ยั่วรัก (2514)
ยั่วรัก (2514/1971) ข้อความบนใบปิด ดุสิตภาพยนตร์ เสนอ ยอดภาพยนตร์ชีวิต รักสลักใจ ยั่วรัก ของ จำลักษณ์ ไชยา สุริยัน เพชรา เชาวราษฎร์ เมตตา รุ่งรัตน์, อดุลย์ ดุลยรัตน์, ชุมพร เทพพิทักษ์, เพชร พนมรุ้ง, ศิริพงษ์ อิศรางกูร, มนัส บุณยเกียรติ, รุจิรา-มารศรี อิศรางกูรฯ, ปราณีต คุ้มเดช, วิน วิษณุรักษ์, ทองฮะ, สีเทา, แป้น ปลื้มสระไชย, พิศ, มารศรี ณ บางช้าง และดาวรุ่งรุ่นจิ๋ว อรวรรณ บุญชู ฟัง 4 เพลงเอกระบบ 35 ม.ม. โดย แก้วฟ้า และ จิ๋ว พิจิตร กวี เกียรตินันท์ ถ่ายภาพ จิตติน กำกับการแสดง แดน กฤษดา อำนวยการสร้าง นวฤทธิ์ฟิล์ม จัดจำหน่าย
ปีศาจดำ (2509)
ปีศาจดำ (2509/1966) ข้อความบนใบปิด ดุสิตภาพยนตร์ เสนอ เมื่อวายร้ายอาละวาด อินทรีแดงก็ผงาดฟ้า ปีศาจดำ บทประพันธ์ของ เศก ดุสิต นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ชนะ ศรีอุบล, กิ่งดาว ดารณี, ทักษิณ แจ่มผล, อนุชา รัตนมาลย์, รุจน์ รณภพ, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์ ร่วมด้วย ชนินทร์ นฤปกรณ์, พร ไพโรจน์, เชาว์ แคล่วคล่อง, ชุมพร เทพพิทักษ์, วลิต สนธิรัตน์, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, พงษ์ลดา พิมลพรรณ, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, อบ บุญติด, สำราญ, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ปฐมชัย ชมศรีเมฆ, ทศ, โสภณ ฯลฯ ส.อาสนจินดา กำกับการแสดง เตมีย์ วิทยะ สร้างบท วิเชียร วีระโชติ ถ่ายภาพ แดน กฤษฎา อำนวยการสร้าง
อวสานอินทรีแดง (2506)

อวสานอินทรีแดง (2506/1963) เมื่อใดที่วายร้ายออกอาละวาด สุจริตชนเดือดร้อน มีหรือที่ โรม ฤทธิไกร (มิตร ชัยบัญชา) จะทนนิ่งเฉยอยู่ได้ อินทรีแดง จึงต้องปรากฏกายอีครั้งโดยมีคู่หู ขวัญใจ สาวสวยอย่างวาสนา (เพชรา เชาวราษฏร์) เป็นทั้งแรงใจแรงกาย ช่วยเหลือ แต่การปฏิบัติ หน้าที่ของอินทรีแดง ก็ต้องเจอกับอุปสรรคนานัปการ ทั้งนายตำรวจอย่างหมวดชาติ (พร ไพโรจน์) ที่ตงฉิน มุ่งหมายแต่จะปราบอินทรีแดง และยังมีธำรง (ประจวบ ฤกษ์ยามดี) นักสืบหนุ่มจากเมืองนอกที่ใฝ่ฝันจะกระชากหน้ากากอินทรีแดง และอินทรีแดงจะจัดการกับวายร้ายพร้อมๆ กับหลบเลี่ยงตำรวจและนักสืบที่คอยเป็นเงาติดตามตัวได้อย่าง

เหยื่อกามเทพ (2498)
เหยื่อกามเทพ (2498/1955) พวงเพ็ญ ลูกสาวหัวแก้วหัวแหวนของ นายเพียน คหบดีผู้มั่งคั่งซึ่งกำลังลงสมัครผู้แทนราษฎร ถูกพ่อซึ่งเป็นคนหัวโบราณนำไปกักตัวไว้ในที่ห่างไกลผู้คน เพราะห่วงว่าลูกสาวจะตกเป็นทาสสังคมสมัยใหม่ แต่เมื่อถึงวัยกำลังอยากรู้อยากเห็น พวงเพ็ญจึงคบคิดกับพี่เลี้ยงปลอมตัวไปคลุกคลีกับชาวไร่ จนพบรักกับหนุ่มชาวไร่ซึ่งเข้าใจว่าพวงเพ็ญเป็นสาวใช้ และตกลงปลงใจปลูกเรือนอยู่ด้วยกันฉันท์สามีภรรยา นายเพียนได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนราษฎร โดยความช่วยเหลือเป็นอย่างดีของเพื่อนเก่า จึงคิดตอบแทนบุญคุณเพื่อนด้วยการประกาศยกลูกสาวกลางงานเลี้ยงหนุ่มชาวไร่ซึ่งบังเอิญเข้ามาในงานเลี้ยงได้ยินเข้า คิดว่าพวงเพ็ญเห็นชาวไร่เป็นของเล่น มิหนำซ้ำคนในงานยังดูถูกเหยียดหยาม หนุ่มชาวไร่จึงประจานพวงเพ็ญด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจ เป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาทหนุ่มชาวไร่เอาชนะลูกผู้ดีได้ แล้วจากไปอย่างไม่แยแส พวงเพ็ญซึ่งไม่อยากแต่งงานกับคนแก่คราวพ่อ จึงประกาศต่อหน้าสาธารณชนว่าหนุ่มชาวไร่เป็นสามีของตน นายเพียนจึงใจอ่อนยกพวงเพ็ญให้หนุ่มชาวไร่ในที่สุด
เมื่อนเรศวรกู้ชาติ (2494)
เมื่อนเรศวรกู้ชาติ (2494/1951) เกร็ดพงศาวดารไทย ตอนอพยพครัวไทยและมอญสวามิภักดิ์จากหงษาวดี สู่เมืองแครง (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน พิมพ์ไทย 1 มกราคม พ.ศ. 2495)

กำลังแสดงผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ