ทาษวังหลัง (2496)
ทาษวังหลัง (2496/1953) ยอดเยี่ยมนิยายอิงประวัติศาสตร์ ท้าสู้ "พญากง พญาพาน" และ "ยอดนักเบ่ง" (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 2 เมษายน พ.ศ. 2496)
ยอดนักเบ่ง (2496)
ยอดนักเบ่ง (2496/1953) แม้จะเป็นเพียงคนแจวเรือจ้าง แต่ สม จิ๋ม และ อัมพร ก็ยังมีความฝัน สมฝันอยากเป็นพระเอกลิเก ส่วนจิ๋มฝันไกลอยากเป็นประธานาธิบดี ส่วนอัมพรฝันอยากเป็นนักร้อง ความสุขเล็กๆ น้อยๆ ของคนทั้งสามคือการแลกเปลี่ยนความฝันและร้องเพลงอย่างสำราญ ไม่มีใครคาดฝันว่าฝันนั้นจะกลายเป็นจริงวันหนึ่งทั้งสามเผอิญไปเจอชายฉกรรจ์กำลังจะปลุกปล้ำหญิงสาวทั้งสามจึงรี่เข้าไปช่วย ไม่ได้รู้เลยว่านั่นเป็นฉากหนึ่งในหนังที่กำลังถ่ายทำอยู่ ผู้กำกับเห็นความงามของอัมพรจึงชักชวนมาแสดงหนังรวมทั้งสมกับจิ๋มด้วย เหมือนเทวดาเล่นตลก สมได้รู้ว่าตนเป็นลูกชายเจ้าของบริษัทหนังที่หายตัวไป ผู้กำกับรีบเอาใจเจ้าของบริษัทด้วยการเปลี่ยนให้สมเป็นพระเอก และให้ เชาวน์ พระเอกคนก่อนไปแสดงเป็นผู้ร้าย กองถ่ายหนังเรื่อง "คดีสร้อยเพชร" เริ่มทันทีในคืนนั้นที่เวทีพัฒนากรเชาวน์แค้นใจที่ถูกปลดกลางคันจึงขอสวมบทคนร้ายตัวจริง จับตัวอัมพรไปขังไว้ที่บ้านร้าง อัมพรใช้เสน่ห์ล่อหลอกให้ผู้คุมทะเลาะกันเอง และอาศัยช่วงชุลมุนหนีออกมาที่ท่าเรือจ้าง ตะโกนร้องขอความช่วยเหลือจึงรอดเงื้อมมือเชาวน์มาได้อย่างหวุดหวิด ทั้งสามกลับมาตายรังที่ท่าเรือจ้างและไม่นึกอยากฝันเป็นอะไรอื่นอีกเลย
ทหารเอกพระบัณฑูร (2496)
ทหารเอกพระบัณฑูร (2496/1953) ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ พระมหาอุปราช ถูก จมื่นศรีสรลักษณ์ กับ เจ้าสามกรม ใส่ความว่าลอบคบชู้กับ เจ้าฟ้านิ่ม พระสนมเอกของพระราชบิดา จนต้องโทษประหารชีวิต มิหนำซ้ำยังสั่งให้ ขุนจิตร์สุนทร กับขุนฤทธิ์ภักดี ควบคุมตัว องค์หญิง พระขนิษฐาของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ไปคุมขัง แต่ หลวงกลาโหม ราชองครักษ์เอกผู้คุมหมู่ทหารพระบัณฑูรของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์มาขัดขวางและฆ่าขุนฤทธิ์ฯ เสียชีวิต หลวงกลาโหมพาเจ้าหญิงไปประทับที่ตำหนักของเจ้าฟ้าอุทุมพร เสด็จฯอาขององค์หญิง ก่อนจะหนีไปหลบซ่อนตัว หลังจากนั้นไม่นาน สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้าอุทุมพรซึ่งตามประเพณีต้องขึ้นครองราชย์ ได้ถวายให้เจ้าฟ้าเอกทัศน์ขึ้นครองราชย์แทนพระองค์ที่ประสงค์จะทรงผนวช แต่สมเด็จพระเอกทัศน์ทรงลุ่มหลงในความมัวเมา ขุนนางที่มักใหญ่ใฝ่สูงจึงคิดคดถึงขนาดเหิมเกริมจะโค่นราชบัลลังก์ ร้อนถึงกรมหมื่นเทพพิพิธและขุนนางที่จงรักภักดีต้องร่วมมือกันวางแผนให้เจ้าฟ้าอุทุมพรกลับมาขึ้นครองราชย์ตามเดิม แต่แผนการรั่วไหลทำให้กรมหมื่นฯ และพรรคพวกรวมทั้งหลวงกลาโหมถูกจับกุม ระยะนั้นเอง ฝ่ายพม่าได้ยกกองทัพเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยา เหล่านักโทษถูกเกณฑ์ออกมาสู้ศึกกับพม่ารวมทั้งหลวงกลาโหมได้เข้าร่วมในศึกครั้งนี้ด้วย ฝ่ายพม่าตีร่นมาถึงพระนคร หลวงกลาโหมจึงรีบไปช่วยองค์หญิงอย่างไม่ห่วงชีวิต องค์หญิงทรงซาบซึ้งพระทัยที่หลวงกลาโหมช่วยชีวิตพระองค์ไว้ถึงสองครา จึงทรงสละฐานันดรศักดิ์เพื่อครองรักกับหลวงกลาโหม
พญากง-พญาพาน (2496/1953) ดัดแปลงจากตำนานพื้นบ้านว่าด้วยเรื่องของ พญากง ซึ่งมีพระมเหสีพระนามว่า พระนางสุมาลี คืนหนึ่งพระนางสุมาลีทรงฝันร้าย โหรทำนายความฝันของพระนางสุมาลีว่าจะได้พระโอรส แต่ในภายภาคหน้าพระโอรสจะกระทำปิตุฆาต วันเวลาผ่านไปพระนางสุมาลีทรงประสูติพระโอรสตามคำทำนายของโหร พญากงนึกหวั่นจึงรับสั่งให้นำพระโอรสใส่หม้อแล้วไปลอยในแม่น้ำ พระนางสุมาลีทูลวิงวอนขอเห็นหน้าพระโอรสเป็นครั้งสุดท้าย แต่เมื่ออุ้มพระโอรสขึ้นมา พระโอรสเกิดดิ้นไปถูกขอบพานทำให้เลือดไหล ด้วยความรักและอาลัยของผู้เป็นแม่ พระนางสุมาลีจึงผูกธำมรงค์ติดข้อมือพระโอรสไว้ แล้วปล่อยหม้อที่บรรจุพระโอรสล่องลอยจากนครปาวายไปตามกระแสธารา เคราะห์ดีที่หม้อลอยไปถึงหมู่บ้านท่าเกวียน ยายหอม ผู้มั่งคั่งมาพบหม้อที่ใส่พระโอรสไว้จึงเก็บพระโอรสมาเลี้ยงดู เมื่อพินิจใบหน้าเด็กน้อยมีรอยแผลเป็นรูปร่างคล้ายพาน จึงตั้งชื่อให้ว่า "พาน" ยายหอมทะนุถนอมพานจนเติบใหญ่จึงส่งให้ไปร่ำเรียนวิชากับ อาจารย์เถียร ด้วยความที่มีสายเลือดของกษัตริย์ พานจึงเชี่ยวชาญในทางอาวุธ และแอบรวบรวมกองกำลัง คิดการใหญ่หมายจะโจมตีนครปาวาย ฝ่ายพญากง เมื่อทหารรายงานว่าบัดนี้มีกองโจรกำลังซ่องสุมตามแนวชายแดน จึงจัดทหารไปปราบปรามแต่ได้รับความพ่ายแพ้กลับมา พานเหิมเกริมตั้งตนเป็น "พญาพาน" และให้ หาญ คนสนิทนำสาสน์ท้าชนช้างไปส่งให้พญากง ผลปรากฏว่าพญากงถูกฟันด้วยของ้าวขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์ในสนามรบ พญาพานยึดนครปาวายทันที มิหนำซ้ำยังคิดจะเอาพระนางสุมาลีเป็นพระมเหสี วิญญาณของพญากงจึงจำแลงเป็นแมวและบอกความจริงกับพญาพาน พญาพานสำนึกผิดจึงได้สร้างเจดีย์เพื่อล้างบาปที่ตนได้กระทำปิตุฆาต
Placeholder
ไซอิ๋ว (2496)
ไซอิ๋ว (2496/1953) ภาพยนตร์ไทยในเรื่องจีน (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 2 เมษายน พ.ศ. 2496)
สามล้อประจันบาน (2495)
พระเจ้ากรุงธนบุรี (2495)
พ่อครูเอก (2495/1952) เรื่องราวของ พ่อเฒ่าฟุ้ง ชาวพระนครศรีอยุธยา ที่ต้องการให้ ฟื้น กับ เฟื่อง ลูกชายและลูกสาวได้ดีจึงส่งไปร่ำเรียนและใช้ชีวิตในกรุงเทพจนมีคู่ครองแต่งงานเป็นฝั่งเป็นฝา ฟื้นแต่งงานกับ ชั้น น้องสาวของ เชี่ยว ซึ่งเป็นสามีของเฟื่อง ฟื้นมีอุปนิสัยเกรงอกเกรงใจเมีย ส่วนเฟื่องเองก็โดนเชี่ยวทำร้ายร่างกายบ่อยๆ ต่อมาพ่อเฒ่าฟุ้งประสบปัญหาน้ำท่วมนาข้าวเสียหาย หนี้สินท่วมหัว จึงเดินทางเข้ากรุงเทพเพื่อขอความช่วยเหลือจากลูกระหว่างเดินทางได้ซื้อลอตเตอรี่ไว้ เมื่อพ่อเฒ่าฟุ้งมาถึงกรุงเทพได้พบชั้นกับเชี่ยวซึ่งปฏิเสธที่จะช่วยเหลือพ่อเฒ่าฟุ้ง ซ้ำร้ายยังถูก ชาญ พ่อของเชี่ยวดูถูกอย่างไม่ใยดี ฟื้นเห็นท่าไม่ดีจึงไปปรึกษาเชี่ยวเพื่อขอวิชาปราบเมีย ทางเชี่ยวก็ให้ความช่วยเหลืออย่างดี เฟื่องเองก็ไปขอคำปรึกษากับชั้นเรื่องที่โดนทำร้าย ชั้นเห็นอย่างนั้นก็สงสารและให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน พ่อเฒ่าฟุ้งเดินโซซัดโซเซจนถึงกองสลากกินแบ่งรัฐบาล จึงนำเอาสลากที่ซื้อไปตรวจปรากฏว่าถูกรางวัลที่ 2 จึงนำสลากไปขึ้นเงิน และตั้งใจนำเงินรางวัลไปแบ่งลูกๆ เมื่อไปถึงเห็นว่าฟื้นสามารถปราบเมียได้สำเร็จ ส่วนเฟื่องก็สามารถกำราบเชี่ยวได้อยู่หมัด จนชาญไม่กล้าต่อว่าอะไร เมื่อเหตุการณ์ผันแปรเช่นนี้ทั้งสองครอบครัวจึงอยู่กันเป็นปรกติสุข
เสมาทองคำ (2495)

เสมาทองคำ (2495/1952) พระเจ้าอารยะบดี แห่งกรุงทวารวดี ทรงหมั้นหมายพระราชธิดาพระนาม เจ้าหญิงมลิวัลย์ กับ เจ้าชายชัยสิทธิ์ ตั้งแต่ยังอยู่ในพระครรภ์ แต่เจ้าชายชัยสิทธิ์ถูกลักพาตัวไปตั้งแต่ 5 พรรษาพร้อมสร้อยเสมาทองคำซึ่งจารึกพระนามและวันประสูติ 15 ปีผ่านไป เจ้าหญิงยังพระทัยซื่อตรงต่อเจ้าชายชัยสิทธิ์แต่ถึงเวลาต้องออกเรือนตามราชประเพณี จึงออกอุบายเลือกคู่ครองที่สามารถโต้วาทีเรื่อง "ไก่มาก่อนไข่หรือไข่มาก่อนไก่" หากผู้ใดตอบได้พระราชธิดาจะสมรสด้วย ฝ่ายเจ้าชายชัยสิทธิ์ หลังจากถูกลักพาตัวไป สองพ่อลูก มะปะ กับ มะกะโท ได้ช่วยไว้ ก่อนมะปะจะเสียชีวิตได้สั่งให้มะกะโทพาเจ้าชายชัยสิทธิ์กลับเมาะตะมะเพื่ออบรมประเพณีและเรียนหนังสือไทย เมื่อเจ้าชายชัยสิทธิ์อายุครบ 20 ปี มะกะโทจึงพาเจ้าชายชัยสิทธิ์มากรุงทวารวดี เจ้าชายชัยสิทธิ์ขอให้มะกะโทรอที่หน้าเมืองและจะกลับมาภายใน 7 วัน ชัยสิทธิ์เข้าไปในเมืองได้พบ พาโล กับ กาษะสองพ่อลูกซึ่งกำลังหาคนทายปัญหา พาโลกับกาษะเข้าใจว่าเจ้าชายชัยสิทธิ์ไขปัญหาได้จึงทุบตีเจ้าชายชัยสิทธิ์จนสลบเพื่อจะสวมรอย แล้วสั่งให้ เจ้าหงิก ลากชัยสิทธิ์ไปทิ้งกลางป่าแต่เจ้าหงิกนำไปฝากยายเฒ่าเพราะสงสาร เจ้าชายชัยสิทธิ์ซ่อนตัวในกระท่อมเมื่อมีเวลาว่างก็ช่วยทำสวน และด้วยอภินิหารบันดาลให้ต้นไม้ในสวนผลิดอกงดงามอย่างมหัศจรรย์ ครบกำหนด 7 วัน มะกะโทไม่เห็นเจ้าชายชัยสิทธิ์กลับมาจึงผลุนผลันเข้าเมืองทวารวดี มาอาศัยขุนคชบาลในโรงช้าง พระเจ้าอารยะบดีพอพระทัยในความเฉลียวฉลาดของมะกะโท หมายจะให้มาโต้วาทีกับพระราชธิดา ระหว่างนั้นข่าวพระราชอุทยานกลายเป็นสวรรค์แพร่สะพัดไปถึงพระกรรณของเจ้าหญิงมลิวัลย์ จึงชวน นันทา ข้าหลวงคนโปรดไปทรงทอดพระเนตร จึงได้พบกับเจ้าชายชัยสิทธิ์ ทั้งสองต่างพึงพอใจกัน เจ้าหญิงออกอุบายนัดหมายเจ้าชายชัยสิทธิ์และได้เห็นเสมาทองคำจึงรู้ว่านี่คือเจ้าชายชัยสิทธิ์ที่ถูกลักพาตัวไป จึงให้เจ้าชายชัยสิทธิ์ไปปรากฏตัวในสนามโต้วาทีในอีกไม่กี่วันข้างหน้า กาษะแอบได้ยินสิ่งที่ทั้งสองพูดคุยกัน กลับไปปรึกษาพาโล พาโลตกใจสั่งให้กาษะนำหน้ากากเหล็กซึ่งมีอำนาจให้ผู้ถูกสวมพูดไม่ได้ ไปสวมให้เจ้าชายชัยสิทธิ์ เจ้าหงิกกับนันทาแอบฟังอยู่จึงรีบไปทูลเจ้าหญิงได้ทันท่วงที

เจดีย์หัก (2495)
เจดีย์หัก (2495/1952) สมัยกษัตริย์อุทุมพรแห่งอยุธยา พม่าเริ่มนำกำลังรุกรานประเทศ จนในที่สุดก็มาถึงบ้านแป้งและหัวคู พระยาโกษาธิบดี ขุนคลัง กับ เจ้าหญิงสุชาวดี ได้รับคำสั่งให้ตามหา หลวงตาธรรมคง เพื่อหารือเรื่องการซ่อนสมบัติไว้ใต้เจดีย์สี่ทิศ วัดทุ่ง ซึ่งเป็นเจดีย์ประจำหมู่บ้าน หลวงตาธรรมคงเคยมีศิษย์เอกสองคน คือ เพลิง กับ กลอง กลองริษยาเพลิงที่ได้ สไบ เป็นเมีย จึงร่วมมือกับ กำนันเทิ้ม พ่อของตนหาเรื่องใส่ร้ายเพลิง เป็นเหตุให้เพลิงต้องหลบไปกบดานในป่า พระยาโกษาฯ ที่กำลังออกตามหาหลวงตาธรรมคง ถูกพวกพม่าดักปล้นแย่งชิงสมบัติ เคราะห์ดีที่เพลิงผ่านมาช่วยเหลือไว้ เมื่อรู้จุดประสงค์ของพระยาโกษาฯเพลิงก็อาสานำทางไป ระหว่างที่พระยาโกษาฯ หารือกับหลวงตาธรรมคงจู่ๆ ทหารยามก็มาแจ้งว่าเจ้าหญิงสุชาดาถูกลักพาตัวไปทุกคนจึงรีบเดินทางไปช่วย ในขณะที่เพลิงกำลังประดาบกับศัตรูคนหนึ่ง เจ้าหญิงตะโกนให้เพลิงหยุด เพราะจำได้ว่าเขาผู้นั้นคือ หลวงแสนยาณรงค์ ลูกชายของพระยาโกษา ก่อนจะได้รู้ในเวลาต่อมาว่าเป็นไส้ศึกให้ฝ่ายพม่า และแล้วพม่าก็เริ่มย่างกรายเข้ามาใกล้หมู่บ้านเพลิงให้ เตี้ย สมุนเอก ไปแจ้งข่าวให้ชาวบ้านเตรียมตัวบุกค่ายพม่าในเวลาฟ้าสาง ส่วนตนเองจะลอบเข้าไปในค่ายพม่าก่อนเพื่อช่วยหลวงตาธรรมคง พระยาโกษาฯ และสไบที่ถูกจับตัวไป โดยไม่รู้ว่าทั้งสามถูกทรมานจนเสียชีวิตไปแล้ว เมื่อเข้าไปในค่ายพม่าเพลิงจึงตกเป็นเชลยทันที คืนนั้น ขุนพยัคฆ์ภูมิ ทหารเอกแห่งกรุงศรีอยุธยาเข้ามาช่วยเพลิง เมื่อฟ้าสาง เตี้ยนำทัพชาวบ้านโจมตีค่ายพม่าจนแตกร่นไปถึงเจดีย์สี่ทิศ วัดทุ่ง เป็นเวลาเดียวกับที่ อุยตอง กับ มะมังจะ สองหัวหน้าทหารของพม่า กำลังลงไปในอุโมงค์ใต้ดินเพื่อขโมยสมบัติ ทันใดนั้น ก็เกิดแผ่นดินไหว ทำให้เจดีย์หักลงมาทับร่างอุยตองกับมะมังจะจนเสียชีวิต ความสงบสุขจึงกลับมาสู่บ้านแป้งและหัวคูอีกครั้งหนึ่ง
วิวาห์คนจน (2495/1952) ตลก ขบขัน เศร้า เสียสละ และน้ำตา เรื่องชีวิตคนจนซึ่งประกอบด้วยความดี (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2495)
ลูกสาว (2495)
ลูกสาว (2495/1952) ภาพยนตร์ไทยชนิดไม่โป๊สมชื่อ แต่เป็นเรื่องการเมืองจริงๆ ว่ากันเละทีเดียว พรรคก้าวหน้า! พรรคถอยหลัง! พรรคเดินข้างๆ คูๆ (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2495)
ไซอิ๋ว ฉบับครูมี (2495/1952) ภาพยนตร์ไทยในนิยายจีน เรื่องเยี่ยมไม่ซ้ำแบบใคร (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 4 เมษายน พ.ศ. 2495)
สามเกลอถ่ายหนัง (2495)
สามเกลอถ่ายหนัง (2495/1952) เรื่องราวของคณะถ่ายหนังที่ต้องมาสู้กับผู้ร้ายนอกจอ กรุงเทพ พ.ศ. 2493 เสือฉาย กำลังอาละวาดออกปล้นสะดมสร้างความหวาดกลัวให้ชาวบ้านร้อนถึงตำรวจต้องเร่งปราบปรามขนานนัก เสือฉาย จึงไปหลบซ่อนตัวที่จังหวัดเพชรบุรี ขณะนั้น สมพงษ์ ล้อต๊อก และ ดอกดิน สามเกลอหนุ่มเพิ่งเรียนการสร้างหนังจากประเทศอเมริกาจบ เกิดร้อนวิชาอยากทดลองฝีมือ อนิจจา สามเกลอสิ้นเนื้อประดาตัวแต่ก็ยังไม่ละความพยายาม ดิ้นรนเอาข้าวไปจำนำจนสามารถตั้งบริษัท "จิ้งจกภาพยนตร์" สำเร็จ บริษัทจิ้งจกภาพยนตร์เริ่มถ่ายหนัง โดยมีดอกดินเป็นผู้กำกับ สมพงษ์เป็นช่างถ่ายภาพยนตร์ ล้อต๊อกเป็นผู้ร้ายและได้ ณรงค์ มาเป็นพระเอก ชูศรี เป็นนางเอก แต่การทำงานเป็นไปอย่างทุลักทุเล สามเกลอหารือกันว่าจะเปลี่ยนไปถ่ายหนังที่จังหวัดเพชรบุรี แต่สามีนางเอกเกิดไม่ยอมให้นางเอกแสดงต่อ สามเกลอเข้าตาจนจึงต้องหาผู้มาแสดงแทน โชคดีได้พบสาวชาวไร่ชื่อ น้อย จึงชวนมาเป็นนางเอกโดยไม่รู้ว่าน้อยเป็นที่หมายปองของเสือฉาย รุ่งขึ้นถึงคิวการถ่ายฉากพลอดรักระหว่างพระเอกนางเอก เสือฉายผ่านมาเห็นเข้านึกว่าเป็นเรื่องจริงก็เกิดโทสะ วิ่งพรวดเข้าไปชกณรงค์ สมพงษ์สวมวิญญาณตากล้องถ่ายภาพยนตร์ต่อไป น้อยวิ่งไปขอความช่วยเหลือจากตำรวจที่ขับรถผ่านมาแถวนั้น ตำรวจเห็นหน้าเสือฉายก็จำได้ว่าเป็นมหาโจรที่ทางการกำลังต้องการตัวแต่ไม่เคยมีใครมีภาพถ่ายเสือฉาย เสือฉายฉวยโอกาสหลบหนีไป สามเกลอกลับมาล้างฟิล์มที่กรุงเทพ เจอข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ประกาศให้รางวัลแก่ผู้ที่มีภาพเสือฉาย จึงไม่รอช้ารีบเอาฟิล์มไปให้ตำรวจ แต่ เสือปาน ลูกสมุนของเสือฉายมาดักรอกลางทาง สามเกลอพากันวิ่งหนีจนกระทั่งถึงสถานีตำรวจ อารามรีบวิ่งตามสามเกลอเสือปานจึงไม่รู้ตัวว่ากำลังวิ่งเข้าสถานีตำรวจจึงถูกจับเข้าตาราง สามเกลอกลับมาถ่ายหนังต่อที่จังหวัดเพชรบุรีและมาสู่ขอน้อยให้พระเอกเสือฉายสบโอกาสตามมาล้างแค้น แต่พลาดท่าเสียทีถูกตำรวจจับเสียเอง รางวัลนำจับเสือฉายจึงตกเป็นของสามเกลอคณะถ่ายหนัง เอวังด้วยประการฉะนี้
เจ้าแม่ลานเท (2494/1951) ตำนานของความรัก การรอคอยของหญิงสาวแห่งลานเท อันเป็นตำนานอิงประวัติศาสตร์ทางโบราณคดีที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดอยุธยา (ที่มา: นิตยสารภาพยนตร์สาร มกราคม พ.ศ. 2495)