ชุมทางรัก (2509)
ชุมทางรัก (2509/1966) ชุมทางรัก เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2509 สร้างโดย รัตนงามภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย ประทีป โกมลภิส ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ ก.สุรางคนางค์ (กัณหา เคียงศิริ)
เจ้าแม่ตะเคียนทอง (2509)

เจ้าแม่ตะเคียนทอง (2509/1966) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ช่วงเวลาสุดท้ายก่อนการเลิกทาส ยอด (ไชยา สุริยัน) และพิกุล (ปรียา รุ่งเรือง) เป็นทาสในเรือนของท่านเจ้าคุณวิเศษสรไกร (สาหัส บุญ-หลง) ทั้งสองรักใคร่กัน ทำให้บัวเผื่อน (ชฎาพร วชิรปราณี) เมียน้อยท่านเจ้าคุณไม่พอใจเนื่องจากหลงรักยอดอยู่เช่นกัน ขณะเดียวกับที่ท่านเจ้าคุณก็ต้องการพิกุลเป็นเมีย วันหนึ่งบัวเผื่อนก็สร้างเรื่องใส่ความว่ายอดปลุกปล้ำ เจ้าคุณสั่งลงโทษโบยยอดอย่างหนัก แม้ว่าคุณกาหลง (โสภา สถาพร) ผู้เป็นธิดาพยายามขอร้องก็ไม่เป็นผล พิกุลยอมเป็นเมียท่านเจ้าคุณเพื่อเป็นการช่วยยอดไม่ให้ถูกเฆี่ยนจนถึงชีวิต แต่ยอดกลับเข้าใจว่าพิกุลเป็นหญิงหลายใจจึงดุด่าพิกุลอย่างรุนแรง พิกุลเสียใจมากจึงผูกคอตายที่ต้นตะเคียนในสวนหลังบ้านท่านเจ้าคุณ หลังจากพิกุลตายแล้วยอดจึงได้รู้ความจริงว่าที่พิกุลต้องยอมเป็นเมียท่านเจ้าคุณก็เพื่อช่วยชีวิตของตน ยอดจึงแอบโขมยศพของพิกุลจากวัดมาฝังไว้ใต้ต้นตะเคียน ยอดหลบหนีออกจากบ้านท่านเจ้าคุณและได้ช่วยหมอฝรั่งให้พ้นมือโ่จร หมอฝรั่งจึงพายอดไปอยู่ด้วยและสอนวิชาแพทย์ให้จนเชี่ยวชาญ ขณะที่บ้านท่านเจ้าคุณก็เกิดเหตุวุ่นวายเมื่อวิญญาณของพิกุลออกมาปรากฎตัวหลอกหลอน ท่านเจ้าคุณถูกพิกุลหลอกจนป่วยจึงให้คนไปตามหมอมารักษาซึ่งก็คือยอดนั่นเอง ทำให้ยอดได้มีโอกาสใกล้ชิดก้บคุณกาหลง หลังจากท่านเจ้าคุณเสียชีวิตทั้งสองตกลงใจจะอยู่ครองรักกันทำให้วิญญาณพิกุลโกรธมาก ปรากฎตัวออกมาทวงสัญญารักที่ยอดเคยให้กับตนเองไว้ ยอดเห็นใจในความรักและความเสียสละของพิกุลจึงจะยอมไปอยู่ด้วย ขณะที่พิกุลกำลังจะนำยอดไปหมอผีที่เดินทางมาปราบวิญญาณของพิกุลก็ได้ใช้ตะปูอาคมตอกที่ต้นตะเคียนทำให้วิญญาณของพิกุลสิ้นฤทธิ์เดช ก่อนที่วิญญาณจะสลายไปพิกุลได้ฝากให้คุณกาหลงดูแลยยอด ยอดและคุณกาหลงจึงได้ครองรักกัน

ศึกบางระจัน (2509)
ศึกบางระจัน (2509/1966) เรื่องราวของ ทับ ชายหนุ่มผู้อพยพชาวบ้าน รวมทั้งนิมนต์พระครูธรรมโชติมาอยู่ที่บางระจัน เพื่อเตรียมรับมือกับทัพพม่า เมื่อได้ข่าวว่าข้าศึกกำลังมาเยือนพร้อมด้วยปืนใหญ่ ทับจึงอาสาฝ่าอันตรายเดินทางไปขอปืนใหญ่ในวังหลวง อ้ายทับ แห่งบ้านคำหยาดหัวหน้ากลุ่มโจรที่คอยโจมตีทัพพม่า ต่อมาชาวบ้านคำหยาดไปรวมตัวกับชาวบ้านแห่งค่ายบางระจัน และอ้ายทับได้เป็นหัวหน้ากองทหารแห่งบ้านบางระจัน ชาวค่ายบางระจันสามารถรบโจมตีกับทัพพม่าได้แทบทุกครั้งด้วยความสามัคคีของคนในค่าย แต่ทว่าด้วยกำลังเพียงหยิบมือกับกองทัพขนาดใหญ่ที่หมายบุกไปโจมตีกรุงศรีอยุธยา ทำให้ชาวบ้านบางระจันถูกตีแตกพ่ายเหลือเพียงตำนานเล่าขานวีรกรรมแด่คนรุ่นหลัง
หยกแดง (2509)
หยกแดง (2509/1966) ข้อความบนใบปิด พิษณุภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์ชีวิต..บู๊.. หยกแดง ของ ปพิมล มิตร ชัยบัญชา พิศมัย วิไลศักดิ์ ร่วมด้วย ฑัต เอกฑัต, สมควร กระจ่างศาสตร์, ประมินทร์ จารุจารีต, เอื้อมเดือน อัษฎา, เยาวเรศ นิศากร, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, แป้น ปลื้มสระไชย วิจารณ์ ภักดีวิจิตร อำนวยการสร้าง วินิจ ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ พันคำ กำกับการแสดง เอวันฟิล์ม จัดจำหน่าย
เสือเหลือง (2509)
เสือเหลือง (2509/1966) เรื่องของชายชาตรีนักสู้ ผู้ไม่เคยรู้จักคำว่า "แพ้" แม้จะอยู่กลางดงดาวร้ายเขายอมตายเพื่อชีวิตอยู่ สู้ไว้ลายเช่นชายชาติเสือ บทรักก็น่าดู บทบู๊ก็น่าชม... จากละครวิทยุที่ดุเด็ด เผ็ดมันจนลือลั่นในความดี ของคณะ "เสนีย์ บุษปะเกศ" เสือเหลือง จากบทประพันธ์ที่ดังที่สุดของ อิศรา อมันตกุล
แม่ยอดชีวิต (2509)
แม่ยอดชีวิต (2509/1966) ข้อความบนใบปิด รัตนงามภาพยนตร์ มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ฑัต เอกฑัต, สมจิตร ทรัพยฺสำรวย, มาลี เวชประเสริฐ, กัณฑรีย์ นาคประภา, ประมินทร์ จารุจารีต, อัจฉราวดี เถาเสถียร, มนัส บุณยเกียรติ, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ชุมพร เทพพิทักษ์, อ้อย อินทิรา, สมพล กงสุวรรณ, สมควร กระจ่างศาสตร์, ปรียา รุ่งเรือง, ทักษิณ แจ่มผล, ก๊กเฮง, ทองฮะ, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, จรูญ สินธุเศรษฐ์, สังเวียน หาญบุญตรง, ทองแถม แม่ยอดชีวิต ส.อาสนจินดา กำกับการแสดง-ประพันธ์บท สุภาพ ประจวบเหมาะ อำนวยการสร้าง หวน รัตนงาม ดำเนินงาน ปรีชา ทรัพย์พระวงศ์ ถ่ายภาพ รัตนงาม จัดจำหน่าย
เสน่ห์บางกอก (2509)
เสน่ห์บางกอก (2509/1966) แพร (พร ภิรมย์) หนุ่มบ้านศาลาเกวียนหลงใหลความเจริญของเมืองบางกอกถึงขนาดหนีการบวชทดแทนพระคุณพ่อแม่คือกำนันปลั่ง (พยงค์ มุกดา) หนีที่จะต้องแต่งงานกับ สไบ (ภาวนา ชนะจิต) สาวบ้านนาที่พ่อแม่เลือกให้ไปเมืองบางกอก แต่แล้วเมืองบางกอก ก็ทำให้แพรผิดหวังเพราะเจอแต่คนแล้งน้ำใจ ไม่ว่าจะเป็นสาวบางกอกที่แพรคิดจะรักก็ไม่ใยดี ซ้ำต้องเผชิญกับนักเลงหัวไม้แย่งชิงพระพุทธรูปที่แพรนำติดตัวมาจนแพรต้องไปเป็นนักมวย ฝ่ายพ่อแม่ก็ออกตามหาตัวแพรกันจ้าละหวั่น แต่แล้วในที่สุดแพรก็หันหลังให้กับเมืองบางกอก กลับบ้านนอกมาพร้อมๆ กับพ่อแม่และสไบที่ออกตามหาด้วยความเป็นห่วง