คำสั่งคำสาป (2497)
คำสั่งคำสาป (2497/1954) ดร.ทองคำ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยึดมั่นในลัทธิประชาธิปไตย มีสานุศิษย์เคารพเป็นจำนวนมาก เมื่อ ดร.ทองคำ เสียชีวิต นายพูน พี่ชายของดร.ทองคำ ซึ่งเป็นผู้ร่วมอุตสาหกรรมน้ำพูนจิตต์ รับ เครือมาศ ลูกสาวคนเดียวของ ดร.ทองคำ มาดูแล นายพูนได้สร้างอนุสาวรีย์ ดร.ทองคำ ขึ้น และพยามยามชักจูงผู้ที่เคยเลื่อมใส ดร.ทองคำ ให้มาเลื่อมใสตน แต่เบื้องหลังกลับวางแผนการกำจัดเครือมาศโดยการวางยาทำลายเส้นประสาท เครือมาศรู้ตัวทันจึงลอบหนีไปหา ขุนลีลาศาสตร์สุนทร เพื่อนรักของ ดร.ทองคำ ขุนลีลาศาสตร์สุนทรอาศัยอยู่กับ ชัยศิริ บุตรชายซึ่งมีอาชีพเป็นนักสืบชัยศิริจึงรับปากจะช่วยเครือมาศ ชัยศิริลอบเข้าบ้านพูนโพคาเพื่อสืบหาหลักฐานสาเหตุการเสียชีวิตของ ดร.ทองคำ นายพูนมาพบเข้าจึงเกิดการต่อสู้กัน นายพูนและแม่ผันแยกกันหนี แม่ผันออกไปทางลับเพื่อเรียกคนมาช่วย ส่วนนายพูนหนีไปทางตึกที่มีรูปปั้น ดร.ทองคำ ชัยศิริซ้อนกลนายพูนต่อหน้าคนที่แม่ผันเรียกมา โดยทำให้รูปปั้นเปิดโปงว่านายพูนทรยศต่อ ดร.ทองคำ และออกคำสั่งให้จัดการนายพูนเสีย แต่นายพูนพยายามแย่งระเบิดจากคนใกล้ๆ พ.ต.ต. ว่อง โดดออกมาจากด้านหลังรูปปั้นเข้าแย่งระเบิดไว้ทัน และใส่กุญแจมือนายพูนติดไว้กับรูปปั้น แต่ไม่ทันไรรูปปั้นนั้นก็ล้มทับนายพูนตายคาที่
เหยื่ออาชญากรรม (2497)
เหยื่ออาชญากรรม (2497/1954) เหยื่ออาชญากรรม (อังกฤษ: Who is the Murderer) เป็นภาพยนตร์ไทย ฟิล์ม 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2497 สร้างโดย โรงเรียนสืบสวน กรมตำรวจ โดยมี พ.ต.อ. เยื้อน ประภาวัต เป็นผู้อำนวยการสร้าง อำนวยการแสดงโดย จรี อมาตยกุล กำกับการแสดงโดยครูเนรมิต (อำนวย กลัสนิมิ) และถ่ายภาพโดย สุจินต์ สุทธิวรรณ
ทะเลทม (2496)
ทะเลทม (2496/1953) นิยายรักรันทดของชาวทะเล ซึ่งหนี้ของความแค้นต้องล้างด้วยเลือด! และ...ชีวิต! (ที่มา: นิตยสารผดุงศิลป์ สิงหาคม พ.ศ. 2496)
Placeholder
ไข่มุกดำ (2495)
ไข่มุกดำ (2495/1952) ภาพยนตร์ชีวิตของพวกสิบแปดมงกุฎ ซึ่งเต็มไปด้วยการหักหลังและล้างชีวิตกันอย่างดุเดือด! (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495)
มารสวาท (2495)
มารสวาท (2495/1952) เรื่องดี เด่น ดุเดือดถึงคอขาดบาดตาย (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 17 มีนาคม พ.ศ. 2495)
มาริยานางในเกาะนรก (2495)
มาริยานางในเกาะนรก (2495/1952) เผยชีวิตในค่ายคุมขังตะรุเตา ชีวิตจริง ตัวจริง สถานที่จริง ตื่นเต้น ทารุณ รักโศรก เจ้าคุณศราภัย ในบทบาทจริงของท่านก่อนหนี 1 ชั่วโมง (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 30 กันยายน พ.ศ. 2495)
เปนชายต้องสู้ (2495) เป็นชายต้องสู้
เป็นชายต้องสู้ (2495/1952) ภาพยนตร์ไทย ตื่นเต้น ดุเดือด ที่ท่านอยากทราบว่าต้องสู้กับอะไร? ข้าพเจ้าขอเผยว่าต้องสู้กับ "คนตัวผู้" "คนตัวผู้" เป็นอย่างไรท่านจะทราบต่อไป (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495)
นางสิงห์ (2495/1952) ในยุคที่เมืองไทยเต็มไปด้วยอาชญากรรม นงนุช เสือสาวชื่อกระฉ่อนที่คอยลอบก่อจารกรรมบ้านเศรษฐีในเมืองไปทั่ว ทำให้ทางการต้องส่ง ร้อยตำรวจเอกวิทยา ออกตามสืบสาวหาตัวนงนุชเพื่อนำตัวเธอมารับโทษ แต่นงนุชก็ไหวตัวทันหลบหนีได้ทุกครั้งจนกระทั่งวันหนึ่ง ในขณะที่นงนุชออกโจรกรรมดันมาปะทะเข้ากับแก๊งของ วิน นายโจรอีกกลุ่มหนึ่ง จังหวะนั้นเองตำรวจก็บุกเข้ามา นงนุชและวินจึงต้องพากันหนีไปพึ่งเจ้านายของวิน แต่ทว่าเจ้านายของวินกลับถูกหักหลังโดย เจ้าสิน โจรมีชื่อ นงนุชและวินจึงต้องหนีไปกบดานกับ เสือจวน ลูกพี่เก่าของวิน แต่ก็มิวายที่เจ้าสินจะตามมาราวีและกล่อมให้เสือจวนแตกคอกับทั้งวินและนงนุช โดยเจ้าสินยุให้เสือจวนเอาตัวนงนุชไปทำเมีย ส่วนตัวเองอาสาเป็นคนเอาสมบัติที่วินขโมยคืนมา แต่เสือจวนมีเล่ห์เหลี่ยมกว่าจึงหักหลังเจ้าสินและหมายจะเอาไปทั้งสมบัติและตัวนงนุช ทำให้เกิดการต่อสู้กันขึ้น ในจังหวะเดียวกับที่ร้อยตำรวจเอกวิทยาพากำลังตำรวจมาล้อมจับ เป็นเหตุให้เหล่าบรรดาโจรทั้งหลายต้องตายในที่เกิดเหตุ ส่วนนงนุชกระเสือกกระสนหนีการจับกุมจากตำรวจ แต่แล้วก็มาพบทางตันจึงยอมมอบตัวไปรับโทษตามกฎหมาย
มือพิฆาต (2494/1951) ลึกลับ ตื่นเต้น โลดโผน ไม่ซ้ำแบบใคร (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน พิมพ์ไทย 3 กันยายน พ.ศ. 2494)
เลือดล้างแค้น (2494)
เลือดล้างเลือดแค้น (2494/1951) ... ภาพยนตร์ชีวิต ... สีธรรมชาติ ... ทั้งรัก ทั้งแค้น เสียสละ เสทือนใจยิ่ง เปนงานชิ้นใหม่ยอดเยี่ยมเหมือนกับรวม น้ำผึ้ง, เลือด, หัวเราะ, และน้ำตา, ไว้ในเรื่องเดียวกันอย่างสมบูรณ์!
อ้ายย่ามแดง (2493)

อ้ายย่ามแดง (2493/1950) ภาพยนตร์ไทยแนวแปลก จากชีวิตจริง ที่ลือกันทุกมุมเมือง รัก คติ ตื่นเต้น น่าดู หวาดเสียว

เพลิงอาฆาต (2493)
เพลิงอาฆาต (2493/1950) ชาญและสมัครเปนเพื่อนรักกันมาตั้งแต่เด็กๆ ตราบจนกระทั่งโต เขาทั้งสองก็ยังคบหากัน เปนที่สนิทสนม ศึกษาวิชามาในแขนงเดียวกันและในที่สุดก็มีความเห็นตรงกันในเรื่องของการปลุกเสกชีวิตมนุษย์ที่สิ้นแล้วดังกล่าวเบื้องต้น ซ้ำร้ายกว่านั้น ทั้งชาญและสมัครต่างรักในหญิงคนเดียวกัน เธอคือวัลลภา ธิดาสาวของพระสมบูรณ์ธนทรัพย์ คหบดีผู้มั่งคั่ง วันหนึ่ง สรศักดิ์ได้รับจดหมายประหลาดขอเชิญให้ไปพบที่ ก.ม. ที่ 1 ทางสายกรุงเทพนครปฐม เพื่อ จะคลี่คลายปัญหาที่น่าหนักใจให้แก่นายแพทย์สรศักดิ์ กำหนดเวลา 24 น. และขอร้องให้ไปแต่ผู้เดียว ในคืนนั้น นายแพทย์สรศักดิ์ไปตามนัด เมื่อถึงสถานที่นัดหมายก็รู้สึกว่าถูกบังคับให้ไป ณ สถานที่แห่งหนึ่งโดยไม่รู้สึกตัว พบตัวเองภายในห้องหนึ่งซึ่งไม่มีผู้คนเลย แต่ได้ยินเสียง พูดแต่ไม่เห็นตัวผู้พูด และในที่สุด นายแพทย์สรศักดิ์ก็ได้ ทราบว่าพระสมบูรณ์ที่ได้ฟื้นขึ้นมาใหม่นั้นมิใช่พระสมบูรณ์ที่แท้จริง เป็นอาชญากรตัวฉกาจที่สร้างความอลเวงให้เกิดด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ทันสมัย ต่อจากนั้น สงครามวิทยาศาสตร์ระหว่างสองพรรคก็ได้บังเกิดขึ้น (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน พิมพ์ไทย 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493)
ทุ่งทมิฬ (2493)

ทุ่งทมิฬ (2493/1950) เป็นเรื่องชีวิตที่เปนไปได้ของลูกชาวทุ่ง เปนเรื่องของชายใจพระซึ่งถูกเหตุการณ์และเพื่อนฝูงบีบรัดข่มเหงให้เปนโจร แต่เมื่อกลายเปนโจรแล้วก็เปนโจรที่เต็มไปด้วยความเมตตาจิตต์และต้องเผชิญกับบรรดาศัตรูด้วยเล่ห์เหลี่ยมไหวพริบอย่างคมคายตลอดทั้งเรื่อง (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน พิมพ์ไทย 6 สิงหาคม พ.ศ. 2493)

เลือดแค้น 2471

เรื่องย่อ : เลือดแค้น (2471/1928) เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก ที่มีความลึกลับ เกี่ยวกับการผจญภัยและการต่อสู้ในเชิงหมัดมวยอย่างน่าตื่นเต้น ถ้าว่าถึงตลกคะนอง ก็เป็นตลกที่ไม่ได้แกล้งให้ตลก เป็นตลกที่อาศัยเกิดจากลักษณะเดิมของตัวผู้แสดงเอง มีตาเชยเตี้ยเป็นต้น ลักษณะของตาเชย ผู้ดูโดยมากที่ไปเที่ยวตำบลบางลำพู คงจะได้เคยเห็น แกเดินชมอากาศอยู่ตามแถวนั้นบ่อยๆ หรือมิฉะนั้นก็แถวหน้าโรงปีนัง ผู้ทำเรื่อง เลือดแค้น ได้ใช้ความระวังหลายประการที่จะไม่ให้เลือดแค้นกลายเป็นเลือดไม่แค้นหรือเลือดจืด มีเหตุผลกินกลืนกันสมเรื่อง ตลอดจนภูมิฐานฐานะของบุคคลและการแต่งตัว ที่จัดให้เหมาะแก่ลักษณะ เหมาะแก่เวลาที่ควรไม่ควร ถ้าจะกล่าวแล้วเรื่อง เลือดแค้น ถึงจะมีข้อที่น่าติอยู่บ้าง แต่ก็เชื่อว่าน้อยที่สุด ท้องเรื่อง เลือดแค้น แสดงถึงน้ำใจของน้องเมียนายทองใบ ที่พยายามแก้แค้นแทนพี่สาวอันเนื่องจากนายทองใบทิ้งพี่สาวและทำทารุณโหดร้ายเมื่อ 20 ปีก่อน จึงตามมาแก้แค้นโดยปลอมตัวเป็นคนลึกลับ ท่านจะได้เห็นการต่อสู้กันบนเรือใบกลางทะเล การต่อสู้ในบ้าน และการต่อสู้ชิงนางกลางทุ่ง การต่อสู้นี้ล้วนไปด้วยหมัดมวยและอาวุธปืน ทุกตอนจะทำให้ท่านรู้สึกพอใจ ในที่สุดท่านจะต้องออกปากว่า "หนังไทยเรื่องนี้ของเขาควรผูกโบว์แดงให้ได้" พูดถึงผู้แสดง มีโดยมากนับว่าใช้บทบาทได้สนิท ผู้ที่ควรได้รับความชมเชยชั้นเยี่ยมของการแสดงในเรื่องก็คือ จรวย วีละเวีย ลีละชาติ นางเอกผู้เป็นตัว "สุลักษณ์" บุตรี เลี้ยงของนายทองใบ จรวยได้วางบทบาทสมแก่เป็นตัวภาพยนตร์ได้ดีจริงๆ ดีจนควรนับได้ว่าอยู่เหนือนางเอกภาพยนตร์ไทยที่ท่านเคยเห็นมา เช่น ยามโกรธ ยามตกใจ ดีใจ ยามออเซาะ เหล่านี้ ชวนให้รู้สึกว่าจรวยไม่มีการเก้อเขินแต่อย่างใดเลย ถัดจากนี้ก็ตัวพระเอกพระรองและตัวประกอบอีก ซึ่งมีบทดีไม่แพ้แม่จรวย นอกจากนั้นยังแสดงการชกต่อยและการขี่ม้าขี่ฬาคล่องแคล่วอย่างน่าชม บางคนสังเกตว่าพยายามเลียนจากบท ฮูด กิ๊บสัน หรือ เคน เมย์นาดไม่ผิดเลย ยังมีผู้แสดงที่ควรได้รับความชมเชยเป็นพิเศษอีกคนหนึ่ง คือ นายไกวัลย์ ซึ่งแสดงเป็นตัวบ้าหรือใบ้ นายคนนี้ เมื่อแสดง "ไม่คิดเลย" ยังมีอาการขวางๆ รีๆ อยู่มาก ครั้น มาแสดงเรื่องนี้กลับมีสภาพเป็นคนละคน การแสดงของนาย ไกวัลย์ในเรื่อง "เลือดแค้น" สกปรกโสมมเหลือกำลัง เสื้อผ้า ขาดกะรุ่งกะริ่งผมเผ้ายาวเหมือนบ้าหอบฟาง เพราะถูกเกณฑ์ให้เป็นคนใบ้เนื่องจากในเรื่องถูกน้องชายโกงสมบัติ ตามสังเกตดูเหมือนนายไกวัลย์จะเลียนแบบ "ลอน ชานีย์" เอา เสียจริงๆ ถึงหากบทจะด้อยกว่าลอน ชานีย์ ก็ยังนับว่าเป็น ลอน ชานีย์ ไทยได้ ไม่อายคนดูทีเดียว ตัวนี้คู่หูกับตาเชยเตี้ย นับว่าเป็นผู้ทำให้เรื่องครึกครื้นมากอยู่ (ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวภาพยนตร์ กรกฎาคม พ.ศ. 2471)

หน้าที่