สาวน้อย (2501)
สาวน้อย (2501/1958) สรรค์ บุตรคนเดียวของพระชาญชลาศัย ซึ่งถูกทำร้ายจนความจำเสื่อม ทำให้สรรค์ได้จับพลัดจับผลูไปอาศัยอยู่บนเกาะแห่งหนึ่ง ที่นี่เขาได้พบรักกับสาวน้อยชื่อ นิด และตัดสินใจแต่งงานกัน แต่ความสุขของทั้งคู่ก็ต้องมาสะดุดลงเมื่อพระชาญชลาศัยออกตามหาตัวลูกชายจนพบ
การะเกด (2501)
การะเกด (2501/1958) เมื่อท่านมีใจคอยเราได้เช่นนี้ เราจึงขอสัญญาจะนำ.. การะเกด มาพบกับท่านที่ ศาลาเฉลิมกรุง, ศาลาเฉลิมบุรี ให้ดีที่สุดสมกับที่ท่านคอยเรา ปลายพฤศจิกายนนี้ การะเกด เป็นเรื่องราวของการะเกด (พิศม้ย วิไลศักดิ์) นางรำละครฝีมือดี ที่สวยงามอ่อนช้อย กิริยานุ่มนวล จนเป็นที่ต้องตาตรึงใจขององค์พระยุพราชผู้สูงศักดิ์แห่งแผ่นดินกนกนคร (ลือชัย นฤนาท) แต่การะเกด นั้นแสนจะอาภัพ ทั้งที่รักองค์พระยุพราชแต่ก็ไม่อาจสมหวังได้ เพราะในอนาคตพระองค์จะต้องขึ้นครองราชย์ และมีคู่หมั้นหมายที่ศักดิ์สูงเท่าเทียมกันอยู่แล้ว คือเจ้าหญิงเกษรี (จรัสศรี สายะศิลปี) การะเกด ตามเสด็จองค์พระยุพราช ไปสู่กนกนครในฐานะครูสอนรำให้กับชาววัง แต่อานุภาพของความรักที่องค์พระยุพราช และการะเกดมีต่อกัน สุดท้ายทั้งคู่ได้ให้กำเนิดลูกชาย แต่การะเกดมิอาจแสดงความเป็นแม่ต่อเจ้าชายผู้สูงศักดิ์ได้ เธอได้มอบลูกชายให้กับองค์พระยุพราช และเจ้าหญิงเกษรี มเหสี ส่วนตัวเองก็กลับเมืองไทย และได้แต่คอยเฝ้าเป็นกำลังใจให้กับเจ้าฟ้าชายนคราธิบดินทร์ (ชนะ ศรีอุบล) ผู้สืบราชบัลลังก์แห่งกนกนคร
ผาวิ่งชู้ (2501)
ผาวิ่งชู้ (2501/1958) ผาวิ่งชู้ เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2501 สร้างโดย นารายณ์ภาพยนตร์ โดยมี วีระ วิจิตรานนท์ เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดยครูมารุต (ทวี ณ บางช้าง) และถ่ายภาพโดย พ.ต.ประวัติ รัตนกิจ
บุหงาสวรรค์ (2501)
บุหงาสวรรค์ (2501/1958) ข้อความบนใบปิด ศิวาพรภาพยนตร์ ภาพยนตร์รัก ชีวิต บู๊ทะลายเมือง ที่ไม่ต้องการคำโฆษณาถึงความดีใดๆ แสน สุรศักดิ์ อมรา อัศวนนท์ พบกันในบทรักเป็นครั้งแรก ใน... บุหงาสวรรค์ พร้อมด้วยเชิงบู๊สะบัดของเหล่าร้าย... ประมินทร์ จารุจารีต, สิงห์ มิลินทราศัย ฯลฯ ศิวาพร อำนวยการสร้าง ส.คราประยูร กำกับการแสดง รัตน์ เศรษฐภักดี ถ่ายภาพ (ที่มา :Thai Movie Posters)
เกล็ดแก้ว (2501)
เกล็ดแก้ว (2501/1958) เกล็ดแก้ว เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2501 สร้างโดย พันธมิตรภาพยนตร์ โดยมี วิเชียร วีระโชติ เป็นผู้อำนวยการสร้าง-ถ่ายภาพ และกำกับการแสดงโดย พันคำ (พร้อมสิน สีบุญเรือง) ภาพยนตร์เรื่องนี้มีคำโปรยว่า ดู! เกล็ดแก้ว ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มหาชนนับหมื่นชมแล้ว ปรบมือให้อย่างจริงใจ! ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์อีกครั้งในปี พ.ศ. 2526
รมดี (2501)
รมดี (2501/1958) ข้อความบนรูปโฆษณา เพราะความประทับใจจาก “มัสยา” “ปรารถนาแห่งหัวใจ” โดยทีมงานของ “ยูเนียนฟิล์ม” ก.ศยามานนท์ จึงเต็มใจมอบนวนิยายยาว ชิ้นเยี่ยมของเธอให้สร้างเป็นภาพยนตร์... ยูเนี่ยนฟิล์ม มอบให้ อมรา อัศวนนท์ เลือก “หนุ่มในฝัน” สำหรับคู่เคียงกับเธอเป็นครั้งแรก ระหว่างหนุ่ม 3 แบบ ใครเป็นผู้โชคดี อดิเรก จันทร์เรือง เลอศักดิ์ วีระภิญโญ มีศักดิ์ นาครัตน์ แนะนำให้หนุ่ม 3 แบบรู้จักกับท่าน ใครจะเป็นหนุ่มในฝันของ “รมดี” รมดี ของ ก.ศยามานนท์ ราวี บูรณชัย สร้างบทภาพยนตร์ ไพรัช สังวริบุตร ถ่ายภาพ คุณาวุฒิ กำกับการแสดง อำนวยการสร้าง โดย ศุภอัฐ ชวะโนทัย “รมดี” จะมาเป็นขวัญใจของคุณ ณ.โรงภาพยนตร์ เอ็มไพร์ ต้นสิงหาคมนี้แน่นอน
ไกรทอง (2501)
ไกรทอง (2501/1958) ไกรทอง เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2501 สร้างโดย กองสวัสดิการกรมตำรวจ กำกับการแสดงโดย อ. อรรถจินดา (พ.ต.ท. อรรถ อรรถจินดา) และให้เสียงพากย์โดย ม.ล. รุจิรา อิศรางกูร - มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากนิทานพื้นบ้านของไทย โดยเนื้อเรื่องภาพยนตร์เรื่องนี้จะเหมือนกับในหนังสือนิทาน
แววมยุรา (2501)
แววมยุรา (2501/1958) แววมยุรา ตัดสินใจลาออกเพราะถูกหัวหน้าตามตื๊อขอแต่งงาน วันหนึ่ง แววบังเอิญได้พบ จักร กังวาลไกล ชายหนุ่มแปลกหน้าที่ตกหลุมรักและคอยตามจีบเธอ ทั้งสองจึงคบหาดูใจกันเรื่อยมา กระทั่งแววได้งานใหม่ที่เธอจะได้เงินเดือนและไม่ต้องไปทำงาน แต่มีข้อแม้ว่าห้ามทำงานที่อื่นและห้ามแต่งงาน เธอจึงพยายามตามหาตัว คุณสยุมภูว์ ทศพลเจ้านายปริศนาคนนี้
ม่วยในฝัน (2501)
ม่วยในฝัน (2501/1958) เย็นวันหนึ่ง ขณะที่ กิมเอง (ยวงพร พวงประดิษฐ์) กลับจากโรงเรียน ผ่านมาทางถนนสายเปลี่ยว ได้ถูกอันธพาลกลุ่มหนึ่งกลุ้มรุมทำร้าย เป็นขณะเดียวกับที่ นรชัย (ชนะ ศรีอุบล) มาตักปลาเค็มอยู่ในแถวนั้นได้ยินเสียงขอความช่วยเหลือจากผู้หญิง ก็พาพวกของตัวเข้าขัดขวางอันธพาลกลุ่มนั้นไว้ได้ และก็พากิมเองไปส่งที่บ้าน เมื่อกิมเองพบกับเตี่ย (ทองฮะ วงษ์รักไทย) ในบ้านซึ่งเตี่ยเห็นสาระรูปของหอมเองเปรอะเปื้อนจึงซักไซร้ ไล่เลียงกิมเอง กิมเองจึงเล่าให้เตี่ยฟังในเรื่องที่เกิดขึ้น ทั้งหมด และเลยเล่าให้ฟังถึงเรื่อง นรชัยได้ช่วยเหลือไว้ด้วย จากนั้นเตี่ยก็ขอให้กิมเอง อุตส่าห์เล่าเรียนให้จบเร็วๆ จะจัดการแต่งงานกับกิมย้ง (ไฉน วิทยากล) ต่อมานรชัยและกิมเอง ก็เกิดความสนิทสนมกันขึ้นและคอยไปรับไปส่งเที่ยวเตร่ กันเสมอจนถึงวันโรงเรียนปิดเทอม กิมเองก็บอกกับนรชัยว่าอาจไม่มีโอกาสได้พบกันอีก หลายวันต่อมานรชัยก็มีโอกาสพบกิมเองอีกที่ร้านขายทอง แห่งหนึ่งจึงนัดแนะกันว่าจะพบกันใหม่เพราะวันนี้เตี่ยมาด้วย ถึงวันนัดกิมเองก็มาคอยพบนรชัย แต่ย้งขับรถมาก็เลยพากิมเองไป เมื่อพาไปหลายต่อหลายแห่งตามความประสงค์แล้วย้งก็พากิมเองมาส่งบ้านตามเดิมเป็นเหตุให้ กิมเองต้องรีบไปขอโทษนรชัยจนถึงที่บ้าน ที่ภัตตาคารแห่งหนึ่ง ย้งกับพวกได้ปรึกษาหารือกัน ต้องการหาเงินก้อนหนึ่งเพื่อเอาไปซื้อของเถื่อนมาขายทั้งย้งเองก็หมดปัญญาไม่รู้จะไปเอาได้ที่ไหน ในที่สุดจึงลงความเห็นว่าจะไปเอาที่เสี่ยกิมเตี่ยของกิมเองนั่นเองการปรึกษาหารือของย้ง กับพวกเป็นเหตุให้ เซ้ง (พูลสวัสดิ์ ธีมากร) เพื่อนของนรชัยได้แอบได้ยินเข้า ในคืนนั้นเองย้งก็มาหาเสี่ยกิมขอร้องเรื่องเงินเมื่อย้งพูดเกลี้ยกล่อมอยู่พักใหญ่ เสี่ยกิมก็ตกลงมอบเงินให้ยิงไปเมื่อย้งออกไปแล้ว นรชัยก็พาพวกของเขามายังบ้านของเสี่ยกิม พบกับกิมเองเข้า กิมเองก็เล่าเรื่องให้ฟัง นรชัยกับพวกก็แยกย้ายกันกลับไป ทางกิมเองก็นำเรื่องราวที่ทราบจากเซ้งเล่าให้เตี่ยฟังว่าถูกต้มเสียแล้ว นรชัยมาถึงบ้าน ที่ย้งกับพวกนัดหมายขนของเถื่อนกัน พอดีกับย้งและพวกก็เตรียมขนของเถื่อนกันพอดี นรชัยเห็นท่าจะไม่ทันการ เพราะพรรคพวกและตำรวจที่นัดหมายไวิก็ยังมาไม่ถึง จึงตัดสินใจออกจากที่ซ่อนทำการขัดขวางไว้จนเกิดการต่อสู้กันขึ้นในที่สุด นรชัยก็ถูกลูกน้องของย้งตีด้วยไม้ที่ศีรษะสลบลง ย้งจะยิงซ้ำแต่ถูกห้ามไว้ ในที่สุดรถขนของเถื่อนก็เคลื่อนเข้ามา ยังร่างของนรชัย นรชัยจะรอดจากความตายหรือไม่
หลินฟ้า (2501)
หลินฟ้า (2501/1958) หลินฟ้า เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2501 สร้างโดย พัฒนาการภาพยนตร์ โดยมี เมธี พูนบำเพ็ญ เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดย ศิริ ศิริจินดา ถ่ายภาพโดย ชเนศร์ จรัสตระกูล กำกับภาพ-กำกับบทโดย จรัญ พันธ์ชื่น ฝ่ายเทคนิคโดย บรรจง มาลยมณฑล ถ่ายภาพนิ่งโดย วิบูลย์ ชนะศึก และให้เสียงพากย์โดย เสน่ห์ - เสถียร - ประไพ
ม่วยจ๋า (2501)
ม่วยจ๋า (2501/1958) ม่วยจ๋า เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2501 สร้างโดย มิตรวัฒนาภาพยนตร์ โดยมี อุดม ฤทธิดิเรก เป็นผู้ดำเนินงานสร้าง กำกับการแสดงโดย ส.อาสนจินดา - อนุมาศ บุนนาค และถ่ายภาพโดย เนื่อง แผงจันทึก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากบทเพลงของครูสุรพล โทณวณิก ที่ขับร้องโดย นริศ อารีย์ ปัจจุบันภาพยนตร์เรื่องนี้มีเพียงกากฟิล์มม้วนเดียวที่เหลือมาประมาณ 13 นาที
ทหารเสือกรมหลวงชุมพร (2501)
ทหารเสือกรมหลวงชุมพร (2501/1958) ทหารเสือกรมหลวงชุมพร เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2501 สร้างโดย ชุมพรศิลป์ภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย พันคำ (พร้อมสิน สีบุญเรือง) ถ่ายภาพโดย วิเชียร วีระโชติ-ธีระ แอคะรัตน์ และกำกับศิลป์โดย อุไร ศิริสมบัติ ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ สุวัฒน์ วรดิลก
สวรรค์มืด (2501)
สวรรค์มืด (2501/1958) ชู (สุเทพ วงศ์กำแหง) หนุ่มรถเข็นขยะผู้มีจิตใจดีงาม ที่อยากจะเป็นผู้ดี เลยให้ใครๆเรียกตัวเองว่า คุณชูวิทย์ ได้ให้ความช่วยเหลือ เนียร (สืบเนื่อง กันภัย) หญิงจรจัดที่หิวโซ และเกิดเป็นความรักขึ้นท่ามกลางความแร้นแค้นในชีวิต โชคชะตากำหนดให้ชูวิทย์ต้องไปเป็นทหาร และได้สูญเสียดวงตาไปในสนามรบ ฝ่ายเนียร ซึ่งรออยู่ทางบ้าน กลับได้รับความช่วยเหลืออุปการะจากเศรษฐินี ใจดีนำไปเลี้ยงเป็นลูก จากสาวจรจัดกลายเป็นลูกสาวของเศรษฐินี ทั้งสองจบด้วยความสุขสมหวัง
สวรรค์หาย (2501)
สวรรค์หาย (2501/1958) ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ถ่ายทำใน "นครวัด" สิ่งมหัศจรรย์อันดับ 6 ของโลก สวยงามน่าชมยิ่ง จากบทประพันธ์ละเลงเลือดของ เสนีย์ บุษปะเกศไม่อวดว่ายิ่งใหญ่ แต่ว่าใหญ่เยี่ยมยอดกว่าเรื่องใดๆ ลงทุนอย่างมหาศาล เพื่อให้ท่านสำราญจากทุกชีวิต แห่งรสชาติมนุษย์พลัดถิ่นผจญสิงห์ประจำถิ่น ชีวิตต่อสู้ของชายยอดนักเลง ที่ต้องปะทะกับจอมอันธพาลร่วมสายโลหิต รักท่ามกลางแนวกระสุน ชม...กลุ่มตลกในบทมหาดเล็กชาววังแสนฉลาด ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ถ่ายทำในนครวัด สิ่งมหัศจรรย์ อันดับ 6 ของโลก สวยงาม น่ารู้ เหมือนท่านไปด้วยตัวเอง

กำลังแสดงผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ