วัลลี (2528)
วัลลี (2528/1985) "เธอวิ่งไปทุกวันให้ทันเรียน เธอวิ่งมาทุกวันเพราะกตัญญู" เธอคือ "วัลลี" จากชีวิตจริงของด.ญ.ยอดกตัญญู ปี 24 "วัลลี ณรงค์เวทย์" จากชีวิตจริง ของ "เด็กหญิงยอดกตัญญู" อายุ...12 ขวบ วิ่งวันละ...8 ก.ม. เพื่อช่วยชีวิตแม่ และอาจจะทำให้โลกนี้น่าอยู่ (ขึ้นอีกนิดหนึ่ง) วัลลี เด็กนักเรียนชั้นประถมที่มีฐานะยากจน อาศัยกับแม่พ่อและยายที่ตาบอดใน จ.สมุทรสาคร ซึ่งแม่ของวัลลีมีอาชีพขายไอศกรีม ส่วนพ่อรับจ้างทำงานทั่วไปด้วยความยากลำบากของชีวิต ทำให้พ่อหนีออกจากบ้าน ส่วนแม่ไปขายเลือดตัวเองเพื่อหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวจนร่างกายทรุดโทรมนอนป่วยเป็นอัมพาต เพื่อดูแลแม่และยาย ทำให้ในตอนพักกลางวันของทุกวัน วัลลีจะต้องวิ่งกลับบ้านระยะทางหลายกิโลเมตรเพื่อป้อนข้าวป้อนน้ำแม่ที่ป่วย และยายที่สายตาย่ำแย่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จากนั้นเธอจะวิ่งกลับไปเรียนต่อตอนบ่าย เรื่องราวของเด็กหญิงยอดกตัญญูจะจบลงเช่นไร
ขาวผ่องจ้าวสังเวียน (2527)

เรื่องย่อ : ขาวผ่องจ้าวสังเวียน (2527/1984) หลังจากการตายของพ่อ "ทวี" (ทวี อัมพรมหา) ต้องลาออกจากโรงเรียนออกมาหาเลี้ยงครอบครัว เขาเข้าไปสมัครเป็นนักมวยอาชีพ แต่กลับต้องกลายเป็นเด็กสวัสดิการในค่ายมวยแทน จนในที่สุด "ครูชูชีพ" ครูมวยก็เห็นแววและยอมให้โอกาส นัดแรกเขาสามารถเอาชนะน็อคได้ทันที และนั่นทำให้ครูตั้งชื่อให้เขาว่า "ขาวผ่อง สิทธิชูชัย" และปลุกปั้นฝ่าฟันปัญหาต่างๆ จนสร้างสถิติชก 20 ไฟต์ไร้พ่าย และไปไกลถึงตำแหน่งแชมป์เวทีลุมพินีในเวลาเพียงไม่กี่ปี เมื่อถึงขีดสุดของมวยไทยแล้วทวีกลับตัดสินใจหันไปชกมวยสากลสมัครเล่นเพื่อเผชิญความท้าท้ายอันยิ่งใหญ่จนได้เป็นนักชกเหรียญเงินโอลิมปิกคนแรกของประเทศไทย

น้ำพุ (2527)

เรื่องย่อ : น้ำพุ (2527/1984) น้ำพุเป็นเด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่มีปัญหา พ่อกับแม่แยกทางกัน และเขาก็ได้ค้นหาสิ่งใหม่ๆให้ชีวิตทั้งดีและไม่ดี แล้วน้ำพุ ก็เลือกทางผิด ยิ่งเมื่อแม่มีสามีคนใหม่ จึงเป็นตัวเร่งให้เขาเริ่มแตกแยกจากครอบครัว บวกกับการที่เขาเลือกคบเพื่อนที่เสพยา จนติดยาหนัก แก้วเพื่อนสนิทของน้ำพุรู้เข้า ก็เสียใจมาก จึงตัดสินใจบอกแม่และครอบครัว แม่พาน้ำพุไปเลิกยาที่วัดถ้ำกระบอกกับเพื่อน แต่เมื่อเขากลับมาบ้าน เขากลับไม่ได้รับการต้อนรับอย่างดีเท่าที่เขาคาดหวัง จึงเกิดความรู้สึกน้อยใจตามประสาวัยรุ่น หันกลับไปหายาเสพติดอีกครั้ง และครั้งนี้มันก็เอาชีวิตของน้ำพุไป

เสือใบ (2527)

เรื่องย่อ : เสือใบ (2527/1984) จากเรื่องจริงของจอมโจรเสือใบ ที่เป็นข่าวจาก น.ส.พ.ไทยรัฐมาแล้ว

ภาพยนตร์ดัดแปลงจากชีวิตของ เสือใบ โจรที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งในช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 โดยเล่าเรื่องราวของ นายใบ ผู้เคยมีชีวิตเรียบง่าย แต่กลับถูกข่มเหงจาก กำนันเยี่ยม และลูกชายจอมกร่างอยู่ร่ำไป วันหนึ่ง ใบเกิดพลาดยิงลูกชายกำนันจนตาย เขาจึงหลบหนีเข้าป่าจับพลัดจับผลูเป็นพวกกับเสือฝ้าย และได้สมญาใหม่ว่า เสือใบ ขณะเดียวกัน กำนันเยี่ยมก็ได้อ้างสมญานี้เพื่อออกปล้นฆ่าชาวบ้าน

นายใบมีชีวิตเรียบง่ายตกปลาทำนาในสุพรรณบุรี แต่กลับโดนกำนันเยี่ยมและนายยิ่งลูกชายจอมกร่าง ข่มเหงร่ำไป วันหนึ่งเพื่อปกป้องเพื่อนรัก ใบพลาดยิงตอบโต้นายยิ่งจนตาย จากนั้นใบจึงหลบหนีเข้าป่าจับพลัดพลูเป็นพวกกับเสือฝ้าย ได้สมญาใหม่ว่าเสือใบ ขณะที่กำนันเยี่ยมอ้างชื่อเสือใบออกปล้นฆ่าชาวบ้าน สุดท้ายชื่อเสือใบก็เป็นที่ต้องการตัวของตำรวจ ถึงกับยกกำลังล้อมจับในถ้ำที่กบดานพร้อมๆ กับพวกกำนันยิ่งที่รอปิดบัญชีแค้นโดยจับแม่ของเสือใบเป็นตัวประกัน

คาดเชือก (2527)

เรื่องย่อ : คาดเชือก (2527/1984) เรื่องราวของหมู่บ้านแห่งหนึ่งในอำเภอโพธิ์ทอง ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ถูกคุกคามด้วยอิทธิพลมืดของ นายทองคำ จนกระทั่งวันหนึ่ง บุญสม อดีตนักมวยคาดเชือกกลับมารับหน้าที่เป็นปลัดอำเภอคนใหม่ หลังติดคุกถึง 10 ปีจากคดีฆ่าคนตาย เมื่อเขามาเห็นความเลวร้ายที่เกิดขึ้นกับชาวบ้าน บุญสมจึงตั้งตนเป็นศัตรูเพื่อหมายกวาดล้างอิทธิพลของเจ้าพ่อผู้นี้

เมื่อบุญสม (สรพงษ์ ชาตรี) นักเลงเก่าและเป็นนักมวยคาดเชือก ที่เคยชกคนจนตายออกจากคุกก็กลับมา เป็นปลัดที่บ้านเกิดตัวเองแต่ไม่ได้รับการยอมรับจากชาวบ้านเพราะเขาเคยทำไม่ดีไว้เยอะ แต่การกลับมาครั้งนี้เขาพยายามทำทุกอย่าง เพื่อความสงบสุขของคนในหมู่บ้านพยายามปราบปรามยาเสพติด โดยมีปลัดธนู (นิรุตต์ ศิริจรรยา) คอยให้ความช่วยเหลือ จนได้รับการยอมรับจากชาวบ้านและตำรวจที่เคยดูถูกปลัดบุญสมไว้

หมอเมืองพร้าว (2522)
หมอเมืองพร้าว (2522/1979) ข้อความบนใบปิด วรพินภาพยนตร์ โดย วรพิน รัตนาพรรณ เสนอ หมอเมืองพร้าว จากชีวิตจริงของ...น.พ.อภิเชษฐ์ นาคเลขา เรื่องของหมอ ผู้มีอุดมการณ์สูงส่ง ยอมละทิ้งชื่อเสียง ฐานะ ความร่ำรวย ก้าวตามเสียงเรียกของมนุษยธรรม สู่ดินแดนแร้นแค้นที่ความศิวิไลซ์หันหลังให้ ขอแนะนำพระเอกบัณฑิตนิติศาสตร์จากจุฬาฯ มานิตย์ มัสยวานิช นันทนา เงากระจ่าง วิยะดา อุมารินทร์ กาญจนา บุญประเสริฐ กฤษณ์ เนาวกานต์, วุฒิ คงคาเขตร, นภาพร หงสกุล, ม.ล.โกมล ปราโมช, ธรรมนูญ จันทโรจน์วงศ์ ลิขิต กฤษณมิตร ถ่ายภาพ วรพิน รัตนาพรรณ อำนวยการสร้าง ชรินทร์ ทองสิงห์ เขียนบท และ กำกับการแสดง นิวไฟว์สตาร์ จัดจำหน่าย
สุภาพบุรุษเสือใบ (2514)
สุภาพบุรุษเสือใบ (2514/1971) ข้อความบนใบปิด พลสัณห์ภาพยนตร์ ผู้สร้างผลงานยอดเยี่ยมจากเรื่อง “จอมโจรมเหศวร” ภูมิใจเสนอผลงานสร้างที่มีหลักประกันมาตรฐานประจำปี 2514... จากชีวประวัติของลูกผู้ชายที่วิถีชีวิตทำให้กลับกลายเป็นเสือร้าย เป็นประวัติชีวิตจริงของ “เสือใบ” อดีตเสือร้ายคนเดียว ที่นักประพันธ์ชื่อดัง ป.อินทรปาลิต บุกบั่นเข้าไปนำประวัติมา เขียนเป็นนวนิยายที่เลื่องลือไปทุกมุมเมือง ซึ่งยังมีชีวิตอยู่และร่วมแสดงในเรื่องนี้ด้วย... สุภาพบุรุษเสือใบ เพชรา เชาวราษฎร์ ครรชิต ขวัญประชา นำแสดง ติดตามด้วย ประจวบ ฤกษ์ยามดี, เมตตา รุ่งรัตน์, เมือง อพอลโล, เยาวเรศ นิสากร, มารศรี อิศรางกูร, เชาว์ แคล่วคล่อง, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, เทียนชัย, พิภพ ภู่ภิญโญ, เมืองเริง ปัทมินทร์, เนตรดาว นภาพรรณ, สีเทา, ดาวน้อย ดวงใหญ่ ขอแนะนำและฝากฝัง 2 ดาราพระเอกใหม่ เอกชาติ ทวีชล, ศรชัย สราวุฒิ ประสิทธิ์ ศิริบรรเทิง สร้างบท วิเชียร วีระโชติ ถ่ายภาพ สง่า อารัมภีร สร้างเพลง ขจรกลิ่น บุรุษพัฒน์ ที่ปรึกษา พลสัณห์ ศรีหาผล อำนวยการสร้าง ประวิทย์ ลีลาไว กำกับการแสดง ฟัง! เพลงไพเราะระบบ 35 ม.ม. ดาราเกียรติยศจากบุคคลหลายอาชีพ กลุ่มนักประพันธ์, นักหนังสือพิมพ์ และเทศมนตรี พลสัณห์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
จอมโจรมเหศวร (2513)
จอมโจรมเหศวร (2513/1970) ศวร ลูกชายผู้ใหญ่สุข ที่ปลดประจำการจากการเกณฑ์ทหารกลับมาบ้าน แล้วต้องพบกับเหตุการณ์พ่อถูกฆ่าด้วยน้ำมือของหมื่นชล ผู้ที่อยากเป็นเจ้าพ่อและครอบครองที่ดินทั้งหมดของผู้ใหญ่สุข โดยศวรถูกหมื่นชลและพวกไล่ตามฆ่าจึงต้องหนีเอาชีวิตรอดไปถึงที่ไร่แห่งหนึ่ง และพบรักกับโฉมยา หลานสาวเจ้าของไร่ ท่ามกลางความไม่พอใจของพิทักษ์ พี่ชายของโฉมยา ซึ่งได้วางแผนหลอกศวรว่าโฉมยากำลังจะแต่งงานกับชายอื่นที่คู่ควรกว่า ทำให้ศวรเสียใจมาก ด้วยความแค้นที่พ่อถูกฆ่าและโดนพรากคนรัก ทำให้ศวรเดินทางไปพบกับเสือฝ้าย และสร้างชื่อเป็นที่ร่ำลือกันทั่วในฉายาว่า "จอมโจรมเหศวร"
วิญญาณสุรพล (2512)
วิญญาณสุรพล (2512/1969) ข้อความบนใบปิด แม้ตัวเขาจากไป แต่วิญญาณเขายังอยู่ ดู วิญญาณสุรพล นำโดย วิน วิษณุรักษ์ สมชาย ศรีภูมิ ใจดาว บุษยา แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, อุไรวรรณ จันทร์ทิพย์, พุทธชาติ, พิณทิพย์, ขวัญ สุวรรณะ, ยรรค์ยง, ก๊กเฮง, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, เมืองเริง ปัทมินทร์, แอ๋, พิศ, พิภพ ภู่ภิญโญ, ประกอบ และ ขุนแผน ภุมมารักษ์, ถนอม นวลอนันต์ ศิวาพรฟิล์ม จัดจำหน่าย ตื่นเต้น!! เฮฮา!! ฟังเพลงสุรพล โศรยา อำนวยการสร้าง เกรียงศักดิ์ ฤกษ์ชนะ กำกับการแสดง สงคราม-กวี ถ่ายภาพ
สุรพลลูกพ่อ (2511)
สุรพลลูกพ่อ (2511/1968) เรื่องราวชีวิตจริงของราชาเพลงลูกทุ่ง "สุรพล สมบัติเจริญ" ผ่านมุมมองของบิดาของครูคือ "พ่อเปลื้อง สมบัติเจริญ" ตั้งแต่สุรพลเริ่มชีวิตการร้องเพลงจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ ด้วยเอกลักษณ์ ลีลา รูปแบบเฉพาะตัว และความสามารถในการร้องและแต่งเพลงเอง รวมถึงการใช้เพลงจังหวะรำวงในเพลงที่เขาแต่ง ทำให้เพลงของเขามีความสนุกครึกครื้นและเป็นที่นิยมจนกลายเป็นราชาแห่งวงการเพลงลูกทุ่ง ก่อนที่สุรพลจะจบชีวิตอย่างน่าเศร้าด้วยเหตุฆาตกรรมที่ใครก็คาดไม่ถึง
16 ปีแห่งความหลัง (2511)

16 ปีแห่งความหลัง (2511/1968) ลำดวล สมบัติเจริญ กับ การะเวก เพื่อนสนิท เดินทางจากสุพรรณมากรุงเทพฯ หา จ่าโทแต้ม นักดนตรีในกองดุริยางค์ทหารอากาศ เพื่อหางานทำ ที่บ้านของจ่าโทแต้ม มี จ่าโทโปร่ง เพื่อนสนิทอีกคนอาศัยอยู่ด้วย จ่าโทแต้มให้การต้อนรับลำดวลกับการะเวกอย่างดี และเมื่อทราบว่าลำดวลได้ลาออกจากการเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ และลาออกจากการเป็นครูที่สุพรรณแล้ว ก็หาทางช่วยเหลือ ได้พาลำดวลไปพบ ร.ท.ปราโมทย์ นายของตนเพื่อฝากเข้าทำงานในกองทัพอากาศ

ร.ท.ปราโมทย์ ได้ตั้งค่ายมวยชื่อ ค่ายเลือดชาวฟ้า ได้รับลำดวลกับการะเวกเข้าทำงาน โดยบรรจุ ลำดวล เข้าทำงานในฝ่ายโยธา กองทัพอากาศ พร้อมกับแนะนำให้ลำดวลหัดมวยเพื่อหาลำไพ่พิเศษ จ่าตรีอ่อน ผู้ควบคุมดูแลนักมวยในค่าย ชอบพอสนิทสนมกับลำดวลและการะเวกเป็นพิเศษ สาเหตุเพราะทั้งสามคนชอบรำวง เมื่อมีคณะรำวงมาตั้งใกล้ๆ ค่ายอ่อนก็เป็นตัวการทำให้ลำดวลกับการะเวกได้หนีไปรำวงด้วยทุกคืน

จิ๋มลิ้ม หัวหน้าคณะรำวงชอบพอกับอ่อน เมื่อลำดวลได้แต่งเพลงรำวงไว้และอยากที่จะแสดงผลงานของตัว ก็ได้รับการสนับสนุนจากจิ๋มลิ้มเป็นอย่างดี เพลงชูชกสองกุมาร ของลำดวลได้รับกาารต้อนรับที่ดีจากประชาชนที่มารำวง ในคืนหนึ่ง ร.ท.ปราโมทย์ มาพบทั้งสามเข้า ทำให้ทั้งสามคนตกใจมาก แต่ ร.ท.ปราโมทย์ กลับแสดงความยินดีกับผลงานเพลงของลำดวล และย้ายลำดวลเข้าสู่กองดุริยางค์ทหารอากาศ

ที่กองดุริยางค์ทหารอากาศ ในระยะแรกลำดวลทำงานอยู่ฝ่ายการเงิน ได้รับยศเป็นจ่าตรี การะเวกและจ่าอ่อนก็ย้ายตามมาด้วย เนื่องจากบ้านพักเต็มทั้งสามคนจึงต้องมาขออาศัยที่บ้านพักของ จ่าแต้ม ที่บ้านของจ่าแต้มทั้งสามคนได้รับการขูดรีด และกดขี่จาก "นางแหว" เมียจ่าแต้มที่มีนิสัยเห็นแก่ตัวและปากร้ายเป็นที่สุด ทั้งสามคนได้หาทางแก้เผ็ดยายแหวทุกครั้ง ที่กองดุริยางคืทหารอากาศลำดวลได้รับความสนับสนุนจากนักร้องนักแต่งเพลงรุ่นพี่ ทำให้มีโอกาสแสดงผลงานที่แต่งและร้อง จนประชาชนให้ความนิยม และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สุรพล สมบัติเจริญ

ศรีปราชญ์ (2500)

เรื่องย่อ : ศรีปราชญ์ (2500/1957) นำไทยภาพยนตร์ ภูมิใจเสนอ ภาพยนตร์ชีวิต ยอดกรุงศรีอยุธยา สีวิจิตรตระการตา ยิ่งใหญ่ ฉากมโหฬาร บทรักประทับใจ ใน "ศรีปราชญ์"   กำกับการแสดงโดย ประทีป โกมลภิส  จากบทบทภาพยนตร์ของ ประทีป โกมลภิส  ถ่ายภาพโดย วิเชียร วีระโชติ และอำนวยการสร้างโดย สนุ่น วิมุกติพันธ์

 
ฟ้าธรรมาธิเบศร์ (2499)
ฟ้าธรรมาธิเบศร์ (2499/1956) เรื่องราวของสังวาลย์ หญิงสาวชาวบ้านกุ่ม จังหวัดอยุธยา ที่เกิดมีความรักกับ อิน ชายพเนจร อินให้คำมั่นกับสังวาลย์ว่าจะมาหาอีกครั้งในวันสงกรานต์ ฤทธิ์ ลูกเศรษฐีซึ่งหมายปองสังวาลย์มานานเห็นเหตุการณ์ก็ไม่สบอารมณ์จึงสั่งสมุนไปทำร้ายอิน แต่กลับเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ความจริงแล้วอินคือ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ปลอมตัวมาท่องเที่ยว โดยความรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพระยากลาโหมกับกรมขุนนเรนทร์ฯ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ปลอมตัวเป็นอินไปหาสังวาลย์ตามสัญญา แต่ระหว่างทางกลับพระราชวังถูกฤทธิ์ดักทำร้าย บัว พ่อของสังวาลย์ได้ยินเสียงจึงลงมาดูและจับตัวอินไว้ รุ่งขึ้นพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จมาทอดพระเนตรการซ่อมเพนียด บัวขอเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวพร้อมสังวาลย์ ความงามของสังวาลย์ต้องพระทัยพระเจ้าอยู่หัว จึงตรัสขอลูกสาวกับบัว เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ต้องสะเทือนพระทัยที่บัดนี้หญิงสาวที่พระองค์รักเป็นของพระราชบิดาเสียแล้ว เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์หันไปหา ซ่อนกลิ่น ลูกสาวของเจ้าพระยากลาโหม ทำให้กรมขุนนเรนทร์ฯ ซึ่งเฝ้ารักซ่อนกลิ่นแค้นใจ คืนหนึ่ง เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ได้พบสังวาลย์โดยบังเอิญจึงนัดพบกันที่สวนของบัว กรมขุนนเรนทร์ฯ ทราบข่าว จึงวางแผนฆ่าบัว โยนความผิดให้เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ และใส่ร้ายสังวาลย์ว่าคบชู้ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงมีพระบรมราชโองการประหารชีวิตเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ เจ้าพระยากลาโหมทราบข่าว รีบมากราบทูลความจริง ประกอบกับบัวยังมีชีวิต กรมขุนนเรนทร์ฯ จึงถูกทหารสำเร็จโทษ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีพระราชสาสน์พระราชทานอภัยโทษ แต่ทหารมาช้าเกินไป เพชฌฆาตได้ลงดาบเสียแล้ว
ทหารเสือพระเจ้าตาก (2498)

ทหารเสือพระเจ้าตาก (2498/1955) ณ ตำบลท่าเสา เมืองตาก รำยง กับ พุมเรียงเป็นสาวใช้พระยาตาก วันหนึ่งขณะที่ทั้งสองคนกำลังว่ายน้ำอยู่ในลำธาร ทองอินทร์ ทหารของพระเจ้าตากเดินผ่านมาพยายามเกี้ยวพาราสี สองสาวเห็นท่าไม่ดีจึงตะโกนขอความช่วยเหลือ ทองดีกับบุญเกิด หนุ่มพเนจรเดินผ่านมาจึงเข้าช่วยเหลือ ทองอินทร์สู้ไม่ได้จึงหนีไป ทองดีกับบุญเกิดจึงได้รู้จักรำยงกับพุมเรียง เมื่อคุยถูกคอความรักจึงเกิดขึ้น หลังจากนั้นไม่นานพระยาตากจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชเนื่องในงานพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในพระบาทสมเด็จพระที่นั่งสุริยาบรินทร์ บริเวณจวนผู้ว่าราชการเมือง และโปรดให้มีการชกมวยต่อหน้าพระยาตาก ทองดีกับบุญเกิดยืนดูการชกมวยอยู่ก็เกิดคันไม้คันมือ ประกาศขอท้าครูมวยจนเกิดการแข่งขันขึ้นด้วยฝีมือเก่งกาจของทองดีทำให้สามารถล้มครูมวยได้ ทองอินทร์ปราดเข้ามาพร้อมหอกคู่มือ เดชะบุญ พระยาตากร้องห้ามไว้ทันเพราะพอใจในฝีมือของทองดี จึงให้เข้ารับราชการเป็นทหารยามอยู่ในวัง เมื่อได้เข้ามาอยู่ในวังทำให้ทองดีและรำยงใกล้ชิดกันมากขึ้น ทองอินทร์ซึ่งหมายปองรำยงอยู่ก็เกิดริษยา และหวิดจะมีเรื่องกับทองดีอยู่หลายครั้งจนพระยาตากคาดโทษทองอินทร์ ด้วยความแค้นในตัวพระเจ้าตาก ทองอินทร์ลอบเข้าไปในหอนอนหมายจะลอบปลงชีวิต ทองดีซุ่มดูเหตุการณ์ช่วยพระเจ้าตากไว้ได้ เป็นเหตุให้ทองอินทร์ถูกเนรเทศ ส่วนทองดีได้รับการแต่งตั้งให้เป็น หลวงพิชัยอาษา นายทหารคนสนิท และได้แต่งงานกับรำยง ในเวลานั้น กรุงศรีอยุธยากำลังถูกข้าศึกบุกประชิด พระยาตากได้รับคำสั่งให้นำกำลังไปช่วยรบ จึงได้พาหลวงพิชัยไปด้วย สถานการณ์ของกรุงศรีอยุธยากำลังเสียเปรียบ พระเจ้าตากจึงบัญชาให้หลวงพิชัยฝ่าวงล้อมไปรวมกำลังที่ระยอง จึงสามารถกู้กรุงศรีอยุธยาไว้ได้ วีรกรรมคราวนี้ทำให้หลวงพิชัยเลื่อนยศเป็นเจ้าพระยาว่าราชการเมืองพิชัย ต่อมาเมื่อพระเจ้าตากสินสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกขึ้นครองราชย์ ด้วยความกตัญญูเจ้าคุณพิชัยจึงยอมปลิดชีวิตตัวเอง ไม่ยอมเป็นบ่าวสองนาย