วิญญาณคนอง (2496)
วิญญาณคนอง (2496/1953) นางนากพระโขนงแผลงฤทธิ์อีก นิยายใหม่ของนางนาก (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2496)
Placeholder
ซากผีดิบ (2495)
ซากผีดิบ (2495/1952) ดร.ชาญ จบจากประเทศฝรั่งเศสเป็นคนไม่เชื่อว่าผีมีจริงในโลก ได้โคจรมาพบ ผ่องพรรณ ลูกสาวของ ขุนจำนง และเริ่มชอบผ่องพรรณ แต่เธอมีคนรักแล้วคือ สาโรช ขุนจำนงมีภรรยาชื่อ พวง เป็นภรรยาหลวง และ พริ้ง เป็นภรรยาน้อย แม่พริ้งยังสาวและสวยอยู่ ส่วนขุนจำนงวันๆ เอาแต่หมกมุ่นอยู่กับการเล่นแร่แปรธาตุ เมื่อ ดร.ชาญ มาคลุกคลีในบ้านขุนจำนงนานเข้า ทั้งสองจึงเล่นชู้กัน คืนหนึ่ง ขุนจำนงฝันว่ามีผู้วิเศษมาเข้าฝัน บอกให้ขุนจำนงเอาตะกั่วหลอมเป็นลูกกลมๆ เอาไปใส่น้ำยาสมุนไพร นำไปบวงสรวงและฝังกลางโบสถ์ร้าง เมื่อครบกำหนด 3 วัน 3 คืน ให้ไปขุดขึ้นมา ก้อนตะกั่วจะกลายเป็นแก้วสารพัดนึก สามารถขอพรได้ 3 ประการ ขุนจำนงทำตามความฝันโดยมี ดร.ชาญ ตามไปด้วย แต่แล้ว ดร.ชาญ ผู้ไม่เชื่อเรื่องผีสางก็ถูกผีบีบคอตายอย่างน่าสยดสยอง เมื่อครบกำหนดขุนจำนงไปขุดเอาแก้วสารพัดนึก แล้วให้ภรรยานึกสิ่งที่ต้องการคนละ 1 ข้อ ไม่นานนักทุกคนในบ้านก็ถูกลอตเตอรี่พร้อมกันเป็นไปตามที่พวงขอ ส่วนพริ้ง ไม่มีใครล่วงรู้ว่าขอเรื่องอะไร จนกระทั่ง ผีดิบ ดร.ชาญ ตามมาอาละวาดที่บ้าน ทุกคนจึงได้รู้ว่าพริ้งขอให้ ดร.ชาญ ฟื้นคืนชีพ
วิญญาณรักของนางนาค (2494/1951) ในวันสงกรานต์ ณ ตำบลพระโขนง ระหว่างที่หนุ่มสาวกำลังร่วมในงานรื่นเริง แต่ที่มุมหนึ่ง มาก และ นาค สาวงามแห่งทุ่งพระโขนงกำลังพลอดรักกันอยู่ที่กองฟาง สร้างความริษยาแก่ แม่เฮียง ซึ่งแอบหลงรักมากอยู่ฝ่ายเดียว กำนัน ลุงของมาก เพื่อนกินเหล้าของ เถ้าแก่เฮง กลับทาบทามแม่เฮียง ลูกสาวของเถ้าแก่เฮงมาเป็นสะใภ้ ซึ่งเถ้าแก่เฮงก็เห็นดีเห็นงามด้วย เพราะมากเป็นชายหนุ่มที่ตั้งใจทำมาหากิน นัดหมายเป็นมั่นเหมาะว่าจะให้หนุ่มสาวแต่งงานกันในเดือน 9 โดยมีข้อแม้คือให้กำนันช่วยเป็นพ่อสื่อจัดแจงให้ตนได้สมรักกับนาค มากปฏิเสธการแต่งงานอย่างหัวเด็ดตีนขาด แม้กำนันจะขู่ตัดออกจากกองมรดกก็ไม่สามารถเปลี่ยนใจเขาได้ มากหัวเสียกลับมาที่งานรื่นเริง เห็นเถ้าแก่เฮงรำเล่นอยู่กับนาคก็ยิ่งฉุนเฉียวหนัก โชคดีที่นาคตามมาปรับความเข้าใจและตกลงปลงใจอยู่ด้วยกันนับจากวันนั้นโดยมี ป้าแช่ม เมียของกำนันแอบให้ความช่วยเหลือเถ้าแก่เฮงยังไม่ละความพยายามจะเอานาคเป็นเมีย ร่วมมือกับกำนันส่งมากไปเป็นทหารเกณฑ์ ทั้งที่นาคกำลังตั้งครรภ์อยู่ กลางดึกคืนหนึ่งนาคเจ็บท้องอย่างหนัก พยายามออกมาขอความช่วยเหลือจากชาวบ้าน แต่ขาดใจตายกลางคัน เช้าวันรุ่งขึ้น เช้าบ้านช่วยกันนำศพนาคไปฝังไว้ที่ใต้ต้นตะเคียนคู่ ในป่าช้าวัดมหาบุศย์ แต่หลังจากนั้นวิญญาณของนาคก็ออกอาละวาดชาวบ้านละแวกนั้น แม้จะมีหมอผีอาสามาปราบก็ไม่สำเร็จ วันหนึ่ง มากขอลากลับมาเยี่ยมลูกเมียที่ทุ่งพระโขนง และต้องดีใจที่เห็นลูกเมียยืนคอยที่ริมตลิ่ง โดยไม่รู้เลยว่านั่นเป็นเพียงวิญญาณรักของนางนาค
พรายตะเคียน (2483)
พรายตะเคียน (2483/1940) ภาพยนตร์ผีของไทยที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน และเป็นตัวอย่างที่ทำให้ได้เห็นถึงลักษณะของภาพยนตร์สั้นที่ใช้ฉายประกอบเรื่อง ลูกกำพร้า ภาค 3-4 (2483/1940) ภาพยนตร์ขนาดยาวในอดีต โดยเล่าเรื่องราวผีนางพรายตะเคียนที่มาหลอกชาวบ้าน ฉากตัวละครวิ่งหนีผีกระจัดกระจายในเรื่องนั้นถือเป็นต้นแบบสำคัญของหนังผีไทยในยุคต่อ ๆ มา และภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 4 ในปี พ.ศ. 2557 ภาพยนตร์ผีของไทยที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน และเป็นตัวอย่างที่ทำให้ได้เห็นถึงลักษณะของภาพยนตร์สั้นที่ใช้ฉายประกอบภาพยนตร์ขนาดยาวในอดีต สร้างโดยบริษัท ศรีบูรพาภาพยนตร์ ของผู้สร้างหนังยุคบุกเบิก สดศรี ภักดีจิตต์ หรือชื่อจริงว่า สดศรี ภักดีวิจิตร เล่าเรื่องราวผีนางพรายตะเคียนที่มาหลอกชาวบ้าน ฉากตัวละครวิ่งหนีผีกระจัดกระจายในเรื่องนั้นถือเป็นต้นแบบสำคัญของหนังผีไทยในยุคต่อ ๆ มา
ผีตายซาก
ผีตายซาก (2480/1937) ที่พระนครศรีอยุธยา หมอคำ แพทย์แผนโบราณชักจูงสี่หนุ่ม กั่ว แก้ว พิศ และ ทอง ไปแสวงโชค ตามลายแทงซึ่ง ขุนอัคนีฯ นายทหารที่เสียชีวิตในสนามรบได้สั่งเสียให้ฝังตำราชุบชีวิตไว้พร้อมศพของตนใต้เจดีย์ สี่หนุ่มตกลงร่วมขบวนไปขุดศพเพราะหวังว่าอาจจะเจอสมบัติอย่างกล้าๆ กลัวๆ เมื่อขุดพบศพตามลายแทง หมอคำไม่รอช้าผสมยาชุบชีวิตตามตำรา และลองกรอกยาให้ขุนอัคนีฯ หลายต่อหลายครั้งก็ยังไม่เป็นผล หมอคำจึงชวนกั่วและพิศไปขุดศพที่เพิ่งตายมาทำการทดลอง ทิ้งทองกับแก้วเฝ้าศพขุนอัคนีฯคล้อยหลังหมอคำ ขุนอัคนีฯ ก็ลุกพรวดตรงมาจับบ่าแก้ว ทั้งสองสะดุ้งตัวลอยวิ่งหนีอย่างไม่คิดชีวิต ทันใดนั้นเสียงกรีดร้องของผู้หญิงก็ดังขึ้น เมื่อไปถึงที่มาของเสียงก็พบศพหญิงสาวถูกบีบคอตาย แต่ไร้ร่องรอยของขุนอัคนีฯ เที่ยงคืนวันหนึ่ง สนาน นัดแนะ เพลินพิศ มาพลอดรักกันในสวน ขณะที่หนุ่มสาวกำลังกอดรัดกัน ขุนอัคนีฯก็โผล่เข้ามาบีบคอสนานสลบคามือ เพลินพิศตื่นตระหนกกรีดร้องสลบไปอีกคน ขุนอัคนีฯ พลิกดูใบหน้าของเพลินพิศแล้วให้นึกถึง สุดา เมียรักที่ต้องจากกันเมื่อครั้งไปออกรบ จึงอุ้มเพลินพิศหายไปในความมืด นายพิณ และ นางสิน ผู้เป็นพ่อและแม่ของเพลินพิศ เห็นลูกสาวหายไปนานจนผิดสังเกตจึงตระเวนเดินหาจนมาพบสนานที่เพิ่งฟื้นจากการสลบ จึงไปตามตัวหมอคำ เมื่อหมอคำได้ฟังความจากสนานจึงปักใจเชื่อว่าเป็นฝีมือของขุนอัคนีฯ และบอกให้ทุกคนเริ่มออกตามหาเพลินพิศในเวลากลางวัน เพราะเป็นเวลาที่ขุนอัคนีฯ หมดฤทธิ์และคงจะหลบซ่อนตัวในโลงศพที่วัดร้างสักแห่งเป็นแน่ ทุกคนแยกย้ายกันออกตามหา จนพบร่องรอยว่าขุนอัคนีฯ ว่าจ้างแท็กซี่ขนโลงศพสองโลงไปส่งที่โกดังสินค้าสนานและหมอคำจึงรีบไปยังที่หมายตามคำบอกเล่าของคนขับแท็กซี่ เพลินพิศพยายามหาทางหลบหนีแต่ขุนอัคนีฯ ตามมาทัน โชคดีที่สนานและหมอคำมาถึง หมอคำจึงใช้มีดอาคมแทงขุนอัคนีฯ กลายเป็นซากศพสิ้นฤทธิ์ตั้งแต่นั้นมา
Placeholder
นางนาคคืนชีพ (2480/1937) "นางนาคพระโขนง" เท่าที่ทราบกันแต่เพียงว่า ได้ถูกถ่วงน้ำและหายสาบสูญไปนั้น บัดนี้นางนาคได้กลับคืนชีพมาอีก และหนีจากถ่วงน้ำมาแผลงฤทธิ์ ดุร้าย น่าหวาดเสียว น่าตื่นเต้น และแสดงอภินิหารร้ายกาจกว่าเก่าหลายสิบเท่า (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน ศรีกรุง 8 มิถุนายน พ.ศ. 2480)
ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ (2477)
ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ (2477/1934) ภาพยนตร์ไทยดัดแปลงจากนิทานปรัมปราเกี่ยวกับวิญญาณชายชราผู้มีหน้าที่เฝ้าขุมสมบัติโบราณ การผจญภัยตื่นเต้นโลดโผนของพระเอก (เสน่ห์ นิลพันธ์) กับนักวิทยาศาสตร์ (ปลอบ ผลาชีวะ) และสองสหายสาว ที่พบขุมสมบัติโบราณซึ่งมีวิญญาณปู่โสมและบริวารรวมทั้งฝูงงูพิษเฝ้าพิทักษ์รักษา ปู่โสมขุดเอาคนตายไปเป็นบริวาร พาไปไว้ในถ้ำ นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งจึงคิดฉีดยาพระเอก ให้สลบแล้วไปฟื้นในถ้ำได้ต่อสู้กับผีและงูใหญ่
นางนาคพระโขนง
นางนาคพระโขนง  (2476/1933) เรื่องราวของนางนาค กับสามี ที่พลัดพรากจากกัน เพราะสามีต้องไปรบ มีฉากพายเรือ ฉากคลอดลูกและกำลังจะตาย ฉากกลายร่างจากสาวสวยไปเป็นผี ฉากวิญญาณลงหม้อ รวมถึงฉากเอื้อมมือเก็บมะนาว

หน้าที่