ดาวเคียงเดือน (2525)

ดาวเคียงเดือน (2525/1982) ข้อความบนใบปิด จิรบันเทิงฟิล์ม สนับสนุน แอล.เอ.โปรดักชั่น เสนอ ฝนกำลังโปรยปราย แผ่นดินกำลังชุ่มฉ่ำ ข้าวเริ่มจะตกกล้า ดอกไม้ป่ากำลังบานสะพรั่ง หมู่นกน้อยกำลังบินถลา เล่นลมและขานเรียก “กลับบ้านเราเถิดน้อง เมืองหลวงนะเหรอก็ยังงั้น ยังงั้นแหละ” ดาวเคียงเดือน ของ พูลฤทัย ทูน หิรัญทรัพย์ เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ สุพรรษา เนื่องภิรมย์ สมพงษ์ พงษ์มิตร, สมชาย สามิภักดิ์, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, นภาพร หงสกุล, มารศรี ณ บางช้าง, โกร่ง กางเกงแดง, โพธิ์ทอง, ตุ๋ย ดาวสยาม ลำพูล ศรีหาญ อำนวยการสร้าง จิรกร ถ่ายภาพ แสนยากร กำกับการแสดง

 
ฟ้าเพียงดิน (2524)

ฟ้าเพียงดิน (2524/1981) ข้อความบนใบปิด จิรบันเทิงฟิล์ม เสนอ จิรวรรณ กัมปนาทแสนยากร อำนวยการสร้าง “แสนยากร” กำกับการแสดง ฟ้าเพียงดิน ของ เสนีย์ บุษปะเกศ ดาวรุ่งเพชรเจียรนัย จากรั้วรามฯ ภาณุมาศ สุขอัมพร พบ สุพรรษา เนื่องภิรมย์ ร่วมด้วย ส.อาสนจินดา, ภิญโญ ปานนุ้ย, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, กฤษณะ อำนวยพร, ไกรลาศ เกรียงไกร, โสธร รุ่งเรือง, เทพ โพธิ์งาม, จันทนา ศิริผล, เพ็ญพร ไพฑูรย์, เยาวเรศ นิศากร, เจ้ากอแก้วประกายกาวิล, ด.ช.โอปอ, ด.ญ.วริสา เทียนสุวรรณ 

 
สาวใช้แม่เอ๊ย (2522)

สาวใช้แม่เอ๊ย (2522/1979) ข้อความบนใบปิด จิรบันเทิงฟิล์ม โดย จิรวรรณ กัมปนาทแสนยากร เสนอ สาวใช้แม่เอ๊ย ของ พร้อม รุ่งรังษี คนรับใช้สาวสวยแสนน่ารัก ช่วยงานคุณได้สารพัด คุณอยากจะย้ายเธอไป ไว้บ้านคุณสักคนมั้ยล่ะ เด่น ดอกประดู่ สุพรรษา เนื่องภิรมย์ กาญจนา บุญประเสริฐ เทพ เทียนชัย, เด่อ, ดู๋, ดี๋, สีเทา, สมควร กระจ่างศาสตร์, เมตตา รุ่งรัตน์,อรสา อิศรางกูร, วิภารัตน์ เปรื่องสุวรรณ, ท้วม ทรนง, มนัส บุณยเกียรติ, แน่งน้อย, ชูชาติ สวัสดิชูโต, ผดุงศรี โสภิตา ร่วมกับ ถนอม นวลอนันต์ แสนยากร-เมตตา รุ่งรัตน์ กำกับการแสดง มร.เจิน ถ่ายภาพ

 
รอยลิขิต (2522)

รอยลิขิต (2522/1979) ชีวิตของสองสาวน้อย...ถูกกำหนดให้เป็นเครื่องชดใช้ความแค้น สายเลือดโจร กับ ดวงใจนายอำเภอ คือเงื่อนไขของความทรมานแสนสาหัส

นายอำเภอวีรัน์ ทำการกวาดล้างและวิสามัญเสือเมฆ ทำให้ บัว เมียของเสือเมฆโกรธมาก จึงสับเปลี่ยนตัวคุณหนูโบว์ กับ ศรีฟ้า ลูกของตนเอง โดยมีข้อแม้ว่าห้ามติดตาม และจะเปลี่ยนคืนเมื่อเด็กทั้งสองอายุครบ 20ปี พันทิพา ภรรยาของวีรัตน์รู้เข้าก็เสียใจมาก แต่ก็สงสารเด็กจึงตกลงรับเลี้ยงเป็นลูก

19 ปีต่อมา ศรีฟ้าเติบโตมาในครอบครัวของนายอำเภอที่บัดนี้เติบโตในหน้าที่ในกระทรวง ศรีฟ้าเป็นคนเข้มแข็ง และรักพ่อแม่มาก มีคนรักชื่ออธิคมแต่ทั้งพ่อและแม่ของฝ่ายชายกลับไม่ชอบศรีฟ้าเลย เพราะทราบความเป็นมาดี

ส่วนโบว์ เติบโตมาในสลัม กับ แม่บัว นายแย้ม และน้าถวิล โบว์ก็รักแม่บัวมาก และแม่บัว ก็รักลูกสาวคนนี้มากเช่นกัน นางบัวทนความคิดถึงลูกไม่ไหวจึงปลอมตัวเป็น บาง เข้ามาทำงานเป็นแม่ครัวในบ้าน แต่ฟ้ารู้สึกว่าบางมีท่าทีแปลกๆ

เมื่อถึงวันนัดเปลี่ยนตัวกันระหว่าง ฟ้า กับ โบว์ ถวิลหวังอยากจะเอาโบว์ไปให้เสี่ย โดยหลอกว่าให้ทำงานในโรงแรม พันทิพารู้เข้าจึงช็อค วีรัตน์และบัว รู้ข่าวจึงบุกไปช่วยเหลือ วีรัตน์เล่าความจริงให้ฟ้าและโบว์ ฟ้าเสียใจมาก เพราะรักพันทิพามาก ส่วน โบว์เองก็ไม่อยากจะจากแม่บัวไปเช่นกัน แต่บัวไม่ยอม ฟ้าจึงกลับบ้านไปกับบัว แต่พันทิพาขอให้ฟ้าไปเรียนต่อเมืองนอกพร้อมกับอธิคม

ฟ้าหลังฝน (2521)

ฟ้าหลังฝน (2521/1978) พรรณี หญิงสาวแสนดีที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับ การันต์ ในบ้านเช่ากลางสลัม เธอทำงานรับจ้างทั่วไปเพื่อส่งเสียให้แฟนหนุ่มเรียนมหาวิทยาลัย โดยการันต์ให้สัญญาว่าถ้าเรียนจบจะไม่ให้เธอลำบากอีก แต่แล้วเมื่อการันต์ใกล้เรียนจบ พรรณีก็ได้รู้ว่าแฟนของเธอไปติดพันกับนักศึกษาสาวลูกเศรษฐี เธอจึงต้องทำหน้าที่คนรักที่เสียสละให้คนที่รักไปมีความสุขกับหญิงอื่น เพียงเพราะหญิงอื่นนั้นรวยกว่า

ทางชีวิต (2520)
ทางชีวิต (2520/1977) ข้อความบนใบปิด จิรบันเทิงฟิล์ม โดย จิรวรรณ กัมปนาทแสนยากร เสนอผลงานอันดับล่าสุด ทางชีวิต ของ โบตั๋น กรุง ศรีวิไล สรพงศ์ ชาตรี เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ อัศวิน รัตนประชา, จิราวัจน์ จารุวิจิตร, เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่, รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, สมชาย สามิภักดิ์ และด.ญ.เบญจมาศ จันทรพฤกษา (เชอรี่) จาก อ้อมอกพ่อ จิรวรรณ กัมปนาทแสนยากร อำนวยการสร้าง สมวงศ์ ทิมบุญธรรม กำกับการแสดง
แผ่นดินของเรา (2519)

แผ่นดินของเรา (2519/1976) ภัคคินี หญิงสาวแสนสวยผู้เป็นบุตรสาวคนเล็กของพระวรนาถประณต ที่เกิดหลงรัก ธำรง เพื่อนของพ่อเจ้าของไร่แห่งทุ่งวัวแล่น แต่เมื่อคบกันแล้วชีวิตของเธอกลับจืดชืดไร้ความตื่นเต้น กระทั่ง นเรนทร์ คู่หมั้นของพี่สาว เดินทางกลับมายังเมืองไทย และตามมาถึงทุ่งวัวแล่น ทั้งคู่พบรักกันอย่างลับๆ ก่อนจะหนีไปด้วยกันในเช้าวันงานพิธีแต่งงานพี่สาวกับนเรนทร์

"ภัคคินี" (เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์) หญิงสาวแสนสวยผู้เป็นบุตรสาวคนเล็กของพระวรนาถประณต ที่เกิดหลงรัก "ธำรง" (สมบัติ เมทะนี) เพื่อนของพ่อเจ้าของไร่แห่งทุ่งวัวแล่น แต่เมื่อคบกันแล้วชีวิตของเธอกลับจืดชืดไร้ความตื่นเต้น กระทั่ง "นเรนทร์" (นิรุตติ์ ศิริจรรยา) คู่หมั้นของพี่สาว เดินทางกลับมายังเมืองไทยและตามมาถึงทุ่งวัวแล่น ทั้งคู่พบรักกันอย่างลับๆ ก่อนจะหนีไปด้วยกันในเช้าวันงานพิธีแต่งงานพี่สาวกับนเรนทร์ ทิ้งความอับอายไว้ให้กับคนข้างหลัง แต่หนทางของทั้งคู่ไม่ได้สวยหรู เมื่อทั้งคู่หนีไปตกระกำลำบากขัดสนเงินทอง ปลายทางชีวิตทั้งคู่ดูเหมือนมืดมน สุดท้ายแล้วจะมีที่ใดสุขเท่า...แผ่นดินของเรา

อ้อมอกพ่อ (2519)

อ้อมอกพ่อ (2519/1976) เมื่อเป็นลูก เราสุขนักในอ้อมแขนรักของพ่อ เมื่อเป็นพ่อ เราทุกข์หนักเมื่อลูกรักกำลังจะอดตาย...

เรื่องราวของ สันต์ ครูหนุ่มซึ่งต้องดูแลภรรยาและลูก ๆ ทั้งสี่ แม้จะเป็นที่รักใคร่ของครอบครัวและบรรดาลูกศิษย์มากมาย แต่ชีวิตของเขากลับต้องประสบพบเจอแต่ความโชคร้าย ทั้งการสูญเสียบ้านและอาชีพครู

เรื่องราวชีวิตสุดรันทดของ สันต์ ครูหนุ่มซึ่งเป็นที่รักของ ภรรยา และลูกๆทั้งสี่ รวมถึงลูกศิษย์ที่ยังคงแวะเวียนมาหา แม้ว่าจะจบการศึกษาไปหลายปี แต่ชีวิตที่เหมือนจะมีความสุขนั้น กลับไม่เป็นดังหวัง เมื่อสันต์ถูกกระหน่ำด้วยพายุแห่งความโชคร้าย ไม่ว่าจะเป็น การสูญเสียบ้านและอาชีพครู ทำให้รายจ่ายไม่พอถึงขนาดลูกๆต้องแอบไปขอทาน เพื่อหาเงินมารักษาแม่ แต่สันต์ก้อยังคงไม่ท้อแท้ แต่สุดท้ายชีวิตไม่เป็นดังหวังทำให้สันต์คิดสั้นด้วยการเลือกหนทางแห่งความตาย สุดท้ายชีวิตของสันต์และครอบครัวจะลงเอยเช่นไร

ดาวสวรรค์ฉันรักเธอ (2518)
ดาวสวรรค์ฉันรักเธอ (2518/1975) แม้ชะตากรรมจะเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงมิได้ แต่ค่าของรักแท้ย่อมอยู่เหนือสิ่งอื่นใด "ดาวสวรรค์" หรือ ดาว เป็นลูกสาวคนเดียวของนวลจันทร์ แม่ของเธอแยกทางกับสามีตั้งแต่ดาวยังเด็ก ทำให้ดาวว้าเหว่และขาดความอบอุ่น จึงทำให้เธอติดเพื่อนและมักหนีเที่ยวเสมอ จนวันนึง เธอได้พบกับ "ขจรศักดิ์" ด้วยเสน่ห์และความจริงใจของเขาทำให้ดาวตกหลุมรักและตัดสินใจจะหนีไปใช้ชีวิตอยู่กับเขา แต่โชคชะตาไม่เป็นใจ ทำให้ทั้งสองต้องพรากจากกัน ต่อมา ดาว ถูกตรวจพบว่าท้องและเป็นมะเร็งในกระดูก "หมอนิตย์" แพทย์ประจำตัวของดาว คอยดูแลอาการอย่างใกล้ชิดจนกลายเป็นความรักความผูกพัน สุดท้ายความรักของทั้งคู่จะลงเอยอย่างไร
เมียเถื่อน (2518)

เมียเถื่อน (2518/1975) ข้อความบนใบปิด จิรบันเทิงฟิล์ม 2 ตุ๊กตาทองจาก คู่กรรม ไม่มีอีกแล้วในรอบสิบปี! ที่สามดาราใหญ่จะยอมพบกันเช่นนี้ สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ นัยนา ชีวานันท์ โลกีย์ระหว่างชายหนึ่งหญิงสอง เมียเถื่อน ของ รงศ์ บุศรินทร์ ร่วมด้วย เมตตา รุ่งรัตน์, เยาวเรศ นิสากร, น้ำเงิน บุญหนัก, เชาว์ แคล่วคล่อง แสนยากร (ผู้กำกับเงินล้านจาก “คู่กรรม”) กำกับการแสดง พร น้ำเพชร สร้างบท ก.ธุระพานิชย์ ถ่ายภาพ จิรวรรณ กัมปนาทแสนยากร อำนวยการสร้าง จิรบันเทิงฟิล์ม จัดจำหน่าย

 
โรงแรมผี (2518)
โรงแรมผี (2518/1975) โรงแรมบางละมุง ชลบุรี ซึ่งตั้งอยู่ริมชายทะเล โรงแรมนี้เปิดดำเนินกิจการแบบครอบครัว มีนายปั้น (มานพ อัศวเทพ) เป็นเจ้าของและผู้จัดการ มีนายเปลี้ยง (ครรชิต ขวัญประชา) น้องชายเป็นรองผู้จัดการ มีนายปริญญา (สายัณห์ จันทรวิบูลย์) ลูกชายเป็นสมุห์บัญชีและปัทมา (ปิยะมาศ โมนยะกุล) ลูกสาวเป็นแคชเชียร์ของโรงแรม แล้วในคืนฝนตกหนักคืนหนึ่ง โรงแรมแห่งนี้ก็ได้ต้อนรับแขกผู้มาพักคือ เฉิดโฉม (เมตตา รุ่งรัตน์) ที่หนีจากนายปราโมทย์ (แพน บอระเพ็ด) สามีเพื่อจะเข้ากรุงเทพฯ แต่ฝนตกหนักก่อน ก็เลยแวะเข้าพักที่โรงแรม ระหว่างนั้นนายปราโมทย์ก็ตามมาทันและขอคืนดี แต่เฉิดโฉมไม่ยอมกลับบ้าน จึงเกิดปากเสียงจะทำร้ายกัน เฉิดโฉมจึงขอร้องให้นายปั้นผู้จัดการโรงแรมช่วยเหลือ ซึ่งทำให้นายปราโมทย์โกรธและพูดขู่จะฆ่าเฉิดโฉมทิ้งแล้วก็กลับไป คืนนั้นเอง เฉิดโฉมก็ถูกฆ่าตายในห้องพักหมายเลข 1 ซึ่งผู้กองชิงชัย (ชนะ ศรีอุบล) นายตำรวจเจ้าของคดีตรวจพบว่า เธอตายเพราะตกใจจนช็อคและมีร่องรอยของการบีบคอ ไม่มีบาดแผลอื่นใดและยังพบรอยเท้าของคนข้างซ้ายพิการอยู่บนพื้นห้อง จึงสันนิษฐานว่า คนร้ายต้องมาจากภายนอกและสงสัยว่า จะเป็นนายปราโมทย์ที่ปลอมตัวมาฆ่าเฉิดโฉมตามคำขู่ จากนั้น เสี่ยเพ้ง (ชินดิษฐ์ บุนนาค) และวิไลสาวคู่ขาที่มาพักโรงแรม ก็ถูกฆ่าตายในลักษณะเดียวกันอีกที่ห้องพักหมายเลข 1 ส่วนเงินที่เสี่ยเพ้งพกติดตัวมาเป็นหมื่นๆ กลับไปอยู่ที่ห้องของนายปั้น ทำให้นายเปลืองคิดว่า พี่ชายของตนเป็นคนฆ่าเสี่ยเพ้งหวังจะเอาเงิน แต่เมื่อพูดคุยกันจนเข้าใจแล้ว ทั้งสองคนจึงตัดสินใจนำเงินของเสี่ยเพ้งทั้งหมดไปทิ้งทะเลเพื่อตัดปัญหา แต่พอรุ่งเช้า เงินทั้งหมดก็ลอยกลับมากระจัดกระจายอยู่บนชายหาดหน้าโรงแรมอีก ผู้กองชิงชัยจึงสรุปว่า คนร้ายฆ่าเสี่ยเพ้งแล้วขโมยเงินหนีลงเรือไป แต่เกิดเรือล่ม เมื่อเกิดเหตุร้ายต่างๆ ก็ทำให้นายปั้นเริ่มวิตกว่า จะไม่มีใครมาพักที่โรงแรมแห่งนี้ นายปริญญาจึงอาสาจัดงานรื่นเริงงานปาร์ตี้เพื่อให้ดูสนุกสนาน โดยเรียก วิสูตร (นาท ภูวนัย) เพื่อนเก่าที่เป็นนายช่างและ มยุรี (มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช) คนรักของปริญญาให้มาร่วมงานนี้ด้วย นายปราโมทย์จึงได้ปลอมตัวเข้ามาในงาน แล้วลอบเข้าไปบีบคอปัทมาขณะหลับที่ห้องนอน แต่เสียงร้องของปัทมา ก็ทำให้วิสูตรและคนอื่นๆ มาช่วยปัทมาไว้ได้ทัน นายปราโมทย์อ้างว่า ที่ทำไปก็เพราะต้องการแก้แค้นทุกคนที่ฆ่าเฉิดโฉมเพื่อหวังชิงทรัพย์ แต่ผู้กองชิงชัยได้บอกความจริงให้รู้ว่า คนอื่นเป็นคนฆ่า เรื่องจึงยุติลง นายปั้นจึงเชิญนายปราโมทย์เข้าพักที่โรงแรมเป็นการตอบแทน แต่ในคืนนั้นนายปราโมทย์ถูกฆ่าตายไปอีกคนหนึ่ง โดยศพนายปราโมทย์ไปอยู่ที่ห้องนายปั้น สร้างความปวดหัวให้แก่ผู้กองชิงชัยเป็นอย่างมาก คืนต่อมา นายปั้นก็ถูกวิญญาณผีร้ายเข้าสิง แล้วบังคับให้ไปฆ่ามุยรี ระหว่างลงมือบีบคอฆ่า ปริญญาก็มาช่วยไว้ได้ทัน มยุรีเล่าให้ฟังว่า ขณะเกิดเหตุหน้าคนร้ายเหมือนผีมี 2 ใบหน้าสลับกัน หน้าหนึ่งเป็นคนแก่แต่งชุดโบราณ แต่อีกหน้าหนึ่งจะเหมือนนายปั้น ที่สำคัญเวลาเดินจะมีขาข้างซ้ายพิการ แต่เมื่อไปดูนายปั้นที่ห้องพัก ก็เห็นนอนหลับอยู่ตามปกติ ทุกคนจึงกลับไป ครั้นนายปั้นเข้านอนต่อ วิญญาณผีร้ายก็มาเข้าสิงนายปั้นอีก คราวนี้บังคับให้ไปฆ่าคนงานในโรงแรม แต่วิสูตรซึ่งได้ยินเสียงร้องก็ลงมาเห็นพอดี นายปั้นจึงวิ่งหลบหนีไป แต่วิ่งเหมือนคนขาพิการ แล้วก็ขับรถออกจากโรงแรมไป ตำรวจจึงตามไล่ล่า ระหว่างทาง รถนายปั้นเสียหลักพลิกตกเขาถึงแก่ความตาย ศพนายปั้นถูกนำไปเก็บไว้ที่โรงพยาบาล แต่เมื่อลูกๆทราบเรื่อง จะมาขอรับศพ พยาบาลก็บอกให้ฟังว่า ศพนายปั้นได้ลืมตาขึ้น พยาบาลตกใจเป็นล้ม ฟื้นมาอีกทีศพก็หายไปแล้ว แล้วความจริงก็ปรากฏขึ้นมาว่า การฆาตกรรมต่างๆ ในโรงแรมนั้น เกิดจากการกระทำของวิญญาณผีร้ายที่ชื่อ หลวงนฤบาลบุรีรักษ์ (ฑัต เอกฑ้ต) ซึ่งมีความอาฆาตเคียดแค้นนายปั้นมาตั้งแต่สมัยที่นายปั้นยังเป็นคนสนิทของเขา เพราะนายปั้นไปแอบพาสารภีเมียน้อยของหลวงนฤบาลฯ หนีไปอยู่กินและมีบุตรด้วยกัน จนกระทั่งหลวงนฤบาลฯ ถึงแก่ความตาย แต่ก่อนตายหลวงนฤบาลฯ ได้ยกตึกหลังหนึ่งให้แก่สารภีเป็นมรดก แล้วต่อมานายปั้นกับสารภี ก็ได้เอาตึกหลังนั้นมาดัดแปลงทำเป็นโรงแรมแห่งนี้ เมื่อทุกคนทราบเรื่องก็กลัว แล้วคืนนั้นวิญญาณของนายปั้นก็ได้มาเข้าฝันปริญญาบอกวิธีกำจัดวิญญาณผีร้าย โดยให้ปริญญาไปตามหาพระพุทธรูปแก้วที่เคยอยู่ประจำในโรงแรมกลับคืนมา วิญญาณผีร้ายก็จะเข้ามาในโรงแรมไม่ได้ แต่ปริญญาก็ตามหาพระพุทธรูปไม่พบเพราะมีการให้ต่อๆ กันไป ระหว่างนั้น วิญญาณหลวงนฤบาลฯ ก็ยังคงอาละวาด ทำให้คนงานของวิสูตรที่มาก่อสร้างโรงแรมตายไปและยังสะกดจิตให้มยุรีไปผูกคอตาย หลอกให้ปัทมาไปถ้ำค้างคาวเพื่อจะฆ่าทิ้ง แต่ทั้งสองคนก็รอดมาได้เพราะปริญญากับวิสูตรช่วยไว้ได้ทัน วิญญาณหลวงนฤบาลฯ จึงเข้าสิงนายเปลื้องแล้วบังคับให้ไปฆ่าป้าชื่น (ชูศรี มีสมมนต์) ป้าของมยุรีที่มาพักโรงแรม เมื่อฆ่าเสร็จก็หนีไป ทุกคนบอกกับผู้กองชิงชัยว่า นายเปลื้องเป็นคนฆ่า แต่เชื่อว่าเป็นเพราะผีร้ายเข้าสิงให้ทำ ขอให้ตำรวจอย่าเพิ่งทำอันตรายนายเปลื้อง แต่เมื่อนายเปลื้องกลับมาเพื่อมอบตัว วิญญาณหลวงนฤบาลฯ ก็เข้าสิงอีก แล้วบังคับให้นายเปลื้องต่อสู้ ยิงกับตำรวจจนถูกตำรวจยิงตาย และเมื่อยังไม่ได้พระพุทธรูปแก้วกลับคืน วิสูตรกับปริญญาจึงไปปรึกษาหมอผีและได้รับคำแนะนำว่า ให้ไปจัดการขุดศพของหลวงนฤบาลฯ ที่ยังไม่เผาเอาขึ้นมาสะกดวิญญาณไว้ก่อน แต่เมื่อไปถึงป่าช้าก็พบว่า ในหลุมศพที่ขุดขึ้นมานั้น ไม่มีศพหลวงนฤบาลฯ แต่กลายเป็นศพนายปั้นที่หายไป แล้ววิญญาณหลวงนฤบาลฯ ก็อาละวาดจนทั้งสองคนต้องรีบกลับโรงแรม เมื่อไปถึงก็พบว่า ปัทมากับมยุรีหายไป ระหว่างนั้น นายเพิ่มคนเก่าแก่ของหลวงนฤบาลฯ ก็ส่งจดหมายมาบอกว่า แท้จริงแล้ว ศพหลวงนฤบาลฯ ถูกย้ายมาเก็บไว้ที่ห้องใต้ดินของโรงแรมแห่งนี้เพื่อหวังจะแก้แค้นครอบครัวนี้ ทุกคนจึงคิดว่า ปัทมากับมยุรีจะต้องถูกขังอยู่ในห้องใต้ดินของโรงแรม จึงช่วยกันค้นหาทางเข้าห้องใต้ดิน เมื่อค้นพบ ก็เป็นเวลาที่วิญญาณหลวงนฤบาลฯ กำลังอาละวาดเล่นงานสองสาวอยู่ พอเห็นว่า ทุกคนมากันพร้อมหน้า วิญญาณหลวงนฤบาลฯ ก็แสดงอิทธิฤทธิ์ให้ตึกเกิดสั่นสะเทือนจะถล่มลงมาเพื่อฆ่าทุกคน ระหว่างนั้น ไอ้น้อย (บู๊ วิบูลย์นันท์) บ๋อยโรงแรมก็เอาห่อผ้าใส่ของชิ้นหนึ่งลงมาให้ บอกว่า มีคนฝากมาให้ เมื่อวิสูตรคลี่ผ้าออกดู ก็พบว่า ข้างในเป็นพระพุทธรูปแก้วที่หายไปนั่นเอง ทันใดนั้นเมื่อปรากฏพระพุทธรูปเต็มองค์ ตึกก็หยุดสั่นสะเทือน ลมพายุก็หยุดพัด แล้วจึงค่อยๆ ปรากฏร่างของหลวงนฤบาลฯ ออกมา แต่เมื่อวิญญาณร้ายเห็นพระพุทธรูปแก้ว ก็ตกใจ วิสูตรเป็นผู้ถือพระพุทธรูปแก้ว โดยให้ทุกคนช่วยกันตั้งจิตอธิษฐาน แล้วอำนาจแห่งธรรมะก็บันดาลให้เกิดเป็นแสงสีประกายรุ้ง สาดส่องไปกระทบยังร่างหลวงนฤบาลฯ เกิดเป็นไฟลุกท่วมตัวหลวงนฤบาลฯ ส่งเสียงร้องโหยหวนด้วยความเจ็บปวด แล้วร่างค่อยๆ มอดไหม้กลายเป็นผงธุลีสิ้นฤทธิ์ไป เหตุร้ายในโรงแรมแห่งนี้ก็สงบลง
เจ้าสาวแสนกล (2517)
เจ้าสาวแสนกล (2517/1974) ข้อความบนใบปิด จิรบันเทิงฟิล์ม ผู้สร้าง คู่กรรม เสนอผลงานครั้งที่ 2 ทั้งสมบัติ ทั้งผู้หญิง ยุ่งยิ่งนัวเนีย เรื่องในมุ้งผัวๆเมียๆ ดูแล้วหายเพลียหัวใจ เจ้าสาวแสนกล ของ รุ่งจิตร์ 35 ม.ม.สโคป-สี-เสียงในฟิล์ม สมบัติ เมทะนี ภาวนา ชนะจิต นำแสดง แผนซ้อนแผน กลซ้อนกล รักซ้อนซ่อนรักสลักใจ วุ่นวายกันไปทั่วทุกหัวระแหง แต่ก็สนุกร้อนแรงที่สุดในรอบปี... พร้อมด้วย สายัณห์ จันทรวิบูลย์, ศศิมา สิงห์ศิริ, วริศรา วชิราชัย, ล้อต๊อก, เมตตา รุ่งรัตน์, สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย, พฤหัส บุญหลง, อธึก อรรถจินดา, เทพ เทียนชัย, ผู้ดำเนินงาน Mr. Tu (มิสเตอร์ตู)-วีระ ดวงพัตรา-จิรวรรณ กัมปนาทแสนยากร อำนวยการสร้าง แสนยากร-พร ไพโรจน์ กำกับการแสดง จิรบันเทิงฟิล์ม จัดจำหน่าย
คู่กรรม (2516)
คู่กรรม (2516/1973) มีประโยชน์อะไรที่จะตั้งทิฐิเข้าหากัน ทิฐิมานะ ความใจแข็ง เป็นของดี ถ้าหากนำมาใช้ในทางที่ถูก แต่จะมีประโยชน์อะไรที่จะนำมาใช้กับคนที่เรารัก ชีวิตคนเรานั้นไม่ยืนยาวนักหรอก โดยเฉพาะเวลาสำหรับความรักมักผ่านไปเร็วเสมอ ผู้ผ่านเวลานั้นมาแล้ว ย่อมซึมซับในหัวใจ เวลา...ที่ไม่ว่าสิ่งแวดล้อมจะเป็นเช่นไร หัวใจจะยังอบอุ่นด้วยความหวัง แม้...ในยามที่เวลานั้นจะไม่ถอยกลับคืนมาอีก ผู้นั้นก็ยังมีความสุข ด้วยรำลึกถึงความสุขที่เคยผ่านมาแล้วเป็นเครื่องปลอบใจ จำไว้...ถ้าเราเข้าใจคนที่เรารัก ดวงไฟดวงนั้นจะอบอุ่นอยู่ในหัวใจเสมอ ชีวิตจะมีความหมายอะไร ถ้าในครั้งหนึ่งไม่เคยรู้จักความรักอันอ่อนโยน ไม่เคยสัมผัสแม้ความผูกพันอันดื่มด่ำ ที่จะยอมสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างได้หมด เพียงเพื่อคนที่เรารัก
อเวจีสีชมพู (2515)

อเวจีสีชมพู (2515/1972) ข้อความบนใบปิด บางกอกฟิล์มสตูดิโอ เสนอความแปลกจริง ใหม่จริง ภาพยนตร์ระบบไดนาเมชั่น เรื่องแรกของเมืองไทย อเวจีสีชมพู ของ มรกต พิศมัย วิไลศักดิ์ ครรชิต ขวัญประชา ภูษิต อภิมัน ขอแนะนำ ดารา เยาวลักษณ์, นัดดา วีรวงศ์ 10 เพลงแสนไพเราะทั้งลูกกรุง, ลูกทุ่ง, ชาโดว์ กำกับการแสดงโดย หัตถกร พรหมสุวรรณ อดุลย์ ดุลยรัตน์, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, เมตตา รุ่งรัตน์, แมน ธีระพล, วัฒนา กีชานนท์, ชฎาพร วชิรปราณี, อบ บุญติด, โกร่ง กางเกงแดง, ดาวน้อย ดวงใหญ่, ถนอม นวลอนันต์, ศรชัย กวี เกียรตินันท์ ถ่ายภาพ ไมค์ โพธิ์นาน อำนวยการสร้าง จิรบันเทิงฟิล์ม จัดจำหน่าย

 
คีรีบูน (2514)
คีรีบูน (2514/1971) ข้อความบนใบปิด ธวัชรินทร์ภาพยนตร์ เสนอ คีรีบูน ของ อิงอร นำโดย ครรชิต ขวัญประชา เพชรา เชาวราษฎร์ พันคำ, เมตตา รุ่งรัตน์, วาสนา ชลากร, พฤหัส บุญหลง, น้ำเงิน บุญหนัก, สุวิน สว่างรัตน์, ชาณีย์ ยอดชัย, สังข์ทอง สีใส, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ปราณีต คุ้มเดช, นวลศรี, สีเทา, วิชิต ไวงาน และ ด.ช.ปรีชา เกิดกำแพง 6 เพลง 35 ม.ม. ลูกทุ่ง ลูกกรุง พันคำ กำกับการแสดง ธวัชรินทร์ อำนวยการสร้าง สรยุทธ ถ่ายภาพ พร น้ำเพชร สร้างบท จิรบันเทิงฟิล์ม จัดจำหน่าย
ลูกหนี้ทีเด็ด (2513)

ลูกหนี้ทีเด็ด (2513/1970) ลูกหนี้ทีเด็ด เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2513 ให้เสียงพากย์สด สร้างโดย สหไชยภาพยนตร์ โดยมี สมจิตต์ สมานมธุรพจน์-มีชัย เกรียงศักดิ์ โชติชูตระกูล เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดย อนุมาศ บุนนาค ถ่ายภาพโดย แสวง ดิษยวรรธนะ

กำลังแสดงผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ