ระห่ำลำหัก (2518)
ระห่ำลำหัก (2518/1975) เหตุจากการพบเห็นการฆาตกรรมทำให้ชีวิตของ "ดิ้ว" หนุ่มนักดนตรีต้องตกอยู่ในอันตรายจากการตามล่าของกลุ่มฆาตกร และทำให้เขาไม่ไว้ใจทุกคนที่เข้ามารวมถึง "นิดา" ที่เข้ามาตีสนิทกับเขาอย่างน่าสงสัย อีกทั้งยังมีหนุ่มขับรถสิบล้ออย่าง "ระห่ำ" ที่เข้ามาช่วยเหลือเขาจากการตามล่า เหตุการณ์เลวร้ายลงเมื่อเขาถูกบีบบังคับให้เข้าพวกกับอาชญากรเพื่อเป็นคนส่งยาเสพย์ติด เพื่อความปลอดภัยของพี่สาวอย่าง "ดาริน" ทำให้เขาไม่มีทางเลือก แต่ด้วยความดีในตัวทำให้เขาต้องหักหลังกลุ่มวายร้าย ผลคือการตามล่าเอาชีวิตทั้งตัวเขาและคนใกล้ตัว
คนสู้คน (2515)
คนสู้คน (2515/1972) ข้อความบนใบปิด พิษณุภาพยนตร์ โดย วิจารณ์ ภักดีวิจิตร ภาพยนตร์บู๊ แซบๆ ยิ่งใหญ่ 35 ม.ม.สโคป สี เสียงในฟิล์ม มาตรฐาน คนสู้คน นำแสดงโดย ไพโรจน์ ใจสิงห์ อรัญญา นามวงษ์ ฉัตร มงคลชัย ดรุณี ชื่นสกุล ชุมพร เทพพิทักษ์, แป้น ปลื้มสระไชย, สังข์ทอง สีใส, ศรีสละ ทองธารา, สิงห์ มิลินทราศัย, ดลนภา โสภี, มารศรี ณ บางช้าง, เชษฐ์, ยักษ์ และใหญ่ วิจารณ์ ภักดีวิจิตร กำกับการแสดง สันทัด ศรีสัมพันธ์ ถ่ายภาพ สรวงสุดา ชลลัมพี อำนวยการสร้าง บริษัทบางกอกการภาพยนตร์จำกัด จัดจำหน่าย
กว่าจะรักกันได้ (2514)
กว่าจะรักกันได้ (2514/1971) ข้อความบนใบปิด พิษณุภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์ชีวิต แสนทรมานใจ ที่พระพรหมลิขิตให้ กว่าจะรักกันได้ ของ นาถฤดี 35 ม.ม.ซีเนมาสโคป สีอิสต์แมน เสียงรอบทิศ ไชยา สุริยัน อรัญญา นามวงษ์ ฉัตร มงคลชัย, ด.ช.ปรีชา เกิดกำแพง นำแสดง พร้อมด้วย ชุมพร เทพพิทักษ์, อนุชา รัตนมาลย์, วาสนา ชลากร, ชฎาพร วชิราปราณี, รุจน์ รณภพ, รุจิรา-มารศรี อิศรางกูร, รุจิเรข, สมศรี, อธึก, แป้น, เนม, นภาพร หงสกุล, ชวน, และ 4 ดาวตลก สังข์ทอง สีใส, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ศรีสละ ทองธารา, วิจารณ์ ภักดีวิจิตร กำกับการแสดง สันทัด ศรีสัมพันธ์ ถ่ายภาพ
จำปาทอง (2514)
จำปาทอง (2514/1971) ข้อความบนใบปิด พิษณุภาพยนตร์...โดย “วิจารณ์ ภักดีวิจิตร” ภูมิใจเสนอภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของ...มิตร ชัยบัญชา แสดงไว้อย่างสมบูรณ์ที่สุด ฟัง 9 เพลงเอก 35 ม.ม.สีอิสต์แมน เสียงในฟิล์ม.. จำปาทอง นำโดย 4 ดารายอดนิยม มิตร ชัยบัญชา อรัญญา นามวงษ์ ฉัตร มงคลชัย ขวัญจิตร ศรีประจันต์ ผ่องศรี วรนุช นักร้องลูกทุ่งหญิงเสียงการะเวกให้เกียรติร่วมแสดง “พร้อมด้วย” วาสนา ชลากร, อนุชา รัตนมาลย์, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, สีเผือก, ชูศรี โรจนประดิษฐ์, คำนึง, แป้น ปลื้มสระไชย, เมฆ, ก๊กเฮง, สมศรี และดาราประกอบอีกมาก วิจารณ์ ภักดีวิจิตร อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง สันทัด ศรีสัมพันธ์ ถ่ายภาพ รัตนาชัยฟิล์ม จัดจำหน่าย
ฝนเดือนหก (2513)
ฝนเดือนหก (2513/1970) ข้อความบนใบปิด พิษณุภาพยนตร์ เสนอภาพยนตร์ชีวิต เพลงลูกทุ่งยิ่งใหญ่! มิตร ชัยบัญชา อรัญญา นามวงษ์ โสภา สถาพร และ ฉัตร มงคลชัย ร่วมด้วย พฤหัส บุญหลง, พยงค์ มุกดาพันธ์, โขมพัสตร์ อรรถยา, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ, แป้น ปลื้มสระไชย, พรชัย, เมฆ ฝนเดือนหก ของ จักรา ฟัง 9 เพลงไพเราะ ตลกเฮฮา บู๊อย่างว่า 35 ม.ม. สันทัด ศรีสัมพันธ์ ถ่ายภาพ วิจารณ์ ภักดีวิจิตร กำกับการแสดง-อำนวยการสร้าง
ขวัญหล้า (2512)
ขวัญหล้า (2512/1969) ครอบครัวหนึ่ง มีเด็กสาวแสนสวยน่ารัก ที่ชื่อ ปานแก้ว นภา (เพชรา เชาวราษฎร์) เธอเกิดมาโดยที่ไม่เคยเห็นหน้าพ่อหน้าแม่เลย เธอถูกเลี้ยงดูจากป้าพวงมาตั้งแต่เด็กๆ เธอจึงเรียกป้าพวงว่า แม่ตลอดมา แล้ววันหนึ่งป้าพวงก็มาบอกว่า จะส่งเธอให้ไปอยู่รับใช้นายแม่สารภีที่เชียงใหม่ แม้เธอจะพยายามอ้อนวอนเพราะยังอยากอยู่กับป้าพวงมากกว่า แต่ก็ขัดคำสั่งไม่ได้ จึงยอมเดินทางไปเชียงใหม่ แต่แท้จริงแล้ว ป้าพวงแอบขายเธอให้นายแม่สารภีต่างหาก เมื่อปานแก้ว มาอยู่ที่บ้านนายแม่สารภีที่เชียงใหม่ ก็เกิดถูกตาต้องใจนายแม่สารภีเป็นอย่างมาก ถึงขนาดรับเลี้ยงปานแก้วไว้อย่างลูกอย่างหลานคนหนึ่ง แล้ววันหนึ่งขณะปานแก้ว เดินลัดเลาะไปตามพุ่มไม้หนาทึบใกล้ๆ บ้าน เธอก็ได้ยินเสียงร้องครวญครางคล้ายเสียงชายชรา แต่เธอก็มองไม่เห็นว่า หน้าตาคนนั้นเป็นอย่างไร ได้ยินแต่เสียงร้องบอกว่า หิวข้าว หิวน้ำ ขอกินหน่อย เธอจึงเอาน้ำที่ติดตัวมาด้วยให้ชายคนนั้นกิน ปานแก้วจึงได้ทราบเรื่องว่า ชายคนนั้นถูกจับมาขังไว้ ทรมานให้อดข้าว อดน้ำ เธอจึงรับปากว่า เธอจะแอบเอาข้าวเอาน้ำมาให้ทุกวัน รุ่งขึ้น เธอก็เอาข้าวเอาน้ำไปให้ชายคนนั้นอีก จึงได้เห็นหน้าค่าตากัน ชายชราคนนั้น ก็นึกรักและเอ็นดูปานแก้ว ที่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อคนตกทุกข์ได้ยาก ส่วนปานแก้วเองก็ชักจะถูกชะตากับชายคนนั้นและอยากมาพูดคุยด้วยทุกวัน แต่พอปานแก้วกลับมาถึงบ้านนายแม่สารภี ก็ทราบเรื่องว่า ป้าพวงจะมารับปานแก้วกลับไป บอกว่า จะให้ปานแก้วไปอยู่กรุงเทพฯ ซึ่งความจริงแล้ว ป้าพวงได้ขายปานแก้วให้กับซ่องโสเภณีไปเป็นเงิน 6,000 บาท แม้ว่า นายแม่สารภีจะให้ยอมจ่ายเงินให้สูงกว่าหลายเท่า แต่ป้าพวงก็ไม่ยอมปล่อยตัวปานแก้วให้นายแม่สารภี โดยมีสาเหตุเนื่องจากป้าพวงมีความแค้นแต่เดิมกับพ่อของปานแก้วเพราะป้าพวงเคยอุปถัมภ์เลี้ยงดูพ่อแท้ๆ ของปานแก้วและป้าพวงก็แอบรักพ่อของปานแก้ว แต่พ่อของปานแก้วกลับไม่รัก กลับไปรักแม่ของปานแก้ว จนเมื่อปานแก้วคลอดออกมา ความแค้นทุกอย่างจึงมาตกที่ตัวปานแก้ว เพราะป้าพวงต้องการให้ชีวิตปานแก้วเหลวแหลกและลำบากสุดๆ นั่นเอง ก่อนที่ปานแก้วจะเดินทางไปกรุงเทพฯ ได้เข้าไปบอกลาชายคนนั้นว่าจะต้องไปอยู่กรุงเทพฯโดยไม่รู้ว่า เป็นซ่องนางโลม ชายคนนั้นจึงบอกให้ปานแก้วไปขุดหาโอ่งที่ฝังไว้ใต้ต้นหูกวางใกล้ๆ ซึ่งในโอ่งจะมีกำไลเก่าแก่อันหนึ่ง ให้ปานแก้วใส่กำไลนั่นไว้ตลอดเวลา และถ้ามีใครเห็นกำไลอันนี้แล้วเรียก ปานแก้ว ว่าเป็น "ขวัญหล้า" ก็ให้ดูว่าชายหรือหญิงคนนั้น มีตำหนิไฝแดงที่ท้ายทอยหรือไม่ ถ้ามี ก็ให้ปานแก้วรีบพาคนนั้นมาช่วยเหลือเขาที่นี่ ปานแก้ว เข้ากรุงเทพฯ มาอยู่ที่บ้านคุณนายบานเย็น ซึ่งเป็นเจ้าของซ่องนางโลม ปานแก้วได้รู้จักกับบัวเรียว (อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา) ที่เพิ่งรู้ตัวว่า ถูกหลอกมาขายซ่องเช่นกัน ปานแก้วและบัวเรียวจึงพยายามจะหลบหนี แต่ยังไม่สบโอกาส แล้ววันหนึ่งขณะที่คุณนายบานเย็นพาปานแก้ว บัวเรียวไปดูหนังเพื่อเตรียมให้รับแขก ก็เผอิญเจอกับชาย 2 คนในร้านอาหารที่เฝ้ามองปานแก้วอย่างสนอกสนใจ คนหนึ่งชื่อ สูรย์ อีกคนชื่อ อาโน ปรากฏว่า ชายที่ชื่อสูรย์ เรียก ปานแก้วว่า "ขวัญหล้า" และติดตามปานแก้วมาจนรู้ความจริงว่า อยู่บ้านหลังใหญ่ที่ซ่องของคุณนายบานเย็น จึงคิดจะหาทางพาปานแก้วหลบหนีจากซ่อง ในขณะที่ทรงวิทย์ ลูกชายคนเดียวของคุณนายบานเย็นที่หลงรักปานแก้ว ก็เห็นใจที่ถูกแม่บังคับซื้อตัวมา ก็เลยคิดจะพาปานแก้วหลบหนีจากซ่องด้วยเช่นกัน
สมิงจ้าวท่า (2512)
สมิงจ้าวท่า (2512/1969) ข้อความบนใบปิด พิษณุภาพยนตร์ เสนอความโอฬารของภาพยนตร์มาตรฐานโลก ใช้เวลาสร้าง 2 ปี สมิงจ้าวท่า KID BLACKJACK ของ เพชร สถาบัน ในระบบ 35 ม.ม.ซูเปอร์เทคนิคสโคป สีอิสต์แมน เสียงในฟิล์ม มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ โสภา สถาพร อดุลย์ ดุลยรัตน์ ขอแนะนำ ชัยยุทธ เวชยันตร์ เป็น “ดอน โพธิ์ไทร” รุ่นทีนเอจ ชุมพร เทพพิทักษ์, กิ่งดาว ดารณี, ประภาศรี เทพรักษา, พฤหัส บุญหลง, วิน วิษณุรักษ์, เยาวเรศ นิสากร, ขวัญตา บัวเปลี่ยนสี, โยธิน เทวราช, จรรยา สดแจ่มศรี และดาราชั้นแนวหน้าร่วมแสดงอีกคับคั่ง ถ่ายภาพโดย ฉลอง ภักดีวิจิตร อำนวยการสร้างโดย เผด็จ ภักดีวิจิตร กำกับการแสดงโดย วิจารณ์ ภักดีวิจิตร ร่วมใจฟิล์ม จัดจำหน่าย
ปราสาทรัก (2511)
ปราสาทรัก (2511/1968) หม่อมเจ้าหญิงอุมารังษี (พิศมัย วิไลศักดิ์) ทะเลาะกับหม่อมอร ผู้เป็นมารดา จึงออกจากบ้านเพื่อเดินทางไปเป็นครูที่จ.เชียงใหม่ บนรถไฟนายแพทย์ภะรต (สมบัติ เมทะนี) เอ่ยชวนเธอไปทำงานเป็นครูพี่เลี้ยงให้น้องสาวพิการ คืนหนึ่งที่ปราสาทอุมารังษีนอนไม่หลับ ได้ยินเสียงกรีดร้องของผู้หญิง เธอเห็นภะรตจึงสะกดรอยตาม วันต่อมาอุมารังษีฝันว่ามีผู้หญิงถูกล่ามข้อเท้า ยื่นมือขอความช่วยเหลือ อุมารังษีสะดุ้งตื่นก็พบป้าแช่ม (สะอาด อรรถจินดา) ป้าแช่มตกใจรีบแก้ตัวว่ามาตรวจดูความเรียบร้อย ภะรตไปงานเต้นรำกับวาสิณ ได้พบเด็กผู้หญิงชื่อพิมพ์ทิพก็ตะลึง เพราะพิมพ์ทิพหน้าตาคล้ายคุณแจ๋วมาก ส่วนอุมารังษีนอนไม่หลับ ออกไปเดินเล่นที่เฉลียง พบกับชายลึกลับที่ปีนขึ้นมาพร้อมเรียกหาประวิญ เมื่อเห็นอุมารังษีก็ตกใจและหนีไป ภะรตไปรักษาคนไข้จนเย็นก็ยังไม่กลับ นายชดขี่ม้ากลับมา บอกอุมารังษีว่าภะรตถูกยิงบาดเจ็บสาหัส อุมารังษีเป็นห่วงจึงขอตามนายชดไปด้วย ระหว่างทางนายชดจะขืนใจอุมารังษีแต่ภะรตตามไปช่วยได้ทัน อุมารังษีเป็นไข้และเพ้อจนภะรตรู้ว่าเธอคือหม่อมเจ้าหญิงอุมารังษี ป้าแช่มบอกอุมารังษีว่าภะรตเป็นผู้ร้ายฆ่าคน เกลี้ยกล่อมให้เธอไปจากที่นี่ ทั้งวางแผนจะให้กัญญาเข้าไปนอนกับภะรต แต่ถูกคุณแจ๋วขวางไว้ ป้าแช่มจึงเป่าหูแม่ทิพ (สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย) หญิงสติไม่ดีว่าภะรตจะส่งคุณแจ๋วไปอยู่สถานเด็กพิการ ทำให้แม่ทิพแอบมาอุ้มคุณแจ๋วไป ภะรตออกตามหาคุณแจ๋วกับแม่ทิพไปจนถึงหน้าผา แม่ทิพกำลังจะตกหน้าผา ภะรตกระโดดคว้าตัวคุณแจ๋วได้ทัน ลุงเทพ (ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร) ฝากฝังคุณแจ๋วกับพิมพ์ทิพ ทำให้ภะรตรู้ว่ามีน้องสาวอีกคน ภะรตขอร้องให้อุมารังษีไปหาคุณแจ๋ว อุมารังษีคิดถึงคุณแจ๋วจึงตัดสินใจกลับปราสาททันที ระหว่างแวะพักโรงแรม ทั้งคู่มีโอกาสพูดคุยกัน แต่ด้วยทิฐิบวกกับความหึงหวง ทำให้ทั้งคู่ไม่เข้าใจกันเสียที พอถึงปราสาทคุณแจ๋วได้เห็นหน้าครูอุมาของเธออีกครั้งก็ยิ้มและสิ้นใจอย่างสงบ ต่อมาความจริงจึงปรากฎว่าแม่ทิพคืออาของภะรต และเป็นแม่ของคุณแจ๋วกับพิมพ์ทิพ ส่วนป้าแช่มคือผู้อยู่เบื้องหลังของเหตุร้ายทั้งหลายที่เกิดขึ้นในบ้าน ภะรตและอุมารังสีก็ทำความเข้าใจกันได้และได้ครองรักกัน
ตะวันสีทอง (2510)
ตะวันสีทอง (2510/1967) มิตร-พิศมัย ข้อความบนใบปิด พิษณุภาพยนตร์ เสนอภาพยนตร์ชีวิต บู๊ ยิ่งใหญ่ ตะวันสีทอง ของ พจนาถ เกศจินดา นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา พิศมัย วิไลศักดิ์ โสภา สถาพร ร่วมด้วย ทัต เอกทัต, สาหัส บุญหลง, ปรียา รุ่งเรือง, เยาวเรศ นิสากร, โยธิน เทวราช, แป้น ปลื้มสระไชย, ยนต์, สุวิน สว่างรัตน์, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ วงศ์รักไทย, ทองแถม, เสน่ห์ โกมารชุน, ด.ช.ตุ๊ดตู่ ทัศนพยัคฆ์, ด.ญ.อรวรรณ สันทัด ศรีสัมพันธ์ ถ่ายภาพ วิจารณ์ ภักดีวิจิตร อำนวยการสร้าง อนุมาศ กำกับการแสดง จินตนาฟิล์ม จัดจำหน่าย
เพชรสีเลือด (2509)
เพชรสีเลือด (2509/1966) ข้อความบนใบปิด พิษณุภาพยนตร์ จงใจสร้างให้ใหญ่ เพชรสีเลือด ของ “แก้วฟ้า” มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ กรุณา ยุวากร ชนะ ศรีอุบล ทักษิณ แจ่มผล, อดุลย์ ดุลยรัตน์, ชุมพร เทพพิทักษ์, กิ่งดาว ดารณี, ปรียา รุ่งเรือง, เยาวเรศ นิสากร, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, ล้อต๊อก แก้วฟ้า, เสน่ห์ โกมารชุน ให้เกียรติร่วมแสดง เนรมิต กำกับการแสดง วิจารณ์ ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ-อำนวยการสร้าง เอวันฟิล์ม จัดจำหน่าย
หยกแดง (2509)
หยกแดง (2509/1966) ข้อความบนใบปิด พิษณุภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์ชีวิต..บู๊.. หยกแดง ของ ปพิมล มิตร ชัยบัญชา พิศมัย วิไลศักดิ์ ร่วมด้วย ฑัต เอกฑัต, สมควร กระจ่างศาสตร์, ประมินทร์ จารุจารีต, เอื้อมเดือน อัษฎา, เยาวเรศ นิศากร, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, แป้น ปลื้มสระไชย วิจารณ์ ภักดีวิจิตร อำนวยการสร้าง วินิจ ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ พันคำ กำกับการแสดง เอวันฟิล์ม จัดจำหน่าย
เจ้าเมือง (2508)
เจ้าเมือง (2508/1965) ข้อความบนใบปิด พิษณุภาพยนตร์ ภูมิใจเสนอภาพยนตร์ชีวิต, บู๊, แหวกแนว ยิ่งใหญ่ เจ้าเมือง ของ อ้อย อัจฉริยกร สมบัติ เมทะนี พิศมัย วิไลศักดิ์ ทักษิณ แจ่มผล เยาวเรศ นิสากร ร่วมด้วย สมพล กงสุวรรณ, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, วิน วิษณุรักษ์, วีนัส ศรีประไพ, ชาลี อินทรวิจิตร, อภิญญา วีระขจร, ขวัญตา บัวเปลี่ยนสี, เพชร, นำพล, สมาน, ทองแถม, ล้อต๊อก และแนะนำพระเอกใหม่ บัญชา ประชากร ให้อยู่ในความโอบอุ้มของท่าน รังสี ทัศนพยัคฆ์ กำกับการแสดง วินิจ ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ วิจารณ์ ภักดีวิจิตร อำนวยการสร้าง เอวันฟิล์ม จัดจำหน่าย
เสือข้ามแดน (2508)

เสือข้ามแดน (2508/1965) ร้อยป่าภาคพิเศษ เสือข้ามแดน ภาพยนตร์เรื่องยิ่งใหญ่ ตื่นเต้นสุดยอด จากนวนิยายขายดีของ อรชร พันธุ์ บางกอก เลือดพล่านด้วยเล่ห์เหลี่ยมร้อยแปดของทรชน ชม...พฤติการณ์ใหม่ของ เสือ กลิ่นสัก ผู้รักความยุติธรรมเท่าชีวิต

5 พยัคฆ์ร้าย (2508)
5 พยัคฆ์ร้าย (2508/1965) เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ตำบลสันฉลาม เมื่อสองไร่ระหว่าง ไร่นายทอง เอกเทศ (ทัต เอกทัต) กับไร่ของผู้ใหญ่แพง ไพบูลย์ ทั้งสองไร่ต่างไม่ถูกกัน เพราะนายทองพยายามจะซื้อไร่ของผู้ใหญ่แพง แต่ผู้ใหญ่แพงไม่ยอมขาย จึงใช้อิทธิพลบีบคั้นผู้ใหญ่แพง. ผู้ใหญ่แพงมีลูกชายนิสัยใจร้อน โพธ ไพบูลย์ (ชนะ ศรีอุบล) กับลูกสาว ไพรำ ไพบูลย์ (เพชรา เชาวราษฎร์) โพธมีภรรยาแลัวชื่อ วไลพร (ขวัญตา บัวเปลี่ยนสี) วันหนึ่งผู้ใหญ่แพงถูกลอบสังหาร บนบ้านตนเองโพธกับไพรำเข้าประคองพ่อ ก่อนตายพ่อบอกไม่ให้ขายที่และอย่าอาฆาตแค้น แต่โพธไม่ฟังไล่ล่าคนยิงพ่อตนเองไปจนเข้าเขตไร่นายทอง จนโดนยิงบาดเจ็บกลับไร่ตนเอง เพราะนายทองมีลูกน้องฝีมือดี 4 คน คือ ฟ้าฟื้น ฟันเสือ (ทักษิณ แจ่มผล) โอ อัสนี (ประจวบ ฤกษ์ยามดี) เคียว ดาวคะนอง (อดินันท์ สิงห์หิรัญ) ง่วน งาแซง (ชาณีย์ ยอดชัย) โพธ มักมีเรื่องกับพวกนายทองตลอดหลังพ่อตาย ด้วยความใจร้อนของโพธ วันหนึ่งที่บาร์พรานทะเลของนายทอง มีชายแปลกหน้าคนหนึ่งได้เข้ามาในบาร์ อย่างไม่หวั่นเกรงผู้ใด ทั้งที่ทุกสายตาในร้านต่างมองดูเขาอยู่ โดยเฉพาะกับฟ้าฟื้น โอ เคียว และปริศนา (ปรียา รุ่งเรือง) ผู้จัดการบาร์ ที่มองความหล่อเหลาของชายแปลกหน้า เขาสั่งเหล้ากระดกเข้าปากอย่างไม่กลัวบาดคอ ฟ้าฟื้นสั่งให้เคียวไปถามชายแปลกหน้าว่าเป็นใคร ความยียวนของเคียว เลยโดนยียวนกลับ แต่ก็ได้รู้ว่าชื่อ เชษฐ ชวาล (มิตร ชัยบัญชา) มาหางานทำ ด้วยลีลายียวนของเชษฐทำให้เคียวหมั่นไส้ จึงประหมัดกับเชษฐ แต่สุดท้ายก็สู้เชษฐไม่ได้ไปนอนกองอยู่กับพื้น ระหว่างที่ทุกคนกำลังสนใจอยู่เชษฐ โดยไม่รู้ว่ามีชายแปลกหน้าอีกคนเข้ามาในร้าน เมื่อเคียวสลบ ชายแปลกหน้าก็เช้าท้าเชษฐ บอกว่า "ดีแต่รังแกผู้ที่มีฝีมือด้อยกว่า" แล้วบอกชื่อตนเองว่า คือ เผด็จ ผันผยอง (สมบัติ เมทะนึ) ขอท้าเชษฐ ทั้งสองแรกหมัดกันไม่มีแพ้ไม่มีชนะ จนหมดแรงทั้งคู่ ก่อนเชษฐจะแยกออกไปจากบาร์โดยมีฟ้าฟื้นแอบสะกดรอยตามเชษฐไป ส่วนเผด็จ โอได้ชักชวนให้มาทำงานด้วยกัน ฟ้าฟื้นได้เห็นเชษฐไปหาโพธ ได้มาเล่าให้นายทองฟัง นายทองสั่งให้จับตัวเชษฐถ้ามาที่บาร์ แล้วเชษฐก็กลับมาบาร์พรานทะเลอีกครั้ง จึงถูกนายทองซักถาม แต่ไม่ได้ความเลยใช้วิชาสะกดจิต เชษฐบอกว่ามารับจ้างทำไร่ให้โพธ นายทองให้เคียวกับพวกซ้อมเชษฐจนสลบแล้วเอาไปโยนทิ้งนอกร้าน โพธกับไพรำและคนในไร่มาตามเชษฐ ได้มาช่วยเชษฐ พาขึ้นรถหนี เคียวขับรถไล่ตาม รถเคียวพลาดเสียหลักพลิกคว่ำรถระเบิด เคึยวกับลูกน้องเสียชีวิต นายทองแค้นโพธเป็นอันมาก เผด็จได้เจอกับทิพมล (จีน่า ฮัน) ลูกสาวของนายทอง เผด็จกับทิพมลเคยรักกันในสมัยเรียนที่กรุงเทพฯ ก่อนแยกย้ายกันไป ถ่านไฟเก่าครุ ทั้งาองกลับมารักกันอีกครั้ง นายทองรู้เรื่องไม่พอใจ ให้ลูกน้องจับเผด็จ แต่ลูกน้องสู้เผด็จไม่ได้ เผด็จหนีไปได้ ทิพมลไปหาโพธกับเชษฐเพื่อขอให้ช่วยเผด็จ เผด็จถูกนายทองจับจนได้ โพธรู้ดีว่าทิพมลเป็นคนดี เชษฐจึงบอกความจริงว่า เผด็จเป็นเพื่อนรักของเขากับโพธ ถูกส่งตัวมาเพื่อสืบหาผู้ก่อการร้ายที่เตรียมจะทำลายล้างประเทศ เชษฐสืบแล้วนายทองไม่ใช่ตัวการ เชษฐได้ขอให้ปริศนาช่วย ทิพมลกับปริศนาช่วยเผด็จ ระหว่างทั้งสองสาวกำลังช่วยเผด็จ โอได้อัดเทปเสียงทั้งหมดไว้ เอาให้นายทองฟัง นายทองโมโหที่ทิพมลกับปริศนาหักหลังตน
ร้อยป่า (2507)

ร้อยป่า (2507/1964) ข้อความบนใบปิด พิษณุภาพยนตร์ เสนอ มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ อนุชา รัตนมาลย์, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, รุจน์ รณภพ, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, อดุลย์ ดุลยรัตน์, เยาวเรศ นิสากร, ขวัญตา บัวเปลี่ยนสี, สาหัส บุญหลง, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, มนัส บุณยเกียรติ, จุรี โอศิริ, พีระพล, เมฆ, ประมาณ ขอแนะนำพระเอกใหม่ กวี จิตมั่นคง ร้อยป่า ของ อรชร-พันธุ์ บางกอก เนรมิต กำกับการแสดง วิจารณ์ ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ-อำนวยการสร้าง ถาวร สุวรรณ สร้างบทภาพยนตร์ สหการภาพยนตร์ไทย จัดจำหน่าย

 
จำเลยรัก (2506)

จำเลยรัก (2506/1963) เรื่องราวของความแค้นของ หฤษฎิ์ (มิตร ชัยบัญชา) พี่ชายที่ต้องสูญเสียน้องชายของตนเอง และเขาโกรธแค้นหญิงสาวต้นเหตุ ถึงกับจับตัวมาลงโทษเพื่อให้หายแค้น โดยไม่รู้ว่าจับมาผิดคน ไปจับโศรยา (พิศมัย วิไลศักดิ์) แต่เกิดความรักกันจึงได้แต่งงานกัน สุดท้ายหฤษฎิ์ยอมรับทุกคำบัญชาของโศรยา นับจากนี้ตราบจนชั่วชีวิต

หน้าที่