ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา (2550/2007) พุทธศักราช 2106 “พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง” ทรงกรีฑาทัพเข้าตีราชอาณาจักรอยุธยาทางด่านระแหงแขวงเมืองตาก ทัพพม่ารามัญซึ่งมีรี้พลเหลือคณานับได้เข้ายึดครองหัวเมืองฝ่ายเหนือของราชอาณาจักรอยุธยาอันมีเมืองพิษณุโลกเป็นประหนึ่งเมืองราชธานีได้เป็นผลสำเร็จ ครั้งนั้น “สมเด็จพระมหาธรรมราชา” (ฉัตรชัย เปล่งพานิช) พระราชบิดาของ “สมเด็จพระนเรศวร” หรือ “พระองค์ดำ” (ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์) ซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินครองเมืองพิษณุโลกจำต้องยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนองเพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตอาณาประชาราษฎร์มิให้ต้องมีภยันตรายและจำต้องยอมร่วมกระบวนทัพพม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยา ศึกครั้งนั้นสมเด็จพระมหา จักรพรรดิเจ้าแผ่นดินอยุธยาทรงยอมเจรจาหย่าศึกกับพม่ารามัญ และยอมถวายช้างเผือก 4 เชือก ทั้งให้สมเด็จพระราเมศวรราชโอรสโดยเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปประทับยังนครหงสาวดีตามพระประสงค์ของกษัตริย์พม่า ข้างสมเด็จพระมหาธรรมราชาซึ่งได้ยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนองก็ได้ถวายสมเด็จพระนเรศวรราชโอรสองค์โตให้ไปเป็นองค์ประกันประทับยังหงสาประเทศเฉกเช่นกัน ครั้งนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้เพียง 9 ชันษา สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นที่รักใคร่ของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองประดุจพระราชบุตรร่วมสายสันตติวงศ์ ด้วยองค์ยุพราชอยุธยาทรงมีพระปรีชาสามารถด้านพิชัยยุทธ ทั้งยังองอาจกล้าหาญสบพระทัยกษัตริย์พม่าซึ่งก็ทรงเป็นนักการทหาร นิยมผู้มีคุณสมบัติเป็นนักรบเยี่ยงพระองค์ พระเจ้าบุเรงนองทรงมีสายพระเนตรยาวไกล แลเห็นว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะได้ขึ้นเป็นใหญ่ในอุษาคเนย์ประเทศ จึงทรงคิดใคร่ปลูกฝังให้สมเด็จพระนเรศวรผูกพระทัยรักแผ่นดินหงสา เพื่อจะได้อาศัยพระองค์เป็นผู้สืบอำนาจอุปถัมภ์ค้ำชูราชอาณาจักรซึ่งพระองค์ทรงสถาปนาขึ้นด้วยความยากลำบาก เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระเจ้าบุเรงนองนั้นหาได้วางพระทัยในพระราชโอรสคือ “มังเอิน – พระเจ้านันทบุเรง” (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์) และพระราชนัดดา “มังสามเกียด” (โชติ บัวสุวรรณ) นัก ถึงแม้ทั้งสองพระองค์จะทรงเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขโดยตรง ด้วยทรงเล็งเห็นว่าราชนิกุลทั้งสองพระองค์นั้นหาได้เป็นผู้ทรงคุณธรรมอันจะน้อมนำเป็นพื้นฐานให้เติบใหญ่เป็นบูรพกษัตริย์ ปกป้องครองแผ่นดินที่พระองค์ทรงสร้างและทำนุบำรุงมาด้วยกำลังสติปัญญาและความรักใคร่หวงแหน เหตุทั้งนี้เป็นชนวนให้พระเจ้านันทบุเรงและราชโอรสมังสามเกียดขัดพระทัย ทั้งผูกจิตริษยาสมเด็จพระนเรศวรซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองกว่าราชนิกุลข้างพม่าทั้งหลายทั้งสิ้น พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดให้ “พระมหาเถรคันฉ่อง” (สรพงษ์ ชาตรี) พระรามัญผู้มากด้วยวิทยาคุณและเจนจบในตำราพิชัยสงครามเป็นพระอาจารย์ถ่ายทอดศิลปะวิทยาการแก่สมเด็จพระนเรศวร นับแต่เริ่มเข้าประทับในหงสานครยังผลให้ยุพราชอยุธยาเชี่ยวชาญการยุทธ กลช้าง กลม้า กลศึก ทั้งข้างอยุธยาและข้างพม่ารามัญหาผู้เสมอเหมือนมิได้ ข้อได้เปรียบตามกล่าวเป็นเสมือนทุนทางปัญญาอันส่งผลให้สมเด็จพระนเรศวรสามารถกอบกู้เอกราช แก้ทางศึกจนมีชัยเหนือพม่ารามัญในภายภาคหน้า พุทธศักราช 2112 ปรากฏข่าวระบือไปถึงหงสาวดีว่าหัวเมืองพิษณุโลกฝ่ายเหนือแลกรุงศรีอยุธยาราชธานีฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรสยามครั้งนั้นเกิดขัดแย้งปีนเกลียวกัน เหตุเนื่องมาจาก “สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ” (ศรัณยู วงศ์กระจ่าง) เจ้าแผ่นดินอยุธยาเสด็จออกผนวช แลสถาปนา “สมเด็จพระมหินทร์” (สันติสุข พรหมศิริ) ราชโอรสองค์รองขึ้นเสวยราชสมบัติสืบแทน สมเด็จพระมหินทร์ทรงคลางแคลงพระทัยในความจงรักภักดีของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแต่ครั้งสงครามชิงช้างเผือกในปีพุทธศักราช 2106 ขณะที่เจ้าแผ่นดินพิษณุโลกก็หาได้ยำเกรงสมเด็จพระมหินทร์เช่นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อเห็นการใดมิควรก็บังคับบัญชาให้สมเด็จพระมหินทร์ปฏิบัติตามพระประสงค์จนเป็นที่ขุ่นเคืองพระราชหฤทัยกษัตริย์อยุธยาพระองค์ใหม่ถึงกับหันไปสมคบกับ “สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช” (รอน บรรจงสร้าง) พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวร่วมกันแต่งกลเข้าตีเมืองพิษณุโลก แต่กระทำการมิสำเร็จพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเห็นเชิงสบโอกาสก็ยกทัพใหญ่เข้าตีกรุงศรีอยุธยาอีกคำรบ ครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรร่วมโดยเสด็จมากับทัพหงสาแต่หาได้ตามพระเจ้าบุเรงนองลงมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ทรงประทับอยู่เพียงเมืองพิษณุโลก มีเพียงสมเด็จพระมหาธรรมราชาโดยเสด็จกษัตริย์หงสาลงมาล้อมกรุงด้วยตั้งพระทัยจะเกลี้ยกล่อมให้สมเด็จพระมหินทร์ยอมสวามิภักดิ์พระเจ้าบุเรงนอง เพราะเล็งเห็นว่าอยุธยายากจะต่อรบเอาชัยทัพพม่ารามัญซึ่งมีกำลังไพร่พลเหนือกว่าได้ หากขัดขืนต่อรบจะได้ยากแก่สมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎร์ ศึกครั้งนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงลาผนวชมาบัญชาการรบด้วยพระองค์เอง แต่อยู่ได้มิช้านานก็เสด็จสวรรคตเสียระหว่างศึกพุทธศักราช 2112 มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 11 ค่ำ กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ข้างสมเด็จพระนเรศวรซึ่งประทับอยู่ยั้งยังนครพิษณุโลกแต่ต้นศึก หาได้ทรงเห็นงามหรือคิดครั่นคร้ามอ่อนน้อมต่อหงสา ถึงจะทรงรู้ซึ้งว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดามิได้คิดคดเป็นกบฏต่อแผ่นดิน แต่ก็หาได้เห็นด้วยกับการอ่อนข้อสวามิภักดิ์พม่ารามัญ น้ำพระทัยอันมั่นคงเด็ดเดี่ยวนั้น ถึงแม้จะมิได้แพร่งพรายถึงพระกรรณพระเจ้าบุเรงนอง แต่ก็ประจักษ์อยู่ในหมู่ข้าราชบริพารใกล้ชิดผู้รักและหวงแหนในเอกราชของแผ่นดินจึงพากันนิยมในน้ำพระทัย แลพร้อมใจถวายความจงรักภักดีแต่นั้นมา ครั้นเสร็จศึกอยุธยาพุทธศักราช 2112 สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงถวาย “พระสุพรรณกัลยา” (เกรซ มหาดำรงค์กุล) พระพี่นางสมเด็จพระนเรศวรแก่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง แลขอตัวสมเด็จพระนเรศวรไว้ช่วยราชการข้างอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรจึงประทับยั้งอยู่ยังเมืองพิษณุโลก สืบต่อมาครั้นลุปีพุทธศักราช 2114 สมเด็จพระมหาธรรมราชา ซึ่งพระเจ้าบุเรงนองสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อจากสมเด็จพระมหินทร์ก็โปรดให้สมเด็จพระนเรศวรเสวยราชย์ครองเมืองพิษณุโลกเป็นใหญ่เหนือหัวเมืองเหนือทั้งปวง เหตุการณ์ข้างพม่า หลังจากพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองสิ้นพระชนม์ในปีพุทธศักราช 2124 พระเจ้านันทบุเรงได้ขึ้นเสวยราชสืบต่อและได้สถาปนามังสามเกียดขึ้นเป็นรัชทายาทครองตำแหน่งมหาอุปราชาแห่งราชอาณาจักรหงสาวดี เมื่อแผ่นดินหงสามีอันต้องผลัดมือมาอยู่ในปกครองของพระเจ้านันทบุเรง สัมพันธไมตรีระหว่างอยุธยาและหงสาวดีก็เริ่มสั่นคลอน ด้วยพระเจ้าหงสาวดีพระองค์ใหม่มิได้วางพระทัยในสมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระนเรศวรเองก็หาได้เคารพยำเกรงในบุญบารมีของพระเจ้าแผ่นดินพม่ารามัญเช่นกาลก่อน มิเพียงเท่านั้นสมเด็จพระนเรศวรยังได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถให้เป็นที่ปรากฏครั่นคร้าม ดังคราวนำกำลังทำยุทธนาวีกับพระยาจีนจันตุและศึกเมืองคังเป็นอาทิ พระเจ้านันทบุเรงทรงเกรงว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะเป็นภัยต่อพระราชวงศ์แลแผ่นดินหงสา จึงหาเหตุวางกลศึกหมายจะปลงพระชนม์สมเด็จพระนเรศวรเสียที่เมืองแครง แต่พระมหาเถรคันฉ่องพระราชครูลอบนำแผนประทุษร้ายนั้นมาแจ้งให้ศิษย์รักได้รู้ความ สมเด็จพระนเรศวรจึงถือเป็นเหตุประกาศเอกราช ตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดี แลกวาดต้อนครัวมอญไทยข้ามแม่น้ำสะโตงกลับคืนพระนคร ซึ่งเป็นชนวนให้พระเจ้านันทบุเรงเปิดมหายุทธสงครามสั่งทัพเข้ารุกรานราชอาณาจักรอยุธยาสืบแต่นั้นมา

The King Maker กบฏ ท้าวศรีสุดาจัน (2548/2005) “เฟอร์นานโด เดอ กัมมา” (แกรี สเตร็ช) ทหารรับจ้างหนุ่มจากประเทศโปรตุเกส ออกเดินทางมายังดินแดนในซีกโลกตะวันออกใน ค.ศ 1547 เพื่อแสวงหาความร่ำรวยเฉกเช่นเดียวกับเพื่อนร่วมชาติอีกหลายคนไปพร้อมกับการติดตามร่องรอยของบุคคลในอดีตที่เคยสังหารพ่อของเขาต่อหน้าต่อตาในขณะที่เขามีอายุเพียง 8 ขวบ ภาพความทรงจำดังกล่าวเป็นที่ติดตาและฝังใจแก่เขาเสมอมา แต่ในระหว่างการเดินเรือเขาพร้อมกับพวกพ้องกลับต้องเผชิญกับเคราะห์ร้ายเมื่อพายุทะเลคลั่งโหมซัดจนทำให้เรือจมลงใต้พื้นมหาสมุทรอินเดียอันกว้างใหญ่ เหลือเพียงเขาคนเดียวที่รอดชีวิตมาได้จากเหตุการณ์ครั้งนั้น แต่กลับกลายเป็นว่าเขาถูกพ่อค้าทาสชาวอาหรับจับตัวไปยังดินแดนอยุธยาเพื่อขายเป็นทาส กรุงศรีอยุธยาเมื่อราว 458 ปีที่แล้วกล่าวได้ว่าเป็นดินแดนแห่งการค้าขายที่เหล่าอาณาประเทศและผู้คนหลากหลายเชื้อชาติต่างหลั่งไหล่เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นชาวตะวันตกไปจนถึงตะวันออกที่ใกล้เคียง แต่ใช่ว่าโชคชะตาของเฟอร์นานโดจะอับโชตเสียทีเดียว เมื่อเขาได้รับการไถ่ตัวให้มีอิสรภาพจาก “มาเรีย” (สิรินยา เบอร์บริดจ์) หญิงสาวชาวโปรตุเกสผู้มีจิตใจงดงามที่เดินทางติดตาม “ฟิลลิปป์” (จอห์น รีส-เดวีส์) บิดาผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างกำแพงเมืองให้กับ “พระชัยราชา” (นิรุตติ์ ศิริจรรยา) กษัตริยแห่งอยุธยา ต่อมาเมื่อกษัตริย์แห่งลานนาคิดแข็งข้อต่ออยุธยาโดยการส่งศีรษะของผู้ส่งสารมาให้ พระชัยราชาทรงกริ้วเป็นอย่างยิ่งจึงตัดสินใจยกทัพเข้าสู่ศึกสงครามพร้อมกับ “พระมหาจักรพรรดิ” (โอลิเวอร์ พูพาร์ท) พระเชษฐาของพระชัยราชา ส่งผลให้เหล่าพันธมิตรของอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นชุมชนโปรตุเกส, ญี่ปุ่นต่างเข้าร่วมทำศึกในครั้งนี้ เฟอร์นานโดเองก็เข้าร่วมรบในฐานะทหารที่มีประสบการณ์ จึงไม่น่าแปลกใจที่ความห้าวหาญในฐานะนักรบของเขาจะสร้างความพึงพอพระทัยแก่องค์กษัตริย์จนพระองค์แต่งตั้งเขาให้เป็นหนึ่งในราชองครักษ์พร้อมกันกับเพื่อนใหม่ชาวไทยผู้อาจหาญนาม “ทอง” (ดอม เหตระกูล) ที่เขาได้มีโอกาสช่วยชีวิตไว้ในสมรภูมิรบ ขณะเดียวกัน “มเหสีสุดาจัน” (ยศวดี หัสดีวิจิตร) ผู้เลอโฉมแต่ร้ายกาจได้วางแผนลอบปลงพระชนม์พระชัยราชาและ “พระยอดฟ้า” (ชาลี ไตรรัตน์) พระโอรสที่เกิดกับตนขึ้น เพื่อที่จะจะปูทางให้ “พันบุตรศรีเทพ” (อัครา อมาตยกุล) ชู้รักของนางขึ้นครองราชย์ โดยมีมือสังหารจากต่างชาติร่วมมือในแผนการร้าย นายทองและเฟอร์นานโดราชองครักษ์ปกป้องกษัตริย์ชนิดถวายหัว และพยายามสืบหาผู้อยู่เบื้องหลังแผนการร้ายในครั้งนี้ ก่อนที่จะพบว่ามีเงื่อนงำบางอย่างเชื่อมโยงมายังฟิลลิปป์พ่อของมาเรีย แต่แล้วโดยที่ไม่มีใครคาดคิด ทั้งสองพบว่าพระมเหสีมีส่วนสำคัญในแผนการครั้งนี้ แต่ก็สายเกินกว่าจะช่วยพระมหากษัตริย์ให้รอดพ้นจากการถูกพระมเหสีวางยาได้ เช่นเดียวกันกับที่พระโอรสซึ่งถูกเหล่าองครักษ์ผู้ของมเหสีปลงพระชนม์ เมื่อกษัตริย์ทรงสวรรคต เฟอร์นานโดกับทองกลายเป็นผู้ถูกกล่าวโทษว่าเป็นผู้เกี่ยวข้อง โดยมาเรียและครอบครัวของทองเองก็ถูกทหารจับตัวไป เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป เตรียมพบกับอีกหนึ่งมุมมองของเรื่องราวจากประวัติศาสตร์ที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องยิ่งใหญ่ระดับฮอลลีวูด “กบฏท้าวศรีสุดาจัน” 20 ต.ค.นี้ ในโรงภาพยนตร์
ขุนศึก (2546/2003) ก่อนวันประกาศอิสรภาพของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น พระเจ้าบุเรงนอง วางอุบายหมายลอบปลงพระชนม์ ซึ่งยังความโทมนัสให้แก่สมเด็จพระนเรศวรอย่างมาก เมื่อจาตุรงคบาทนักรบประกบฝีเท้าช้างคนหนึ่งต้องพลีชีพเพื่อพระองค์ในกาลนี้ เสมา ลูกชายช่างตีดาบ ซึ่งเดินทางกลับจากเรียนวิชาดาบกับ อาจารย์ขุน เข้าประลองแข่งขันในการหาจาตุรงคบาทคนใหม่ ด้วยความที่เขามีฝีมือดาบอันโดดเด่น จึงได้รับตำแหน่งครูฝึกทหารในเรือน ขุนราม แต่นั่นถือเป็นการหยามศักดิ์ศรีของ หมู่ขัน นายทหารเอกของกรุงศรี ที่ติดภาระต้องไปประจำการที่ด่านหน้า เขาไม่พอใจในตัวลูกช่างตีดาบคนนี้มาก และรอวันที่จะได้ตัดสินกันอย่างแท้จริง ความแค้นยิ่งทวีคูณมากขึ้น เมื่อเรไร คู่หมั้นของหมู่ขัน เกิดชอบพอกับเสมา หมู่ขันโกรธแค้นมาก จึงจับตัวจำเรียง น้องสาวของเสมาไปเป็นทาสขัดดอก คืนนั้น เสมา พร้อมเพื่อนอีกสองคน ตัดสินใจบุกเรือนหมู่ขัน เพื่อนำตัวจำเรียงกลับมา แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ต่อกลอุบายของหมู่ขัน จนต้องหนีเข้าไปอยู่ในกองโจรของ ขุนรณฤทธิ์พิชัย หมู่ขันสบโอกาส จึงประกาศว่า เสมาเป็นกบฎ ขณะที่อยู่กับพวกกองโจร เสมา และกลุ่มกองโจรช่วยกันสกัดทัพหน้าของพม่าที่บุกเข้ามา ครั้งหนึ่ง เสมา ได้มีโอกาสได้เข้าช่วย พระเอกาทศรถ ในการศึก และได้ลดโทษไปเป็น ตะพุ่น เลี้ยงช้าง ที่นั่น เสมา ได้เรียนรู้ถึงหัวใจของนักรบ เมื่อเขาทราบข่าวการยกทัพครั้งใหญ่ของพม่า เสมาทนเห็นทหารไทยถูกเข่นฆ่าอีกไม่ได้ จึงเข้าไปช่วยในสนามรบ กระทั่งสามารถฆ่าแม่ทัพพม่าลงได้ จึงได้รับความดีความชอบกลับมา และวันแห่งการตัดสินฝีมืออย่างแท้จริงระหว่างเสมา กับหมู่ขันก็มาถึง เมื่อทั้งสองได้ประลองฝีมือต่อหน้าพระที่นั่ง เพื่อหาผู้ที่เหมาะกับตำแหน่งจาตุรงคบาท นักรบประกบฝีเท้าช้างของสมเด็จพระนเรศวร ในการศึกยุทธหัตถีครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างกษัตริย์สองแผ่นดิน

สุริโยไท (2544/2001) เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สวรรคตในปี พ.ศ. 2072 พระอาทิตยาจึงได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนาม สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ทุกพระองค์เสด็จย้ายจากพิษณุโลกไปประทับ ณ กรุงศรีอยุธยาเมืองหลวง พระเฑียรราชา และ พระสุริโยไท มีโอรสธิดาทั้งสิ้น 5 พระองค์ คือ พระราเมศวร , พระมหินทร, พระบรมดิลก, (พระวิสุทธิ์กษัตริย์) และ พระเทพกษัตรี ประทับอยู่ ณ วังชัย ดำรงอิสริยยศเป็นพระเยาวราช เมื่อสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรสวรรคตด้วยโรคไข้ทรพิษ พระไชยราชา ผู้ซึ่งดำรงพระยศเป็นพระอุปราช ควรจะได้สืบสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ แต่สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรทรงขอให้ สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระโอรสวัย 5 พรรษา อันเกิดแต่พระอัครชายา วัย 17 พรรษา เป็นผู้ขึ้นครองราชย์แทน ระหว่างนั้น บ้านเมืองถูกบริหารโดยขุนนางทุจริต ติดสินบนเถลิงอำนาจ โดยเฉพาะ เจ้าพระยายมราช บิดาของพระอัครชายา 5 เดือนให้หลังสมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงเข้ายึดราชบัลลังก์ และให้สำเร็จโทษพระรัษฏาธิราช ตามราชประเพณีโบราณ รวมถึงสั่งประหารขุนนางทุจริตทุกคน และทรงขึ้นครองราชย์ แผ่บุญญาธิการ เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไป ทรงออกรบปราบหัวเมืองอยู่เนือง ๆ และได้แต่งตั้งพระเฑียรราชาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชา ว่าราชการแทนพระองค์ อยู่ที่กรุงอโยธยา ส่วนพระมเหสีของพระไชยราชา คือ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ได้ลักลอบมีความสัมพันธ์กับ ขุนชินราช ผู้ดูแลหอพระ เชื้อราชวงศ์อู่ทองด้วยกัน และได้สมคบคิดกัน ลอบวางยาพิษปลงพระชนม์พระไชยราชา พระยอดฟ้า พระโอรสของพระไชยราชา ที่ประสูติจาก ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้ขึ้นครองราชย์แทน ในขณะที่มีพระชนม์เพียง 10 พรรษา แต่ต่อมาไม่นาน ก็ถูกท้าวศรีสุดาจันทร์ปลงพระชนม์อีกองค์หนึ่ง แล้วสถาปนาขุนชินราชขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระวรวงศาธิราช นับตั้งแต่สิ้นรัชกาลพระไชยราชา พระเฑียรราชาก็ได้ผนวชเพื่อเลี่ยงภัย ส่วนพระสุริโยไททรงเตรียมฝึกทหาร โดยมีผู้จงรักภักดี คือ ขุนพิเรนทรเทพ, ขุนอินทรเทพ, หมื่นราชเสน่หานอกราชการ และหลวงศรียศลานตากฟั เฝ้าคุ้มกันภัยให้ ได้ร่วมกันปลงพระชนม์ขุนวรวงศา และท้าวศรีสุดาจันทร์ เสียบหัวประจานไว้ที่วัดแร้ง แล้วอัญเชิญพระเฑียรราชา ให้ลาสิกขาบทขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ระหว่างนั้นทางพม่าได้รวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น และแผ่ขยายอำนาจรุกรานไทยภายใต้พระมหากษัตริย์ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ และได้เดินทัพมายังกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2091 เกิดเป็นสงครามยุทธหัตถี ที่ทุ่งมะขามหย่อง ซึ่งเป็นเหตุให้ พระสุริโยไทสิ้นพระชนม์บนคอช้าง เรื่องจบลงด้วยสงครามยุทธหัตถี อันเป็นเรื่องราวความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและความตายของวีรกษัตรีย์ "สุริโยไท" ที่พลีชีพเพื่อรักษาอาณาจักรอยุธยา

บางระจัน (2543/2000) ในปีพุทธศักราช 2308 พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่าส่งทัพพม่า 2 ทัพใหญ่บุกกรุงศรีอยุธยา ทัพหนึ่งบุกเข้ามาทางใต้ นำโดย มังมหานรธา อีกทัพหนึ่งเป็นทัพผสมรามัญบุกเข้ามาทางเหนือ นำโดย เนเมียวสีหบดี การบุกของทัพนี้ต้องเจออุปสรรคเป็นรายทาง เพราะต้องพบกับกองกำลังต่อต้านโดยชาวบ้านธรรมดา ๆ ทำให้ต้องเดินทัพล่าช้า โดยชาวบ้านที่แตกระสานซ่านเซ็นมารวมตัวกันที่บ้านระจัน โดยมี พ่อแท่น (ชุมพร เทพพิทักษ์) ผู้อาวุโสที่สุดเป็นแกนนำ ที่บ้านระจันมีชาวบ้านที่มีฝีมือหลายคนรวมตัวกัน เช่น อ้ายจัน (จรัล งามดี) ที่แค้นพม่าที่เมียถูกฆ่าตาย, อ้ายอิน (วินัย ไกรบุตร) พรานขมังธนู ที่เพิ่งอยู่กินกับอีสา (บงกช คงมาลัย) เมียสาว และ อ้ายทองเหม็น (บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์) คนพเนจรผมเผ้ารุงรังที่ไม่มีใครรู้หัวนอนปลายตีน ชอบกินเหล้าเมาพับอยู่ใต้เกวียน และมีหลวงพ่อธรรมโชติ (ธีรยุทธ ปรัชญาบำรุง) ผู้ขมังเวทย์แห่งวัดโพธิ์เก้าต้น เป็นขวัญกำลังใจ ในการรบครั้งหนึ่ง พ่อแท่นได้รับาดเจ็บ อ้ายจันจึงขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ อ้ายจันมีความคิดว่า ทางบ้านบางระจันน่าจะมีปืนใหญ่ใช้ต่อสู้กับพม่า จึงได้ให้ ขุนสรรค์ ร่างใบบอก และให้อ้ายอิน อ้ายเมือง (อรรถกร สุวรรณราช) นำไปแจ้งยังกรุงศรีอยุธยาเพื่อขอยืมปืนใหญ่ หากแต่ทางกรุงศรีอยุธยาไม่ยอมให้ยืม ด้วยเกรงว่าหากบ้านบางระจันพ่ายแก่พม่า พม่าอาจขโมยเอาปืนใหญ่และกระสุนดินดำกลับมาโจมตีพระนครได้ คืนหนึ่ง อ้ายอินได้ละทิ้งเวรยาม แอบพาพรรคพวกไปบุกค่ายของพม่า โดยหารู้ไม่ว่าคืนนั้น ทางพม่าเองก็ได้จัดทัพมาบุกค่ายบางระจันเช่นกัน จากเหตุการณ์นั้นทำให้เกิดความสูญเสียขึ้นในค่ายมากมาย คนหลายคนเสียขวัญ ได้อพยพออกจากค่ายบางระจันไปอยู่กรุงศรีอยุธยา ทำให้ผู้คนในค่ายบางตาลงไป ต่อมา พระยารัตนาธิเบศร์จากกรุงศรีอยุธยาได้มาช่วยชาวบ้านหล่อปืนใหญ่ หากแต่เมื่อหล่อแล้ว ปืนใหญ่กลับแตกร้าว ใช้การไม่ได้ ในขณะเดียวกัน ทางพม่าก็ได้ สุกี้ พระนายกอง (จิรกิตติ์ สุวรรณภาพ) มาเป็นแม่ทัพคนใหม่ในการบุกค่ายบางระจัน ชาวบ้านบางระจันที่เหลือเพียงหยิบมือเดียว ต่างพร้อมใจกันสละชีพเพื่อปกป้องแผ่นดินเกิด ปืนใหญ่ที่ร้าวทั้งสองกระบอกก็ต้องถูกนำมาใช้ ท้ายที่สุดแล้ว แม้ชาวบ้านบางระจันจะจบลงด้วยความพ่ายแพ้ แต่วีรกรรมที่สร้างไว้ จะคงอยู่ในใจของคนรุ่นหลังสืบไป
เพชฌฆาตเดนสงคราม 2 (2539/1996) ข้อความบนใบปิด เพชรพันนาโปรดัคชั่น เสนอ ยิ่งใหญ่...มันส์ก้องโลก ทุนสร้างกว่า 10 ล้าน เพชฌฆาตเดนสงคราม 2 MISSION HUNTER 2 ชาติชาย รักศิลป พระเอกวัยรุ่น สมภพ วงศ์ก่อ พันนา ฤทธิไกร ดาราอินเตอร์ คริสทอป, โรเบิร์ต คริสต์ติน, โจเซฟ วูร์เทล ธัญลักษณ์ ราชธา, สมชาติ ทินใต้, บรรลุ ศรีแสง, พัฒนพงษ์ ราชธา, จา สุรินทร์, ทอง ชาตรี, ประภาษ ลาดพันนา, วิมล น้ำพอง, เตี้ย แจ่วบอง, ทีมสตั๊นแมนเพชรพันนาโปรดัคชั่น, ทีมยิมนาสติค อ.ป้อม เมืองสุรินทร์, ทีมเทควนโด 138/1 เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ วัตร ผู้ช่วยถ่ายภาพ โหน่ง ผู้ช่วยกำกับ นิต ลายเขียน ที่ปรึกษา โชคชัย เพชรพันนา ดำเนินงานสร้าง อรรถพล สงวนเกียรติ ถ่ายภาพ ธวัชชัย ลัดลอย อำนวยการสร้าง ประพนธ์ เพชรอินทร์ กำกับการแสดง เพชรพันนาโปรดัคชั่น จัดจำหน่าย (ที่มา :Thai Movie Posters)
มือปืน 2 สาละวิน (2536/1993) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหราชอาณาจักรคืนอิสรภาพแก่พม่าโดยไม่คำนึงถึงปัญหาชนกลุ่มน้อย รอยร้าวระหว่างชนพม่าและกะเหรี่ยงจึงเกิดขึ้นอย่างไม่อาจไกล่เกลี่ย ชาวกะเหรี่ยงก่อการปฏิวัติเพื่อแยกตัวเป็นอิสระ มีกองกำลังปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยงตั้งฐานมั่นอยู่บนลุ่มน้ำสาละวินเขตรอยต่อพรมแดนไทย-พม่า บนดินแดนซึ่งไร้กฎหมายในเขตป่าสักที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก คนโลภถูกดึงดูดให้มาแสวงหาผลประโยชน์แลกกับการสนับสนุนให้ต่อกรกับรัฐบาลทหารพม่า โดยทุกชีวิตที่มีลมหายใจอยู่ในเขตนี้ล้วนอยู่ภายใต้กฎของปืน ร.ต.ท. ดนัย ดุลยพินิจ นายตำรวจหนุ่มไฟแรงถูกย้ายไปประจำการที่ตำบลฟ้าสูงป่าสัก ติดชายแดนพม่า โดยมีแม่น้ำสาละวินขวางกั้น ที่นั่นเขาต้องเผชิญกับความขัดแย้งระหว่างกองกำลังปลดปล่อยกะเหรี่ยงกับกองทัพพม่า และนายทุนที่หาผลประโยชน์จากความขัดแย้งนี้ ร.ต.ท. ดนัย ดุลยพินิจ นายตำรวจหนุ่มไฟแรงถูกย้ายไปประจำการที่ตำบลฟ้าสูงป่าสัก ติดชายแดนพม่า โดยมีแม่น้ำสาละวินขวางกั้น ที่นั่นเขาต้องเผชิญกับพวกนายทุนฉ้อฉล กองกำลังปลดปล่อยกะเหรี่ยงอันนำโดยทูเล่ และทหารจากพม่า นอกจากนี้ยังต้องพบเจอกับความไร้ระเบียบวินัยของผู้ใต้บังคับบัญชา รวมไปถึง จ่าแร่ม เรืองนาม นายตำรวจมากประสบการณ์ที่ตั้งตนเป็นกฎหมายคอยพิพากษาผู้อื่นอยู่เป็นประจำ
กัมพูชา (2528/1985) ข้อความบนใบปิด เอส.เจ.โปรดักชั่น เสนอ นี่คือ...กัมพูชา สงครามล้างเผ่าพันธุ์ ที่โหดเหี้ยมที่สุด สงครามที่เด็กอายุ 12 ขวบ ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อชาติและช่วงชิงแผ่นดินกลับคืนมา กัมพูชา (แนวรบด้านตะวันออก เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง) สิงหา สุริยง อำนวยการสร้าง จักรสิงห์ ประภาสะโนบล ดำเนินงาน วิสิทธิ์ แสนทวี กำกับภาพ ทรนง ศรีเชื้อ กำกับการแสดง (ที่มา :Thai Movie Posters)
แหกนรกเวียตนาม (2526/1983) ข้อความบนใบปิด สหมงคลฟิล์ม โดย สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ เสนอ แหกนรกเวียตนาม สงครามหฤโหดที่พลิกประวัติศาสตร์โลก สรพงศ์ ชาตรี ม.ล.สุรีย์วัล สุริยง ศิริพร เอี่ยมสุนทร พยัคฆ์ รามวาทิน, โกวิท วัฒนกุล, สมจินต์ ธรรมทัต, เครา สปาตาคัส, สมศักดิ์ ชัยสงคราม, มานพ อัศวเทพ, ลักษณ์ อภิชาติ, ไชยยัณ สรไกร, กิตติ ดัสกร, ไกรลาศ เกรียงไกร, ต่อลาภ กำพุศิริ, ปิแอร์ เดอลาลอง และขอแนะนำ ระพีพรรณ กรสกุล, รัตนา มงคลวรรณ ทรนง ศรีเชื้อ กำกับการแสดง (ที่มา :Thai Movie Posters)
ทอง ภาค 2 (2525/1982) เครื่องบินบรรทุกทองคำมูลค่ากว่าสี่พันล้านบาทได้ถูกจี้บังคับให้ลงจอดที่สนามบินในประเทศลาว แต่หน่วยปฏิบัติการร่วมพิเศษไทย-อเมริกันสามารถชิงคืนกลับมาได้แต่พวกเขาต้องสูญเสียเพื่อนร่วมทีมไปมิใช่น้อย ทว่าขณะที่กำลังนำทองคำกลับประเทศไทย ได้ถูกโจมตีจนเครื่องบินขนทองคำได้ตกลงไปในหุบเขาแห่งหนึ่ง ทีมปฎิบัติการชิงทองคำต้องหาทางสละเครื่องเอาชีวิตรอด และยังต้องตามรอยหาทองคำกลับมา ร่วมด้วยทีมปฎิบัติการใหม่อีกทีมที่ส่งเข้ามาช่วยเหลือ ท่ามกลางการต่อต้านจากทหารลาวแดงที่ต้องการทองคำเหล่านี้เช่นกัน
มหาราชดำ (2524)

เรื่องย่อ : มหาราชดำ (2524/1981) ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากตำนานกู้เอกราชของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยเพิ่มตัวละครสมมุติเข้าไปเป็นกลุ่มทหาร 9 นาย นำโดยหลวงหาญและขุนพยัคฆ์ ซึ่งตีฝ่าวงล้อมทัพพม่าหนีมาอยู่อรัญญิก หลังเสียกรุงครั้งแรก ทั้งหมดต้องเผชิญหน้ากับการรังควานจากทัพพม่า รวมทั้ง ขุนเดือด คนไทยผู้แปรพักตร์ซึ่งสร้างรอยแค้นแก่หลวงหาญเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องราวที่ดัดแปลงจากตำนานกู้เอกราชของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยเพิ่มตัวละครสมมุติเข้าไปเป็นกลุ่มทหาร 9 นาย นำโดยหลวงหาญและขุนพยัคฆ์ ซึ่งตีฝ่าวงล้อมทัพพม่าหนีมาอยู่อรัญญิกหลังเสียกรุงครั้งแรกฯ ทั้งหมดยังต้องเผชิญการรังควานจากทัพพม่า และขุนเดือดคนไทยแปรพักต์ซึ่งสร้างรอยแค้นแก่หลวงหาญอย่างมาก จนในวันที่หลวงหาญชำระแค้นขุนเดือดสำเร็จ ทั้งหมดก็เดินทางไปร่วมทัพกับ ‘มหาราชดำ’ เพื่อร่วมรบในศึกกู้กรุงศรีฯ จากพม่า

ระย้า (2524)
เรื่องย่อ : ระย้า (2524/1981) ระย้า คือเด็กที่เกิดขึ้นมาในสมัยญี่ปุ่นบุกเข้าเมืองไทย ทำงานต่อต้านญี่ปุ่นอยู่ลับๆ โดยร่วมมือกับหมวดโรมรัน และกลุ่มเสรีไทยขัดขวางการทำงานของนายพลทามุระทุกวิถีทาง จึงถูกหมายหัวจากทหารญี่ปุ่น ระย้ายังมีความแค้นที่จะต้องชำระกับขุนรอน เจ้าพ่อที่เอาเปรียบชาวบ้านในแถบเขาทะโมน และยังฆ่าพ่อของระย้าอีกด้วย ขุนรอนใช้ทหารญี่ปุ่นในการกำจัดระย้า ระย้าและหมวดโรมรันถูกทหารญี่ปุ่นจับตัวไป และกำลังถูกนำไปลงโทษ มีทหารญี่ปุ่นมาส่งข่าวให้นายพลญี่ปุ่นรู้ว่าพวกตนแพ้สงครามแล้ว ระย้าไปจับตัวขุนรอนที่บ้าน ล้างแค้นให้พ่อได้สำเร็จ
สัตว์สงคราม (2524)
สัตว์สงคราม (2524/1981) ข้อความบนใบปิด มันคือ ‘สงคราม’ ที่ทำให้ ‘มนุษย์’ โหดยิ่งกว่า ‘สัตว์’ สัตว์สงคราม THE FIVE WARRIORS พิศาล อัครเศรณี รณ ฤทธิชัย เครา สปาตาคัส ธิติมา สังขพิทักษ์ มานพ อัศวเทพ ดวงชีวัน โกมลเสน โสธร รุ่งเรือง, กฤษ อลงกรณ์, หมู่ นครบาล, ก้าน ทองคำ, เกษม ศรีน้ำทอง, สมชาย สหัสพาสน์ ทรนง ศรีเชื้อ กำกับการแสดง “สปา” ดำเนินงานสร้าง จรูญ เปรมฤทัย อำนวยการสร้าง แม้ ‘แนวรบนรก’ ก็มิอาจ ‘หยุด’ พวกเขาได้
อารีดัง (2523)

อารีดัง (2523/1980) ไกลสุดขอบฟ้า กลางสมรภูมิเลือด และความเยือกเย็นของหิมะ รักนั้นร้อนเร่าแสวงหา ระอุอารมณ์สะท้านหัวใจ

ร้อยเอกคงพันธ์ ถูกส่งไปร่วมรบในสงครามเกาหลีจนบาดเจ็บสาหัส ที่นั่น เขาได้รับการรักษาและช่วยเหลือจาก โอบูนริ หญิงสาวชาวเกาหลี จนก่อเกิดเป็นความรักและได้แต่งงานกันตามประเพณีท้องถิ่น เมื่อสงครามเริ่มสงบลง คงพันธ์จำต้องเดินทางกลับสู่ประเทศไทยในขณะที่โอบูนริกำลังตั้งท้อง เขาให้สัญญาว่าจะกลับมารับเธอ แต่เมื่อถึงเมืองไทย คงพันธ์กลับต้องพบว่าครอบครัวได้หมั้นหมายให้เขาแต่งงานกับหญิงอื่นโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้

เกาหลีปี พ.ศ. 2496 เป็นปีแห่งการต่อสู้และการอพยพครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ทหารไทยมาช่วยเกาหลีรบ หน่วยของ ร.อ. พงษ์พันธ์ ถูกฆ่าตายและตัวเขาเองถูกยิงบาดเจ็บ โชคดีได้ หมวดโชติ มาช่วยและพารักษาตัวที่หมู่บ้าน โทนัมดง ตำบลอารีดัง และได้รับการช่วยเหลือจากเด็กสาวในหมู่บ้านชื่อ โอบุนริ ระหว่างที่รักษาตัวอยู่พงษ์กับโอบุนริมีความรัก และแต่งงานกัน

เมื่อวันที่ 27 กรกาคม 2496 นายพลวิลเลี่ยม แฮริสัน ผู้นำเกาหลีเหนือ เซ็นสัญญาสงบศึก สงครามสงบ และพงษ์ก็ได้กลับเมืองไทย และไม่สามารถนำครอบครัวโอบุนริกลับมาด้วยกันได้ เขาติดงานราชการไม่สามารถไปหาลูกเมียได้ จน 3 ปีผ่านไป พงษ์ตัดสินใจออกจากราชการ และไปรับโอบุนริที่บ้านบนเขา ในขณะที่หิมะถล่มลงมาทุกคนหนีเอาตัวรอด แต่โอบุนริไม่หนีเธอจึงตายกลางหุบเขาเมื่อพงษ์มาถึง พงษ์ทำศพให้โอบุนริและรับลูกกับพ่อตาไปอยู่ด้วยกัน

เลือดสุพรรณ (2522)

เลือดสุพรรณ (2522/1979) ในปี พ.ศ. 2308 ตอนปลายยุคกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งของเมืองสุพรรณบุรี ชาวบ้านยังคงอยู่กันอย่างสงบสุข แม้จะมีข่าวศึกจากกรุงอังวะ แต่ก็คิดกันว่าเป็นหน้าน้ำหลากพม่าไม่สะดวกในการเดินทัพคงจะไม่ยกทัพมา

คืนวันหนึ่งมีกลุ่มโจรบุกเข้าปล้นหมู่บ้านและฉุดดวงจันทร์ (ลลนา สุลาวัลย์) ลูกสาวของหัวหน้าหมู่บ้านไป แต่ระหว่างทางปรากฎชายหนุ่มลึกลับผู้มีฝีมือการต่อสู้ยอดเยี่ยมเข้าช่วยเหลือ เหล่าโจรสู้ไม่ได้จึงพากันหนีไป เนื่องจากเป็นเวลากลางคืนไม่สะดวกในการเดินทาง ชายหนุ่มลึกลับจึงพาดวงจันทร์ไปพักที่กระท่อมร้าง และบอกว่าตนเองชื่อทับ (ไพโรจน์ สังวริบุตร) เป็นทหารสอดแนมจากกรุงศรีอยุธยา และวันรุ่งขึ้นทับก็พาดวงจันทร์กลับคืนไปหาพ่อแม่ที่หมู่บ้าน

ด้วยความประมาทของคนไทย กองทัพพม่าสามารถบุกเข้ายึดเมืองสุพรรณบุรีได้โดยง่ายดาย รวมทั้งหมู่บ้านที่ดวงจันทร์อาศัยอยู่ ดวงจันทร์เอาตัวรอดโดยการปลอมตัวเป็นผู้ชาย ในขณะที่ผู้หญิงในหมู่บ้านหลายคนต้องถูกทหารพม่าข่มขืน เพื่อนของดวงจันทร์ถูกฉุดไปให้มังระโธ (สุทัศน์ อินทรานุปกรณ์) นายกองปีกขวา แต่ถูกขัดขวางโดยมังราย (ไพโรจน์ สังวริบุตร) นายกองปีกซ้ายผู้เป็นบุตรของมังมหาสุรนาถ (ส.อาสนจินดา) แม่ทัพใหญ่ผู้คุมทัพมาในครั้งนี้ มังระโธต่อสู้กับมังรายและพ่ายแพ้ จึงผูกอาฆาตต่อมังราย

นรกแตก (2522)

นรกแตก (2522/1979) "ยิ่ง มหายศ" (สมบัติ เมทะนี) หนุ่มผู้ได้รับถ่ายทอดวิชาคาถาอาคมจากหลวงตาแช่มเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งปักษ์ใต้ เขาได้รับมอบหมายจากอาจารย์ให้ไปช่วยเหลือ "เชิญ มหัพภาค" ญาติของท่านที่ถูกอิทธิพลเถื่อนคุกคามอยู่ ทว่าเมื่อยิ่งเดินทางไปถึงก็สายเสียแล้ว เขาพยายามสืบหาผู้อยู่เบื้องหลังในเรื่องนี้จนได้พบกับ "วรวรรณ" (นันทนา เงากระจ่าง) ที่เป็นลูกสาวของเชิญ ยิ่งจึงเข้าร่วมกับวรวรรณเพื่อต่อกรกับ "เล่งหง" (บู๊ วิบูลย์นันท์) ผู้อยู่เบื้องหลังเรื่องทั้งหมดและได้เตรียมรับมือกับยิ่งทั้งยอดฝีมือการต่อสู้ และวิชาคาถาอาคม