หนึ่งในสยาม (2508)
หนึ่งในสยาม (2508/1965) ด้วยความภูมิใจครั้งยิ่งใหญ่ ศรีบูรพาภาพยนตร์ เสนอ.. เรื่องราวของลูกผู้ชายผู้รักศักดิ์ศรีจากนวนิยายขายดีเป็นประวัติการณ์ ของ อ้อย อัจฉริยกร
ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ (2503)
ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ (2503/1960) ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ เป็นภาพยนตร์สีธรรมชาติ 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2503 สร้างโดย ศรีบูรพาภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย สดศรี บูรพารมย์ ถ่ายภาพโดย ฉลอง ภักดีวิจิตร และให้เสียงพากย์โดย ม.ล. รุจิรา อิศรางกูร - มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา
อำนาจกับอำนาจ (2501)
อำนาจกับอำนาจ (2501/1958) อำนาจกับอำนาจ เป็นภาพยนตร์สีธรรมชาติ 16 มม. ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2501 สร้างโดย ศรีบูรพาภาพยนตร์ โดยมี พุฒ ภักดีวิจิตร เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดย สดศรี บูรพารมย์ ถ่ายภาพ-ลำดับภาพโดย ฉลอง ภักดีวิจิตร และให้เสียงพากย์โดย ม.ล. รุจิรา อิศรางกูร - มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา - นิทรา - สายัณห์
สร้อยฟ้าศรีมาลาลุยไฟ (2499/1956) จมื่นไวย์วรนารถ หรือ พลายงามลูกชายของนางวันทองกับขุนแผนรับราชการอยู่กรุงศรีอยุธยา อาศัยอยู่กับ ทองประศรี ซึ่งเป็นย่ากับ พลายชุมพล น้องชาย จมื่นไวย์มีนิสัยถอดแบบมาจากขุนแผนทุกประการ ทั้งความเก่งกล้าและความเจ้าชู้ โดยมีภรรยาสองคนคือ สร้อยฟ้า ลูกสาวเจ้าเมืองเชียงอินทร์ กับ ศรีมาลา ลูกสาวเจ้าเมืองพิจิตร สร้อยฟ้าและศรีมาลามักจะมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งเพราะความหึงหวงกันอยู่เสมอ วันหนึ่งคนสนิทของทั้งสองทะเลาะกัน เจ้านายเลยเข้าไปช่วย เมื่อจมื่นไวย์กลับจากงานจึงถามสาเหตุ แต่สร้อยฟ้ากลับถลาเข้าหาศรีมาลา จมื่นไวย์เหลืออดตบหน้าสร้อยฟ้า เป็นเหตุให้สร้อยฟ้าเจ็บใจหันไปพึ่ง เถรขวาดกับเณรจิ๋ว ทำเสน่ห์ให้จมื่นไวย์และทองประศรีลุ่มหลง หลังจากนั้นศรีมาลาเหมือนตกอยู่ในขุมนรกเพราะถูกสร้อยฟ้าหาเรื่องไม่เว้นแต่ละวัน พลายชุมพลซึ่งเห็นเหตุการณ์มาโดยตลอด ทนดูความอยุติธรรมไม่ไหวจึงไปเล่าให้ขุนแผนฟัง สร้อยฟ้าใส่ไฟกล่าวหาว่าศรีมาลามีชู้ ศรีมาลาเสียใจมากจะผูกคอฆ่าตัวตาย แต่ขุนแผนพระพิจิตรและพลายชุมพลมาทันเวลา พระพิจิตรไปกราบทูลพระพันวษาถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พระพันวษาให้พลายชุมพลและกุมารทองไปจับตัวเถรขวาดกับเณรจิ๋ว ทั้งสองสารภาพและแก้เสน่ห์ให้ พระพันวษาให้สร้อยฟ้าและศรีมาลาพิสูจน์ความจริงด้วยการลุยไฟศรีมาลาผู้บริสุทธิ์สามารถเดินผ่านกองไฟได้แต่สร้อยฟ้าไม่กล้า พระพันวษาจึงตัดสินประหารชีวิตสร้อยฟ้า แต่ศรีมาลาขอร้องให้พระพันวษาเห็นแก่ชีวิตที่กำลังอยู่ในครรภ์ของสร้อยฟ้า พระพันวษาจึงยอมอภัยโทษแต่เนรเทศสร้อยฟ้าออกจากกรุงศรีอยุธยา
เกวียนหัก (2498)
เกวียนหัก (2498/1955) แฝง นักเลงหัวไม้ประจำบ้านทุ่ง ซึ่งมีใจมั่นรักอยู่กับ เรียง ลูกสาวกำนัน ด้วยฐานะที่แตกต่างกันทั้งสองจึงต้องคบกันอย่างหลบๆ ซ่อนๆ อยู่มาวันหนึ่ง เกิดเหตุปล้นในตำบลนั้น แฝงตกเป็นผู้ต้องสงสัยจึงถูกเรียกตัวมาสอบสวนที่เรือนของกำนัน หลายคนเห็นแผลที่แขนของแฝงก็ปักใจเชื่อว่าแฝงเป็นคนร้าย เรียงจึงช่วยเป็นพยานและสารภาพว่าเป็นคนฟันแขนของแฝงเองทำให้แฝงรอดพ้นจากข้อกล่าวหามาได้หวุดหวิด ท่ามกลางความไม่พอใจของกำนัน รอง พี่ชายของเรียง และ ชื้น ลูกชายผู้ใหญ่บ้านที่หลงรักเรียงอยู่ฝ่ายเดียว ชื้นเจ็บใจที่เรียงไม่ตอบรับรัก จึงไปฟ้องกำนันว่าเรียงแอบคบหากับแฝง เรียงจึงถูกกำนันเฆี่ยนและจับขังไว้บนเรือน แฝงรู้ข่าวก็ลอบปีนขึ้นเรือนมาฝากรักกับเรียงในคืนนั้น แฝงกลับมาที่เรือนก็พบว่าพ่อถูกจับตัวไป ทิ้งไว้แต่รอยคราบเลือด แฝงเชื่อว่าทั้งหมดนี้เป็นฝีมือของรองและชื้น จึงรีบรุดไปยังเรือนกำนันเพื่อเค้นถามความจริง ขณะเดียวกันนั้น รองและชื้นที่เพิ่งฆ่าพ่อของแฝงตายก็ได้จับตัวเรียงขึ้นเกวียนเพื่อพาหนีไปอยู่ที่บ้านญาติต่างหมู่บ้าน เมื่อแฝงได้รู้เรื่องราวทั้งหมด จึงรวบรวมพรรคพวกออกตามล่ารองและชื้น หมายจะล้างแค้นให้พ่อและชิงตัวคนรักของตนกลับคืนมา เมื่อเกวียนของเรียงมาถึงที่ศาลเจ้าพ่อเกวียนล่ม ซึ่งเป็นที่สักการะของเหล่าผู้เดินทางทั้งหลาย ชื้นบังคับให้เรียงสาบานรักกับตนต่อหน้าศาลเจ้าพ่อ เรียงต้องสาบานด้วยความจำยอม แต่ในใจนั้นแอบอธิษฐานว่า หากแฝงกำลังตามหาตนอยู่ ก็ขอให้เกวียนที่ตนนั่งมาจงหยุดรออยู่ที่นี่ เพื่อให้แฝงตามมาทัน แฝงกับพรรคพวกตามมาทันตามคำอธิษฐานของเรียง ด้วยความแค้นที่สุมอก แฝงควบเกวียนของตนเข้าพุ่งชนเกวียนที่ชื้น รอง และเรียงนั่งมาอย่างรุนแรง จนเกวียนนั้นหักกระเด็น เมื่อแฝงได้สติก็พบว่าเรียงถูกเกวียนทับขาจนกระดูกหัก ชื้นถูกไม้กงเสียบทะลุอกตายคาที่ ส่วนรองนั้นหนีไปได้ บัดนี้ เรียงกลายเป็นคนพิการที่ขาทั้งสองใช้การไม่ได้อีก แต่ถึงกระนั้น แฝงก็ขอสาบานต่อศาลเจ้าพ่อเกวียนหัก ว่าจะรับเรียงเป็นเมียและขอรักนางตลอดไป
Placeholder
นางไพร (2497/1954) นางไพร เป็นภาพยนตร์ไทย ฟิล์ม 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2497 สร้างโดย ศรีบูรพาภาพยนตร์ และให้เสียงพากย์โดย ม.ล. รุจิรา อิศรางกูร - มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา
ลูกกำพร้า (2496)
ลูกกำพร้า (2496/1953) ลูกกำพร้า เป็นภาพยนตร์สีธรรมชาติ 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2496 สร้างจากบทประพันธ์ของ ป. อินทรปาลิต (ปรีชา อินทรปาลิต) สร้างโดย ศรีบูรพาภาพยนตร์ และกำกับการแสดงโดย สดศรี บูรพารมณ์ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการนำกลับมาสร้างใหม่จากภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2481
Placeholder
Placeholder
ซากผีดิบ (2495)
ซากผีดิบ (2495/1952) ดร.ชาญ จบจากประเทศฝรั่งเศสเป็นคนไม่เชื่อว่าผีมีจริงในโลก ได้โคจรมาพบ ผ่องพรรณ ลูกสาวของ ขุนจำนง และเริ่มชอบผ่องพรรณ แต่เธอมีคนรักแล้วคือ สาโรช ขุนจำนงมีภรรยาชื่อ พวง เป็นภรรยาหลวง และ พริ้ง เป็นภรรยาน้อย แม่พริ้งยังสาวและสวยอยู่ ส่วนขุนจำนงวันๆ เอาแต่หมกมุ่นอยู่กับการเล่นแร่แปรธาตุ เมื่อ ดร.ชาญ มาคลุกคลีในบ้านขุนจำนงนานเข้า ทั้งสองจึงเล่นชู้กัน คืนหนึ่ง ขุนจำนงฝันว่ามีผู้วิเศษมาเข้าฝัน บอกให้ขุนจำนงเอาตะกั่วหลอมเป็นลูกกลมๆ เอาไปใส่น้ำยาสมุนไพร นำไปบวงสรวงและฝังกลางโบสถ์ร้าง เมื่อครบกำหนด 3 วัน 3 คืน ให้ไปขุดขึ้นมา ก้อนตะกั่วจะกลายเป็นแก้วสารพัดนึก สามารถขอพรได้ 3 ประการ ขุนจำนงทำตามความฝันโดยมี ดร.ชาญ ตามไปด้วย แต่แล้ว ดร.ชาญ ผู้ไม่เชื่อเรื่องผีสางก็ถูกผีบีบคอตายอย่างน่าสยดสยอง เมื่อครบกำหนดขุนจำนงไปขุดเอาแก้วสารพัดนึก แล้วให้ภรรยานึกสิ่งที่ต้องการคนละ 1 ข้อ ไม่นานนักทุกคนในบ้านก็ถูกลอตเตอรี่พร้อมกันเป็นไปตามที่พวงขอ ส่วนพริ้ง ไม่มีใครล่วงรู้ว่าขอเรื่องอะไร จนกระทั่ง ผีดิบ ดร.ชาญ ตามมาอาละวาดที่บ้าน ทุกคนจึงได้รู้ว่าพริ้งขอให้ ดร.ชาญ ฟื้นคืนชีพ
เลือดทรยศ (2495)
เลือดทรยศ (ขุนโจรใจเพ็ชร ภาคจบ) (2495/1952) หลังจากที่ มิ่ง หักหลัง เสือธง และฉุดคร่า แวว คนรักของเสือธงเอาไปทำเมีย เสือธงหายสาบสูญไปจากบ้านนาแค ปิดตำนานเสือผู้ยิ่งใหญ่ ปล่อยให้ ดวง น้องสาวของมิ่งซึ่งหลงรักเสือธงเฝ้าอาลัย สองปีผ่านไป แววให้กำเนิดลูกชื่อแดง ส่วนเสือธง เสือทรัพย์ และ เสือเต่า อพยพไปตำบลหนองปรุง ปฏิบัติตนจนเป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้าน จนเสือธงได้รับการยกย่องให้เป็น กำนันแสนเวียง เสือทรัพย์ได้เป็น ผู้ใหญ่บ้านพรหม เสือเต่าได้เป็นสารวัตรคล้อย แต่ความแค้นของเสือธงก็ยังไม่เสื่อมคลาย จึงหารือกับเพื่อนพ้องลอบเข้าบ้านนาแค แววจำเสือธงได้ จึงนัดพบกันในคืนวันหนึ่ง แต่หารอดพ้นสายตาของมิ่งไม่ มิ่งทำร้ายแววอย่างสาหัสและไล่แววกับลูกไปอยู่ที่บ้าน ผู้ใหญ่อั้น ตำบลบ้านไร่เพราะตัวเองกำลังหมายตา สร้อย น้องสาวของ สอน อริเก่าของเสือธง ลูกชายของ กำนันสิน มิ่งระแคะระคายว่าแววกำลังคบชู้กับ อิน ลูกผู้ใหญ่อั้น ก็ตามมาทุบตีแววกับลูกจนแดงสิ้นใจตาย กำนันแสนเวียงกับพวกคิดจะล้างแค้นครั้งใหญ่จึงส่งจดหมายเตือน กำนันนาแค แต่บัดนี้กำนันนาแคกำลังป่วยหนัก เริ่มรู้สึกผิดต่อเรื่องในอดีตที่ตนเคยทำไว้ จึงใช้ให้ดวงไปพบเสือธงเพื่อขอเจรจา กำนันนาแคเล่าว่ามิ่งทรยศต่อตนซึ่งเป็นพ่อ หนีไปสมทบกับกำนันสินอยู่ที่เวียงดอย ขณะนั้นเอง มิ่งแอบเข้ามาลักพาตัวดวงไปกำนันแสนเวียงจึงรีบตามไปยังเวียงดอย กำนันแสนเวียงใช้อาการป่วยของกำนันนาแคล่อมิ่งให้กลับมาที่บ้าน มิ่งกลับมาเจอแววดูแลกำนันนาแคอยู่ ก็บันดาลโทสะฆ่าแววต่อหน้าพ่อของตัวเอง ความโหดร้ายของมิ่งทำให้กำนันนาแคตรอมใจตาย กำนันแสนเวียงจับตัวสร้อยกับกำนันสินมาเป็นตัวประกัน แล้วสั่งให้สมุนไปดักยิงมิ่งที่กำลังมุ่งหน้ากลับมาที่เวียงดอย มิ่งต่อสู้กับกำนันแสนเวียงจนเสียชีวิต เมื่อเรื่องราวสงบลง กำนันแสนเวียงจึงได้ลงเอยกับดวง
ขุนโจรใจเพ็ชร์ (2495)
ขุนโจรใจเพ็ชร์ (2495/1952) ความแค้นฝังลึกเกินจะให้อภัย อ้ายธง สมุนมือขวาของกำนันบ้านนาแค ต้องลุกขึ้นมาชำระแค้นเพราะถูกกำนันที่เคารพรักหักหลังและถูกพรากคนรักไปต่อหน้า เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อ พ่อขุน กำนันบ้านนาแค ใช้ให้ธงไปทวงเงินค่าที่นากับตาเพชร พ่อของ แวว คนรัก แต่ตาเพชรไม่มีเงิน จึงตัดสินใจขายแววให้พ่อขุน เป็นการชำระหนี้ แววเข้ามาอยู่ในบ้านพ่อขุนในฐานะคนรับใช้ ดวง ลูกสาวของพ่อขุน ความสวยของแววทำให้ มิ่ง ลูกชายของพ่อขุนหลงใหลและพูดจาเกี้ยวพาราสี จนเป็นเหตุให้มิ่งกับธงวางมวยกัน พ่อขุนลงโทษธงด้วยการขังแววเป็นเวลา 7 วัน และสั่งห้ามไม่ให้ธงพบแววเด็ดขาด ต่อมาไม่นาน พ่อขุนใช้ให้ธงไปปล้นควาย ธงต่อรองว่าถ้าทำสำเร็จขอให้ปล่อยตัวแวว พ่อขุนจึงตกลง แต่แล้ว คล้อยหลังธง มิ่งก็ตระเตรียมจัดพิธีแต่งงานระหว่างตนและแวว ธงซึ่งทำงานเสร็จเร็วกว่ากำหนดจึงได้รู้ว่าตนหลงกลสองพ่อลูกเข้าเต็มเปา ธงฝ่าวงล้อมไปชิงตัวแววพาไปรักษาตัวที่เวียงคอย พ่อขุนออกหมายจับธงและพรรคพวก เมื่อทราบที่ซ่อนตัวของธงจึงนำสมุนบุกไปที่เวียงคอย พ่อขุนกับมิ่งตลบหลังธงด้วยการจับตัวตาเพชรมาขู่ ธงจึงจำใจปล่อยแววให้ตกเป็นเมียอ้ายมิ่ง
เสือทุ่ง (2494)
เสือทุ่ง (2494/1951) ณ ทุ่งเมียหลวง เร่ แอบลักลอบได้เสียกับ พิมพ์ แล้วดันไปมีเรื่องกับ ทิพย์ ขณะกำลังหลบหนีเร่บังเอิญไปเจอ แท้ น้องสาวของทิพย์ ก็แอบได้เสียกับแท้อีก วันรุ่งขึ้น ทิพย์พาพรรคพวกและกำนันมาล้อมจับเร่ จนเร่ต้องระหกระเหินเข้าป่าแล้วกลายเป็นโจร ทิ้งให้แท้ซึ่งกำลังตั้งท้องต้องอยู่ตามลำพัง พิมพ์เข้าใจว่าเร่ทรยศความรักของตน จึงหันไปสนิทชิดเชื้อกับทิพย์ถึงขั้นตกลงปลงใจแต่งงาน เมื่อพิมพ์ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านของทิพย์ ก็คอยหาทางกลั่นแกล้งพูดจาเยาะเย้ยถากถางแท้ต่างๆ นานา มิหนำซ้ำยังหาเรื่องใส่ร้ายยุยงจนทิพย์ไล่แท้ออกจากบ้าน แท้อุ้มลูกมาหาเร่ที่ศาลเจ้าแม่เมียหลวง เพื่อระบายความเจ็บช้ำน้ำใจกับเร่ เร่สุดจะทนจึงพาพรรคพวกเข้าไปจับตัวพิมพ์มากักขัง แท้รู้สึกสงสารพิมพ์จึงร้องขอให้เร่ปล่อยตัวพิมพ์ไปในขณะที่ทิพย์พาสมุนและกำนันมาล้อมปราบเร่อีกครั้ง
ยอดสงสาร (2493)
แสนแสบ (2493)
แสนแสบ (2493/1950) เมื่อ ผิว พ่อของ แผลง หนุ่มลูกทุ่งแสนแสบเสียชีวิตลง แผลงได้มาอาศัยอยู่กับ ลุงเชื่อม ซึ่งช่วยดูแลที่นา 30 ไร่ อันเป็นมรดกของแผลงตามคำสั่งเสียของผิว แต่ลุงเชื่อมเกิดละโมบอยากจะได้ที่นาเป็นของตนเอง จึงหาทางกำจัดแผลงสารพัดวิธี ทั้งใส่ร้ายว่าแผลงข่มขืน ช้อย ลูกสาวของตน หลอกให้แผลงไปซื้อควายที่หนองจอกแล้วจ้างคนไปดักฆ่า แม้กระทั่งใส่ร้ายว่าแผลงขโมยเงินของตนไป แล้วไปฟ้องให้ กำนันแปลก จับตัวแผลง แต่กำนันแปลกเห็นท่าไม่ดีจึงพยายามไกล่เกลี่ยแต่ไม่เป็นผล แผลงประกาศความแค้นก่อนจะออกจากทุ่งแสนแสบไป เทียม คู่หมั้นของช้อยสบโอกาสที่แผลงไม่อยู่หาเรื่องถอนหมั้นช้อยเพราะหมายปอง โปรย คนรักของแผลงมานานแล้ว เมื่อแผลงรู้เรื่องเข้าจึงกลับมาแก้แค้นเทียมและพรรคพวก แผลงหนีมาที่ศาลเจ้าพ่อขวัญเจ้าแม่เรียมและบังเอิญได้พบกับโปรย จึงมีโอกาสปรับความเข้าใจกัน กำนันแปลกซึ่งตามมาจับแผลงแอบได้ยินหนุ่มสาวสองคนคุยกัน จึงได้รู้ว่าที่ผ่านมาแผลงถูกลุงเชื่อมใส่ร้าย แผลงจึงได้ทั้งที่ดินและคนรักกลับคืนมา
พรายตะเคียน (2483)
พรายตะเคียน (2483/1940) ภาพยนตร์ผีของไทยที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน และเป็นตัวอย่างที่ทำให้ได้เห็นถึงลักษณะของภาพยนตร์สั้นที่ใช้ฉายประกอบเรื่อง ลูกกำพร้า ภาค 3-4 (2483/1940) ภาพยนตร์ขนาดยาวในอดีต โดยเล่าเรื่องราวผีนางพรายตะเคียนที่มาหลอกชาวบ้าน ฉากตัวละครวิ่งหนีผีกระจัดกระจายในเรื่องนั้นถือเป็นต้นแบบสำคัญของหนังผีไทยในยุคต่อ ๆ มา และภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 4 ในปี พ.ศ. 2557 ภาพยนตร์ผีของไทยที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน และเป็นตัวอย่างที่ทำให้ได้เห็นถึงลักษณะของภาพยนตร์สั้นที่ใช้ฉายประกอบภาพยนตร์ขนาดยาวในอดีต สร้างโดยบริษัท ศรีบูรพาภาพยนตร์ ของผู้สร้างหนังยุคบุกเบิก สดศรี ภักดีจิตต์ หรือชื่อจริงว่า สดศรี ภักดีวิจิตร เล่าเรื่องราวผีนางพรายตะเคียนที่มาหลอกชาวบ้าน ฉากตัวละครวิ่งหนีผีกระจัดกระจายในเรื่องนั้นถือเป็นต้นแบบสำคัญของหนังผีไทยในยุคต่อ ๆ มา

หน้าที่