Man Suang แมนสรวง (2566/2023) “เขม” และ “ว่าน” สองหนุ่มจากเมืองแปดริ้วรับภารกิจเข้าไปสืบสาวเงื่อนงำใน “แมนสรวง” สถานเริงรมย์อันโอ่อ่าและลึกลับที่สุดในพระนคร หลังม่านของสุขสถานที่ผู้คนนานาชาติมาชุมนุมกันแห่งนี้เป็นที่วางแผนและตกลงทางการเมืองในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สองเกลอได้เข้าร่วมคณะละครและพบกับ “ฉัตร” มือตะโพนของวงดนตรี ความสัมพันธ์ของทั้งสามพัฒนาไปพร้อมกับความลับมืดดำของแมนสรวงรวมถึงปมในใจของทั้งสามเองค่อยๆ เผยออกมา (Source: sfcinemacity.com)
ขุนแหย 2565

เรื่องย่อ: ขุนแหย (2565/2022) ได้เวลาฮาลั่นอโยธยา กับภาพยนตร์คอมเมดี้ “ขุนแหย THE LOST HERO OF AYODHYA” ผลงานจาก MONO ORIGINALS ที่ได้ ‘เปลว ศิริสุวรรณ’ มานั่งแท่นกำกับและดึงเอาดาวตลกทั่วฟ้าเมืองไทย มาร่วมกันถ่ายทอด เรื่องราวสุดฮาเต็มคาราเบลของ “แหย” (กรภพ จันทร์เจริญ) หมอยาสมุนไพรใจพระแถมยังใจซื่อมือสะอาด ถูก “หลวงถลอก” (สมชาย ศักดิกุล) ขุนนางตัวร้าย ลวงให้ไปตัวหัว “เนเมียว” (จตุรงค์ พลบูรณ์) แม่ทัพชาวพม่าแล้วทำการพอกน้ำผึ้งไว้ไม่ให้หัวเน่า เพื่อจะได้ไปรับรางวัลที่อยุธยาได้ทันการ แต่เรื่องไม่ได้ง่ายอย่างนั้น เพราะถึงแม้แหยจะเอาชีวิตรอดจากสนามรบแถมยังมีหัวของแม่ทัพเนเมียวเป็นของแถม แต่ก็ต้องผจญกับจอมขมังเวทย์อสรพิษ (สายเชีย วงศ์วิโรจน์) ที่พยายามจะชิงหัวแม่ทัพ รวมถึงต้องเอาชีวิตรอดจาก “ลินดา” (ภัทรวดี เหลาสา) สาวนักฆ่าที่ถูกจ้างอีกด้วย งานนี้ต้องมาช่วยกันลุ้นว่า แหย จะสามารถเอาชีวิตรอด และจะได้กลับบ้านไปนอนกอด “สายสร้อย” (บุตรี กัลย์จารึก) เมียรักด้วยร่างกายที่ครบ 32 หรือไม่?  (ที่มา : monomax.me)

เวลา Anatomy of Time
เวลา Anatomy of Time (2565/2022) "แหม่ม" หญิงชราวัย 70 ปี ดูแลสามีของเธอ ในช่วงสุดท้ายในชีวิตของเขา เธอมองย้อนกลับไปยังอดีตอันเปี่ยมไปด้วยความสูญเสีย ความขมขื่น แต่ก็ตราตรึงไปด้วยความสุขเมื่อครั้งเธอยังสาว
พญาโศกพิโยคค่ำ The Edge of Daybreak (2564/2021) ปี พ.ศ. 2549 ท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมือง ปาล นักการเมือง ได้อยู่กับครอบครัวภายในบ้านอันเป็นที่รักของเขาเป็นคืนสุดท้ายก่อนต้องหลบหนีเพราะเกิดรัฐประหาร ยามดึกคืนนั้นขณะที่ปาลกำลังหลบหนี เขาได้พบกับกลุ่มผู้ลักลอบเข้าเมืองบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ขณะที่ พลอย ภรรยาของปาลที่ถูกขังในโรงพยาบาลก็ฝันเห็นพ่อคือ ปราสาท ย้อนกลับไปเมื่อปี 2518 ตอนพลอยอายุ 9 ขวบ เธออยู่ในอาการโคม่า หลังพ่อหายตัวไปสามปี ส่วนแม่คือ ไพลิน ก็เพิ่งได้รับการปล่อยตัวจากโรงพยาบาลจิตเวช มาอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ประจำตระกูล สุริยุปราคาได้สะกดทุกคนให้ต้องมนต์ ไพลินและแพทย์หนุ่มร่วมกันระลึกถึงความหลังและเติมเต็มความปรารถนาที่เก็บซ่อนไว้มานาน ในวันนั้นแพทย์หนุ่มหายตัวไป พร้อมการกลับมาอย่างไม่คาดฝันของปราสาท
ขุนบันลือ (2561/2018) ในปี พ.ศ. 2447 ที่สยามมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงประเทศในหลายๆ ด้าน จนส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนมากมาย ขุนบันลือ ขุนนางในกระทรวงมหาดไทยผู้สนับสนุนแนวคิดการเลิกทาสมาโดยตลอด ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ไปทําธุระที่เมืองเชียงราย เพราะเคยไปราชการที่นั่นมาก่อน แต่ขุนบันลือกลับกังวลกับภารกิจนี้ เพราะตนเองเคยมีเรื่องราวแต่หนหลังในเชียงราย เรื่องราวชุลมุนในเรือนขุนบันลือจึงเริ่มขึ้น เรื่องราวเกิดขึ้นในสมัย รศ.๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๗) เมื่อ "ขุนบันลือ" (เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา) ได้รับมอบหมายให้ไปราชการที่เมืองเชียงราย แต่ขุนบันลือเองกลับกังวลใจ เพราะถูก "มด" (เอ็นดู วงษ์คำเหลา) ทาสหญิงที่ขุนบันลือแอบมีความสัมพันธ์ด้วยจับได้ว่าท่านขุนเคยมีสัมพันธ์กับใครบางคนที่เมืองเชียงรายมาก่อน เรื่องยุ่งมากขึ้นเมื่อเพื่อนรักของท่านขุน พาลูกสาวลูกชายมาฝากให้ช่วยดูแลระหว่างที่ไปราชการต่างประเทศ แต่ทั้งคู่กลับมีเรื่องชอบพอกับบรรดาทาสในเรือนท่านขุนซะอีก เรื่องราวความรักระหว่างชนชั้นจึงเริ่มขึ้นอีกครั้ง ตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ยันรุ่นลูก แลเวท่านขุนจะหาทางออกอย่างไร
อีปึก อัศจรรย์วันแห่งศรัทธา

อีปึก อัศจรรย์วันแห่งศรัทธา (2560/2017) จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ของนักร้องลูกทุ่งสาวชื่อดัง "สาวมาด เมกะแด๊นซ์" ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของวัยเรียน จุดเปลี่ยนของชีวิตในก้าวแรกที่เดินบนเส้นทางสายดนตรี จวบจนนาทีที่ป่วยหนักจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด ด้วยอาการครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรง ทำให้ความดันโลหิตสูงจนเลือดออกไปทับก้านสมอง ได้สามีสุดที่รัก กรุง สุขสันต์ มานอนเฝ้าดูอาการโดยไม่เคยทิ้งไปไหน และยอมทำทุกวิถีทางเพื่อให้ภรรยากลับมามีชีวิตที่แข็งแรงอีกครั้ง และเชื่อว่าเป็นการเกิดปาฏิหาริย์จากพญานาคที่มาช่วยให้ปาฏิหาริย์เกิดขึ้น

ทองดีฟันขาว (2560)

ทองดี ฟันขาว (2560/2017) เรื่องราวความกล้าหาญและความจงรักภักดีในช่วงชีวิตสำคัญของ “นายทองดี ฟันขาว” นักสู้หัวใจแกร่งที่มากความสามารถและฝีไม้ลายมวย โชคชะตานำพาให้เขาได้เป็นทหารเอกคู่ใจแห่งพระเจ้าตากสินมหาราช และพลีชีพต่อสู้ปกป้องบ้านเมืองจนกลายเป็นวีรบุรุษของชาวไทยที่รู้จักกันในนาม “พระยาพิชัยดาบหัก” ทองดี นักสู้หัวใจแกร่ง ผู้มีความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อรักษาคำมั่นสัญญา กล้าหาญจงรักภักดี มีความสามารถและฝีไม้ลายมือทางหมัดมวยและดาบอย่างหาตัวจับยาก เขาไม่ชอบกินหมาก จึงเป็นที่มาของฉายา ทองดีฟันขาว ชีวิตของเขาต้องระหกระเหินจากครอบครัวตั้งแต่ครั้งเยาว์วัย และต้องออกเดินทางหาเงินเลี้ยงตัวจากการชกมวย และร่ำเรียนวิชามวยเพิ่มเติมจากบรรดาครูมวยตามเมืองต่างๆ จนสุดท้ายโชคชะตาและวีรกรรมอันเลื่องชื่อของเขาก็นำพาให้เขาได้เป็นทหารเอกคู่ใจแห่ง พระเจ้าตากสินมหาราช และพลีชีพต่อสู้ปกป้องบ้านเมืองจนกลายเป็นวีรบุรุษของชาวไทย ที่รู้จักกันในนาม พระยาพิชัยดาบหัก

ขุนพันธ์ (2559/2016) ในขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังก่อตัวขึ้น ญี่ปุ่นเริ่มแผ่ขยายอำนาจรุกรานทั่วเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยที่กำลังเกิดการปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่เพื่อเตรียมก้าวเข้าสู่โลกอารยะ ความเจริญเริ่มรุกล้ำ แต่กลับกลายเป็นว่าผู้คนกลับขัดสนยากจน ถูกกดหัวอยู่ภายใต้อาณัติของเหล่าชุมโจรเสือร้ายที่ก่อร่างสร้างอิทธิพลไปทั่วทุกหัวระแหงโดยหาได้หวั่นเกรงต่อกฎหมายแต่อย่างใด แต่ถึงกระนั้นก็ใช่ว่าผืนปฐพีจะไร้ซึ่งผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่สัตย์ซื่อ ภักดีในความถูกต้อง และยึดมั่นในความยุติธรรม จังหวัดชุมพร ปี พ.ศ. 2481 ภายหลังจากเด็ดชีพ “เสือกลับ คำทอง” และพวกพ้องที่อุกอาจปิดเมืองทั้งเมืองและจับ “สารวัตรดำเกิง” ผู้บังคับบัญชาเป็นตัวประกัน “นายบุตร์” หรือ “ร้อยตำรวจโท ขุนพันธรักษ์ราชเดช” (อนันดา เอเวอริงแฮม) นายร้อยตำรวจหนุ่มฝึกหัดก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าด้วยกระสุนเพียงนัดเดียวก็สามารถกำราบเสือร้ายเลื่องชื่อได้เป็นผลสำเร็จ นั่นเป็นเพราะความสามารถเฉพาะตัวและวิชาที่บ่มเพาะติดตัวมา ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกทำในสิ่งที่ยังไม่เคยมีนายตำรวจมือปราบรายใดในประวัติศาสตร์เคยทำมาก่อน นั่นคือเสนอตัวเข้ารับผิดชอบในภารกิจลับที่เสี่ยงที่สุด อันตรายที่สุด ซึ่งอาจใช้เวลานับเดือนหรือแรมปีโดยต้องทิ้งชีวิตที่เหลืออยู่เป็นเดิมพัน นั่นคือการเสาะหาและออกไล่ล่าเพื่อปิดตำนานของ “อัลฮาวียะลู” (กฤษดา สุโกศล แคลปป์) มหาโจรผู้โหดเหี้ยม ดุดัน แกร่งกล้า ฆ่าไม่ตาย หนำซ้ำยังคงกระพันหนังเหนียว ครองอิทธิพลแผ่ขยายครอบคลุมไปทั่วภาคใต้ ซึ่งเป็นที่เลื่องลือกันว่าแกร่งกล้าเพราะมีวิชาและของดีอยู่ในตัว ขุนพันธ์ในคราบของนายบุตร์จึงแอบแฝงตัวเข้าไปสืบข่าวโดยได้รับความช่วยเหลือจาก “ไข่โถ” (สนธยา ชิตมณี) และ “มาลัย” (กานต์พิสชา เกตุมณี) 2 พี่น้องครอบครัวชาวประมงที่ทำงานในสโมสรงาช้างของ “หลวงโอฬาร” (ภคชนก์ โวอ่อนศรี) ข้าราชการใหญ่ผู้ทรงอำนาจและอิทธิพลจนทุกคนต้องเคารพและยำเกรง ซึ่งทำให้ต้องเผชิญกับ “เสือสัง” (ชูพงษ์ ช่างปรุง) และ “บุหงา” (พิมลรัตน์ พิศลยบุตร) 2 มือสังหารข้างกายของมหาโจรที่ว่ากันว่าคือนักฆ่าเลือดเย็นและไร้ความปรานีอย่างที่สุด พร้อมด้วยเหล่าทัพเสือโจรร้ายนับไม่ถ้วน ณ ดินแดนแห่งนี้นี่เองที่ทำให้ขุนพันธ์ได้รู้ความจริงว่า เมืองทั้งเมืองคือชุมโจรขนาดใหญ่ ชาวบ้านตกเป็นเครื่องมือโดยมีนักการเมือง ข้าราชการท้องถิ่นรู้เห็นกับมหาโจร คอยชักโยงและอยู่เบื้องหลังเพื่อกอบโกยผลประโยชน์โกงกินและขายชาติ กระทั่งความจริงปรากฏ พวกโจรรู้ว่าขุนพันธ์แฝงตัวเข้ามา การไล่ล่าและเผชิญหน้าระหว่างสุดยอดมือปราบและมหาโจรฆ่าไม่ตายจึงอุบัติขึ้นท่ามกลางห่ากระสุน คาวเลือด และการต่อสู้ อาคมต่ออาคม ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ขุนพันธ์ต้องเลือกระหว่างหนีเพื่อเอาชีวิตตัวเองให้รอด หรือกลับไปช่วยเหลือและเปลี่ยนใจชาวบ้านให้ลุกขึ้นมาสู้กับโจร สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับเมืองนี้ และเพื่อพิสูจน์ให้รู้ว่าแรงกระสุนหรือจะสู้แรงศรัทธา…
มาดพยัคฆ์ (2558/2015) สารคดีร้อยเรียงเรื่องราวผ่านบทสัมภาษณ์ของ สามารถ พยัคฆ์อรุณ และผู้คนรอบข้างที่มี่ส่วนเกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่วัยเด็กที่เริ่มต้นชกมวย ผสมด้วยการถ่ายทำจำลองการชกมวยไทยจนเป็นแชมป์ รวมไปถึงคลิปการชกตั้งแต่ชกมวยสากล จนได้ตำแหน่งแชมป์โลกจนถึงเสียเข็มขัด และคลิปการชกมวยไทยเมื่อคราวกลับมาต่อยมวยไทยอีกครั้ง จนได้ตำแหน่งนักมวยไทยยอดเยี่ยมประจำปี พ.ศ. 2531 โดยภาพยนตร์แบ่งการเล่าเรื่องออกเป็น 5 ยก ได้แก่ ยกที่ 1 กำเนิดพยัคฆ์, ยกที่ 2 ทางพยัคฆ์ผ่าน, ยกที่ 3 พยัคฆ์คำราม, ยกที่ 4 พยัคฆ์ลำบาก และยกที่ 5 ชาติพยัคฆ์ต้องไว้ลาย
ฟ.ฮีแลร์ (2558/2015) เรื่องราวของ พงศธร (ภรัณยู โรจนวุฒิธรรม) ครูในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง ซึ่งต้องการจะมีเงินเดือนที่มากขึ้น ทางเดียวที่เขาจะทำได้คือการลงเรียนต่อปริญญาโท เพื่อนำวุฒิการศึกษามาปรับขึ้นเงินเดือน พงศธร ซึ่งเป็นครูสอนภาษาไทยจึงลงเรียนปริญญาโทสาขาวรรณกรรมและเลือกทำวิทยานิพนธ์เรื่อง ฟ.ฮีแลร์ เป็นงานจบของเขา ฟ.ฮีแลร์ (เจสัน ยัง) คือนักบวชชาวฝรั่งเศส ผู้ที่เดินทางมายังประเทศไทยเมื่อ 100 กว่าปีก่อน เพื่อมาเป็นครูและเป็นครูฝรั่งที่นั่งเรียนภาษาไทยกับนักเรียนจนพูดภาษาไทยได้ และไม่ใช่เพียงพูดได้เท่านั้น ฟ.ฮีแลร์ ยังเก่งถึงขนาดเขียนตำราให้คนไทยเรียน ยิ่ง พงศธร ค้นคว้าเรื่องราวของ ฟ.ฮีแลร์ ใหม่ลึกลงไปเท่าไหร่ ก็ยิ่งเหมือนเป็นการตบหน้าตัวเอง เพราะเขาค้นพบว่า ฟ.ฮีแลร์ ก็เป็นครูเช่นเดียวกับเขา แต่ความเป็นครูเขาเทียบอะไรไม่ได้กับ ฟ.ฮีแลร์ เลย ขณะที่เขาสอนเพื่อแลกเงิน แต่ ฟ.ฮีแลร์ กลับสอนเพื่อต้องการให้ความรู้ เขาได้ค้นพบความจริงที่ว่า ตำราดรุณศึกษาที่เขาใช้สอนนักเรียนทุกวันนี้ ประพันธ์โดย ฟ.ฮีแลร์ นักบวชชาวฝรั่งเศสผู้ซึ่งอุทิศตัวเพื่อการศึกษาของไทยแม้ว่าจะไม่ใช่คนไทยก็ตาม พงศธร เริ่มค้นพบปรัชญาชีวิตบางอย่างจากการค้นคว้าชีวิตของ ฟ.ฮีแลร์ แต่ พงศธร ยังคงไม่เข้าใจว่าเพราะเหตุใด ฟ.ฮีแลร์ จึงได้เลือกอยู่ในประเทศเล็ก ๆ อย่างประเทศไทยจนวันสุดท้ายของชีวิต และเมื่อ พงศธร ได้รู้เหตุผลนั้น มันจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาตลอดไป...
ขรัวโต อมตะเถระกรุงรัตนโกสินทร์ (2558/2015) ภาพยนตร์ถ่ายทอดเรื่องราว ชีวประวัติของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี วัดระฆังโฆสิตาราม ตั้งแต่เกิดจนบวชเรียน จนค้นพบสุดยอดแห่งพระคาถาชินบัญชรที่มีคุณวิเศษ โดยแบ่งช่วงชีวิตของขรัวโต ทั้งหมด 4 ช่วง ช่วงแรกว่าด้วยชีวิตวัยเด็ก ของเด็กชายโต (ชัยธวัฒน์ เนื่องจำนงค์) ซึ่ง ขรัวโต วัยเด็กก็เป็นเหมือนเด็กเล็กทั่วไปที่รักสนุก แต่ท่านเป็นเด็กที่มีจิตใจโอบอ้อมอารีต่อผู้อื่น มีเมตตา ที่โดดเด่นเป็นพิเศษคือ ท่านฉายแววในการเป็นคนที่มีหัวใจใฝ่เรียนรู้ ท่านร่ำร้องจะเรียนหนังสือ จนมารดาต้องพาไปฝากเรียนกับหลวงตาแก้ว ที่เป็นเหมือนครูคนแรกของท่าน ช่วงที่ 2 อยู่ในช่วงที่ ขรัวโต บวชเณร ท่านก็ตัดสินใจมุ่งที่จะบวชเป็นสามเณรอย่างจริงจัง แม้ว่ามารดาจะยังรักเป็นห่วง อยากให้อยู่ใกล้ ๆ แต่ท่านก็ยืนยันชัดเจนว่าต้องการจะบวชเรียน จนโยมแม่ต้องยอมตามใจ ซึ่งหลังจากที่ท่านพบความจริงว่า ท่านไม่ใช่ลูกของพ่อที่เลี้ยงดูท่านมา ท่านก็ขอลาบวชเรียนและไม่สึกอีกเลย ช่วงที่ 3 สามเณร ท่านบวชต่อเป็น พระโต (ปรัชญา ประทุมเดช) เป็นช่วงที่ท่านออกธุดงค์กับอาจารย์อีกคนคือ ขรัวตาแสง ได้ร่ำเรียนวิชาต่าง ๆ รวมถึงออกเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ ได้พบเห็นชีวิตทางโลกมากขึ้น และช่วงปัจฉิมวัยของ ขรัวโต (เศรษฐา ศิระฉายา) ในชีวิตจริง ขรัวโต ท่านไม่ได้เป็นพระที่เคร่งเครียด ท่านเป็นพระที่อารมณ์ดี จิตใจดี มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ท่านนำธรรมะมาสอนประชาชนด้วยถ้อยคำที่ฟังง่าย ๆ แต่คมคาย แฝงปรัชญาธรรมะ และอารมณ์ขัน
คีตราชนิพนธ์ บทเพลงในดวงใจราษฎร์ (2558/2015) ไม่เฉพาะเพียงความสมบูรณ์พูนสุขทางกายเท่านั้นที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใส่พระทัยพสกนิกร โดยริเริ่มโครงการต่าง ๆ มากมายเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและยั่งยืนของพี่น้องชาวไทย หากในแง่การเติมเต็มพลังใจ พระองค์ท่านยังพระราชทานขวัญ กำลังใจ แด่ประชาชนผ่านบทเพลงพระราชนิพนธ์อันแฝงไปด้วยปรัชญาการดำเนินชีวิตมากมายหลายต่อหลายเพลง และ 4 บทเพลงพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รังสรรค์แรงบันดาลใจให้ 4 ผู้กำกับชั้นแนวหน้าของเมืองไทย ถ่ายทอดเรื่องราวสู่ 4 ภาพยนตร์ "The Singers" เพลงพระราชนิพนธ์ที่เป็นแรงบันดาลใจ "ชะตาชีวิต" เรื่องราวของ หญิงชราสองคน จากสองครอบครัวที่มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงทั้งในด้านฐานะและสถานภาพในสังคม แต่ทั้งคู่มีความเหมือนกันในแง่ของสภาพจิตใจเมื่อทั้งสองได้โคจรมาพบกันและรับรู้เรื่องราวของกันและกันการผจญภัยของสองย่ายายจึงเริ่มต้นขึ้น ย่าเป้า อยู่ในครอบครัวที่เป็นเจ้าของกิจการมีลูกหลานมากมายแต่ล้วนแล้วแต่แก่งแย่งชิงดีกันบ้างก็เสแสร้งเอาใจเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองจน ย่าเป้า รู้สึกเบื่อและเหนื่อยหน่ายกับลูกหลานเหล่านี้ ด้าน ยายเงิน มีชีวิตที่ลำบากอยู่ในชุมชนเล็กๆ กลางเมืองใหญ่ที่วุ่นวายอยู่กับหลานสาววัยหกขวบที่สุขภาพไม่ใคร่ดีนักเพียงลำพัง จนวันหนึ่ง ยายเงิน โดนจับเพราะขายแผ่นหนังและเพลงเก่า ๆ โดยไม่มีใบอนุญาต ต้องประกันตัวและเสียค่าปรับในอัตราสูงเธอและหลานจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างไร แต่เมื่อฟ้าส่งให้ทั้ง ย่าเป้า กับ ยายเงิน มาพบเจอกันความเห็นอกเห็นใจก็เริ่มต้นขึ้นและเมื่อถึงจุดวิกฤตจุดหนึ่งของชีวิตเธอก็ได้ตัดสินใจที่จะใช้เสียงเพลงของเธอทั้งสองเพื่อที่จะฝ่าฟันกับอุปสรรคนั้นไปให้ได้ "อมยิ้ม" เพลงพระราชนิพนธ์ที่เป็นแรงบันดาลใจ "ยิ้มสู้" เรื่องราวของ เด็กชายคนหนึ่ง ที่กลายเป็นตัวประหลาดในสายตาคนในโรงเรียน เพราะไม่เคยมีใครเห็นเขาโกรธร้องไห้ หัวเราะ หรือแม้แต่ยิ้ม เขาคือคำถามของทุกคน คือของเล่นแสนสนุกน่าแกล้ง แต่ไม่มีใครอยากอยู่ใกล้หรือคิดทำความรู้จักเขาจริง ๆ และทุกคนก็ต้องประหลาดใจเมื่อได้ข่าวว่าคนที่หน้าตายนิ่งเฉยไม่เคยขยับอย่างเขากำลังจะเล่นละคร แถมเล่นกับนักเรียนหญิงสุดสวยแสนป๊อบของโรงเรียนที่เขาแอบชอบ แต่เธอก็มีแฟนเป็นนักกีฬาสุดเท่เนตไอดอล ความเป็นไปไม่ได้ที่สุดกำลังจะเกิดในโรงเรียน เขาจะเล่นละครได้ไหมนักเรียนหญิงสุดสวยกำลังจะเจอกับอะไร ความจริงที่ถูกเปิดเผยอาจเปลี่ยนความรู้สึกใครบางคนไปตลอดกาล "ฝนตกที่ห้วยขาแข้ง" เพลงพระราชนิพนธ์ที่เป็นแรงบันดาลใจ "สายฝน" เรื่องจริงของ สืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์ป่าห้วยขาแข้ง นักสู้ผู้อุทิศชีวิตเพื่อผืนป่าเมืองไทย ในช่วงสี่ปีสุดท้ายที่เขามุ่งมั่นและต่อสู้เพื่อยุติการตัดไม้ทำลายป่าและล่าสัตว์ป่าอย่างไม่เกรงกลัวต่อกฏหมาย สืบ ยืนหยัดต่อกรกับอิทธิพลมืด นักการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐที่ทุจริตด้วยมือเปล่าและหัวใจที่จะไม่ยอมให้ผืนป่าของเมืองไทยต้องหมดสิ้นไปเพราะความโลภและเห็นแก่ตัว "ดาว" เพลงพระราชนิพนธ์ที่เป็นแรงบันดาลใจ "ความฝันอันสูงสุด" ใคร ๆ ก็รู้ว่า การได้เป็นคนเชิญธงชาติของโรงเรียนเป็นความฝันอันสูงสุดของนักเรียนทุกคน ดังนั้น ทันทีที่ครูประกาศหาคนเชิญธงคนใหม่แทนพี่ ป.6 ที่กำลังจะจบไป การแข่งขันของหนุ่มน้อยสองคนจึงเกิดขึ้นสำหรับ โก้ (อภิธาร รุ่งเจริญรอด) การได้เชิญธงชาติจะทำให้เขาได้ใกล้ชิดกับสาวที่เขาตั้งเป้าว่าต้องจีบเป็นแฟนให้ได้ก่อนสอบปลายปี แต่สำหรับ หนึ่ง (กฤตเมธ เมืองดี) การได้เป็นคนเชิญธงชาติมีความสำคัญมากกว่าที่ใครจะคาดถึง การแข่งขันที่มีจำนวนดาวเป็นตัวตัดสิน จะทำให้ความฝันอันสูงสุดของหนึ่งเป็นจริงได้หรือไม่!?
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๖ อวสานหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๖ อวสานหงสา (2558/2015) ในปี พ.ศ. 2135 หลังพ่ายศึกยุทธหัตถี ฝ่ายหงสาวดีพระเจ้านันทบุเรง ทรงโทมนัสที่ต้องสูญเสียพระราชโอรส จึงมีรับสั่งให้คลอกไฟเหล่าแม่ทัพนายกอง ที่ตามเสด็จพระมหาอุปราช ให้ตายตกตามกัน ทั้งยังระบายพระโทสะไปที่ พระสุพรรณกัลยา องค์ประกัน และพระราชโอรสธิดาถึงสิ้นประชนม์ชีพ ข้าง สมเด็จพระนเรศวร นั้น มีพระราชประสงค์จะนำทัพปราบหงสาวดี ให้ราบคาบ มิให้ตกค้างเป็นเสี้ยนหนาม ครั้นมาได้ทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ ของพระพี่นาง และพระราชนัดดาก็ยิ่งโทมนัส จึงตัดสินพระทัยยกทัพใหญ่ หมายเหยียบหงสาวดีให้ราบเป็นหน้ากลอง ในระหว่างที่เดินทางมาถึงเมืองเมาะตะมะได้จับตัว พระยาลอ ผู้สำเร็จราชการแทน ที่พระเจ้านันทบุเรง ส่งให้มาปกครองเมือง ถูก เม้ยมะนิก ราชธิดาของ ศิริสุธรรมราชา เจ้าเมืองเมาะตะมะลอบสังหาร เพื่อแก้แค้นแทนบิดา พร้อมรวบรวมชาวรามัญเพื่ออาสาขอเข้าร่วมรบพม่ากับชาวอโยยา แต่ครั้นเมื่อทัพของพระองค์เสด็จถึงหงสาวดีก็พบแต่เพียงเศษซากของมหานครอันเคยยิ่งใหญ่ ด้วยนัดจินหน่อง ราชบุตรพระเจ้าตองอูได้วางอุบาย เชิญพระเจ้านันทบุเรงพร้อมกวาดต้อนผู้คนแลทรัพย์ศฤงคารของหงสาไปไว้ยังตองอูจนหมดสิ้น ครั้งนั้น สมเด็จพระนเรศวร จึงทรงยกทัพตามขึ้นไปถึงเมืองตองอู มีพระราชบัญชาให้ เมงเยสีหตู เจ้าเมืองส่งตัว พระเจ้านันทบุเรงออกมาถวาย ด้านนัดจินหน่องเห็นว่าพระเจ้านันทบุเรง ที่เชิญมานั้น เป็นภัยชักศึกเข้าบ้าน จึงหมายยืมมือ สมเด็จพระนเรศวร สังหาร พระเจ้านันทบุเรง เสีย แต่เมื่อ สมเด็จพระนเรศวร ได้ทอดพระเนตรเห็น พระเจ้านันทบุเรง ที่ทรงทุพพลภาพเป็นที่น่าสมเพช ก็ให้สลดพระราชหฤทัย ระหว่างนั้น เมงราชาญี เจ้าเมืองยะไข่ได้แต่งทัพเป็นกองโจร ตีลัดตัดเสบียงอยุธยามิให้ส่งข้าวน้ำขึ้นไปเลี้ยงทัพที่ล้อมพระนครตองอูอยู่ สมเด็จพระเอกาทศรถ จึงแบ่งทัพลงมาหมายจะเผด็จศึกยะไข่มิให้เป็นหอกข้างเเคร่ แต่ทรงพลาดท่าถูกเมงราชาญีจับตัวได้ พระราชมนู จำต้องขันอาสานำกำลังลงมา แก้เอา สมเด็จพระเอกาทศรถ กลับคืน และยกทัพกลับยังอยุธยา ข้างฝ่ายพุกามประเทศนั้นได้บังเกิดกษัตริย์ชาตินักรบขึ้นมา แทนพระเจ้าชนะสิบทิศ มีพระนามว่า พระเจ้ายองยาน ตามชื่อพระนครที่ปกครอง พระเจ้ายองยาน ทรงขยายแสนยานุภาพครอบคลุมดินแดนพม่าตอนบน เข้ายึดครองหัวเมืองในรัฐไทยใหญ่ทั้งหลาย และทรงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองยองห้วยและเมืองแสนหวีซึ่งขณะนั้นล้วนเป็นเมืองประเทศราชของอยุธยา เมื่อ สมเด็จพระนเรศวร ทรงล่วงรู้ก็ทรงมีพระราชดำริที่จะตัดไฟเสียแต่ต้นลม ไม่ให้อธิราชศัตรูพลิกฟื้นขึ้นมา เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดินอยุธยาได้อีก สมเด็จพระนเรศวร จึงได้เสด็จยกกองทัพไปตีอังวะ ครั้งนั้น พระมหาเถรคันฉ่อง และ พระอัครมเหสีมณีจันทร์ ซึ่งกำลังทรงพระครรภ์ก็ทูลขอให้งด ซึ่งราชการสงคราม สมเด็จพระนเรศวร จึงทรงให้สัญญาว่า จะเสด็จไปทำศึกครานี้เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อเสด็จถึงเมืองเชียงใหม่ก็ยั้งทัพจัดกระบวนอยู่หนึ่งเดือน แล้วให้ทัพ สมเด็จพระเอกาทศรถ ยกขึ้นไปทางเมืองฝาง ส่วนกองทัพหลวงยกไปทางเมืองหาง ตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้ว อยู่มา สมเด็จพระนเรศวร ทรงพระประชวรจึงโปรดให้ข้าหลวงรีบเชิญเสด็จ พระเอกาทศรถ มาเฝ้า ครั้นมาถึงได้ 3 วัน สมเด็จพระนเรศวร ก็เสด็จสวรรคตเมื่อวันจันทร์ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 สมเด็จพระเอกาทศรถ จึงได้อัญเชิญพระบรมศพ สมเด็จพระนเรศวร กลับกรุงศรีอยุธยาราชธานี

เพชฌฆาต The Last Executioner (2557/2014) เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (วิทยา ปานศรีงาม) เป็นมือประหารคนสุดท้ายของประเทศไทย ที่ปลิดชีวิตนักโทษด้วยวิธีการยิงเป้าจากนักดนตรีหนุ่มผู้หลงใหลในเพลงร็อคแอนด์โรล และเล่นดนตรีให้กับเหล่าทหารไอจีในช่วงสงครามเวียดนาม เขาต้องเลือกทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ผู้คุมในเรือนจำเพื่อความมั่นคงของครอบครัวที่เขารักเขาใช้ชีวิตทั้งชีวิตยอมรับกรรมดีกรรมชั่วที่เกิดจากหน้าที่ของเขา ในการทำหน้าที่เป็นเพชฌฆาตผู้ปลิดชีพนักโทษมาแล้วถึง 55 คน ตลอดกว่า 19 ปี ในเรือนจำกลางบางขวางหรือที่รู้จักกันดีในนาม คุกเสือใหญ่ หรือ The Bangkok Hilton
อยากอยู่อย่างใหญ่ BORN TO BE YAI (2557/2014) ชัย ชัยปรีชา (สรวิชญ์ สุบุญ) เป็นคนเมืองชาละวัน จากเด็กชายบ้านนอก การศึกษาแค่ ป.6 ทั้งๆ ที่ชัยอยากเรียนต่อใจจะขาด แต่ขาดแค่ความพร้อมของครอบครัว คำสอนของคุณปู่ที่พูดถืงแต่อนาคตที่ดี ขัดกับคำพูดของคุณพ่อที่ไม่ให้ชัยเรียนต่อมัธยม คุณแม่สงสารชัยแต่ก็ขัดคุณพ่อไม่ได้ คุณพ่อเพียงคิดแค่จะให้ชัยออกมาช่วยกันทำนาทำสวน เก็บดอกเก็บผลไปขาย หรือรับจ้างตามอย่างพวกพี่ๆ ที่มาช่วยกันทำมาหากิน แม้จะต้องออกจากระบบการศึกษาตามความต้องการของคุณพ่อ แต่ชัยก็ไม่ยอมปล่อยโอกาสที่ผ่านเข้ามาในชีวิตให้ผ่านเลยไปเฉยๆ เขาคว้าโอกาสไว้ และไขว่คว้าหาอนาคตที่ตัวเองต้องการด้วยตนเอง จนในที่สุดโชคชะตาของเขาก็ค่อยๆ เปลี่ยนไป
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี (2557/2014) ในปี พ.ศ. 2129 พระเจ้านันทบุเรง ทรงแค้นเคืองที่ต้องปราชั­ยต่อ สมเด็จพระนเรศฯ อย่างย่อยยับ ทั้งต้องเสียไพร่พลและพระสิริโฉม จึงระบายความแค้นนั้นไปที่องค์พระสุพรรณกั­ลยา เมื่อ สมเด็จพระมหาธรรมราชา พระราชบิดาทราบค­วามก็ให้โทมนัสด้วยสำนึกว่าชะตากรรมของพระ­ราชธิดาและแผ่นดินอยุธยาที่ถูกกระทำการย่ำ­ยีก็ด้วยเพราะพระองค์ทรงแปรพักตร์ไปเข้าข้­างศัตรู จนตรอมพระทัยเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศฯ ทรงมีพระชนมายุ 31 พรรษา จึงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติค­รองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อจากพระราชบิดา สมเด็จพระมหาธรรมราชา หรือ (สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 1) ข่าวการผลัดแผ่นดินของกรุงศรีอยุธยารู้ไปถึง พระเจ้านันทบุเรง แห่งกรุงหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรสในพระเจ้าบุเรงนอง สำคัญว่าราชอาณาจักรสยาม หรืออาณาจักรอยุธยาจะไม่เป็นป­กติสุขเป็นช่องชวนชิงเชิง จึงโปรดให้พระราชบุตร พระมังสาม­เกียด หรือ(พระมังกะยอขวาที่ 1) พระมหาอุปราชเจ้าวังหน้ากรีฑาทัพไปตีกรุงศรีอยุธยาอีกคำรบ นำกองทัพทหาร 240,000 นาย (สองแสนสี่หมื่นนาย) มาตีกรุงศรีอยุธยาหมายจะชนะศึกในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงทราบว่า พม่ายกทัพใหญ่มาตี จึงทรงเตรียมไพร่พล มีกำลัง 100,000 นาย (หนึ่งแสนนาย) เดินทางออกจากบ้านป่าโมก อ่างทองไปสุพรรณบุรี ข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทอง ลพบุรี และตั้งค่ายหลวงบริเวณหนองสาหร่าย โดย สมเด็จพระนเรศวร โปรดให้ พระราชมนู แต่­งพลเป็นทัพหน้าขึ้นไปลองกำลังข้าศึกถึงหนอง­สาหร่าย ทัพหน้า พระราชมนู ปะทะเข้ากับทัพพม่าถึงขั้­นตะลุมบอน แต่กำลังข้าง พระราชมนู น้อยกว่าจึงแตกพ่ายถ­อยลงมาเป็นอลหม่าน สมเด็จพระนเรศฯ ทราบความจึงออกอุบายให้ทัพข้าศึกไล่เตลิดลงมาจนเสียกระบวนแล้วจึงทรงนำกำลังออกยอทัพข้าศึก ครั้งนั้นพระคชสารทรงของสมเด็จพระนเรศฯ นามเจ้าพระยาไชยานุภาพ และพระคชสารทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถคือเจ้าพระ­ยาปราบไตรจักรต่างตกมัน วิ่งเตลิดแบกพลฝ่าเข้าไปในทัพพม่ารามัญกลางว­งล้อมข้าศึก และหยุดอยู่หน้าช้าง พระมังสามเกียดพระมหาอุปร­าชา พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้กับเหล่าพระยาขุนศึก จึงทราบได้ว่าพระคชสารทรงของสองพระองค์หลงถลำเข้ามาถึงกลางกองทัพข้าศึก และตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึกจึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า "พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้สมพระเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว" พระมังสามเกียดพระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสพระคชสารนามว่า พลายพัทธกอเข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพเสียหลัก พระมังสามเกียดพระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่ สมเด็จพระนเรศวร ทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้น เจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลัก สมเด็จพระนเรศวร ทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูก พระมังสามเกียด พระมหาอุปราชา เข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง ส่วน สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงฟันเจ้าเมืองจาปะโรเสียชีวิตเช่นกัน พม่าจึงยกทัพกลับกรุงหงสาวดีไป นับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเป็นระยะเวลาอีกยาวนาน

หน้าที่