คนเริงเมือง (2545/2002) ย้อนไปในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเล็กน้อย ตัวเอก “พริ้ง” เป็นคนสวยพริ้งสมชื่อ พ่อแม่ตายไปตอนเด็กๆ ก็อยู่กับพี่สาวคนโต ซึ่งคอยดุด่า และเฆี่ยนตีพริ้งตลอด จนกระทั่งคุณประเทียบ ซึ่งเป็นมีศักดิ์เป็นภรรยาของญาติห่างๆของพริ้ง ไปพบแล้วสงสารจึงขอมาเลี้ยง คุณประเทียบเป็นสตรีไทยโบราณ ที่ใส่ใจเรื่องการบ้านการเรือน ก็พยายามอบรมสั่งสอนพริ้งให้เป็นกุลสตรีไทย แต่...สอนเท่าไร คนอย่างพริ้งก็ไม่เคยสนใจ พูดว่าอะไร พริ้งก็ฟังไปตามแกนแต่ไม่เคยจำ พอพริ้งเข้ารุ่นสาว แววความงามก็เริ่มปรากฏ พริ้งชอบชม้ายชายตาให้หนุ่มๆในละแวกบ้าน หลงเสน่ห์เล่น เป็นความสุขอย่างหนึ่งของพริ้ง เพราะพริ้งชอบให้มีคนรัก คนชอบ (ตามประสาคนมีปม) จนคุณประเทียบ ร้อนใจกลัวว่า พริ้งจะนำความอับอายขายหน้ามาให้ด้วยเรื่องของผู้ชาย คุณประเทียบเลยยกพริ้งให้แต่งงานกับคุณหมอพินิจ ซึ่งเทียวไปเทียวมาที่บ้าน ด้วยมนตร์เสน่ห์อยู่เป็นนาน พริ้งได้สามีคนแรก ตอนอายุ 16 นี่เอง สามีคนแรกแก่กว่าพริ้งถึง 20 ปี ชีวิตหลังแต่งงานของพริ้งไม่ได้ราบ รื่นนัก เพราะแม่สามีไม่ชอบความประพฤติของลูกสะใภ้วัยละอ่อนเท่าไร อีกทั้งลูกสะให้คนนี้ก็ไม่ใช่กุลสตรี อดทนอดกลั้น แบบหญิงไทยที่ยอมทนให้แม่ผัวโขกสับ พริ้งปากกล้า ต่อล้อต่อเถียงแม่ผัวไม่มีเกรงกลัว อยู่ไปหนักข้อ ข่มสามีได้อีก คนที่น่าสงสารที่สุดก็คุณหมอพินิจนี่ละ แรกๆ ชีวิตก็ทำท่าจะดี แต่พออยู่ไปนานเข้า คุณเมียก็มีแต่เรื่องปวดหัวมาให้จนกระทั่งหมอเส้นโลหิตในสมองแตกตาย โดยทิ้งลูกในท้องไว้ให้พริ้งคนหนึ่ง ติดตามต่อได้ใน คนเริงเมือง

ทองประกายแสด (2544)

ทองประกายแสด (2544/2001) ผู้หญิงคนหนึ่งที่มีสัดส่วน 33.5-24-35 ด้วยหัวใจใฝ่ถึงชื่อเสียง เงินตราและเกียรติยศ เธอเดินทางจากคราบไคลของสาวร้านขายของชำ สู่สิ่งที่เธอเชื่อว่า คือ สิ่งที่ดีกว่าในชีวิต ยังกรุงเทพ แดนศิวิไลซ์ “เธอ” อาจไม่ใช่คนสวยเลิศเลอ แต่”เธอ” ก็มีบางอย่าง “ ที่เป็นเสน่ห์ชวนให้ชายหลงไหล “ เธอ ไม่ใชแบบฉบับงดงามของกุลสตรีไทย ที่สวยเพียบพูนด้วยเสน่ห์ฉลาดและแสนดี “เธอ” ออกจะก้าวร้าว โมโหร้าย และปากจัด เสียด้วยซ้ำในบางครั้ง หากแต่เธอ “เธอ” ต่างฝากบทเรียนดุเด็ดถึงใจไม่ซ้ำกัน จากเด็กที่ถูกขอมาเลี้ยงตั้งแต่เกิด “เธอ” หวังเดินทางจากชีวิตที่ขาดๆหายๆ สู่ชีวิตที่รวมสำราญ

ลูกทาส (2544/2001) ในปี พ.ศ. 2428 เป็นเรื่องราวของ แก้ว ทาสในเรือนของพระยาไชยากร เขาพยายามต่อสู้ดิ้นรนเพื่อจะพ้นสภาพการเป็นทาส ในยุคแห่งกระบวนการเลิกทาสในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในราชวงศ์จักรีที่เริ่มมีการประกาศเลิกทาสและเกษียณอายุลุกทาสในแต่ละช่วงอายุ หากแต่นายเงินของแก้วนั้นไม่ยอมให้ความเป็นไทแก่บรรดาเหล่าทาสในครอบครอง แก้วจึงดิ้นรนและไข่วคว้าอิสรภาพที่เขาสมควรได้ ขณะเดียวกันก็ใฝ่หาความรู้ เพื่อการทำงานหลังจากเป็นไท เพื่อยกฐานะของตนเองขึ้นมาให้ทัดเทียมกับคุณน้ำทิพย์ หญิงสาวสูงศักดิ์ที่เป็นแรงใจให้เขามาตลอด

กำลังแสดงผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ