พญากง-พญาพาน

พญากง-พญาพาน (2496/1953) ดัดแปลงจากตำนานพื้นบ้านว่าด้วยเรื่องของ พญากง ซึ่งมีพระมเหสีพระนามว่า พระนางสุมาลี คืนหนึ่งพระนางสุมาลีทรงฝันร้าย โหรทำนายความฝันของพระนางสุมาลีว่าจะได้พระโอรส แต่ในภายภาคหน้าพระโอรสจะกระทำปิตุฆาต วันเวลาผ่านไปพระนางสุมาลีทรงประสูติพระโอรสตามคำทำนายของโหร พญากงนึกหวั่นจึงรับสั่งให้นำพระโอรสใส่หม้อแล้วไปลอยในแม่น้ำ พระนางสุมาลีทูลวิงวอนขอเห็นหน้าพระโอรสเป็นครั้งสุดท้าย แต่เมื่ออุ้มพระโอรสขึ้นมา พระโอรสเกิดดิ้นไปถูกขอบพานทำให้เลือดไหล ด้วยความรักและอาลัยของผู้เป็นแม่ พระนางสุมาลีจึงผูกธำมรงค์ติดข้อมือพระโอรสไว้ แล้วปล่อยหม้อที่บรรจุพระโอรสล่องลอยจากนครปาวายไปตามกระแสธารา เคราะห์ดีที่หม้อลอยไปถึงหมู่บ้านท่าเกวียน ยายหอม ผู้มั่งคั่งมาพบหม้อที่ใส่พระโอรสไว้จึงเก็บพระโอรสมาเลี้ยงดู เมื่อพินิจใบหน้าเด็กน้อยมีรอยแผลเป็นรูปร่างคล้ายพาน จึงตั้งชื่อให้ว่า "พาน" ยายหอมทะนุถนอมพานจนเติบใหญ่จึงส่งให้ไปร่ำเรียนวิชากับ อาจารย์เถียร ด้วยความที่มีสายเลือดของกษัตริย์ พานจึงเชี่ยวชาญในทางอาวุธ และแอบรวบรวมกองกำลัง คิดการใหญ่หมายจะโจมตีนครปาวาย ฝ่ายพญากง เมื่อทหารรายงานว่าบัดนี้มีกองโจรกำลังซ่องสุมตามแนวชายแดน จึงจัดทหารไปปราบปรามแต่ได้รับความพ่ายแพ้กลับมา พานเหิมเกริมตั้งตนเป็น "พญาพาน" และให้ หาญ คนสนิทนำสาสน์ท้าชนช้างไปส่งให้พญากง ผลปรากฏว่าพญากงถูกฟันด้วยของ้าวขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์ในสนามรบ พญาพานยึดนครปาวายทันที มิหนำซ้ำยังคิดจะเอาพระนางสุมาลีเป็นพระมเหสี วิญญาณของพญากงจึงจำแลงเป็นแมวและบอกความจริงกับพญาพาน พญาพานสำนึกผิดจึงได้สร้างเจดีย์เพื่อล้างบาปที่ตนได้กระทำปิตุฆาต

นักแสดงและทีมงาน

รายละเอียดเพิ่มเติม

ฉายวันที่ : 13 กุมภาพันธ์ 1953/2496
ฉายที่ : โรงภาพยนตร์พัฒนากร
ระบบถ่ายทำ : ฟิล์ม 16 มิลลิเมตร (โดยมีนักพากย์คอยพากย์เสียงสด)
บริษัทผู้สร้าง : อ. อายุการภาพยนตร์
เกร็ด : ภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงจากตำนานประจำถิ่นของจังหวัดนครปฐม
เป็นคนแรกที่รีวิว “พญากง-พญาพาน”

ยังไม่มีรีวิว