ภูตแห่งความรัก (2512)
ภูตแห่งความรัก (2512/1969) ข้อความบนใบปิด กรุงเกษมภาพยนตร์ ผู้สร้าง แว่วเสียงยูงทอง-น้ำค้าง-มือนาง-จันทร์เจ้า-โนรี-ที่รักจ๋า ภูตแห่งความรัก จากบทประพันธ์ของ ชุติมา สุวรรณรัต สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, จุฑารัตน์ จินรัตน์, ศรีสละ ทองธารา, โขน หมอผี, ทานทัต วิภาตะโยธิน, โกร่ง กางเกงแดง, เถร ทรนง, ปราณีต คุ้มเดช, ชื้นแฉะ, ผาสุข, ทองถม, อุดม สุนทรจามร และ ด.ญ.ชลธิชา สุวรรณรัต แสดงนำ... ชุติมา สุวรรณรัต กำกับการแสดง เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ ทวีวรรณ สร้างบท ชุดา เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา อำนวยการสร้าง เสรีภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
แม่นาคคะนองรัก (2511)
แม่นาคคะนองรัก (2511/1968) ข้อความบนใบปิด เสน่ห์ศิลป์ภาพยนตร์ เสนอ ปรียา รุ่งเรื่อง ชุมพร เทพพิทักษ์ ฤทธี นฤบาล แม่นาคคะนองรัก หนังผี หนังดัง ต้อง เสน่ห์ สร้าง แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, นุสรา แสงรัตน์, หยาดรุ้ง ระพี พร้อมด้วย ล้อต๊อก, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ทองฮะ, ขวัญ, ยรรยงค์, ดาวน้อย ดวงใหญ่, ลุงโกร่ง กางเกงแดง ขอเสนอ กันทิมา ดาราพันธ์ สันทัด ถ่ายภาพ เสน่ห์ โกมารชุน กำกับการแสดง (ที่มา :Thai Movie Posters)
ผีท้องกลม (2511)

ผีท้องกลม (2511/1968) ภูมิ-ทัศนีย์ ข้อความบนใบปิด กุหลาบทิพย์ภาพยนตร์ เสนอ ยอดหนังผีที่กำลังลือลั่น ตื่นเต้น สยองขวัญ สนุกสนาน เฮฮา ผีท้องกลม นำแสดงโดย 35 ดารา ภูมิ เพชรพนม, ทัศนีย์ ลาวัลย์, ศักดิ์ ศรีภูมิ, นิตยา แสงทอง, ถวัลย์ คีรีวัต, เมืองเริง ปัทมินทร์, ราม ราเมศร์, ทานทัต วิภาตะโยธิน ฯลฯ ร่วมด้วย ดาวตลก หม่อมชั้น พวงวัน, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ชื้นแฉะ, ขวัญ สุวรรณะ, ปราณีต คุ้มเดช, ท้วม ทรนง, แป๊ะอ้วน, ขุนแผน-ถนอม, ก๊กเฮง และทองฮะ สุเพ็ญ ทุมมานนท์ อำนวยการสร้าง เจริญ สุวรรณฤทธิ์ สร้างบท-กำกับการแสดง นิวัฒน์ ศิลปะสมศักดิ์ ถ่ายภาพ กริช กำจาย กำกับบท (ที่มา :Thai Movie Posters)

7 ป่าช้า (2511)
7 ป่าช้า (2511/1968) ข้อความบนใบปิด สุริยนโปรดักชั่น เสนอ... ใหญ่ยิ่งกว่า ผี! ทั้งหลาย หวาดเสียว สยดสยอง เฮฮากว่าใครๆ 7 ป่าช้า นำโดย ดาราใหญ่ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ วิน วิษณุรักษ์ ศิริมา, ประมินทร์ จารุจารีต, ถวัลย์ คีรีวัต, ชูศรี โรจนประดิษฐ์, เทียนชัย, เมืองเริง ปัทมินทร์, ทศ, ยอดลักษณ์, พีระ, พิภพ ภู่ภิญโญ, ล้อต๊อก, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ดาวน้อย ดวงใหญ่, สีเทา, ทองฮะ, แป๊ะอ้วน, บังเละ, เปลวใจ หทัยทิพย์, ก๊กเฮง, ยรรยงค์, ทอมมี่ และผู้แสดงสมทบนับร้อย พร้อมด้วยดาราผี ปรียา รุ่งเรือง ชาณีย์ ยอดชัย มานี มณีวรรณ, อุไรวรรณ จันทร์ทิพย์, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ปราณีต คุ้มเดช ขอเสนอเทพี 7 ตำแหน่ง ขวัญใจวัยรุ่นคนใหม่ อัจฉรา อัจฉราวรรณ สุริยน ดวงทองดี อำนวยการสร้าง นิวัติ ศิลปสมศักดิ์ ถ่ายภาพ เกรียงศักดิ์ ฤกษ์ชนะ กำกับการแสดง สว่าง บุญกาญจน์ ผู้จัดการธุรกิจ สนั่นศิลปภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
เดชผีดิบ (2511)
เดชผีดิบ (2511/1968) ข้อความบนใบปิด วชิราภาพยนตร์ เสนอ หนังผีชั้นเยี่ยมโดย 2 ดาราผี ปรียา รุ่งเรือง-ชาณีย์ ยอดชัย สั่นประสาท หวาดเสียว สนุกสุดยอด ด้วยการต่อสู้ระหว่างยอดผีดิบกับนักวิทยาศาสตร์ สมบัติ เมทะนี เนาวรัตน์ วัชรา นาฏ นดา ดาวโป๊ และดาวตลกยกทีมจี้เส้นครั้งมโหฬาร เดชผีดิบ เกรียงศักดิ์ ฤกษ์ชนะ กำกับการแสดง อุไร วชิรานนท์ อำนวยการสร้าง ปานเทพ กุยโกมุท-นิวัติ ศิลปสมศักดิ์ ถ่ายภาพ สนั่นศิลป์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
ระฆังผี (2511)
ระฆังผี (2511/1968) หมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีผู้ใหญ่คล้าย (อบ บุญติด) เป็นผู้ปกครองหมู่บ้าน ส่วนเมียผู้ใหญ่คล้ายนั้นเสียชีวิตไปแล้ว ผู้ใหญ่คล้ายจึงมีเมียใหม่เป็นสาวรุ่นๆ ชื่อว่า ลำดวน (แก่นใจ มีนะกนิษฐ์) แต่ลำดวนกลับคิดไม่ซื่อกับผู้ใหญ่คล้าย หวังจะครอบครองทรัพย์สมบัติของผู้ใหญ่จึงลอบเป็นชู้กับนายอั๋น (ชนะ ศรีอุบล) หลานแท้ๆ ของผู้ใหญ่คล้ายเพื่อหวังจะให้นายอั๋นช่วยหาทางกำจัดผู้ใหญ่คล้ายไปโดยเร็ว ต่อมาผู้ใหญ่คล้ายเป็นประธานหล่อระฆังวัดประจำหมู่บ้าน จึงเรียกตัวลูกสาว 2 คน คนโตชื่อ เพ็ญ (พิศมัย วิไลศักดิ์) คนเล็กชื่อ พร (ด.ญ.ปนัดดา กัลย์จาฤก) กลับจากกรุงเทพฯ เพื่อมาทำบุญร่วมกันซึ่งลำดวนก็ไม่ค่อยสบายใจนักเกรงว่าสองพี่น้องจะมาแย่งทรัพย์สมบัติจากตนไป นายอั๋นกับลำดวนจึงสบโอกาสที่จะฆ่าผู้ใหญ่คล้ายโดยวางแผนอย่างแยบยลให้ดูเหมือนว่าผู้ใหญ่คล้ายเดินพลาดตกไปตายในเต้าหลอมระฆังเอง ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์นั้นจริง ก็ไม่มีใครคิดว่าจะเป็นเรื่องของการฆาตกรรมแต่อย่างไรเพราะคิดว่าเป็นอุบัติเหตุ หลังการตายของผู้ใหญ่คล้าย ทางการก็แต่งตั้งนายอั๋นขึ้นเป็นผู้ใหญ่บ้านแทน นายอั๋นหวังจะเคลมเพ็ญเป็นเมียอีกคน ทั้งๆ ที่นายอั๋นมีเมียลับๆ อยู่อีกคนคือ ดอกไม้ (ปรียา รุ่งเรือง) ซึ่งกำลังตั้งท้องใกล้จะคลอด ต่อมาทางการก็ส่ง โชค ชนะชล (สมบัติ เมทะนี) นายตำรวจปลอมตัวมาสืบจับคนร้าย โชคเข้าไปตีสนิทจนได้เป็นมือปืนของผู้ใหญ่อั๋น ช่วงนี้ ผีผู้ใหญ่คล้ายเริ่มออกอาละวาดชาวบ้านที่หากินไม่สุจริตจนผู้ใหญ่อั๋นต้องหาพระดีๆ มาห้อยคอ ฝ่ายผีผู้ใหญ่คล้ายรู้ว่านายอั๋นกำลังคิดร้ายกับเพ็ญจึงมาบอกเพ็ญให้รู้ตัว ขณะที่โชคเองก็เริ่มได้เบาะแสความชั่วของผู้ใหญ่อั๋นบ้างแล้วและโชคยังได้ช่วยปกป้องเพ็ญกับน้องสาวให้พ้นมือผู้ใหญ่อั๋นด้วย ฝ่ายดอกไม้เมื่อท้องแก่มากๆ ก็ตื้อให้ผู้ใหญ่อั๋นรับผิดชอบแต่งงาน ผู้ใหญ่รำคาญจึงสั่งลูกน้องไปฆ่าดอกไม้และเผากระท่อมทิ้ง ส่วนลำดวนก็หาทางกำจัดเพ็ญกับน้องสาวเพื่อหวังได้ทรัพย์สมบัติ แต่โชคก็มาช่วยเหลือได้ทัน ขณะที่ผีผู้ใหญ่คล้ายกับผีนางดอกไม้ก็ออกอาละวาดหนักขึ้นแต่ทำอะไรผู้ใหญ่อั๋นไม่ได้เพราะมีพระดีห้อยคอ ชาวบ้านหาหมอผีมาปราบผี แต่ก็สู้ผีสองผีนี้ไม่ได้ ต่อมาเมื่อได้ความแน่ชัดว่า ผู้ใหญ่อั๋นทำผิดกฎหมายบ้านเมือง ตำรวจจึงลงมือปราบปราม เกิดการยิงต่อสู้กันและในระหว่างที่ผู้ใหญ่อั๋นหลบหนีนั้น พระที่ห้อยคอก็หลุดหายไป ผีผู้ใหญ่คล้ายซึ่งรอเวลาอยู่แล้ว ก็ปรากฏตัวขึ้นมาฆ่าผู้ใหญ่อั๋นตาย ส่วนลำดวนก็โดนผีนางดอกไม้ฆ่าตายเช่นกัน
ป่าช้าแตก (2511/1968) ข้อความบนใบปิด สุริยนโปรดั๊กชั่น ผู้สร้าง 7 ป่าช้า ขอเสนอ 40 ดาราพาเหรดใน... ป่าช้าแตก ขอเสนอ พระเอกขวัญใจวัยรุ่น ชัยยุทธ เวชชยันต์ พบ ใจดาว บุษยา พร้อมด้วย วิน วิษณุรักษ์, เมืองเริง ปัทมินทร์, ถวัลย์ คีรีวัตร, ประมินทร์ จารุจารีต และสองดาวยั่ว อุไรวรรณ จันทร์ทิพย์, หยาดรุ้ง ระพี ติดตามด้วยดาวตลก ดาวน้อย ดวงใหญ่, สีเทา, หม่อมชั้น พวงวัน, ทองฮะ, ขวัญ, แป๊ะอ้วน, ยรรยงค์ พยงค์ มุกดาพันธ์, ยอดลักษณ์ กรรณสูต ให้เกียรติร่วมแสดง เกรียงศักดิ์ ฤกษ์ชนะ กำกับการแสดง สุริยน ดวงทองดี อำนวยการสร้าง กวี เกียรตินันท์ ถ่ายภาพ สว่าง บุญกาญจน์ ฝ่ายธุระกิจ สบายใจฟิล์ม จัดจำหน่าย *ใบปิดวาดโดย ชวนะ (ที่มา :Thai Movie Posters)
แก้วกาหลง (2510)
แก้วกาหลง (2510/1967) เสน่ห์ โกมารชุน สร้าง แม่นาคพระโขนง เจ้าแม่ตะเคียนทอง ลบสถิติและลือลั่นมาแล้ว ครั้งนี้ขอเสนอ... แก้วกาหลง ดูหนังผี ต้อง "เสน่ห์ โกมารชุน" สร้าง ดูหนังผี ต้อง "รังสี ทัศนพยัคฆ์" กำกับ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ไอ้แก้ว (มิตร ชัยบัญชา) ทาสในเรือนเบี้ย แต่เพราะไอ้แก้วมีความขยันมากกว่าทาสคนอื่นๆ จึงได้สิทธิพิเศษให้เรียนหนังสือ ไอ้แก้วมีความสามารถในการเล่นดนตรีสีซออู้ได้อย่างไพเราะ จึงได้รับความไว้วางใจท่านเจ้าคุณมหิทธ์ศักดิ์ ให้เป็นผู้สอนสีซออู้แก่กาหลง (ปรียา รุ่งเรือง) ผู้เป็นลูกสาวท่านเจ้าคุณฯ ก็เรียกว่า สอนไป สอนมา เกิดใกล้สนิทสนมและลักลอบได้เสียกัน ซึ่งเป็นความผิดมีโทษมหันต์ ยังความโกรธแค้นแก่ท่านเจ้าคุณฯ เป็นอย่างยิ่งเพราะทั้งอายที่ลูกสาวลดตัวไปเป็นเมียทาสหนุ่ม ท่านเจ้าคุณฯ จึงสั่งลงโทษโบยเฆี่ยนหลังไอ้แก้วและจับขังคุกทาสไว้ กะว่าจะให้ตาย ส่วนกาหลงผู้เป็นลูกสาวนั้น ท่านเจ้าคุณส่งตัวไปกักขังอยู่ที่กระท่อมกลางสวน เพื่อให้คลอดลูกก่อน โดยจัดเวรยามเฝ้าดูแลไว้ แต่เมื่อคนเฝ้ากินเหล้าเมายา แล้วก็เกิดอารมณ์เข้าปลุกปล้ำหมายข่มขืนกาหลง กาหลงไม่ยอม ก็ต่อสู้ดิ้นรนสุดชีวิตกระทั่งตัวเองถูกบีบคอตายคากระท่อม.. ท่านเจ้าคุณฯ รู้ข่าว ก็เสียใจและรีบจัดการฝังศพกาหลงไว้และตัวเองก็ป่วยจนตรอมใจตายในเวลาต่อมา ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกันกับในหลวงรัชกาลที่ 5 โปรดให้เลิกทาส ไอ้แก้วจึงได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ แต่ไม่มีใครบอกว่า กาหลงเสียชีวิตไปแล้ว ต่อมาหมอผีก็ไปขุดศพนางกาหลงขึ้นมา หมายจะเอาน้ำมันพรายไปทำเสน่ห์ยาแฝด แต่เพราะกาหลงเป็นผีตายโหงที่ถูกสะกดวิญญาณไว้ เมื่อยันต์สะกดหลุดออก ผีนางกาหลงก็เลยเฮี้ยนและจัดการฆ่าหมอผีตายเป็นศพแรก จากนั้นผีนางกาหลงก็ออกอาละวาดทุกค่ำคืน ชาวบ้านชาวช่องก็ไม่กล้าออกจากบ้านไปไหน ผีนางกาหลงออกตามหาไอ้แก้วผัวรัก เมื่อหาไม่เจอ ก็มานั่งสีซอคร่ำครวญทุกคืนจนชาวบ้านกลัว ย้ายหนีกันไปหลายคน ส่วนไอ้แก้ว เมื่อพ้นจากทาสมาเป็นไท ก็กลับไปอาศัยญาติๆ ทำนา แล้วก็ได้พบกับซ่อนกลิ่น (เพชรา เชาวราษฎร์) เกิดรักใคร่ชอบพอกัน กระทั่งเกลอเก่าที่เคยเป็นทาสหนีจากบ้านท่านเจ้าคุณฯ มาหาไอ้แก้วและขออาศัยอยู่ด้วย ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับที่ผีนางกาหลงติดตามเกลอไอ้แก้วมาด้วยเช่นกัน ตกกลางคืน ผีนางกาหลงก็ปรากฏตัวและไปขออยู่กับไอ้แก้วที่บ้าน โดยที่ไม่มีใครรู้ว่า กาหลงตายไปแล้ว กระทั่งเกลอเก่าไอ้แก้วมาเห็นเข้า จึงบอกซ่อนกลิ่นว่า กาหลงตายไปแล้ว ซ่อนกลิ่นก็ไปบอกไอ้แก้ว แต่ไอ้แก้วกลับไม่เชื่อ หาว่า ซ่อนกลิ่นหึงหวงกาหลง เหตุการณ์เริ่มไม่ค่อยจะสู้ดีเพราะไอ้แก้วกับผีนางกาหลงยังคงอยู่ร่วมบ้านกัน ซ่อนกลิ่นจึงไปหาอาจารย์ หาผ้ายันต์มาให้ไอ้แก้วพิสูจน์ความจริงว่า กาหลงตายไปแล้ว แก้วจึงยอมเอาผ้ายันต์ใส่ไว้ใต้หมอนที่กาหลงนอน พอตกกลางคืนร่างของกาหลงก็กลายเป็นซากศพเน่าเฟะนอนอยู่แทน แก้วจึงรู้ว่า กาหลงตายแล้ว ก็หนีไป สร้างความโกรธแค้นให้ผีนางกาหลงเป็นอย่างมาก จึงออกอาละวาดฆ่าคนเป็นว่าเล่น หมอผีหลายคนที่หาปราบ ก็สู้ผีนางกาหลงไม่ได้ กระทั่งหมอผีคนล่าสุดก็กำลังจะถูกผีกาหลงหักคอ ไอ้แก้วทนไม่ได้ที่ผีนางกาหลงฆ่าคนเป็นว่าเล่น จึงออกมาพบและบอกให้กาหลงฆ่าไอ้แก้วแทนเพราะจะได้ตายและไปอยู่ด้วยกัน เมื่อผีนางกาหลงได้ยินเช่นนั้น ก็รู้ว่าแท้จริงแล้ว ไอ้แก้วยังรักกาหลงอยู่ เพียงแต่เพราะอยู่กันคนละชาติคนละภพ ไอ้แก้วจึงแสดงออกแบบนั้น ผีนางกาหลงรู้สำนึกผิดชอบชั่วดีแล้ว จึงยอมปล่อยหมอผีไป และรู้ว่า ซ่อนกลิ่นก็รับไอ้แก้วเช่นกัน เมื่อชาตินี้ไม่สามารถอยู่กับพี่แก้วได้อย่างคนทั่วไป ก้เอ่ยปากฝากพี่แก้วกับซ่อนกลิ่นให้ครองคู่อยู่ร่วมกัน ส่วนตัวกาหลงเองก็จะกลับไปชดใช้กรรมในนรกภูมิ เพื่อชาติหน้าจะได้เกิดมาเป็นเมียพีแก้วอีกครั้ง
เจ้าแม่ปานทอง (2510)
เจ้าแม่ปานทอง (2510/1967) ข้อความบนใบปิด ว.พ.ส.บ. ภาพยนตร์ สร้าง ยอดหนังผีตื่นเต้นสุดยอด ยิ่งกว่าผีเรื่องใดใดคือ... เจ้าแม่ปานทอง บทประพันธ์ของ “ดุสิตา” นำโดย ลือชัย นฤนาท โสภา สถาพร บุษกร สาครรัตน์, โยธิน เทวราช, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, ทศ, สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต, เสริมพันธ์ สุทธิเนตร, ศิริพงษ์ อิศรางกูร, แววตา อาสาสุข, บู๊ วิบูลย์นันท์, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สีเทา และสองดาวตลกจอแก้ว ขุนแผน ภุมรักษ์ ถนอม นวลอนันต์
นางพรายตานี (2510)
นางพรายตานี (2510/1967) มิตร-เพชรา ข้อความบนใบปิด นครินทร์ภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์ นิยายรัก อมตะสยองขวัญ เรื่องจริงที่เกิดขึ้น เมื่อ 200 ปี นางพรายตานี ของ ป.เทพวิไล นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ทัศนีย์, พีระ พีระเดช, ประมินทร์ จารุจารีต, สมพล กงสุวรรณ, อุไรรวรรณ ศิริเนตร ร่วมด้วย 18 ดาวตลกของเมืองไทย เกรียงไกร ดำเนินงานสร้าง ปานเทพ กุยโกมุท ถ่ายภาพ นครินทร์ กำกับการแสดง
บุญเพ็งหีบเหล็ก (2510)
บุญเพ็งหีบเหล็ก (2510/1967) เรื่องจริงอิงมายาศาสตร์ เรื่องจริงที่ตื่นเต้นสยองขวัญจนแทบไม่น่าเชื่อ เรื่องของการชิงรักหักสวาทบาดอารมณ์ เหนือความรักประทับใจทั้งมวล! บุญเพ็งหีบเหล็ก เป็นฉายาของนายบุญเพ็ง ซึ่งเป็นฆาตกรที่เหี้ยมโหดในสมัยรัชกาลที่ 6 เดิมทีนายบุญเพ็งเป็นพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองนนทบุรี และมีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมาก โดยเฉพาะลูกศิษย์ที่เป็นผู้หญิงร่ำรวย ซึ่งบุญเพ็งได้ใช้วิชาอาคมด้วยการทำเมตตามหานิยมให้กับผู้หญิงที่หลงเชื่อ ด้วยการหลอกล่อเอาเงินและมีเพศสัมพันธ์กับสีกาที่มาให้บุญเพ็งทำเสน่ห์ นานวันเข้าก็เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้หญิงที่ไปติดพันบุญเพ็งค่อยๆ หายตัวไปอย่างลึกลับ พร้อมหีบเหล็กที่หายไปทีละใบ..ทีละใบ..
กู่การะเวก (2510)
กู่การะเวก (2510/1967) สมบัติ-ภาวนา ข้อความบนใบปิด สะท้านภาพยนตร์ ขอเสนอ หนังดัง หนังดี แสนประทับใจ คือ... กู่การเวก ของ ชลอ สรนันท์ นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี ภาวนา ชนะจิต สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, อาคม มกรานนท์, เยาวเรศ นิศากร, สมควร กระจ่างศาสตร์, ชฎาพร วชิรปราณี, ถวัลย์ คีรีวัตร, ไสล พูนชัย, สัมพันธ์, รุ่งฟ้า, นวลศรี, ประณีต คุ้มเดช, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, หม่อมชั้น พวงวัน, สีเทา, ดาวน้อย ดวงใหญ่, เดือนนิด สมชาย จันทวังโส ถ่ายภาพ สะท้าน เทพปัญญา อำนวยการสร้าง ประทีป โกมลภิส กำกับการแสดง
ปีศาจเมียน้อย (2509)
ปีศาจเมียน้อย (2509/1966) ข้อความบนใบปิด แสงเพชรภาพยนตร์ ปีศาจเมียน้อย ของ จ.สุวรรณฤทธิ์ ขอเสนอพระเอกใหม่ ภูมิ เพชรพนม พร้อมด้วย เมตตา รุ่งรัตน์ ปรียา รุ่งเรือง สาหัส บุญหลง, พูนสวัสด์ ธีมากร, สมจิตร ทรัพย์สำรวย, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, จุ๋มจิ๋ม เข็มเล็ก, ด.ญ.วัชราภรณ์ พึ่งสังข์ วิชัย ทรงศิริวิชัย-นิวัฒน์ ศิลปสมศักดิ์ ถ่ายภาพ มานิตย์ ทวีเพชร อำนวยการสร้าง เจริญ สุวรรณฤทธิ์ กำกับการแสดง
งูผี (2509)
งูผี (2509/1966) เรื่องราวพญางูขาวที่เข้าไปสิงทารกในครรภ์ของหญิงนางหนึ่ง ซึ่งเมื่อคลอดออกมาถูกชาวบ้านนำไปเลี้ยงและตั้งชื่อว่า บุญเหลือ โดยเลี้ยงคู่กับ แว่นฟ้า ลูกสาวแท้ ๆ ของพวกเขาเอง วันหนึ่ง ได้เกิดคดีลึกลับขึ้นในหมู่บ้านแห่งนี้ จนทางการต้องส่ง ประกิต ตำรวจหนุ่มปลอมตัวเข้ามาสืบหาความจริง นำมาซึ่งความรักสามเส้าระหว่างสองสาว และนายตำรวจหนุ่มผู้นี้
เจ้าแม่ตะเคียนทอง (2509)

เจ้าแม่ตะเคียนทอง (2509/1966) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ช่วงเวลาสุดท้ายก่อนการเลิกทาส ยอด (ไชยา สุริยัน) และพิกุล (ปรียา รุ่งเรือง) เป็นทาสในเรือนของท่านเจ้าคุณวิเศษสรไกร (สาหัส บุญ-หลง) ทั้งสองรักใคร่กัน ทำให้บัวเผื่อน (ชฎาพร วชิรปราณี) เมียน้อยท่านเจ้าคุณไม่พอใจเนื่องจากหลงรักยอดอยู่เช่นกัน ขณะเดียวกับที่ท่านเจ้าคุณก็ต้องการพิกุลเป็นเมีย วันหนึ่งบัวเผื่อนก็สร้างเรื่องใส่ความว่ายอดปลุกปล้ำ เจ้าคุณสั่งลงโทษโบยยอดอย่างหนัก แม้ว่าคุณกาหลง (โสภา สถาพร) ผู้เป็นธิดาพยายามขอร้องก็ไม่เป็นผล พิกุลยอมเป็นเมียท่านเจ้าคุณเพื่อเป็นการช่วยยอดไม่ให้ถูกเฆี่ยนจนถึงชีวิต แต่ยอดกลับเข้าใจว่าพิกุลเป็นหญิงหลายใจจึงดุด่าพิกุลอย่างรุนแรง พิกุลเสียใจมากจึงผูกคอตายที่ต้นตะเคียนในสวนหลังบ้านท่านเจ้าคุณ หลังจากพิกุลตายแล้วยอดจึงได้รู้ความจริงว่าที่พิกุลต้องยอมเป็นเมียท่านเจ้าคุณก็เพื่อช่วยชีวิตของตน ยอดจึงแอบโขมยศพของพิกุลจากวัดมาฝังไว้ใต้ต้นตะเคียน ยอดหลบหนีออกจากบ้านท่านเจ้าคุณและได้ช่วยหมอฝรั่งให้พ้นมือโ่จร หมอฝรั่งจึงพายอดไปอยู่ด้วยและสอนวิชาแพทย์ให้จนเชี่ยวชาญ ขณะที่บ้านท่านเจ้าคุณก็เกิดเหตุวุ่นวายเมื่อวิญญาณของพิกุลออกมาปรากฎตัวหลอกหลอน ท่านเจ้าคุณถูกพิกุลหลอกจนป่วยจึงให้คนไปตามหมอมารักษาซึ่งก็คือยอดนั่นเอง ทำให้ยอดได้มีโอกาสใกล้ชิดก้บคุณกาหลง หลังจากท่านเจ้าคุณเสียชีวิตทั้งสองตกลงใจจะอยู่ครองรักกันทำให้วิญญาณพิกุลโกรธมาก ปรากฎตัวออกมาทวงสัญญารักที่ยอดเคยให้กับตนเองไว้ ยอดเห็นใจในความรักและความเสียสละของพิกุลจึงจะยอมไปอยู่ด้วย ขณะที่พิกุลกำลังจะนำยอดไปหมอผีที่เดินทางมาปราบวิญญาณของพิกุลก็ได้ใช้ตะปูอาคมตอกที่ต้นตะเคียนทำให้วิญญาณของพิกุลสิ้นฤทธิ์เดช ก่อนที่วิญญาณจะสลายไปพิกุลได้ฝากให้คุณกาหลงดูแลยยอด ยอดและคุณกาหลงจึงได้ครองรักกัน

นางพรายคะนอง (2508)
นางพรายคะนอง (2508/1965) ข้อความบนใบปิด พรสุรีย์ภาพยนตร์ เสนอ นางพรายคะนอง ของ ป.พิมล ภาพยนตร์ผีที่ประทับจิต ภาพยนตร์ชีวิตที่ประทับใจ นำแสดงโดย ไชยา สุริยัน ภาวนา ชนะจิต ร่วมด้วย ชฎาพร วชิรปราณี, พร ไพโรจน์, ศลักษณ์ ปรีชา, มาลี เวชประเสริฐ, โยธิน เทวราช, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา, ไสล พูนชัย, ถวิล, จรูญ สินธุเศรษฐ์, ปราณีต คุ้มเดช, หม่อมชั้น พวงวัน และดาราอันดับ 1 อีกคับคั่ง สุลาลีวัลย์ สุวรรทัต อำนวยการสร้าง เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ ประทีป โกมลภิส กำกับการแสดง เอวันฟิล์ม จัดจำหน่าย