ทวิภพ

ทวิภพ (2547/2004) มณีจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษระดับ 6 สาขาประวัติศาสตร์ ประจำกงสุลไทยนครปารีส ถูกเรียกตัวด่วนในคืนนั้น ในฐานะตัวแทนผู้เกี่ยวข้องกับประเทศสยาม อันเป็นที่มาของบันทึกนั้น วัวอิยา ถูกจัด ระดับความสำคัญเพียง “นิยายไร้สาระ” แต่ในความคิดของ มณีจันทร์ มันเป็นสิ่งที่น่าค้นหา …เธอได้ล่วงล้ำเข้าไปในดินแดนแห่งความลับที่ถูกกำหนดไว้จากบันทึกนี้ ดินแดนที่เธอไม่เชื่อว่าเป็นจริงเมื่อแยกจากโลกปัจจุบัน ..หญิง สาวต้องกลับประเทศไทยด้วยเหตุผลบางประการ ที่บ้านเกิดในเมืองไทย มณีจันทร์ สับสนและแยกแยะไม่ออกว่า ตัวเธออยู่ในความเป็นจริงอันใด.. “วันนี้คืออดีตของพรุ่งนี้ ? หรือ วันนี้คืออนาคตของเมื่อวาน ?” “มณีจันทร์” จะอยู่ในตำแหน่งไหนของตัวเธอเอง หลายครั้งที่เธอคิดอยู่เสมอว่า เธอเป็นต้นเหตุของบันทึกเสียเองหรือไม่ ? และการเดินทางครั้งใหม่ของ มณีจันทร์ ก็เริ่มขึ้น เมื่อภาวะสมดุล ความจริงกึ่งฝัน นำ มณีจันทร์ สู่ดินแดนที่แปลกหน้าทีละน้อย ดินแดนนั้นคือบ้านเกิดเมืองนอนของเธอนั่นเอง แต่เธอเป็นคนแปลกหน้าของที่นั่น…เธอได้กลับไปสู่บ้านเมืองของเธอเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว กลับไปสู่ “สยาม” แห่งการเริ่มต้นของอารยธรรมใหม่ กลับไปสู่ รัชสมัยพระจอมเกล้าฯ ยุคแห่งการเอาตัวให้รอดจากการล่าอาณานิคมของตะวันตก ยุคที่ต้องยอมรับว่า “ภาษาอังกฤษคือภาษาอนาคต” “การกลับไปได้เห็น” ของมณีจันทร์เหมือนความฝันที่มีอยู่ในตัวเราทุกคน แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า “ไม่มีที่ไหนเหมือนบ้าน” ก็ยังเป็นสิ่งเตือนใจเสมอ ..แต่ที่ไหนล่ะคือบ้านที่แท้จริงของเธอ ? ที่ใดคือปัจจุบันของเธอ ? ความรักอยู่ที่ภพไหน ? การเสียดินแดนครั้งสำคัญที่สุดในสยาม หรือ “วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112”..คือบทสุดท้ายของเรื่องราว รวมทั้งเป็นวิกฤตสำคัญของเธอด้วย เหตุการณ์ที่ปากน้ำ ใน “วิกฤต ร.ศ. 112” ทำให้มณีจันทร์ต้องเสียสละความรัก เพื่อ คงอดีตที่ถูกต้องไว้ มณีจันทร์ ได้เข้าใจว่า “ความทุกข์ที่เกิดจากความรัก ไม่ใช่เพราะมันจากไป หากแต่เพราะมันยังอยู่ต่างหาก”

นักแสดงและทีมงาน

ต้น พิเศก อินทรครรชิต

พ่อของมณีจันทร์

สเตฟาน แลมเบิร์ต

ฟรังซัวส์ ซาเวีย

โรแลน เนวู

กงสุลโอบาเรต์

เจมส์ นีล

หมอบรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน

วันชาติ ชุณห์ศรี

เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

พอล แม็กเดอมอล์ต

เซอร์จอห์น เบาว์ริง

ธนะชัย ลิ่มสุวรรณ์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

วัลลภ ธีรทอง

พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ (คิงมงกุฏ)

กํากับการแสดง

นักเขียน

เป็นคนแรกที่รีวิว “ทวิภพ”

ยังไม่มีรีวิว