ทาษวังหลัง (2496)
ทาษวังหลัง (2496/1953) ยอดเยี่ยมนิยายอิงประวัติศาสตร์ ท้าสู้ "พญากง พญาพาน" และ "ยอดนักเบ่ง" (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 2 เมษายน พ.ศ. 2496)
ทหารเอกพระบัณฑูร (2496)
ทหารเอกพระบัณฑูร (2496/1953) ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ พระมหาอุปราช ถูก จมื่นศรีสรลักษณ์ กับ เจ้าสามกรม ใส่ความว่าลอบคบชู้กับ เจ้าฟ้านิ่ม พระสนมเอกของพระราชบิดา จนต้องโทษประหารชีวิต มิหนำซ้ำยังสั่งให้ ขุนจิตร์สุนทร กับขุนฤทธิ์ภักดี ควบคุมตัว องค์หญิง พระขนิษฐาของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ไปคุมขัง แต่ หลวงกลาโหม ราชองครักษ์เอกผู้คุมหมู่ทหารพระบัณฑูรของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์มาขัดขวางและฆ่าขุนฤทธิ์ฯ เสียชีวิต หลวงกลาโหมพาเจ้าหญิงไปประทับที่ตำหนักของเจ้าฟ้าอุทุมพร เสด็จฯอาขององค์หญิง ก่อนจะหนีไปหลบซ่อนตัว หลังจากนั้นไม่นาน สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้าอุทุมพรซึ่งตามประเพณีต้องขึ้นครองราชย์ ได้ถวายให้เจ้าฟ้าเอกทัศน์ขึ้นครองราชย์แทนพระองค์ที่ประสงค์จะทรงผนวช แต่สมเด็จพระเอกทัศน์ทรงลุ่มหลงในความมัวเมา ขุนนางที่มักใหญ่ใฝ่สูงจึงคิดคดถึงขนาดเหิมเกริมจะโค่นราชบัลลังก์ ร้อนถึงกรมหมื่นเทพพิพิธและขุนนางที่จงรักภักดีต้องร่วมมือกันวางแผนให้เจ้าฟ้าอุทุมพรกลับมาขึ้นครองราชย์ตามเดิม แต่แผนการรั่วไหลทำให้กรมหมื่นฯ และพรรคพวกรวมทั้งหลวงกลาโหมถูกจับกุม ระยะนั้นเอง ฝ่ายพม่าได้ยกกองทัพเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยา เหล่านักโทษถูกเกณฑ์ออกมาสู้ศึกกับพม่ารวมทั้งหลวงกลาโหมได้เข้าร่วมในศึกครั้งนี้ด้วย ฝ่ายพม่าตีร่นมาถึงพระนคร หลวงกลาโหมจึงรีบไปช่วยองค์หญิงอย่างไม่ห่วงชีวิต องค์หญิงทรงซาบซึ้งพระทัยที่หลวงกลาโหมช่วยชีวิตพระองค์ไว้ถึงสองครา จึงทรงสละฐานันดรศักดิ์เพื่อครองรักกับหลวงกลาโหม
พญากง-พญาพาน (2496/1953) ดัดแปลงจากตำนานพื้นบ้านว่าด้วยเรื่องของ พญากง ซึ่งมีพระมเหสีพระนามว่า พระนางสุมาลี คืนหนึ่งพระนางสุมาลีทรงฝันร้าย โหรทำนายความฝันของพระนางสุมาลีว่าจะได้พระโอรส แต่ในภายภาคหน้าพระโอรสจะกระทำปิตุฆาต วันเวลาผ่านไปพระนางสุมาลีทรงประสูติพระโอรสตามคำทำนายของโหร พญากงนึกหวั่นจึงรับสั่งให้นำพระโอรสใส่หม้อแล้วไปลอยในแม่น้ำ พระนางสุมาลีทูลวิงวอนขอเห็นหน้าพระโอรสเป็นครั้งสุดท้าย แต่เมื่ออุ้มพระโอรสขึ้นมา พระโอรสเกิดดิ้นไปถูกขอบพานทำให้เลือดไหล ด้วยความรักและอาลัยของผู้เป็นแม่ พระนางสุมาลีจึงผูกธำมรงค์ติดข้อมือพระโอรสไว้ แล้วปล่อยหม้อที่บรรจุพระโอรสล่องลอยจากนครปาวายไปตามกระแสธารา เคราะห์ดีที่หม้อลอยไปถึงหมู่บ้านท่าเกวียน ยายหอม ผู้มั่งคั่งมาพบหม้อที่ใส่พระโอรสไว้จึงเก็บพระโอรสมาเลี้ยงดู เมื่อพินิจใบหน้าเด็กน้อยมีรอยแผลเป็นรูปร่างคล้ายพาน จึงตั้งชื่อให้ว่า "พาน" ยายหอมทะนุถนอมพานจนเติบใหญ่จึงส่งให้ไปร่ำเรียนวิชากับ อาจารย์เถียร ด้วยความที่มีสายเลือดของกษัตริย์ พานจึงเชี่ยวชาญในทางอาวุธ และแอบรวบรวมกองกำลัง คิดการใหญ่หมายจะโจมตีนครปาวาย ฝ่ายพญากง เมื่อทหารรายงานว่าบัดนี้มีกองโจรกำลังซ่องสุมตามแนวชายแดน จึงจัดทหารไปปราบปรามแต่ได้รับความพ่ายแพ้กลับมา พานเหิมเกริมตั้งตนเป็น "พญาพาน" และให้ หาญ คนสนิทนำสาสน์ท้าชนช้างไปส่งให้พญากง ผลปรากฏว่าพญากงถูกฟันด้วยของ้าวขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์ในสนามรบ พญาพานยึดนครปาวายทันที มิหนำซ้ำยังคิดจะเอาพระนางสุมาลีเป็นพระมเหสี วิญญาณของพญากงจึงจำแลงเป็นแมวและบอกความจริงกับพญาพาน พญาพานสำนึกผิดจึงได้สร้างเจดีย์เพื่อล้างบาปที่ตนได้กระทำปิตุฆาต

กำลังแสดงผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ