นางแมวผี (2503)
นางแมวผี (2503/1960) แมน-จรัสศรี ข้อความบนใบปิด สุรัชนีภาพยนตร์ ภูมิใจเสนอ ตื่นเต้น! สั่นประสาท! และเขย่าขวัญท่านมาแล้ว จากเสียงของละครวิทยุ คณะกันตนา บัดนี้... มาสร้างเป็นภาพชีวิตที่เคลื่อนไหว สั่นประสาท...สยดสยอง...และเร้าใจกว่า! นางแมวผี สมศรี จันทรประเสริฐ อำนวยการสร้าง รัตน์ เศรษฐภักดี ถ่ายภาพ-กำกับการแสดง นำแสดงโดย แมน ธีระพล จรัสศรี สายะศิลปี จรูญ สินธุเศรษฐ์, ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์, วงทอง ผลานุสนธิ์, ด.ช. ฉกรรจ์ พึ่งสังข์ และขิเสนิดาวดวงใหม่ ดวงสุดา ปาริชาติ ที่ โรงหนังเอ็มไพร์ เริ่มวันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2503 นี้ ฉายวันละ 4 รอบ 12.00 น., 14.00 น., 19.00น. และ 21.00 น. วันหยุดราชการเพิ่มรอบเช้า 10.00 น. พากย์โดย คณะกันตนา ครบชุด (ที่มา :Thai Movie Posters)
ฟูแมนจู (2503)

ฟูแมนจู (2503/1960) อดุลย์-เกศริน-แมน ข้อความบนใบปิด ยูเนียนฟิล์ม ศุภอัฐ ชวะโนทัย ผู้สร้าง เหนือมนุษย์ ภูมิใจเสนอ ฟูแมนจู จากบทประพันธ์ และการกำกับ ของ ส.อาสนจินดา นำแสดงโดย ดาราที่ผ่านการคัดเลือก ให้เหมาะสมบทบาทที่สุด เกศริน ปัทมวรรณ อดุลย์ ดุลยรัตน์ แมน ธีระพล พงษ์ลดา พิมลพรรณ,อาคม มกรานนท์, ทัต เอกทัต, สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, ประสาสน์ คุณะดิลก, ประภาศรี สาธรกิจ, รจิต ภิญโญวนิช, ไศล พูนชัย, เทียนชัย สุนทรการันต์, วีระพล ชัยวรรณ, เปิ่น ปาฏิหาริย์, ชั้น พวงวัน, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม ขอเสนอ มาริลิน มอนโรไต้หวัน คู่แข่งดาราแจกันทองของฮ่องกง มิสมู่หง ต้อนรับตรุษจีนที่เอ็มไพร์ และพัฒนากร เริ่มฉายวันที่ 26 มกราคม 2503 (ที่มา :Thai Movie Posters)

แม่นาคพระโขนง (2502)
แม่นาคพระโขนง (2502/1959) จากแรงรักของนางที่มีต่อเขา เมื่อนางได้ตายจากเขาไป วิญญาณรักของนางจึงยังคงเวียนว่าย อยู่ในร่างร้าย เพื่อรอคอยสามี ภาพยนตร์ไทยเรื่องเดียวในยุคนี้ ที่สามารถทำรายได้ เกินล้าน ด้วยเวลาอันรวดเร็วที่สุด! เรื่องราวของนายมาก ผู้ต้องจากภรรยาที่กำลังตั้งท้องอ่อนๆ ไปเป็นทหารตามกฎบ้านเมือง นางนาคเฝ้ารอสามีจนท้องแก่ใกล้คลอด และในวันคลอดนั้นเอง เธอก็ทนความเจ็บปวดไม่ไหวจนตายไปพร้อมลูกในท้อง แต่ความอาวรณ์ทำให้เธอยังคงเฝ้ารอพี่มากอยู่ กลายเป็นเรื่องเล่าสยองขวัญ เมื่อหลายคนพยายามเข้าไปข้องแวะกับเธอ ล้วนเจอฤทธิ์เดชที่ถ้าไม่ตายก็เสียสติไป
เงาเพชฌฆาต (2502)
เงาเพชฌฆาต (2502/1959) เงาเพชฌฆาต เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2502 สร้างโดย น้ำทิพย์ภาพยนตร์
นางตะเคียน (2500)
นางตะเคียน (2500/1957) นางตะเคียน เป็นภาพยนตร์สีธรรมชาติ 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 สร้างโดย สหายภาพยนตร์ โดยมี ทิพย์รัตน์ ต. บุญชู เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดย หนุ่ม เต็งบุญชู และถ่ายภาพโดย สุขจิตร
นักสืบพราน ตอน จำเลยไม่พูด (2499)
นักสืบพราน ตอน จำเลยไม่พูด (2499/1956) ขุนวนกิจบำรุง ติดต่อให้ พราน เจนเชิง นักสืบหนุ่มช่วยคลี่คลายคดีฆาตกรรมซึ่ง อรัญญา ลูกสาวของตนตกเป็นผู้ต้องหาคดีฆาตกรรม วิกรม สามีเศรษฐีอยุธยาเพราะอรัญญาปิดปากเงียบไม่ยอมให้การใดๆ หลังจากถูกจับกุม ทำให้การสืบสวนเป็นไปอย่างยากลำบาก พรานเริ่มงานโดยให้ เกรียง ศักดา สืบความเป็นมาของวิกรม อรัญญา และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ตลาดหัวรอจ.อยุธยา และให้ พิชิต ผู้ช่วยอีกคนไปขอภาพถ่ายวันเกิดเหตุจากตำรวจ ส่วนตัวเองไปสืบข้อมูลจาก ร.อ. เถกิง พี่ชายของอรัญญา และได้รู้ว่าอรัญญากับวิกรมมีเรื่องระหองระแหงกันเรื่องชู้สาวมาสักระยะ ในวันเกิดเหตุ อรัญญาไปหาวิกรมที่อยุธยาเพราะโมโหที่ถูกถอดชื่อออกจากกรมธรรม์ การสนทนาจบแต่เพียงนี้ เมื่อ ร.อ. วิษณุ เพื่อนของเถกิงเข้ามาขัดจังหวะ ร.ต.อ. ผจญ เจ้าของคดีรู้สึกเสียหน้ามากที่พรานเข้ามายุ่งเกี่ยวกับคดี จึงสั่งให้คนสะกดรอยตาม เกรียงสืบได้ว่าวิกรมแอบเล่นชู้กับ มยุรี ส่งศรี และถูก ประพาศ สามีของตนรีดไถ พรานวางแผนหลอกล่อตำรวจจนสืบข้อมูลจากมยุรีได้สำเร็จ ก่อนที่ ร.ต.อ. ผจญ จะจับมยุรีไปกักขัง คืนนั้น พรานได้รับโทรศัพท์จากชายลึกลับเรียกไปพบตอนตีสอง ที่ถนนสนามม้า พรานโทรศัพท์ไปบอกร.ต.อ. ผจญ แต่ถูกเยาะเย้ยหาว่าโกหก จึงไปที่นัดหมายเพียงคนเดียว เมื่อถึงเวลา เก๋งดำคันหนึ่งห้อมาด้วยความเร็วสูงและกระหน่ำยิงนักสืบพรานจนแน่นิ่ง ร.ต.อ. พจน์ ซึ่งรู้เรื่องในภายหลังรีบนำกำลังตำรวจติดตามและต้อนเก๋งดำจนจนมุมปรากฏว่ามือปืน คือ ร.อ. วิษณุ นั่นเอง ตำรวจรีบไปช่วยชีวิตพราน แต่พบกับหุ่นจำลองที่พรานใช้ตบตาเพื่อจับกุมคนร้าย อรัญญาจึงได้รับการปล่อยตัวให้เป็นอิสระโดยความช่วยเหลือจากนักสืบพราน
ปีศาจคะนองรัก (2499)
ปีศาจคะนองรัก (2499/1956) ดนัย นักประพันธ์หนุ่มถูกพ่อบังคับให้แต่งงานกับ กานดา ลูกสาวของเพื่อน ดนัยทนพ่อรบเร้าไม่ได้จึงตอบตกลงแต่งงาน โดยมีเงื่อนไขว่าจะขอไปเขียนหนังสือที่อยุธยาให้เสร็จเสียก่อน ดนัยไปพักอยู่ที่บ้านเก่าๆ หลังหนึ่งที่อยุธยาซึ่ง ผ่อน เลขานุการของพ่อจัดการหามาให้ ที่บ้านหลังนี้ ดนัยได้พบปิศาจสาวที่ปรากฏตัวมาต่อว่าดนัยที่มาอยู่บ้านหลังนี้โดยไม่บอกกล่าวเสียก่อนแต่ในที่สุดปิศาจก็รับว่าล้อเล่นเพราะรู้จักดนัยเป็นอย่างดี วันหนึ่งดนัยได้พบกับ เรียม ที่วังโบราณและตกหลุมรักทันทีที่เห็นเช่นเดียวกับเรียม แต่เรียมโดนพ่อบังคับให้แต่งงานกับ นายใหญ่ ผู้มีอิทธิพล เรียมพยายามขอร้องไม่ให้ดนัยติดต่อกับเธอเพราะกลัวนายใหญ่ทำร้าย ดนัยจึงขอให้ปิศาจสาวช่วยเหลือ ปิศาจสาวปฏิเสธและเล่าให้ดนัยฟังว่า เมื่อสองร้อยปีก่อน ตนเคยถูกบังคับให้เป็นบาทบริจาริกาของสมัยพระพุทธเจ้าเสือ แต่ขัดขืนเพราะรักอยู่กับชายคนหนึ่งจึงฆ่าตัวตาย ผู้ชายคนที่ว่านั้นได้กลับมาเกิดใหม่คือดนัยนั่นเอง ต่อมา ดนัยได้รับจดหมายจากเรียมเรียกให้ไปพบ แต่เมื่อไปถึงที่หมายกลับพบนายใหญ่และพ่อของเรียมรุมทำร้าย ปิศาจสาวมาช่วยไว้ทัน เรียมส่งจดหมายหาดนัยหลังจากนั้นเพื่อบอกว่าได้แต่งงานแล้วกับนายใหญ่เพราะไม่อยากให้ดนัยโดนทำร้ายอีก ดนัยเสียใจมากหันเข้าหาสุรา ปิศาจสาวปรากฏตัวให้ดนัยเห็นเป็นครั้งสุดท้ายพร้อมกับบอกว่าอีก 30 ปี จึงจะได้พบกันอีกที่บ้านหลังนี้ ดนัยจึงกลับไปแต่งงานกับกานดา เมื่อถึงกำหนด ดนัยกลับมาตามสัญญาที่ให้ไว้กับปิศาจสาวและเสียชีวิตที่บ้านหลังเดิม ปิศาจสาวจึงมารับวิญญาณตามสัญญา
Placeholder
นางนาคพระโขนง (2498/1955) นางนาคพระโขนง เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2498 กำกับการแสดงโดย หนุ่ม เต็งบุญชู ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการนำเรื่องราวของแม่นากพระโขนงมาสร้างเป็นภาพยนตร์
คำสั่งคำสาป (2497)
คำสั่งคำสาป (2497/1954) ดร.ทองคำ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยึดมั่นในลัทธิประชาธิปไตย มีสานุศิษย์เคารพเป็นจำนวนมาก เมื่อ ดร.ทองคำ เสียชีวิต นายพูน พี่ชายของดร.ทองคำ ซึ่งเป็นผู้ร่วมอุตสาหกรรมน้ำพูนจิตต์ รับ เครือมาศ ลูกสาวคนเดียวของ ดร.ทองคำ มาดูแล นายพูนได้สร้างอนุสาวรีย์ ดร.ทองคำ ขึ้น และพยามยามชักจูงผู้ที่เคยเลื่อมใส ดร.ทองคำ ให้มาเลื่อมใสตน แต่เบื้องหลังกลับวางแผนการกำจัดเครือมาศโดยการวางยาทำลายเส้นประสาท เครือมาศรู้ตัวทันจึงลอบหนีไปหา ขุนลีลาศาสตร์สุนทร เพื่อนรักของ ดร.ทองคำ ขุนลีลาศาสตร์สุนทรอาศัยอยู่กับ ชัยศิริ บุตรชายซึ่งมีอาชีพเป็นนักสืบชัยศิริจึงรับปากจะช่วยเครือมาศ ชัยศิริลอบเข้าบ้านพูนโพคาเพื่อสืบหาหลักฐานสาเหตุการเสียชีวิตของ ดร.ทองคำ นายพูนมาพบเข้าจึงเกิดการต่อสู้กัน นายพูนและแม่ผันแยกกันหนี แม่ผันออกไปทางลับเพื่อเรียกคนมาช่วย ส่วนนายพูนหนีไปทางตึกที่มีรูปปั้น ดร.ทองคำ ชัยศิริซ้อนกลนายพูนต่อหน้าคนที่แม่ผันเรียกมา โดยทำให้รูปปั้นเปิดโปงว่านายพูนทรยศต่อ ดร.ทองคำ และออกคำสั่งให้จัดการนายพูนเสีย แต่นายพูนพยายามแย่งระเบิดจากคนใกล้ๆ พ.ต.ต. ว่อง โดดออกมาจากด้านหลังรูปปั้นเข้าแย่งระเบิดไว้ทัน และใส่กุญแจมือนายพูนติดไว้กับรูปปั้น แต่ไม่ทันไรรูปปั้นนั้นก็ล้มทับนายพูนตายคาที่
สามเกลอเจอผี (2496)
สามเกลอเจอผี (2496/1953) สามเกลอเจอผี เป็นภาพยนตร์ไทย ฟิล์ม 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2496 กำกับการแสดงโดย ดอกดิน กัญญามาลย์ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีคำโปรยว่า ภาพยนตร์ตลก-แปลก และใหม่ที่สุด ไม่ซ้ำแบบใคร
วิญญาณคนอง (2496)
วิญญาณคนอง (2496/1953) นางนากพระโขนงแผลงฤทธิ์อีก นิยายใหม่ของนางนาก (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2496)
เสียงสาป (2496)
เสียงสาป (2496/1953) สำเนียงนั้นแผ่วโผยมาในอากาศ เป็นสำเนียงที่พลิกชีวิตหนึ่งให้กระเจิงไป ...สำเนียงประหลาดนั้น เป็น! "เสียงสาป" (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2496)
Placeholder
ซากผีดิบ (2495)
ซากผีดิบ (2495/1952) ดร.ชาญ จบจากประเทศฝรั่งเศสเป็นคนไม่เชื่อว่าผีมีจริงในโลก ได้โคจรมาพบ ผ่องพรรณ ลูกสาวของ ขุนจำนง และเริ่มชอบผ่องพรรณ แต่เธอมีคนรักแล้วคือ สาโรช ขุนจำนงมีภรรยาชื่อ พวง เป็นภรรยาหลวง และ พริ้ง เป็นภรรยาน้อย แม่พริ้งยังสาวและสวยอยู่ ส่วนขุนจำนงวันๆ เอาแต่หมกมุ่นอยู่กับการเล่นแร่แปรธาตุ เมื่อ ดร.ชาญ มาคลุกคลีในบ้านขุนจำนงนานเข้า ทั้งสองจึงเล่นชู้กัน คืนหนึ่ง ขุนจำนงฝันว่ามีผู้วิเศษมาเข้าฝัน บอกให้ขุนจำนงเอาตะกั่วหลอมเป็นลูกกลมๆ เอาไปใส่น้ำยาสมุนไพร นำไปบวงสรวงและฝังกลางโบสถ์ร้าง เมื่อครบกำหนด 3 วัน 3 คืน ให้ไปขุดขึ้นมา ก้อนตะกั่วจะกลายเป็นแก้วสารพัดนึก สามารถขอพรได้ 3 ประการ ขุนจำนงทำตามความฝันโดยมี ดร.ชาญ ตามไปด้วย แต่แล้ว ดร.ชาญ ผู้ไม่เชื่อเรื่องผีสางก็ถูกผีบีบคอตายอย่างน่าสยดสยอง เมื่อครบกำหนดขุนจำนงไปขุดเอาแก้วสารพัดนึก แล้วให้ภรรยานึกสิ่งที่ต้องการคนละ 1 ข้อ ไม่นานนักทุกคนในบ้านก็ถูกลอตเตอรี่พร้อมกันเป็นไปตามที่พวงขอ ส่วนพริ้ง ไม่มีใครล่วงรู้ว่าขอเรื่องอะไร จนกระทั่ง ผีดิบ ดร.ชาญ ตามมาอาละวาดที่บ้าน ทุกคนจึงได้รู้ว่าพริ้งขอให้ ดร.ชาญ ฟื้นคืนชีพ
วิญญาณปาฏิหาริย์ (2495)
วิญญาณปาฏิหาริย์ (2495/1952) เกร็ดพงษาวดารสมัยโบราณเก่าแก่ จนเกี่ยวไปถึงสิ่งมหัศจรรย์ (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 4 เมษายน พ.ศ. 2495)
วิญญาณรักของนางนาค (2494/1951) ในวันสงกรานต์ ณ ตำบลพระโขนง ระหว่างที่หนุ่มสาวกำลังร่วมในงานรื่นเริง แต่ที่มุมหนึ่ง มาก และ นาค สาวงามแห่งทุ่งพระโขนงกำลังพลอดรักกันอยู่ที่กองฟาง สร้างความริษยาแก่ แม่เฮียง ซึ่งแอบหลงรักมากอยู่ฝ่ายเดียว กำนัน ลุงของมาก เพื่อนกินเหล้าของ เถ้าแก่เฮง กลับทาบทามแม่เฮียง ลูกสาวของเถ้าแก่เฮงมาเป็นสะใภ้ ซึ่งเถ้าแก่เฮงก็เห็นดีเห็นงามด้วย เพราะมากเป็นชายหนุ่มที่ตั้งใจทำมาหากิน นัดหมายเป็นมั่นเหมาะว่าจะให้หนุ่มสาวแต่งงานกันในเดือน 9 โดยมีข้อแม้คือให้กำนันช่วยเป็นพ่อสื่อจัดแจงให้ตนได้สมรักกับนาค มากปฏิเสธการแต่งงานอย่างหัวเด็ดตีนขาด แม้กำนันจะขู่ตัดออกจากกองมรดกก็ไม่สามารถเปลี่ยนใจเขาได้ มากหัวเสียกลับมาที่งานรื่นเริง เห็นเถ้าแก่เฮงรำเล่นอยู่กับนาคก็ยิ่งฉุนเฉียวหนัก โชคดีที่นาคตามมาปรับความเข้าใจและตกลงปลงใจอยู่ด้วยกันนับจากวันนั้นโดยมี ป้าแช่ม เมียของกำนันแอบให้ความช่วยเหลือเถ้าแก่เฮงยังไม่ละความพยายามจะเอานาคเป็นเมีย ร่วมมือกับกำนันส่งมากไปเป็นทหารเกณฑ์ ทั้งที่นาคกำลังตั้งครรภ์อยู่ กลางดึกคืนหนึ่งนาคเจ็บท้องอย่างหนัก พยายามออกมาขอความช่วยเหลือจากชาวบ้าน แต่ขาดใจตายกลางคัน เช้าวันรุ่งขึ้น เช้าบ้านช่วยกันนำศพนาคไปฝังไว้ที่ใต้ต้นตะเคียนคู่ ในป่าช้าวัดมหาบุศย์ แต่หลังจากนั้นวิญญาณของนาคก็ออกอาละวาดชาวบ้านละแวกนั้น แม้จะมีหมอผีอาสามาปราบก็ไม่สำเร็จ วันหนึ่ง มากขอลากลับมาเยี่ยมลูกเมียที่ทุ่งพระโขนง และต้องดีใจที่เห็นลูกเมียยืนคอยที่ริมตลิ่ง โดยไม่รู้เลยว่านั่นเป็นเพียงวิญญาณรักของนางนาค