บ้านสีดอกรัก (2527/1984) ข้อความบนใบปิด ราชพันธ์ฟิล์ม โดย พลาย ราชพันธ์ อำนวยการสร้าง ภาพยนตร์อื้อฉาวที่สุด ในรอบปี 2527 พบกันครั้งแรกของ 2 ดาราสาวยอดนิยม จารุณี สุขสวัสดิ์ เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ บ้านสีดอกรัก สรพงศ์ ชาตรี ธงไชย แมคอินไตย์ พรพรรณ เกษมมัสสุ สุเชาว์ พงศ์วิไล, ยอด นครนายก, ธัญญา ธัญญารักษ์, สุประวัติ ปัทมสูต, รอง เค้ามูลคดี ดารารับเชิญ กรุง ศรีวิไล, โฉมฉาย ฉัตรวิไล, ม.ล.เติบ ชุมสาย พิพัฒน์ พยัคฆะ ถ่ายภาพ บทประพันธ์ โดย บรรเจิด ทวี บทภาพยนตร์ โดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ชรินทร์ นันทนาคร กำกับการแสดง จากวิกฤติการณ์แสนระทึกใจ บัดนี้ฟ้าใส ดอกรักบานแล้ว (ที่มา :Thai Movie Posters)
แพแตก (2527/1984) เรื่องราวชีวิตของหนุ่มเรือนแพที่จำต้องเดินบนเส้นทางโจรกลายเป็น "ไอ้เสือไผ่" เพื่อนำเงินมารักษาน้องสาวที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งร้าย นอกจากนี้เขายังต้องหลบหนีการตามล่าจากตำรวจซึ่งครั้งหนึ่งเคนเป็นเพื่อนร่วมแพมาด้วยกัน
สยามสแควร์ (2527/1984) ข้อความบนใบปิด ผลงานสร้างสรรค์ร่วมกันอันดับ 2 ของ OA และ COMM. ARTS PRODUCTION คุณต้องการแค่รู้จักชื่อ หรือมากกว่านั้น สยามสแควร์ “ศุภักษร” อนุสรา จันทรังษี..(กบ) วงศกร รัศมิทัต..(ต้น) อรรถพล ประเสริฐยิ่ง..(อู๋) คณะ Mc.Intosh ทั้งวง สุริวิภา กุลตังวัฒนา..(แหม่ม) และ วิทยา ศุภพรโอภาส ธีระศักดิ์ เกียรติดุริยกุล กำกับภาพ-แสง ณรงค์ เชาวราษฎร์ ดำเนินงานสร้าง นิรันดร์ ธรรมปรีชา ผู้ช่วยผู้กำกับ “ศุภักษร” บทประพันธ์-บทภาพยนตร์-กำกับการแสดง (ที่มา :Thai Movie Posters)
อภินิหารน้ำมันพราย (2527/1984) ธนิต-ใจกานต์ ข้อความบนใบปิด จาตุศมโปรดักชั่น เสนอ สหมงคลฟิล์ม จัดจำหน่าย เลือดสาวบริสุทธิ์เท่านั้นที่ข้าต้องการ ระวัง! แม่หมอมาแล้ว อภินิหารน้ำมันพราย ของ “มะขามเฒ่า” ธนิต พงษ์มนูญ ใจกานต์ จิตรปฏิมา ศิริยา นฤนาท ล้อต๊อก, กิตติ ดัสกร, ภิญโญ ปานนุ้ย, ท้วม ทรนง, ฉัตร มงคลชัย, เทพ เทียนชัย, สีละอ่อน, สมศักดิ์ ชัยสงคราม, น้อย โพธิ์งาม, จุ๋มจิ๋ม เข็มเล็ก, เป็ด, โน้ต เชิญยิ้ม และสองดาวเซ็กส์ แพรว มาศมารุต, ระพีพรรณ จันทรา โกเมนศักดิ์เสนีย์ กำกับ เล็กอ้วน ถ่ายภาพ พันธุ์ 75 ศิลปะ-ฉาก  (ที่มา :Thai Movie Posters)
ค้างคาวทอง (2527/1984) ข้อความบนใบปิด ซุปเปอร์สตาร์โปรดักชั่น เสนอ ความแปลกที่แหวกตลาดปี 27 เทคนิคล้ำยุคไม่แพ้ “สตาร์วอร์ส” ค้างคาวทอง ของ เครือวัลย์ นำโดย ธนิต พงษ์มนูญ โอมาร์ ลาวัลย์ (นางเอกลูกครึ่ง) วัลลภ นพสมบูรณ์, สมศักดิ์ ชัยสงคราม, น้อย โพธิ์งาม, ขวัญใจ สรัญญา, ยง, ชีวิต, บรรพต, สงัด และสาวใจถึง ’27 รพีพรรณ จันทรา โชคชัย มลิวัลย์ อำนวยการสร้าง สราวุฒิ วุฒิชัย ถ่ายภาพ ยศ รังสี กำกับบท พันธุ์ 75-วิชัยโฟร์อาร์ต กำกับศิลป์ วิวัฒน์ เติมอุดมชัย อุปการะ “น้ำมนต์” กำกับการแสดง โชคชัยฟิล์ม จัดจำหน่าย (ที่มา :Thai Movie Posters)
น.ส.ลูกหว้า (2527/1984) ข้อความบนใบปิด แววโปรดักชั่น โดย พิชัย สัตยาพันธุ์ อำนวยการสร้าง เสนอภาพยนตร์ สนุก เฮฮา ครื้นเครงแฝงชีวิตเข้ม จากทีมงานสร้างที่มีผลงานดีเด่นมาแล้ว สมบัติ เมทะนี กำกับการแสดง น.ส.ลูกหว้า ของ ธนาชัย ชิโนทัย-นิตย์ โลหิตคุปต์ เกรียงไกร อุณหะนันท์ จารุณี สุขสวัสดิ์ พรพรณ เกษมมัสสุ, พิศมัย วิไลศักดิ์, วิยะดา อุมารินทร์, สุเชาว์ พงษ์วิไล, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, เจแปน, ราม, ท้วม ทรนง, ทองฮะ, เทพ, ดี๋, ดู๋, ดอน, เพชร, ธง, อีเหี่ยว, เปี๊ยก และนาฏศิลป์ไดมอนรีวิว โดย ศิริกมล เปรมเสถียร ธนาชัย ชิโนทัย บทภาพยนตร์และผู้ช่วยผู้กำกับฯ ศราวุฒิ วุฒิชัย ถ่ายภาพ  (ที่มา :Thai Movie Posters)
เพลิงพิศวาส (2527/1984)ภาพยนตร์พิศวาสแนวโศกนาฏกรรม ปรารถนา ดารินทร์ (วันทิพย์ ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) นักร้องสาวสวยผู้พลิกผันชีวิตมาเป็นเมียพ่อเลี้ยง (ไชยา สุริยัน) พ่อม่ายซึ่งมีลูกติดเป็นชายหนุ่มชื่อ ธนันท์ (ลิขิต เอกมงคล) ครั้งแรกที่ธนันท์ได้พบหน้าแม่เลี้ยงก็ออกอาการไม่พอใจอย่างมาก แต่ด้วยทั้งคู่มีอะไรหลายๆอย่างตรงกันจึงเริ่มเข้าใจกัน และในที่สุดทั้งคู่ก็ลักลอบเป็นชู้กันจนปรารถนาตั้งท้องคลอดลูกเป็นชาย พ่อเลี้ยงก็เข้าใจว่าเป็นลูกตน เจ้าพวงแก้ว (สินจัย หงษ์ไทย) ซึ่งเป็นแฟนของธนันท์มาก่อน จับได้ว่าธนันท์เป็นชู้กับแม่เลี้ยงจึงไปบอกพ่อเลี้ยง แต่ปรารถนาก็ยืนยันว่าลูกที่เกิดมาเป็นลูกพ่อเลี้ยงและไม่เคยคิดมีชู้ ที่คบหากับธนันท์ก็เพราะเห็นเป็นเด็กมีปัญหาน่าสงสาร ธนันท์ซึ่งแอบฟังอยู่จึงไม่พอใจประกาศจะแต่งงานกับพวงแก้ว ทำให้ปรารถนาเสียใจเพราะรักครั้งนี้เป็นรักที่แท้จริงของเธอ จึงไปสารภาพรักกับธนันท์ แต่ธนันท์ขอเธอให้พิสูจน์ก่อนว่ารักจริงไม่ใช่หวังจะได้มรดกจากลูกที่เกิดมา ปรารถนาจึงต้องฆ่าลูกน้อยทิ้ง ซึ่งทำให้พ่อเลี้ยงโกรธมาก ธนันท์เองก็เลยรู้ว่าปรารถนารักตนจริงๆ แต่ทุกอย่างก็สายเกินไปเพราะทั้งคู่ถูกจับข้อหาฆ่าลูกตัวเองเสียแล้ว
มือเหนือเมฆ (2527/1984) จ่าดวง เทวราช เติบโตขึ้นมาท่ามกลางหมู่นักเลง โดยมีครอบครัวของปู่แบนและหลานสาวชื่อบุญตา คอยช่วยเหลือเขาอยู่เสมอ วันหนึ่ง สุธรรม เพื่อนนักเลงต่างถิ่นได้มาหลงรัก พรพรรณ จึงขอให้จ่าดวงเป็นพ่อสื่อให้ โดยหารู้ไม่ว่าเขาและพรพรรณต่างชอบพอกันอยู่ จนเมื่อปู่แบนถูกคนร้ายยิงตาย จ่าดวงจึงรับบุญตามาอยู่ด้วยและหาทางแก้แค้นให้ปู่แบน ส่งผลให้พรพรรณเสียใจที่เห็นจ่าดวงใกล้ชิดกับบุญตา เธอจึงตกลงใจแต่งงานกับสุธรรม ส่งผลให้เรื่องราวบานปลาย จนทำให้ จ่าดวง และสุธรรม ก็ต้องมาเปิดศึกชิงรักหักแค้นกันเอง
เลดี้ฝรั่งดอง (2527/1984) ข้อความบนใบปิด สีบุญเรืองฟิล์ม โดย พันคำ เสนอผลงานอันดับที่ 20 มอบให้ พรพจน์ กำกับ ฝรั่งก็ไม่ใช่ คนไทยก็ไม่เชิง แม่ตัวแสบ ชอบยุ่งเหยิง จะเป็นเลดี้ ได้อย่างไร..? เลดี้ฝรั่งดอง จารุณี สุขสวัสดิ์ จูงพระเอกใหม่เอี่ยมล่าสุดของเมืองไทย พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ สู่อ้อมอกท่าน ร่วมด้วยดาราที่ท่านชื่นชอบอีกคับคั่ง อรัญญา นามวงษ์, ภัทรา ทิวานนท์, สาวิตรี สามิภักดิ์, อำภา ภูษิต, อุทุมพร ศิลาพันธ์, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, เศรษฐา ศิระฉายา, แพททริก ดูนี่ และดาราเด็กคนใหม่ ชอญ ริคดูนี่ โสภณ เจนพานิช ถ่ายภาพ ดาวน้อย ศรีบุญเรือง อำนวยการสร้าง สีบุญเรืองฟิล์ม จัดจำหน่าย (ที่มา :Thai Movie Posters)
ลูกหนี้ทีเด็ด (2527/1984) ข้อความบนใบปิด พี.ที.เค.โปรดักชั่น โดย ประยูร วงษ์ชื่น ผู้สร้าง “กองพันทหารเกณฑ์” เสนอผลงาน ลูกเล่นลูกฮาระดับชาติ คราวนี้ลูกหนี้กับเจ้าหนี้ ยังเซ่อไม่หาย ลูกหนี้ “กูกู้เขามาได้ยังไง ขำว่ะ” เจ้าหนี้ “กูให้มันกู้ไปได้ยังไง งงโว้ย” ลูกหนี้ทีเด็ด ประยูร วงษ์ชื่น กำกับการแสดง อีกครั้งที่นำดารา ฮามหาเสน่ห์ จากทีมงาน “กองพันทหารเกณฑ์” ปัญญา นิรันดร์กุล ล้อต๊อก เด๋อ ดอกสะเดา จิตต์โสภิน ลิมปิสวัสดิ์ โน้ต เชิญยิ้ม วรายุฑ มิลินทจินดา (อีอ๊อด), จ๋อ ดอกจิก, ฤทธิ์ ลือชา (จ่าหวาน วันวาน) ควบคุมงานสร้างและกำกับการแสดง โดย ประยูร วงษ์ชื่น วิเชียร เรืองวิชยกุล ถ่ายภาพ เติม กิ่งแก้ว เขียนบทภาพยนตร์ (ที่มา :Thai Movie Posters)
เสือตกถัง (2527/1984) ข้อความบนใบปิด เอ็ม.เอส.อาร์ โปรดักชั่น ภาพยนตร์ยั่วยิ้มก่อนแยกเขี้ยว...! เสือมือปราบ เจอ เสือมือบอน สองเสือโคจรมาพบกัน เพื่อเปิดเกมส์ “รอยยิ้ม“ สู่โลกหรรษาครั้งใหญ่ เสือตกถัง บทประพันธ์ สุวิทย์ ขาวปลอด ก้องเกียรติ อัศวินิกุล ถ่ายภาพ อติยา อำนวยการสร้าง เมฆเสรี กำกับการแสดง ดี๋ ดอกมะดัน พรพรรณ เกษมมัสสุ ดอน จมูกบาน แฉ่ง ช่อมะดัน สมศักดิ์ ชัยสงคราม, สายพิณ จินดานุช, ธัญญา ธัญญรักษ์, วารินทร์ทิพย์, โต, จ่าสงัด, จ่าเลิศ, ช้างปาน, ช้างปาน, สอาด, ยงค์, ถาวร, อ๋อง ดอกไม้บาน ขอแนะนำ เพชรรินทร์ เบญจกุล, เพิ่มมิตร เหลี่ยมจินดา ดาวเซ็กส์อนาคตไกล พิมพ์พิลักษณ์ ภาสวรรณ บทภาพยนตร์ ชวนชม งามเฉิด ที่ปรึกษา ไชยวัฒน์ ชุมพลวงศ์, ชายน้อย รุจิโรจน์ (ที่มา :Thai Movie Posters) #ThaiMoviePosters
ไอ้ชาติเหล็ก (2527/1984) ข้อความบนใบปิด รัศมีฟิล์ม ไอ้ชาติเหล็ก ทูน หิรัญทรัพย์ อภิรดี ภวภูตานนท์ สมบัติ เมทะนี ลินดา ค้าธัญเจริญ, ดามพ์ ดัสกร, ฉัตร มงคลชัย พิภพ ภู่ภิญโญ, ดู๋ ดอกกระโดน รัศมี อำนวยการสร้าง ธีระ แอคะรัจน์ ถ่ายภาพ เทอด ดาวไท-ป้อมเพชร กำกับ  (ที่มา :Thai Movie Posters)
ครูเสือ (2527/1984) เรื่องราวของ ครูเพิ่ม ครูที่ยึดถือระบบการสอนแบบเก่า เข้าถึงเด็กนักเรียนทุกคน อย่างเอาจริงเอาจังและควบคุมความประพฤติของนักเรียนให้อยู่ในกรอบเป็นอย่างดี จนนักเรียนต่างเรียกครูเพิ่มว่า ครูเสือ วันหนึ่ง เขาต้องพบกับ ครูบุษบง ครูหัวสมัยใหม่ที่จบมาจากต่างประเทศ แม้ทั้งคู่จะไม่ค่อยถูกชะตากันนัก แต่ลึก ๆ แล้ว คำค่อนขอดของครูเพิ่มก็มีขึ้นเพื่อหวังให้ครูบุษบงกลายเป็นครูที่ดี
เพชรภูเรือ (2527/1984) ข้อความบนใบปิด ชุติพรภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์สุดยอดแห่งความมันส์ มโหฬารทั้งดาราและเนื้อหา สร้างจากนวนิยายยอดฮิต ของนิตยสาร บางกอก เพชรภูเรือ ของ ศักดิ์ สุริยา ที่ลือลั่นมาแล้ว จาก ชุมแพ สรพงศ์ ชาตรี อภิรดี ภวภูตานนท์ พอเจตน์ แก่นเพชร พรพรรณ เกษมมัสสุ มานพ อัศวเทพ, อัญชลี ชัยศิริ, วิยะดา อุมารินทร์, พิมพ์ใจ พรหมมาลี, เสกสิทธิ์ สวัสดิรักษ์, อนันต์ สัมมาทรัพย์, ฉัตร มงคลชัย, เชาว์ แคล่วคล่อง, พิภพ ภู่ภิญโญ, สีเทา, ผจญ ดวงขจร, ดู๋, แป้น ปลื้มสระไชย, เผอิญ, นนท์, โต, สนิท และ จักรกฤช พันธุ์ชัย ประสิทธิ์ ศิริบรรเทิง สร้างบทภาพยนตร์ ลิขิต กฤษณมิตร ถ่ายภาพ ลือชา ชยติกะ ฝ่ายศิลป์-ฉาก พนมศิลป์ ชุติพร อำนวยการสร้าง เสนอ คราประยูร กำกับการแสดง (ที่มา :Thai Movie Posters)
รักนี้เราจอง (2527/1984) ข้อความบนใบปิด ถ้าจริงใจและมาจากหัวใจ รักนี้...คุณย่อมมีสิทธิ์จับจอง เบน อิศรางกูร หนุ่มใหม่ของคุณ ใหม่ สิริวิมล สาวน้อยของคุณ รักนี้เราจอง พรพรรณ เกษมมัสสุ ส.อาสนจินดา สุประวัติ ปัทมสูต ม.จ.ทิพยฉัตร ฉัตรชัย กำกับการแสดง กัมพล ตันสัจจา-พี.ดีโปรโมชั่น อำนวยการสร้าง (ที่มา :Thai Movie Posters)
ขาวผ่องจ้าวสังเวียน (2527/1984) หลังจากการตายของพ่อ "ทวี" (ทวี อัมพรมหา) ต้องลาออกจากโรงเรียนออกมาหาเลี้ยงครอบครัว เขาเข้าไปสมัครเป็นนักมวยอาชีพ แต่กลับต้องกลายเป็นเด็กสวัสดิการในค่ายมวยแทน จนในที่สุด "ครูชูชีพ" ครูมวยก็เห็นแววและยอมให้โอกาส นัดแรกเขาสามารถเอาชนะน็อคได้ทันที และนั่นทำให้ครูตั้งชื่อให้เขาว่า "ขาวผ่อง สิทธิชูชัย" และปลุกปั้นฝ่าฟันปัญหาต่างๆ จนสร้างสถิติชก 20 ไฟต์ไร้พ่าย และไปไกลถึงตำแหน่งแชมป์เวทีลุมพินีในเวลาเพียงไม่กี่ปี เมื่อถึงขีดสุดของมวยไทยแล้วทวีกลับตัดสินใจหันไปชกมวยสากลสมัครเล่นเพื่อเผชิญความท้าท้ายอันยิ่งใหญ่จนได้เป็นนักชกเหรียญเงินโอลิมปิกคนแรกของประเทศไทย

หน้าที่