ปืนเดี่ยว (2505)
ปืนเดี่ยว (2505/1962) ข้อความบนใบปิด เนรมิตภาพยนตร์ ขอเสนอ ผลงานชั้นยอดเยี่ยมประจำปี 2505 ด้วยการชุมนุมยอดดาราครั้งยิ่งใหญ่... ปืนเดี่ยว บทประพันธ์ของ ส.อาสนจินดา เนรมิต กำกับการแสดง จรี อมาตยกุล อำนวยการสร้าง วิจารณ์ ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ นำโดย ไชยา สุริยัน วิไลวรรณ วัฒนพานิช ทักษิณ แจ่มผล “พันคำ” เชาว์ แคล่วคล่อง, สมควร กระจ่างศาสตร์, ฑัต เอกฑัต, เสน่ห์ โกมารชุน, เมืองเริง ปัทมินทร์, ทานทัต วิภาตะโยธิน, เปิ่น และขอแนะนำ เนตรทราย ระวีวรรณ
มหาเวสสันดร (2504)
มหาเวสสันดร (2504/1961) มหาเวสสันดร เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2504 สร้างโดย เนรมิตภาพยนตร์ โดยมี จรี อมาตยกุล เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดยครูเนรมิต (อำนวย กลัสนิมิ) ถ่ายภาพโดย ส. อาสนจินดา และจัดจำหน่ายโดยบริษัทไทยฟิล์ม จำกัด ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากชีวประวัติเรื่องมหาเวสสันดรชาดกในทศชาติชาดก
ร้ายก็รัก (2503)
ร้ายก็รัก (2503/1960) ข้อความบนใบปิด อีกก้าวหนึ่ง ภาพยนตร์ไทยเรื่องเดียวที่ฮ่องกง ฉายพร้อมกัน 6 โรง ร้ายก็รัก “เนรมิต” สร้างเรื่อง-กำกับการแสดง เป็นภาพยนตร์ที่รวมไว้ทั้งบู๊..ตื่นเต้น รัก สะเทือนใจ โดย มิตร ชัยบัญชา อุษา อัจฉรานิมิต ร่วมกับ 4 ดาราตุ๊กตาทอง ประจวบ ฤกษ์ยามดี, สมควร กระจ่างศาสตร์, สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ และขอเสนอ รุจน์ รณภพ, อรพรรณ เบญจรงค์ ขอเชิญท่านร่วมยินดีกับก้าวใหม่ของ..ภาพยนตร์ไทย
สิบทหารเสือ (2502)
สิบทหารเสือ (2502/1959) คนดูทั้งโรงพร้อมใจกัน ปรบมือครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อเกียรติแห่งวีรกรรมของ สิบยอดทหารเลือดแห่งความรักชาติ ร้อนระอุไปทั่วโรงภาพยนตร์เอ็มไพร์ เมื่อสิบทหารหาญตะลุยรบ เลือดแดงอาบกายอย่างไว้ลาย เพื่อชาติ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของชาวไทยภาพยนตร์รบ รัก ประทับใจ ประจัญบาน เป็นที่เกรียวกราวทั่วกรุง ทุกคนกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “สิบทหารเสือ” สนุกสนาน เป็นยอดจริงๆยิ่งดู ยิ่งมัน วันนี้ที่ เอ็มไพร์
บุกแหลก (2501)
บุกแหลก (2501/1958) ข้อความบนใบปิด อมรา อัศวนนท์ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี นำขบวน 10 ตุ๊กตาทอง บุกแหลก พร้อมด้วยยอดดาราที่คุณพอใจ สมจิตร ทรัพย์สำรวย, ล้อต๊อกน้อย, พันคำ, สมควร กระจ่างศาสตร์, ดอกดิน กัญญามาลย์, ชูศรี โรจนประดิษฐ์, ทานทัต วิภาตะโยธิน, ประไพ คำเรียบร้อย, น้ำเงิน บุญหนัก, มีศักดิ์ นาครัตน์ เนรมิต กำกับการแสดง (ที่มา :Thai Movie Posters)
กตัญญูปกาสิต (2501)
กตัญญูปกาสิต (2501/1958) กตัญญูปกาสิต เป็นภาพยนตร์สี 35 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2501 สร้างจากบทประพันธ์ของ ส.อาสนจินดา กำกับการแสดงโดยครูเนรมิต (อำนวย กลัสนิมิ) ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์อีกครั้งในปี พ.ศ. 2526
เทวรูปหยก (2501)
เทวรูปหยก (2501/1958) เทวรูปหยก เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2501 สร้างโดย เนรมิตภาพยนตร์ โดยมี จรี อมาตยกุล เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดยครูเนรมิต (อำนวย กลัสนิมิ) ถ่ายภาพโดย ไพรัช สังวริบุตร ลำดับภาพโดย ส.อาสนจินดา และให้เสียงพากย์โดย ม.ล. รุจิรา อิศรางกูร - มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา, พันคำ (พร้อมสิน สีบุญเรือง), จุรี โอศิริ และ เสน่ห์ โกมารชุน ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ไปถ่ายทำถึงฮ่องกงและมาเก๊าตลอดเรื่อง
มังกรทอง (2500)
มังกรทอง (2500/1957) มังกรทอง เป็นภาพยนตร์สีธรรมชาติ 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 สร้างโดย เนรมิตภาพยนตร์ โดยมี จรี อมาตยกุล เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดยครูเนรมิต (อำนวย กลัสนิมิ) ถ่ายภาพโดย ไพรัช สังวริบุตร และให้เสียงพากย์โดย เสน่ห์ โกมารชุน - จุรี โอศิริ
สามรักในปารีส (2499)
สามรักในปารีส (2499/1956) เรื่องราวความรักที่เกิดขึ้นที่กรุงปารีสทวิช พ่อค้าไทยเปิดร้านจำหน่ายสินค้าไทยกับ เชิด น้องชาย การค้าขายประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทวิชได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ มาเดอลีน หญิงสาวชาวฝรั่งเศสโดยนำมาอุปการะในบ้าน ด้วยความสำนึกในการช่วยเหลือของทวิช ทำให้มาเดอลีนเต็มใจที่จะแต่งงานกับทวิชแม้ว่าทั้งสองจะมีอายุต่างกันราวกับพ่อลูก วันหนึ่งทวิช ได้รับจดหมายให้ตามตัว ยุทธนา หลานชายซึ่งเรียนอยู่ที่ประเทศอังกฤษ การมาของยุทธนาสร้างความตื่นเต้นให้มาเดอลีนเป็นอย่างมากเพราะยุทธนานั้นเป็นคนรักเก่าของเธอที่ได้พลัดพรากจากกันเมื่อเกิดสงคราม มาเดอลีนบอกกับยุทธนาว่าเธอพร้อมที่จะหย่าขาดจากทวิช แต่ยุทธนาไม่ปรารถนาภาวิณี นักเรียนไทยในกรุงปารีส เกิดหลงรักยุทธนาอย่างเงียบๆ ด้วยความใกล้ชิดที่เกิดขึ้นทำให้ยุทธนาพร้อมที่จะเริ่มต้นชีวิตใหม่กับภาวิณี
สามชาติ เรื่อง นางนาคพระโขนงคืนชีพ (2499)
สามชาติ เรื่อง นางนาคพระโขนงคืนชีพ (2499/1956) 3 เรื่อง... 3 รส รวมอยู่ในภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน นางนาคพระโขนงคืนชีพ หวาดเสียว ตื่นเต้น สนุกสนานด้วยอภินิหารแบบใหม่ ระบำผี นาฏศิลปแบบใหม่ ของ... ดินแดนอาทิตย์อุทัย เทพธิดาดำ นิยายชีวิต รัก เศร้า เสทือนใจของเด็กสาวในมุมมืดแห่งนครปารีส (ที่มา: นิตยสารผดุงศิลป์ กรกฎาคม พ.ศ. 2499)
หงษ์หยก (2499)
หงษ์หยก (2499/1956) ธาดา ทายาทตระกูลวิเศษสรการเดินทางมาทำธุรกิจที่ฮ่องกง และได้ตกหลุมรัก หลินฟ้า สาวชาวเรือ อิวหล่าน แม่ของหลินฟ้ากำลังป่วยหนักธาดาจึงจ้างหมอมารักษาเพราะสงสารหลินฟ้า แต่กลับถูกอิวหล่านแสดงท่าทีรังเกียจเมื่อรู้ว่าเขาเป็นคนไทยธาดาไม่ละความพยายาม ตามตื้อจนหลินฟ้าใจอ่อนแต่หลังจากนั้นไม่นานธาดาก็ถูกตามตัวกลับกรุงเทพอิวหล่านจะบังคับให้หลินฟ้าแต่งงานกับเล่าตั๊ก เธอจึงหนีตามธาดามาเช่าบ้านของ นายบานเย็น ที่กรุงเทพ ธาดาซึ่งไม่เคยลำบากก็ล้มป่วยลง หลินฟ้าพยายามหาเงินด้วยการร้องเพลงในไนท์คลับ แต่ถูกธาดาเข้าใจผิดคิดว่าเธอนอกใจ ธาดาจึงกลับไปหาครอบครัวเพื่อจะแต่งงานกับ พรพิมล ตามความต้องการของแม่แต่พรพิมลไม่ได้รักธาดา ความเป็นอยู่ของหลินฟ้าค่อยๆขัดสน เมื่อนายบานเย็นมาเก็บค่าเช่า หลินฟ้าจึงต้องปลดสร้อยคอ "หงษ์หยก" ที่แม่เคยมอบให้แทนค่าเช่า เมื่อนายบานเย็นเห็นสร้อยคอหงษ์หยกก็จำได้ว่า เป็นสร้อยคอที่ตนเคยมอบให้กับผู้หญิงที่ตนรักเมื่อ 20 ปีก่อน นายบานเย็นจึงรีบขับรถไปหาหลินฟ้า ด้วยความประมาทจึงชนอิวหล่านเสียชีวิต นายบานเย็นพยายามแก้ตัวโดยการเกลี้ยกล่อมให้ธาดาหายเข้าใจผิด แต่สายเกินไปเพราะหลินฟ้าหนีกลับไปฮ่องกงแล้ว
ราตรีในโตเกียว (2498)
ราตรีในโตเกียว (2498/1955) เมื่อเรียนจบวิชาการบัญชีในระดับวิทยาลัยที่เมืองโอซาก้า สุนันท์ เด็กสาวชาวไทยก็เดินทางมาเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยที่โตเกียว โดยอาศัยอยู่กับ เสน่ห์ พี่ชาย สุนันท์ได้รู้จัก ชาย เพื่อนนักบินของเสน่ห์ที่แสดงท่าทีไม่เป็นมิตรอย่างออกนอกหน้า เสน่ห์จึงต้องเป็นคนอธิบายสาเหตุที่ชายแสดงท่าทีเกลียดผู้หญิงให้สุนันท์ฟังว่า ในอดีต ชายเคยหลงรัก มิชิโกะ สาวญี่ปุ่นที่ชายเคยช่วยไม่ให้เธอฆ่าตัวตาย เพราะทนถูก ทัตสึโอะสามีชาวญี่ปุ่นกดขี่ไม่ไหว ทัตสึโอะเข้าใจผิดคิดว่ามิชิโกะคบชู้กับชายมิชิโกะจึงจะคว้านท้องเพื่อพิสูจน์ความจริง แต่เสน่ห์เข้ามาขวางไว้และอธิบายความจริงจนทัตสึโอะเข้าใจ สุนันท์พยายามปลอบใจชายที่กำลังเป็นทุกข์เพราะผิดหวังในความรัก แต่กลับถูกชายเข้าใจผิดคิดว่าเธอมาเยาะเย้ย คืนหนึ่ง ชายได้พบมิชิโกะโดยบังเอิญในสวนดอกไม้ เป็นโอกาสให้ทั้งสองได้ปรับความเข้าใจกันสุนันท์เผอิญมาเห็นชายกับมิชิโกะกำลังโผกอดกันก็เสียอกเสียใจคิดว่ามิชิโกะจะกลับมารักชาย สุนันท์จึงคิดจะจบชีวิตตัวเอง
โบตั๋น (2498)
โบตั๋น (2498/1955) โบตั๋น กับ โค้ว สองพ่อลูกชาวจีนอาศัยอยู่หลังบ้านของ มาโนช ลูกชายของ เจ้าคุณ และคุณหญิงวิสุทธิบาล โบตั๋นกับมาโนชสนิทสนมกลมเกลียวกันมาตั้งแต่เด็ก จนถึงวันที่มาโนชต้องไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ ทั้งสองจึงต้องแยกย้ายจากกัน เมื่อมาโนชเรียนจบกลับมา จึงได้พบกับโบตั๋นซึ่งสวยหยดย้อยราวกับดอกโบตั๋น มาโนชไม่รีรอที่จะสานสัมพันธ์กับโบตั๋นทันที ความสนิทสนมในวัยเด็กก่อตัวเป็นความรักอย่างรวดเร็ว ทั้งสองแอบคบกันโดยปิดบังผู้ใหญ่ จนโบตั๋นให้กำเนิดพยานรักขึ้นมาหนึ่งคน ย้ง แอบรักโบตั๋นมาตลอด เมื่อรู้ว่าโบตั๋นให้กำเนิดบุตรสาวจึงเกิดความริษยา ฉวยโอกาสที่มาโนชไปทำงานที่ต่างจังหวัด เอาเรื่องไปบอกเจ้าคุณและคุณหญิงวิสุทธิบาล คุณหญิงโกรธมาก หาเรื่องใส่ร้ายโค้วว่าขโมยเครื่องเพชรของตน แล้วจับตัวลูกสาวของโบตั๋นไว้เป็นตัวประกัน คุณหญิงข่มขู่โบตั๋นให้เลือกว่าจะช่วยโค้วให้พ้นคุกหรือจะช่วยลูกสาว ความกตัญญูต่อบิดาที่เลี้ยงโบตั๋นมาตั้งแต่เด็กท่วมท้นจนโบตั๋นจำต้องทิ้งลูกเพื่อช่วยบิดา แล้วออกจากบ้านวิสุทธิบาลโดยไม่มีโอกาสร่ำลาสามี ย้งแสร้งทำเป็นไม่รู้เรื่อง ยื่นมือช่วยเหลือโบตั๋นกับพ่อ แต่ไม่นานก็ออกลาย มาโนชกลับมาที่บ้านได้ฟังเรื่องโกหกจากแม่ก็หลงเชื่อ ตัดสินใจแต่งงานกับคู่หมั้นคนก่อน ทิ้งให้โบตั๋นเผชิญชตากรรมโดยลำพัง
ทะเลทม (2496)
ทะเลทม (2496/1953) นิยายรักรันทดของชาวทะเล ซึ่งหนี้ของความแค้นต้องล้างด้วยเลือด! และ...ชีวิต! (ที่มา: นิตยสารผดุงศิลป์ สิงหาคม พ.ศ. 2496)
สุภาพบุรุษจากอเวจี (2494)
สุภาพบุรุษจากอเวจี (2494/1951) เทพ วรทัศน์ จำต้องกระโจนเข้าสู่อำนาจมืดเพื่อล้างแค้นให้ ก้านทอง น้องสาว ซึ่งถูก วินิจ ศักดา ล่อลวงจนตั้งครรภ์และแท้งในเวลาต่อมา เทพทำทีไปปล้นบ้านวินิจแล้วลงมือสังหารชีวิตวินิจให้สมแค้นการกระทำอันอุกอาจของเทพทำให้เขาได้รับฉายาว่า เสือสำอาง ขุนโจรชัย เห็นฝีมือลายมือของเทพจึงชักชวนให้มาเป็นลูกสมุนมือขวา ทำให้ ชิต สมุนเก่าตั้งตนเป็นปรปักษ์กับเทพโดยที่เขาไม่รู้ตัว กระทั่งวันหนึ่ง ชัยวางแผนปล้น สุรินทร์ เศรษฐีโรงเลื่อย ชิตจึงสบโอกาสชำระแค้น ทรยศชัยด้วยการไปบอกสุรินทร์ ชัยจึงถูกตำรวจยิงตายในการปล้นครั้งนั้น เทพมาซ่อนตัวอยู่ที่บ้าน เจ้าคุณสุขุมคัมภีรกิจ และได้ช่วย อนุ หรือ ป๊อด ลูกชายของท่านเจ้าคุณ ป๊อดจึงพาเทพมาแนะนำให้รู้จักเจ้าคุณสุขุม และ อรทัย พี่สาวซึ่งเป็นคู่หมั้นของสุรินทร์ เทพและอรทัยได้ใกล้ชิดกันจนก่อเกิดเป็นความรัก ความเคลื่อนไหวของเทพอยู่ในสายตาของชิตตลอดเวลา ชิตแอบถ่ายภาพระหว่างที่อรทัยกำลังพลอดรักกับเทพเพื่อเอาไปรีดไถเงินจากเจ้าคุณสุขุมเจ้าคุณสุขุมกลัวว่าเรื่องจะไปถึงหูสุรินทร์จึงยอมจ่ายเงินปิดปากชิต โดยหารู้ไม่ว่าชิตนั้นคิดไม่ซื่อ ไปรีดไถเงินกับสุรินทร์อีกทอด เจ้าคุณขอร้องให้เทพออกไปจากชีวิตของอรทัยเทพทำตามแต่โดยดี โดยขอเจ้าคุณพบอรทัยเป็นครั้งสุดท้าย ขณะนั้นเอง สุรินทร์ซึ่งเพิ่งรู้ความจริงรีบมาหาอรทัยที่บ้าน เห็นเทพกำลังพูดคุยกับเจ้าคุณด้วยสีหน้าเคร่งเครียด สุรินทร์เข้าใจว่าเทพกำลังข่มขู่เจ้าคุณจึงแอบโทรศัพท์แจ้งตำรวจแต่เมื่อได้ยินเทพเล่าความจริงทั้งหมดให้อรทัยฟังก็เริ่มเห็นใจเทพ รีบบอกให้เทพหลบหนีก่อนตำรวจจะมา เทพกลับมาพบลูกสมุนถูกฆ่า ก้านทองถูกข่มขืนก็ไม่อาจระงับความแค้นที่มีต่อชิตได้อีกต่อไป แม้อรทัยและสุรินทร์จะพยายามห้ามปรามเท่าไหร่ก็ตาม เทพบุกไปหาชิตถึงถิ่นโดยไม่หวาดหวั่นสิ่งใดเพียงเพื่อจะลั่นไกดับชีวิตชิตด้วยมือของเขาเอง

กำลังแสดงผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ