พญาน้อยชมตลาด (2478/1935) พญาน้อย ราชบุตรของพระเจ้าช้างเผือกมีอุปนิสัยชอบเอาแต่ใจตนเอง เป็นที่กลุ้มใจของพระราชบิดา จึงจัดการอุปภิเษกแต่พญาน้อยก็ยังไม่เลิกนิสัย วันหนึ่ง มะโดด กับ มะดวด มหาดเล็กคู่ใจของพญาน้อยมาถวายรายงานว่าพบสาวงามและเชิญพญาน้อยไปทอดพระเนตร พญาน้อยจึงทำทีเป็นเสด็จเยี่ยมทุกข์สุขของราษฎร เมื่อไปถึงตลาดท้ายเมืองตะเกิง พญาน้อยตรงดิ่งไปยังร้านแป้งน้ำมัน ซึ่ง เม้ยเจิง เป็นเจ้าของและพยายามเกี้ยวพาราสี แต่เม้ยเจิงมีสามีแล้วชื่อ มะเทิ่ง เมื่อเม้ยเจิงปฏิเสธหนักเข้า พญาน้อยผู้เอาแต่ใจจึงข่มขู่ว่าจะทำร้ายมะเทิ่งหากเม้ยเจิงไม่ยอมเป็นสนมเอก เม้ยเจิงจึงต้องตามพญาน้อยเข้าวัง พญาน้อยนำเม้ยเจิงแอบไว้ในห้องหนึ่งและให้คนหว่านล้อมเม้ยเจิง แต่นางก็เอาแต่ร้องไห้รำพันถึงสามีมะดวด กับ มะโดด แนะนำให้พญาน้อยจูบเม้ยเจิง ปรากฏว่าได้ผลดีเกินคาด เม้ยเจิงลืมมะเทิ่งเสียสิ้น ขนาดมะเทิ่งถวายฎีกาต่อพระเจ้าช้างเผือก เม้ยเจิงก็กลับให้การว่าตามพญาน้อยมาโดยสมัครใจ มะเทิ่งจึงต้องกลับบ้านทั้งน้ำตาพร้อมเงินค่าทำขวัญ 50 ชั่ง ปล่อยให้เม้ยเจิงมีความสุขกับพญาน้อย

เลือดจีนต่างด้าว 2478

เลือดจีนต่างด้าว (2478/1935) เปนเรื่องประพันธ์ทางจีน - ไทย รักแกมตลก แกมต่อสู้ครึกโครม แสดงสภาพโคแก่ชอบหญ้าอ่อน สภาพเจ้าชู้ยักษ์ น้ำใจหนุ่มผิวเหลืองผู้รักชาติ ยิ่งชีพ มีระบำโป๊ แลการยั่วยวนร้อยแปด (ที่มา: นิตยสารภาพยนต์สยาม กรกฎาคม พ.ศ. 2478)

ระเด่นลันได 2478

ระเด่นลันได (2478/1935) ถอดจากหนังสือลือชื่อในบทประพันธ์ไทยเรื่องหนึ่ง ผู้แสดงได้แก่ บังฟัก พูมศรี เป็นตัวระเด่นลันได ขุนสำราญ (อ๊อด) เป็นท้าวประดู่ จรัสยนตร์ คำแย้ม เป็นนางประแดะ และ จำเริญ สวัสดิสันติ์ เป็นนางกระแอ เป็นหนังไทยเรื่องแรกที่สำคัญในเชิงตลกขบขัน การฉายคงมีพากย์ประกอบในแบบใหม่ คือ ชายพากย์บทชาย หญิงพากย์บทหญิง (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน ศรีกรุง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478) เรื่องตลกจริงๆ ตลก แท้ๆ ถ้าท่านยังไม่มี เรื่องที่จะหัวเราะหรือยังหาโอกาสหัวเราะไม่ได้ ก็เชิญเตรียมตัวคอยชม ระเด่นลันได ภาพยนตร์ตลกประกอบ เสียงของหัสดินทรภาพยนตร์ "ระเด่นลันได" ที่บริษัทหัสดินทร์สร้างขึ้นใหม่ นี้ ได้ใช้วิธีสร้างประกอบเสียงโดยวิธีใหม่ที่สุดซึ่งท่านจะได้เห็นและได้ฟังเปนครั้งแรกในพระนคร ท้องเรื่องของภาพยนตร์ถอดจากบทประพันธ์ของจินตกวีในรัชชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชชกาลที่ ๒ และเปนเรื่องตลกล้วนๆ อย่างที่ฝรั่งเรียกว่า Comedy แท้ๆ (ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพฯ วารศัพท์ มีนาคม พ.ศ. 2478)

กำลังแสดงผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ