หัวใจป่า (2515)
หัวใจป่า (2515/1972) แสงนภา ถูกเสี่ยสุรเดช หลอกไปปลุกปล้ำไม่สำเร็จ ซ้ำยังถูกเธอยิงตาย แสงนภา หลบหนีมาปรึกษากับสุดา สุดาออกความคิดเห็นให้เธอหนีไปอยู่ที่ราชกระทิง โดยเธอไปส่งถึงจุดขึ้นรถ ซึ่งมีหมอจิระกับบุคคลอื่นร่วมเดินทางไปด้วย ระหว่างทางถูกเสือหาญ กับลูกน้องปล้นทรัพย์สิน เมื่อเสือหาญทราบว่าจิระคือหมอ ได้จับตัวหมอกับแสงนภาไป เพื่อต้องการให้หมอได้รักษาพยอมที่ป่วยอยู่ เมื่อหายเป็นปกติคนทั้งสองจะได้รับอิสระภาพ แต่เหตุการณ์ไม่เป็นเช่นนั้น หมอจิระรักษาพยอมหายแล้ว เสือหาญยังบังคับให้อยู่รักษาแผลที่ขาที่ถูกยิงบาดเจ็บเพราะลูกน้องหักหลัง ทั้งสองอึดอัดหมดความอดทนจะอยู่ต่อไป จึงหาทางหนีโดยมีพยอมที่เบื่อหน่ายการใช้ชีวิตอยู่ในป่ากับเสือหาญอีกต่อไปร่วมหนีไปด้วย
จอมบึง (2513)
จอมบึง (2513/1970) เริง หนุ่มชาวจอมบึง จ.ราชบุรีที่ฝันอยากเป็นนักร้องลูกทุ่ง แม้พ่อที่เป็นครูจะไม่เห็นด้วยและคัดค้านอย่างเต็มที่ และให้เริงดูแลไร่ซึ่งเริงก็รับคำของพ่อแต่เขาก็ยังไม่ทิ้งความฝันในการเป็นนักร้อง จนกระทั่งได้มีโอกาสเมื่อมีวงดนตรีเข้ามาแสดงในตำบลใกล้ๆ เขาพยายามจนได้ขึ้นร้องเพลงแต่ทว่ามันกลับสร้างความผิดหวังให้กับตัวเขา จนเริงอับอายและหนีเตลิดออกจากหมู่บ้านไป ร้อนถึงเพื่อนๆ ที่ออกตามหา เริงได้พบกับ นำพร และจับพลัดจับผลูได้ไปทำงานในบ้านของเธอ เริงเกิดความรักต่อนำพรทว่าต้องผจญกับเรื่องยุ่งๆ จากพี่สะใภ้ของนำพรที่มาหลงรักเขาเข้า และสร้างความเข้าใจผิดระหว่างเขาและนำพร
จอมคน (2512)

จอมคน (2512/1969) หลังจากหันหลังให้ท่าชนะไปเกือบ 20 ปี เทิด โยทัย ได้กลับมาสู่บ้านเกิดอีกครั้งพร้อมกับความจริงที่ว่าตอนนี้ท่าชนะกลายเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนไปเสียแล้ว เพราะอิทธิพลมืดของหมื่นพันธ์ ที่คอยบงการชีวิตและปล้นฆ่าทุกคนในท่าชนะเพื่อผลประโยชน์ของตน ด้วยรักในความยุติธรรม เทิดจึงขออาสาลุกขึ้นมาท้าทายอำนาจมืดของหมื่นพันธ์

ลมเหนือ (2512)
ลมเหนือ (2512/1969) ข้อความบนใบปิด กัญญามาลย์ภาพยนตร์ บริษัทสร้างภาพยนตร์มาตรฐานของเมืองไทย ดอกดิน ศิลปินของท่าน สร้างเสนอ ภาพยนตร์ชีวิตรักแนวประหลาด... เปิดศักราชปี 2512 ด้วยความสนุก.. ลมเหนือ จากเค้าโครงเรื่อง ทนอีกนิดเถอะน่า ของ พ.ต.ต.ประชา พูนวิวัฒน์ นำโดย มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ อดุลย์ ดุลยรัตน์, ชฎาพร วชิรปราณี, เมตตา รุ่งรัตน์, แมน ธีระพล, พัลลภ พรพิษณุ, ธัญญา ธัญญารักษ์, ชาย, อุไรวรรณ จันทร์ทิพย์, ปักกิ่ง, น้อย, จุมพล และ อรสา ตัวขาวๆ ดอกดิน ตัวดำๆ คณะแก้วฟ้า จัดแสดงละครวิทยุ เป็นเรื่องสนุกประเดิมต้นปี..มีทั้งบู๊ ผจญภัย รัก เศร้า สะเทือนใจ ตลกฮาแสบไส้.. ฉายต้อนรับโปรแกรมตรุษจีน ที่คาเธ่ย์ ฟัง 4 เพลงเอกในระบบ 35 ม.ม.เสียงในฟิล์ม ฉากพิสดาร.. บรรจง กัญญามาลย์ อำนวยการสร้าง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ ดอกดิน กัญญามาลย์ กำกับการแสดง กัญญามาลย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย ทั่วประเทศไทย
แมวไทย (2511)
แมวไทย (2511/1968) ข้อความบนใบปิด นันทนาครภาพยนตร์ เสนอ ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตการสร้าง ของ...ชรินทร์ นันทนาคร แมวไทย จากบทประพันธ์ ของ ทมยันตี มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ และสองดาราทองพระราชทาน ชรินทร์ นันทนาคร ลินจง บุนนากรินทร์ ร่วมด้วย ทัต เอกทัต, อบ บุญติด, ปรียา รุ่งเรือง, วาสนา ชลากร, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, ล้อต๊อก และด.ช.ตุ๊ดตู่-ตุ๊ดติ่ง ทัศนพยัคฆ์ ดาราเกียรติยศ วีรบุรุษแชมป์โลก ชาติชาย เชี่ยวน้อย พร้อมด้วยคณะ 3 ศักดิ์ รังสี ทัศนพยัคฆ์ กำกับการแสดง ฉลอง ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ ส.อาสนจินดา สร้างบท นันทวัต กำกับบท ชรินทร์ นันทนาคร อำนวยการสร้าง กัญญามาลย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
สิงห์หนุ่ม (2510)
สิงห์หนุ่ม (2510/1967) ข้อความบนใบปิด ธงชัยภาพยนตร์ เสนอ สิงห์หนุ่ม (เสือเฒ่าภาคจบ) จากบทประพันธ์ของ..มณเฑียรทอง มิตร-เพชรา พบ ชนะ ศรีอุบล พร้อมด้วย สมจิตร ทรัพย์สำรวย, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, เยาวเรศ นิสากร, วิชิต ไวงาน, เชาว์ แคล่วคล่อง, ชานีย์ ยอดชัย, ถวัลย์ คีรีวัต, เทียว ธารา, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, หม่อมชั้น พวงวัน, ทองฮะ, แป๊ะอ้วน ฯลฯ เนรมิต กำกับ ธงชัย ศรีเสรี อำนวยการสร้าง จินตนาฟิล์ม จัดจำหน่าย
โป๊ยเซียน (2510)
โป๊ยเซียน (2510/1967) ข้อความบนใบปิด ยอดหนัง...ทั้งบู๊ทั้งชีวิต ครึกครื้น สนุกตื่นเต้น ดีเด่นเหนือคำโฆษณา ศิวารมณ์ภาพยนตร์ เสนอ สองดาราสุดยอดนิยม มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ โป๊ยเซียน จากเรื่องของ อ.กลัสนิมิ พร้อมด้วย ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ปรียา รุ่งเรือง, สาหัส บุญหลง, อบ บุญติด, ประมินทร์ จารุจารีต, มาลี เวชประเสริฐ, ทานทัต วิภาตะโยธิน, สมจิตร ทรัพย์สำรวย, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง อุไร ศิริสมบัติ สร้างฉาก อนันต์ อินลออ ถ่ายภาพ รอย ฤทธิรณ สร้างบท สงวน มัทวพันธ์ อำนวยการสร้าง เนรมิต กำกับการแสดง เอวันฟิล์ม จัดจำหน่าย
เปลวสุริยา (2509)
เปลวสุริยา (2509/1966) ข้อความบนใบปิด รัตนงามภาพยนตร์ เสนอ เปลวสุริยา ของ สุวัฒน์ วรดิลก รัตนงาม จัดจำหน่าย *เป็นใบปิดที่แปลกประหลาด ไม่มีรายละเอียดผู้แสดงเลย *ใบปิดวาดโดย ทวีป *ข้อมูลเพิ่มเติมมีดังนี้ อำนวยการสร้างโดย หวน รัตนงาม กำกับการแสดงโดย ประทีป โกมลภิส -นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์ ร่วมด้วย ทักษิณ แจ่มผล, อาคม มกรานนท์, สาหัส บุญหลง, ฑัต เอกฑัต, วิน วันชัย, พร ไพโรจน์, สิงห์ มิลินทราศัย, ไสล พูนชัย, เทียว ธารา, มาลี เวชประเสริฐ, แน่งน้อย แสงสุวิมล, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม
เสือสั่งถ้ำ (2509)
เสือสั่งถ้ำ (2509/1966) เรื่องราวความแค้นของ พราย ที่มีต่อ ชาญ นายจ้างผู้จัดการบริษัทตะวันออกขนส่ง ที่แอบรับจ้างขนทองเถื่อนและได้หักหลังขโมยทองไปเสียเอง แต่กลับโยนความผิดทั้งหมดให้พรายจนต้องติดคุก ทั้งยังทำให้ลำพู ภรรยาของเขาต้องตาบอดสนิท เหตุการณ์ทั้งหมดสั่งสมกลายเป็นความแค้นที่ยาวนานจนถึงรุ่นลูก
พระอภัยมณี (2509)
พระอภัยมณี (2509/1966) พระอภัยมณี (มิตร ชัยบัญชา) ที่ถูกนางยักษ์ผีเสื้อสมุทร (เพชรา เชาวราษฎร์) ลักพาตัวมาไว้ในถ้ำ แม้จะไม่ยินยอม แต่พระอภัยมณีกับนางยักษ์ก็มีสัมพันธ์กันจนเกิดบุตรชายชื่อว่า สินสมุทร วันหนึ่ง เมื่อสินสมุทรพบครอบครัวเงือกโดยบังเอิญ แผนการหลบหนีนางยักษ์ของพระอภัยมณีจึงเริ่มต้นขึ้น
ชุมทางเขาชุมทอง (2508)
ชุมทางเขาชุมทอง (2508/1965) 44 ปีที่ภาพยนตร์ไทยกำเนิดมา ไม่เคยมีเรื่องใด ยิ่งใหญ่ เกรียงไกรเท่า เรื่องราวของชายหนุ่มซึ่งถูกใส่ร้ายว่ายิงพ่อตาตนเองจากข้างหลัง เขาต้องสูญเสียทั้งเกียรติ และความเชื่อใจจากคนรอบข้างและภรรยา หลังจากพ้นโทษเขาเดินทางกลับบ้านที่เขาชุมทอง จ.นครศรีธรรมราช เพื่อพิสูจน์ว่าเขาไม่ได้เป็นคนยิงพ่อตาของเขา และสืบหาคนร้ายตัวจริง ท่ามกลางการไม่ต้อนรับทั้งจากครอบครัวเขาเอง และคนในชุมชน อีกทั้งยังถูกหมายหัวจากเหล่ากลุ่มอิทธิพลที่ต้องการกำจัดเขาให้พ้นจากพื้นที่แห่งนี้อีกด้วย
มังกรดำ (2508)
มังกรดำ (2508/1965) ข้อความบนใบปิด ปทุมมาลย์ภาพยนตร์ ชุมนุมดาราครั้งมโหฬารเป็นประวัติการณ์ 30 ดารา พบกันในภาพยนตร์บู๊ ละเลงเลือด มังกรดำ กมลพันธ์ สันติธาดา สร้างเรื่อง นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ เมตตา รุ่งรัตน์, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ทักษิณ แจ่มผล, ฤทธี นฤบาล, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์ ร่วมด้วย จรูญ สินธุเศรษฐ์, ประมินทร์ จารุจารีต, สมพล กงสุวรรณ, เมืองเริง ปัทมินทร์, สิงห์ มิลินทราศรัย, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, เทียว ธารา, พีระพล, บู๊ วิบูลย์นันท์, เทียนชัย, ไศล พูนชัย, ปฐมชัย, เพ็ชร์, แป้น พรชัย, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, หม่อมชั้น พวงวัน, ทองแถม, ก๊กเฮง, แป๊ะอ้วน, สมโภชน์, สำราญ พร้อมด้วยตัวประกอบนับร้อย และนาฏศิลป์อันสวยงาม ปรีชา ทรัพย์พระวงศ์ ถ่ายภาพ วิชัย เชยประทุม อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง บริษัทไทยฟิล์มจำกัด จัดจำหน่าย
มือโจร (2504)
มือโจร (2504/1961) สาวสวยจากเมืองกรุงหนีความผิดไปยังดินแดนไกลปืนเที่ยง ด้วยตั้งใจมาพึ่งใบบุญคุณอา ระหว่างทางเธอกลับถูกโจรป่าจับไปพร้อมหมอหนุ่มซึ่งโดยสารรถมาด้วยกัน ความจริงมาเปิดเผยว่าหัวหน้าโจรนั้นมุ่งจับหมอหนุ่มมาเพื่อให้ช่วยรักษาเมียรักที่กำลังป่วยหนัก ระหว่างนั้นทั้งสาวเมืองกรุงและหมอหนุ่มก็ช่วยกันหาลู่ทางหลบหนี โดยมีเมียขุนโจรที่อยากหนีเช่นกันคอยช่วยอีกแรง เมื่อสบโอกาสทั้งสามจึงพากันหนีไป ทิ้งให้ขุนโจรเดือดดาลและออกตามหาแทบพลิกแผ่นดิน
เสือน้อย (2498)
เสือน้อย (2498/1955) ดู.. ลูกหม่อมเจ้า ตกอยู่ในเงื้อมมือขุนโจรเจ้าสมุทร ต้องกลายเป็นสลัดใจเหี้ยมชื่อชั่วก้องท้องน้ำ เป็นพรานทะเลล่าสมบัติและชีวิตมนุษย์.. พรานพร่าผู้หญิงแม้ที่สุดน้องสาวร่วมสายโลหิต ดู.. พ่อ-เจ้า พบลูกสลัดเชื้อเจ้า ผลัดกันพบและพลัดกันซบสะอื้นเมื่อสายเสียแล้วที่บุญพ่อสิ้นทางจะอุปถัมภ์อุ้มชูสายเลือดตนไว้ได้ ดู.. กองเรือสลัดปะทะกองเรือตำรวจน้ำดุเดือดสะท้านชล ที่เกาะนางคำ อันเป็นที่ที่ เสือใหญ่และ เสือน้อย สองโจรสลัดพ่อลูกใช้เป็นที่ปล้นทรัพย์เรือสำราญที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังแถบนี้ ไม้เว้นแม้แต่เรือของ ม.ร.ว.ศิรินิรันดร์ ลูกสาว กับ ม.ร.ว.นเรนทร์ หลานชายของ พลเรือโท ม.จ.นิรันดร์ฤทธิ์ ธำรง ก็ตกเป็นเหยื่อด้วยเช่นกัน นเรนทร์พยายามใช้ไหวพริบพูดจาหว่านล้อมให้เสือน้อยเปลี่ยนใจ แต่ กัปตันเมือง กลับหักหลัง กำจัดเสือน้อยลงทะเล ทว่ากัปตันเมืองก็ไม่สามารถลอยนวลต่อไปได้ เมื่อเสือน้อยพาสมุนมาแก้แค้นแล้วจับทุกคนบนเรือเป็นตัวประกัน ปล่อยให้นเรนทร์กลับกรุงเทพเพียงคนเดียว นเรนทร์เก็บความแค้นไว้ในใจ แล้วตั้งหน้าตั้งตาร่ำเรียนเป็นตำรวจเพื่อจะกลับมาแก้แค้นเสือน้อยท่ามกลางโจรสลัดที่โหดเหี้ยม ศิรินิรันดร์ หญิงสาวเพียงคนเดียวจึงตกเป็นเป้าสายตาของบรรดาโจรสลัดอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ในที่สุด คืนหนึ่ง ศิรินิรันดร์ก็ถูก เสือเมฆ เข้าบุกปล้ำ เคราะห์ดีที่เสือน้อยมาช่วยไว้ทัน เสือเมฆเจ็บใจไปชักชวนกัปตันเมืองและชวน เทิ้ม หัวหน้าเกาะ จับตัวศิรินิรันดร์เรียกค่าไถ่ 100,000 บาทจาก ม.จ.นิรันดร์ฤทธิ์ โดยอ้างชื่อเสือน้อย เรื่องราวกลับตาลปัตรเพราะเสือน้อยเป็นลูกของ ม.จ.นิรันดร์ฤทธิ์ ที่เกิดจากดรรชนี สาวชาวเกาะเมื่อหลายปีก่อน ม.จ.นิรันดร์ฤทธิ์ รีบเดินทางไปเกาะนางคำโดยมีเสือเมฆและกำนันเทิ้มนำทาง เสือใหญ่และเสือน้อยนำสมุนมาคอยดักจัดการกับเสือเมฆได้ทัน แล้วยังปล่อยตัวศิรินิรันดร์โดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทนใดๆ แต่แล้ว ม.จ.นิรันดร์ฤทธิ์ กลับขอซื้อตัวเสือน้อย ความจริงจึงถูกเปิดเผยขึ้น เสือใหญ่ยืนกรานไม่รับข้อเสนอ ส่วนเสือน้อยด่าทอ ม.จ.นิรันดร์ฤทธิ์ ที่ทิ้งแม่อย่างไม่เหลียวแล ทันใดนั้นเอง นเรนทร์ได้นำกำลังตำรวจน้ำมาบุกทำลายซ่องโจรสลัดเกาะนางคำ เสือน้อยจึงฉวยโอกาสจับตัวศิริ-นิรันดร์แล้วหนีไปซ่อนตัวในกระท่อมซึ่งเคยเป็นที่อยู่ของดรรชนี แต่พอรุ่งสาง นเรนทร์ก็ตามมาพบและเกิดการดวลปืนขึ้น แม้นเรนทร์จะเป็นฝ่ายได้เปรียบแต่ก็ไม่ยอมยิงเสือน้อย เสือน้อยชิงปืนมาได้ แทนที่จะยิงนเรนทร์กลับใช้ปืนจบชีวิตอันอาภัพของตน
เชื้อไม่ทิ้งแถว 2470
เรื่องย่อ : เชื้อไม่ทิ้งแถว (2470/1927) เป็นเรื่องสมเหตุสมผล พร้อมไปด้วยคติสอนใจ โลดโผน โศก รัก ตลก คะนอง กับยังมียวดยานเกือบทุกประเภทแสดงประกอบอยู่ในเรื่อง เช่น รถยนต์ รถไฟ เรือยนต์ เรือแข่ง เรือกระฐินหลวง เครื่องบิน ฉวี (พระเอก) ต้องผจญภัยไม่แต่เพียงในเรื่องเท่านั้น แม้แต่นอกเรื่องก็ถูกผจญภัยด้วย ดังข่าวตกเครื่องบินในขณะทำการแสดง ดังปรากฏในข่าวหนังสือพิมพ์ที่เคยลงซู่ซ่ากันมาแล้ว ผู้ที่ได้รับความชมเชยเป็นพิเศษยังมีอีก เช่น เล็ก ซึ่งแสดงเป็นตัวนางลม้าย ภรรยานายสมบุญ (เชงจู) ผู้นี้นับว่าทำหน้าที่แม่ได้สนิทมาก โรคปากมากก็เป็นที่ 1 บูชาพ่อหลานชาย (สนอง) เสียเป็นเทวดา เข้าใกล้ผัวทีใดเป็นมีเรื่องทะเลาะกับผัววันยังค่ำ ทุกสิ่งของแม่ลม้ายไม่มีสิ่งใดที่จะเหลือไว้ให้สงสัยเลยว่าพ่อหลานชายยอดยากของแก เป็นบรมจอมโจรที่จะคอยล้วงตับแกในวันแล้ววันอีก ถ้าผัวคัดค้านถึงเรื่องพ่อหลานชายคนนี้ แม่ลม้ายเป็นแหงคัดค้านเสียจนคอหอยแทบจะระเบิดทีเดียว ในที่สุดนายสมบุญก็ต้องยอมแพ้ตามเคย เพราะทนปากแม่ลม้ายไม่ไหว ยังอีกคนหนึ่งคือ ตุ๊ ซึ่งแสดงเป็นนางผ่อง คนใช้ผู้สัตย์ซื่อของนางเอก นางผ่องคนนี้ไม่แต่เป็นคนใช้ที่ซื่อสัตย์ ยังทำหน้าที่เป็นตัวโจ๊กของเรื่องได้อย่างขบขันมาก ความขบขันของนางผ่องผู้นี้จะเห็นได้คราวหนึ่ง เผอิญไปแอบเห็นนายสาวกำลังกอดกับพระเอก นางผ่องจะเกิดรู้สึกขันอย่างไรไม่ทราบ ถึงกับปล่อยถาดถ้วยกาแฟลงไปกับพื้นดังโครมใหญ่ ยังอีกตอนหนึ่ง อารามตกใจว่าคู่รัก ของนายสาวถูกเจ้าสนั่น ตัวโกงหลอกเอาไป วิ่งกระหืดกระหอบไปบอกนายเสียจน "หางหงษ์" หลุด ความจริง สังขารของนางผ่อง ประกอบกับท่าทางที่แสดง ก็ชวนให้ น่าขันอยู่แล้ว ยิ่งไปทำอาการจูบพระธรณีในขณะที่วิ่งจนนางหางหงษ์หลุด จึงดูอาการคล้ายๆ กับลูกฟักใบเขื่องๆ ตกตุบลงในกองดินอย่างหนักๆ ตอนนี้จะทำให้ท่านผู้ดูถึงกับกลั้นหัวเราะไว้ไม่ไหวทีเดียว เพื่อเป็นหลักฐานแสดงให้ท่านเห็นว่าเรื่อง "เชื้อไม่ทิ้งแถว" เป็นเรื่องควรแก่การทัศนาของท่านเพียงใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี ภายหลังเมื่อได้ทอดพระเนตรแล้ว มีพระราชดำรัสชมเชยว่า "เรื่องนี้ของเขาพอดูได้" (ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวภาพยนตร์ พ.ศ. 2470)