โอ้..มาดา (2520)

โอ้มาดา (2520/1977) ก่อนที่แม่จะเสียใจ ขอให้แม่ชื่นใจสักนิดก่อนได้ไหม ชนะ คราประยูร นำเอาปัญหาชีวิตมาเป็นอาหารใจ มีทั้งเผ็ดทั้งเปรี้ยว ให้ท่านได้ขบเคี้ยว เพลิดเพลินเจริญใจ

มาดา ผู้เป็นแม่เต็มไปด้วยความทะยานอยากมีหน้ามีตาในสังคม เพื่อล้างปมด้อยในจิตใจ เธอจึงจ้องบงการชีวิตของสมาชิกทุกคนภายในบ้าน ตั้งแต่ พิชิต สามีผู้รับราชการถูกกดดันอย่างหนักเพื่อความก้าวหน้าในด้านอาชีพ เมธาวีลูกสาวที่ถูกคาดหวังว่าจะต้องได้เกียรตินิยมและแต่งงานกับผู้ชายที่เหมาะสม ไปจนถึง มีนา ลูกชายที่ถูกห้ามไม่ให้เรียนด้านศิลปะ โดยที่มาดาไม่รู้ตัวเลยว่าสิ่งที่เธอทำอยู่กำลังทำลายครอบครัวของเธอให้แตกสลายลงช้าๆ

อีสาวอันตราย (2519)
อีสาวอันตราย (2519/1976) ข้อความบนใบปิด ชนะ คราประยูร ขอเสนอ... ผลงานตีแผ่สะเก็ดสังคมและครอบครัวของวัยรุ่น ทั้งแสบ...ทั้งมัน...ทั้งคันส์ เมื่อผู้ชายมันสร้างรอยแสบไว้ให้ ถ้าสู้..ก็ต้องสุดฤทธิ์.. อีสาวอันตราย ของ ‘เทพเทวี’ จากนิตยสาร บางกอก สรพงศ์ ชาตรี ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา สุริยา ชินพันธ์ ปิยะมาศ โมนยะกุล นิรุตติ์ ศิริจรรยา, ทาริกา ธิดาทิตย์, ลักษณ์ อภิชาติ, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, สิงห์ มิลินทราศัย, ชูศรี มีสมมนต์ โสภณ เจนพานิช ถ่ายภาพ กมลวรรณ วิเศษประภา ที่ปรึกษา ชนะ คราประยูร อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง นิวไฟว์สตาร์ จัดจำหน่าย
พรายกินรี (2519)
พรายกินรี (2519/1976) ข้อความบนใบปิด ชีวิตสาวชาวป่า ประคำอาถรรพ์ ตัณหาราคะ อยากพร่าพรหมจรรย์ ให้มันแค้น! พรายกินรี บทประพันธ์ของ ปฤศนา สีดา วิษณุภพ สร้างบท สมบัติ เมทะนี นัยนา ชีวานันท์ มานพ อัศวเทพ มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช สันติ คราประยูร อนันต์ สัมมาทรัพย์, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, ชูศรี มีสมมนต์, ธัญญา ธัญญารักษ์, สิงห์ มิลินทราศัย, ทาริกา ธิดาทิตย์, ดวงใจ หทัยกาญจน์, อุ่นเรือน ธรรมานนท์ กมลวรรณ-สรรเพชญ อำนวยการสร้าง โสภณ เจนพานิช ถ่ายภาพ สนาน คราประยูร กำกับการแสดง นิวไฟว์สตาร์ จัดจำหน่าย
กระดังงากลีบทอง (2519)

กระดังงากลีบทอง (2519/1976) นิตยา หญิงสาวเสเพลถูกแม่จับแต่งงานกับพ่อม่ายลูกติด ที่มีอายุมากกว่าเธอเป็นรอบ นิตยาไม่สนใจชีวิตแต่งงานยังคงเที่ยวกลางคืนกับหนุ่มๆ พฤติกรรมของเธออยู่ในสายตาของศริญญา ลูกเลี้ยงสาววัยรุ่นผู้เป็นไม้เบื่อไม้เมากับเธอ จนกระทั่งนิตยาได้พบรักกับศักดิ์ หนุ่มหล่อที่เป็นที่หมายปองของสาวๆ รวมทั้งศริญญาด้วย ศักดิ์เองก็มีใจให้กับนิตยา เพียงแต่ว่ากฎเกณฑ์ของสังคมยังรับไม่ได้กับความสัมพันธ์ของทั้งคู่

นิตยา (มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช) สาวเสเพลซึ่งถูกแม่จับแต่งงานกับวิสูตร (ชนะ ศรีอุบล) พ่อม่ายที่มีลูกสาววัยรุ่นติดมาคนหนึ่งชื่อ ศริญญา (มยุรา ธนะบุตร) แต่วิสูตรซึ่งอายุมากแล้ว ไม่สามารถรองรับอารมณ์เปลี่ยวของนิตยาได้ นิตยาจึงต้องออกเที่ยวกลางคืนกับหนุ่ม ๆ ก็เลยยิ่งมีปัญหากับศริญญาผู้เป็นลูกเลี้ยงตลอดมา นิตยาจึงหลบไปพักผ่อนที่ชายทะเลและที่นั่นเอง นิตยาได้พบกับรักศักดิ์ (สุริยา ชินพันธ์) หนุ่มหล่อลูกชายของพจน์ (มานพ อัศวเทพ) ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกับวิสูตร ในที่สุดรักศักดิ์กับนิตยาก็ได้เสียกัน แม้จะถูกกีดกันจากพ่อแม่ทั้งสองฝ่าย แต่ทั้งคู่ก็ไม่แคร์สายตาใคร ทำให้ศริญญาซึ่งแอบชอบรักศักดิ์ไม่พอใจนิตยามากขึ้นที่มาแย่งทั้งพ่อและคนรักตนไป แต่ในที่สุดชู้รักคู่นี้ก็ไปไม่รอด แม้นิตยาจะได้ใบหย่ามาจากวิสูตร แต่กระแสสังคมก็บีบให้รักศักดิ์จำต้องทิ้งนิตยาไป

ทางโค้ง (2518)
ทางโค้ง (2518/1975) ความบาดหมางระหว่างพ่อและลูกชายกลายเป็นปมให้ วัน เด็กหนุ่มเลือดร้อนเกลียดนายวิศวัตรผู้เป็นบิดา มาตั้งแต่เขายังจำความได้ ความเข้มงวดเจ้าระเบียบของวิศวัตรรังแต่จะทำให้วันต่อต้านเขามากขึ้น ดีที่ได้คุณครูแสงอุษาอาจารย์ประจำชั้นคอยปลอบประโลมช่วยเหลือให้เขายังมีกำลังใจกลับมาเป็นเด็กดี จนวันรู้สึกตกหลุมรักอาจารย์แสงอุษาเข้าโดยไม่รู้ตัว
ไฟรัก (2518)
ไฟรัก (2518/1975) ข้อความบนใบปิด นครพิงค์ภาพยนตร์ ความสวย...ความสาว ฉันขายได้ แต่ความรักนั่นสิ ไม่ได้มีเหลือเผื่อใครอื่น ยอม...ฉันยอมให้กายและใจมลายด้วย... ไฟรัก บทประพันธ์ของ...สีดา วิษณุทศ สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ สันติ คราประยูร รุ้งลาวัลย์ ศรีปฏิมากูร, ศศิมา สิงห์ศิริ, โขมพัสตร์ อรรถยา, ชินดิษฐ์ บุนนาค, พัชนี อุรารักษ์ กมลวรรณ-สรรเพชญ อำนวยการสร้าง โสภณ เจนพานิช ถ่ายภาพ สรรเพชญ กำกับการแสดง ช.พิริยะฟิล์ม จัดจำหน่าย
สาวสิบเจ็ด (2517)

สาวสิบเจ็ด (2517/1974) สองสาวพี่น้องที่มีวิถีชีวิตแตกต่างกัน คนหนึ่งต้องดิ้นรนผจญกับความอยู่รอดและกัดฟันศึกษาหาความรู้โดยมิได้คำนึงถึงความสุขส่วนตน และไม่เคยท้อแท้กับชีวิตของตนเอง ไม่กลัวพรหมลิขิตหรืออื่นใดทั้งสิ้น ตรงกันข้ามกับอีกคนหนึ่งซึ่งรักความสนุกสนาน ทะเยอทะยานโลดแล่นไปในทะเลแห่งความฟุ่มเฟือย และได้ใช้ความสาวของตัวเองไปอย่างสิ้นเปลือง

ไม่รักไม่สน (2517)
ไม่รักไม่สน (2517/1974) ข้อความบนใบปิด นครพิงค์ภาพยนตร์ เสนอ เรื่องชีวิตรัก ตลก ยอดเยี่ยม ของ “รมณียา” แห่งนิตยสารบางกอก ไม่รักไม่สน ในระบบอุลตราสโคป สีอิสต์แมน เสียงในฟิล์ม สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ สันติ คราประยูร เมตตา รุ่งรัตน์, สิงห์ มิลินทาศัย, ไศลทิพย์ ตาปนานนท์, ท้วม ทรนง, ชูศรี มีสมมนต์, ประพิศ, ชินดิษฐ์ บุนนาค, ดามพ์ ดัสกร, จริยา ฯลฯ ขอแนะนำดาวรุ่งดวงใหม่ กำธร ทัพคัลไลย, พิณทิพย์ ตาปนานนท์ กมลวรรณ-สรรเพชญ อำนวยการสร้าง โสภณ เจนพานิช ถ่ายภาพ สนาน คราประยูร กำกับการแสดง ช.พิริยะฟิล์ม จัดจำหน่าย
กำนันถึก (2515)
กำนันถึก (2516/1973) ข้อความบนใบปิด นครพิงค์ภาพยนตร์ เสนอ ชมบทบาทใหม่ วันเบิกบานใจในโลกบันเทิง ตายแล้วเกิดใหม่ จะหาที่ไหนได้ คนอย่างเขา โง่อย่างปราชญ์ ฉลาดแบบเต่าตุ่น ทำวุ่นไปเสียทุกท่า แต่ชาวบ้านทั้งพารา ยังปรารถนา กำนันถึก จากจินตนารมย์ ของ...โสภิณ สุรพีร์ ในนิตยสาร “จักรวาล” สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ เมตตา รุ่งรัตน์, นงลักษณ์ โรจนพรรณ, ดามพ์ ดัสกร, คมน์ อรรฆเดช, โขมพัสตร์ อรรถยา, ท้วม ทรนง, ชูศรี มีสมมนต์, ชื้นแฉะ, สีเผือก ฯลฯ มานพ น้อยวิจารณ์ สร้างบท โสภณ เจนพานิชย์ ถ่ายภาพ สนาน คราประยูร กำกับการแสดง กมลวรรณ สรรเพชร อำนวยการสร้าง ช.พิริยะฟิล์ม จัดจำหน่าย
เจ้าชายห่อหมก (2516)
เจ้าชายห่อหมก (2516/1973) ข้อความบนใบปิด นครพิงค์ภาพยนตร์ ภูมิใจเสนอ ภาพยนตร์รัก ตลก ของ “ปริศนา” มัน...ยิ่งกว่ามัน ท่านจะสุขสันต์ ด้วยการหัวเราะ ใน... เจ้าชายห่อหมก ระบบ 35 ม.ม. อุลตราสโคป สีอิสต์แมน สมบัติ เมทะนี วันดี ศรีตรัง เมตตา รุ่งรัตน์, โขมพัสตร์ อรรถยา, จอมใจ จรินทร์, วิภาวดี ตรียะกุล, ชูศรี มีสมมนต์, ท้วม ทรนง, มาลี เวชประเสริฐ, ชินดิศ บุนนาค, ไศลทิน, อุ่นเรือน ธรรมานนท์, สายพิณ จินดานุช, เสนอ, ศรัทธา, จินดาพร ฯลฯ กมลวรรณ-สรรเพชญ อำนวยการสร้าง โสภณ เจนพานิช ถ่ายภาพ สนาน คราประยูร กำกับการแสดง ช.พิริยะฟิล์ม จัดจำหน่าย
คนองกรุง (2516)
คนองกรุง (2516/1973) ข้อความบนใบปิด นครพิงค์ภาพยนตร์ เสนอ สี่สาวเลือดสู้จากสี่ทิศตะลุยแหลก ชายเก่งกาจมีมาก หญิงอย่างนี้มีที่ไหน คนองกรุง 35 ม.ม.สีอุลตร้าสโคป สมบัติ เมทะนี สุทิศา พัฒนุช โสภา สถาพร เมตตา รุ่งรัตน์ โขมพัสตร์ อรรถยา ปริม ประภาพร, ดามพ์ ดัสกร, คมน์ อรรฆเดช, ศรัทธา, จอมใจ จรินทร์, วิภาวดี ตรียะกุล อ.อรรถจินดา-ชนะ คราประยูร สร้างเรื่อง ปริศนา สร้างบท โสภณ เจนพาณิชย์ ถ่ายภาพ สนาน-ชนะ คราประยูร กำกับการแสดง
วังบัวบาน (2515)
วังบัวบาน (2515/1972) ข้อความบนใบปิด นครพิงค์ภาพยนตร์ เสนอเรื่องชีวิตรักอมตะ ในระบบอุลตร้าสโคป 35 ม.ม.เสียงในฟิล์ม สีอิสต์แมน จากเรื่องจริงของสาวเมืองเหนือ ผู้ซื่อสัตย์ถือมั่นต่อความรักยิ่งชีวิตตัวเอง และเมื่อถูกกามเทพเล่นตลก เธอก็ตกเป็นเหยื่อมัจจุราช สร้างประวัติฝังใจสาวเหนือมานานกว่า 20 ปี นั่นคือ... วังบัวบาน จากบทประพันธ์ของ มาลินี สมบัติ เมทะนี สุทิศา พัฒนุช ชนะ ศรีอุบล, เมตตา รุ่งรัตน์, ธัญญา ธัญญรักษ์, เยาวเรศ นิสากร, มาลี เวชประเสริฐ, สิงห์ มิลินทราศัย, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, หม่อมชั้น พวงวัน, ท้วม ทรนง, ชูศรี มีสมมนต์ พร้อมทั้งลูกทุ่งสาว เรียม ดาราน้อย, ชาญชัย บัวบังศร 5 เพลงเอก จากนักประพันธ์เพลงแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ไพบูลย์ บุตรขัน, สมาน กาญจนผลิน, อรุณ หงสวีณะ, สนิท ศ., พีระ ตรีบุปผา กมลวรรณ-สรรเพชญ อำนวยการสร้าง ส.คราประยูร กำกับการแสดง โสภณ เจนพานิช ถ่ายภาพ กมลวรรณ วิเศษประภา ลำดับภาพ ปฤษณา-มานพ น้อยวิจารณ์ สร้างบท ช.พิริยะ ฟิล์ม จัดจำหน่าย
รักจ๋ารัก (2514)
รักจ๋ารัก (2514/1971) ข้อความบนใบปิด นครพิงค์ภาพยนตร์ เสนอ... รักจ๋ารัก จากบทประพันธ์ ของ ศรีฟ้า ลดาวัลย์ จะรักเสียอย่างต้องทำโก้ ใครทำโซ...ตาย! ต้องอวดโอ่เข้าไว้ ผมเป็นองค์ชาย..ฉันก็องค์หญิง เรามารักกันจริง...นะ รักจ๋ารัก สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ เมตตา รุ่งรัตน์, ธัญญา ธัญญรักษ์, สุวิน สว่างรัตน์, สิงห์ มิลินทราศัย, มาลี เวชประเสริฐ, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สีเทา, สีเผือก, ศรีสละ ทองธารา, กุญชร, สังข์ทอง สีใส ฯลฯ 7 เพลงโอฬาริก ฟังแล้วสนิท แนบดวงหทัย 35 ม.ม. อุลตร้าสโคป สีอิสต์แมน เสียงในฟิล์ม กมลวรรณ-สรรเพชญ อำนวยการสร้าง โสภณ เจนพานิช ถ่ายภาพ ส.คราประยูร กำกับการแสดง ช.พิริยะฟิล์ม จัดจำหน่าย
สิงห์สาวเสือ (2513)
สิงห์สาวเสือ (2513/1970) ชาติชาย เกียรติกำจร (สมบัติ เมทะนี) เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจปีสุดท้าย แต่พอได้ข่าวว่า พ่อถูกฆ่าตาย ก็หนีออกจากโรงเรียนกลับไปบ้านที่ตำบลวังพญา จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อสืบหาตัวคนร้าย ที่ตลาดวังพญานั้นมี คุณหญิงปัทมา (อรัญญา นามวงษ์) เป็นเจ้าของตลาด แต่ในตลาดชอบมีนักเลงมาก่อกวน ปัทมาจึงจ้าง เสือหาญ (ไสล พูนชัย) เป็นผู้ดูแลตลาด ซึ่งเสือหาญก็ปราบพวกเกเรให้หมด แต่ชาติชายที่มาถึงใหม่ๆ ก็อยากลองของจึงแกล้งกวนเสือหาญต่อหน้าปัทมา ทั้งคู่ก็เลยเกิดเรื่องฟาดปากกัน แม้ว่าชาติชายจะเป็นคนชนะ แต่เพราะเห็นเสือหาญมีคนเชียร์เยอะกว่าและยังเป็นคนปราบนักเลงในตลาด ชาติชายก็เลยแกล้งแพ้เสือหาญ ส่วนปัทมาพอเห็นว่า เสือหาญชนะ ก็มอบสร้อยเป็นรางวัล ระหว่างนั้น นักเลงที่ถูกเสือหาญปราบไป ก็กลับมาลอบยิงเสือหาญ คราวนี้ ชาติชายก็เลยช่วยเสือหาญไว้และกลายเป็นเพื่อนกัน ต่อมาชาติชายทราบจากลุงว่า ผู้ที่บงการฆ่าพ่อตนก็คือ เสี่ยบู๊ (สิงห์ มิลินทราศัย) มีสมุนมือขวาเป็นเสือร้าย 2 คนคือ ไอ้เสือ (สุวิน สว่างรัตน์) และไอ้จอม (พิภพ ภู่ภิญโญ) ต่อมาเสี่ยบู๊ซึ่งหวังจะได้ปัทมาเป็นเมีย แค้นใจที่ผิดหวัง จึงฆ่าผู้จัดการป่าไม้ของปัทมาใส่กล่องส่งมาเป็นของขวัญวันเกิด ทุกคนในงานเกิดความกลัว ชาติชายเองเห็นภาพเหตุการณ์นี้ด้วย เมื่อได้รับทาบทามให้เป็นผู้จัดการป่าไม้แทน จึงตอบตกลงแม้ว่าปัทมาที่เริ่มชอบชาติชายแล้ว จะห้ามปรามเพราะกลัวชาติชายจะถูกฆ่าตายไปอีกคน ต่อมาเสี่ยบู๊จ้างชาติชายให้เลิกช่วยงานปัทมา เลิกยุ่งเกี่ยวกับปัทมาแต่ชาติชายไม่ยอม จึงเกิดการทะเลาะยิงปืนกัน ไอ้เสือสมุนมือขวาจะยิงชาติชาย แต่เสี่ยบู๊ห้ามไว้บอกว่า วันหลังค่อยจัดการ คืนหนึ่งขณะที่ชาติชาย-ปัทมาร้องเพลงพลอดรักกันในสวน เจ้าเสือก็มาลอบยิงชาติชายล้มพุบและจับตัวปัทมาไป แต่เสือหาญก็ตามไปช่วยกลับมาได้ ขณะที่ชาติชายรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล น้ำผึ้ง (สุมาลี ทองหล่อ) ลูกสาวของลุงชาติชายก็มาพูดบอกว่า ถ้าชาติชายหายป่วยจะแต่งงานกัน ทำให้ปัทมาที่รักชาติชายงอนและกลับบ้านไปเก็บตัวอยู่เงียบๆ จะหนีเข้ากรุงเทพฯ ต่อมาชาติชายสืบรู้แน่ชัดว่า เสี่ยบู๊เป็นคนฆ่าพ่อตน จึงจะไปแก้แค้น ก็เป็นเวลาเดียวกับที่เสี่ยบู๊ลงมือฆ่าพ่อปัทมา แล้วก็เผาตลาดและจับตัวปัทมาไป ชาติชายก็ตามไปช่วยมาปัทมามาได้
แม่ปิง (2513)
แม่ปิง (2513/1970) จุล จิโรประทัย (สิงห์ มิลินทราศัย) และธวัช (ศิริพงษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ร่วมมือกันหักหลังดุสิต (สุเทพ ศิริธร) หุ้นส่วนที่ทำธุรกิจร่วมกัน ทำให้ดุสิตสิ้นเนิ้อประดาตัวและต้องอพยพครอบครัวไปอยู่เชียงใหม่ ด้วยความเสียใจทำให้ดุสิตล้มป่วยกลายเป็นอัมพาต เรื่องที่เกิดขึ้นถูกถ่ายทอดให้ดอกบัวผู้เป็นลูกสาวได้รับรู้ หลายปีต่อมาดอกบัว (อรัญญา นามวงษ์) เติบโตเป็นสาวสวยได้พบกับจลา จิโรประทัย (สมบัติ เมทะนี) โดยบังเอิญและได้ทราบว่าจลาคือลูกชายของศัตรูผู้หักหลังพ่อของตน จึงวางแผนการแก้แค้น ดอกบัวเดินทางเข้ากรุงเทพและค้นหาบ้านของนายจุลจนพบและแกล้งให้ถูกรถของจลาเฉี่ยว ทำให้จลาต้องพาตัวดอกบัวเข้าไปดูแลอาการในบ้าน ด้วยความสวยของดอกบัวทำให้เจตนา (สุวิน สว่างรัตน์) พี่ชายของจลาเสนองานให้ดอกบัวทำงานในบ้านของตน โดยที่เจตนาแอบลักลอบเป็นชู้กับเพ็ญพรรณ (ชฎาพร วชิรปรานี) แม่เลี้ยงสาวของตนเอง นายจุลประสบอุบัติเหตุทำให้กลายเป็นอัมพาต ดอกบัวทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล ความสวยและการเอาอกเอาใจของดอกบัวทำให้ทั้งนายจุลและเจตนาหลงใหลต้องการได้ดอกบัวเป็นเมียทั้งคู่ ในขณะที่จลาและดอกบัวเริ่มมีใจให้กัน เพ็ญพรรณหึงหวงที่ทั้งนายจุลและเจตนาหลงใหลดอกบัว จึงหลอกพาดอกบัวไปขายให้นายธวัชเพื่อนของนายจุล ทำให่นายจุลเสียใจมากที่สูญเสียดอกบัวไป เพื่อการแก้แค้นดอกบัวจึงยอมเป็นเมียของนายธวัช และใช้ความสวยทำให้ธวัชหลงใหลเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันดอกบัวก็โปรยเสน่ห์ให้กับธวัชชัย (ครรชิต ขวัญประชา) ลูกชายของนายธวัช จนธวัชชัยหลงใหลดอกบัวไปอีกคน ดอกบัวยุยงให้นายธวัชเขี่ยนายจุลออกจากกิจการที่ทำร่วมกัน ทำให้นายจุลเสียใจมากจนล้มป่วยหนัก ดอกบัวมาหานายจุลและบอกความจริงเรื่องการแก้แค้นของตน นายจุลเสียใจมากและสำนึกในความผิดก่อนจะเสียชีวิตจึงเขียนพินัยกรรมยกมรดกครี่งหนึ่งให้กับดอกบัวเพื่อเป็นการชดใช้ให้กับดุสิตพ่อของดอกบัว หลังจากนายจุลเสียชีวิตแล้วดอกบัวก็ผละจากนายธวัช ทำให้นายธวัชเสียใจจนเส้นโลหิตแตกเสียชีวิต ขณะที่เพ็ญพรรณก็หึงหวงเจตนาที่เพ้อหาแต่ดอกบัวจึงยิงเจตนาเสียชีวิต เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดจลาโทษว่าเป็นความผิดของดอกบัวที่มากชู้หลายใจ จึงด่าว่าดอกบัวด้วยถ้อยคำรุนแรงทำให้ดอกบัวเสียใจมากจึงเดินทางกลับเชียงใหม่ จิตรา (มารศรี ณ บางช้าง) ผู้เป็นอาของจลาบอกเล่าเรื่องที่นายจุลและนายธวัชโกงนายดุสิตพ่อของดอกบัว และขอร้องให้จลาให้อภัยในเรื่องที่เกิดขึ้น จลาจึงติดตามดอกบัวมาที่เชียงใหม่ ทั้งสองปรับความเข้าใจกันและสานต่อความรักที่มีในหัวใจของทั้งคู่
รักชั่วฟ้า (2513)
รักชั่วฟ้า (2513/1970) รักของ ซูจินน่า สาวไทยเชื้อสายจีนกับ จักรี หนุ่มนักเรียนนอกต้องมีอันพลัดพราก เมื่อมารดาของซูจินส่งข่าวให้เธอกลับมาที่เมืองไทยเนื่องจากทางบ้านกำลังมีปัญหาเดือดร้อน โดยทั้งคู่ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะกลับมาพบกัน ครั้นถึงเมืองไทย ซูจินกลับต้องแต่งงานกับ เรืออากาศเอก วีระ นายทหารหนุ่ม เพื่อช่วยเหลือเรื่องธุรกิจของครอบครัวเธอไว้ สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายมากขึ้น เมื่อซูจินพบว่าเธอเองนั้นกำลังตั้งท้อง

หน้าที่