ยุวชนทหารทั้งหมดต่างกอดคอกันออกไปรบ เพื่อป้องกันประเทศ แม้อาวุธจะมีไม่เพียงพอ ทุกคนก็ต่อสู้จนเต็มกำลัง เพื่อผืนแผ่นดินไทย มารุต ประยุทธ แม้จะชิงดีชิงเด่นกันมาตลอด แต่ในเวลานี้ ทั้งหมดต่อสู้กันเคียงบ่าเคียงไหล่ พร้อมเพื่อนๆ ยุวชนทหาร ร้อยเอกถวิลเสียชีวิตระหว่างรบ สิบเอกสำราญโดนยิงที่แขน เขาตัดสินใจมอบหมายให้มารุตดูแลการรบต่อ เพราะมั่นใจว่ายุวชนทหารทุกคนทำได้ กำลังพลยุวชนทหารที่ต้องต่อสู้กับญี่ปุ่นโดยลำพัง เมื่อขาดทั้งร้อยเอกถวิลและสิบเอกสำราญจะเป็นอย่างไร? วีรกรรมอันน่ายกย่องของพวกเขาทั้งหลายจะลงเอยเช่นไร? ยุวชนทหาร....เปิดเทอมไปรบ พร้อมที่จะให้คุณได้พิสูจน์
มหาราชดำ (2524)

เรื่องย่อ : มหาราชดำ (2524/1981) ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากตำนานกู้เอกราชของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยเพิ่มตัวละครสมมุติเข้าไปเป็นกลุ่มทหาร 9 นาย นำโดยหลวงหาญและขุนพยัคฆ์ ซึ่งตีฝ่าวงล้อมทัพพม่าหนีมาอยู่อรัญญิก หลังเสียกรุงครั้งแรก ทั้งหมดต้องเผชิญหน้ากับการรังควานจากทัพพม่า รวมทั้ง ขุนเดือด คนไทยผู้แปรพักตร์ซึ่งสร้างรอยแค้นแก่หลวงหาญเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องราวที่ดัดแปลงจากตำนานกู้เอกราชของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยเพิ่มตัวละครสมมุติเข้าไปเป็นกลุ่มทหาร 9 นาย นำโดยหลวงหาญและขุนพยัคฆ์ ซึ่งตีฝ่าวงล้อมทัพพม่าหนีมาอยู่อรัญญิกหลังเสียกรุงครั้งแรกฯ ทั้งหมดยังต้องเผชิญการรังควานจากทัพพม่า และขุนเดือดคนไทยแปรพักต์ซึ่งสร้างรอยแค้นแก่หลวงหาญอย่างมาก จนในวันที่หลวงหาญชำระแค้นขุนเดือดสำเร็จ ทั้งหมดก็เดินทางไปร่วมทัพกับ ‘มหาราชดำ’ เพื่อร่วมรบในศึกกู้กรุงศรีฯ จากพม่า

เลือดสุพรรณ (2522)

เลือดสุพรรณ (2522/1979) ในปี พ.ศ. 2308 ตอนปลายยุคกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งของเมืองสุพรรณบุรี ชาวบ้านยังคงอยู่กันอย่างสงบสุข แม้จะมีข่าวศึกจากกรุงอังวะ แต่ก็คิดกันว่าเป็นหน้าน้ำหลากพม่าไม่สะดวกในการเดินทัพคงจะไม่ยกทัพมา

คืนวันหนึ่งมีกลุ่มโจรบุกเข้าปล้นหมู่บ้านและฉุดดวงจันทร์ (ลลนา สุลาวัลย์) ลูกสาวของหัวหน้าหมู่บ้านไป แต่ระหว่างทางปรากฎชายหนุ่มลึกลับผู้มีฝีมือการต่อสู้ยอดเยี่ยมเข้าช่วยเหลือ เหล่าโจรสู้ไม่ได้จึงพากันหนีไป เนื่องจากเป็นเวลากลางคืนไม่สะดวกในการเดินทาง ชายหนุ่มลึกลับจึงพาดวงจันทร์ไปพักที่กระท่อมร้าง และบอกว่าตนเองชื่อทับ (ไพโรจน์ สังวริบุตร) เป็นทหารสอดแนมจากกรุงศรีอยุธยา และวันรุ่งขึ้นทับก็พาดวงจันทร์กลับคืนไปหาพ่อแม่ที่หมู่บ้าน

ด้วยความประมาทของคนไทย กองทัพพม่าสามารถบุกเข้ายึดเมืองสุพรรณบุรีได้โดยง่ายดาย รวมทั้งหมู่บ้านที่ดวงจันทร์อาศัยอยู่ ดวงจันทร์เอาตัวรอดโดยการปลอมตัวเป็นผู้ชาย ในขณะที่ผู้หญิงในหมู่บ้านหลายคนต้องถูกทหารพม่าข่มขืน เพื่อนของดวงจันทร์ถูกฉุดไปให้มังระโธ (สุทัศน์ อินทรานุปกรณ์) นายกองปีกขวา แต่ถูกขัดขวางโดยมังราย (ไพโรจน์ สังวริบุตร) นายกองปีกซ้ายผู้เป็นบุตรของมังมหาสุรนาถ (ส.อาสนจินดา) แม่ทัพใหญ่ผู้คุมทัพมาในครั้งนี้ มังระโธต่อสู้กับมังรายและพ่ายแพ้ จึงผูกอาฆาตต่อมังราย

ลูกทาส (2522)
ลูกทาส (2522/1979) ข้อความบนใบปิด ไทยสตาร์ภาพยนตร์ โดย สันติ สันติพัฒนาชัย ภูมิใจเสนอ ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ ลูกทาส ของ รพีพร จากรัก..สู่เลือดและน้ำตา จาก..ทาส..มาเป็น..ไท.. สรพงศ์ ชาตรี พระเอกตุ๊กตาทอง พบ สองนางเอก วงเดือน อินทราวุธ – นันทนา เงากระจ่าง ภิญโญ ปานนุ้ย, สมภพ เบญจาธิกุล, เศรษฐา ศิระฉายา, สมจินต์ ธรรมทัต, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, กฤษณะ อำนวยพร, วิทยา สุขดำรงค์, สุกัญญา นาคสนธิ์, จำนงค์ บำเพ็ญทรัพย์, พิภพ ภู่ภิญโญ, พนม นพพร, เสกสรรค์ ภู่ประดิษฐ์, หัทยา, นัยนา, ประเสริฐ, เชาว์ แคล่วคล่อง, โป๋, เทพ, นกเล็ก, สายพิณ จินดานุช, บุษบง, ส่ง, ทัศนีย์, สุปราณี, ชาลี อินทรวิจิตร สนธยา ดวงทองดี ถ่ายภาพ ประกอบ ใหญ่ศิริ กำกับศิลป์ สัมฤทธิ์ บุษษะ กำกับแสง สว่าง บุญยกาญจน์ ธุรกิจ รพีพร-กำธร สุวรรณปิยะศิริ กำกับการแสดง
อยุธยาที่ข้ารัก (2522/1979) เมื่ออยุธยาเสียกรุงแก่พม่า ลำดวน (พนิดา ทองฑัต) พาพระเจ้าเอกฑัต (สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์) หลบหนีไปทางเรือ แต่พระเจ้าเอกฑัตรับสั่งก่อนสิ้นพระชนม์ให้ลำดวนตามฆ่าพระยาพล (ถวัลย์ คีรีวัตร) ผู้เป็นกบฏ ต่อมาลำดวนและพันเรือง (ยอดชาย เมฆสุวรรณ) สามีได้ลอบฆ่าพระยาพลแต่ไม่สำเร็จ จึงถูกจับไปขังไว้ในถ้ำ ก่อนตายทั้งคู่ได้สาบานจะอยู่ร่วมกันและจะตามแก้แค้นพระยาพลไปทุกชาติ เวลาผ่านไปอีก 200 ปี ลำดวนกลับชาติมาเกิดเป็นมูมู (พนิดา ทองฑัต) นักร้องสาวคณะละครเร่ ส่วนพันเรืองเกิดมาเป็นนักสืบและไปรับจ้างสืบหาตัวแดงน้อยหลานสาวคุณหญิง (สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย) ที่หายตัวไปแต่เด็กๆ แต่เพราะความโลภจึงหลอกคุณหญิงโดยให้ศรีสุดา (ภาวนา ชนะจิต) สวมรอยเข้าเป็นแดงน้อยแทน ต่อมามูมูถูกโจรจับตัวไปขายซ่อง พันเรืองเข้าช่วยและพาไปหลบซ่อนตัวอยู่ในถ้ำเดิม ทำให้ทั้งคู่นึกถึงอดีตได้ แต่เมื่อพันเรืองแต่งงานกับศรีสุดา มูมูจึงตามมาทวงสัญญาและได้พบกับพระยาพลที่กลับชาติมาเกิดในงานนั้นและฆ่าพระยาพลตาย ความจริงก็ปรากฏขึ้นมาว่า มูมูก็คือแดงน้อยหลานสาวคุณหญิงที่หายตัวไปนั่นเอง
ขุนศึก (2519)

ขุนศึก (2519/1976) 15 ปี หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พระเจ้าบุเรงนอง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงกรีธาทัพไทย พร้อมด้วยถสมเด็จพระเอกาทศรถ พระอนุชา เข้ายึดเมืองแกลงอันเป็นเมืองเชื่อมเขตแดนไทยกับพม่า ได้ทรงหลั่งอุทกธาราประเทศตัดไมตรีกับพม่า พม่ายกกำลังบุกไทย เสมาคุมทหารกองหนึ่งจากท่านขุนลิต ขุนลิตสู้จนตัวตาย เสมาสืบทอดเจตนารมณ์ทำงานต่อจากขุนลิต รวบรวมกองอาสาและนำเรื่องกราบเรียนพระธรรมนูญ พระธรรมนูญรับเสมาเข้าร่วมรบ ทัพหน้าของพระธรรมนูญเข้าตีทัพพม่า จนพม่าถอยทัพกลับ บ้านเมืองจึงสงบ และเสมาได้บรรดาศักดิ์เป็นขุนแสนศึกพ่าย

พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ (2518)

พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ (2518/1975) สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพอยู่ในประเทศไทยในการทำสงครามโลก รัฐบาลไทยจำยอมและต้องให้ความร่วมมือกับทางญี่ปุ่น แต่ก็ได้เกิดขบวนการต่างๆ ขึ้นมากมายเพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นเพื่อปกป้องรักษาความเป็นไทย พจน์ ถูกทหารญี่ปุ่นจับตัวไปเพราะเข้าใจว่าเขาเป็นขโมย แต่ อรุณี ซึ่งเป็นพวกเสรีไทยปลอมตัวเข้าไปตีสนิทกับทหารญี่ปุ่นเพื่อสืบข่าว ช่วยพจน์ให้พ้นผิดได้ อรุณีทราบข่าวว่ากองทัพญี่ปุ่นจะพิมพ์ธนบัตรจำนวน 100 ล้านบาทขึ้นมาใช้เอง พล ซึ่งเป็นคนรักของอรุณีได้รับมอบหมายให้ทำลายงานนี้ซะ พลขอให้พจน์ซึ่งตอนนี้เป็นหัวหน้าขบวนการไทยถีบช่วยด้วย พลและพจน์นำลูกน้องไปทำลายเงินทั้งหมด และได้ต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นจนได้รับชัยชนะ และตัดสินใจไปอยู่กับขบวนการเสรีไทยเพื่อช่วยชาติต่อไป

ทิพพ์ช้าง (2517)
ทิพพ์ช้าง (2517/1974) ข้อความบนใบปิด บริษัทลำปางชัยจำกัด โดย สอาด ปิยวรรณ อำนวยการสร้าง เสนอภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ไทย เหตุการณ์เมื่อ 200 กว่าปี เป็นวีรกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของชาติไทย รบ..รัก..น้ำตา.. และการกอบกู้อิสรภาพของแผ่นดินไทย ทิพพ์ช้าง นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี ธัญญรัตน์ โลหะนันท์ อนันต์ สัมมาทรัพย์ สุชีรา สุภาเสพย์ คมน์ อรรฆเดช ดลนภา โสภี ประภาศรี เทพรักษา ร่วมด้วย สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช, จำนงค์ บำเพ็ญทรัพย์, วัลยา วรากรณ์, สันติ สันติพัฒนาชัย, สมชาย สามิภักดิ์, ประพัฒน์ มิตรภักดี, พิภพ ภู่ภิญโญ, แพน บอระเพ็ด, ปฐมชัย ชมศรีเมฆ, สอาด ปิยวรรณ ให้เกียรติร่วมนำแสดง และดาราสมทบอีกมาก รัตน์ เศรษฐภักดี กำกับการแสดง อดุลย์ เศรษฐภักดี ถ่ายภาพ ส.อาสนจินดา สร้างบทภาพยนตร์ สันติ สันติพัฒนาชัย ดำเนินงาน บริษัทลำปางชัยจำกัด แผนกภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
นพเก้า (2515)
นพเก้า (2515/1972) ข้อความบนใบปิด วิเชียรภาพยนตร์ โดย มั่น คงวิเชียร เสนอ... ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี นพเก้า ของ...พร ธาดา ยอดชาย เมฆสุวรรณ สุทิศา พัฒนุช เมตตา รุ่งรัตน์, สุวิน สว่างรัตน์, เมืองเริง ปัทมินทร์, ภูษิต อภิมัน, ชุมพร เทพพิทักษ์, เทียว ธารา, สีเผือก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, พิภพ ภู่ภิญโญ พร้อมด้วย พีระพล, เทอด, วินัย ฯลฯ สุเพชร จิตตนิโรธ กำกับการแสดง เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ