น้ำพุ (2527)

เรื่องย่อ : น้ำพุ (2527/1984) น้ำพุเป็นเด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่มีปัญหา พ่อกับแม่แยกทางกัน และเขาก็ได้ค้นหาสิ่งใหม่ๆให้ชีวิตทั้งดีและไม่ดี แล้วน้ำพุ ก็เลือกทางผิด ยิ่งเมื่อแม่มีสามีคนใหม่ จึงเป็นตัวเร่งให้เขาเริ่มแตกแยกจากครอบครัว บวกกับการที่เขาเลือกคบเพื่อนที่เสพยา จนติดยาหนัก แก้วเพื่อนสนิทของน้ำพุรู้เข้า ก็เสียใจมาก จึงตัดสินใจบอกแม่และครอบครัว แม่พาน้ำพุไปเลิกยาที่วัดถ้ำกระบอกกับเพื่อน แต่เมื่อเขากลับมาบ้าน เขากลับไม่ได้รับการต้อนรับอย่างดีเท่าที่เขาคาดหวัง จึงเกิดความรู้สึกน้อยใจตามประสาวัยรุ่น หันกลับไปหายาเสพติดอีกครั้ง และครั้งนี้มันก็เอาชีวิตของน้ำพุไป

เสือใบ (2527)

เรื่องย่อ : เสือใบ (2527/1984) จากเรื่องจริงของจอมโจรเสือใบ ที่เป็นข่าวจาก น.ส.พ.ไทยรัฐมาแล้ว

ภาพยนตร์ดัดแปลงจากชีวิตของ เสือใบ โจรที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งในช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 โดยเล่าเรื่องราวของ นายใบ ผู้เคยมีชีวิตเรียบง่าย แต่กลับถูกข่มเหงจาก กำนันเยี่ยม และลูกชายจอมกร่างอยู่ร่ำไป วันหนึ่ง ใบเกิดพลาดยิงลูกชายกำนันจนตาย เขาจึงหลบหนีเข้าป่าจับพลัดจับผลูเป็นพวกกับเสือฝ้าย และได้สมญาใหม่ว่า เสือใบ ขณะเดียวกัน กำนันเยี่ยมก็ได้อ้างสมญานี้เพื่อออกปล้นฆ่าชาวบ้าน

นายใบมีชีวิตเรียบง่ายตกปลาทำนาในสุพรรณบุรี แต่กลับโดนกำนันเยี่ยมและนายยิ่งลูกชายจอมกร่าง ข่มเหงร่ำไป วันหนึ่งเพื่อปกป้องเพื่อนรัก ใบพลาดยิงตอบโต้นายยิ่งจนตาย จากนั้นใบจึงหลบหนีเข้าป่าจับพลัดพลูเป็นพวกกับเสือฝ้าย ได้สมญาใหม่ว่าเสือใบ ขณะที่กำนันเยี่ยมอ้างชื่อเสือใบออกปล้นฆ่าชาวบ้าน สุดท้ายชื่อเสือใบก็เป็นที่ต้องการตัวของตำรวจ ถึงกับยกกำลังล้อมจับในถ้ำที่กบดานพร้อมๆ กับพวกกำนันยิ่งที่รอปิดบัญชีแค้นโดยจับแม่ของเสือใบเป็นตัวประกัน

คาดเชือก (2527)

เรื่องย่อ : คาดเชือก (2527/1984) เรื่องราวของหมู่บ้านแห่งหนึ่งในอำเภอโพธิ์ทอง ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ถูกคุกคามด้วยอิทธิพลมืดของ นายทองคำ จนกระทั่งวันหนึ่ง บุญสม อดีตนักมวยคาดเชือกกลับมารับหน้าที่เป็นปลัดอำเภอคนใหม่ หลังติดคุกถึง 10 ปีจากคดีฆ่าคนตาย เมื่อเขามาเห็นความเลวร้ายที่เกิดขึ้นกับชาวบ้าน บุญสมจึงตั้งตนเป็นศัตรูเพื่อหมายกวาดล้างอิทธิพลของเจ้าพ่อผู้นี้

เมื่อบุญสม (สรพงษ์ ชาตรี) นักเลงเก่าและเป็นนักมวยคาดเชือก ที่เคยชกคนจนตายออกจากคุกก็กลับมา เป็นปลัดที่บ้านเกิดตัวเองแต่ไม่ได้รับการยอมรับจากชาวบ้านเพราะเขาเคยทำไม่ดีไว้เยอะ แต่การกลับมาครั้งนี้เขาพยายามทำทุกอย่าง เพื่อความสงบสุขของคนในหมู่บ้านพยายามปราบปรามยาเสพติด โดยมีปลัดธนู (นิรุตต์ ศิริจรรยา) คอยให้ความช่วยเหลือ จนได้รับการยอมรับจากชาวบ้านและตำรวจที่เคยดูถูกปลัดบุญสมไว้

มหาราชดำ (2524)

เรื่องย่อ : มหาราชดำ (2524/1981) ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากตำนานกู้เอกราชของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยเพิ่มตัวละครสมมุติเข้าไปเป็นกลุ่มทหาร 9 นาย นำโดยหลวงหาญและขุนพยัคฆ์ ซึ่งตีฝ่าวงล้อมทัพพม่าหนีมาอยู่อรัญญิก หลังเสียกรุงครั้งแรก ทั้งหมดต้องเผชิญหน้ากับการรังควานจากทัพพม่า รวมทั้ง ขุนเดือด คนไทยผู้แปรพักตร์ซึ่งสร้างรอยแค้นแก่หลวงหาญเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องราวที่ดัดแปลงจากตำนานกู้เอกราชของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยเพิ่มตัวละครสมมุติเข้าไปเป็นกลุ่มทหาร 9 นาย นำโดยหลวงหาญและขุนพยัคฆ์ ซึ่งตีฝ่าวงล้อมทัพพม่าหนีมาอยู่อรัญญิกหลังเสียกรุงครั้งแรกฯ ทั้งหมดยังต้องเผชิญการรังควานจากทัพพม่า และขุนเดือดคนไทยแปรพักต์ซึ่งสร้างรอยแค้นแก่หลวงหาญอย่างมาก จนในวันที่หลวงหาญชำระแค้นขุนเดือดสำเร็จ ทั้งหมดก็เดินทางไปร่วมทัพกับ ‘มหาราชดำ’ เพื่อร่วมรบในศึกกู้กรุงศรีฯ จากพม่า

บุญเพ็งหีบเหล็ก (2523)

เรื่องย่อ : บุญเพ็งหีบเหล็ก (2523/1980) เรื่องจริงที่ลือลั่นกว่าครึ่งศตวรรษล่วงแล้ว มาเป็นภาพยนตร์มายาศาสตร์ฆาตกรรมสยอง!

เรื่องราวของ "บุญเพ็ง" อดีตพระภิกษุที่จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองนนทบุรี ด้วยเก่งกล้าในวิชาคาถาอาคมบุญเพ็งจึงมีลูกศิษย์มากมาย โดยเฉพาะลูกศิษย์ที่เป็นผู้หญิงร่ำรวย บุญเพ็งใช้วิชาคาถาอาคมทำพิธีเมตตามหานิยมให้กับหญิงสาวที่หลงเชื่อ และหลอกล่อเอาเงินและมีเพศสัมพันธ์กับหญิงสาวเหล่านั้น จนกระทั่งความโลภมากบังตาทำให้เขาฆาตกรรมเศรษฐินีถึงเจ็ดคน และนำศพยัดใส่หีบเหล็กแล้วถ่วงน้ำทุกครั้ง ผู้คนจึงเรียกเขาว่า "บุญเพ็งหีบเหล็ก"

เหนือนักเลง (2523)
เหนือนักเลง (2523/1980) เรื่องราวของกำนันเป๊าะสมัยเป็นผู้ใหญ่บ้านที่ได้ร่วมมือกับสารวัตรอวยพร (สมบัติ) ซึ่งมาสืบคดีการปล้น รถขนเงินเข้าขัดขวางการค้าอาวุธสงครามของ กอบกุล (ดามพ์) เศรษฐีเงินกู้และ เสี่ยพิพัฒน์ (บู๊) เศรษฐีจากกรุงเทพจนทำให้ เกิดการต่อสู้กันขึ้น
ผ้าขะม้าแดง (2523)
ผ้าขะม้าแดง (2523/1980) ข้อความบนใบปิด วีโปรดัคชั่น เสนอ ชีวประวัติอมตะของนายพลนักรัก ในยุคเผด็จการที่ท่านไม่เคยลืม ผ้าขะม้าแดง สมบัติ เมทะนี วิยะดา อุมารินทร์ มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช ศิริพงษ์ อิศรางกูร และนางเอกใหม่ สลิตตา กระแสนิธิ พิภพ ภู่ภิญโญ, ปรียา รุ่งเรือง, บังเละ, จันทรา นภาพร จตุจักร กำกับการแสดง กวีพันธ์ อุ๊ ผู้ช่วยผู้กำกับ วาสุเทพ โอศิริ บทประพันธ์ ตุ๋ย สันติ ถ่ายภาพ วัลลภ เผือกจิตต์ ที่ปรึกษา วิภาวดี ตรียะกุล อำนวยการสร้าง เจตน์ จริยา ธุรกิจ พี.78 จัดจำหน่าย
หมอเมืองพร้าว (2522)
หมอเมืองพร้าว (2522/1979) ข้อความบนใบปิด วรพินภาพยนตร์ โดย วรพิน รัตนาพรรณ เสนอ หมอเมืองพร้าว จากชีวิตจริงของ...น.พ.อภิเชษฐ์ นาคเลขา เรื่องของหมอ ผู้มีอุดมการณ์สูงส่ง ยอมละทิ้งชื่อเสียง ฐานะ ความร่ำรวย ก้าวตามเสียงเรียกของมนุษยธรรม สู่ดินแดนแร้นแค้นที่ความศิวิไลซ์หันหลังให้ ขอแนะนำพระเอกบัณฑิตนิติศาสตร์จากจุฬาฯ มานิตย์ มัสยวานิช นันทนา เงากระจ่าง วิยะดา อุมารินทร์ กาญจนา บุญประเสริฐ กฤษณ์ เนาวกานต์, วุฒิ คงคาเขตร, นภาพร หงสกุล, ม.ล.โกมล ปราโมช, ธรรมนูญ จันทโรจน์วงศ์ ลิขิต กฤษณมิตร ถ่ายภาพ วรพิน รัตนาพรรณ อำนวยการสร้าง ชรินทร์ ทองสิงห์ เขียนบท และ กำกับการแสดง นิวไฟว์สตาร์ จัดจำหน่าย
ทองปาน (2520/1977) นักศึกษาคนหนึ่งเดินทางเข้ามาที่อำเภอเชียงคาน เมืองเล็กๆ ในจังหวัดเลย ติดชายแดนไทย-ลาว ซึ่งกำลังจะมีการสร้างเขื่อนผามอง เขื่อนยักษ์กั้นแม่น้ำโขง เขากำลังจะไปอำเภอปากชม เพื่อตามหาชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อน และได้พบกับคนถีบสามล้อรับจ้าง ชื่อ ทองปาน ทองปาน เคยมีที่นาอยู่ที่กาฬสินธุ์ เมื่อมีการสร้างเขื่อนลำปาวกั้นลำน้ำปาว ที่นาของเขาไม่ได้ถูกเวนคืนเหมือนเพื่อนบ้าน แต่ตั้งอยู่ใต้เขื่อน นาของเขาล่ม เพราะขาดน้ำในหน้าแล้ง และน้ำท่วมในหน้าฝน ทางการให้เหตุผลว่าเขื่อนสร้างมาราคาแพงมาก ต้องรักษาไว้ให้ดี โดยคงระดับน้ำให้เหมาะสม ซึ่งทองปานก็ยอมรับผลกระทบแต่โดยดี ในที่สุดทองปานก็พาลูกเมีย ย้ายไปรับจ้างในโรงเลื่อยฝั่งลาว ตามเพื่อนบ้านที่อพยพไปก่อนหน้า แต่ไม่นานก็ต้องเลิกหลังเกิดรัฐประหาร รัฐบาลใหม่ของลาวสั่งห้ามการตัดไม้ และส่งทหารเข้ามาเผาทำลายไม้เถื่อน ทองปานหันไปเป็นกรรมกรสร้างสนามบินที่โคราช หันมารับจ้างเลี้ยงไก่ เปลี่ยนไปเป็นนักมวย และมาถีบรถรับจ้างในตัวอำเภอเชียงคานในที่สุด ในการสัมมนาที่จัดขึ้น ผู้ร่วมสัมมนาประกอบด้วยนักวิชาการ ตัวแทนจากธนาคารโลก แพทย์ นักอนุรักษ์ฝ่ายต่อต้านเขื่อน นายอำเภอเจ้าของท้องที่ ต่างอภิปรายข้อดีข้อเสียของเขื่อนอย่างกว้างขวาง มีการวิพากษ์ถึงการสร้างเขื่อนครั้งก่อนหน้า ว่าสร้างขึ้นโดยการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง โดยไม่ได้มีการศึกษาผลกระทบ หรือถามความเห็นจากประชาชนในพื้นที่เลย ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการอภิปราย โดยมีชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเข้าร่วมด้วย เมื่อคราวที่ทองปานจะต้องพูด ปรากฏว่าทองปานหายไปไหนไม่มีใครทราบ หลังการสัมมนานักศึกษาคนเดิมแวะไปตามหาทองปานที่บ้าน พบว่าทองปานเป็นห่วงเมียที่เป็นวัณโรค จึงหลบกลับมาก่อนและพบว่าเมียตายเสียแล้ว จากนั้นมา ไม่มีใครเคยพบเห็นทองปานอีกเลย
สุภาพบุรุษเสือใบ (2514)
สุภาพบุรุษเสือใบ (2514/1971) ข้อความบนใบปิด พลสัณห์ภาพยนตร์ ผู้สร้างผลงานยอดเยี่ยมจากเรื่อง “จอมโจรมเหศวร” ภูมิใจเสนอผลงานสร้างที่มีหลักประกันมาตรฐานประจำปี 2514... จากชีวประวัติของลูกผู้ชายที่วิถีชีวิตทำให้กลับกลายเป็นเสือร้าย เป็นประวัติชีวิตจริงของ “เสือใบ” อดีตเสือร้ายคนเดียว ที่นักประพันธ์ชื่อดัง ป.อินทรปาลิต บุกบั่นเข้าไปนำประวัติมา เขียนเป็นนวนิยายที่เลื่องลือไปทุกมุมเมือง ซึ่งยังมีชีวิตอยู่และร่วมแสดงในเรื่องนี้ด้วย... สุภาพบุรุษเสือใบ เพชรา เชาวราษฎร์ ครรชิต ขวัญประชา นำแสดง ติดตามด้วย ประจวบ ฤกษ์ยามดี, เมตตา รุ่งรัตน์, เมือง อพอลโล, เยาวเรศ นิสากร, มารศรี อิศรางกูร, เชาว์ แคล่วคล่อง, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, เทียนชัย, พิภพ ภู่ภิญโญ, เมืองเริง ปัทมินทร์, เนตรดาว นภาพรรณ, สีเทา, ดาวน้อย ดวงใหญ่ ขอแนะนำและฝากฝัง 2 ดาราพระเอกใหม่ เอกชาติ ทวีชล, ศรชัย สราวุฒิ ประสิทธิ์ ศิริบรรเทิง สร้างบท วิเชียร วีระโชติ ถ่ายภาพ สง่า อารัมภีร สร้างเพลง ขจรกลิ่น บุรุษพัฒน์ ที่ปรึกษา พลสัณห์ ศรีหาผล อำนวยการสร้าง ประวิทย์ ลีลาไว กำกับการแสดง ฟัง! เพลงไพเราะระบบ 35 ม.ม. ดาราเกียรติยศจากบุคคลหลายอาชีพ กลุ่มนักประพันธ์, นักหนังสือพิมพ์ และเทศมนตรี พลสัณห์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
จอมโจรมเหศวร (2513)
จอมโจรมเหศวร (2513/1970) ศวร ลูกชายผู้ใหญ่สุข ที่ปลดประจำการจากการเกณฑ์ทหารกลับมาบ้าน แล้วต้องพบกับเหตุการณ์พ่อถูกฆ่าด้วยน้ำมือของหมื่นชล ผู้ที่อยากเป็นเจ้าพ่อและครอบครองที่ดินทั้งหมดของผู้ใหญ่สุข โดยศวรถูกหมื่นชลและพวกไล่ตามฆ่าจึงต้องหนีเอาชีวิตรอดไปถึงที่ไร่แห่งหนึ่ง และพบรักกับโฉมยา หลานสาวเจ้าของไร่ ท่ามกลางความไม่พอใจของพิทักษ์ พี่ชายของโฉมยา ซึ่งได้วางแผนหลอกศวรว่าโฉมยากำลังจะแต่งงานกับชายอื่นที่คู่ควรกว่า ทำให้ศวรเสียใจมาก ด้วยความแค้นที่พ่อถูกฆ่าและโดนพรากคนรัก ทำให้ศวรเดินทางไปพบกับเสือฝ้าย และสร้างชื่อเป็นที่ร่ำลือกันทั่วในฉายาว่า "จอมโจรมเหศวร"
วิญญาณสุรพล (2512)
วิญญาณสุรพล (2512/1969) ข้อความบนใบปิด แม้ตัวเขาจากไป แต่วิญญาณเขายังอยู่ ดู วิญญาณสุรพล นำโดย วิน วิษณุรักษ์ สมชาย ศรีภูมิ ใจดาว บุษยา แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, อุไรวรรณ จันทร์ทิพย์, พุทธชาติ, พิณทิพย์, ขวัญ สุวรรณะ, ยรรค์ยง, ก๊กเฮง, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, เมืองเริง ปัทมินทร์, แอ๋, พิศ, พิภพ ภู่ภิญโญ, ประกอบ และ ขุนแผน ภุมมารักษ์, ถนอม นวลอนันต์ ศิวาพรฟิล์ม จัดจำหน่าย ตื่นเต้น!! เฮฮา!! ฟังเพลงสุรพล โศรยา อำนวยการสร้าง เกรียงศักดิ์ ฤกษ์ชนะ กำกับการแสดง สงคราม-กวี ถ่ายภาพ
สุรพลลูกพ่อ (2511)
สุรพลลูกพ่อ (2511/1968) เรื่องราวชีวิตจริงของราชาเพลงลูกทุ่ง "สุรพล สมบัติเจริญ" ผ่านมุมมองของบิดาของครูคือ "พ่อเปลื้อง สมบัติเจริญ" ตั้งแต่สุรพลเริ่มชีวิตการร้องเพลงจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ ด้วยเอกลักษณ์ ลีลา รูปแบบเฉพาะตัว และความสามารถในการร้องและแต่งเพลงเอง รวมถึงการใช้เพลงจังหวะรำวงในเพลงที่เขาแต่ง ทำให้เพลงของเขามีความสนุกครึกครื้นและเป็นที่นิยมจนกลายเป็นราชาแห่งวงการเพลงลูกทุ่ง ก่อนที่สุรพลจะจบชีวิตอย่างน่าเศร้าด้วยเหตุฆาตกรรมที่ใครก็คาดไม่ถึง
16 ปีแห่งความหลัง (2511)

16 ปีแห่งความหลัง (2511/1968) ลำดวล สมบัติเจริญ กับ การะเวก เพื่อนสนิท เดินทางจากสุพรรณมากรุงเทพฯ หา จ่าโทแต้ม นักดนตรีในกองดุริยางค์ทหารอากาศ เพื่อหางานทำ ที่บ้านของจ่าโทแต้ม มี จ่าโทโปร่ง เพื่อนสนิทอีกคนอาศัยอยู่ด้วย จ่าโทแต้มให้การต้อนรับลำดวลกับการะเวกอย่างดี และเมื่อทราบว่าลำดวลได้ลาออกจากการเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ และลาออกจากการเป็นครูที่สุพรรณแล้ว ก็หาทางช่วยเหลือ ได้พาลำดวลไปพบ ร.ท.ปราโมทย์ นายของตนเพื่อฝากเข้าทำงานในกองทัพอากาศ

ร.ท.ปราโมทย์ ได้ตั้งค่ายมวยชื่อ ค่ายเลือดชาวฟ้า ได้รับลำดวลกับการะเวกเข้าทำงาน โดยบรรจุ ลำดวล เข้าทำงานในฝ่ายโยธา กองทัพอากาศ พร้อมกับแนะนำให้ลำดวลหัดมวยเพื่อหาลำไพ่พิเศษ จ่าตรีอ่อน ผู้ควบคุมดูแลนักมวยในค่าย ชอบพอสนิทสนมกับลำดวลและการะเวกเป็นพิเศษ สาเหตุเพราะทั้งสามคนชอบรำวง เมื่อมีคณะรำวงมาตั้งใกล้ๆ ค่ายอ่อนก็เป็นตัวการทำให้ลำดวลกับการะเวกได้หนีไปรำวงด้วยทุกคืน

จิ๋มลิ้ม หัวหน้าคณะรำวงชอบพอกับอ่อน เมื่อลำดวลได้แต่งเพลงรำวงไว้และอยากที่จะแสดงผลงานของตัว ก็ได้รับการสนับสนุนจากจิ๋มลิ้มเป็นอย่างดี เพลงชูชกสองกุมาร ของลำดวลได้รับกาารต้อนรับที่ดีจากประชาชนที่มารำวง ในคืนหนึ่ง ร.ท.ปราโมทย์ มาพบทั้งสามเข้า ทำให้ทั้งสามคนตกใจมาก แต่ ร.ท.ปราโมทย์ กลับแสดงความยินดีกับผลงานเพลงของลำดวล และย้ายลำดวลเข้าสู่กองดุริยางค์ทหารอากาศ

ที่กองดุริยางค์ทหารอากาศ ในระยะแรกลำดวลทำงานอยู่ฝ่ายการเงิน ได้รับยศเป็นจ่าตรี การะเวกและจ่าอ่อนก็ย้ายตามมาด้วย เนื่องจากบ้านพักเต็มทั้งสามคนจึงต้องมาขออาศัยที่บ้านพักของ จ่าแต้ม ที่บ้านของจ่าแต้มทั้งสามคนได้รับการขูดรีด และกดขี่จาก "นางแหว" เมียจ่าแต้มที่มีนิสัยเห็นแก่ตัวและปากร้ายเป็นที่สุด ทั้งสามคนได้หาทางแก้เผ็ดยายแหวทุกครั้ง ที่กองดุริยางคืทหารอากาศลำดวลได้รับความสนับสนุนจากนักร้องนักแต่งเพลงรุ่นพี่ ทำให้มีโอกาสแสดงผลงานที่แต่งและร้อง จนประชาชนให้ความนิยม และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สุรพล สมบัติเจริญ

บุญเพ็งหีบเหล็ก (2510)
บุญเพ็งหีบเหล็ก (2510/1967) เรื่องจริงอิงมายาศาสตร์ เรื่องจริงที่ตื่นเต้นสยองขวัญจนแทบไม่น่าเชื่อ เรื่องของการชิงรักหักสวาทบาดอารมณ์ เหนือความรักประทับใจทั้งมวล! บุญเพ็งหีบเหล็ก เป็นฉายาของนายบุญเพ็ง ซึ่งเป็นฆาตกรที่เหี้ยมโหดในสมัยรัชกาลที่ 6 เดิมทีนายบุญเพ็งเป็นพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองนนทบุรี และมีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมาก โดยเฉพาะลูกศิษย์ที่เป็นผู้หญิงร่ำรวย ซึ่งบุญเพ็งได้ใช้วิชาอาคมด้วยการทำเมตตามหานิยมให้กับผู้หญิงที่หลงเชื่อ ด้วยการหลอกล่อเอาเงินและมีเพศสัมพันธ์กับสีกาที่มาให้บุญเพ็งทำเสน่ห์ นานวันเข้าก็เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้หญิงที่ไปติดพันบุญเพ็งค่อยๆ หายตัวไปอย่างลึกลับ พร้อมหีบเหล็กที่หายไปทีละใบ..ทีละใบ..
ศรีปราชญ์ (2500)
ศรีปราชญ์ (2500/1957) ภาพยนตร์ชีวิต ยอดกรุงศรีอยุธยา สีวิจิตรตระการตา ยิ่งใหญ่ ฉากมโหฬาร บทรักประทับใจ