Placeholder
บ้านไร่นาเรา (2485)
บ้านไร่นาเรา (2485/1942) ในสมัยที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ณ จังหวัดสุโขทัย เฉิด และ เฉิดฉาย บำเพ็ญดีสองสามีภรรยาซึ่งดำรงชีพด้วยการเป็นกสิกร ใช้ชีวิตเป็นพลเมืองที่ดีต้องตามรัฐนิยม ครอบครัวบำเพ็ญดีมีบุตรสองคน ชื่อ ชาญ และ อาจ และมีบุตรี ชื่อ เจริญศรี โดยมีเพื่อนบ้าน คือ ขำ บำรุงชาติ ซึ่งมีลูกสาวสองคน ชื่อ ขำคม และ ลำเพา และลูกชาย เมื่อยามบ้านเมืองเกิดศึกสงคราม เฉิดและขำก็พร้อมพลีกายต่อสู้ปกป้องประเทศ แม้เฉิดจะบาดเจ็บจากการสู้รบในสงคราม ระหว่างที่เฉิดไปรับใช้ชาติ เฉิดฉายก็คอยดูแลครอบครัว และส่งเสียให้ชาญ ลูกชายคนโตได้ศึกษาเล่าเรียน 8 ปีผ่านไป บ้านเมืองเข้าสู่สภาวะปรกติสุข ชาญมุ่งมั่นตั้งใจเรียนและหวังจะสืบทอดอาชีพกสิกรรมแทนพ่อจนสำเร็จการศึกษาที่เกษตรศาสตร์แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่และกลับมาสุโขทัย ชาญได้พบกับ ลุงอยู่ ซึ่งเขานับถือเสมือนลุง ลุงอยู่พาชาญไปเลี้ยงฉลองที่ร้านเย็นทรวง ที่นั่น ชาญได้แอบเห็นพ่อค้าขูดรีดราคาสินค้าจากกสิกร ชาญจึงเข้าไปขัดขวางและแนะนำให้กสิกรไปซื้อสินค้าที่สหกรณ์หรือรถไฟทำให้ ฟู แสวงสิน นักเลงเจ้าถิ่นไม่พอใจจนมีเรื่องชกต่อยกัน แต่ลุงอยู่มาห้ามไว้ได้ทัน ชาญพยายามให้ความรู้กสิกรในเรื่องการเกษตรตามที่ตนได้ร่ำเรียนมา เป็นที่ชื่นชอบแก่ชาวบ้านและกสิกรมาก รวมทั้งขำคม เพื่อนวัยเด็ก แต่อย่างไรก็ตาม ฟูก็ยังไม่เลิกไปหลอกลวงกสิกร ชาญซึ่งซุ่มดูพฤติกรรมเมื่อเห็นดังนั้นจึงเข้าไปปราบปรามจนฟูและพรรคพวกพ่ายแพ้ไปในที่สุด ชาญได้แต่งงานกับขำคมและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
น้ำท่วมดีกว่าฝนแล้ง (2485)
น้ำท่วมดีกว่าฝนแล้ง (2485/1942) เพียบพร้อมไปด้วยวัธนธัม ให้คติ สมัยสร้างชาติ รัก ตลก ขบขัน เพลงไพเราะห์ สนองนโยบายผู้นำ ปลอบใจน้ำท่วมดีกว่า พระเอกเป็นกรรมกรเรือจ้าง (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน ศรีกรุง พ.ศ. 2485)
Placeholder
โตนงาช้าง (2485)
โตนงาช้าง (2485/1942) เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย ณ โรงเตี๊ยม "เซ่งหลี" อันเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของบรรดาชาวเหมืองแร่จังหวัดยะลาทั้งหลาย (ที่มา: นิตยสารภาพยนตร์สาร พฤศจิกายน พ.ศ. 2484)

กำลังแสดงผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ