ปลาบู่ทอง (2537/1994) ข้อความบนใบปิด กรุ๊ฟโฟร์โปรดัคชั่น ปลาบู่ทอง สรพงศ์ ชาตรี ขวัญภิรมย์ หลิน เกรียง ไกรมาก, นวพร อินทรวิมล, ปาลีรัฐ ศศิธร, ทักษิณา สิงหวิบูลย์, สุชาดา อีแอม, สงัด เหงือกงาม, อ๋อง ดับเบิ้ลบ๊องส์, ด.ญ.พรนภา ทรงนิคร, ด.ญ.เกศสุดา หลวงศรีราช, ด.ช.ประชา หนูสุข อาทิตย์ บทภาพยนตร์ จ้อย อัศวิน ผู้ช่วยถ่ายภาพ อดิเทพ ตัดต่อ-ลำดับภาพ ษ อินทรา ถ่ายภาพ สมยศ พุ่มสุวรรณ-ตามใจ ผู้ช่วยกำกับ อรรถสิทธิ์ เพลงประกอบภาพยนตร์ เอก ติกฤษณเลิศ ผู้จัดการกองถ่าย สิทธิชัย พัฒนดำเกิง กำกับการแสดง (ที่มา :Thai Movie Posters)
มหาราชดำ (2524)

เรื่องย่อ : มหาราชดำ (2524/1981) ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากตำนานกู้เอกราชของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยเพิ่มตัวละครสมมุติเข้าไปเป็นกลุ่มทหาร 9 นาย นำโดยหลวงหาญและขุนพยัคฆ์ ซึ่งตีฝ่าวงล้อมทัพพม่าหนีมาอยู่อรัญญิก หลังเสียกรุงครั้งแรก ทั้งหมดต้องเผชิญหน้ากับการรังควานจากทัพพม่า รวมทั้ง ขุนเดือด คนไทยผู้แปรพักตร์ซึ่งสร้างรอยแค้นแก่หลวงหาญเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องราวที่ดัดแปลงจากตำนานกู้เอกราชของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยเพิ่มตัวละครสมมุติเข้าไปเป็นกลุ่มทหาร 9 นาย นำโดยหลวงหาญและขุนพยัคฆ์ ซึ่งตีฝ่าวงล้อมทัพพม่าหนีมาอยู่อรัญญิกหลังเสียกรุงครั้งแรกฯ ทั้งหมดยังต้องเผชิญการรังควานจากทัพพม่า และขุนเดือดคนไทยแปรพักต์ซึ่งสร้างรอยแค้นแก่หลวงหาญอย่างมาก จนในวันที่หลวงหาญชำระแค้นขุนเดือดสำเร็จ ทั้งหมดก็เดินทางไปร่วมทัพกับ ‘มหาราชดำ’ เพื่อร่วมรบในศึกกู้กรุงศรีฯ จากพม่า

พระรถเมรี (2524)
พระรถ เมรี นางสิบสอง (2524/1981) ข้อความบนใบปิด เอเพ็กซ์ภาพยนตร์ เสนอ โรงถ่ายไชโย รังสิต สร้าง สมโพธิ แสงเดือนฉาย กำกับเทคนิค เนรมิต กำกับการแสดง พระรถ เมรี นางสิบสอง ทูน หิรัญทรัพย์ สุพรรษา เนื่องภิรมย์ อำภา ภูษิต, ดามพ์ ดัสกร, รณ ฤทธิชัย, ดวงชีวัน โกมลเสน, เมตตา รุ่งรัตน์,จันทนา ศิริผล, สีเทา, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร,สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม ชมเทคนิคมหัศจรรย์ระดับโลก! ยักษ์ตัวใหญ่เท่าภูเขากินคนทั้งเมือง! ถิ่นมะงั่วหาว มะนาวโห่!
บัวแก้วบัวทอง (2523)
บัวแก้วบัวทอง (2523/1980) ข้อความบนใบปิด เวชยันต์ภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์แสนสนุก อภินิหาร โชว์เทคนิคเต็มจอจากญี่ปุ่น บัวแก้วบัวทอง 24 ซีเนมาสโคป จตุพล ภูอภิรมย์ รัชนู บุญชูดวง เยาวเรศ นิสากร, ศิรดา ศิริวัมน์, จิตรกร สนธยา, ชลูด แฉล้มกุล สมาน คัมภีร์ กำกับการแสดง อดิศักดิ์ รัตนศักดิ์วิบูลย์ อำนวยการสร้าง
เจ้าหญิงแตงอ่อน (2523)
เจ้าหญิงแตงอ่อน (2523/1980) ข้อความบนใบปิด ทรงกิจฟิล์ม โดย ทรงกิจ จงสมจิตต์ เสนอ ภาพยนตร์ยอดฮิต ดังจากทีวีช่อง 7 มาเป็นภาพยนตร์จอยักษ์ โดย ผู้แสดงครบทีม จาก เจ้าหญิงแตงอ่อน ท่านชมจากทีวีไม่สะใจ โปรดมาดูให้เต็มอิ่มบนจอใหญ่ สมบูรณ์กว่าที่ท่านชมมาแล้วจากช่อง 7 ระบบ 35 ม.ม.สโคป ไม่มีภาพยนตร์เรื่องใดสนุกเท่า เจ้าหญิงแตงอ่อน ชานนท์ มณีฉาย วนิษฐา วัชโรบล พัชรา กองแก้ว ออยา นาวิน ณรงค์ พุทธโกษา นาคราช หาทูล เป๊ะ สุโขทัย ถ่ายภาพ จรูญ ธรรมศิลป์ กำกับการแสดง สันติสุชาภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
เลือดสุพรรณ (2522)

เลือดสุพรรณ (2522/1979) ในปี พ.ศ. 2308 ตอนปลายยุคกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งของเมืองสุพรรณบุรี ชาวบ้านยังคงอยู่กันอย่างสงบสุข แม้จะมีข่าวศึกจากกรุงอังวะ แต่ก็คิดกันว่าเป็นหน้าน้ำหลากพม่าไม่สะดวกในการเดินทัพคงจะไม่ยกทัพมา

คืนวันหนึ่งมีกลุ่มโจรบุกเข้าปล้นหมู่บ้านและฉุดดวงจันทร์ (ลลนา สุลาวัลย์) ลูกสาวของหัวหน้าหมู่บ้านไป แต่ระหว่างทางปรากฎชายหนุ่มลึกลับผู้มีฝีมือการต่อสู้ยอดเยี่ยมเข้าช่วยเหลือ เหล่าโจรสู้ไม่ได้จึงพากันหนีไป เนื่องจากเป็นเวลากลางคืนไม่สะดวกในการเดินทาง ชายหนุ่มลึกลับจึงพาดวงจันทร์ไปพักที่กระท่อมร้าง และบอกว่าตนเองชื่อทับ (ไพโรจน์ สังวริบุตร) เป็นทหารสอดแนมจากกรุงศรีอยุธยา และวันรุ่งขึ้นทับก็พาดวงจันทร์กลับคืนไปหาพ่อแม่ที่หมู่บ้าน

ด้วยความประมาทของคนไทย กองทัพพม่าสามารถบุกเข้ายึดเมืองสุพรรณบุรีได้โดยง่ายดาย รวมทั้งหมู่บ้านที่ดวงจันทร์อาศัยอยู่ ดวงจันทร์เอาตัวรอดโดยการปลอมตัวเป็นผู้ชาย ในขณะที่ผู้หญิงในหมู่บ้านหลายคนต้องถูกทหารพม่าข่มขืน เพื่อนของดวงจันทร์ถูกฉุดไปให้มังระโธ (สุทัศน์ อินทรานุปกรณ์) นายกองปีกขวา แต่ถูกขัดขวางโดยมังราย (ไพโรจน์ สังวริบุตร) นายกองปีกซ้ายผู้เป็นบุตรของมังมหาสุรนาถ (ส.อาสนจินดา) แม่ทัพใหญ่ผู้คุมทัพมาในครั้งนี้ มังระโธต่อสู้กับมังรายและพ่ายแพ้ จึงผูกอาฆาตต่อมังราย

ลูกทาส (2522)
ลูกทาส (2522/1979) ข้อความบนใบปิด ไทยสตาร์ภาพยนตร์ โดย สันติ สันติพัฒนาชัย ภูมิใจเสนอ ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ ลูกทาส ของ รพีพร จากรัก..สู่เลือดและน้ำตา จาก..ทาส..มาเป็น..ไท.. สรพงศ์ ชาตรี พระเอกตุ๊กตาทอง พบ สองนางเอก วงเดือน อินทราวุธ – นันทนา เงากระจ่าง ภิญโญ ปานนุ้ย, สมภพ เบญจาธิกุล, เศรษฐา ศิระฉายา, สมจินต์ ธรรมทัต, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, กฤษณะ อำนวยพร, วิทยา สุขดำรงค์, สุกัญญา นาคสนธิ์, จำนงค์ บำเพ็ญทรัพย์, พิภพ ภู่ภิญโญ, พนม นพพร, เสกสรรค์ ภู่ประดิษฐ์, หัทยา, นัยนา, ประเสริฐ, เชาว์ แคล่วคล่อง, โป๋, เทพ, นกเล็ก, สายพิณ จินดานุช, บุษบง, ส่ง, ทัศนีย์, สุปราณี, ชาลี อินทรวิจิตร สนธยา ดวงทองดี ถ่ายภาพ ประกอบ ใหญ่ศิริ กำกับศิลป์ สัมฤทธิ์ บุษษะ กำกับแสง สว่าง บุญยกาญจน์ ธุรกิจ รพีพร-กำธร สุวรรณปิยะศิริ กำกับการแสดง
อยุธยาที่ข้ารัก (2522/1979) เมื่ออยุธยาเสียกรุงแก่พม่า ลำดวน (พนิดา ทองฑัต) พาพระเจ้าเอกฑัต (สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์) หลบหนีไปทางเรือ แต่พระเจ้าเอกฑัตรับสั่งก่อนสิ้นพระชนม์ให้ลำดวนตามฆ่าพระยาพล (ถวัลย์ คีรีวัตร) ผู้เป็นกบฏ ต่อมาลำดวนและพันเรือง (ยอดชาย เมฆสุวรรณ) สามีได้ลอบฆ่าพระยาพลแต่ไม่สำเร็จ จึงถูกจับไปขังไว้ในถ้ำ ก่อนตายทั้งคู่ได้สาบานจะอยู่ร่วมกันและจะตามแก้แค้นพระยาพลไปทุกชาติ เวลาผ่านไปอีก 200 ปี ลำดวนกลับชาติมาเกิดเป็นมูมู (พนิดา ทองฑัต) นักร้องสาวคณะละครเร่ ส่วนพันเรืองเกิดมาเป็นนักสืบและไปรับจ้างสืบหาตัวแดงน้อยหลานสาวคุณหญิง (สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย) ที่หายตัวไปแต่เด็กๆ แต่เพราะความโลภจึงหลอกคุณหญิงโดยให้ศรีสุดา (ภาวนา ชนะจิต) สวมรอยเข้าเป็นแดงน้อยแทน ต่อมามูมูถูกโจรจับตัวไปขายซ่อง พันเรืองเข้าช่วยและพาไปหลบซ่อนตัวอยู่ในถ้ำเดิม ทำให้ทั้งคู่นึกถึงอดีตได้ แต่เมื่อพันเรืองแต่งงานกับศรีสุดา มูมูจึงตามมาทวงสัญญาและได้พบกับพระยาพลที่กลับชาติมาเกิดในงานนั้นและฆ่าพระยาพลตาย ความจริงก็ปรากฏขึ้นมาว่า มูมูก็คือแดงน้อยหลานสาวคุณหญิงที่หายตัวไปนั่นเอง
ปลาบู่ทอง (2522)
ปลาบู่ทอง (2522/1979) ข้อความบนใบปิด ศิริมงคลโปรดัคชั่น โดย ชาญชัย เนตรขำคม เสนอ ภาพยนตร์นิยายพื้นบ้านที่ทุกครัวเรือนลืมไม่ได้ ชิต ไทรทอง กำกับการแสดง ปลาบู่ทอง ลลนา สุลาวัลย์ รับบทฝาแฝดครั้งแรก พบ ปฐมพงษ์ สิงหะ พระเอกวัยรุ่น เศรษฐา ศิระฉายา, อรสา พรหมประทาน, เทพ โพธิ์งาม, สมควร กระจ่างศาสตร์, รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, ด.ช.เอ๋, สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต, ศรชัย, นิทัศน์, จิตร เชาวลิต มาฬมงคล ดำเนินงานสร้าง รังสี รุ่งรัศมี ถ่ายภาพ ชาญชัย เนตรขำคม อำนวยการสร้าง พี 78 โปรดักชั่น จัดจำหน่าย
ขุนศึก (2519)

ขุนศึก (2519/1976) 15 ปี หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พระเจ้าบุเรงนอง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงกรีธาทัพไทย พร้อมด้วยถสมเด็จพระเอกาทศรถ พระอนุชา เข้ายึดเมืองแกลงอันเป็นเมืองเชื่อมเขตแดนไทยกับพม่า ได้ทรงหลั่งอุทกธาราประเทศตัดไมตรีกับพม่า พม่ายกกำลังบุกไทย เสมาคุมทหารกองหนึ่งจากท่านขุนลิต ขุนลิตสู้จนตัวตาย เสมาสืบทอดเจตนารมณ์ทำงานต่อจากขุนลิต รวบรวมกองอาสาและนำเรื่องกราบเรียนพระธรรมนูญ พระธรรมนูญรับเสมาเข้าร่วมรบ ทัพหน้าของพระธรรมนูญเข้าตีทัพพม่า จนพม่าถอยทัพกลับ บ้านเมืองจึงสงบ และเสมาได้บรรดาศักดิ์เป็นขุนแสนศึกพ่าย

พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ (2518)

พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ (2518/1975) สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพอยู่ในประเทศไทยในการทำสงครามโลก รัฐบาลไทยจำยอมและต้องให้ความร่วมมือกับทางญี่ปุ่น แต่ก็ได้เกิดขบวนการต่างๆ ขึ้นมากมายเพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นเพื่อปกป้องรักษาความเป็นไทย พจน์ ถูกทหารญี่ปุ่นจับตัวไปเพราะเข้าใจว่าเขาเป็นขโมย แต่ อรุณี ซึ่งเป็นพวกเสรีไทยปลอมตัวเข้าไปตีสนิทกับทหารญี่ปุ่นเพื่อสืบข่าว ช่วยพจน์ให้พ้นผิดได้ อรุณีทราบข่าวว่ากองทัพญี่ปุ่นจะพิมพ์ธนบัตรจำนวน 100 ล้านบาทขึ้นมาใช้เอง พล ซึ่งเป็นคนรักของอรุณีได้รับมอบหมายให้ทำลายงานนี้ซะ พลขอให้พจน์ซึ่งตอนนี้เป็นหัวหน้าขบวนการไทยถีบช่วยด้วย พลและพจน์นำลูกน้องไปทำลายเงินทั้งหมด และได้ต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นจนได้รับชัยชนะ และตัดสินใจไปอยู่กับขบวนการเสรีไทยเพื่อช่วยชาติต่อไป

ทิพพ์ช้าง (2517)
ทิพพ์ช้าง (2517/1974) ข้อความบนใบปิด บริษัทลำปางชัยจำกัด โดย สอาด ปิยวรรณ อำนวยการสร้าง เสนอภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ไทย เหตุการณ์เมื่อ 200 กว่าปี เป็นวีรกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของชาติไทย รบ..รัก..น้ำตา.. และการกอบกู้อิสรภาพของแผ่นดินไทย ทิพพ์ช้าง นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี ธัญญรัตน์ โลหะนันท์ อนันต์ สัมมาทรัพย์ สุชีรา สุภาเสพย์ คมน์ อรรฆเดช ดลนภา โสภี ประภาศรี เทพรักษา ร่วมด้วย สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช, จำนงค์ บำเพ็ญทรัพย์, วัลยา วรากรณ์, สันติ สันติพัฒนาชัย, สมชาย สามิภักดิ์, ประพัฒน์ มิตรภักดี, พิภพ ภู่ภิญโญ, แพน บอระเพ็ด, ปฐมชัย ชมศรีเมฆ, สอาด ปิยวรรณ ให้เกียรติร่วมนำแสดง และดาราสมทบอีกมาก รัตน์ เศรษฐภักดี กำกับการแสดง อดุลย์ เศรษฐภักดี ถ่ายภาพ ส.อาสนจินดา สร้างบทภาพยนตร์ สันติ สันติพัฒนาชัย ดำเนินงาน บริษัทลำปางชัยจำกัด แผนกภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
นางสิบสอง (2517)
นางสิบสอง (2517/1974) ข้อความบนใบปิด ดาราฟิล์ม เสนอ นางสิบสอง 12 BLIND WOMEN นำโดย นรา นพนิรนันดร์ เยาวเรศ นิสากร วาสนา ชลากร สมชาย ศรีภูมิ ร่วมด้วย มารศรี อิศรางกูร, ชูศรี มีสมมนต์, มาเรีย เกตุเลขา, ชฎาพร วชิรปราณี, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, ถวัลย์ คีรีวัตร, เชาว์ แคล่วคล่อง, ดารา รัตนานุช ด.ช.ธวัชชัย ธีระบัญชา และ 2 ดาราคู่ขวัญ ด.ช.สยม สังวริบุตร กับ ไอ้งั่ง แห่ง”ฝนสามฤดู” ผุสดี ยมาภัย อำนวยการสร้าง มานิต สัมมาบัติ ลำดับภาพ ไพรัช สังวริบุตร กำกับการแสดง ดาราฟิล์ม โดยคนไทย เพื่อคนไทย ด้วยศักดิ์ศรีของภาพยนตร์ไทย ขอเสนอผลงานยอดเยี่ยม จากทีมผู้สร้าง ไอ้งั่ง แห่ง ฝนสามฤดู ที่ลือลั่น ด้วยแรงอธิษฐานของแม่ ด้วยปกาศิตของพ่อ ด้วยแรงกตัญญูของข้า สามสิ่งนี้ ข้าขอเป็นเกราะคุ้มภัย ด้วยชีวิตและหัวใจ เพื่อนางสิบสอง
ชูชก กัณหา ชาลี (2516) ชูชก กัณหา-ชาลี (2516)
ชูชก กัณหา ชาลี (2516/1973) ข้อความบนใบปิด บริษัทไทยสากลธุรกิจจำกัด โดย ณรงค์ สันติสกุลชัยพร เสนอ... จงมาช่วยกันอนุรักษ์ความเป็น ไทยแท้ ไว้ ยากนักที่จะมีผู้กล้าลงทุนสร้าง เพราะต้องใช้ทุนสร้างมโหฬาร ใครๆก็ทราบและดื่มด่ำใน..รสเรื่อง..อันอมตะ 2 ดารามาตรฐาน สมบัติ เมทะนี พิศมัย วิไลศักดิ์ นำแสดง ชูชก กัณหา-ชาลี จากพุทธประวัติก้องโลก ชมกระบวนช้างและผู้แสดงประกอบมากมาย รสเรื่องจากพุทธประวัติไม่เคยทำให้ใครผิดหวัง รัตน์ เศรษฐภักดี แห่ง “เทพกรภาพยนตร์” กำกับการแสดง ประกิต บุญยรัตพันธ์ ถ่ายภาพ อาจารย์สุรพล วิรุฬรักษ์ อกแบบฉาก-เครื่องแต่งกาย ร่วมใจฟิล์ม จัดจำหน่าย
นพเก้า (2515)
นพเก้า (2515/1972) ข้อความบนใบปิด วิเชียรภาพยนตร์ โดย มั่น คงวิเชียร เสนอ... ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี นพเก้า ของ...พร ธาดา ยอดชาย เมฆสุวรรณ สุทิศา พัฒนุช เมตตา รุ่งรัตน์, สุวิน สว่างรัตน์, เมืองเริง ปัทมินทร์, ภูษิต อภิมัน, ชุมพร เทพพิทักษ์, เทียว ธารา, สีเผือก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, พิภพ ภู่ภิญโญ พร้อมด้วย พีระพล, เทอด, วินัย ฯลฯ สุเพชร จิตตนิโรธ กำกับการแสดง เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ
แก้วกาหลง (2510)
แก้วกาหลง (2510/1967) เสน่ห์ โกมารชุน สร้าง แม่นาคพระโขนง เจ้าแม่ตะเคียนทอง ลบสถิติและลือลั่นมาแล้ว ครั้งนี้ขอเสนอ... แก้วกาหลง ดูหนังผี ต้อง "เสน่ห์ โกมารชุน" สร้าง ดูหนังผี ต้อง "รังสี ทัศนพยัคฆ์" กำกับ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ไอ้แก้ว (มิตร ชัยบัญชา) ทาสในเรือนเบี้ย แต่เพราะไอ้แก้วมีความขยันมากกว่าทาสคนอื่นๆ จึงได้สิทธิพิเศษให้เรียนหนังสือ ไอ้แก้วมีความสามารถในการเล่นดนตรีสีซออู้ได้อย่างไพเราะ จึงได้รับความไว้วางใจท่านเจ้าคุณมหิทธ์ศักดิ์ ให้เป็นผู้สอนสีซออู้แก่กาหลง (ปรียา รุ่งเรือง) ผู้เป็นลูกสาวท่านเจ้าคุณฯ ก็เรียกว่า สอนไป สอนมา เกิดใกล้สนิทสนมและลักลอบได้เสียกัน ซึ่งเป็นความผิดมีโทษมหันต์ ยังความโกรธแค้นแก่ท่านเจ้าคุณฯ เป็นอย่างยิ่งเพราะทั้งอายที่ลูกสาวลดตัวไปเป็นเมียทาสหนุ่ม ท่านเจ้าคุณฯ จึงสั่งลงโทษโบยเฆี่ยนหลังไอ้แก้วและจับขังคุกทาสไว้ กะว่าจะให้ตาย ส่วนกาหลงผู้เป็นลูกสาวนั้น ท่านเจ้าคุณส่งตัวไปกักขังอยู่ที่กระท่อมกลางสวน เพื่อให้คลอดลูกก่อน โดยจัดเวรยามเฝ้าดูแลไว้ แต่เมื่อคนเฝ้ากินเหล้าเมายา แล้วก็เกิดอารมณ์เข้าปลุกปล้ำหมายข่มขืนกาหลง กาหลงไม่ยอม ก็ต่อสู้ดิ้นรนสุดชีวิตกระทั่งตัวเองถูกบีบคอตายคากระท่อม.. ท่านเจ้าคุณฯ รู้ข่าว ก็เสียใจและรีบจัดการฝังศพกาหลงไว้และตัวเองก็ป่วยจนตรอมใจตายในเวลาต่อมา ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกันกับในหลวงรัชกาลที่ 5 โปรดให้เลิกทาส ไอ้แก้วจึงได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ แต่ไม่มีใครบอกว่า กาหลงเสียชีวิตไปแล้ว ต่อมาหมอผีก็ไปขุดศพนางกาหลงขึ้นมา หมายจะเอาน้ำมันพรายไปทำเสน่ห์ยาแฝด แต่เพราะกาหลงเป็นผีตายโหงที่ถูกสะกดวิญญาณไว้ เมื่อยันต์สะกดหลุดออก ผีนางกาหลงก็เลยเฮี้ยนและจัดการฆ่าหมอผีตายเป็นศพแรก จากนั้นผีนางกาหลงก็ออกอาละวาดทุกค่ำคืน ชาวบ้านชาวช่องก็ไม่กล้าออกจากบ้านไปไหน ผีนางกาหลงออกตามหาไอ้แก้วผัวรัก เมื่อหาไม่เจอ ก็มานั่งสีซอคร่ำครวญทุกคืนจนชาวบ้านกลัว ย้ายหนีกันไปหลายคน ส่วนไอ้แก้ว เมื่อพ้นจากทาสมาเป็นไท ก็กลับไปอาศัยญาติๆ ทำนา แล้วก็ได้พบกับซ่อนกลิ่น (เพชรา เชาวราษฎร์) เกิดรักใคร่ชอบพอกัน กระทั่งเกลอเก่าที่เคยเป็นทาสหนีจากบ้านท่านเจ้าคุณฯ มาหาไอ้แก้วและขออาศัยอยู่ด้วย ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับที่ผีนางกาหลงติดตามเกลอไอ้แก้วมาด้วยเช่นกัน ตกกลางคืน ผีนางกาหลงก็ปรากฏตัวและไปขออยู่กับไอ้แก้วที่บ้าน โดยที่ไม่มีใครรู้ว่า กาหลงตายไปแล้ว กระทั่งเกลอเก่าไอ้แก้วมาเห็นเข้า จึงบอกซ่อนกลิ่นว่า กาหลงตายไปแล้ว ซ่อนกลิ่นก็ไปบอกไอ้แก้ว แต่ไอ้แก้วกลับไม่เชื่อ หาว่า ซ่อนกลิ่นหึงหวงกาหลง เหตุการณ์เริ่มไม่ค่อยจะสู้ดีเพราะไอ้แก้วกับผีนางกาหลงยังคงอยู่ร่วมบ้านกัน ซ่อนกลิ่นจึงไปหาอาจารย์ หาผ้ายันต์มาให้ไอ้แก้วพิสูจน์ความจริงว่า กาหลงตายไปแล้ว แก้วจึงยอมเอาผ้ายันต์ใส่ไว้ใต้หมอนที่กาหลงนอน พอตกกลางคืนร่างของกาหลงก็กลายเป็นซากศพเน่าเฟะนอนอยู่แทน แก้วจึงรู้ว่า กาหลงตายแล้ว ก็หนีไป สร้างความโกรธแค้นให้ผีนางกาหลงเป็นอย่างมาก จึงออกอาละวาดฆ่าคนเป็นว่าเล่น หมอผีหลายคนที่หาปราบ ก็สู้ผีนางกาหลงไม่ได้ กระทั่งหมอผีคนล่าสุดก็กำลังจะถูกผีกาหลงหักคอ ไอ้แก้วทนไม่ได้ที่ผีนางกาหลงฆ่าคนเป็นว่าเล่น จึงออกมาพบและบอกให้กาหลงฆ่าไอ้แก้วแทนเพราะจะได้ตายและไปอยู่ด้วยกัน เมื่อผีนางกาหลงได้ยินเช่นนั้น ก็รู้ว่าแท้จริงแล้ว ไอ้แก้วยังรักกาหลงอยู่ เพียงแต่เพราะอยู่กันคนละชาติคนละภพ ไอ้แก้วจึงแสดงออกแบบนั้น ผีนางกาหลงรู้สำนึกผิดชอบชั่วดีแล้ว จึงยอมปล่อยหมอผีไป และรู้ว่า ซ่อนกลิ่นก็รับไอ้แก้วเช่นกัน เมื่อชาตินี้ไม่สามารถอยู่กับพี่แก้วได้อย่างคนทั่วไป ก้เอ่ยปากฝากพี่แก้วกับซ่อนกลิ่นให้ครองคู่อยู่ร่วมกัน ส่วนตัวกาหลงเองก็จะกลับไปชดใช้กรรมในนรกภูมิ เพื่อชาติหน้าจะได้เกิดมาเป็นเมียพีแก้วอีกครั้ง