เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2526)
เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2526/1983) ข้อความบนใบปิด ภาพยนตร์สหนาวีไทย และ ครีมยูอี เสนอ ส.อาสนจินกา กำกับการแสดง ปานศักดิ์ พราหมณ์พันธุ์ ถ่ายภาพ ภาพยนตร์เกียรติยศจาก สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ เกียรติศักดิ์ทหารเสือ ของ อิงอร เป็นเรื่องราวของชายชาติทหารที่จะเรียกความรันทด ความรัก ความสุขและน้ำตา จากท่านได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง 3 พระเอกดัง ทูน หิรัญทรัพย์ อนุสรณ์ เดชะปัญญา โกวิท วัฒนกุล เบ่งบานประชันบทบาทกัน เพื่อฝากรอยจารึกไว้ให้เป็น..ประวัติชีวิต ขอกราบเสนอนาฏศิลป์สาวนางเอกคนใหม่ สุดารัตน์ เดชากูล พิศมัย วิไลศักดิ์ นำยอดดารามาคารวะแสดง สายสมร, ลินดา ค้าธัญเจริญ, ภูมิ พัฒนายุทธ, ไกร ครรชิต, อนันต์ สัมมาทรัพย์, อดุลย์ ดุลยรัตน์, สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์, สายัณห์ จันทรวิบูลย์, ปรียา รุ่งเรือง, นรา นพนิรันดร์ พร้อมดารามาตรฐานและเหล่าทหารมหาดเล็กอีกมากมาย ร่วมใจฟิล์ม จัดจำหน่าย
เล็บครุฑ 78 (2525)
เรื่องย่อ : เล็บครุฑ78 (2525/1982) สมาคมเล็บครุฑสุดเถื่อนที่ออกข่มขู่รีดไถเงินจากพ่อค้า หากผู้ใดไม่ให้ความร่วมมือก็จะถูกฆ่าและทิ้งสัญลักษณ์เล็บครุฑไว้เป็นหลักฐาน ทำให้ทางการต้องส่งนายตำรวจหนุ่มสวมรอยเข้าไปเป็นสายลับในสมาคมเล็บครุฑ เขาต้องปฏิบัติภารกิจเพื่อหยุดยั้งแผนการครองโลกของพวกทรชน และทำลายสมาคมนี้ลงให้จงได้ เมื่อสมาคมเล็บครุฑออกข่มขู่รีดไถเงินจากพ่อค้า หากผู้ใดไม่ให้ความร่วมมือก็จะถูกฆ่าและทิ้งสัญลักษณ์เล็บครุฑหรือสิ่งเอ็งไว้เป็นหลักฐาน ต่อมาชีพ ชูชัย (กรุง ศรีวิไล) ทรชนเดนคนที่สมาคมเล็บครุฑต้องการตัวมาเป็นพวกถูกฆ่าตาย ทางการจึงรีบส่งคมน์ สุรคุปต์ (กรุง ศรีวิไล) นายตำรวจซึ่งมีหน้าตาเหมือนกับชีพ ชูชัย เข้าไปสวมรอยแทน ชีพเริ่มปฏิบัติการล้วงกระเป๋าโนรี (ทาริกา ธิดาทิตย์) คนของเล็บครุฑและขโมยเอาไมโครฟิล์มลับไป ในขณะที่ ร.ต.อ.กริช กำจร (เผ่าพันธุ์ พงษ์นที) ก็ต้องการไมโครฟิล์มลับเช่นกัน จึงส่งมรกต (พิศมัย วิไลศักดิ์) ซึ่งเป็นน้องสาวไปตีสนิทกับชีพ ในที่สุดชีพกับกริชก็ตกลงร่วมมือกันเพื่อจะทำลายสมาคมเล็บครุฑ โดยชีพไปพบกับปรีดะฮนัม (อรัญญา นามวงษ์) เพื่อหาข่าวเพิ่มเติมและรับชิ้นส่วนของอินทรีกายสิทธิ์ ในขณะที่นายพลจางซูเหลียง (จุมพล กาญจนพันธุ์) หัวหน้าสมาคมเล็บครุฑรู้ข่าวก็ส่งสมุนไปคอยชิงชิ้นส่วนอินทรีกายสิทธิ์จากชีพเพื่อหวังจะนำมายึดครองโลก แต่ชีพก็เอาตัวรอดได้ทุกครั้งและในที่สุดชีพก็สามารถรวบรวมชิ้นส่วนอินทรีกายสิทธิ์ได้จนครบและฆ่านายพลจางซูเหลียงตาย
ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2524)

ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2524/1981) หม่อมราชวงศ์แสงระวี สาวงามที่ชายใดๆ ต่างก็หมายปอง แต่ลึกๆ แล้วฐานะทางบ้านของเธอไม่สู้จะดีนัก แสงระวีจึงหวังจะได้คู่ครองเป็นคนร่ำรวยเพื่อเสริมส่งฐานะทางสังคม กระทั่งเมื่อ โดม ภาสกรณ์ ผู้ที่เธอเคยดูถูกว่ายากจนและไม่ได้หลงใหลในความงามของเธอเช่นคนอื่นได้ก้าวเข้ามา ดอกฟ้าอย่างแสงระวี คิดอยากกำราบโดมผู้จองหองนี้ให้จงได้

เรื่องราวความรักต่างชนชั้นระหว่าง โดม ชายหนุ่มผู้มีนิสัยจองหอง กับ หม่อมราชวงศ์หญิงแสงระวี ทิวากร หญิงสาวที่มีนิสัยทรนง ไม่ว่าทั้งสองจะมีความแตกต่างจากสังคมมากแค่ไหน แต่ในเส้นทางของหัวใจและความรักนั้น เขาและเธอมีทุกอย่างทัดเทียมกัน แม้เธอจะเป็นดอกฟ้า แต่ความรักก็บันดาลให้ดอกฟ้าเช่นเธอโน้มกิ่งมาหาเขาชายหนุ่มที่หยิ่งในศักดิ์ศรีของตน

เก้ายอด (2520)

เก้ายอด (2520/1977) รื่นรมย์ ชมแล้วเหมือนได้นอนเตียง

องค์การเก้ายอด องค์การก่อการร้ายที่มีเครือข่าวทั่วโลกกำลังวางแผนก่อวินาศกรรมในเมืองไทย โดยตั้งศูนย์ฝึกฝนสุดยอดมือสังหารอยู่ภายในประเทศ และมีแผนการใหญ่กำจัดรัฐมนตรีกลาโหมของไทย หากแผนการนี้กลับถูกขัดขวางด้วย ธง มือสังหารของเก้ายอดที่หลบหนีออกมาได้ ด้วยเพราะรัฐมนตรีฯ นั้นเป็นพ่อแท้ๆ ของเขา แต่ไม่ใช่ ธง คนเดียวที่ต่อสู้เพื่อขจัดองค์การเก้ายอด ยังมีรัชดาสาวสวยผู้มีสถานะลึกลับรวมทั้ง มุสตาฟา อีกหนึ่งมือสังหารของเก้ายอดคอยช่วยเหลือธงอย่างน่าสงสัย

ตะบันไฟตะไลเพลิง (2518)
ตะบันไฟตะไลเพลิง (2518/1975) ข้อความบนใบปิด ภาพยนตร์สหนาวีไทย โดย สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ ผลงาน 2 ปีหนึ่งเรื่อง เพื่อเพชรแท้ เผ่าพันธุ์ พงษ์นที ปั้นพระเอกทั้งที สุพรรณ ต้องปั้นให้ดังทุกครั้ง พิศมัย วิไลศักดิ์ นางเอกผู้จูงดาราให้ดังมาแล้วหลายท่าน ตะบันไฟตะไลเพลิง ขอปั้นดาวร้ายชั้นนำอีกครั้ง ดนัย ดุลยพรรณ-อินทนนท์ ตรีเพชร ดาราผู้ได้รับการเชื่อถือให้สวมบท เมตตา รุ่งรัตน์, ทัต เอกทัต, โขมพัสตร์ อรรถยา, มาลี เวชประเสริฐ, ไกร ครรชิต, คมน์ อรรฆเดช, พนม นพพร, สมชาย สามิภักดิ์, แพน, แป้น ปลื้มสระชัย สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ กำกับการแสดงและสร้าง สมาน ทองทรัพย์สิน ถ่ายภาพ ร่วมใจฟิล์ม เจ้าของและจัดจำหน่ายทั่วประเทศ
ส้มตำ (2516)
ส้มตำ (2516/1973) ข้อความบนใบปิด ทรงพระเจริญ ภาพยนตร์สหะนาวีไทย เสนอ จากพลังพระบารมีปกเกล้าฯ จึงใช้ทุนสร้างกว่า..4 ล้านบาท จากผลงานล่าสุดของ สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ ให้ยิ่งใหญ่สมกับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส้มตำ อัญเชิญพระราชนิพนธ์เพลงของ..”เจ้าฟ้าหญิงสิรินทรเทพรัตนสุดา” 35 ม.ม.ซีเนมาสโคป เสียงในฟิล์ม สมบัติ เมทะนี พิศมัย วิไลศักดิ์ ถวายชีวิตแสดง ศรีไพร ใจพระ, กฤษณะ อำนวยพร, โขมพัสตร์ อรรถยา, บุปผา สายชล, ไกร ครรชิต, วัฒนา กีชานนท์, สังข์ทอง สีใส, สุวิน สว่างรัตน์, ชูชัย, สุรชาติ ไตรโภค, “พันคำ” “เนรมิต” กำกับการแสดง อนันต์ อินละออ ถ่ายภาพ พร้อม รุ่งรังษี สร้างบทภาพยนตร์ สง่า อนันตวิไลกิจ อำนวยการสร้าง ชุลี เมรุดิษฐ์-สาทิต ตินตะบุตร ดำเนินงานสร้าง ร่วมใจฟิล์ม จัดจำหน่าย
นางฟ้าชาตรี (2515)
นางฟ้าชาตรี (2515/1972) ข้อความบนใบปิด ภาพยนตร์สหะนาวีไทย เสนอ หมดสงสัย ไร้กังขา เพิ่มศรัทธา ถ้า สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ สร้าง-กำกับ นางฟ้าชาตรี ภาพยนตร์เรื่องล่าสุด 2 ปี สร้างเรื่องเดียว ซีเนมาสโคป สีเสียงในฟิล์ม มาตรฐานโลก มอบบทบาทอันเหมาะสมให้ พิศมัย วิไลศักดิ์ ไชยา สุริยัน นำแสดง นงลักษณ์ โรจนพรรณ, กฤษณะ อำนวยพร, ฑัต เอกฑัต, พนม นพพร, ไกร ครรชิต, เตือนใจ บุญพระรักษา, สมศรี, สังข์ทอง สีใส, สรวง สันติ, ศรีสละ ทองธารา, อธึก, รุจิราอิศรางกูร, ทศ ฯลฯ ร่วมใจฟิล์ม จัดจำหน่าย
เล็บครุฑ ตอน ประกาศิตจางซูเหลียง (2511)
เล็บครุฑ ตอน ประกาศิตจางซูเหลียง (2511/1968) ดร. จาง จำเป็นต้องหาหางของหุ่นนกอินทรีที่เขาคิดว่ายังคงอยู่ในประเทศไทย เพื่อไปทำการถอดรหัสลับสูตรมหาประลัย โดยอาศัยความช่วยเหลือจากสมุนเก่า ๆ ในไทย เมื่อหน่วยสืบราชการลับของไทยได้ข่าว จึงได้ส่ง เคลียว บางคล้า หนุ่มเจ้าสำอาง ออกสืบหาเรื่องราวเกี่ยวกับด็อกเตอร์เจ้าเล่ห์ผู้นี้ และหาทางปราบผู้ก่อการร้ายข้ามชาติให้หมดสิ้น
ศึกบางระจัน (2509)
ศึกบางระจัน (2509/1966) เรื่องราวของ ทับ ชายหนุ่มผู้อพยพชาวบ้าน รวมทั้งนิมนต์พระครูธรรมโชติมาอยู่ที่บางระจัน เพื่อเตรียมรับมือกับทัพพม่า เมื่อได้ข่าวว่าข้าศึกกำลังมาเยือนพร้อมด้วยปืนใหญ่ ทับจึงอาสาฝ่าอันตรายเดินทางไปขอปืนใหญ่ในวังหลวง อ้ายทับ แห่งบ้านคำหยาดหัวหน้ากลุ่มโจรที่คอยโจมตีทัพพม่า ต่อมาชาวบ้านคำหยาดไปรวมตัวกับชาวบ้านแห่งค่ายบางระจัน และอ้ายทับได้เป็นหัวหน้ากองทหารแห่งบ้านบางระจัน ชาวค่ายบางระจันสามารถรบโจมตีกับทัพพม่าได้แทบทุกครั้งด้วยความสามัคคีของคนในค่าย แต่ทว่าด้วยกำลังเพียงหยิบมือกับกองทัพขนาดใหญ่ที่หมายบุกไปโจมตีกรุงศรีอยุธยา ทำให้ชาวบ้านบางระจันถูกตีแตกพ่ายเหลือเพียงตำนานเล่าขานวีรกรรมแด่คนรุ่นหลัง
เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2508)

เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2508/1965) ล้านทุกครั้ง..ดังทุกที ดีทุกเรื่อง..เฟื่องกว่าที่แล้ว คือ เกียรติศักดิ์ทหารเสือ ของ อิงอร วัชรินทร์นคร มีกษัตริย์วัชรินทร์ (อดุลย์ ดุลยรัตน์) เป็นพระประมุข และพระเชษฐาจักรกฤษณ์ (ส.อาสนจินดา) เป็นเสนาบดีกลาโหม พระเชษฐาทรงอุปการะเด็กชายไว้ 3 คนจนกระทั่งพวกเขาเติบโตเป็นหนุ่ม ได้แก่พันโทพิสุทธิ์ (สมบัติ เมทะนี) พันตรีนิเวศน์ (ทักษิณ เจ่มผล) และร้อยเอกภูเบศร์ (ไชยา สุริยัน) ซึ่งทั้งสามเป็นลูกชายของแม่รำเพย (สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย) แม่นมของเจ้าหญิงนภาเขตเสมอแข (พิศมัย วิไลศักดิ์) พระราชธิดาขององค์กษัตริย์วัชรินทร์ ต่อมามีการคัดเลือกราชองครักษ์ประจำพระองค์กษัตริย์ คู่ต่อสู้ 2 คนสุดท้ายคือ พิสุทธิ์ และภูเบศร์ พิสุทธิ์มีฝีมือเหนือกว่าแต่ภูเบศร์แอบกระซิบขอร้องให้พี่ชายยอมแพ้ เพราะตนเองต้องการเป็นราชองครักษ์และได้ใกล้ชิดกับเจ้าหญิงนภาเขตเสมอแข พิสุทธิ์รักน้องมากจึงแสร้งแพ้ แต่กษัตริย์วัชรินทร์ทรงมองออกว่าพิสุทธิ์ออมมือ จึงประกาศแต่งตั้งพันโทพิสุทธิ์เป็นราชองครักษ์ประจำพระองค์ ทำให้ภูเบศร์โกรธแค้นพิสุทธิ์มาก พลเอกสีหราช (สาหัส บุญ-หลง) ผู้บัญชาการทหาร คิดมักใหญ่ใฝ่สูงต้องการครองบัลลังค์ จึงเกลี้ยกล่อมบรรดานายทหารเป็นพวก รวมทั้งพันตรีนิเวศน์และร้อยเอกภูเบศร์ ในการซ้อมรบ เจ้าหญิงนภาเขตเสมอแขได้ตามเสด็จพระราชบิดามาด้วย โดยมีพันโทพิสุทธิ์เป็นราชองครักษ์ ม้าทรงของเจ้าหญิงตกใจเสียงปืนใหญ่จึงวิ่งเตลิด พิสุทธิ์ควบม้าติดตามไป เจ้าหญิงทรงตกจากหลังม้าได้รับบาดเจ็บที่ขา แต่พิสุทธิ์ไม่กล้าแตะต้องพระองค์เนื่องจากจะเป็นการผิดกฎมณฑียรบาล แต่บังเอิญฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก พิสุทธิ์จึงอุ้มเจ้าหญิงเข้าไปหลบฝนในตึกร้าง เหตุการณ์ทั้งหมดอยู่ในสายตาของพลเอกสีหราช และพรรคพวก พลเอกสีหราชให้นิเวศน์และภูเบศร์มาเกลี้ยกล่อมพิสุทธิ์เข้าเป็นพวก โดยเอาพระเกียรติของเจ้าหญิงนภาเขตเสมอแขมาเป็นเครื่องขู่บังคับ พิสุทธิ์จำต้องยอมรับปากเพื่อรักษาพระเกียรติ เมื่อพลเอกสีหราชเตรียมการพร้อมแล้วจึงสั่งให้พิสุทธิ์ปลงพระชนม์ขณะทรงบรรทม แต่ด้วยความจงรักภักดีและสำนึกในหน้าที่พิสุทธิ์จึงมิอาจลงมือ สีหราชจึงสั่งให้นิเวศน์และภูเบศร์ปลงพระชนม์ พิสุทธิ์ขัดขวางอย่างสุดชีวิต เมื่อเกิดเสียงอึกทึกขี้นพระเชษฐานำกำลังทหารเข้ามาในพระตำหนัก พลเอกสีหราช นิเวศน์ ภูเบศร์ และพรรคพวกใส่ร้ายว่า พิสุทธิ์จะลอบปลงพระชนม์ พิสุทธิ์ไม่ยอมปฏิเสธเนื่องจากเกรงว่าสีหราชจะกล่าวถึงเรื่องที่พิสุทธิ์และองค์หญิงทำผิดกฎมณเฑียรบาล ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ กษัตริย์วัชรินทร์รับสั่งให้นำพิสุทธิ์ไปคุมขังเพื่อทำการสอบสวน พิสุทธิ์ยอมรับความผิดแม้ว่าจะเสียใจที่ทำให้แม่รำเพยต้องเสียน้ำตา เพราะคิดว่าลูกของตนเองคิดทรยศต่อแผ่นดิน กษัตริย์วัชรินทร์จำต้องรับสั่งให้ลงโทษประหารชีวิตพิสุทธิ์ แม้ในพระทัยจะไม่เชื่อว่าพิสุทธิ์เป็นคนทรยศ เมื่อถึงกำหนดวันประหาร ก่อนที่พิสุทธิ์จะเดินออกจากคุกหลวง บรรดานักโทษซึ่งก็คือเหล่าทหารที่จงรักภักดี แต่ถูกพลเอกสีหราชแกล้งใส่ร้ายจนถูกคุมขัง พร้อมใจกันร้องเพลง เกียรติศักดิ์ทหารเสือ เพื่อเป็นเกียรติแก่พันโทพิสุทธิ์ วัชรวัลลภ เมื่อพิสุทธิ์ถูกนำตัวไปแล้ว นิเวศน์ซึ่งบังเกิดความละอายใจที่ทำให้พี่ชายผู้บริสุทธิ์ต้องได้รับโทษถึงชีวิต ได้เข้ากราบบังคมทูลความจริงต่อองค์กษัตริย์วัชรินทร์ ทรงรับสั่งให้พระเชษฐานำกำลังทหารเข้าปราบปราบกบฏพลเอกสีหราชจนราบคาบ พร้อมกับให้นิเวศน์รีบนำธงหยุดประหารไปยังแดนประหาร แต่นิเวศน์มาถึงแดนประหารช้าไป ภูเบศร์ซึ่งคุมการประหารได้สั่งให้ทหารยิงไปแล้ว แต่เมื่อสิ้นเสียงปืนพิสุทธิ์กลับไม่เป็นอะไร เนื่องจากคืนก่อนวันประหารภูเบศร์ซึ่งสำนึกเสียใจที่ทำผิดต่อพี่ชายได้แอบเข้าไปเปลี่ยนลูกปืนสำหรับประหารเป็นลูกปลอม แต่แล้วก็มีเสียงปืนดังขี้นนัดหนึ่งและภูเบศร์ล้มลงจมกองเลือด ขณะเดียวกับกษัตริย์วัชรินทร์ เจ้าหญิงนภาเขตเสมอแข พระเชษฐาจักรกฤษณ์ แม่รำเพย และเหล่าทหารหาญเดินทางมาถึง ภูเบศร์บาดเจ็บแต่ไม่เสียชีวิต กษัตริย์วัชรินทร์ทรงพระราชทานอภัยโทษให้ สามพี่น้องชาติทหารกลับมารักกันดั่งเดิม กษัตริย์วัชรินทร์โปรดให้จัดงานอภิเษกระหว่างพันโทพิสุทธิ์และเจ้าหญิงนภาเขตเสมอแขอย่างสมพระเกียรติ

เล็บอินทรีย์ (2507)
เล็บอินทรีย์ (2507/1964) สมบัติ-พิศมัย ข้อความบนใบปิด ภาพยนตร์สหนาวีไทย โดย สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ เสนอ เล็บอินทรีย์ ของ ส.เนาวราช นำดาราขวัญใจของชาวไทย พิศมัย วิไลศักดิ์ ดาราตุ๊กตาทองปี 2507 พบ สมบัติ เมทะนี แสน สุรศักดิ์, จรัสศรี สายะศิลปี, ชฎาพร วชิรปราณี, ม.ร.ว.ประสิทธิศักดิ์ สิงหรา, ชาณีย์ ยอดชัย, อธึก, สมถวิล, สุระ นานา, สมศรี, สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช ตลอดจนนักยูโด และนักพละชั้นครู อีกมาก สาวชาวยุโรป สแกนดิเนเวียน มิส มิคาร่า ฟอร์สโฮม กับสุภาพบุรุษผู้มีอนาคต เมศร์ แมนสรวง, เจษฎา ทรรทรานนท์ ร่วมด้วย ดาราหน้าหวานคนใหม่ เยาวเรศ นิศากร 7 ปี ยังไม่มีใครมาลบสถิติการสร้าง ภาพยนตร์บู๊ของเขาได้ คือ เล็บครุฑ-มังกรแดง
ละอองดาว (2507)
ละอองดาว (2507/1964) กรกฎ เบญจรงค์ (สมบัติ เมทะนี) เดินทางกลับจากอเมริกาทันที หลังจากได้รับข่าวการเสียชีวิตของ ดร.ไกร (พันคำ) ผู้เป็นบิดา ขุนอรรถวาที ทนายประจำตระกูลได้แจ้งให้ทราบถึงเงื่อนไขในพินัยกรรมว่า เขาจะได้รับมรดกก็ต่อเมื่อได้แต่งงานกับ ละอองดาว (พิศมัย วิไลศักดิ์) หญิงสาวที่มีศักดิ์เป็นน้องเลี้ยงที่ ดร.ไกร รับมาเลี้ยงไว้จากเพื่อนสนิทคนหนึ่ง กรกฎเคยเจอกับละอองดาวไม่กี่วันก่อนที่เขาจะถูกส่งไปเรียนที่อเมริกาความทรงจำสุดท้ายของเขาที่มีต่อละอองดาวคือ เด็กหญิงตัวมอมแมม ขี้มูกเกรอะกรัง ตัวกลมเหมือนไหกระเทียม หน้าตาเหมือนเด็กเป็นโรค กรกฎรับไม่ได้กับเงื่อนไขในพินัยกรรม เพราะเขามี ผดาชไม (กิ่งดาว ดารณี) นักร้องสาวสังคมจัดเป็นแฟนอยู่แล้ว เขาคิดว่าละอองดาวหวังสมบัติและประจบพ่อของเขาจนหลงเป็นเหตุให้ทำพินัยกรรมประหลาดนี้ขึ้น พินัยกรรมระบุว่าถ้าครบ 1 ปีละอองดาวเป็นฝ่ายตัดสินใจปฏิเสธการแต่งงานกับเขา หรือแต่งงานกับคนอื่นไปก่อนเงื่อนไขนั้นก็จะเป็นโมฆะ กรกฎก็จะได้รับมรดกทั้งหมด เขาจึงจ้าง ธัชชัย (ประจวบ ฤกษ์ยามดี) เพื่อนสนิทซึ่งเป็นทนายหนุ่มมาจีบละอองดาว เพื่อตัวเขาจะได้แต่งงานกับผดาชไมสมความปรารถนา แต่เมื่อกรกฎได้เจอกับละอองดาวเขาก็ตะลึงไปกับความสวยของเธอ แต่ด้วยอคติจึงเข้าไปต่อว่าเธอว่าโลภมาก อยากได้สมบัติ และเขาจะไม่ยอมแต่งงานกับเธอ ละอองดาวแปลกใจเพราะไม่รู้เรื่องพินัยกรรมมาก่อน แต่เธอก็พร้อมจะหลีกทางให้ถ้าเขาไม่ต้องการ ธัชชัยมาทำความรู้จักกับละอองดาวแต่กรกฎกลับแสดงความหึงหวง ละอองดาวทำเย็นชากับเขาก็ยิ่งทำให้เขาหมั่นไส้จนมีการปะทะคารมกันอยู่บ่อยๆ ละอองดาวไปสมัครงานที่วังนภดลของ พระองค์เจ้าพราวนภางค์ นภดล (กัณทรีย์ นาคประภา) อดีตราชินีอาณาจักรคีรีรัฐ หลังจากพระสวามีสิ้นพระชนม์จึงย้ายมาอยู่ที่เมืองไทย เจ้าพราวนภางค์ถูกชะตากับละอองดาวเป็นอย่างมากจึงรับเข้าทำงาน เจ้าคำอินทร์ (รุจน์ รณภพ) ผู้มีศักดิ์เป็นหลานก็เกิดถูกชะตาเธอเหมือนกัน จึงอาสาไปรับไปส่งยิ่งทำให้กรกฎไม่พอใจ ที่วังนภดลละอองดาวได้เห็นภาพวาดชายหนุ่มคนหนึ่ง ก็รู้สึกผูกพันอย่างประหลาด ต่อมาจึงได้รู้ว่าเขาคือ จักราชัย โอรสของเจ้าพราวนภางค์ ที่ถูกถอดยศเพราะมาหลงรักหญิงคนไทย ก่อนจะไปใช้ชีวิตเป็นกบฏใต้ดินที่ฝรั่งเศสและเสียชีวิตที่นั่น ขณะที่มีลูกสาวคนหนึ่งจักราชัยได้ฝากให้เพื่อนในเมืองไทยนำมาเลี้ยงดู ท่านชายสดายุ (อดุลย์ ดุลยรัตน์) หลานชายของเจ้าพราวนภางค์กลับจากฝรั่งเศส และเคยรู้จักกับละอองดาวมาตั้งแต่อยู่ฝรั่งเศส จึงเชิญเธอไปร่วมงานบอลล์วันเกิดที่วังมยุรฤทธิ์ของท่านและในงานเลี้ยงถ้าหากหญิงคนไหนได้ออกเต้นรำกับท่านชายเป็นคนแรก คนนั้นก็คือคู่ครองของท่าน ผดาชไมหวังเกาะคนมีฐานะและชื่อเสียง เธอจึงหว่านเสน่ห์ท่านชายตลอดเวลา โดยไม่สนใจสายตาของกรกฎแม้แต่น้อย กรกฎเองก็คอยจับตาดูละอองดาว แต่เมื่อเห็นท่านชายสนใจเธอเขาก็รู้สึกดูด้อยค่าไปทันที ในงานเลี้ยงของท่านชายกรกฎดื่มเหล้าจัดย้อมใจอย่างประชดชีวิต ผดาชไมเริ่มรู้ว่าละอองดาวเป็นคู่แข่งจึงตามไประรานให้ละอองดาวเลิกยุ่งกับกรกฎและทวงหนังสือปฏิเสธการแต่ง ละอองดาวจึงเขียนหนังสือยกเลิกสัญญาการแต่งงานและนำไปให้กรกฎ แต่เขากลับจุดไฟเผาสัญญานั้นเป็นจุณ ละอองดาวมีหนุ่มๆ ทั้งธัชชัย, เจ้าคำอินทร์ และท่านชายสดายุ มาใกล้ชิดทำให้กรกฎรู้สึกหึงหวง แต่ก็แสดงออกอะไรมากไม่ได้จึงได้แต่ตัดพ้อกับละอองดาวอย่างน้อยใจ ผดาชไมหาทางกลั่นแกล้งละอองดาวแต่ก็ทำให้เธอกับกรกฎได้อยู่กันตามลำพังบ่อยๆ กรกฎเศร้าหนักถึงกับกินเหล้าจัดจนกลายเป็นคนติดเหล้า ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ละอองดาวต้องมาคอยเฝ้าและสั่งคนในบ้านให้นำเหล้าไปซ่อนให้หมด แต่กรกฎก็อาละวาดหาเหล้ามากินจนได้ ผดาชไมแอบไปควงคู่กับพ่อเลี้ยงเชียงใหม่หวังเกาะคนรวย กรกฎจับได้คาหนังคาเขา และยังมีรูปเธอกับพ่อเลี้ยงประจานหราในหนังสือพิมพ์แต่เธอก็ไม่ยอมรับผิด ผดาชไมโกรธละอองดาวมากจึงจ่างมือปืนยิงปืนละอองดาวจนเธอได้รับบาดเจ็บ สุดท้ายผดาชไมก็ถูกเมียหลวงของพ่อเลี้ยงตามมาเล่นงานสาดน้ำกรดใส่หน้าจนเสียโฉมไป ดร.ไกรเขียนจดหมายทิ้งไว้ก่อนตาย พร้อมด้วยสร้อยล็อกเกตฝากไว้ที่ท่านขุนอรรถฯ บอกว่าเมื่อละอองดาวอายุครบ 25 ปีเมื่อไหร่ให้นำของสองสิ่งนี้มาให้เธอ กรกฎนำของนั้นมาให้ละอองดาวที่วังนภดล เจ้าพราวนภางค์เป็นคนเปิดอ่านจึงได้รู้ว่าละอองดาวเป็นหลานของท่านที่ตามหามานาน 25 ปี กรกฎเห็นว่าละอองดาวเป็นหลานของเจ้าผู้สูงศักดิ์ เขารู้ทันทีว่าฐานะของตัวเองห่างไกลกันนักจึงเดินคอตกกลับมาที่บ้าน ช่วงเวลานั้นทั้งกรกฎและละอองดาวพยายามทำตัวห่างเหินกันเพื่อตัดความสัมพันธ์ทางใจ สุดท้ายกรกฎก็ตัดสินใจเขียนจดหมายยกสมบัติทั้งหมดให้กับสาธารณกุศลและคิดออกบวช ส่วนละอองดาวได้รับฟังคำตักเตือนของท่านชายสดายุที่รู้ว่าเธอหลงรักกรกฎ แต่พยายามปิดซ่อนความรู้สึก ให้เธอทำตามที่หัวใจต้องการละอองดาวได้คิดจึงรีบไปหากรกฎที่บ้าน กลับพบจดหมายที่เขาเขียนทิ้งไว้และเดินทางไปบวชแล้ว เธอจึงรีบตามไปง้อและปรับความเข้าใจกัน
เสือเก่า (2506)
เสือเก่า (2506/1963) เสือเก่า เป็นภาพยนตร์สี 35 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2506 สร้างโดย ภาพยนตร์สหะนาวีไทย กำกับการแสดงโดย สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์
ยอดรัก (2505)
ดรรชนีนาง (2504)
ดรรชนีนาง (2504/1961) เกาะแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา เมื่อเรือรบหลวงอรุโณทัย ทอดสมออยู่ระหว่างเกาะหนูกับเกาะแมว นาวาโทหม่อมเจ้านิรันดร์ฤทธิ์ธำรง นายทหารเรือหนุ่มแห่งราชนาวีไทย (แสน สุรศักดิ์) พร้อมด้วยจ่าอยู่ (พูนสวัสดิ์ ธีมากร) ก็ปีนเขาขึ้นไปสำรวจดูทำเลแถวนั้น ระหว่างส่องกล้องทางไกลมองดูอยู่นั้น นิรันดร์ก็ส่องไปเห็นสาวน้อยนางหนึ่งกำลังเล่นน้ำ เธอสวยเป็นที่ต้องตาต้องใจเป็นยิ่งนัก นิรันดร์จึงพาจ่าอยู่ไปตามหาสาวน้อยนางนี้และทราบว่าเธอชื่อ ดรรชนี (พิศมัย วิไลศักดิ์) ดรรชนี พักอยู่ในกระท่อมกับพ่อแก่ๆ ชื่อพระนเรศราภิบาล (ม.ร.ว.ประสิทธิศักดิ์ สิงหรา) นายทหารที่ออกจากราชการมาเป็นชาวประมงอยู่เกาะแห่งนี้ เมื่อนิรันดร์ได้พบดรรชนีก็เอ่ยปากฝากรักตั้งแต่แรกเห็น วันหนึ่งขณะที่ดรรชนีกำลังเฉาะมะพร้าวให้นิรันดร์ ก็เผอิญไปเฉาะโดนนิ้วตัวเอง นิรันดร์ได้ช่วยปฐมพยาบาลและยังชมว่านิ้วก้อยดรรชนีสวยงามและทั้งคู่ก็ลักลอบได้เสียกัน ทำให้พระนเรศโกรธที่ดรรชนีไม่ยอมเชื่อคำเตือนของพ่อที่ไม่ให้ยุ่งกับคนแปลกหน้าโดยเฉพาะพวกทหารเรือ แต่ดรรชนีก็ยังลักลอบไปพบกับนิรันดร์อีก พระนเรศจึงเฆี่ยนดรรชนีด้วยหางกระเบน เสียงร้องของดรรชนีก็ยิ่งทำให้พระนเรศผู้เป็นพ่อเจ็บปวดหัวใจยิ่งกว่าเพราะก่อนหน้านั้นพระนเรศไม่เคยลงโทษลูกมาก่อนเลย พระนเรศเสียใจก็กินเหล้าหนักยิ่งขึ้นและพร่ำพรรณนาต่อหน้าหลุมศพของดรรชนีไฉไลภรรยาของตน แม่ของดรรชนีนั้นเป็นองค์หญิงสูงศักดิ์ที่ยอมหนีตามคนที่ตนมารักมาเป็นชาวประมงจนๆ กระทั่งคลอดลูกดรรชนีจึงป่วยตาย ดรรชนีจึงเติบโตขึ้นมาจากความรักของผู้เป็นพ่อที่ยังจมปลักอยู่กับความหลังโดยมีเหล้าเป็นเครื่องปรับทุกข์ ส่วนตัวดรรชนีเองก็มีเพียงเจ้าลิงจ๊อก ลิงแสนรู้เป็นเพื่อนเล่นคู่ใจตลอดมากระทั่งได้มาพบชายหนุ่มคนที่บอกว่า รักเธอมากๆ คือนิรันดร์ เธอจึงทุ่มหัวใจรักให้ แล้ววันหนึ่ง นิรันดร์ก็มาพบดรรชนีเพื่อจะขอลากลับกรุงเทพฯ โดยปากก็ยังพร่ำคำว่า ไม่ลืมดรรชนี จะกลับมาหาดรรชนี นิรันดร์จากไปโดยยังไม่รู้เลยว่า ดรรชนีได้ตั้งท้องอ่อนๆ แล้ว นับแต่วันที่นิรันดร์จากดรรชนีไป ดรรชนีก็ได้แต่ตั้งหน้าตั้งตารอคอยวันกลับมาของชายคนรัก แต่ก็ไม่มีวี่แววอะไร ฝ่ายผู้เป็นพ่อก็ได้แต่เฝ้ามองลูกสาวด้วยความรักความสงสาร แต่ก็ไม่อาจจะช่วยเหลืออะไรได้จึงยิ่งกินเหล้าหนักเรื่อยๆ จนร่างกายทรุดโทรม ฝ่ายนิรันดร์นั้นเมื่อกลับไปกรุงเทพฯ ก็ได้พบกับศิริยุคล (งามตา ศุภพงษ์) สาวสังคมชื่อดัง ทั้งคู่คบหาเป็นแฟนกันโดยผู้ใหญ่สองฝ่ายสนับสนุน
สองฝั่งฟ้า (2503)
สองฝั่งฟ้า (2503/1960) สองฝั่งฟ้า เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2503 สร้างโดย ภาพยนตร์สหะนาวีไทย โดยมี สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ เป็นผู้อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ สงัด บรรจงศิลป์

หน้าที่