พรายกินรี (2519)
พรายกินรี (2519/1976) ข้อความบนใบปิด ชีวิตสาวชาวป่า ประคำอาถรรพ์ ตัณหาราคะ อยากพร่าพรหมจรรย์ ให้มันแค้น! พรายกินรี บทประพันธ์ของ ปฤศนา สีดา วิษณุภพ สร้างบท สมบัติ เมทะนี นัยนา ชีวานันท์ มานพ อัศวเทพ มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช สันติ คราประยูร อนันต์ สัมมาทรัพย์, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, ชูศรี มีสมมนต์, ธัญญา ธัญญารักษ์, สิงห์ มิลินทราศัย, ทาริกา ธิดาทิตย์, ดวงใจ หทัยกาญจน์, อุ่นเรือน ธรรมานนท์ กมลวรรณ-สรรเพชญ อำนวยการสร้าง โสภณ เจนพานิช ถ่ายภาพ สนาน คราประยูร กำกับการแสดง นิวไฟว์สตาร์ จัดจำหน่าย
เทวดาเดินดิน (2519)

เทวดาเดินดิน (2519/1976) เรื่องราวของกลุ่มวัยรุ่นที่ทำงานเถื่อน เริ่มจากขนยาเสพติด ขโมยของปล้นร้านทอง ขโมยรถ และฆ่าคน พวกเขาใช้ชีวิตอย่างอิสระและไม่เกรงกลัวกฎหมาย จนได้รับฉายาว่า "เทวดาเดินดิน" แต่ก็ถูกตำรวจตามล่าจนต้องหนีลงใต้

ในปี พ.ศ. 2520 ต้อย (ต่อลาภ กำพุศิริ) ปลอมตัวเป็นลูกศิษย์วัด แล้วนำผงขาวไปส่งลูกค้าแต่ถูกตำรวจตามล่า ขณะกำลังหนีเอาตัวรอด ต้อยขับรถชนรถ พล (สรพงษ์ ชาตรี) ที่กำลังมีเรื่องกับนักข่าวไพบูลย์ และกำลังจะถูกตำรวจเล่นงาน พลจึงกระโดดขึ้นรถต้อยและหนีไปด้วยกัน ต้อยขอตามไปอยู่กับพลด้วย พลแนะนำให้รู้จักกับน้อง (วิยะดา อุมารินทร์) พวกเขาไม่ทำงานเที่ยว เอาแต่ขโมยของ ปล้นฆ่าคนตามอำเภอใจ ไพบูลย์จึงให้ฉายาทั้งสามว่า เทวดาเดินดิน

ทั้งสามหนีการตามล่าของสารวัตรบุญลงภาคใต้ ระหว่างหนี พลช่วยแอ๊ด (กิตติ ดัสกร) ที่เกือบตกรถไฟไว้ได้ จึงตกลงเป็นเพื่อน และพาไปอยู่ด้วยกัน ทั้งหมดชวนกันปล้นธนาคารที่บูลย์ (บู๊ วิบูลย์นันท์) ทำงานอยู่ บูลย์ขอเข้าเป็นพวกและร่วมทีมอีกคน ทั้งหมดปล้นฆ่าไปทั่ว คืนหนึ่งขณะที่พวกพลเริงร่ากับเงินที่ปล้นมาได้ สารวัตรบุญพาตำรวจล้อมจับ แต่พวกพลไม่ยอมจึงต่อสู้กับตำรวจ จนทำให้บูลย์ถูกยิงตาย

พล น้อง ต้อย และแอ๊ด หนีเข้าไปในป่าเลาะซึ่งเป็นเขตอันตราย น้องถูกกับดักที่ขาบาดเจ็บ พวกพลถูกชาวป่าเลาะจับตัวไปสอบสวน ตกดึกหมู่บ้านป่าเลาะถูกบุกแอ๊ดสู้จนตาย ชาวป่าเลาะเป็นฝ่ายชนะ แต่ต้องการให้ พล น้อง ต้อย ออกจากหมู่บ้านไป น้องกำลังจะตายเพราะทนพิษบาดแผลไม่ไหว น้องอยากจะไปพัทยา พลตกลงจะพาไป ขณะที่พล ต้อย และน้อง กำลังไปพัทยา ก็ถูกตำรวจตามล่าและปิดล้อม ทุกคนหนีขึ้นไปบนตึกและยึดชั้นบนได้ นักข่าวไพบูลย์แอบขึ้นไปคุยกับพล และพยายามกล่อมให้พลยอมจำนน แต่พลไม่ยอม สุดท้ายทั้งหมดจึงถูกตำรวจฆ่าตาย

ท้ามฤตยู (2519)

ท้ามฤตยู (2519/1976) พันตรีตวงอรรถ ผู้บังคับการกองพันทหารพรานรับจ้าง ได้รับภารกิจจากกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ให้ลอบสังหาร ท้าวโกสี อำพันทอง ผู้นำผู้ก่อการร้ายฝั่งลาว ภารกิจครั้งนี้เต็มไปด้วยความน่าสงสัยและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต สถานการณ์ที่พลิกผันส่งผลให้ตวงเริ่มตั้งคำถามว่า เหตุใดท้าวโกสีถึงมีค่าต่อกองทัพสหรัฐยิ่งนัก

นรกตะรูเตา (2519)

นรกตะรูเตา (2519/1976) ภาพยนตร์ที่สร้างโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องจริงของเกาะตะรุเตา ซึ่งเคยถูกใช้เป็นสถานที่คุมขังนักโทษการเมืองในช่วงต้นของการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 เรื่องราวของพันโทหลวงพิษณุรักษ์เสนา ร้อยเอกสกล และบรรดานักโทษการเมือง ซึ่งถูกจับกุมตัวไปจองจำอยู่ในคุกตะรุเตา และต้องเผชิญกับการทารุณกรรมโดยจ่าเผื่อน ผู้คุมจอมโหด แต่กระนั้นพวกเขายังได้รับมิตรภาพที่ดีจากหมอปรีชา แพทย์ประจำเกาะ รวมทั้งได้พบเจอกับ บุหงาและตันหยง สองสาวชาวเกาะแสนสวย

พ.ศ. 2475 หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลได้จับกุมข้าราชการทหาร พ่อค้า ประชาชน ผู้มีความเห็นขัดแย้งทางการเมือง ไปกักขังยังเกาะตะรูเตา พันโทคุณหลวงพิษณุรักษ์เสนา (สมบัติ เมทะนี) ร้อยเอกสกล (นาท ภูวนัย) และพรรคพวกก็ถูกส่งไปยังสถานกักกันบนเกาะนรกตะรูเตาเช่นกันทั้งหมดต้องหาทางแหกคุก

บ้องไฟ (2519)
บ้องไฟ (2519/1976) ข้อความบนใบปิด ฟิล์มทองภาพยนตร์ เสนอ นิยายพื้นบ้านที่เป็นอมตะของอีสาน แหล่งกำเนิดทะเลสาบหนองหาร และ “ผาแดงนางไอ่” รัก ตื่นเต้น บู๊ ตลก อภินิหาร มหัศจรรย์ บ้องไฟ นำแสดงโดย กรุง ศรีวิไล ภาวนา ชนะจิต มานพ อัศวเทพ ศิรดา ศิรวัฒน์, นิรมล, เมฆ, เทพ เทียนชัย, รุจิรา-มารศรี อิศรางกูร, สังข์ทอง สีใส, ล้อต๊อก, ก๊กเฮง, ทองแถม, เมือง อพอลโล, โกร่ง กางเกงแดง, ศุภวรรณ, พิภพ ภู่ภิญโญ, แอ๋, อภิเดช, ประยูร, ป๊อก เขี้ยวเพชร, จ๊อด, อ๊อด, เสรี, โต, ชวน ฯลฯ พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา สร้างเพลง เพลง ผานางไอ่ ไพรวัลย์ ลูกเพชร ขับร้อง เพลง มาเซิ้งบ้องไฟ สังข์ทอง สีใส ขับร้อง โสภณ เนรมิตร ธุรกิจ นพรัตน์ ทิพย์โอสถ-ชนะ บุนนาค ถ่ายภาพ สุรพล รัตนกำพล สร้าง-กำกับฯ วิคตอรี่ฟิล์ม จัดจำหน่าย
เมียเสือ (2519)
เมียเสือ (2519/1976) ข้อความบนใบปิด โบราณท่านกล่าวไว้ “อันหญิงใดเยี่ยวรดหัวเสือ ต้องเป็นเมียเสือ” อรัญญากับเสือรักกันมันยิ่งกว่าแห้ว เมียเสือ นำโดย สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ มานพ อัศวเทพ, เมตตา รุ่งรัตน์, สายัณห์ จันทรวิบูลย์, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ชูศรี มีสมมนต์, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, พิภพ ภู่ภิญโญ, ด.ช.ดีนา เกรียงไกร สยุมพร กำกับการแสดง ธีระ แอคะรัจน์ ถ่ายภาพ ปกรณ์ แก้วกล้า อำนวยการสร้าง วรุตม์ วงศ์สมเพชร ประสานงาน นิวัฒน์ฟิล์ม จัดจำหน่ายทั่วประเทศ
ไอ้แด่น (2519/1976) ข้อความบนใบปิด หุ้นส่วนจำกัดภาพยนตร์ไทย โดย ทนง วีระกุล เสนอ ภาพยนตร์ชีวิตสัตว์เรื่องแรกของไทย ไอ้แด่น เรื่องราวชีวิตผจญภัยของ พังพอนหน้าแด่น แสนรู้ แสนฉลาด เจ้าเล่ห์ แต่น่ารัก ท่านจะพบว่าสัตว์ป่าทุกชนิด ต่างรักชีวิตเหมือนคน ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด และอยู่อย่างเสรี... 35 ม.ม.สี เสียง ในฟิล์ม สมชาย กำลังหาญ, ธวัชชัย วีระกุล ถ่ายภาพ ปรีชา วีระกุล อำนวยการสร้าง ทนง วีระกุล กำกับการแสดง *ใบปิดวาดโดย ทองดี  (ที่มา :Thai Movie Posters)

กำลังแสดงผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ