เงินจางนางจร (2513)
เงินจางนางจร (2513/1970) ข้อความบนใบปิด วัฒนาภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์รัก สุขสันต์ ขำขัน หรรษา สนุกสนาน เฮฮา น้ำตาไม่มี เงินจางนางจร จากคำพังเพยครั้งบุร่ำบุราณ สยุมพรมาจินตนาการสร้างเป็นภาพยนตร์ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ย้อนคำพังเพย เฉลยความจริงว่า รักแท้ของหญิง มิใช่เห็นแก่เงิน... นำโดย สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, เมตตา รุ่งรัตน์, ชุมพร เทพพิทักษ์, พฤหัส บุญหลง, จำรูญ หนวดจิ๋ม, พูลสวัสดิ์ ธีมากร, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ทานทัต วิภาตะโยธิน, ทองแถม, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ลุงโกร่ง กางเกงแดง, ดาวน้อย ดวงใหญ่, เสน่ห์ โกมารชุน, สีเทา และ ชินกร ไกรลาศ สยุมพร กำกับการแสดง เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ ศิรินันท์ คานทอง อำนวยการสร้าง ฟังเพลงไพเราะ ถ่ายทำระบบ 35 ม.ม. “เงินจางนางจร “เงินนอนนางจืด” รัตนาชัยฟิล์ม จัดจำหน่าย
อภินิหารอาจารย์ทอง (2512)
อภินิหารอาจารย์ทอง (2512/1969) ข้อความบนใบปิด วัฒนาภาพยนตร์ เสนอ อภินิหารอาจารย์ทอง เค้าโครงเรื่อง ของ ล้อต๊อก ภาพยนตร์ตลก ดูแล้ว สมองเบา ไม่โศก ไม่เศร้า ครึกครื้น ชื่นบาน ดู รักแสนหวาน ดู ปาฏิหาริย์ ล้ำลึก ดูแล้วคึกคัก กลับบ้าน สบายใจ นำโดย สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, นวลศรี, ล้อต๊อก, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, อบ บุญติด, สมพงษ์ พงษ์มิตร, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, จำรูญ หนวดจิ๋ม, ทองแถม, โขน หมอผี, โกร่ง กางเกงแดง, ปราณีต คุ้มเดช สยุมพร กำกับการแสดง ศิรินันท์ คานทอง อำนวยการสร้าง เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ เสรีภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
น้อยไจยา (2509)
น้อยใจยา (2509/1966) ฉ่ำชื่น แช่มช้อย ต้องชม น้อยไจยา น้อยไจยา (ไชยา สุริยัน) ชายหนุ่มรูปงามแต่ฐานะยากจน รักใคร่อยู่กับแว่นแก้ว (เพชรา เชาวราษฎร์) ลูกสาวของเศรษฐี แต่แว่นแก้วมีคู่หมั้นหมายอยู่แล้วคือส่างนันตา (ทักษิณ แจ่มผล) พ่อค้าชาวพม่า ส่างนันตารู้ว่าแว่นแก้วผู้เป็นคู่หมั้นของตนผูกสมัครรักใคร่อยู่กับน้อยไจยาก็ไม่พอใจ และหาทางกลั่นแกล้งน้อยไจยาอยู่เสมอ ยิ่งทำให้แว่นแก้วรู้สึกสงสารน้อยไจยายิ่งขึ้น เมื่อใกล้ถึงกำหนดวันแต่งงานของส่างนันตากับแว่นแก้ว น้อยไจยากับแว่นแก้วตกลงใจพากันหนีแต่ถูกจับได้ระหว่างทาง เศรษฐีผู้เป็นพ่อของแว่นแก้วจับตัวน้อยไจยาส่งให้เจ้าเมืองตัดสินโทษในข้อหาลักพาตัวลูกสาวของตน เจ้าเมืองไต่สวนข้อเท็จเจริงจากน้อยไจยา แว่นแก้ว ส่างนันตา และตัดสินให้น้อยไจยาพ้นความผิด และให้น้อยไจยากับแว่นแก้วแต่งงานกันได้ แต่ต้องเสียค่าทำขวัญให้กับส่างนันตา ทำให้น้อยไจยาและแว่นแก้วได้ครองรักกันสืบต่อมา กลายเป็นตำนานรักอมตะ
สเว็ตเตอร์สีแดง (2499)
สเว็ตเตอร์สีแดง (2499/1956) นเรนทร์ (ส. อาสนจินดา) ชายหนุ่มผู้มีฐานะยากจนแต่มีความมานะพยายามจนสามารถเดินทางมาศึกษาในอเมริกา ด้วยการรับจ้างทำงานเพื่อหาเงินเรียน และมีเงินที่ทางบ้านส่งมาให้เพียงเล็กน้อย ต่างกับหวั่นจิต (รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง) ซึ่งเป็นลูกของครอบครัวที่มีฐานะดี จึงใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่ายและไม่สนใจการเรียน นเรนทร์พยายามตักเตือนให้หวั่นจิตสนใจการเรียนทำให้หวั่นจิตรู้สึกไม่พอใจ และพยายามโปรยเสน่ห์เพื่อให้นเรนทร์หลงใหล แม้ในใจนเรนทร์จะนึกรักหวั่นจิตแต่ก็ต้องพยายามหักใจ เพราะต้องการเรียนให้จบเพราะทราบว่าทางบ้านต้องขายที่นาเพื่อส่งเงินมาให้ เหตุการณ์พลิกผันเมื่อบิดาของหวั่นจิตเสียชีวิต ทางบ้านจึงเรียกตัวหวั่นจิตกลับบ้านแต่หวั่นจิตไม่ยอมกลับ ทางครอบครัวจึงงดส่งเงินมาให้ทำให้หวั่นจิตได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก จึงประกาศหาผู้อุปการะ โดยมีนเรนทร์คอยช่วยเป็นกำลังใจ ต่อมามีผู้รับอุปการะมอบทุนการศึกษาให้หวั่นจิต ในนามมิสเตอร์แนโรว์ หวั่นจิตดีใจมากส่งข่าวให้นเรนทร์รับทราบ พร้อมกับมอบสเว๊ตเตอร์สีแดงที่เธอถักด้วยตนเองให้กับชายที่ตนเองรัก แต่นเรนทร์กลับใช้วาจาดูถูกหวั่นจิต ทำให้หวั่นจิตเสียใจมากจึงมุมานะเล่าเรียนอย่างจริงจังจนกระทั่งจบ ในขณะที่นเรนทร์เรียนจบก่อนและได้เดินทางกลับประเทศไทยแล้ว หวั่นจิตเรียนจบแล้วจะเดินทางกลับจึงไปขอพบมิสเตอร์แนโรว์ เพื่อขอบคุณที่ให้ทุนการศึกษา จึงทราบความจริงว่ามิสเตอร์แนโรว์แท้จริงแล้วคือขจร (สาหัส บุญ-หลง) เพื่อนของนเรนทร์ และเงินทุนการศึกษาที่มอบให้หวั่นจิตนั้นคือเงินของนเรนทร์ที่พยายามทำงานเก็บเงินเพื่อมอบเป็นทุนการศึกษาให้หวั่นจิต หวั่นจิตเดินทางกลับประเทศและออกตามหานเรนทร์ แต่ช้าไปเสียแล้วเมื่อเธอมาพบนเรนทร์ขณะที่กำลังจะสิ้นใจเพราะป่วยหนัก โดยมีสเว๊ตเตอร์สีแดงอยู่ในอ้อมอก

กำลังแสดงผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ