สอยดาว สาวเดือน (2512) สอยดาวสาวเดือน
สอยดาวสาวเดือน (2512/1969) ลานเท อยุธยา สมิง (ชนะ/-/รังสิโรจน์) เด็กหนุ่มแห่งบ้านลานเทยิงคนตายเพื่อชำระแค้นให้กับพ่อแม่ตัวเองที่ถูกฆ่าตาย สมิงได้รับบาดเจ็บและหลบหนีเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้าน ผู้ใหญ่ธง (จำรูญ/-/เอกพัน) ศรีนวล (เพชรา/-/จีระนันท์) ลูกสาวเพียงคนเดียวของผู้ใหญ่ธง ที่เก่งการร้องลำตัดจนมีชื่อเสียงลือเลื่อง จนได้รับฉายาว่า เจ้าแม่ลานเท ก็เป็นที่หมายปองของสมิง แม้ศรีนวลจะเห็นว่าสมิงเป็นเพียงเพื่อนชายที่แสนดีก็ตาม เลอสรร หรือ คุณหนึ่ง (มิตร/-/ธนา) ลูกชายเพียงคนเดียวของท่านข้าหลวงเมืองอยุธยา เมื่อปิดเทอมได้เดินทางมาที่ลานเทเพื่อหาประสบการณ์ คุณหนึ่งได้พบเจอทั้งสมิงและศรีนวล คุณหนึ่งแอบรักกับศรีนวล จนกระทั่งทั้งคู่ลักลอบได้เสียกัน มีแต่เพียงผู้ใหญ่ธงและสมิงเท่านั้นที่รับรู้เรื่อง คุณหนึ่งสัญญาว่าเมื่อเรียนจบแล้ว จะกลับมาแต่งงานกับศรีนวล แต่ทว่า เมื่อกลับถึงกรุงเทพฯ คุณนาย แม่ของคุณหนึ่งกลับไม่ยินยอม พร้อมกับบีบบังคับให้คุณหนึ่งแต่งงานกับ สร้อยเพชร (ชฎาพร/-/อุษณีย์) ลูกสาวของเพื่อนสนิทตัวเอง ศรีนวลตั้งท้องลูกของเลอสรร จนคลอดออกมาเป็นผู้หญิงชื่อ สอยดาว (โสภา/-/อาภา) ขณะที่คุณหนึ่งก็มีลูกสาวกับสร้อยเพชร ชื่อ สาวเดือน (ขวัญตา/-/รัญดภา) 20 ปีผ่านไป เมื่อคุณหนึ่งกลายเป็นนายตำรวจใหญ่ คุณหนึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปลานเท เพื่อตามจับ สมิง ซึ่งหนีหมายจับและกลายเป็นโจรชื่อดัง และ ณ ที่นั่นเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีตจึงฟื้นคืนมา
ลูกปลา (2512)
ลูกปลา (2512/1969) ข้อความบนใบปิด บูรพาศิลปภาพยนตร์ บริษัทผู้สร้างภาพยนตร์มาแล้ว 38 ปี เสนอผลงานชิ้นเยี่ยม ปี 2512 ลูกปลา จากบทประพันธ์ของ จำลักษณ์ มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี, บุศรา นฤมิตร, อดุลย์ ดุลยรัตน์, ทม วิศวชาติ, เมตตา รุ่งรัตน์, ประภาศรี เทพรักษา, ศศิธร เพชรรุ่ง, วาสนา ชลากร, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สมพงษ์ พงษ์มิตร, หม่อมชั้น พวงวัน, มาลี เวชประเสริฐ, ศรีสละ ทองธารา, ชาณีย์ ยอดชัย, ทศ และเชาว์ แคล่วคล่อง รักหวานชื่นจิตต์ ชีวิตเศร้า เคล้าน้ำตา ฟัง 3 เพลงเอกในระบบ 35 ม.ม. สำเภา ประสงค์ผล อำนวยการสร้าง สันทัด ศรีสัมพันธ์ ถ่ายภาพ ฉลอง ภักดีวิจิตร กำกับการแสดง กัญญามาลย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
แท็กซี่ (2511)
แท็กซี่ (2511/1968) แท็กซี่ เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2511 ให้เสียงพากย์สด เป็นผลงานการกำกับของครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ สร้างโดย บูรพาศิลป์ภาพยนตร์ โดยมี สำเภา ประสงค์ผล เป็นผู้อำนวยการสร้าง ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกของ ศศิธร เพชรรุ่ง
สายเปล (2510)

สายเปล (2510/1967) มิตร-เพชรา ข้อความบนใบปิด บูรพาศิลป์ภาพยนตร์ ฉลองครบรอบ 38 ปี ด้วย สายเปล ของ ป.พิมล มิตร-เพชรา ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ทักษิณ แจ่มผล, กิ่งดาว ดารณี, ชุมพร เทพพิทักษ์, สุดเฉลียว เกตุผล, บุษกร สาครรัตน์, มาลี เวชประเสริฐ, สมศรี, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม นำแสดง ขอแนะนำ รองนางสาวไทยปี 2509 อุไรวรรณ งามบุญสืบ และ สรายุทธ เวชชยันต์ สำเภา ประสงค์ผล อำนวยการสร้าง ฉลอง ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ รังสี ทัศนพยัคฆ์ กำกับการแสดง

 
ฟ้าเพียงดิน (2510)

ฟ้าเพียงดิน (2510/1967) ข้อความบนใบปิด บูรพาศิลปภาพยนตร์ เสนอ มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ โสภา สถาพร ทักษิณ แจ่มผล ชุมพร เทพพิทักษ์ พร้อมด้วย จำรูญ หนวดจิ๋ม, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สุวิน สว่างรัตน์, สถาพร มุกดาประกร, ชฎาพร วชิรปราณี, พงษ์ลดา พิมลพรรณ, วงษ์ ศรีสวัสดิ์, ศรีสละ ทองธารา, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, จำนงค์ คุณะดิลก, ด.ช.ตุ๊ดตู่ ทัศนพยัคฆ์, ด.ญ.น้อยหน่า, ด.ช.อาจพิชิต อรรถจินดา, ด.ช.วโรดม เปรมกมล ฟ้าเพียงดิน จากละครวิทยุและบทประพันธ์ของ เสนีย์ บุษปะเกศ พันคำ กำกับการแสดง สำเภา ประสงค์ผล อำนวยการสร้าง ฉลอง ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ จินตนาฟิล์ม จัดจำหน่าย

 
4 สมิง (2509)
4 สมิง (2509/1966) มิตร-เพชรา ข้อความบนใบปิด ชม! ภาพยนตร์หลั่งเลือดโลมรัก ของนักสู้เหนือกว่านักเลง ครื้นเครงประทับใจ บูรพาศิลปภาพยนตร์ เสนอ 4 สมิง บทประพันธ์ของ ป.พิมล จากละครวิทยุฮิตของคณะ “แก้วฟ้า” มิตร-เพชรา พบ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, ทักษิณ แจ่มผล, อดุลย์ ดุลยรัตน์, ฤทธี นฤบาล, ชุมพร เทพพิทักษ์, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง และ 4 ดาวยั่ว ประภาศรี เทพรักษา, มานี มณีวรรณ, นาฏ นดา, เพราพิลาศ โยธานันท์ ร่วมด้วย สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช ส.อาสนจินดา กำกับการแสดง สำเภา ประสงค์ผล อำนวยการสร้าง วินิจ ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ ส.อาสนจินดาภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
นกแก้ว (2509)
นกแก้ว (2509/1966) ข้อความบนใบปิด บูรพาศิลปภาพยนตร์ เสนอ 35 ปี..คือหลักประกันในการสร้างภาพยนตร์ไทย บูรพาศิลปภาพยนตร์ ขอเสนอ ภาพยนตร์ชีวิตประทับจิต สะเทือนใจ นกแก้ว นำโดย มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี, อดุลย์ ดุลยรัตน์, เชาว์ แคล่วคล่อง, อนุชา รัตนมาลย์, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, ม.ร.ว.ประสิทธิศักดิ์ สิงหรา, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม และผู้แสดงประกอบอีกคับคั่ง ขอเสนอ สุมาลี ทองหล่อ, ปริม ประภาพร ฉลอง ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ สุกริช ชุติมันต์ สร้างฉาก สำเภา ประสงค์ผล อำนวยการสร้าง พันคำ กำกับการแสดง ป.พิมล ประพันธ์ วัชรภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
นกขมิ้น (2508)
นกขมิ้น (2508/1965) ข้อความบนใบโฆษณา บูรพาศิลป์ภาพยนตร์ เสนอ 34 ปีที่สร้างสรรผลงานประทับใจท่านตลอดมา จาก นิทราสัณห์ ถึง จามรีสีฟ้า นกขมิ้น ของ ป.พิมล นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี อดุลย์ ดุลยรัตน์, บุศรา นฤมิตร กิ่งดาว ดารณี ร่วมด้วย สมจิตร ทรัพย์สำรวย, มาลี เวชประเสริฐ, เชาว์ แคล่วคล่อง, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ชาณีย์ ยอดชัย, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สมโภชน์ และคณะ นครไทยกายกรรม แห่งประเทศไทย สำเภา ประสงค์ผล อำนวยการสร้าง ฉลอง ภักดีวิจิตร ช่างภาพตุ๊กตาทองพระราชทาน ถ่ายภาพ สุกริช ชูติมันต์ สร้างฉาก พันคำ กำกับการแสดง วัชรภาพยนตร์ จัดจำหน่าย กำหนด ฉายต่อจาก “เงารัก” ที่คาเธ่ย์
จามรี-สีฟ้า (2508) จามรีสีฟ้า
จามรี-สีฟ้า (2508/1965) ข้อความบนใบปิด บูรพาศิลป์ภาพยนตร์ เสนอภาพยนตร์ชีวิต พิศวาสของเด็กสาวฝาแฝด แบบรักอลวน เหตุการณ์อลเวง ครื้นเครงตลอดเรื่อง มิตร ชัยบัญชา พิศมัย วิไลศักดิ์ พบ ไชยา สุริยัน ยอดดาราที่กล้าประชันบทกันครั้งสุดท้าย จามรี-สีฟ้า ของ ป.พิมล พันคำ กำกับการแสดง พร้อมด้วย ประจวบ ฤกษ์ยามดี, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, อภิญญา วีระขจร, เชาว์ แคล่วคล่อง, ชาณีย์ ยอดชัย, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม และสาวไฉไล ใจดาว บุษยา ดาราเกียรติยศ พันคำ, ส.อาสนจินดา สำเภา ประสงค์ผล อำนวยการสร้าง ประเทือง ศรีสุพรรณ ถ่ายภาพ วัชรภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
สมิงบ้านไร่ (2507)
สมิงบ้านไร่ (2507/1964) ในละแวกตำบลบ้านไร่ คนที่ใหญ่ยิ่งด้วยอิทธิพลที่สุด มั่งมีที่สุด เหี้ยมโหดที่สุดและดุร้ายที่สุด สามารถคุมนักเลงฝีมือดีไว้ได้มากมายหลายคนคือ โมกขศักดิ์ ผาณิตเวส (พันคำ) โมกขศักดิ์มาสู่บ้านไร่อย่างไมมีอะไรเลย แต่ด้วยความสามารถในเชิงนักเลงและเล่ห์เหลี่ยมของเขา ในที่สุดเขาก็ได้ครองตำหน่งผู้จัดการโรงงานน้ำตาล ที่ใหญ่ที่สุดของตำบล ปรากฎว่าเมื่อโมกขศักดิ์ขึ้นครองตำหน่งอำนาจนั้น โรงงานน้ำตาลจนจะล้มอยู่แล้ว เพราะว่าไม่มีชาวไร่คนใดให้ความร่วมมือ ปลูกอ้อยส่งโรงงาน และพากันหันไปปลูกพืชอื่นกันเสียหมด โมกขศักดิ์ต้องใช้วิธีแก้สถานการณ์อันน่าวิตกนี้ ด้วยการแผ่อิทธิพล ปล่อยนักเลงอันธพาลในสังกัด ให้ออกไปบังคับกดขี้ให้ชาวไร่หันกลับมาร่วมมือปลูอกอ้อยส่งโรงงาน ชาวไร่ทนต่อความบีบคั้นไม่ได้ ก็จำต้องยอมและโรงงานก็เจริญรุ่งเรืองสืบมา ในจำนวนชาวไร่ของบ้านไร่ ที่ขัดขืนไม่ยอมปลูกอ้อยส่งโรงงานนั้นมี ที่สำคัญอยู่คนหนึ่งคือ สมิง บ้านไร่ (มิตร ชัยบัญชา) เด็กหนุ่มคนนี้มีไร่กว้างขวางมากมาย และได้พยายามจะสลงส้มในไร่แทนพีชอย่างอื่น จึงเป็นการขัดกับจุดประสงค์ของโมกขศักดิ์นักเลงใหญ่ อย่างรุนแรง โดยธรรมดาโมกขศักดิ์จะต้องใช้อิทธิพลเล่นงานสมิง ก็ฌพราะว่าประการแรก สมิงเป็นนักสู้อย่างไม่ยอมแพ้ใคร และมีฝีมือในการต่อสู้ ไม่ว่าด้วยหมัด ปืน หรืออาวุธใด ๆ ได้อย่างดียิ่ง อีกประการหนึ่งเป็นเรื่องที่มีเบื้องหลังอยู่อย่างสำคัญ โมกขศักดิ์พาลูกเมียมาอยู่ ที่บ้านไร่ได้หน่อยเดียว ภริยาที่แสนรักของเขาก็ตายจากไป คงทิ้งลูกสาวแสนสวย และดื้อไว้ให้ชมเพียงคนเดียวชื่อว่า สัตวา ผาณิตเวส หรือที่ใคร ๆ เรียกกันว่า นกเขียว (เพชรา เชาวราษฏร์) ธิดาสาวคนเดียว ที่เป็นดวงใจของโมกศักดิ์ ผู้พ่อคนในบ้านไร่รู้กันว่า นกเขียว ธิดาสาวคนเดียวนี้ คือดวงใจของโมกขศักดิ์ ผู้พ่อคนในบ้านไร่รู้กันว่า ไม่มีใครกล้าขัดใจหรือว่าสู้รบปรบมือกับโมกขศักดิ์ได้ นอกจากคนเดียวคือนกเขียว ธิดาของเขานั่นเอง และเป็นการบังเอิญอย่างยิ่ง ที่ในตำบลบ้านไร่นั้นไม่มีใครถูกกับนกเขียวเท่ากับสมิง ทั้งสองคบกันเป็นเพื่อนที่ดี จนเป็นที่สงสัยกันว่าสองหนุ่มสาวจะรักกัน ด้วยเหตุนี้เอง เป็นเหตุให้โฒกขศักดิ์ไม่กล้ารุกราน สมิงบ้านไร่ เพราะเก่งว่าหากสมิงต้องเป็นอะไร เพราะเขา มันอาจจะกลายเป็นการทำลายหัวใจของลกสาวที่เปรียบด้วยชีวิตของเขาเอาก็ได้ สองฝ่ายจึงได้คุมเชิงกันเรื่อยมา วันหนึ่ง มีชายฉกรรจ์คนหนึ่งเดินผ่านมาที่บ้านไร่ และได้เข้าไปหาอะไรดื่มที่ในร้ายอาหรของน้ำผึ้ง (บุศรา นฤมิตร) หญิงสาวเจ้าของร้านที่สวยอย่างยิ่งอีกคนหนึ่ง ชายคนนั้นชื่อว่า สมัย บ้านดอน (ประจวบ ฤกษ์ยามดี) ได้เกิดเรื่องกับ เดช ไช และทองก้อนสมุนเอกง 3 นายของโมกขศักดิ์ ในร้านของน้ำผึ้ง เพราะน้ำผึ้งเป็นต้นเหตุ ในตอนแรกสมัยใช้ขวานขว้างขู่ให้นักเลงสามคนนั้นกลัว แต่พอเผลอก็ถูกรุมจากนักเลงสามคนนั้น บังเอิญสมิง บ้านไร่ มาพบเข้า และได้ช่วยเหลือสมัยไว้ทันท่งทีก่อนที่จะถูกรุมถึงตายสมัย - นักพนเจรก็ตกลงใจอยู่ที่บ้านไร่กับสมิงเพื่อช่วยสมิงทำสงครามล้างอิทธิพลโมกขศักดิ์ต่อไป ระหว่างที่พักอยู่กับสมิงที่บ้านไร่นั้น สมัยไออกเดินทางไดบริเวณไร่อันกว่างขวางของสมิงและที่ชายไร่ เขาได้พบกับหญิงงามอีกคนหนึ่งชื่อว่า ทองกร (อัมพิกา ดาราวรรณ) ขณะที่เธอกำลังเปลือยกายว่ายน้ำเล่นอยู่ในลำธารพอดี สมัยได้พยายาถามชื่อจนได้ความ และทั้งสองก็รู้สึกขอบพอกันตั้งแต่นั้นมา ต่อมาอีกวันหนึ่งสมัยได้ไปดื่มเหล้าอยู่ที่ร้านของน้ำผึ้ง นกเขียว ลูกสาวของโมกขศักดิ์ได้มาหาน้ำผึ้งซื้อแป้งสักอับหนึ่ง และได้มาพบสมัยที่กำลังเมาอย่างหนัก สมัยึงได้เอ่ยปากกับเขียวด้วยถ้อยคำที่สนุกสนานต่าง ๆ นา ๆ นกเขียวโกรธ จึงรีบกลับเข้าบ้าน นกเขียวพบแม่วอน (วิไลวรรณ วัฒนพานิช) แม่บ้านและอยู่ในฐานะที่เป็นภรรยาและฐานะ มารดาเลี้ยง ของนกเขียว เธออาละวาดแม่วอนเสียจนร้องไห้ แม่วอนก็ไม่เคยว่าอะไร เพราะเธอรักนกเขียวเหมือนลูกในไส้ของเธอ โมกขศักดิ์ทราบเรื่อง จึงบอกให้เดชไช และทองก้อนออกไปเล่นงานคนที่ก้าวร้าวกับนกเขียว แต่เมื่อไปถึงสมัยได้กลับไปไร่แล้ว มีแต่ชายแปลกหน้าคนหนึ่งนั่งอยู่ เขามีชื่อว่า สมาน บ้านนา (อดุลย์ ดุลยรัตน์) มีฝีมือในทางยิ่งปืนอย่างมาก ทั้งสองปะทะกันเพราะความเข้าใจผิด สมัยกลับมาที่ร้านเห็นก็เข้าช่วยสมาน ทั้งสองสาบานเป็นเพื่อนกัน นกเขียวนั้นรักสมิงอย่างจับใจ หากแต่ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามรรถบอกความในใจแก่กันได้ เพราะความขัดแย้งระหว่างโมกขศักดิ์กับสมิง มันมีมากเกินกว่าจะประณีประณอมได้ นกเขียวพยายามเป็นสือกลางแต่ไม่สำเร็จ สมิงได้พรรคพวกมาสมทบมากขึ้น นกเขียวแอบไปพบสมิง โมกขศักดิ์โกรธมากสั่งให้ลูกน้องพานกเขียวไปกักขังไว้ที่บ้านพักในป่า โดยมีแม่วอนไปคอยดูแล สมิงกลุ้มใจที่นกเขียวถูกนำตัวไปกักขัง ทำให้สมิงประกาศจะล้างอิทธิพลของโมกขศักดิ์ แล้วสมิงก็ได้เจอกับสมร บ้านด่าน (ฤทธิ์ นฤบาล) นักมวยพเนจร สมิงได้เพื่อนร่วมล้างอิทธิพลโมกขศักดิ์ 3 คน มี สมัย บ้านดอน สมร บ้านด่าน สมาน บ้านนาและเขาสมิง บ้านไร่ ศึกการล้างอิทธิพลจึงเริ่มขึ้น สุดท้ายโมกขศักดิ์ก็ถูกล้มอำนาจลงได้ โมกขศักดิ์ได้ชดใช้กรรมที่ตนเองกระทำ นกเขียวกลับมาอยู่ในอ้อมกอดของสมิง บ้านไร่ อย่างเต็มใจ
แม่ยอดสร้อย (2505)

แม่ยอดสร้อย (2505/1962) มิตร-ปริศนา พรหมสุรางค์ ข้อความบนรูปโฆษณา หนุ่มกร้าว...สาวแก่น...จำให้แม่น...แม่ยอดสร้อย ชมลีลาชีวิตของ ยอดสร้อย เด็กสาววัยรุ่นที่แสนสวย แสนซน และแสนแก่น... แต่ถูกมรสุมชีวิตพัดเข้าไป อยู่ในอุ้งมือของแม่เลี้ยงใจโหด และน้องสาวต่างมารดาใจอำมหิต บูรพาศิลป์ภาพยนตร์ ภูมิใจสร้างเสนอ ด้วยใช้เวลาถ่ายทำอย่างปราณีตบรรจงถึง 1 ปีเต็ม.. แม่ยอดสร้อย จากบทประพันธ์สุดรักของ สันต์ เทวรักษ์ ซึ่งได้รับความนิยมสูงสุดใน เดลิเมล์วันจันทร์ สีวิจิตร สะคราญตา โดยฝีมือ ประเทือง ศรีสุพรรณ (ตากล้องหญิงคนแรกของเมืองไทย) มิตร ชัยบัญชา แสดงเป็น ม.ร.ว.ไวพจน์ ชายใจพระของ ยอดสร้อย สมควร กระจ่างศาสตร์ แสดงเป็น ร.ต.ท.ชิตหลี สหายคู่ใจของม.ร.ว.ไวพจน์ ปริศนา พรหมสุรางค์ แสดงเป็น ยอดสร้อย เด็กสาวคนซื่อที่ต้องได้รับความดีตอบสนอง ชไมพร สุรินทร แสดงเป็น นิรมล เด็กสาววัยคะนองที่ลืมตนลืมกาย สุดเฉลียว เกตุผล แสดงเป็น น้องสาวคนซื่อของ ยอดสร้อย พร้อมด้วย มนัส บุณยเกียรติ ยุงร้ายกว่าเสือ แต่แม่เลี้ยงร้ายกว่ายุง สิงห์ มิลินทราศรัย แมลงสาบสังคม ที่คอยแทะผู้หญิงสาว สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช ดาวร้ายอำมหิต ผู้คะนองฤทธิ์โลกีย์ และ ล้อต๊อกน้อย เจ้าแกละจอมทะโทนไพร รัตนะยาวะประภาษ กวีร้อยแก้วของบรรณพิภพ สร้างบทภาพยนตร์ สำเภาประสงค์ผล ผู้สร้างผลงานมแล้ว 31 ปี อำนวยการสร้าง วิชัย ปาลวัฒนวิไชย ผู้กำกับการแสดงตุ๊กตาทอง กำกับการแสดง 

 
ยอดพยศ (2503)
นักรักนักสู้ (2501)
นักรักนักสู้ (2501/1958) ลือชัย-ประจวบ-สุรวดี ข้อความบนใบปิด เสือสองตัวจะอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้! แต่...บูรพาศิลป์ภาพยนตร์ ได้ค้านคำกล่าวนั้นแล้ว โดยนำ... ลือชัย นฤนาท พระเอกลักยิ้ม พบ ประจวบ ฤกษ์ยามดี ผู้ร้ายผู้ดี นักรักนักสู้ พรั่งพร้อมด้วย ราชันย์ กาญจนมาศ, ชด ชัชวาลย์, เลอสรรค์ วิรยะศิริ, สมถวิล มุกดาประกร, โชติ พุกกะพันธุ์, ต่อชัย ภู่ชมพู, แดน ดำรงศักดิ์, ปกรณ์ เกษตรชนม์, ดอกดิน กัญญามาลย์, ชูศรี โรจนประดิษฐ์ และขอเสนอ 4 นางเอกสาววัยรุ่น พรพิไล สุขะศิริวัฒน์, คัชรินทร์ นิรมล, ชนินทร เพชรบุญศรี, สุรวดี เบอร์เดน ประเทือง ศรีสุพรรณ-ปรีชา ทรัพย์พระวงศ์ ถ่ายภาพ ถาวร สุวรรณ สร้างบท วิชัย ปาลวัฒน์วิไชย กำกับการแสดง ฉายแน่นอนที่โรงหนังเอ็มไพร์ ปลายเดือนกันยายนนี้ เสน่ห์ โกมารชุน กับ จุรี โอศิริ พากย์ (ที่มา :Thai Movie Posters)
ยอดพิศวาส (2500)
ยอดพิศวาส (2500/1957) ยอดพิศวาส เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 สร้างโดย บูรพาศิลป์ภาพยนตร์ โดยมี สำเภา ประสงค์ผล เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดย วิชัย ปาลวัฒน์วิไชย ถ่ายภาพโดย ประเทือง ศรีสุพรรณ และให้เสียงพากย์โดย ม.ล. รุจิรา อิศรางกูร - มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา - ศรีนวล
คำอธิษฐานของดวงดาว (2499)
คำอธิษฐานของดวงดาว (2499/1956) จากนวนิยายชีวิตเรื่องยิ่งใหญ่ของ "ดวงดาว" มาเป็นภาพยนตร์ชีวิตของสาวแสนสวยคนหนึ่ง ดู...ความรัก ความริษยาอาฆาตระหว่าง 4 สาว กับสาวหนึ่งคือ ดวงดวงผู้บริสุทธิ์ ในงานเลี้ยงปีใหม่ ณ คฤหาสน์ของคหบดีบริพันธ์ ดวงดาว หลีกหนีความวุ่นวายในงานเลี้ยงมาเดินเล่นที่ชายทะเล และหวนนึกถึงวันปีใหม่เมื่อห้าปีก่อนซึ่งเธอเคยมีความสุข แต่ทุกสิ่งต้องพังทลายเมื่อพ่อของดวงดาวล้มละลาย ดวงดาวจึงต้องมาอาศัยอยู่กับคหบดีบริพันธ์ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ แม้ต้องทนถูกดูหมิ่นเหยียดหยามจากบรรดาหลานๆ ของ คุณใหญ่ อาของดวงดาวซึ่งอาศัยในบ้านเดียวกัน ดวงดาวได้แต่อธิษฐานกับดวงดาวขอให้เธอพ้นจากความทุกข์โดยเร็ว ทันใดนั้นเอง มีชายคนหนึ่งวิ่งตรงมาขอร้องให้ดวงดาวช่วยหาที่หลบซ่อนตำรวจ ด้วยความมีเมตตาดวงดาวจึงให้ที่หลบซ่อนแก่โจรผู้นั้น โดยไม่ทันได้ถามชื่อ วันถัดมาดวงดาวได้ยินเสียงบรรดาหลานสาวของคุณใหญ่พูดถึง ม.จ. จิรพันธ์ ซึ่งกำลังเป็นที่หมายปองของบรรดาสาวๆ และต่างแต่งตัวแข่งขันกันเพื่อไปร่วมงานเลี้ยงส่งท่านชายกลับกรุงเทพ ดวงดาวจึงปลีกตัวไปเดินเล่นที่ชายหาดกับ สีนิล สุนัขคู่ใจอย่างเงียบๆ แต่แล้วดวงดาวก็ได้เจอกับโจรที่เธอช่วยหาที่หลบซ่อนให้ในคืนวันปีใหม่ ชายหนุ่มสารภาพว่ามาดักรอดวงดาวเพราะตั้งใจจะไปประกอบอาชีพสุจริต ดวงดาวจึงให้สมบัติชิ้นสุดท้ายของเธอเป็นเงินทุนแก่ชายหนุ่ม หลังจากนั้นไม่นาน รุ่ง อาของดวงดาวมารับตัวดวงดาวไปอยู่ที่กรุงเทพ และพาดวงดาวไปงานเลี้ยงวันเกิดของ ม.จ. จิรพันธ์ ดวงดาวจำได้ว่าบรรดาหลานสาวของคุณใหญ่ต่างใฝ่ฝันถึง ม.จ. จิรพันธ์ แต่ด้วยความเกรงใจอารุ่งจึงยอมไปร่วมงาน และต้องตะลึงเพราะ ม.จ. จิรพันธ์ ก็คือนายโจรที่เธอช่วยไว้ในคืนวันปีใหม่นั่นเอง
สุดที่รัก (2498)
สุดที่รัก (2498/1955) ธาดา ไกรวงศ์ นักธุรกิจหนุ่มเนื้อหอมเป็นที่หมายปองของหญิงสาว ในงานรื่นเริงงานหนึ่ง เขาได้พบกับ เรณู สาวสวยและตกหลุมรักทันที แต่แล้วจู่ๆ ธุรกิจของธาดาที่กำลังเจริญรุ่งเรืองก็ประสบความล้มเหลวทำให้ธาดาสิ้นเนื้อประดาตัว เขาตรงไปที่บ้านเรณูเพื่อจะสารภาพว่าตนกลายเป็นบุคคลล้มละลาย แต่กลับพบเรณูอยู่กับ กำพล หนุ่มเศรษฐีนักเรียนนอก ด้วยความชอกช้ำ ธาดาหนีจากกรุงเทพมุ่งหน้าไปจังหวัดแพร่ เปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น ทม และขอทำงานกับ คุณพระนิติไพศาล เป็นคนงานคุมเกวียนไปซื้อยาสูบในจังหวัดต่างๆ ทมและดวงใจ ลูกสาวของคุณพระมีโอกาสได้ใกล้ชิดกันจนเกิดเป็นความรัก แต่แล้ววันหนึ่งมีโทรเลขจากหลานสาวของคุณพระแจ้งว่าจะมาพักที่จังหวัดแพร่คุณพระจึงสั่งให้ทมและต่อม คนงานไปรับหลานสาวที่สถานีรถไฟ เมื่อรถไฟเทียบชานชลาปรากฏว่าหลานสาวของคุณพระก็คือ เรณู คนรักเก่าของทมซึ่งบัดนี้ถูกกำพลสลัดรักจนสิ้น ทมจึงหนีอีกครั้งพร้อมกับต่อมไปยังเมืองสองและได้พบกับ คำล่า สาวชาวบ้านซึ่งหลงรักทมตั้งแต่ครั้งที่ทมมาตระเวนหาซื้อใบยาสูบที่เมืองสอง แต่ทมนั้นเอ็นดูคำล่าเหมือนน้องสาว ทมครุ่นคิดถึงความดีของดวงใจ จึงตัดสินใจที่จะกลับแพร่เพื่อปรับความเข้าใจกับเรณูและดวงใจ คำล่าแอบตามกองเกวียนของทม พ่อของคำล่าโกรธมากจึงตามกองเกวียนของทม หวังจะฆ่าทมและคำล่าเสีย เคราะห์ดีที่คุณพระนิติไพศาล เรณู และดวงใจกำลังเดินทางมาพบทมเช่นเดียวกันจึงเข้าห้ามปรามได้ทันท่วงที

หน้าที่