ค่ายบางระจัน (2508)
ค่ายบางระจัน (2508/1965) พ.ศ. 2308 พม่ายกทัพเข้ามารุกรานไทยหลายหมู่บ้าน พล และ แสน สองหนุ่มบ้านวิเศษไชยชาญจึงขี่ม้ามาส่งข่าวกำนันบ้านศรีบัวทอง ถึงแผนการของ ทิดดอก บ้านกลับ และ ทองแก้ว บ้านโพธิ์ทะเล ซึ่งเข้าไปคลุกคลีกับพวกพม่าเพื่อจะปล้นทรัพย์ แผนการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หากแต่กำนันบ้านศรีบัวทองเสียชีวิตในเหตุการณ์ สร้างความเศร้าสลดต่อชาวบ้านยิ่งนัก เมื่อขาดผู้นำ แท่น ซึ่งมีฝีมือในการรบดี จึงเสนอให้เดินทางไปสมทบที่ค่ายบางระจัน ชาวบ้านศรีบัวทองจึงแต่งตั้งแท่นเป็นแม่ทัพ ขณะนั้น เนเมียวสีหบดี แม่ทัพฝีมือเก่งกล้าฝ่ายพม่า มาตีค่ายบางระจันหลายต่อหลายครั้งก็ไม่สามารถเอาชนะได้ จึงเริ่มร้อนใจกลัวชาวบ้านค่ายบางระจันจะรวมกำลังคนได้มากขึ้น สุกี้ นายกองของพม่า ซึ่งเคยอาศัยอยู่เมืองไทยมานานอาสาเป็นผู้คุมทัพมาตีค่ายบางระจัน แท่นยังบาดเจ็บสาหัสจากการรบครั้งก่อน นายจัน หนวดเขี้ยว ขุนสรรค์ พันเรือง และคนอื่นๆ หารือตกลงกันว่าจะให้พลขี่ม้าไปขอปืนใหญ่จากกรุงศรีอยุธยาแต่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไม่เห็นด้วย มีเพียงพระยารัตนาฯ ที่เห็นใจชาวบ้านบางระจัน จึงตามพลมาช่วยสอนวิธีการหล่อปืนใหญ่แต่ไม่สำเร็จ สุกี้ยกทัพโจมตีค่ายบางระจันและสามารถทำลายประตูค่ายได้ ชาวบ้านทั้งชายและหญิงพร้อมใจกันเข้าต่อสู้ แต่หมดกำลังจะต้านทานจึงพ่ายแพ้พม่าไปในที่สุด
ใจเพชร (2506)
ใจเพชร (2506/1963) ไหมแก้ว (พิศมัย วิไลศักดิ์) สาวเหนือที่รักกับแฟนหนุ่มซึ่งเป็นทหาร (ชนะ ศรีอุบล) โดยภารกิจของเขาคือต้องปราบปรามผู้ก่อการร้ายบนดอย ซึ่งเขาได้ออกรบขณะที่ภรรยาตั้งท้อง กระทั่งคลอดลูกชาย (มิตร ชัยบัญชา) ซึ่งต้องถูกเพื่อนล้อว่าเป็นลูกไม่มีพ่อ กระทั่งมาพบกับนางเอก (เพชรา เชาวราษฎร์) ซึ่งเป็นลูกคนมีฐานะในหมู่บ้าน โดยผู้ใหญ่ทางฝั่งนางเอกค้าขายลับๆอยู่กับฝ่ายก่อการร้าย ต่อมาทางผู้ร้ายได้ส่งคนมาจับแม่และคนรักของพระเอกไปเป็นตัวประกัน ทั้งสองพ่อลูกจึงมาเจอและได้ร่วมภารกิจไปช่วยคนรักด้วยกันจนกลับมาปลอดภัย
พระเจ้าอชาตศัตรูกับพิมพิสารมหาราช (2504)
พระเจ้าอชาตศัตรูกับพิมพิสารมหาราช (2504/1961) ข้อความบนใบปิด ภูมิใจเสนอภาพยนตร์ไทย เรื่องยอดเยี่ยม รบ อิงประวัติศาสตร์ รัก สะเทือนอารมณ์ ระบำยั่วเสน่ห์อันเย้ายวนใจ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง พบ ประจวบ ฤก์ยามดี ใน พระเจ้าอชาตศัตรูกับพิมพิสารมหาราช ร่วมด้วย สมควร กระจ่างศาสตร์, สมจิตร ทรัพย์สำรวย, เชาว์ แคล่วคล่อง, สมพล กงสุวรรณ, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, ล้อต๊อก, กมลพันธ์ สันติธาดา, ประไพ คำเรียบร้อย รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อำนวยการสร้าง เสนาะ แย้มกสิกร ถ่ายภาพ น้อย กมลวาทิน กำกับการแสดง โอฬารด้วยฉากฝีมือของ อุไร ศิริสมบัติ ยวนยั่วเย้าเสน่ห์ด้วยศิลป ตื่นเต้นด้วยอิทธิฤทธิ์ มหัศจรรย์ ด้วยปาฏิหาริย์ แฝงไว้ด้วย ชีวิตสะเทือนใจ และส่งเสริมพุทธศาสนา รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง นำคณะกมลศิลป พากย์
สามพราน (2503)
สามพราน (2503/1960) ข้อความบนใบปิด กองแพทย์ กรมตำรวจ นรต.อุทัย ชาญชวัท ร.ต.ต.นิทัศน์ เศวตนันทน์ ทักษิณ แจ่มผล อุษา อัจฉรานิมิต สามพราน จากบทประพันธ์ของ...อำนวย กลัสนิมิ อ.อรรถจินดา สร้างบทภาพยนตร์ สมควร กระจ่างศาสตร์, ทัต เอกทัต, สมพล กงสุวรรณ, จำรูญ หนวดจิ๋ม ขอแนะนำ มัทนา อลงศกรณ์ สุมาลี เนียวกุล เก็บเงินรายได้บำรุงโรงพยาบาลตำรวจ
เลือดทาแผ่นดิน (2502)
เลือดทาแผ่นดิน (2502/1959) สถานการณ์ชายแดนตรึงเครียด ไอพ่นถูกระเบิดแหลกละเอียด พฤติการณ์ของสิบทหารหาญ ทะยานสู้เลือดสาด เพื่อชาติ เพื่อเอกราชให้ยืนอยู่
บุกแหลก (2501)
บุกแหลก (2501/1958) ข้อความบนใบปิด อมรา อัศวนนท์ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี นำขบวน 10 ตุ๊กตาทอง บุกแหลก พร้อมด้วยยอดดาราที่คุณพอใจ สมจิตร ทรัพย์สำรวย, ล้อต๊อกน้อย, พันคำ, สมควร กระจ่างศาสตร์, ดอกดิน กัญญามาลย์, ชูศรี โรจนประดิษฐ์, ทานทัต วิภาตะโยธิน, ประไพ คำเรียบร้อย, น้ำเงิน บุญหนัก, มีศักดิ์ นาครัตน์ เนรมิต กำกับการแสดง (ที่มา :Thai Movie Posters)
ปักธงไชย (2500)

ปักธงไชย (2500/1957) ภาพยนตร์ไทยอิงประวัติศาสตร์จากเหตุการณ์สงครามปราบฮ่อ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2428 เมื่อชาวจีนฮ่อหมู่หนึ่งก่อการกบฏต่อแผ่นดินไทย ล้อมค่ายของกองทัพไทยไว้ทัพหนึ่ง ทางการจึงต้องตั้งปฏิบัติการลับเพื่อส่งตัวร้อยตรีเต็ม นายทหารหนุ่มมากฝีมือกับจ่าโทน นายทหารอาวุโสของกองทัพและกำลังทหารผู้รักชาติยี่สิบสี่นายไปทำหน้าที่ในการจัดส่งยาและกระสุนปืนใหญ่ พร้อมด้วยความตั้งใจที่พวกเขาจะต่อสู้และนำธงชาติไปปักแสดงอธิปไตยไว้ที่ชายแดน แม้รู้ว่าภารกิจในครั้งนี้อาจจะทำให้พวกเขาไม่ได้กลับมา

นเรศวรมหาราช (2500)
นเรศวรมหาราช (2500/1957) นเรศวรมหาราช เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 สร้างโดย อัศวินภาพยนตร์ โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ทรงกำกับการแสดง ภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงจากตำนานกู้เอกราชของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นภาพยนตร์สงครามอิงประวัติศาสตร์เรื่องยิ่งใหญ่อีกเรื่องที่อัศวินภาพยนตร์ตั้งใจสร้างฉลอง 25 ศตวรรษในปี 2500
สุรนารี (2500)
สุรนารี (2500/1957) มโหฬารที่สุดในรอบปี 2501 คือภาพยนตร์เสียง 35 มม. ที่ลงทุนสร้างอย่างมหาศาล เพื่อเกียรติประวัติของวีรสตรีที่คนไทยทั้งชาติจะลืมเสียมิได้
แผ่นดินว่างกษัตริย์ (2499)
แผ่นดินว่างกษัตริย์ (2499/1956) หลังเสียกรุงครั้งที่สอง พระเจ้าตากผู้นำการกอบกู้เอกราช ได้สั่งให้ ขุนพิชิตจตุรงค์ นายทหารฝีมือดีชาวบ้านแหลม ไปทำการขนส่งทรัพย์เสบียงมาจากบ้านแหลม แม้ว่าพระองค์จะรู้ว่าทหารพม่านั้นอยู่รายล้อม การออกไปทำหน้าที่ของขุนพิชิตจึงทำให้เขาตกอยู่ในอันตราย ครั้นไปถึงบ้านแหลม ขุนพิชิตก็รวบรวมไพร่พลออกวางอุบายเพื่อจะขนถ่ายทรัพย์เสบียงไปให้ถึงทัพพระเจ้าตาก แต่ทว่าระหว่างทางลักลอบขุนพิชิตกลับถูกหักหลัง จนเกิดการต่อสู้ เป็นเหตุให้ขุนพิชิตต้องตายในสนามรบ ฝากไว้ซึ่งความความเสียสละต่อชาติบ้านเมืองที่น่ายกย่อง
เลือดนาวี (2499)
เลือดนาวี (2499/1956) มานะ และ อุสาหะ เป็นเพื่อนรักกันตั้งแต่สมัยเด็ก ทั้งสองไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายเรือ เมื่อเรียนจบมานะและอุสาหะได้รับคำสั่งให้ไปประจำการที่กองพันนาวิกโยธิน สัตหีบ วันหนึ่ง คณะคุรุสภาได้จัดทัศนาจรที่สัตหีบโดยมีเพียงจันทร์ ลูกสาวผู้บังคับบัญชากรมนาวิกโยธินเป็นผู้นำ มานะและอุสาหะจำได้ว่าเพียงจันทร์คือเพื่อนสมัยเด็ก ซึ่งในอดีตทั้งสองเคยช่วยเพียงจันทร์ขณะถูกประวิทย์รังแก มานะอาสาพาเพียงจันทร์ไปเที่ยว โดยมีอุสาหะและ วิภา ผู้ช่วยเพียงจันทร์ร่วมด้วย เพียงจันทร์เริ่มรู้สึกถึงความรักที่ทั้งสองมีให้แต่ยังคงรักษาระยะห่างไว้ ในการฝึกของหน่วยคอมมานโด พ.จ.อ.ประวิทย์ซึ่งอยู่กองพันเดียวกันหาเรื่องมานะกับอุสาหะ เพราะแค้นเรื่องในอดีต ทำให้มานะได้รับบาดเจ็บ ขณะนั้นศัตรูรุกรานชายทะเลไทย กองพันนาวิกโยธินได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือประเทศชาติ เพียงจันทร์ก็สมัครเป็นหน่วยอาสากาชาด มานะและอุสาหะได้รับบาดเจ็บขณะนำทัพ แต่เพียงจันทร์คอยดูแลมานะคนเดียว ทำให้อุสาหะน้อยใจกลับไปสมรภูมิรบอีกครั้งและเสียชีวิตในเวลาต่อมา วิภาซึ่งแอบรักอุสาหะอยู่ฝ่ายเดียวได้แต่เสียใจในการจากไปของอุสาหะ
สองดาบ (2499)
สองดาบ (2499/1956) ราว พ.ศ. 1500 หลังจากเจ้าเมืองอ้ายพญาของไทยเสียชีวิตลง บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ข้อยน้อย ราชโอรสองค์เล็กหนีไปอยู่ป่า ปล่อยให้ ข้อยอ้าย พระเชษฐาซึ่งอ่อนแอปกครองบ้านเมือง ทำให้ท้าวพยากและแสนพญา ทหารใจคดคบคิดกันทรยศ โดยให้อ่อนส่วย พระสนมเอกปั่นหัวข้อยอ้าย คอยยุยงให้ข้อยอ้ายคุมทหารออกปล้นหัวเมืองใหญ่น้อยต่างๆ ขณะนั้นเอง พระเจ้าเง่กโกวโจว แห่งเมืองเง่กลั้ง เมืองหน้าด่านของจีน ต้องการเชื่อมสัมพันธไมตรีกับเมืองอ้ายพญา จึงให้ เซอวเชอว มหาเสนาบดีนำตัวเจ้าหญิงเง่กลั้งไปอภิเษกสมรสกับเจ้าชายเมืองอ้ายพญาระหว่างทางขบวนถูกปล้นจากกองโจร เจ้าหญิงเง่กลั้งจึงสลับตัวกับ กิมสี สาวใช้อำพรางตัว ข้อยน้อยซึ่งเห็นเหตุการณ์รีบเข้าไปช่วยและตามมาคุ้มครอง เมื่อมาถึงท้องพระโรงอ้ายพญา ข้อยน้อยก็โจมตีท้าวพยากทันที แต่ไม่สามารถเอาชนะได้จึงรีบหลบหนีไปพร้อมเง่กลั้ง ท้าวพยากจับตัวกิมสีเพราะเข้าใจว่าเป็นราชธิดา เมื่อความแตกก็ร่วมมือกับแสนพญาและอ่อนส่วยบุกเข้าจับเง่กลั้ง ข้อยอ้ายจะยกทัพคนป่าของข้อยน้อยเข้าโจมตีท้าวพยาก แสนพญาหลอกล่อเซอวเชอวให้ร่วมมือกันโดยสัญญาว่าจะมอบเจ้าหญิงเง่กลั้งเป็นของเซอวเซอวข้างฝ่ายอ่อนส่วยพยายามปั่นหัวให้ข้อยน้อยทรยศพี่ชายแต่ข้อยน้อยไม่หลงกล ข้อยอ้ายกับข้อยน้อยจึงร่วมดาบต่อสู้ศัตรูอย่างไม่ลดละเพื่อปกป้องเมืองอ้ายพญา
สามเกลอหักด่าน (2499)
สามเกลอหักด่าน (2499/1956) เรื่องราวความโกลาหลของ สมพงษ์ คนกวาดถนนที่ถึงคราวต้องไปรับใช้ชาติ สมพงษ์สังกัดอยู่ในกรมกองเดียวกับ ล้อต๊อก และ หมู่จุมพล อริเก่า และเพิ่งจะรู้ว่า ซูหยิน หญิงสาวที่เขาหลงรักเป็นน้องสาวของล้อต๊อก ส่วน สารภี คนรักของล้อต๊อกก็บังเอิญเป็นน้องสาวของสมพงษ์ ทั้งสามเกลอจึงลืมเรื่องบาดหมางในอดีตและปรองดองกัน ขณะนั้น ศัตรูประกาศรุกรานประเทศไทยทหารสามเกลอถูกส่งตัวไปทำหน้าที่พลลาดตระเวนสอดแนมข้าศึก ภายใต้ความรับผิดชอบของ ร.ต.อธึกระหว่างนั้น พลประสาน ปัทมเวณูได้หายตัวไป ทุกคนจึงออกตามหา สามเกลอซึ่งกำลังลอบเข้าไปค่ายข้าศึก แอบได้ยินแผนการโจมตีประเทศไทย และได้เห็นพลประสานกำลังถูกข้าศึกทรมานเสียชีวิต สามเกลอใช้ความพยายามขโมยแผนการโจมตีลับได้สำเร็จ ล้อต๊อกกลับไปแจ้งข่าวกับผู้บัญชาการ กองทัพไทยจึงยกทัพเข้าโจมตีจนเกิดการรบขึ้น ล้อต๊อกตรึงกำลังอยู่และได้เห็นว่าข้าศึกมีกำลังเยอะกว่า จึงยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อมายับยั้งการบุกโจมตีของกองทัพไทย เมื่อรวบรวมกำลังคนได้เท่าเทียมกับข้าศึก กองทัพไทยจึงเข้าต่อสู้อีกครั้ง พลทหารสมพงษ์ได้เสียสละชีวิตกระโดดเข้ารับลูกระเบิดเพื่อไม่ให้ผู้อื่นเป็นอันตราย ประเทศไทยจึงรอดพ้นจากการรุกรานของข้าศึกมาได้
ศึกถลาง (2499)

ศึกถลาง (2499/1956) ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ไทย สีธรรมชาติ เรื่องของ พรานบูรพ์ พ.ศ. 2328 เจ้าปดุง กษัตริย์เมืองพม่าส่งญี่หวุ่นมาเป็นแม่กองยกทัพตีเมืองตะกั่วป่าตะกั่วทุ่ง จนกระทั่งถึงเมืองถลาง ขณะนั้นพระยาถลางเจ้าเมืองกำลังป่วยหนักใกล้ถึงอนิจกรรม คุณหญิงจันทร์ ภรรยาจึงชักชวน มุกด์ น้องสาวช่วยกันปกป้องเมืองถลางแต่ในเวลานั้นขุนยศ ทหารไทยคิดคดนำพวกไปสมคบพม่า เพราะทะเยอทะยานอยากครองเมืองถลาง และเสนอว่าจะปล้นเสบียงเพื่อขอแลกกับตำแหน่งเจ้าเมืองขุนยศใช้ให้เดี่ยวไปปล้นเสบียง เดี่ยว ใจซื่อ นำความไปบอกใย ใยกับแวว สาวเมืองถลางจึงสกัดแผนการของขุนยศ ขุนยศลงโทษเดี่ยวด้วยการให้ฉุดแววคนรักมาสังเวย ทำให้ทั้งสองโดนขัง ขุนยศซึ่งทำงานพลาดไปจึงขอโอกาสแก้ตัวกับแม่กองพม่าแต่ไม่ทันเสียแล้ว คุณหญิงจันทร์กับน้องสาวรวมกำลังชาวบ้านบุกฐานที่ตั้งทัพของพม่า ขุนยศถูกเดี่ยวฆ่าตายในกองเพลิง พระไชยเผาฐานทัพจนทหารพม่าถอยร่นหนีลงทะเล คุณหญิงจันทร์กับน้องสาวสามารถนำทัพสำเร็จจึงได้รับพระราชทานยศเป็น ท้าวเทพสตรีกับท้าวศรีสุนทร

สุดฟากฟ้า (2499)
สุดฟากฟ้า (2499/1956) เพราะอุบัติเหตุเครื่องบินตกในสงครามทำให้ รุ่งทิวา แอร์โฮสเตส แฟนสาวของ ระวินทร์ นายทหารหนุ่ม หายไปอย่างไม่ทราบข่าวคราว ระวินทร์จึงเข้าใจผิดคิดว่ารุ่งทิวาเสียชีวิตแล้ว ครั้นเมื่อเดินทางไปสงครามที่เกาหลีเขาจึงพบรักกับ ซิหลิน สาวเกาหลี จึงพาเธอกลับมาหมายจะแต่งงาน ทว่าระวินทร์ต้องพบกับความจริงว่ารุ่งทิวายังไม่ตาย แต่เพราะรุ่งทิวานั้นรักระวินทร์จึงยอมเสียสละระวินทร์ให้ได้แต่งงานกับซิหลิน เขาจึงต้องจำยอม เมื่อถึงวันแต่งงาน ซิหลินกลับรู้สึกว่าเธอคงจะเข้ากับขนบธรรมเนียมไทยไม่ได้จึงจำใจจาก ให้ระวินทร์ได้ครองรักกับรุ่งทิวาตามเดิม
สี่สิงห์นาวี (2498)
สี่สิงห์นาวี (2498/1955) รบ! รัก! ชีวิต เสียสละ (ที่มา: นิตยสารตุ๊กตาทอง ธันวาคม พ.ศ. 2498)