เล็บครุฑ (2500)
เล็บครุฑ (2500/1957) เล็บครุฑ เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 สร้างจากบทประพันธ์ของ พนมเทียน โดยคุณสุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ แห่งบริการ ภาพยนตร์สหะนาวีไทย ซึ่งลงมือกำกับการแสดงเป็นเรื่องแรก ภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดถึงหนึ่งล้านเก้าแสนบาท
มงกุฎเดี่ยว (2500)
มงกุฎเดี่ยว (2500/1957) มงกุฎเดี่ยว เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 เป็นผลงานการกำกับของ ส.อาสนจินดา ถ่ายภาพโดย วิจารณ์ ภักดีวิจิตร และจัดจำหน่ายโดย บางกอกภาพยนตร์
นักสืบพราน ตอน จำเลยไม่พูด (2499)
นักสืบพราน ตอน จำเลยไม่พูด (2499/1956) ขุนวนกิจบำรุง ติดต่อให้ พราน เจนเชิง นักสืบหนุ่มช่วยคลี่คลายคดีฆาตกรรมซึ่ง อรัญญา ลูกสาวของตนตกเป็นผู้ต้องหาคดีฆาตกรรม วิกรม สามีเศรษฐีอยุธยาเพราะอรัญญาปิดปากเงียบไม่ยอมให้การใดๆ หลังจากถูกจับกุม ทำให้การสืบสวนเป็นไปอย่างยากลำบาก พรานเริ่มงานโดยให้ เกรียง ศักดา สืบความเป็นมาของวิกรม อรัญญา และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ตลาดหัวรอจ.อยุธยา และให้ พิชิต ผู้ช่วยอีกคนไปขอภาพถ่ายวันเกิดเหตุจากตำรวจ ส่วนตัวเองไปสืบข้อมูลจาก ร.อ. เถกิง พี่ชายของอรัญญา และได้รู้ว่าอรัญญากับวิกรมมีเรื่องระหองระแหงกันเรื่องชู้สาวมาสักระยะ ในวันเกิดเหตุ อรัญญาไปหาวิกรมที่อยุธยาเพราะโมโหที่ถูกถอดชื่อออกจากกรมธรรม์ การสนทนาจบแต่เพียงนี้ เมื่อ ร.อ. วิษณุ เพื่อนของเถกิงเข้ามาขัดจังหวะ ร.ต.อ. ผจญ เจ้าของคดีรู้สึกเสียหน้ามากที่พรานเข้ามายุ่งเกี่ยวกับคดี จึงสั่งให้คนสะกดรอยตาม เกรียงสืบได้ว่าวิกรมแอบเล่นชู้กับ มยุรี ส่งศรี และถูก ประพาศ สามีของตนรีดไถ พรานวางแผนหลอกล่อตำรวจจนสืบข้อมูลจากมยุรีได้สำเร็จ ก่อนที่ ร.ต.อ. ผจญ จะจับมยุรีไปกักขัง คืนนั้น พรานได้รับโทรศัพท์จากชายลึกลับเรียกไปพบตอนตีสอง ที่ถนนสนามม้า พรานโทรศัพท์ไปบอกร.ต.อ. ผจญ แต่ถูกเยาะเย้ยหาว่าโกหก จึงไปที่นัดหมายเพียงคนเดียว เมื่อถึงเวลา เก๋งดำคันหนึ่งห้อมาด้วยความเร็วสูงและกระหน่ำยิงนักสืบพรานจนแน่นิ่ง ร.ต.อ. พจน์ ซึ่งรู้เรื่องในภายหลังรีบนำกำลังตำรวจติดตามและต้อนเก๋งดำจนจนมุมปรากฏว่ามือปืน คือ ร.อ. วิษณุ นั่นเอง ตำรวจรีบไปช่วยชีวิตพราน แต่พบกับหุ่นจำลองที่พรานใช้ตบตาเพื่อจับกุมคนร้าย อรัญญาจึงได้รับการปล่อยตัวให้เป็นอิสระโดยความช่วยเหลือจากนักสืบพราน
ยิงทิ้ง (2499)
ยิงทิ้ง (2499/1956) รุ่งสางวันหนึ่ง ตำรวจได้รับรายงานว่าคนขับรถบรรทุกพบศพสภาพสยดสยองของชายนิรนาม ถูกยิงทิ้งข้างถนน ทราบภายหลังว่าเป็นศพของ นายวิง หนึ่งในแก๊งโจรปล้นบริษัทประกันภัย ตำรวจสันนิษฐานว่าน่าจะถูกฆ่าปิดปากเพราะขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ และรีบนำกำลังไปจับ พัฒ แสงทอง และ จวบ เพียรฉลาด เพื่อนร่วมแก๊งของ วิง ส.ต.อ.จรินทร์ เริงฤทธิ์ จึงได้รับมอบหมายให้ไปสืบคดีจากพัฒและจวบ โดยปลอมตัวเป็นนักโทษชายเข้าไปในคุกในนามของ เหิม บุญยืม เหิมเข้าไปคลุกคลีกับแก๊งของพัฒจนได้รับความไว้วางใจ จนร่วมมือกันแหกคุกในวันหนึ่ง และกลับไปประกอบมิจฉาชีพดังเดิม ทั้งสามไปเข้ากับแก๊งของ เริ่ม วางแผนปล้นเงินธนาคาร โดยแสร้งทำเป็นสร้างภาพยนตร์บังหน้า แผนการปล้นสำเร็จไปด้วยดี แต่เริ่มกับสมุนยักยอกเงิน แก๊งโจรจึงแตกคอกันขึ้น เหิมหาจังหวะแอบรายงานไปยังผู้กำกับการตำรวจแต่ถูกพัฒกับสนิทจับได้จึงถูกจับเป็นตัวประกัน
เพลิงโลกันต์ (2498)
เพลิงโลกันต์ (2498/1955) ดู...! บทรักที่เข้มข้นหลายรส..... บทกร้าวของคนหนุ่ม และ... การต่อสู้ของลูกผู้ชาย..... เขา ชนะเธอด้วย...เงิน..เขากระชากจิตต์ใจของเธออย่างยับเยิน นั่นคือการก่อความแค้นแก่ชีวิตถึง 2 ชีวิต ความ รักของหล่อนรุนแรง... เสน่ห์ของหล่อนคือจุดดับ.. แห่งชีวิตของเขา..... เธอถูกประนามว่า..... "รักร้อนละลายเร็ว" แต่สำหรับเขา...เธอมั่นคงด้วยสัตย์ซื่อจากหัวใจ..... เธอบอกว่า.. "โรมอยู่ที่ไหน ฉันจะอยู่ที่นั่น" แต่แล้วชีวิต ของเธอก็ต้องตกอยู่บน "พรหมลิขิต" (ที่มา: นิตยสารดาราไทย กรกฎาคม พ.ศ. 2498)
อัศวินเหล็ก (2498)
อัศวินเหล็ก (2498/1955) บุษบง และ บุษบา สองศรีพี่น้องซึ่งกำลังเป็นสาวสะพรั่ง สร้างความกลุ้มอกกลุ้มใจแก่ นายพลตรีบรรลือฤทธิ์ ผู้เป็นบิดา เพราะเริ่มมีหนุ่มๆ มาจีบลูกสาวของตนโดยเฉพาะบุษบงผู้พี่ ซึ่งมี ธำรง มาติดพัน แม้บรรลือฤทธิ์จะปรามด้วยว่าบุษบงมีคู่หมั้นอยู่แล้ว แต่ก็ถูกบุษบงตอกกลับทุกครั้ง เพราะไม่เคยเห็นหน้าตาคู่หมั้นที่พ่อกล่าวอ้าง รู้เพียงว่าชื่อ เปีย วันหนึ่ง ด่วม ลูกชายผู้ว่าเชียงใหม่เกลอเก่าของบรรลือฤทธิ์ มาศึกษาต่อที่กรุงเทพและขออาศัยที่บ้านของบรรลือฤทธิ์ บุษบงมองด่วมด้วยสายตาดูถูก แถมยังบังคับไม่ให้บุษบาไปสุงสิงกับด่วม บรรลือฤทธิ์ได้แต่ระอาใจ จึงขอร้องให้ด่วมช่วยดูแลบุตรีในระหว่างที่ตนเองไปทำธุระที่ปากน้ำโพ ทำให้ด่วมมีเรื่องชกต่อยกับธำรงที่ดึงดันจะพาบุษบงไปเที่ยว บุษบงไม่เข็ดหลาบขอพ่อไปเที่ยวบางแสนกับ ธำรงบรรลือฤทธิ์อนุญาตโดยมีข้อแม้ว่าต้องมีด่วมไปด้วย ธำรงเกลียดด่วมเป็นทุนเดิมจึงไปจ้างวานนักเลงท้องถิ่นให้ฆ่าด่วม แต่กลับตาลปัตรเพราะนักเลงคนนั้นนับถือด่วมมาก จึงตลบหลังขูดรีดเงินจากธำรง ซ้ำยังขู่ให้ธำรงรีบไสหัวกลับกรุงเทพ ที่บางแสนนี่เองที่บุษบงได้รู้ว่าด่วมมีอีกชื่อ คือ โสภณ จู่ๆ บุษบาก็โทรเลขมาแจ้งว่าบรรลือฤทธิ์หายตัวไป โสภณสังหรณ์ใจว่าจะเกิดเหตุร้ายจึงรีบไปแจ้งตำรวจทำให้คลาดสายตาจากบุษบง ธำรงส่ง สกล มาหลอกบุษบงว่าธำรงถูกรถชนอาการปางตาย บุษบงหลงเชื่ออย่างง่ายดาย กว่าจะรู้ตัวว่าถูกหลอกก็ต่อเมื่อพบว่าธำรงเป็นคนจับตัวบรรลือฤทธิ์ไปทรมาน เพื่อเค้นถามที่ซ่อนอาวุธของรัฐบาล ร.ต.อ. เผชิญ กับ ร.ต.อ. โสภณ นำกำลังตำรวจมาล้อมที่บ้านธำรง เกลี้ยกล่อมให้ยอมมอบตัวแต่ไม่เป็นผลโสภณร้อนใจแอบปีนหน้าต่างเข้าไปภายในตึกและเกิดการต่อสู้กับธำรงขึ้น โสภณฟันธำรงเสียชีวิตและช่วยบุษบงออกมาได้สำเร็จ หลังเกิดเหตุ สิทธิศักดิ์ พ่อของโสภณเดินทางจากภาคเหนือมาเยี่ยมลูกชาย บุษบงจึงได้รู้ความจริงว่าแท้จริงแล้ว ด่วม หรือ โสภณ ก็คือ เปีย คู่หมั้นปริศนาที่บุษบงไม่เคยเห็นหน้านั่นเอง
นางแก้ว (2498)
นางแก้ว (2498/1955) เหตุฆาตกรรมที่บาร์ "ซิลเวอร์มูน" เป็นที่ประหลาดใจแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ เนื่องจากผู้ต้องหาเป็นหญิงสาวรูปร่างบอบบาง จึงนำตัวเธอไปสอบสวนที่สถานีตำรวจได้ความว่า เธอชื่อ ชบา เป็นคนจังหวัดอยุธยา หลังจากที่บิดาถูกจับเข้าคุก วิชิต ซึ่งเป็นโจรได้รับอุปการะชบาและส่งเสียให้ได้เรียนหนังสือ ชบาพบรักกับ เรือเอกสุรพล แต่ต้องยอมตีตัวออกห่าง เพราะรู้ว่าวิชิตมีใจให้ตนเอง คืนหนึ่ง วิชิตถูกทหารญี่ปุ่นจับโทษฐานที่ไปปล้นโกดัง ชบาจึงต้องไปอาศัยอยู่กับ ไปล่ สมุนของวิชิต ที่คิดจะขืนใจชบา สุรพลเป็นห่วงชบาพยายามจะช่วยเหลือหญิงสาว ทันใดนั้นเอง วิชิตก็โผล่เข้ามาในสภาพยับเยิน มือพิการเพราะถูกทหารญี่ปุ่นทารุณ เมื่อรู้ว่าไปล่ทรยศก็ฆ่าไปล่ทิ้ง ชบาปฏิเสธความช่วยเหลือจากสุรพลเนื่องจากต้องการปรนนิบัติวิชิต เมื่อเริ่มฝืดเคืองเงินทอง ชบาจึงต้องหันไปเป็นพาร์ตเนอร์ที่บาร์ซิลเวอร์มูน เป็นเหตุให้วิชิตหนีหายสาปสูญเพราะความเสียใจ สุรพลยังคงห่วงใยชบาจึงพาไปอยู่ที่บ้าน แต่ไม่นานชบาก็ต้องกลับไปประกอบอาชีพเดิม เพราะแม่ของสุรพลไม่ยอมรับชบาเป็นลูกสะใภ้ วิชิตยังคงวนเวียนอยู่กับชบา คอยดูแลชบาอยู่ห่างๆ โดยที่เธอไม่รู้ตัว วันหนึ่ง วิชิตเห็นสุรพลยื้อยุดฉุดมือชบาก็เกิดเข้าใจผิดเข้าไปชกสุรพลและเกิดการต่อสู้กันแต่ความจริงแล้วสุรพลเพียงแค่มาตามชบากลับไปอยู่ด้วยวินาทีที่วิชิตกำลังจะลงมือฆ่าสุรพล ชบาจึงตัดสินใจลั่นไกไปที่วิชิตอย่างไม่ลังเล เมื่อตำรวจได้ฟังเรื่องราวทั้งหมดจึงปล่อยตัวชบาให้เป็นอิสระอย่างแท้จริง
ล่องแพ (2497)
ล่องแพ (2497/1954) "คุณแม่ครับ! ต่อไปนี้ผมคงไม่ได้เรียนหนังสือแน่แล้ว" "มึงจำได้ไหม? ครั้งหนึ่งเมื่อกูเด็ก ๆ มึงจะฆ่ากู มึงกดน้ำกูอย่างงี้ ๆ ๆ" (ที่มา: นิตยสารข่าวภาพยนตร์ กรกฎาคม พ.ศ. 2497)
อัศวินสาว (2497)
อัศวินสาว (2497/1954) เชิงชาย กับ อัศนี สองเพื่อนรักต้องมาผิดใจกันเพราะต่างก็หลงรัก อารมณ์ หลายปีผ่านไปอัศนีได้เป็นนายตำรวจและได้รับมอบหมายให้ตามล่าสมุนของเชิงชายที่ค้าของเถื่อน เชิงชายทราบข่าวจึงสั่งฆ่าอัศนี ทำให้อารมณ์กลายเป็นภรรยาหม้าย ต้องเลี้ยงมาริน ลูกสาวเพียงผู้เดียว เวลาผ่านไป มารินโตเป็นสาวสะพรั่งเข้าศึกษานักเรียนนายร้อยตำรวจหญิงเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์จากพ่อ แต่ก่อนมารินสำเร็จการศึกษาเพียงไม่กี่วันอารมณ์ก็ถูกฆ่าตาย ขณะนั้นเอง ทางราชการสั่งให้มารินปลอมตัวสมัครไปเป็นเลขานุการิณีของเชิงชาย ทำให้ตำรวจสามารถบุกทลายที่ซ่องโจรของเชิงชายได้สำเร็จ เชิงชายจับตัวมารินหนีไปกบดานที่หัวหินโดยมี บรรชา ลูกชายของเชิงชายไปด้วย มารินหาโอกาสที่เชิงชายเผลอ ฆ่าเชิงชายเพื่อล้างแค้นแทนพ่อ แม้ตนเองจะรักบรรชาอยู่ก็ตาม
คำสั่งคำสาป (2497)
คำสั่งคำสาป (2497/1954) ดร.ทองคำ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยึดมั่นในลัทธิประชาธิปไตย มีสานุศิษย์เคารพเป็นจำนวนมาก เมื่อ ดร.ทองคำ เสียชีวิต นายพูน พี่ชายของดร.ทองคำ ซึ่งเป็นผู้ร่วมอุตสาหกรรมน้ำพูนจิตต์ รับ เครือมาศ ลูกสาวคนเดียวของ ดร.ทองคำ มาดูแล นายพูนได้สร้างอนุสาวรีย์ ดร.ทองคำ ขึ้น และพยามยามชักจูงผู้ที่เคยเลื่อมใส ดร.ทองคำ ให้มาเลื่อมใสตน แต่เบื้องหลังกลับวางแผนการกำจัดเครือมาศโดยการวางยาทำลายเส้นประสาท เครือมาศรู้ตัวทันจึงลอบหนีไปหา ขุนลีลาศาสตร์สุนทร เพื่อนรักของ ดร.ทองคำ ขุนลีลาศาสตร์สุนทรอาศัยอยู่กับ ชัยศิริ บุตรชายซึ่งมีอาชีพเป็นนักสืบชัยศิริจึงรับปากจะช่วยเครือมาศ ชัยศิริลอบเข้าบ้านพูนโพคาเพื่อสืบหาหลักฐานสาเหตุการเสียชีวิตของ ดร.ทองคำ นายพูนมาพบเข้าจึงเกิดการต่อสู้กัน นายพูนและแม่ผันแยกกันหนี แม่ผันออกไปทางลับเพื่อเรียกคนมาช่วย ส่วนนายพูนหนีไปทางตึกที่มีรูปปั้น ดร.ทองคำ ชัยศิริซ้อนกลนายพูนต่อหน้าคนที่แม่ผันเรียกมา โดยทำให้รูปปั้นเปิดโปงว่านายพูนทรยศต่อ ดร.ทองคำ และออกคำสั่งให้จัดการนายพูนเสีย แต่นายพูนพยายามแย่งระเบิดจากคนใกล้ๆ พ.ต.ต. ว่อง โดดออกมาจากด้านหลังรูปปั้นเข้าแย่งระเบิดไว้ทัน และใส่กุญแจมือนายพูนติดไว้กับรูปปั้น แต่ไม่ทันไรรูปปั้นนั้นก็ล้มทับนายพูนตายคาที่
เหยื่ออาชญากรรม (2497)
เหยื่ออาชญากรรม (2497/1954) เหยื่ออาชญากรรม (อังกฤษ: Who is the Murderer) เป็นภาพยนตร์ไทย ฟิล์ม 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2497 สร้างโดย โรงเรียนสืบสวน กรมตำรวจ โดยมี พ.ต.อ. เยื้อน ประภาวัต เป็นผู้อำนวยการสร้าง อำนวยการแสดงโดย จรี อมาตยกุล กำกับการแสดงโดยครูเนรมิต (อำนวย กลัสนิมิ) และถ่ายภาพโดย สุจินต์ สุทธิวรรณ
ทะเลทม (2496)
ทะเลทม (2496/1953) นิยายรักรันทดของชาวทะเล ซึ่งหนี้ของความแค้นต้องล้างด้วยเลือด! และ...ชีวิต! (ที่มา: นิตยสารผดุงศิลป์ สิงหาคม พ.ศ. 2496)
Placeholder
ไข่มุกดำ (2495)
ไข่มุกดำ (2495/1952) ภาพยนตร์ชีวิตของพวกสิบแปดมงกุฎ ซึ่งเต็มไปด้วยการหักหลังและล้างชีวิตกันอย่างดุเดือด! (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495)
มารสวาท (2495)
มารสวาท (2495/1952) เรื่องดี เด่น ดุเดือดถึงคอขาดบาดตาย (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 17 มีนาคม พ.ศ. 2495)
มาริยานางในเกาะนรก (2495)
มาริยานางในเกาะนรก (2495/1952) เผยชีวิตในค่ายคุมขังตะรุเตา ชีวิตจริง ตัวจริง สถานที่จริง ตื่นเต้น ทารุณ รักโศรก เจ้าคุณศราภัย ในบทบาทจริงของท่านก่อนหนี 1 ชั่วโมง (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 30 กันยายน พ.ศ. 2495)