มวยไทย นายขนมต้ม (2546/2003) นายขนมต้ม (ภาณุทัต รัตนไตร) ลูกชายของนายเกิดและนางอี่ ชาวบ้านกุ่ม แขวงขุนเสนา มีพี่สาวชื่ออีเอื้อย ทั้งสามถูกพม่าฆ่าตายตั้งแต่ขนมต้มยังเด็ก จึงอาศัยอยู่กับหลวงตาคง (เล็ก เฉยสวัสดิ์)วัดปีกกาจนเติบใหญ่ นายขนมต้มถูกอ้ายดำรังแก แต่มี ชายนิรนาม (ดามพ์ ดัสกร) ช่วยไว้ ทำให้ขนมต้มเห็นคุณค่าของแม่ไม้มวยไทย จึงขอร้องให้ชายนิรนามสอนให้แต่ถูกปฏิเสธ นายสอน (ไกร ครรชิต) และ อ้ายดำ ขอท้ามวยกับชายนิรนาม ถึงสองครั้งสองคราแต่ถูกปฏิเสธ ขนมต้มขอสู้กับอ้ายดำและเป็นฝ่ายชนะ นายสอนผู้เป็นพ่อจึงขอแก้มือ และทำให้รู้ว่า ชายนิรนามคือคนที่เขาตามหา หวังให้ร่วมรับศึกกับพม่า ทำให้ทั้งหมดร่วมใจกันคิดสู้พม่า และหลังจากนั้น ขนมต้มกับอ้ายดำ ก็เป็นเพื่อนรักกันตั้งแต่นั้นมา จากนั้น ขนมต้มได้ลาหลวงตาคง เดินทางร่วมกับอ้ายดำไปป่าโมก เพื่อฝึกวิชามวยเพิ่ม โดยขนมต้มไปอาศัยอยู่กับ ทองอยู่ (นิวัติ พิบูลย์ศิริ) และนางยมซึ่งเป็นญาติ ขณะที่อ้ายดำไปหาครูเสา (มีศักดิ์ นาครัตน์) ข่าวข้าศึกพม่าประชิดกรุงศรีฯ และจะมีทัพพม่าผ่านทางป่าโมก พันเพชร (ยอดชาย เมฆสุวรรณ) กับ ครูสุก (สมชาติ ประชาไทย) ได้วางแผนดัน อ้ายเปลว (สุเมธ อ่อนนวล) เป็นนายทัพ โดยเรียกครูเสากับทองอยู่มาประชุม ครูเสาได้ต่อว่าครูสุก ที่ให้อ้ายเปลวออกไปรบกับพม่า โดยไม่ให้พวกตนไปด้วย ครูสุกบอกว่าพวกครูเสาเป็นเพียงทัพหลัง หาใช่ดั่งอ้ายเปลว ที่เป็นเหมือนนายทัพ และกล่าวว่าหากคิดว่ามีฝีมือดีก็ลองดู... วันต่อมา อ้ายดำและ อ้ายเทียบ (เฉลิมชัย สายทอง) นำพวกแอบซุ่มโจมตีฆ่าพม่าได้ยี่สิบคน แต่อ้ายดำได้รับบาดเจ็บ ครูสุกจึงมีความโกรธแค้น ที่อ้ายดำและอ้ายเทียบพร้อมพรรคพวก ทำได้เช่นเดียวกับอ้ายเปลว อีกทั้งทราบข่าวว่า ขนมต้มกับออนุ่น ซึ่งเป็นฝ่ายสอดแนม กำลังเดินทางไปกรุงศรีฯ จึงตามไปดักรอในป่าที่โพงเพง เมื่อประจันหน้ากันแล้ว ครูสุกได้ใช้แม่ไม้มวยไทยกับขนมต้มจนได้รับบาดเจ็บ และฆ่าออนุ่นตาย เหตุเพราะต้องการทราบว่า ขนมต้มเรียนแม่ไม้มวยไทยมาจากใคร เพราะคนๆ นั้นคือคนที่ครูสุกตามหาอยู่ อีกทั้งหมายจะฆ่าขนมต้มด้วย แต่ชายนิรนามมาช่วยไว้ทัน เมื่อทุกคนทราบว่า ครูสุกดักทำร้ายขนมต้มและฆ่าออนุ่นตาย จึงมีความโกรธแค้นและยกพวกมาจับครูสุก ครูสุกขัดขืนและหนีไป ส่วนอ้ายเปลวโดนจับและกักตัวไว้ แต่ จั๊กกะจั่น (บุญธิดา นาคเจริญ) แอบมาช่วยให้อ้ายเปลวหนีไป หลังจากทุกคนทราบว่า ครูสุกและอ้ายเปลวหักหลังคนไทยด้วยกัน โดยอ้ายเปลวนำทัพพม่าบุกป่าโมก จึงให้ขนมต้มกับอ้ายมิ่งขึ้นกรุงศรีฯ ขออาวุธและทหารมาช่วย แต่ระหว่างทาง เจอครูสุกดักรอขอประลองมวย ครูสุกแพ้จึงคิดใช้ดาบฆ่าขนมต้ม แต่ชายนิรนามมาช่วยไว้ทัน และฟันครูสุกคอขาดกระเด็น จากนั้นทั้งสองจึงเดินทางต่อ แต่ก็หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ฝ่ายป่าโมก โดนพม่าซึ่งมีอ้ายเปลวเป็นคนนำทัพโจมตี ทำให้นายสอน, ครูทองอยู่, ครูเสา, จั๊กกะจั่น, มะขาม, อ้ายดำ ตายสิ้น รวมทั้งพันเพชรด้วย ทำให้อ้ายเปลวเกิดความละอายใจ และด้วยความแค้น จึงวิ่งไล่ฆ่าพม่าและคนไทยด้วยกันโดยไม่ยั้งคิด กรรมตามสนองอ้ายเปลวคนขายชาติ มังทอคะยา (อาคะเน บุญเกิด) สั่งจับอ้ายเปลวเป็นเชลย รวมกับคนไทยคนอื่นด้วย ที่ค่ายกักกัน มีการเกณฑ์เชลยไทยมาสร้างเจดีย์หลวง ตามความประสงค์ของพระเจ้ามังระ (ครรชิต ขวัญประชา) ขนมต้มกลายเป็นเชลยศึก และเมื่อทราบเรื่องราวต่างๆ จากอ้ายโตจึงเกิดความเดือดดาล เมื่อเจอกับอ้ายเปลว ทั้งคู่จึงต่อสู้กันด้วยลีลาแม่ไม้มวยไทย แต่ มังสุรนาถ (สมเกียรติ พัฒนทรัพย์) มาห้ามไว้และกล่าวว่า เหตุใดคนไทยจึงชอบมีเรื่องวิวาทกัน และสั่งให้ทั้งสองสู้กัน หากใครแพ้จะถูกบั่นหัวเสียบประจาน ผลออกมาขนมต้มเป็นฝ่ายชนะ เพื่อไม่ให้เป็นการขายหน้าแผ่นดินไทย ขนมต้มจึงต่อยอ้ายเปลวจนตาย ตายด้วยน้ำมือคนไทยด้วยกัน ดีกว่าถูกพม่าบั่นคอเสียบประจาน ตราบจนถึงวาระที่พระเจ้ามังระจัดฉลองพระเจดีย์ จึงได้มีพระราชโองการให้เบิกตัวนายขนมต้มจากที่คุมขัง มาแสดงฝีมือมวยไทยหน้าพระที่นั่ง โดยมีเดิมพันว่า หากขนมต้มแพ้จะถูกบั่นคอ แต่หากชนะขนมต้มประสงค์สิ่งใดก็ทูลขอได้ การต่อสู้มวยไทยของขนมต้ม เป็นไปตามลีลาแม่ไม้มวยไทยที่เป็นต้นตำรับขนานแท้ จนเอาชนะพม่าได้ถึงสิบคน ในเวลาเพียงกะลายังไม่จมน้ำ พระเจ้ามังระทรงให้รางวัลแก่ขนมต้ม เป็นนางสนมถึงสองคนเพื่อไปทำเมีย แต่ขนมต้มปฏิเสธและทูลขอให้พระเจ้ามังระ ทรงพระราชทานอภัยโทษแก่คนไทยได้เป็นอิสระ ไม่ตกเป็นเชลยของพม่าอีกต่อไป พระเจ้ามังระเป็นกษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ ทรงปลดปล่อยคนไทยเป็นอิสระจากการตกเป็นเชลยศึกของพม่า และทรงตรัสชมขนมต้มว่า "คนไทยนี้มีพิษสงรอบตัว แม้มือเปล่ายังเอาชนะคนได้ถึงเก้าคนสิบคน นี่หากว่ามีเจ้านายดี มีความสามัคคีกัน ไม่ขัดขากันเอง และไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว และโคตรตระกูลแล้ว ไฉนเลยกรุงศรีอยุธยาจะเสียทีแก่ข้าศึก ดั่งที่เห็นอยู่ทุกวันนี้"

สุริโยไท (2544/2001) เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สวรรคตในปี พ.ศ. 2072 พระอาทิตยาจึงได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนาม สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ทุกพระองค์เสด็จย้ายจากพิษณุโลกไปประทับ ณ กรุงศรีอยุธยาเมืองหลวง พระเฑียรราชา และ พระสุริโยไท มีโอรสธิดาทั้งสิ้น 5 พระองค์ คือ พระราเมศวร , พระมหินทร, พระบรมดิลก, (พระวิสุทธิ์กษัตริย์) และ พระเทพกษัตรี ประทับอยู่ ณ วังชัย ดำรงอิสริยยศเป็นพระเยาวราช เมื่อสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรสวรรคตด้วยโรคไข้ทรพิษ พระไชยราชา ผู้ซึ่งดำรงพระยศเป็นพระอุปราช ควรจะได้สืบสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ แต่สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรทรงขอให้ สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระโอรสวัย 5 พรรษา อันเกิดแต่พระอัครชายา วัย 17 พรรษา เป็นผู้ขึ้นครองราชย์แทน ระหว่างนั้น บ้านเมืองถูกบริหารโดยขุนนางทุจริต ติดสินบนเถลิงอำนาจ โดยเฉพาะ เจ้าพระยายมราช บิดาของพระอัครชายา 5 เดือนให้หลังสมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงเข้ายึดราชบัลลังก์ และให้สำเร็จโทษพระรัษฏาธิราช ตามราชประเพณีโบราณ รวมถึงสั่งประหารขุนนางทุจริตทุกคน และทรงขึ้นครองราชย์ แผ่บุญญาธิการ เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไป ทรงออกรบปราบหัวเมืองอยู่เนือง ๆ และได้แต่งตั้งพระเฑียรราชาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชา ว่าราชการแทนพระองค์ อยู่ที่กรุงอโยธยา ส่วนพระมเหสีของพระไชยราชา คือ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ได้ลักลอบมีความสัมพันธ์กับ ขุนชินราช ผู้ดูแลหอพระ เชื้อราชวงศ์อู่ทองด้วยกัน และได้สมคบคิดกัน ลอบวางยาพิษปลงพระชนม์พระไชยราชา พระยอดฟ้า พระโอรสของพระไชยราชา ที่ประสูติจาก ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้ขึ้นครองราชย์แทน ในขณะที่มีพระชนม์เพียง 10 พรรษา แต่ต่อมาไม่นาน ก็ถูกท้าวศรีสุดาจันทร์ปลงพระชนม์อีกองค์หนึ่ง แล้วสถาปนาขุนชินราชขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระวรวงศาธิราช นับตั้งแต่สิ้นรัชกาลพระไชยราชา พระเฑียรราชาก็ได้ผนวชเพื่อเลี่ยงภัย ส่วนพระสุริโยไททรงเตรียมฝึกทหาร โดยมีผู้จงรักภักดี คือ ขุนพิเรนทรเทพ, ขุนอินทรเทพ, หมื่นราชเสน่หานอกราชการ และหลวงศรียศลานตากฟั เฝ้าคุ้มกันภัยให้ ได้ร่วมกันปลงพระชนม์ขุนวรวงศา และท้าวศรีสุดาจันทร์ เสียบหัวประจานไว้ที่วัดแร้ง แล้วอัญเชิญพระเฑียรราชา ให้ลาสิกขาบทขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ระหว่างนั้นทางพม่าได้รวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น และแผ่ขยายอำนาจรุกรานไทยภายใต้พระมหากษัตริย์ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ และได้เดินทัพมายังกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2091 เกิดเป็นสงครามยุทธหัตถี ที่ทุ่งมะขามหย่อง ซึ่งเป็นเหตุให้ พระสุริโยไทสิ้นพระชนม์บนคอช้าง เรื่องจบลงด้วยสงครามยุทธหัตถี อันเป็นเรื่องราวความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและความตายของวีรกษัตรีย์ "สุริโยไท" ที่พลีชีพเพื่อรักษาอาณาจักรอยุธยา

ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ (2543/2000) พ.ศ. 2484 เด็กนักเรียนโรงเรียนศรียาภัยจับกลุ่มกัน 8 คน มารุต ประยุทธ บรรจง สนั่น สังวาน สังเวียน ประชุม และวัฒนา ทั้งหมดเป็นเด็กหนุ่มในวัยที่เต็มไปด้วยความฝันและจินตนาการ แต่แล้วสงครามทำให้เด็กวัยรุ่นกลุ่มนี้ ต่างพร้อมใจกันอาสาสมัครที่จะไปตายเพื่อชาติ เมื่อ ร้อยเอกถวิล และ สิบเอกสำราญ และกลุ่มลูกน้อง เดินทางมาจังหวัดชุมพร เพื่อคัดเลือกและฝึกยุวชนทหาร เพื่อเสริมกำลังพลของชาติที่มีไม่เพียงพอหากเกิดสงครามขึ้น ทั้ง 8 คน จึงตัดสินใจลงสมัครพร้อมเพื่อนๆ ในชั้นเรียน การฝึกยุวชนทหารทั้งหมดเป็นการฝึกหนักเยี่ยงการฝึกทหารหาญทั่วไป แม้ขาดอาวุธในการฝึก เพราะไม่มีใครคาดคิดว่าสงครามจะเกิดขึ้น จึงขาดการสนับสนุนจากทางราชการ ร้อยเอกถวิลและเหล่ายุวชนทหารก็ได้จัดการแสดงยุทธกีฬา เพื่อเรื่ยไรเงินมาซื้ออาวุธ ร้อยเอกถวิลนั้นเป็นครูฝึกที่ดุมาก และคุมเข้มในการฝึกทหาร ซึ่งทำให้ร้อยเอกถวิลเป็นครูฝึกที่เด็กๆ ทั้งรักและกลัว ในขณะที่ยุวชนทหารฝึกทหารกัน มารุตกับประยุทธก็เกิดไปชอบพอสาวคนเดียวกัน คือ ชิดชง ทำให้ทั้งคู่ยิ่งชิงดีชิงเด่นกันตลอดเวลา ทั้งเรื่องเรียน การฝึกทหาร และความรัก จนทำให้ทั้งคู่แตกคอกัน ในที่สุด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ชุมพร ยุวชนทหารทั้งหมดต่างกอดคอกันออกไปรบ เพื่อป้องกันประเทศ แม้อาวุธจะมีไม่เพียงพอ ทุกคนก็ต่อสู้จนเต็มกำลัง เพื่อผืนแผ่นดินไทย มารุต ประยุทธ แม้จะชิงดีชิงเด่นกันมาตลอด แต่ในเวลานี้ ทั้งหมดต่อสู้กันเคียงบ่าเคียงไหล่ พร้อมเพื่อนๆ ยุวชนทหาร ร้อยเอกถวิลเสียชีวิตระหว่างรบ สิบเอกสำราญโดนยิงที่แขน เขาตัดสินใจมอบหมายให้มารุตดูแลการรบต่อ เพราะมั่นใจว่ายุวชนทหารทุกคนทำได้ กำลังพลยุวชนทหารที่ต้องต่อสู้กับญี่ปุ่นโดยลำพัง เมื่อขาดทั้งร้อยเอกถวิลและสิบเอกสำราญจะเป็นอย่างไร? วีรกรรมอันน่ายกย่องของพวกเขาทั้งหลายจะลงเอยเช่นไร? ยุวชนทหาร....เปิดเทอมไปรบ พร้อมที่จะให้คุณได้พิสูจน์
มหาราชดำ (2524)

เรื่องย่อ : มหาราชดำ (2524/1981) ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากตำนานกู้เอกราชของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยเพิ่มตัวละครสมมุติเข้าไปเป็นกลุ่มทหาร 9 นาย นำโดยหลวงหาญและขุนพยัคฆ์ ซึ่งตีฝ่าวงล้อมทัพพม่าหนีมาอยู่อรัญญิก หลังเสียกรุงครั้งแรก ทั้งหมดต้องเผชิญหน้ากับการรังควานจากทัพพม่า รวมทั้ง ขุนเดือด คนไทยผู้แปรพักตร์ซึ่งสร้างรอยแค้นแก่หลวงหาญเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องราวที่ดัดแปลงจากตำนานกู้เอกราชของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยเพิ่มตัวละครสมมุติเข้าไปเป็นกลุ่มทหาร 9 นาย นำโดยหลวงหาญและขุนพยัคฆ์ ซึ่งตีฝ่าวงล้อมทัพพม่าหนีมาอยู่อรัญญิกหลังเสียกรุงครั้งแรกฯ ทั้งหมดยังต้องเผชิญการรังควานจากทัพพม่า และขุนเดือดคนไทยแปรพักต์ซึ่งสร้างรอยแค้นแก่หลวงหาญอย่างมาก จนในวันที่หลวงหาญชำระแค้นขุนเดือดสำเร็จ ทั้งหมดก็เดินทางไปร่วมทัพกับ ‘มหาราชดำ’ เพื่อร่วมรบในศึกกู้กรุงศรีฯ จากพม่า

เลือดสุพรรณ (2522)

เลือดสุพรรณ (2522/1979) ในปี พ.ศ. 2308 ตอนปลายยุคกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งของเมืองสุพรรณบุรี ชาวบ้านยังคงอยู่กันอย่างสงบสุข แม้จะมีข่าวศึกจากกรุงอังวะ แต่ก็คิดกันว่าเป็นหน้าน้ำหลากพม่าไม่สะดวกในการเดินทัพคงจะไม่ยกทัพมา

คืนวันหนึ่งมีกลุ่มโจรบุกเข้าปล้นหมู่บ้านและฉุดดวงจันทร์ (ลลนา สุลาวัลย์) ลูกสาวของหัวหน้าหมู่บ้านไป แต่ระหว่างทางปรากฎชายหนุ่มลึกลับผู้มีฝีมือการต่อสู้ยอดเยี่ยมเข้าช่วยเหลือ เหล่าโจรสู้ไม่ได้จึงพากันหนีไป เนื่องจากเป็นเวลากลางคืนไม่สะดวกในการเดินทาง ชายหนุ่มลึกลับจึงพาดวงจันทร์ไปพักที่กระท่อมร้าง และบอกว่าตนเองชื่อทับ (ไพโรจน์ สังวริบุตร) เป็นทหารสอดแนมจากกรุงศรีอยุธยา และวันรุ่งขึ้นทับก็พาดวงจันทร์กลับคืนไปหาพ่อแม่ที่หมู่บ้าน

ด้วยความประมาทของคนไทย กองทัพพม่าสามารถบุกเข้ายึดเมืองสุพรรณบุรีได้โดยง่ายดาย รวมทั้งหมู่บ้านที่ดวงจันทร์อาศัยอยู่ ดวงจันทร์เอาตัวรอดโดยการปลอมตัวเป็นผู้ชาย ในขณะที่ผู้หญิงในหมู่บ้านหลายคนต้องถูกทหารพม่าข่มขืน เพื่อนของดวงจันทร์ถูกฉุดไปให้มังระโธ (สุทัศน์ อินทรานุปกรณ์) นายกองปีกขวา แต่ถูกขัดขวางโดยมังราย (ไพโรจน์ สังวริบุตร) นายกองปีกซ้ายผู้เป็นบุตรของมังมหาสุรนาถ (ส.อาสนจินดา) แม่ทัพใหญ่ผู้คุมทัพมาในครั้งนี้ มังระโธต่อสู้กับมังรายและพ่ายแพ้ จึงผูกอาฆาตต่อมังราย

ลูกทาส (2522)
ลูกทาส (2522/1979) ข้อความบนใบปิด ไทยสตาร์ภาพยนตร์ โดย สันติ สันติพัฒนาชัย ภูมิใจเสนอ ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ ลูกทาส ของ รพีพร จากรัก..สู่เลือดและน้ำตา จาก..ทาส..มาเป็น..ไท.. สรพงศ์ ชาตรี พระเอกตุ๊กตาทอง พบ สองนางเอก วงเดือน อินทราวุธ – นันทนา เงากระจ่าง ภิญโญ ปานนุ้ย, สมภพ เบญจาธิกุล, เศรษฐา ศิระฉายา, สมจินต์ ธรรมทัต, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, กฤษณะ อำนวยพร, วิทยา สุขดำรงค์, สุกัญญา นาคสนธิ์, จำนงค์ บำเพ็ญทรัพย์, พิภพ ภู่ภิญโญ, พนม นพพร, เสกสรรค์ ภู่ประดิษฐ์, หัทยา, นัยนา, ประเสริฐ, เชาว์ แคล่วคล่อง, โป๋, เทพ, นกเล็ก, สายพิณ จินดานุช, บุษบง, ส่ง, ทัศนีย์, สุปราณี, ชาลี อินทรวิจิตร สนธยา ดวงทองดี ถ่ายภาพ ประกอบ ใหญ่ศิริ กำกับศิลป์ สัมฤทธิ์ บุษษะ กำกับแสง สว่าง บุญยกาญจน์ ธุรกิจ รพีพร-กำธร สุวรรณปิยะศิริ กำกับการแสดง
อยุธยาที่ข้ารัก (2522/1979) เมื่ออยุธยาเสียกรุงแก่พม่า ลำดวน (พนิดา ทองฑัต) พาพระเจ้าเอกฑัต (สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์) หลบหนีไปทางเรือ แต่พระเจ้าเอกฑัตรับสั่งก่อนสิ้นพระชนม์ให้ลำดวนตามฆ่าพระยาพล (ถวัลย์ คีรีวัตร) ผู้เป็นกบฏ ต่อมาลำดวนและพันเรือง (ยอดชาย เมฆสุวรรณ) สามีได้ลอบฆ่าพระยาพลแต่ไม่สำเร็จ จึงถูกจับไปขังไว้ในถ้ำ ก่อนตายทั้งคู่ได้สาบานจะอยู่ร่วมกันและจะตามแก้แค้นพระยาพลไปทุกชาติ เวลาผ่านไปอีก 200 ปี ลำดวนกลับชาติมาเกิดเป็นมูมู (พนิดา ทองฑัต) นักร้องสาวคณะละครเร่ ส่วนพันเรืองเกิดมาเป็นนักสืบและไปรับจ้างสืบหาตัวแดงน้อยหลานสาวคุณหญิง (สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย) ที่หายตัวไปแต่เด็กๆ แต่เพราะความโลภจึงหลอกคุณหญิงโดยให้ศรีสุดา (ภาวนา ชนะจิต) สวมรอยเข้าเป็นแดงน้อยแทน ต่อมามูมูถูกโจรจับตัวไปขายซ่อง พันเรืองเข้าช่วยและพาไปหลบซ่อนตัวอยู่ในถ้ำเดิม ทำให้ทั้งคู่นึกถึงอดีตได้ แต่เมื่อพันเรืองแต่งงานกับศรีสุดา มูมูจึงตามมาทวงสัญญาและได้พบกับพระยาพลที่กลับชาติมาเกิดในงานนั้นและฆ่าพระยาพลตาย ความจริงก็ปรากฏขึ้นมาว่า มูมูก็คือแดงน้อยหลานสาวคุณหญิงที่หายตัวไปนั่นเอง
ขุนศึก (2519)

ขุนศึก (2519/1976) 15 ปี หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พระเจ้าบุเรงนอง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงกรีธาทัพไทย พร้อมด้วยถสมเด็จพระเอกาทศรถ พระอนุชา เข้ายึดเมืองแกลงอันเป็นเมืองเชื่อมเขตแดนไทยกับพม่า ได้ทรงหลั่งอุทกธาราประเทศตัดไมตรีกับพม่า พม่ายกกำลังบุกไทย เสมาคุมทหารกองหนึ่งจากท่านขุนลิต ขุนลิตสู้จนตัวตาย เสมาสืบทอดเจตนารมณ์ทำงานต่อจากขุนลิต รวบรวมกองอาสาและนำเรื่องกราบเรียนพระธรรมนูญ พระธรรมนูญรับเสมาเข้าร่วมรบ ทัพหน้าของพระธรรมนูญเข้าตีทัพพม่า จนพม่าถอยทัพกลับ บ้านเมืองจึงสงบ และเสมาได้บรรดาศักดิ์เป็นขุนแสนศึกพ่าย

พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ (2518)

พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ (2518/1975) สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพอยู่ในประเทศไทยในการทำสงครามโลก รัฐบาลไทยจำยอมและต้องให้ความร่วมมือกับทางญี่ปุ่น แต่ก็ได้เกิดขบวนการต่างๆ ขึ้นมากมายเพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นเพื่อปกป้องรักษาความเป็นไทย พจน์ ถูกทหารญี่ปุ่นจับตัวไปเพราะเข้าใจว่าเขาเป็นขโมย แต่ อรุณี ซึ่งเป็นพวกเสรีไทยปลอมตัวเข้าไปตีสนิทกับทหารญี่ปุ่นเพื่อสืบข่าว ช่วยพจน์ให้พ้นผิดได้ อรุณีทราบข่าวว่ากองทัพญี่ปุ่นจะพิมพ์ธนบัตรจำนวน 100 ล้านบาทขึ้นมาใช้เอง พล ซึ่งเป็นคนรักของอรุณีได้รับมอบหมายให้ทำลายงานนี้ซะ พลขอให้พจน์ซึ่งตอนนี้เป็นหัวหน้าขบวนการไทยถีบช่วยด้วย พลและพจน์นำลูกน้องไปทำลายเงินทั้งหมด และได้ต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นจนได้รับชัยชนะ และตัดสินใจไปอยู่กับขบวนการเสรีไทยเพื่อช่วยชาติต่อไป

ทิพพ์ช้าง (2517)
ทิพพ์ช้าง (2517/1974) ข้อความบนใบปิด บริษัทลำปางชัยจำกัด โดย สอาด ปิยวรรณ อำนวยการสร้าง เสนอภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ไทย เหตุการณ์เมื่อ 200 กว่าปี เป็นวีรกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของชาติไทย รบ..รัก..น้ำตา.. และการกอบกู้อิสรภาพของแผ่นดินไทย ทิพพ์ช้าง นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี ธัญญรัตน์ โลหะนันท์ อนันต์ สัมมาทรัพย์ สุชีรา สุภาเสพย์ คมน์ อรรฆเดช ดลนภา โสภี ประภาศรี เทพรักษา ร่วมด้วย สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช, จำนงค์ บำเพ็ญทรัพย์, วัลยา วรากรณ์, สันติ สันติพัฒนาชัย, สมชาย สามิภักดิ์, ประพัฒน์ มิตรภักดี, พิภพ ภู่ภิญโญ, แพน บอระเพ็ด, ปฐมชัย ชมศรีเมฆ, สอาด ปิยวรรณ ให้เกียรติร่วมนำแสดง และดาราสมทบอีกมาก รัตน์ เศรษฐภักดี กำกับการแสดง อดุลย์ เศรษฐภักดี ถ่ายภาพ ส.อาสนจินดา สร้างบทภาพยนตร์ สันติ สันติพัฒนาชัย ดำเนินงาน บริษัทลำปางชัยจำกัด แผนกภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
นพเก้า (2515)
นพเก้า (2515/1972) ข้อความบนใบปิด วิเชียรภาพยนตร์ โดย มั่น คงวิเชียร เสนอ... ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี นพเก้า ของ...พร ธาดา ยอดชาย เมฆสุวรรณ สุทิศา พัฒนุช เมตตา รุ่งรัตน์, สุวิน สว่างรัตน์, เมืองเริง ปัทมินทร์, ภูษิต อภิมัน, ชุมพร เทพพิทักษ์, เทียว ธารา, สีเผือก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, พิภพ ภู่ภิญโญ พร้อมด้วย พีระพล, เทอด, วินัย ฯลฯ สุเพชร จิตตนิโรธ กำกับการแสดง เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ
แก้วกาหลง (2510)
แก้วกาหลง (2510/1967) เสน่ห์ โกมารชุน สร้าง แม่นาคพระโขนง เจ้าแม่ตะเคียนทอง ลบสถิติและลือลั่นมาแล้ว ครั้งนี้ขอเสนอ... แก้วกาหลง ดูหนังผี ต้อง "เสน่ห์ โกมารชุน" สร้าง ดูหนังผี ต้อง "รังสี ทัศนพยัคฆ์" กำกับ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ไอ้แก้ว (มิตร ชัยบัญชา) ทาสในเรือนเบี้ย แต่เพราะไอ้แก้วมีความขยันมากกว่าทาสคนอื่นๆ จึงได้สิทธิพิเศษให้เรียนหนังสือ ไอ้แก้วมีความสามารถในการเล่นดนตรีสีซออู้ได้อย่างไพเราะ จึงได้รับความไว้วางใจท่านเจ้าคุณมหิทธ์ศักดิ์ ให้เป็นผู้สอนสีซออู้แก่กาหลง (ปรียา รุ่งเรือง) ผู้เป็นลูกสาวท่านเจ้าคุณฯ ก็เรียกว่า สอนไป สอนมา เกิดใกล้สนิทสนมและลักลอบได้เสียกัน ซึ่งเป็นความผิดมีโทษมหันต์ ยังความโกรธแค้นแก่ท่านเจ้าคุณฯ เป็นอย่างยิ่งเพราะทั้งอายที่ลูกสาวลดตัวไปเป็นเมียทาสหนุ่ม ท่านเจ้าคุณฯ จึงสั่งลงโทษโบยเฆี่ยนหลังไอ้แก้วและจับขังคุกทาสไว้ กะว่าจะให้ตาย ส่วนกาหลงผู้เป็นลูกสาวนั้น ท่านเจ้าคุณส่งตัวไปกักขังอยู่ที่กระท่อมกลางสวน เพื่อให้คลอดลูกก่อน โดยจัดเวรยามเฝ้าดูแลไว้ แต่เมื่อคนเฝ้ากินเหล้าเมายา แล้วก็เกิดอารมณ์เข้าปลุกปล้ำหมายข่มขืนกาหลง กาหลงไม่ยอม ก็ต่อสู้ดิ้นรนสุดชีวิตกระทั่งตัวเองถูกบีบคอตายคากระท่อม.. ท่านเจ้าคุณฯ รู้ข่าว ก็เสียใจและรีบจัดการฝังศพกาหลงไว้และตัวเองก็ป่วยจนตรอมใจตายในเวลาต่อมา ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกันกับในหลวงรัชกาลที่ 5 โปรดให้เลิกทาส ไอ้แก้วจึงได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ แต่ไม่มีใครบอกว่า กาหลงเสียชีวิตไปแล้ว ต่อมาหมอผีก็ไปขุดศพนางกาหลงขึ้นมา หมายจะเอาน้ำมันพรายไปทำเสน่ห์ยาแฝด แต่เพราะกาหลงเป็นผีตายโหงที่ถูกสะกดวิญญาณไว้ เมื่อยันต์สะกดหลุดออก ผีนางกาหลงก็เลยเฮี้ยนและจัดการฆ่าหมอผีตายเป็นศพแรก จากนั้นผีนางกาหลงก็ออกอาละวาดทุกค่ำคืน ชาวบ้านชาวช่องก็ไม่กล้าออกจากบ้านไปไหน ผีนางกาหลงออกตามหาไอ้แก้วผัวรัก เมื่อหาไม่เจอ ก็มานั่งสีซอคร่ำครวญทุกคืนจนชาวบ้านกลัว ย้ายหนีกันไปหลายคน ส่วนไอ้แก้ว เมื่อพ้นจากทาสมาเป็นไท ก็กลับไปอาศัยญาติๆ ทำนา แล้วก็ได้พบกับซ่อนกลิ่น (เพชรา เชาวราษฎร์) เกิดรักใคร่ชอบพอกัน กระทั่งเกลอเก่าที่เคยเป็นทาสหนีจากบ้านท่านเจ้าคุณฯ มาหาไอ้แก้วและขออาศัยอยู่ด้วย ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับที่ผีนางกาหลงติดตามเกลอไอ้แก้วมาด้วยเช่นกัน ตกกลางคืน ผีนางกาหลงก็ปรากฏตัวและไปขออยู่กับไอ้แก้วที่บ้าน โดยที่ไม่มีใครรู้ว่า กาหลงตายไปแล้ว กระทั่งเกลอเก่าไอ้แก้วมาเห็นเข้า จึงบอกซ่อนกลิ่นว่า กาหลงตายไปแล้ว ซ่อนกลิ่นก็ไปบอกไอ้แก้ว แต่ไอ้แก้วกลับไม่เชื่อ หาว่า ซ่อนกลิ่นหึงหวงกาหลง เหตุการณ์เริ่มไม่ค่อยจะสู้ดีเพราะไอ้แก้วกับผีนางกาหลงยังคงอยู่ร่วมบ้านกัน ซ่อนกลิ่นจึงไปหาอาจารย์ หาผ้ายันต์มาให้ไอ้แก้วพิสูจน์ความจริงว่า กาหลงตายไปแล้ว แก้วจึงยอมเอาผ้ายันต์ใส่ไว้ใต้หมอนที่กาหลงนอน พอตกกลางคืนร่างของกาหลงก็กลายเป็นซากศพเน่าเฟะนอนอยู่แทน แก้วจึงรู้ว่า กาหลงตายแล้ว ก็หนีไป สร้างความโกรธแค้นให้ผีนางกาหลงเป็นอย่างมาก จึงออกอาละวาดฆ่าคนเป็นว่าเล่น หมอผีหลายคนที่หาปราบ ก็สู้ผีนางกาหลงไม่ได้ กระทั่งหมอผีคนล่าสุดก็กำลังจะถูกผีกาหลงหักคอ ไอ้แก้วทนไม่ได้ที่ผีนางกาหลงฆ่าคนเป็นว่าเล่น จึงออกมาพบและบอกให้กาหลงฆ่าไอ้แก้วแทนเพราะจะได้ตายและไปอยู่ด้วยกัน เมื่อผีนางกาหลงได้ยินเช่นนั้น ก็รู้ว่าแท้จริงแล้ว ไอ้แก้วยังรักกาหลงอยู่ เพียงแต่เพราะอยู่กันคนละชาติคนละภพ ไอ้แก้วจึงแสดงออกแบบนั้น ผีนางกาหลงรู้สำนึกผิดชอบชั่วดีแล้ว จึงยอมปล่อยหมอผีไป และรู้ว่า ซ่อนกลิ่นก็รับไอ้แก้วเช่นกัน เมื่อชาตินี้ไม่สามารถอยู่กับพี่แก้วได้อย่างคนทั่วไป ก้เอ่ยปากฝากพี่แก้วกับซ่อนกลิ่นให้ครองคู่อยู่ร่วมกัน ส่วนตัวกาหลงเองก็จะกลับไปชดใช้กรรมในนรกภูมิ เพื่อชาติหน้าจะได้เกิดมาเป็นเมียพีแก้วอีกครั้ง
ผู้ชนะสิบทิศ ภาคสมบูรณ์ บุเรงนองถล่มหงสาวดี (2510)
ปผู้ชนะสิบทิศ ตอน ถล่มหงสาวดี (2510/1967) จะเด็ด ได้รับมอบหมายให้ปราบเมืองแปร แต่กลับหนีทัพไปพาตัว กุสุมา คนรักกลับออกมาจากหงสา แม้พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้จะพิโรธจนตัดความสัมพันธ์ แต่ด้วยความปรีชาสามารถของจะเด็ด ความสัมพันธ์จึงกลับมาราบรื่นตามเดิม วันหนึ่ง เมื่อ ไขลู จากหงสาวดี กลับมากำจัดพระมหาเถร พระอาจารย์ของทั้งคู่ จะเด็ดและพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ จึงร่วมกันยกทัพเพื่อถล่มหงสาวดีให้พินาศเพื่อเป็นการล้างแค้น
ผู้ชนะสิบทิศ ตอน ยอดขุนพล (2509)
ผู้ชนะสิบทิศ ตอน ยอดขุนพล (2509/1966) จะเด็ด สามัญชนผู้ได้รับการเลี้ยงดูจากพระมหาเถร พระอาจารย์แห่งกษัตริย์ตองอู และต่อมา ได้รับเลือกให้เป็นผู้สืบทอด ดาบยอดขุนพล เมื่อถึงรัชสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ผู้ซึ่งนับถือจะเด็ดเป็นพระสหายคนสนิท เขาได้รับมอบหมายให้เป็นแม่ทัพปราบเมืองแปร แต่จะเด็ดกลับไปหลงรักและอภิเษกกับ กุสุมา ธิดาพระเจ้าเมืองแปร เป็นเหตุให้พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ทรงพิโรธ และยกทัพบุกยังเมืองแปร
เจ้าแม่ตะเคียนทอง (2509)

เจ้าแม่ตะเคียนทอง (2509/1966) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ช่วงเวลาสุดท้ายก่อนการเลิกทาส ยอด (ไชยา สุริยัน) และพิกุล (ปรียา รุ่งเรือง) เป็นทาสในเรือนของท่านเจ้าคุณวิเศษสรไกร (สาหัส บุญ-หลง) ทั้งสองรักใคร่กัน ทำให้บัวเผื่อน (ชฎาพร วชิรปราณี) เมียน้อยท่านเจ้าคุณไม่พอใจเนื่องจากหลงรักยอดอยู่เช่นกัน ขณะเดียวกับที่ท่านเจ้าคุณก็ต้องการพิกุลเป็นเมีย วันหนึ่งบัวเผื่อนก็สร้างเรื่องใส่ความว่ายอดปลุกปล้ำ เจ้าคุณสั่งลงโทษโบยยอดอย่างหนัก แม้ว่าคุณกาหลง (โสภา สถาพร) ผู้เป็นธิดาพยายามขอร้องก็ไม่เป็นผล พิกุลยอมเป็นเมียท่านเจ้าคุณเพื่อเป็นการช่วยยอดไม่ให้ถูกเฆี่ยนจนถึงชีวิต แต่ยอดกลับเข้าใจว่าพิกุลเป็นหญิงหลายใจจึงดุด่าพิกุลอย่างรุนแรง พิกุลเสียใจมากจึงผูกคอตายที่ต้นตะเคียนในสวนหลังบ้านท่านเจ้าคุณ หลังจากพิกุลตายแล้วยอดจึงได้รู้ความจริงว่าที่พิกุลต้องยอมเป็นเมียท่านเจ้าคุณก็เพื่อช่วยชีวิตของตน ยอดจึงแอบโขมยศพของพิกุลจากวัดมาฝังไว้ใต้ต้นตะเคียน ยอดหลบหนีออกจากบ้านท่านเจ้าคุณและได้ช่วยหมอฝรั่งให้พ้นมือโ่จร หมอฝรั่งจึงพายอดไปอยู่ด้วยและสอนวิชาแพทย์ให้จนเชี่ยวชาญ ขณะที่บ้านท่านเจ้าคุณก็เกิดเหตุวุ่นวายเมื่อวิญญาณของพิกุลออกมาปรากฎตัวหลอกหลอน ท่านเจ้าคุณถูกพิกุลหลอกจนป่วยจึงให้คนไปตามหมอมารักษาซึ่งก็คือยอดนั่นเอง ทำให้ยอดได้มีโอกาสใกล้ชิดก้บคุณกาหลง หลังจากท่านเจ้าคุณเสียชีวิตทั้งสองตกลงใจจะอยู่ครองรักกันทำให้วิญญาณพิกุลโกรธมาก ปรากฎตัวออกมาทวงสัญญารักที่ยอดเคยให้กับตนเองไว้ ยอดเห็นใจในความรักและความเสียสละของพิกุลจึงจะยอมไปอยู่ด้วย ขณะที่พิกุลกำลังจะนำยอดไปหมอผีที่เดินทางมาปราบวิญญาณของพิกุลก็ได้ใช้ตะปูอาคมตอกที่ต้นตะเคียนทำให้วิญญาณของพิกุลสิ้นฤทธิ์เดช ก่อนที่วิญญาณจะสลายไปพิกุลได้ฝากให้คุณกาหลงดูแลยยอด ยอดและคุณกาหลงจึงได้ครองรักกัน

ศึกบางระจัน (2509)
ศึกบางระจัน (2509/1966) เรื่องราวของ ทับ ชายหนุ่มผู้อพยพชาวบ้าน รวมทั้งนิมนต์พระครูธรรมโชติมาอยู่ที่บางระจัน เพื่อเตรียมรับมือกับทัพพม่า เมื่อได้ข่าวว่าข้าศึกกำลังมาเยือนพร้อมด้วยปืนใหญ่ ทับจึงอาสาฝ่าอันตรายเดินทางไปขอปืนใหญ่ในวังหลวง อ้ายทับ แห่งบ้านคำหยาดหัวหน้ากลุ่มโจรที่คอยโจมตีทัพพม่า ต่อมาชาวบ้านคำหยาดไปรวมตัวกับชาวบ้านแห่งค่ายบางระจัน และอ้ายทับได้เป็นหัวหน้ากองทหารแห่งบ้านบางระจัน ชาวค่ายบางระจันสามารถรบโจมตีกับทัพพม่าได้แทบทุกครั้งด้วยความสามัคคีของคนในค่าย แต่ทว่าด้วยกำลังเพียงหยิบมือกับกองทัพขนาดใหญ่ที่หมายบุกไปโจมตีกรุงศรีอยุธยา ทำให้ชาวบ้านบางระจันถูกตีแตกพ่ายเหลือเพียงตำนานเล่าขานวีรกรรมแด่คนรุ่นหลัง