ค่าน้ำนม (2524)

ค่าน้ำนม (2524/1981) ขุนทอง กับ สาริกา เป็นลูกชายสุดรักของแม่บัวผัน ชาวนายากจนผู้เลี้ยงลูกด้วยตัวเอง แต่เล็กจนเติบใหญ่พี่น้องคู่นี้ทะเลาะกันเป็นปรกติ กระทั่งสาลิกาไปชอบพอกับ มาลัย สาวงามประจำหมู่บ้านและเกิดมีเรื่องกับ ก้าน นักเลงประจำถิ่นในงานวัด ฝ่ายก้านยกพวกตามมาล้างแค้นถึงบ้านในภายหลัง แต่กลับไม่พบสาริกา เคราะห์กรรมจึงตกกับแม่บัวผันที่ถูกยิงขาสาหัส ทำให้ขุนทองแค้นสาริกาที่ไม่อยู่ดูแลแม่และตัดสินใจตามล่าพวกของก้านด้วยตนเอง แม่บัวผัน (พิศมัย วิไลศักดิ์) ชาวนาผู้ยากจนมีลูกชายอยู่สองคนคือ ขุนทอง (สรพงษ์ ชาตรี) กับสาริกา (พอเจตน์ แก่นเพชร) ด้วยความที่รักลูกมากจึงค่อนข้างตามใจลูกทำให้ลูกของเธอค่อนข้างซน เมื่อโตขึ้นมาก็ยังชอบต่อยตีกันเป็นเรื่องธรรมดาของพี่น้อง ซึ่งมีกระถิน (วิยะดา อุมารินทร์) มาชอบพอกับขุนทองโดยมี ลำดวน (เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์) เป็นน้องสาว ทั้งคู่เป็นลูกสาวกำนัน ในขณะที่ สาริกาก็ชอบพออยู่กับมาลัย (ยอดสร้อย โกมารชุน) เหมือนกัน แล้วเรื่องวุ่นๆก็เกิดขึ้นเมื่อ สาริกาเกิดไปมีเรื่องกับก้านที่งานรำวง พวกของก้านจึงยกพวกกลับมาล้างแค้น ประกอบกับสาริกาออกไปหามาลัยอยู่กลับมาไม่ทัน แม่บัวผันถูกก้านยิงที่ขา ทำให้ขุนทองโกรธที่สาริกาไม่ดูแลแม่ ด้วยความโกรธทำให้ขุนทองเลือดขึ้นหน้าออกไปลุยกับก้านโดยที่ลืมไปว่าตัวเองกำลังจะบวช เเละก็ได้ฆ่าก้านจนถึงขั้นเสียชีวิต ขุนทองจึงจำใจต้องหนีไปเป็นโจรขุนทอง สร้างความช้ำใจให้กับผู้เป็นแม่อย่างสุดสาหัส

ซูเปอร์เก๋าส์ (2524)
ซูเปอร์เก๋าส์ (2524/1981) ข้อความบนใบปิด ซูเปอร์เก๋าส์ มาดซูเปอร์เก๋าส์ เขย่าระเบิด เกิดซูเปอร์ฮา! เพชร ดาราฉาย อาภาพร กรทิพย์ จุ๋มจิ๋ม เข็มเล็ก เทพ เทียนชัย ดาราสมทบ สมศักดิ์ ชัยสงคราม, พิศ อินคล้าย, หนุมาน, ธัญญา ธัญญารักษ์, พิภพ ภู่ภิญโญ, บุญส่ง เคหะทัต, โป๋ เป่าปี่ แป๊ะ หน้าเป็น สร้างบทภาพยนตร์ สราวุฒิ วุฒิชัย ถ่ายภาพ สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ อำนวยการสร้าง สมพงษ์ ตรีบุปผา กำกับการแสดง สหมงคลฟิล์ม จัดจำหน่าย
ไปรษณีย์สุดหล่อ (2524)
ไปรษณีย์สุดหล่อ (2524/1981) ข้อความบนใบปิด ห่อ “เสียงฮา” มาเต็มย่าม ให้ท่าน “หัวเราะ” กันกรามคลอน เทพ เทียนชัย ทุ่มหัวใจสร้างเองนะเนี่ย ดูครั้งเดียว เป็นสุขตลอดไป ต้อง ไปรษณีย์สุดหล่อ เทพ เทียนชัย สุพรรษา เนื่องภิรมย์ ภูมิ พัฒนายุทธ, เกชา เปลี่ยนวิถี, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, สีหมึก, สีละอ่อน, ศวรรณี พัฒนะ, ไฉไล ไชยทา นิยม ศรีสุวรรณ ถ่ายภาพ วีระเดช ทรงชัยกุล อุปการะ จรัญ พรหมรังสี กำกับ-สร้างบท สหมงคลฟิล์ม จัดจำหน่าย
ผู้ใหญ่อ้วน กำนันผอม (2524)

ผู้ใหญ่อ้วน กำนันผอม (2524/1981) ข้อความบนใบปิด สหมงคลฟิล์ม ภูมิใจเสนอ ผลงานอันดับ 7 ของ MC PRODUCTION ตลกเศรษฐกิจ ให้ชีวิตโชติช่วง ผู้ใหญ่อ้วน กำนันผอม ศุภักษร สร้าง-บท-กำกับการแสดง นันทิดา แก้วบัวสาย จุ๋มจิ๋ม เข็มเล็ก ธานี ศรีสว่าง เทพ โพธิ์งาม, เพชร ดาราฉาย, ยอดธง เทียนไท, ขวัญ สุวรรณะ, บุญส่ง ดวงดารา, เด๋อ-ดู๋-ดี๋-ดอน และ ศริญญา บุญยง สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ-ศุภวัฒน์ จงศิริ อำนวยการสร้าง ธีระศักดิ์ เกียรติดุริยกุล ถ่ายภาพ สหมงคลฟิล์ม จัดจำหน่าย

 
แสนรัก (2524)
แสนรัก (2524/1981) ข้อความบนใบปิด สหมงคลฟิล์ม เสนอ ความรักมักอยากเป็นเจ้าของ ซึ่งก็มีทั้งยิ้มและร้องไห้ นั่นยังไม่ใช่รักที่ยิ่งใหญ่ ความรักที่ยิ่งใหญ่ คือความรักที่ปรารถนาดีมีแต่ให้ นี่คือ แสนรัก ของ แก้วฟ้า พยัคฆ์ รามวาทิน พระเอกใหม่จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ อำภา ภูษิต ล้อต๊อก ดวงชีวัน โกมลเสน สมพงษ์ พงษ์มิตร, ชูศรี มีสมมนต์, เสถียร ธรรมเจริญ, ประมินทร์ จารุจารีต, ราชัน, บุญส่ง ดวงดารา และเซ็กส์สตาร์ดวงใหม่ อัคเรศ งามอุบล และดาราเด็กยอดเยี่ยมปี 2523 ด.ช.สานิต พงษ์มิตร อิงอร-รังสี ทัศนพยัคฆ์-น้อย กมลวาทิน สร้างบทภาพยนตร์ ล้อต๊อก เค้าโครงเรื่อง มหศักดิ์ ทัศนพยัคฆ์ ลำดับภาพ ธีระ แอคะรัตน์ ถ่ายภาพ สมศักดิ์ (เสี่ยเจียง) เตชะรัตนประเสริฐ อำนวยการสร้าง น้อย กมลวาทิน กำกับการแสดง
สันกำแพง (2523)
เรื่องย่อ : สันกำแพง (2523/1980) กานท์ การุณย์ (สรพงษ์ ชาตรี) นักศึกษาหนุ่มจากกรุงเทพฯไปเรียนที่เชียงใหม่ ได้ตกหลุมรักสายไหม (นันทิดา แก้วบัวสาย) ทันทีที่ได้เห็นในงานวันสงกรานต์ จึงให้ตะวัน (มนตรี เจนอักษร) เพื่อนรักร่วมสถาบันช่วยค้นหาจนเจอและให้ช่วยชวนสายไหมไปเที่ยวงานเลี้ยง แต่สายบัวแม่ของสายไหมไม่อนุญาต เพราะจะให้สายไหมเข้าพิธีหมั้นกับชาย (พอเจตน์ แก่นเพชร) โดยที่สายไหมไม่รู้มาก่อนหญิงสาวปฏิเสธเพราะไม่ได้รักชาย แม่สายบัวเลยเข้าใจผิดว่าสายไหมชอบอยู่กับตะวัน ตะวันรับปากช่วยกานท์เรื่องสายไหม โดยมีข้อแม้ว่ากานท์ต้องบอกความในใจของ ตะวันที่หลงรักเคลีย (ธิติมา สังขพิทักษ์) แต่เคลียหลงรักกานท์ เมื่อผิดหวังจากกานท์ทำให้เคลียเสียใจวิ่งร้องไห้ โดยมีตะวันวิ่งตามไป ระหว่างทางฝนตกทั้งคู่ไปหลบที่กระท่อมทำให้เคลียตกเป็นของตะวัน เมื่อเรียนจบก่อนกลับกรุงเทพฯ สายไหมได้ตกเป็นของกานท์ กานท์รีบกลับกรุงเทพฯเพื่อให้พ่อแม่ไปสู่ขอสายไหม เคลียซึ่งตั้งท้องกับตะวันแต่ในใจยังรักกานท์อยู่หนีออกจากบ้านตามกานท์ไปกรุงเทพฯ โดยอ้างว่าพ่อเลี้ยงจะข่มขืน แต่ที่จริงจะหนีการแต่งงานกับตะวัน พอได้ข่าวว่าเคลียหนีตามกานท์ไป ตะวันก็มาคาดคั้นกับสายไหม เธอจึงเขียนจดหมายถึงกานท์ เขาจึงเดินทางมาเชียงใหม่ ส่วนเคลียวางอุบายขอให้กานท์ปิดเรื่องเธอเป็นความลับ อ้างว่ากลัวพ่อเลี้ยงจะตามมา กานท์จึงจำใจโกหกเพื่อนและคนรัก ขณะที่แม่ของกานท์คิดว่าเขาเป็นพ่อของเด็กในท้องเคลียเลยบังคับให้รับผิดชอบ เมื่อสายไหมมาหากานท์ พบเคลียต้อนรับในฐานะภรรยาและสภาพท้องโต สายไหมใจสลายกลับบ้านและรู้ว่าตัวเองท้อง แม่ที่ป่วยก็เสียชีวิตแล้ว สายไหมจึงคิดฆ่าตัวตาย แต่ตะวันมาช่วยทันและรับปากจะดูแลเธอและลูก ตะวันกับสายไหมแต่งงานกันในนามเพื่อรักษาศักดิ์ศรีให้สายไหมและเพื่อให้ลูกของสายไหมมีพ่อ ตะวันประกาศตัดขาดความเป็นเพื่อนกับกานท์ ส่วนกานท์เมื่อรู้เรื่องรีบไปหาสายไหม แต่ไม่พบก็คิดว่าเธอฆ่าตัวตายไป กานท์จึงโทษเคลีย หญิงสาวช้ำใจพอคลอดลูกเลยทิ้งลูกพร้อมจดหมายลาตาย แต่ชาย มาพบและช่วยเอาไว้ได้ ต่อมาชายและเคลียก็ได้แต่งงานกัน เรื่องราวของรุ่นพ่อสืบเนื่องมาถึงรุ่นลูก เมื่อสุริยน (ปิยะ ตระกูลราษฎร์) ลูกของตะวันกับเคลียซึ่งกานท์เลี้ยงดูและสุริยนก็คิดว่ากานท์เป็นพ่อ มาทำงานที่เชียงใหม่และทำงานปราบปรามทุจริต ได้รู้จักพ่อเลี้ยงเรืองฤทธิ์ที่ใส่ร้ายว่าตะวันค้าไม้เถื่อน เพื่อฮุบกิจการของตะวัน ทำให้ สุริยน กับ ตะวัน มีเรื่องบาดหมางกันหลายครั้ง แต่สุริยนกลับมีใจรักสายน้ำผึ้ง (พรพรรณ เกษมมัสสุ) ลูกสาวของสายไหมซึ่งอยู่ในฐานะลูกสาวของตะวัน เมื่อตะวันและสายไหมรู้ว่าสุริยนเป็นลูกของกานท์และรักอยู่กับสายน้ำผึ้ง ก็กีดกันทั้งคู่เนื่องจากคิดว่าสุริยนเป็นลูกของกานท์ก็จะเป็นพี่ของสายน้ำผึ้ง จึงบังคับสายน้ำผึ้งให้หมั้นกับเรืองฤทธิ์ ขณะที่กานท์รู้เรื่องสุริยนมีปัญหาขัดแย้งกับตะวันจึงเดินทางไปเชียงใหม่ระหว่างทางได้พบกับเคลียและชาย ทั้งหมดจึงเดินทางไปด้วยกัน พร้อมกับการเปิดเผยความลับต่างๆ ที่เก็บงำมานานกว่ายี่สิบปี
เทพเจ้าบ้านบางปูน (2523)
เทพเจ้าบ้านบางปูน (2523/1980) ข้อความบนใบปิด ภาพยนตร์ที่บรรจงสร้างอย่างให้เกียรติผู้ชมมากที่สุด เทพเจ้าบ้านบางปูน ความหวังสุดท้ายของเราคือเจ้าพ่อ...? อมตะรักของหนุ่มสาวชาวไร่ เมื่อถึงคราวที่จำต้องฝ่าข้ามไป เลือดเนื้อน้ำตาและความรันทด ความสูญสิ้นของข้าคือ..ราคาความจริงของเจ้า ปิยะ ตระกูลราษฎร์ วัลภา วรรณพร สิงห์ มิลินทราศัย, สุพรรณ บูรณพิมพ์, ต้น โตมร, สยุมภู ทศพล ฟังเพลงไพเราะจาก ชินกร ไกรลาศ, ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, ศรชัย เมฆวิเชียร สราวุฒิ วุฒิชัย ถ่ายภาพและกำกับแสง กลุ่มดราม่าโปรดักซ์ บทภาพยนตร์ ธีรนิติ์ ธำรงวินิจฉัย-วิสูตร เขมาชีวะ-วิวัฒนา เทพรักษา ผู้ช่วยผู้กำกับการแสดง สมนึก เลี่ยวชวลิต กำกับบท ม.ล.วราภา เกษมศรี ลำดับภาพ ชัยรัตน์ พงษ์บุญฤทธิ์ กำกับศิลปกรรม จุฑารัตน์ โมระกรานต์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย ฉลอง ภู่สว่าง ประพันธ์เพลง เสกสรร สอนอิ่มศาสตร์ ดนตรีประกอบ สมัคร วงศาโรจน์ เรียบเรียงเสียงประสาน มานพ เจนจรัสสกุล บันทึกเสียง สมศักดิ์ จิ๋วสุวรรณ ประสานงาน เชอรี่ ปุณกะบุตร ผู้ช่วยดำเนินงาน พัมน์พงศ์ เชยอรุณ ดำเนินงาน สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ อำนวยการสร้าง สหมงคลฟิล์ม จัดจำหน่าย
อีพริ้ง คนเริงเมือง (2523)
เรื่องย่อ : อีพริ้ง คนเริงเมือง (2523/1980) ภาพยนตร์ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ สุวรรณี สุคนธา เล่าเรื่องราวของ พริ้ง สาวสวยซึ่งพ่อแม่ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่เธอยังเด็ก และต้องอาศัยอยู่กับพี่สาวคนโต ซึ่งคอยดุด่าและเฆี่ยนตีเธออยู่เป็นประจำ กระทั่ง คุณประเทียบ ผู้มีศักดิ์เป็นภรรยาของญาติห่างๆ ได้นำเธอมาเลี้ยงดูและอบรมให้เป็นกุลสตรี แต่เธอกลับหมกมุ่นไขว่คว้าหาความรัก จนมีผู้ชายมากมายผ่านเข้ามาในชีวิต ท่ามกลางความผันผวนของบ้านเมืองในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
นายฮ้อยทมิฬ (2523)

เรื่องย่อ : นายฮ้อยทมิฬ (2523/1980) ภาพยนตร์ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ เรื่องจริงของแผ่นดินอีสาน ด้วยทุนสร้าง 4.7 ล้านบาทไทย เพื่อให้ได้ที่มาของคำว่า... "ไผอยากทุกข์ให้ไปไล่ควาย" เขา...นายฮ้อยผู้มั่นคงจนลืมตาย ที่..สำคัญมั่นหมายคือต้อนควาย ใช้สถานที่จริงและเตรียมงานกว่า 2 ปีครึ่ง ใช้เวลาในการสร้างเกือบ 2 ปี ใช้ฝูงควายเข้าฉากกว่า 1,000 ตัว

นายฮ้อยเคน ตัดสินใจพักการเดินทางนำควายไปขายในเมือง เพื่อตามควายที่ถูกขโมยกลับมา โดยได้รับการช่วยเหลือจากแสงโสมลูกพ่อใหญ่แห่งหมู่บ้าน แต่เมื่อควายที่หายไปนั้นตกอยู่ในมือของ คำแสน นักเลงใหญ่ซึ่งหลงรักแสงโสม และไม่พอใจที่เธอไปอยู่ฝ่ายเดียวกับนายฮ้อ การต่อสู้ระหว่างสองฝ่ายจึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ไอ้ขุนเพลง (2523)
ไอ้ขุนเพลง (2523/1980) ข้อความบนใบปิด เมตตาโปรดักชั่น โดย เมตตา เต็มชำนาญ เสนอ... “ชีวิตรักของนักร้องลูกทุ่งเสียงทอง” นำโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร พระเอกราชาลูกทุ่ง พิศมัย วิไลศักดิ์ ราชินีจอเงินผู้ยิ่งยง ขอแนะนำนางเอกใหม่ นิดา สุขสันต์ ดาราเกียรติยศ กรุง ศรีวิไล ไอ้ขุนเพลง ไพฑูรย์ รตานนท์ กำกับการแสดง พบ ชินกร ไกรลาศ, ดวงชีวัน โกมลเสน, อุเทน บุญยงค์, ส.อาสนจินดา, ดามพ์ ดัสกร, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, เกชา เปลี่ยนวิถี, สมศักดิ์ ชัยสงคราม, อนันต์ สัมมาทรัพย์, สมจิตร ทรัพย์สำรวย, มาลี เวชประเสริฐ, ล้อต๊อก, ชูศรี มีสมมนต์, สีเทา, พิภพ ภู่ภิญโญ ดาวยั่วดวงใหม่ นิตยา ธนะศรีลังกูร เมตตา เต็มชำนาญ อำนวยการสร้าง เริงชัย จารุพัฒนเดช ประธานอำนวยการสร้าง ส.อาสนจินดา-เสกสรรค์ บรรจงศิริ บทภาพยนตร์ สุรพล สมบัติเจริญ-ชลที ธารทอง-ชาญชัย บัวบังศร ประพันธ์เพลง ชนะ บุนนาค ถ่ายภาพ รื่นเริงบันเทิงชีวิตด้วยแป้งหอมเปาโล สนับสนุนโดย ห้างบูรพาคอสเมติคส์ สหมงคลฟิล์ม จัดจำหน่าย
เป๋อจอมเปิ่น (2523)
เป๋อจอมเปิ่น (2523/1980) ข้อความบนใบปิด สหมงคลฟิล์ม เสนอผลงานของเศรษฐีอารมณ์ขัน สมพงษ์ ตรีบุบผา เป๋อจอมเปิ่น ของ...คมศร โกศลวิจิตร เทพ เทียนชัย รอง เค้ามูลคดี บ้วน สะบัดช่อ ปะทะ สุพรรษา เนื่องภิรมย์ สีดา พัวพิมล, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ชูศรี มีสมมนต์, จันตรี สาริกบุตร, เทพ โพธิ์งาม, จุ๋มจิ๋ม เข็มเล็ก, สีเทา, ธัญญา ธัญญารักษ์, สมศักดิ์ ชัยสงคราม, ซ้ง, พิศ คมศร โกศลวิจิตร/บัณฑิต ฤทธิ์ถกล สร้างบทภาพยนตร์ สราวุฒิ วุฒิชัย ถ่ายภาพ สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ อำนวยการสร้าง สมพงษ์ ตรีบุบผา กำกับการแสดง
อุกาฟ้าเหลือง (2523)

เรื่องย่อ : อุกาฟ้าเหลือง (2523/1980) เรื่องราวของ เฒ่าหลัก ชาวประมงผู้เชี่ยวชาญในทุกซอกทุกมุมของทะเล และใช้วิธีวางรอกดักปลาที่ตกทอดกันมานานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ แต่วิถีแบบดั้งเดิมของเฒ่าหลักกำลังจะถูกคุกคามโดยการใช้อวนลากและการระเบิดปลา ซึ่งทำความเสียหายให้แก่ท้องทะเลอย่างใหญ่หลวง ซ้ำยังมีผู้หนุนหลังคือ กำนันเลีเยง ผู้มีอิทธิพลแก่ผู้คนในหมู่บ้าน เรื่องราวของปัญหาการทำลายทรัพยากรใต้ทะเลของคนบางกลุ่มที่เห็นแก่ได้ โดยเล่าเรื่องผ่านชีวิตของ เฒ่าหลักที่ดำรงชีวิตโดยการจับปลาด้วยอุปกรณ์พื้นบ้านและต่อต้านการระเบิดปลา จนเกิดความขัดแย้งกับผู้มีอิทธิพลลุกลามไปจนถึงการต่อสู้กลางทะเลในขณะที่เกิดอุกาฟ้าเหลือง เรื่องราวการต่อสู้ของชีวิตชาวประมงแห่งคุ้งตะเคียน เฒ่าหลัก (ส.อาสนจินดา) ชาวประมงผู้ยึดหลักถ้อยทีถ้อยอาศัยกับท้องทะเลมาโดยตลอด ถูกคุกคามจากการใช้อวนลากและการระเบิดปลาของกลุ่มมีอิทธิพลอย่างกำนันเลี้ยงและไต๋ชอบ เฒ่าหลักพยายามสั่งสอนให้ชำ (ยมนา ชาตรี) และดอกไม้ (อรวรรณ เชื้อทอง) หลานสาวเรียนรู้วิธีหาปลาแบบโบราณ แต่แล้วชำกลับหักหลัง ไปรับจ้างลากอวนเพื่อจะได้เงินเยอะๆมาเลี้ยงบุญตา สาวสวยแสนทะเยอทะยานที่ชำหลงรัก ในที่สุดชำก็รู้ว่าเขาคิดผิด ในระหว่างเดินทางกลับไปหาเฒ่าหลักเพื่อสืบทอดงานประมงแบบดั้งเดิม ชำหารู้ไม่ว่ากำลังมีใครบางคนหยิบยื่นความตายให้เขา!

ไอ้จู๋ (2523)
ไอ้จู๋ (2523/1980) ข้อความบนใบปิด MC PRODUCTION เสนอผลงานชิ้นที่ 5 ไอ้จู๋ ศุภักษร เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ (เจี๊ยบ) อภิศักดิ์ เจตสมมา (เจี๊ยว) ปาริจฉัตต์ นนทรี (จุ๊) ธานี ศรีสว่าง (จู๋) นิยม ศรีสุวรรณ ถ่ายภาพ “ศุภักษร” กำกับการแสดง-อำนวยการสร้าง สหมงคลฟิล์ม จัดจำหน่าย
ไอ้ถึกทหารโข่ง (2523)
ไอ้ถึกทหารโข่ง (2523/1980) ข้อความบนใบปิด สหมงคลฟิล์ม เสนอ เอาภาคแรกมา 2 เท่า! ยัง “ฮา” ไม่เท่าภาคนี้ ไอ้ถึกทหารโข่ง สมบัติ เมทะนี นันทิดา แก้วบัวสาย เทพ เทียนชัย สายัณห์ จันทรวิบูลย์ เกชา เปลี่ยนวิถี, ภูมิ พัฒนายุทธ, ลักษณ์ อภิชาติ, สมศักดิ์ ชัยสงคราม, พิภพ ภู่ภิญโญ, ศรายุทธ สาวยิ้ม, จุ๋มจิ๋ม เข็มเล็ก, สีหมึก, สีละอ่อน ขอแนะนำ จิตร ไชยวงศ์ และยอดดาวตลก ล้อต๊อก, ชูศรี มีสมมนต์, สมพงษ์ พงษ์มิตร และ “ไอ้จู๋” ธานี ศรีสว่าง จรัญ พรหมรังสี กำกับการแสดง ต๊ะ ท่าอิฐ บทประพันธ์ นิยม ศรีสุวรรณ ถ่ายภาพ ทวี เดชนำบัญชาชัย อำนวยการสร้าง สหมงคลฟิล์ม จัดจำหน่าย
35 กะรัต (2522)

35 กะรัต (2522/1979) กุสุมา ต้องลำบากใจเมื่อถูกขอยืมเพชร 35 กะรัตเม็ดงามไปแสดงในงานโชว์เครื่องเพชร เพราะเพชรเม็ดนี้มีความหลังที่เธอพยายามจะลืม แต่งานโชว์นี้กลับทำให้ ทนง ลูกชายของเธอได้พบกับ ธิดา สาวสวยผู้มีอายุมากกว่าเขาหลายปี และพยายามหาทางให้เธอรักเขาให้ได้ ขณะเดียวกันเมื่อ เทพ พี่ชายของธิดาล่วงรู้เรื่องราวกุสุมาและเพชร 35 กะรัต เขาก็ได้พยายามสืบหาตัวตนที่แท้จริงของเธอ เพราะสงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับความผิดในอดีตที่เขาปกปิดเอาไว้

คนกลางแดด (2522)
คนกลางแดด (2522/1979) ข้อความบนใบปิด สหมงคลฟิล์ม มั่นใจเสนอภาพยนตร์แห่งคุณภาพของ... คิด สุวรรณศร คนกลางแดด พวกเขาหาเช้ากินค่ำ ด้วยหยาดเหงื่อและแรงงาน ชีวิตของพวกเขาเข้มข้น และะเทือนอารมณ์ เราเรียกพวกเขาว่า...คนกลางแดด โมชั่นอาร์ตฟิล์มโปรดักชั่น สร้าง ขอแนะนำ รณ ฤทธิชัย นพดล ดวงพร เบญจวรรณ บุญญากาศ ด.ญ.ศศิธร พันธุ์รัตน์ มนัส บุณยเกียรติ แม้นมาศ เรืองอนันต์, ต่อลาภ กำพุศิริ, ชินดิศ บุนนาค, สมศักดิ์ ชัยสงคราม, โป๋ เป่าปี่, ขวัญ สุวรรณะ, วิทย์ วรนาท, เดช เดชดำเกิง, ศักดิ์ชัย ปิยะวรรณ และ ผู้หาเช้ากินค่ำ คิด สุวรรณศร กำกับการแสดง ปรัชญ์ สุวรรณศร เพลง พรนิติ วิริยศิริ ถ่ายภาพ สหมงคลฟิล์ม จัดจำหน่าย