แก้วกาหลง (2510)
แก้วกาหลง (2510/1967) เสน่ห์ โกมารชุน สร้าง แม่นาคพระโขนง เจ้าแม่ตะเคียนทอง ลบสถิติและลือลั่นมาแล้ว ครั้งนี้ขอเสนอ... แก้วกาหลง ดูหนังผี ต้อง "เสน่ห์ โกมารชุน" สร้าง ดูหนังผี ต้อง "รังสี ทัศนพยัคฆ์" กำกับ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ไอ้แก้ว (มิตร ชัยบัญชา) ทาสในเรือนเบี้ย แต่เพราะไอ้แก้วมีความขยันมากกว่าทาสคนอื่นๆ จึงได้สิทธิพิเศษให้เรียนหนังสือ ไอ้แก้วมีความสามารถในการเล่นดนตรีสีซออู้ได้อย่างไพเราะ จึงได้รับความไว้วางใจท่านเจ้าคุณมหิทธ์ศักดิ์ ให้เป็นผู้สอนสีซออู้แก่กาหลง (ปรียา รุ่งเรือง) ผู้เป็นลูกสาวท่านเจ้าคุณฯ ก็เรียกว่า สอนไป สอนมา เกิดใกล้สนิทสนมและลักลอบได้เสียกัน ซึ่งเป็นความผิดมีโทษมหันต์ ยังความโกรธแค้นแก่ท่านเจ้าคุณฯ เป็นอย่างยิ่งเพราะทั้งอายที่ลูกสาวลดตัวไปเป็นเมียทาสหนุ่ม ท่านเจ้าคุณฯ จึงสั่งลงโทษโบยเฆี่ยนหลังไอ้แก้วและจับขังคุกทาสไว้ กะว่าจะให้ตาย ส่วนกาหลงผู้เป็นลูกสาวนั้น ท่านเจ้าคุณส่งตัวไปกักขังอยู่ที่กระท่อมกลางสวน เพื่อให้คลอดลูกก่อน โดยจัดเวรยามเฝ้าดูแลไว้ แต่เมื่อคนเฝ้ากินเหล้าเมายา แล้วก็เกิดอารมณ์เข้าปลุกปล้ำหมายข่มขืนกาหลง กาหลงไม่ยอม ก็ต่อสู้ดิ้นรนสุดชีวิตกระทั่งตัวเองถูกบีบคอตายคากระท่อม.. ท่านเจ้าคุณฯ รู้ข่าว ก็เสียใจและรีบจัดการฝังศพกาหลงไว้และตัวเองก็ป่วยจนตรอมใจตายในเวลาต่อมา ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกันกับในหลวงรัชกาลที่ 5 โปรดให้เลิกทาส ไอ้แก้วจึงได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ แต่ไม่มีใครบอกว่า กาหลงเสียชีวิตไปแล้ว ต่อมาหมอผีก็ไปขุดศพนางกาหลงขึ้นมา หมายจะเอาน้ำมันพรายไปทำเสน่ห์ยาแฝด แต่เพราะกาหลงเป็นผีตายโหงที่ถูกสะกดวิญญาณไว้ เมื่อยันต์สะกดหลุดออก ผีนางกาหลงก็เลยเฮี้ยนและจัดการฆ่าหมอผีตายเป็นศพแรก จากนั้นผีนางกาหลงก็ออกอาละวาดทุกค่ำคืน ชาวบ้านชาวช่องก็ไม่กล้าออกจากบ้านไปไหน ผีนางกาหลงออกตามหาไอ้แก้วผัวรัก เมื่อหาไม่เจอ ก็มานั่งสีซอคร่ำครวญทุกคืนจนชาวบ้านกลัว ย้ายหนีกันไปหลายคน ส่วนไอ้แก้ว เมื่อพ้นจากทาสมาเป็นไท ก็กลับไปอาศัยญาติๆ ทำนา แล้วก็ได้พบกับซ่อนกลิ่น (เพชรา เชาวราษฎร์) เกิดรักใคร่ชอบพอกัน กระทั่งเกลอเก่าที่เคยเป็นทาสหนีจากบ้านท่านเจ้าคุณฯ มาหาไอ้แก้วและขออาศัยอยู่ด้วย ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับที่ผีนางกาหลงติดตามเกลอไอ้แก้วมาด้วยเช่นกัน ตกกลางคืน ผีนางกาหลงก็ปรากฏตัวและไปขออยู่กับไอ้แก้วที่บ้าน โดยที่ไม่มีใครรู้ว่า กาหลงตายไปแล้ว กระทั่งเกลอเก่าไอ้แก้วมาเห็นเข้า จึงบอกซ่อนกลิ่นว่า กาหลงตายไปแล้ว ซ่อนกลิ่นก็ไปบอกไอ้แก้ว แต่ไอ้แก้วกลับไม่เชื่อ หาว่า ซ่อนกลิ่นหึงหวงกาหลง เหตุการณ์เริ่มไม่ค่อยจะสู้ดีเพราะไอ้แก้วกับผีนางกาหลงยังคงอยู่ร่วมบ้านกัน ซ่อนกลิ่นจึงไปหาอาจารย์ หาผ้ายันต์มาให้ไอ้แก้วพิสูจน์ความจริงว่า กาหลงตายไปแล้ว แก้วจึงยอมเอาผ้ายันต์ใส่ไว้ใต้หมอนที่กาหลงนอน พอตกกลางคืนร่างของกาหลงก็กลายเป็นซากศพเน่าเฟะนอนอยู่แทน แก้วจึงรู้ว่า กาหลงตายแล้ว ก็หนีไป สร้างความโกรธแค้นให้ผีนางกาหลงเป็นอย่างมาก จึงออกอาละวาดฆ่าคนเป็นว่าเล่น หมอผีหลายคนที่หาปราบ ก็สู้ผีนางกาหลงไม่ได้ กระทั่งหมอผีคนล่าสุดก็กำลังจะถูกผีกาหลงหักคอ ไอ้แก้วทนไม่ได้ที่ผีนางกาหลงฆ่าคนเป็นว่าเล่น จึงออกมาพบและบอกให้กาหลงฆ่าไอ้แก้วแทนเพราะจะได้ตายและไปอยู่ด้วยกัน เมื่อผีนางกาหลงได้ยินเช่นนั้น ก็รู้ว่าแท้จริงแล้ว ไอ้แก้วยังรักกาหลงอยู่ เพียงแต่เพราะอยู่กันคนละชาติคนละภพ ไอ้แก้วจึงแสดงออกแบบนั้น ผีนางกาหลงรู้สำนึกผิดชอบชั่วดีแล้ว จึงยอมปล่อยหมอผีไป และรู้ว่า ซ่อนกลิ่นก็รับไอ้แก้วเช่นกัน เมื่อชาตินี้ไม่สามารถอยู่กับพี่แก้วได้อย่างคนทั่วไป ก้เอ่ยปากฝากพี่แก้วกับซ่อนกลิ่นให้ครองคู่อยู่ร่วมกัน ส่วนตัวกาหลงเองก็จะกลับไปชดใช้กรรมในนรกภูมิ เพื่อชาติหน้าจะได้เกิดมาเป็นเมียพีแก้วอีกครั้ง
ผู้ชนะสิบทิศ ภาคสมบูรณ์ บุเรงนองถล่มหงสาวดี (2510)
ปผู้ชนะสิบทิศ ตอน ถล่มหงสาวดี (2510/1967) จะเด็ด ได้รับมอบหมายให้ปราบเมืองแปร แต่กลับหนีทัพไปพาตัว กุสุมา คนรักกลับออกมาจากหงสา แม้พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้จะพิโรธจนตัดความสัมพันธ์ แต่ด้วยความปรีชาสามารถของจะเด็ด ความสัมพันธ์จึงกลับมาราบรื่นตามเดิม วันหนึ่ง เมื่อ ไขลู จากหงสาวดี กลับมากำจัดพระมหาเถร พระอาจารย์ของทั้งคู่ จะเด็ดและพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ จึงร่วมกันยกทัพเพื่อถล่มหงสาวดีให้พินาศเพื่อเป็นการล้างแค้น
ผู้ชนะสิบทิศ ตอน ยอดขุนพล (2509)
ผู้ชนะสิบทิศ ตอน ยอดขุนพล (2509/1966) จะเด็ด สามัญชนผู้ได้รับการเลี้ยงดูจากพระมหาเถร พระอาจารย์แห่งกษัตริย์ตองอู และต่อมา ได้รับเลือกให้เป็นผู้สืบทอด ดาบยอดขุนพล เมื่อถึงรัชสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ผู้ซึ่งนับถือจะเด็ดเป็นพระสหายคนสนิท เขาได้รับมอบหมายให้เป็นแม่ทัพปราบเมืองแปร แต่จะเด็ดกลับไปหลงรักและอภิเษกกับ กุสุมา ธิดาพระเจ้าเมืองแปร เป็นเหตุให้พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ทรงพิโรธ และยกทัพบุกยังเมืองแปร
เจ้าแม่ตะเคียนทอง (2509)

เจ้าแม่ตะเคียนทอง (2509/1966) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ช่วงเวลาสุดท้ายก่อนการเลิกทาส ยอด (ไชยา สุริยัน) และพิกุล (ปรียา รุ่งเรือง) เป็นทาสในเรือนของท่านเจ้าคุณวิเศษสรไกร (สาหัส บุญ-หลง) ทั้งสองรักใคร่กัน ทำให้บัวเผื่อน (ชฎาพร วชิรปราณี) เมียน้อยท่านเจ้าคุณไม่พอใจเนื่องจากหลงรักยอดอยู่เช่นกัน ขณะเดียวกับที่ท่านเจ้าคุณก็ต้องการพิกุลเป็นเมีย วันหนึ่งบัวเผื่อนก็สร้างเรื่องใส่ความว่ายอดปลุกปล้ำ เจ้าคุณสั่งลงโทษโบยยอดอย่างหนัก แม้ว่าคุณกาหลง (โสภา สถาพร) ผู้เป็นธิดาพยายามขอร้องก็ไม่เป็นผล พิกุลยอมเป็นเมียท่านเจ้าคุณเพื่อเป็นการช่วยยอดไม่ให้ถูกเฆี่ยนจนถึงชีวิต แต่ยอดกลับเข้าใจว่าพิกุลเป็นหญิงหลายใจจึงดุด่าพิกุลอย่างรุนแรง พิกุลเสียใจมากจึงผูกคอตายที่ต้นตะเคียนในสวนหลังบ้านท่านเจ้าคุณ หลังจากพิกุลตายแล้วยอดจึงได้รู้ความจริงว่าที่พิกุลต้องยอมเป็นเมียท่านเจ้าคุณก็เพื่อช่วยชีวิตของตน ยอดจึงแอบโขมยศพของพิกุลจากวัดมาฝังไว้ใต้ต้นตะเคียน ยอดหลบหนีออกจากบ้านท่านเจ้าคุณและได้ช่วยหมอฝรั่งให้พ้นมือโ่จร หมอฝรั่งจึงพายอดไปอยู่ด้วยและสอนวิชาแพทย์ให้จนเชี่ยวชาญ ขณะที่บ้านท่านเจ้าคุณก็เกิดเหตุวุ่นวายเมื่อวิญญาณของพิกุลออกมาปรากฎตัวหลอกหลอน ท่านเจ้าคุณถูกพิกุลหลอกจนป่วยจึงให้คนไปตามหมอมารักษาซึ่งก็คือยอดนั่นเอง ทำให้ยอดได้มีโอกาสใกล้ชิดก้บคุณกาหลง หลังจากท่านเจ้าคุณเสียชีวิตทั้งสองตกลงใจจะอยู่ครองรักกันทำให้วิญญาณพิกุลโกรธมาก ปรากฎตัวออกมาทวงสัญญารักที่ยอดเคยให้กับตนเองไว้ ยอดเห็นใจในความรักและความเสียสละของพิกุลจึงจะยอมไปอยู่ด้วย ขณะที่พิกุลกำลังจะนำยอดไปหมอผีที่เดินทางมาปราบวิญญาณของพิกุลก็ได้ใช้ตะปูอาคมตอกที่ต้นตะเคียนทำให้วิญญาณของพิกุลสิ้นฤทธิ์เดช ก่อนที่วิญญาณจะสลายไปพิกุลได้ฝากให้คุณกาหลงดูแลยยอด ยอดและคุณกาหลงจึงได้ครองรักกัน

ศึกบางระจัน (2509)
ศึกบางระจัน (2509/1966) เรื่องราวของ ทับ ชายหนุ่มผู้อพยพชาวบ้าน รวมทั้งนิมนต์พระครูธรรมโชติมาอยู่ที่บางระจัน เพื่อเตรียมรับมือกับทัพพม่า เมื่อได้ข่าวว่าข้าศึกกำลังมาเยือนพร้อมด้วยปืนใหญ่ ทับจึงอาสาฝ่าอันตรายเดินทางไปขอปืนใหญ่ในวังหลวง อ้ายทับ แห่งบ้านคำหยาดหัวหน้ากลุ่มโจรที่คอยโจมตีทัพพม่า ต่อมาชาวบ้านคำหยาดไปรวมตัวกับชาวบ้านแห่งค่ายบางระจัน และอ้ายทับได้เป็นหัวหน้ากองทหารแห่งบ้านบางระจัน ชาวค่ายบางระจันสามารถรบโจมตีกับทัพพม่าได้แทบทุกครั้งด้วยความสามัคคีของคนในค่าย แต่ทว่าด้วยกำลังเพียงหยิบมือกับกองทัพขนาดใหญ่ที่หมายบุกไปโจมตีกรุงศรีอยุธยา ทำให้ชาวบ้านบางระจันถูกตีแตกพ่ายเหลือเพียงตำนานเล่าขานวีรกรรมแด่คนรุ่นหลัง
ลูกทาส (2507)
ลูกทาส (2507/1964) แก้ว (ไชยา สุริยัน) ทาสในเรือนของพระยาไชยากร (สมควร กระจ่างศาสตร์) เขาพยายามต่อสู้ดิ้นรนเพื่อจะพ้นสภาพการเป็นทาส ในยุคแห่งกระบวนการเลิกทาสในสมัยของพระปิยะมหาราช (รัชกาลที่ 5) ในราชวงศ์จักรีที่เริ่มมีการประกาศเลิกทาสและเกษียณอายุลุกทาสในแต่ละช่วงอายุ หากแต่นายเงินของแก้วนั้นไม่ยอมให้ความเป็นไทแก่บรรดาเหล่าทาสในครอบครอง แก้วจึงดิ้นรนและไข่วคว้าอิสรภาพที่เขาสมควรได้ ขณะเดียวกันก็ใฝ่หาความรู้ เพื่อการทำงานหลังจากเป็นไท เพื่อยกฐานะของตนเองขึ้นมาให้ทัดเทียมกับคุณน้ำทิพย์ (รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง) หญิงสาวสูงศักดิ์บุตรสาวของพระยาไชยากรที่เป็นแรงใจให้เขามาตลอด ในที่สุดด้วยความมุมานะอุตสาหะของแก้ว และความเสียสละของเจิม (พิศมัย วิไลศักดิ์) ทาสสาวที่หลงรักแก้วอยู่ แก้วพ้นจากความเป็นทาสและมีความเจริญในชีวิตได้เป็นผู้พิพากษาและได้สมรสกับคุณน้ำทิพย์สมความตั้งใจ
ปักธงไชย (2500)

ปักธงไชย (2500/1957) ภาพยนตร์ไทยอิงประวัติศาสตร์จากเหตุการณ์สงครามปราบฮ่อ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2428 เมื่อชาวจีนฮ่อหมู่หนึ่งก่อการกบฏต่อแผ่นดินไทย ล้อมค่ายของกองทัพไทยไว้ทัพหนึ่ง ทางการจึงต้องตั้งปฏิบัติการลับเพื่อส่งตัวร้อยตรีเต็ม นายทหารหนุ่มมากฝีมือกับจ่าโทน นายทหารอาวุโสของกองทัพและกำลังทหารผู้รักชาติยี่สิบสี่นายไปทำหน้าที่ในการจัดส่งยาและกระสุนปืนใหญ่ พร้อมด้วยความตั้งใจที่พวกเขาจะต่อสู้และนำธงชาติไปปักแสดงอธิปไตยไว้ที่ชายแดน แม้รู้ว่าภารกิจในครั้งนี้อาจจะทำให้พวกเขาไม่ได้กลับมา

ศรีปราชญ์ (2500)
ศรีปราชญ์ (2500/1957) ภาพยนตร์ชีวิต ยอดกรุงศรีอยุธยา สีวิจิตรตระการตา ยิ่งใหญ่ ฉากมโหฬาร บทรักประทับใจ
นเรศวรมหาราช (2500)
นเรศวรมหาราช (2500/1957) นเรศวรมหาราช เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 สร้างโดย อัศวินภาพยนตร์ โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ทรงกำกับการแสดง ภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงจากตำนานกู้เอกราชของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นภาพยนตร์สงครามอิงประวัติศาสตร์เรื่องยิ่งใหญ่อีกเรื่องที่อัศวินภาพยนตร์ตั้งใจสร้างฉลอง 25 ศตวรรษในปี 2500
สุรนารี (2500)
สุรนารี (2500/1957) มโหฬารที่สุดในรอบปี 2501 คือภาพยนตร์เสียง 35 มม. ที่ลงทุนสร้างอย่างมหาศาล เพื่อเกียรติประวัติของวีรสตรีที่คนไทยทั้งชาติจะลืมเสียมิได้
ศึกถลาง (2499)

ศึกถลาง (2499/1956) ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ไทย สีธรรมชาติ เรื่องของ พรานบูรพ์ พ.ศ. 2328 เจ้าปดุง กษัตริย์เมืองพม่าส่งญี่หวุ่นมาเป็นแม่กองยกทัพตีเมืองตะกั่วป่าตะกั่วทุ่ง จนกระทั่งถึงเมืองถลาง ขณะนั้นพระยาถลางเจ้าเมืองกำลังป่วยหนักใกล้ถึงอนิจกรรม คุณหญิงจันทร์ ภรรยาจึงชักชวน มุกด์ น้องสาวช่วยกันปกป้องเมืองถลางแต่ในเวลานั้นขุนยศ ทหารไทยคิดคดนำพวกไปสมคบพม่า เพราะทะเยอทะยานอยากครองเมืองถลาง และเสนอว่าจะปล้นเสบียงเพื่อขอแลกกับตำแหน่งเจ้าเมืองขุนยศใช้ให้เดี่ยวไปปล้นเสบียง เดี่ยว ใจซื่อ นำความไปบอกใย ใยกับแวว สาวเมืองถลางจึงสกัดแผนการของขุนยศ ขุนยศลงโทษเดี่ยวด้วยการให้ฉุดแววคนรักมาสังเวย ทำให้ทั้งสองโดนขัง ขุนยศซึ่งทำงานพลาดไปจึงขอโอกาสแก้ตัวกับแม่กองพม่าแต่ไม่ทันเสียแล้ว คุณหญิงจันทร์กับน้องสาวรวมกำลังชาวบ้านบุกฐานที่ตั้งทัพของพม่า ขุนยศถูกเดี่ยวฆ่าตายในกองเพลิง พระไชยเผาฐานทัพจนทหารพม่าถอยร่นหนีลงทะเล คุณหญิงจันทร์กับน้องสาวสามารถนำทัพสำเร็จจึงได้รับพระราชทานยศเป็น ท้าวเทพสตรีกับท้าวศรีสุนทร

เกียรติศักดิ์ทหารไทย (2498)
เกียรติศักดิ์ทหารไทย (2498/1955) ดู! ความรักระหว่าง เล่ห์ ริษยา พยาบาท การต่อสู้ เพื่อศักดิ์ลูกผู้ชาย เพื่อเกียรติทหาร เมื่อราชสมบัติของ องเชียงสือ ผู้ปกครองแผ่นดินญวนถูก ไกเซิน ก่อกบฏ องเชียงสือจึงต้องหนีมาพึ่งความช่วยเหลือจากทางแผ่นดินไทย กระนั้นองเชียงสือก็ได้ซ่องสุมกำลังของตนไว้ที่เกาะกูดหวังจะชิงบัลลังก์ของตนกลับคืนมา แต่ครั้นจะหนีไปเกาะกูดก็เกรงว่าฝั่งไทยจะหาว่าตนทรยศ องเชียงสือจึงลอบมอมสุราเพื่อลักพา หมู่จันทร์ นายทหารไทยกับสหายอีกสองคนไปยังเกาะกูด เพื่อเป็นพยานยืนยันว่าตนมิได้คิดคดทรยศ ครั้นหมู่จันทร์ฟื้นคืนสติก็ได้พูดคุยกับองเชียงสือ จนได้เข้าใจเหตุผล จึงตกลงจะอยู่ช่วยองเชียงสือกู้บัลลังก์ แต่ในระหว่างนั้นหมู่จันทร์ก็ได้พบรักกับ หยาเคืองหลานสาวขององเชียงสือ ในขณะที่ไกเซินซึ่งครองบัลลังก์ญวนอยู่ ก็สืบรู้ว่าองเชียงสือกำลังจัดทัพมาทวงราชสมบัติไกเซินจึงส่งสมุนไปฆ่าองเชียงสือ โดยวิธีแรกที่พวกมันทำคือลอบเข้าไปเป็นพวกเดียวกับองเชียงสือบนเกาะกูดและหาทางใส่ร้ายป้ายสีให้หมู่จันทร์กลายเป็นคนทรยศเพื่อหลีกทางให้พวกมันสังหารองเชียงสือได้โดยง่าย แต่ดีที่หยาเคืองมาช่วยให้หมู่จันทร์รอดจากการจับกุม หมู่จันทร์จึงกลับมาหมายจะฆ่าทั้งองเชียงสือที่หักหลังตนและเหล่าสมุนไกเซิน แต่ในระหว่างที่หมู่จันทร์จะลงมือสังหาร สมุนไกเซินก็กำลังจะปลุกปล้ำ หยาเคือง คนรักของหมู่จันทร์ หมู่จันทร์จึงต้องรามือไปช่วย ในจังหวะเดียวกับที่องเชียงสือก็กำลังจะถูกสมุนของไกเซินฆ่า แต่โชคดีที่พวกมันเกิดพลาดฆ่ากันเอง องเชียงสือจึงได้รู้ความจริงว่าหมู่จันทร์มิใช่คนทรยศ เรื่องจึงจบลงด้วยดี
Placeholder
เจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ (2497/1954) หลัง สมเด็จพระไชยราชาธิราช ยึดราชบัลลังก์ และให้สำเร็จโทษ พระรัษฎาธิราช ตามราช-ประเพณี รวมถึงสั่งประหารขุนนางทุจริตทุกคน และขึ้นครองราชสมบัติ แต่เพราะทรงออกรบปราบหัวเมืองอยู่เนืองๆ จึงได้แต่งตั้ง พระเฑียรราชา ขึ้นเป็นอุปราชว่าราชการอยู่ที่กรุงอโยธยาแทน กระนั้นพระมเหสีของพระไชยราชา คือ ท้าวศรีสุดาจันทร์ หญิงงามผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์อู่ทองเห็นทีว่าพระสวามีไม่อยู่จึงลักลอบมีความสัมพันธ์กับ ขุนชินราช และสมคบคิดลอบวางยาพิษปลงพระชนม์พระไชยราชา นำบัลลังก์คืนสู่ราชวงศ์อู่ทอง และสถาปนาขุนชินราชขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า ขุนวรวงศาธิราช นับตั้งแต่สิ้นรัชกาลพระไชยราชา พระเฑียรราชาจึงทรงผนวชเพื่อเลี่ยงภัยจากชู้รักทั้งสอง กระทั่งขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หานอกราชการ และ หลวงศรียศ คิดกอบกู้ราชบัลลังก์จึงร่วมมือกันปลงพระชนม์ขุนวรวงศาฯ และท้าวศรีสุดาจันทร์ เสียบหัวประจานไว้ที่วัดแร้ง และทูลขอให้พระเฑียรราชาขึ้นครองบัลลังก์
ทาษวังหลัง (2496)
ทาษวังหลัง (2496/1953) ยอดเยี่ยมนิยายอิงประวัติศาสตร์ ท้าสู้ "พญากง พญาพาน" และ "ยอดนักเบ่ง" (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 2 เมษายน พ.ศ. 2496)
ทหารเอกพระบัณฑูร (2496)
ทหารเอกพระบัณฑูร (2496/1953) ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ พระมหาอุปราช ถูก จมื่นศรีสรลักษณ์ กับ เจ้าสามกรม ใส่ความว่าลอบคบชู้กับ เจ้าฟ้านิ่ม พระสนมเอกของพระราชบิดา จนต้องโทษประหารชีวิต มิหนำซ้ำยังสั่งให้ ขุนจิตร์สุนทร กับขุนฤทธิ์ภักดี ควบคุมตัว องค์หญิง พระขนิษฐาของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ไปคุมขัง แต่ หลวงกลาโหม ราชองครักษ์เอกผู้คุมหมู่ทหารพระบัณฑูรของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์มาขัดขวางและฆ่าขุนฤทธิ์ฯ เสียชีวิต หลวงกลาโหมพาเจ้าหญิงไปประทับที่ตำหนักของเจ้าฟ้าอุทุมพร เสด็จฯอาขององค์หญิง ก่อนจะหนีไปหลบซ่อนตัว หลังจากนั้นไม่นาน สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้าอุทุมพรซึ่งตามประเพณีต้องขึ้นครองราชย์ ได้ถวายให้เจ้าฟ้าเอกทัศน์ขึ้นครองราชย์แทนพระองค์ที่ประสงค์จะทรงผนวช แต่สมเด็จพระเอกทัศน์ทรงลุ่มหลงในความมัวเมา ขุนนางที่มักใหญ่ใฝ่สูงจึงคิดคดถึงขนาดเหิมเกริมจะโค่นราชบัลลังก์ ร้อนถึงกรมหมื่นเทพพิพิธและขุนนางที่จงรักภักดีต้องร่วมมือกันวางแผนให้เจ้าฟ้าอุทุมพรกลับมาขึ้นครองราชย์ตามเดิม แต่แผนการรั่วไหลทำให้กรมหมื่นฯ และพรรคพวกรวมทั้งหลวงกลาโหมถูกจับกุม ระยะนั้นเอง ฝ่ายพม่าได้ยกกองทัพเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยา เหล่านักโทษถูกเกณฑ์ออกมาสู้ศึกกับพม่ารวมทั้งหลวงกลาโหมได้เข้าร่วมในศึกครั้งนี้ด้วย ฝ่ายพม่าตีร่นมาถึงพระนคร หลวงกลาโหมจึงรีบไปช่วยองค์หญิงอย่างไม่ห่วงชีวิต องค์หญิงทรงซาบซึ้งพระทัยที่หลวงกลาโหมช่วยชีวิตพระองค์ไว้ถึงสองครา จึงทรงสละฐานันดรศักดิ์เพื่อครองรักกับหลวงกลาโหม
พญากง-พญาพาน (2496/1953) ดัดแปลงจากตำนานพื้นบ้านว่าด้วยเรื่องของ พญากง ซึ่งมีพระมเหสีพระนามว่า พระนางสุมาลี คืนหนึ่งพระนางสุมาลีทรงฝันร้าย โหรทำนายความฝันของพระนางสุมาลีว่าจะได้พระโอรส แต่ในภายภาคหน้าพระโอรสจะกระทำปิตุฆาต วันเวลาผ่านไปพระนางสุมาลีทรงประสูติพระโอรสตามคำทำนายของโหร พญากงนึกหวั่นจึงรับสั่งให้นำพระโอรสใส่หม้อแล้วไปลอยในแม่น้ำ พระนางสุมาลีทูลวิงวอนขอเห็นหน้าพระโอรสเป็นครั้งสุดท้าย แต่เมื่ออุ้มพระโอรสขึ้นมา พระโอรสเกิดดิ้นไปถูกขอบพานทำให้เลือดไหล ด้วยความรักและอาลัยของผู้เป็นแม่ พระนางสุมาลีจึงผูกธำมรงค์ติดข้อมือพระโอรสไว้ แล้วปล่อยหม้อที่บรรจุพระโอรสล่องลอยจากนครปาวายไปตามกระแสธารา เคราะห์ดีที่หม้อลอยไปถึงหมู่บ้านท่าเกวียน ยายหอม ผู้มั่งคั่งมาพบหม้อที่ใส่พระโอรสไว้จึงเก็บพระโอรสมาเลี้ยงดู เมื่อพินิจใบหน้าเด็กน้อยมีรอยแผลเป็นรูปร่างคล้ายพาน จึงตั้งชื่อให้ว่า "พาน" ยายหอมทะนุถนอมพานจนเติบใหญ่จึงส่งให้ไปร่ำเรียนวิชากับ อาจารย์เถียร ด้วยความที่มีสายเลือดของกษัตริย์ พานจึงเชี่ยวชาญในทางอาวุธ และแอบรวบรวมกองกำลัง คิดการใหญ่หมายจะโจมตีนครปาวาย ฝ่ายพญากง เมื่อทหารรายงานว่าบัดนี้มีกองโจรกำลังซ่องสุมตามแนวชายแดน จึงจัดทหารไปปราบปรามแต่ได้รับความพ่ายแพ้กลับมา พานเหิมเกริมตั้งตนเป็น "พญาพาน" และให้ หาญ คนสนิทนำสาสน์ท้าชนช้างไปส่งให้พญากง ผลปรากฏว่าพญากงถูกฟันด้วยของ้าวขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์ในสนามรบ พญาพานยึดนครปาวายทันที มิหนำซ้ำยังคิดจะเอาพระนางสุมาลีเป็นพระมเหสี วิญญาณของพญากงจึงจำแลงเป็นแมวและบอกความจริงกับพญาพาน พญาพานสำนึกผิดจึงได้สร้างเจดีย์เพื่อล้างบาปที่ตนได้กระทำปิตุฆาต