ตะวันหลั่งเลือด (2506)
ตะวันหลั่งเลือด (2506/1963) ชายหนุ่มผู้ใฝ่หาความยุติธรรม ต้องออกไปเผชิญโชคในป่ากว้าง แต่เมื่อเขาพบกับความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับคนในบ้านป่า เขาจึงลุกขึ้นมาปราบอิทธิพลเถื่อน เรื่องราวของ เข้ม ชายหนุ่มผู้หลบหนีการตามล่ามาถึงบ้านโคกตะแบก ที่นั่นเขาได้รับความช่วยเหลือจาก สุดา และ พิศ วันหนึ่งเขาถูกสงสัยว่าเป็นฆาตกรหลังเกิดเหตุฆาตกรรมในหมู่บ้าน แต่เมื่อ กำนันแท่น กำลังมาจับกลับเกิดเหตุการณ์ชุลมุนจนกำนันแท่นถูกยิงเสียชีวิต ส่งผลให้ เกรียง หนุ่มอันธพาลผู้เป็นลูกชายของกำนันโกรธแค้นและตั้งตนเป็นศัตรูกับเข้มอย่างเอาเป็นเอาตาย
เจ็ดประจัญบาน (2506)
เจ็ดประจัญบาน (2506/1963) ข้อความบนใบปิด วัชรภาพยนตร์ ภูมิใจเสนอเป็นอย่างยิ่ง เจ็ดประจัญบาน จากบทประพันธ์ของ ส.อาสนจินดา 54 ดารา มิตร ชัยบัญชา ส.อาสนจินดา ทักษิณ แจ่มผล อาคม มกรานนท์ รุจน์ รณภพ และ 3 สาวต่างประเทศประชันโฉม มิสคริสติน เหลียง แห่ง ฮ่องกง มิสจางเซฟาง แห่ง ไต้หวัน มิสลินดา แห่ง ญี่ปุ่น ขอแนะนำสาวสวยคนใหม่ ปันใจ นาควัฒนา ส.อาสนจินดา กำกับฯ ฉลอง ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ วิมล ยิ้มละมัย อำนวยการสร้าง สนั่น นาคสู่สุข ดำเนินงานสร้าง
สิงห์เดี่ยว (2505)
สิงห์เดี่ยว (2505/1962) ข้อความบนใบปิด ธาดาภาพยนตร์ ยิ่งกว่าคำสั่งเสือ เหนือกว่านักเลงจริง คือ สิงห์เดี่ยว มิตร ชัยบัญชา ทักษิณ แจ่มผล พันคำ เชาว์ แคล่วคล่อง พร้อมด้วย ส.อาสนจินดา, ชาลี อินทรวิจิตร, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, น้ำเงิน บุญหนัก, เมืองเริง ปัทมินทร์, ทานทัต วิภาตะโยธิน, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ และขอเสนอสาวโสภิต นฤมล นราธิป อรชร สร้างเรื่อง ฐิติรัชต อำนวยการสร้าง ส.อาสนจินดา กำกับ ฉลอง ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ
ยอดธง (2505)
ยอดธง (2505/1962) ข้อความบนใบปิด ภาพยนตร์ชีวิตต่อสู้ผจญภัยอันเข้มข้น ของลูกผู้ชายที่นิยมการห้ำหั่นกันด้วยหมัดและปืน! บุศรา นฤมิต อุษา อัจฉรานิมิตร พงษ์ลดา พิมลพรรณ ปรียา รุ่งเรือง ชุติมา ศิริพรหม และ วารุณี นาคะนาวี 6 นางเอกขวัญใจ พบกับ... ไชยา สุริยัน สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ใน ยอดธง ร่วมด้วย เสน่ห์ โกมารชุน, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ, แป๊ะอ้วน, บุญส่ง ดวงดารา
สิงห์เมืองชล (2505)
สิงห์เมืองชล (2505/1962) ข้อความบนใบปิด ขึ้นชื่อว่าเสือหรือสิงห์ ไม่มีใครจริงเท่า สิงห์เมืองชล สีธรรมชาติ นำโดย สามเสือชื่อดังแห่งยุค ทักษิณ แจ่มผล เสือน้อย พันคำ เสือเฒ่า สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ เสือไทย พร้อมด้วย สมจิตร ทรัพย์สำรวย, ถวัลย์ คีรีวัต, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ล้อต๊อก และนักเลงดาบนักเลงปืนอีกมาก ขอแนะนำเทพี 4 จังหวัด เบญจวรรณ บุญญามี ปริญญา ลีละศร กำกับการแสดง ปานเทพ กุยโกมุท ถ่ายภาพ ประเสริฐ ตระกูลไทย อำนวยการสร้าง
มือโจร (2504)
มือโจร (2504/1961) สาวสวยจากเมืองกรุงหนีความผิดไปยังดินแดนไกลปืนเที่ยง ด้วยตั้งใจมาพึ่งใบบุญคุณอา ระหว่างทางเธอกลับถูกโจรป่าจับไปพร้อมหมอหนุ่มซึ่งโดยสารรถมาด้วยกัน ความจริงมาเปิดเผยว่าหัวหน้าโจรนั้นมุ่งจับหมอหนุ่มมาเพื่อให้ช่วยรักษาเมียรักที่กำลังป่วยหนัก ระหว่างนั้นทั้งสาวเมืองกรุงและหมอหนุ่มก็ช่วยกันหาลู่ทางหลบหนี โดยมีเมียขุนโจรที่อยากหนีเช่นกันคอยช่วยอีกแรง เมื่อสบโอกาสทั้งสามจึงพากันหนีไป ทิ้งให้ขุนโจรเดือดดาลและออกตามหาแทบพลิกแผ่นดิน
ฑูตนรก (2503)
ทูตนรก (2503/1960) นพรัตน์ภาพยนตร์ และ พนมเทียน ภูมิใจเสนอ ความเกรียงไกรอันโอฬารริก ใน ทูตนรก ภาพยนตร์ประจำปี 2503และแนะนำให้ท่านได้พบกับ พระเอกคนใหม่ ฤทธี นฤบาล เทพบุตรนัยน์ตาฝัน ซึ่ง พนมเทียน บรรจงสร้างให้ดีเด่นยิ่งกว่า ชีพ ชูชัย พร้อมกับชุมนุมดาราชั้นนำแห่งยุค มากเป็นประวัติการณ์
สิบสองนักสู้ (2502)
สิบสองนักสู้ (2502/1959) *ชื่อเดิม “สิบสองมือปืน” ไม่ผ่านเซ็นเซ่อร์ จึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น “สิบสองนักสู้” อดุลย์-วิไลวรรณ ข้อความบนรูปโฆษณา วิจิตรภาพยนตร์ เสนอ เกรียงไกรและยิ่งใหญ่ เหนือกว่านักสู้ทั้งหลายบนปฐพี.. นั่นคือ สิบสองนักสู้ ส.อาสนจินดา สร้างบทภาพยนตร์ และกำกับการแสดง วิจารณ์ ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ นำแสดงโดย อดลย์ ดุลยรัตน์, ชรินทร์ งามเมือง, ส.อาสนจินดา, อบ บุญติด, จำรูญ หนวดจิ๋ม, ทองฮะ วงศ์รักไทย, เปิ่น ปาฏิหาริย์ สิงห์ มิลินทราศัย, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, สุระ นานา, ชาลี อินทรวิจิตร, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, วิภา วัฒนธำรง, สงวน, สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช พร้อมด้วย เมืองเริง ปัทมินทร์, เทียนชัย สุนทรการันต์, จุมพล ปัทมินทร์, ประกอบ ดาราผู้ให้เกียรติ อาคม มกรานนท์, สาหัส บุญหลง, ประมินทร์ จารุจารีต, ศิริพงษ์ อิศรางกูร, ทองแป๊ะ, เกริก, พงษ์ศิริ และผู้ร่วมแสดงนับร้อย กำลังฉายวันนี้ที่ พัฒนากร-เอ็มไพร์ ฉายวันละ 5 รอบ 12.00 น. 14.00 น.16.30 .19.00 น. 21.15 น. (ที่มา :Thai Movie Posters)
แผ่นดินของใคร (2502)
แผ่นดินของใคร (2502/1959) แผ่นดินของใคร (ชื่อเดิม: แผ่นดินฉกรรจ์) เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2502 สร้างโดย สุวรรณสิงห์ฟิล์ม โปรดักชัน โดยมี สุเมธ คุณะปุระ เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดย ปริญญา ลีละศร ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ดั้งเดิมของ อรชร (ศรี ชัยพฤกษ์) มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเขาพระวิหารโดยตรง
เทพบุตรโจร (2502)
เทพบุตรโจร (2502/1959) เทพบุตรโจร เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2502 สร้างโดย นังคลาภิวัฒน์ภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย ประวิทย์ ลีลาไว ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ ส.อาสนจินดา
มือเหล็ก (2502)

มือเหล็ก (2502/1959) ไม่แน่ไม่แช่แป้ง! ไม่จริงไม่ยิงปืน! ถ้าจะยิงก็ยิงทีเดียว ไม่ต้องเหลียวไปดู ก็รู้ว่าตายแน่!
จากบทประพันธ์ของ ผาสุข วัฒนารมย์ หนังประเภทบู๊ขาดใจ ให้แข่งขันความดีเยี่ยม กับงานของ ภาพยนตร์สหะนาวีไทย ทุกๆเรื่องที่ท่านเคยดู...
หนังประเภทบู๊ขาดใจ ให้แข่งขันความดีเยี่ยมกับงานของ... ภาพยนตร์สหนาวีไทย ทุกเรื่อง หยิ่งผยองเสนอ... ต้อนรับเทศกาลตรุษจีน ปี 2502 นี้ที่ เอ็มไพร์

สั่งอินทรีย์ขาวถล่มกรุง (2501)

อินทรีย์ขาว (2501/1958) สุรสิทธิ์-ศรินทิพย์ ข้อความบนรูปโฆษณา สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ สั่ง อินทรีย์ขาว ถล่มกรุง! จากบทประพันธ์ของ สัติยวดี สร้างเป็นบทภาพยนตร์โดย สุพล สุวรรณสิทธิ์ และอำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง โดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ถ่ายภาพโดย เอก สุภาพันธ์ จากสุภาพบุรุษเสือไทย มาเป็นหัวหน้าแก๊งค์วายร้ายที่มีบริวารยอดบู๊นับพันๆ ทุกครั้งที่เขาประกาศิต มันหมายถึง บุกแหลก! เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิตของ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ (ที่สร้าง-กำกับ) เกรียงไกรไปด้วยขบวนดารานามโรจน์ และยิ่งใหญ่ที่สุดในการถ่ายทำ พรั่งพร้อมด้วย ชาลี อินทรวิจิตร, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, จรูญ สินธุเศรษฐ์, น้ำเงิน บุญหนัก, เสน่ห์ โกมารชุน, จันทรา เมธากุล, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทานทัต วิภาตะโยธิน, ทองแป๊ะ สินจารุ ฯลฯ 

 
หนึ่งต่อเจ็ด (2501)
หนึ่งต่อเจ็ด (2501/1958) หนึ่งต่อเจ็ด เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2501 เป็นผลงานการกำกับของ ส.อาสนจินดา เป็นภาพยนตร์ตอนแรกในภาพยนตร์ชุด หนึ่งต่อเจ็ด ภาพยนตร์ภาคต่อของไทยที่ได้รับการสร้างอย่างต่อเนื่องมากที่สุดในอดีต โดยเป็นเรื่องราววีรกรรมการกอบกู้ชาติไทย เชือกกล้วย กางเกงแดง กลายเป็นเอกลักษณ์ของจ่าดับ จำเปาะ ที่รับบทโดย ส.อาสนจินดา ซึ่งเป็นตัวละครหลักของภาพยนตร์เรื่องนี้
สามเกลอหักด่าน (2499)
สามเกลอหักด่าน (2499/1956) เรื่องราวความโกลาหลของ สมพงษ์ คนกวาดถนนที่ถึงคราวต้องไปรับใช้ชาติ สมพงษ์สังกัดอยู่ในกรมกองเดียวกับ ล้อต๊อก และ หมู่จุมพล อริเก่า และเพิ่งจะรู้ว่า ซูหยิน หญิงสาวที่เขาหลงรักเป็นน้องสาวของล้อต๊อก ส่วน สารภี คนรักของล้อต๊อกก็บังเอิญเป็นน้องสาวของสมพงษ์ ทั้งสามเกลอจึงลืมเรื่องบาดหมางในอดีตและปรองดองกัน ขณะนั้น ศัตรูประกาศรุกรานประเทศไทยทหารสามเกลอถูกส่งตัวไปทำหน้าที่พลลาดตระเวนสอดแนมข้าศึก ภายใต้ความรับผิดชอบของ ร.ต.อธึกระหว่างนั้น พลประสาน ปัทมเวณูได้หายตัวไป ทุกคนจึงออกตามหา สามเกลอซึ่งกำลังลอบเข้าไปค่ายข้าศึก แอบได้ยินแผนการโจมตีประเทศไทย และได้เห็นพลประสานกำลังถูกข้าศึกทรมานเสียชีวิต สามเกลอใช้ความพยายามขโมยแผนการโจมตีลับได้สำเร็จ ล้อต๊อกกลับไปแจ้งข่าวกับผู้บัญชาการ กองทัพไทยจึงยกทัพเข้าโจมตีจนเกิดการรบขึ้น ล้อต๊อกตรึงกำลังอยู่และได้เห็นว่าข้าศึกมีกำลังเยอะกว่า จึงยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อมายับยั้งการบุกโจมตีของกองทัพไทย เมื่อรวบรวมกำลังคนได้เท่าเทียมกับข้าศึก กองทัพไทยจึงเข้าต่อสู้อีกครั้ง พลทหารสมพงษ์ได้เสียสละชีวิตกระโดดเข้ารับลูกระเบิดเพื่อไม่ให้ผู้อื่นเป็นอันตราย ประเทศไทยจึงรอดพ้นจากการรุกรานของข้าศึกมาได้
ล่องสมุทร์ (2498)
ล่องสมุทร์ (2498/1955) ภาพยนตร์สีเรื่องผจญภัยของลูกน้ำเค็ม! ชมการต่อสู้ของเหล่าร้ายกับผู้รักษากฎหมาย (ที่มา: นิตยสารตุ๊กตาทอง ธันวาคม พ.ศ. 2498)