ทองปาน (2520/1977) นักศึกษาคนหนึ่งเดินทางเข้ามาที่อำเภอเชียงคาน เมืองเล็กๆ ในจังหวัดเลย ติดชายแดนไทย-ลาว ซึ่งกำลังจะมีการสร้างเขื่อนผามอง เขื่อนยักษ์กั้นแม่น้ำโขง เขากำลังจะไปอำเภอปากชม เพื่อตามหาชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อน และได้พบกับคนถีบสามล้อรับจ้าง ชื่อ ทองปาน ทองปาน เคยมีที่นาอยู่ที่กาฬสินธุ์ เมื่อมีการสร้างเขื่อนลำปาวกั้นลำน้ำปาว ที่นาของเขาไม่ได้ถูกเวนคืนเหมือนเพื่อนบ้าน แต่ตั้งอยู่ใต้เขื่อน นาของเขาล่ม เพราะขาดน้ำในหน้าแล้ง และน้ำท่วมในหน้าฝน ทางการให้เหตุผลว่าเขื่อนสร้างมาราคาแพงมาก ต้องรักษาไว้ให้ดี โดยคงระดับน้ำให้เหมาะสม ซึ่งทองปานก็ยอมรับผลกระทบแต่โดยดี ในที่สุดทองปานก็พาลูกเมีย ย้ายไปรับจ้างในโรงเลื่อยฝั่งลาว ตามเพื่อนบ้านที่อพยพไปก่อนหน้า แต่ไม่นานก็ต้องเลิกหลังเกิดรัฐประหาร รัฐบาลใหม่ของลาวสั่งห้ามการตัดไม้ และส่งทหารเข้ามาเผาทำลายไม้เถื่อน ทองปานหันไปเป็นกรรมกรสร้างสนามบินที่โคราช หันมารับจ้างเลี้ยงไก่ เปลี่ยนไปเป็นนักมวย และมาถีบรถรับจ้างในตัวอำเภอเชียงคานในที่สุด ในการสัมมนาที่จัดขึ้น ผู้ร่วมสัมมนาประกอบด้วยนักวิชาการ ตัวแทนจากธนาคารโลก แพทย์ นักอนุรักษ์ฝ่ายต่อต้านเขื่อน นายอำเภอเจ้าของท้องที่ ต่างอภิปรายข้อดีข้อเสียของเขื่อนอย่างกว้างขวาง มีการวิพากษ์ถึงการสร้างเขื่อนครั้งก่อนหน้า ว่าสร้างขึ้นโดยการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง โดยไม่ได้มีการศึกษาผลกระทบ หรือถามความเห็นจากประชาชนในพื้นที่เลย ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการอภิปราย โดยมีชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเข้าร่วมด้วย เมื่อคราวที่ทองปานจะต้องพูด ปรากฏว่าทองปานหายไปไหนไม่มีใครทราบ หลังการสัมมนานักศึกษาคนเดิมแวะไปตามหาทองปานที่บ้าน พบว่าทองปานเป็นห่วงเมียที่เป็นวัณโรค จึงหลบกลับมาก่อนและพบว่าเมียตายเสียแล้ว จากนั้นมา ไม่มีใครเคยพบเห็นทองปานอีกเลย
สุภาพบุรุษเสือใบ (2514)
สุภาพบุรุษเสือใบ (2514/1971) ข้อความบนใบปิด พลสัณห์ภาพยนตร์ ผู้สร้างผลงานยอดเยี่ยมจากเรื่อง “จอมโจรมเหศวร” ภูมิใจเสนอผลงานสร้างที่มีหลักประกันมาตรฐานประจำปี 2514... จากชีวประวัติของลูกผู้ชายที่วิถีชีวิตทำให้กลับกลายเป็นเสือร้าย เป็นประวัติชีวิตจริงของ “เสือใบ” อดีตเสือร้ายคนเดียว ที่นักประพันธ์ชื่อดัง ป.อินทรปาลิต บุกบั่นเข้าไปนำประวัติมา เขียนเป็นนวนิยายที่เลื่องลือไปทุกมุมเมือง ซึ่งยังมีชีวิตอยู่และร่วมแสดงในเรื่องนี้ด้วย... สุภาพบุรุษเสือใบ เพชรา เชาวราษฎร์ ครรชิต ขวัญประชา นำแสดง ติดตามด้วย ประจวบ ฤกษ์ยามดี, เมตตา รุ่งรัตน์, เมือง อพอลโล, เยาวเรศ นิสากร, มารศรี อิศรางกูร, เชาว์ แคล่วคล่อง, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, เทียนชัย, พิภพ ภู่ภิญโญ, เมืองเริง ปัทมินทร์, เนตรดาว นภาพรรณ, สีเทา, ดาวน้อย ดวงใหญ่ ขอแนะนำและฝากฝัง 2 ดาราพระเอกใหม่ เอกชาติ ทวีชล, ศรชัย สราวุฒิ ประสิทธิ์ ศิริบรรเทิง สร้างบท วิเชียร วีระโชติ ถ่ายภาพ สง่า อารัมภีร สร้างเพลง ขจรกลิ่น บุรุษพัฒน์ ที่ปรึกษา พลสัณห์ ศรีหาผล อำนวยการสร้าง ประวิทย์ ลีลาไว กำกับการแสดง ฟัง! เพลงไพเราะระบบ 35 ม.ม. ดาราเกียรติยศจากบุคคลหลายอาชีพ กลุ่มนักประพันธ์, นักหนังสือพิมพ์ และเทศมนตรี พลสัณห์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
จอมโจรมเหศวร (2513)
จอมโจรมเหศวร (2513/1970) ศวร ลูกชายผู้ใหญ่สุข ที่ปลดประจำการจากการเกณฑ์ทหารกลับมาบ้าน แล้วต้องพบกับเหตุการณ์พ่อถูกฆ่าด้วยน้ำมือของหมื่นชล ผู้ที่อยากเป็นเจ้าพ่อและครอบครองที่ดินทั้งหมดของผู้ใหญ่สุข โดยศวรถูกหมื่นชลและพวกไล่ตามฆ่าจึงต้องหนีเอาชีวิตรอดไปถึงที่ไร่แห่งหนึ่ง และพบรักกับโฉมยา หลานสาวเจ้าของไร่ ท่ามกลางความไม่พอใจของพิทักษ์ พี่ชายของโฉมยา ซึ่งได้วางแผนหลอกศวรว่าโฉมยากำลังจะแต่งงานกับชายอื่นที่คู่ควรกว่า ทำให้ศวรเสียใจมาก ด้วยความแค้นที่พ่อถูกฆ่าและโดนพรากคนรัก ทำให้ศวรเดินทางไปพบกับเสือฝ้าย และสร้างชื่อเป็นที่ร่ำลือกันทั่วในฉายาว่า "จอมโจรมเหศวร"
วิญญาณสุรพล (2512)
วิญญาณสุรพล (2512/1969) ข้อความบนใบปิด แม้ตัวเขาจากไป แต่วิญญาณเขายังอยู่ ดู วิญญาณสุรพล นำโดย วิน วิษณุรักษ์ สมชาย ศรีภูมิ ใจดาว บุษยา แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, อุไรวรรณ จันทร์ทิพย์, พุทธชาติ, พิณทิพย์, ขวัญ สุวรรณะ, ยรรค์ยง, ก๊กเฮง, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, เมืองเริง ปัทมินทร์, แอ๋, พิศ, พิภพ ภู่ภิญโญ, ประกอบ และ ขุนแผน ภุมมารักษ์, ถนอม นวลอนันต์ ศิวาพรฟิล์ม จัดจำหน่าย ตื่นเต้น!! เฮฮา!! ฟังเพลงสุรพล โศรยา อำนวยการสร้าง เกรียงศักดิ์ ฤกษ์ชนะ กำกับการแสดง สงคราม-กวี ถ่ายภาพ
สุรพลลูกพ่อ (2511)
สุรพลลูกพ่อ (2511/1968) เรื่องราวชีวิตจริงของราชาเพลงลูกทุ่ง "สุรพล สมบัติเจริญ" ผ่านมุมมองของบิดาของครูคือ "พ่อเปลื้อง สมบัติเจริญ" ตั้งแต่สุรพลเริ่มชีวิตการร้องเพลงจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ ด้วยเอกลักษณ์ ลีลา รูปแบบเฉพาะตัว และความสามารถในการร้องและแต่งเพลงเอง รวมถึงการใช้เพลงจังหวะรำวงในเพลงที่เขาแต่ง ทำให้เพลงของเขามีความสนุกครึกครื้นและเป็นที่นิยมจนกลายเป็นราชาแห่งวงการเพลงลูกทุ่ง ก่อนที่สุรพลจะจบชีวิตอย่างน่าเศร้าด้วยเหตุฆาตกรรมที่ใครก็คาดไม่ถึง
16 ปีแห่งความหลัง (2511)

16 ปีแห่งความหลัง (2511/1968) ลำดวล สมบัติเจริญ กับ การะเวก เพื่อนสนิท เดินทางจากสุพรรณมากรุงเทพฯ หา จ่าโทแต้ม นักดนตรีในกองดุริยางค์ทหารอากาศ เพื่อหางานทำ ที่บ้านของจ่าโทแต้ม มี จ่าโทโปร่ง เพื่อนสนิทอีกคนอาศัยอยู่ด้วย จ่าโทแต้มให้การต้อนรับลำดวลกับการะเวกอย่างดี และเมื่อทราบว่าลำดวลได้ลาออกจากการเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ และลาออกจากการเป็นครูที่สุพรรณแล้ว ก็หาทางช่วยเหลือ ได้พาลำดวลไปพบ ร.ท.ปราโมทย์ นายของตนเพื่อฝากเข้าทำงานในกองทัพอากาศ

ร.ท.ปราโมทย์ ได้ตั้งค่ายมวยชื่อ ค่ายเลือดชาวฟ้า ได้รับลำดวลกับการะเวกเข้าทำงาน โดยบรรจุ ลำดวล เข้าทำงานในฝ่ายโยธา กองทัพอากาศ พร้อมกับแนะนำให้ลำดวลหัดมวยเพื่อหาลำไพ่พิเศษ จ่าตรีอ่อน ผู้ควบคุมดูแลนักมวยในค่าย ชอบพอสนิทสนมกับลำดวลและการะเวกเป็นพิเศษ สาเหตุเพราะทั้งสามคนชอบรำวง เมื่อมีคณะรำวงมาตั้งใกล้ๆ ค่ายอ่อนก็เป็นตัวการทำให้ลำดวลกับการะเวกได้หนีไปรำวงด้วยทุกคืน

จิ๋มลิ้ม หัวหน้าคณะรำวงชอบพอกับอ่อน เมื่อลำดวลได้แต่งเพลงรำวงไว้และอยากที่จะแสดงผลงานของตัว ก็ได้รับการสนับสนุนจากจิ๋มลิ้มเป็นอย่างดี เพลงชูชกสองกุมาร ของลำดวลได้รับกาารต้อนรับที่ดีจากประชาชนที่มารำวง ในคืนหนึ่ง ร.ท.ปราโมทย์ มาพบทั้งสามเข้า ทำให้ทั้งสามคนตกใจมาก แต่ ร.ท.ปราโมทย์ กลับแสดงความยินดีกับผลงานเพลงของลำดวล และย้ายลำดวลเข้าสู่กองดุริยางค์ทหารอากาศ

ที่กองดุริยางค์ทหารอากาศ ในระยะแรกลำดวลทำงานอยู่ฝ่ายการเงิน ได้รับยศเป็นจ่าตรี การะเวกและจ่าอ่อนก็ย้ายตามมาด้วย เนื่องจากบ้านพักเต็มทั้งสามคนจึงต้องมาขออาศัยที่บ้านพักของ จ่าแต้ม ที่บ้านของจ่าแต้มทั้งสามคนได้รับการขูดรีด และกดขี่จาก "นางแหว" เมียจ่าแต้มที่มีนิสัยเห็นแก่ตัวและปากร้ายเป็นที่สุด ทั้งสามคนได้หาทางแก้เผ็ดยายแหวทุกครั้ง ที่กองดุริยางคืทหารอากาศลำดวลได้รับความสนับสนุนจากนักร้องนักแต่งเพลงรุ่นพี่ ทำให้มีโอกาสแสดงผลงานที่แต่งและร้อง จนประชาชนให้ความนิยม และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สุรพล สมบัติเจริญ

บุญเพ็งหีบเหล็ก (2510)
บุญเพ็งหีบเหล็ก (2510/1967) เรื่องจริงอิงมายาศาสตร์ เรื่องจริงที่ตื่นเต้นสยองขวัญจนแทบไม่น่าเชื่อ เรื่องของการชิงรักหักสวาทบาดอารมณ์ เหนือความรักประทับใจทั้งมวล! บุญเพ็งหีบเหล็ก เป็นฉายาของนายบุญเพ็ง ซึ่งเป็นฆาตกรที่เหี้ยมโหดในสมัยรัชกาลที่ 6 เดิมทีนายบุญเพ็งเป็นพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองนนทบุรี และมีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมาก โดยเฉพาะลูกศิษย์ที่เป็นผู้หญิงร่ำรวย ซึ่งบุญเพ็งได้ใช้วิชาอาคมด้วยการทำเมตตามหานิยมให้กับผู้หญิงที่หลงเชื่อ ด้วยการหลอกล่อเอาเงินและมีเพศสัมพันธ์กับสีกาที่มาให้บุญเพ็งทำเสน่ห์ นานวันเข้าก็เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้หญิงที่ไปติดพันบุญเพ็งค่อยๆ หายตัวไปอย่างลึกลับ พร้อมหีบเหล็กที่หายไปทีละใบ..ทีละใบ..
ศรีปราชญ์ (2500)
ศรีปราชญ์ (2500/1957) ภาพยนตร์ชีวิต ยอดกรุงศรีอยุธยา สีวิจิตรตระการตา ยิ่งใหญ่ ฉากมโหฬาร บทรักประทับใจ
ฟ้าธรรมาธิเบศร์ (2499)
ฟ้าธรรมาธิเบศร์ (2499/1956) เรื่องราวของสังวาลย์ หญิงสาวชาวบ้านกุ่ม จังหวัดอยุธยา ที่เกิดมีความรักกับ อิน ชายพเนจร อินให้คำมั่นกับสังวาลย์ว่าจะมาหาอีกครั้งในวันสงกรานต์ ฤทธิ์ ลูกเศรษฐีซึ่งหมายปองสังวาลย์มานานเห็นเหตุการณ์ก็ไม่สบอารมณ์จึงสั่งสมุนไปทำร้ายอิน แต่กลับเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ความจริงแล้วอินคือ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ปลอมตัวมาท่องเที่ยว โดยความรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพระยากลาโหมกับกรมขุนนเรนทร์ฯ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ปลอมตัวเป็นอินไปหาสังวาลย์ตามสัญญา แต่ระหว่างทางกลับพระราชวังถูกฤทธิ์ดักทำร้าย บัว พ่อของสังวาลย์ได้ยินเสียงจึงลงมาดูและจับตัวอินไว้ รุ่งขึ้นพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จมาทอดพระเนตรการซ่อมเพนียด บัวขอเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวพร้อมสังวาลย์ ความงามของสังวาลย์ต้องพระทัยพระเจ้าอยู่หัว จึงตรัสขอลูกสาวกับบัว เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ต้องสะเทือนพระทัยที่บัดนี้หญิงสาวที่พระองค์รักเป็นของพระราชบิดาเสียแล้ว เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์หันไปหา ซ่อนกลิ่น ลูกสาวของเจ้าพระยากลาโหม ทำให้กรมขุนนเรนทร์ฯ ซึ่งเฝ้ารักซ่อนกลิ่นแค้นใจ คืนหนึ่ง เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ได้พบสังวาลย์โดยบังเอิญจึงนัดพบกันที่สวนของบัว กรมขุนนเรนทร์ฯ ทราบข่าว จึงวางแผนฆ่าบัว โยนความผิดให้เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ และใส่ร้ายสังวาลย์ว่าคบชู้ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงมีพระบรมราชโองการประหารชีวิตเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ เจ้าพระยากลาโหมทราบข่าว รีบมากราบทูลความจริง ประกอบกับบัวยังมีชีวิต กรมขุนนเรนทร์ฯ จึงถูกทหารสำเร็จโทษ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีพระราชสาสน์พระราชทานอภัยโทษ แต่ทหารมาช้าเกินไป เพชฌฆาตได้ลงดาบเสียแล้ว
ทหารเสือพระเจ้าตาก (2498)

ทหารเสือพระเจ้าตาก (2498/1955) ณ ตำบลท่าเสา เมืองตาก รำยง กับ พุมเรียงเป็นสาวใช้พระยาตาก วันหนึ่งขณะที่ทั้งสองคนกำลังว่ายน้ำอยู่ในลำธาร ทองอินทร์ ทหารของพระเจ้าตากเดินผ่านมาพยายามเกี้ยวพาราสี สองสาวเห็นท่าไม่ดีจึงตะโกนขอความช่วยเหลือ ทองดีกับบุญเกิด หนุ่มพเนจรเดินผ่านมาจึงเข้าช่วยเหลือ ทองอินทร์สู้ไม่ได้จึงหนีไป ทองดีกับบุญเกิดจึงได้รู้จักรำยงกับพุมเรียง เมื่อคุยถูกคอความรักจึงเกิดขึ้น หลังจากนั้นไม่นานพระยาตากจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชเนื่องในงานพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในพระบาทสมเด็จพระที่นั่งสุริยาบรินทร์ บริเวณจวนผู้ว่าราชการเมือง และโปรดให้มีการชกมวยต่อหน้าพระยาตาก ทองดีกับบุญเกิดยืนดูการชกมวยอยู่ก็เกิดคันไม้คันมือ ประกาศขอท้าครูมวยจนเกิดการแข่งขันขึ้นด้วยฝีมือเก่งกาจของทองดีทำให้สามารถล้มครูมวยได้ ทองอินทร์ปราดเข้ามาพร้อมหอกคู่มือ เดชะบุญ พระยาตากร้องห้ามไว้ทันเพราะพอใจในฝีมือของทองดี จึงให้เข้ารับราชการเป็นทหารยามอยู่ในวัง เมื่อได้เข้ามาอยู่ในวังทำให้ทองดีและรำยงใกล้ชิดกันมากขึ้น ทองอินทร์ซึ่งหมายปองรำยงอยู่ก็เกิดริษยา และหวิดจะมีเรื่องกับทองดีอยู่หลายครั้งจนพระยาตากคาดโทษทองอินทร์ ด้วยความแค้นในตัวพระเจ้าตาก ทองอินทร์ลอบเข้าไปในหอนอนหมายจะลอบปลงชีวิต ทองดีซุ่มดูเหตุการณ์ช่วยพระเจ้าตากไว้ได้ เป็นเหตุให้ทองอินทร์ถูกเนรเทศ ส่วนทองดีได้รับการแต่งตั้งให้เป็น หลวงพิชัยอาษา นายทหารคนสนิท และได้แต่งงานกับรำยง ในเวลานั้น กรุงศรีอยุธยากำลังถูกข้าศึกบุกประชิด พระยาตากได้รับคำสั่งให้นำกำลังไปช่วยรบ จึงได้พาหลวงพิชัยไปด้วย สถานการณ์ของกรุงศรีอยุธยากำลังเสียเปรียบ พระเจ้าตากจึงบัญชาให้หลวงพิชัยฝ่าวงล้อมไปรวมกำลังที่ระยอง จึงสามารถกู้กรุงศรีอยุธยาไว้ได้ วีรกรรมคราวนี้ทำให้หลวงพิชัยเลื่อนยศเป็นเจ้าพระยาว่าราชการเมืองพิชัย ต่อมาเมื่อพระเจ้าตากสินสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกขึ้นครองราชย์ ด้วยความกตัญญูเจ้าคุณพิชัยจึงยอมปลิดชีวิตตัวเอง ไม่ยอมเป็นบ่าวสองนาย

พระเจ้ากรุงธนบุรี (2495)
มาริยานางในเกาะนรก (2495)
มาริยานางในเกาะนรก (2495/1952) เผยชีวิตในค่ายคุมขังตะรุเตา ชีวิตจริง ตัวจริง สถานที่จริง ตื่นเต้น ทารุณ รักโศรก เจ้าคุณศราภัย ในบทบาทจริงของท่านก่อนหนี 1 ชั่วโมง (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 30 กันยายน พ.ศ. 2495)
สามเสือสุพรรณ (2493)
สามเสือสุพรรณ (2493/1950) ตุเดือดและยิ่งใหญ่อีกเรื่องหนึ่งในรอบปีนี้ จากสารคดีชีวิตจริงของเสือฝ้าย เสือดำ เสือมเหศวร แห่งจังหวัดสุพรรณบุรี (ที่มา: นิตยสารภาพยนตร์สาร มีนาคม พ.ศ. 2493)