บัวหลวง (2511)
บัวหลวง (2511/1968) มิตร-สุทิศา ข้อความบนใบปิด กมลศิลปภาพยนตร์ เสนอ สุขสันต์...เริงรื่น...ชื่นทรวง บัวหลวง 35 ม.ม.ซูเปอร์ซีเนมาสโคป สีอิสต์แมน มิตร ชัยบัญชา สุทิศา พัฒนุช ดาราสาวเงิน 2 ล้านคนใหม่ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, รัตนาภรณ์น้อย, ทัต เอกทัต, วีนัส ศรีประไพ, ชูศรี มีสมมนต์, ชฎาพร วชิรปราณี, สมพงษ์ พงษ์มิตร, เทียว ธารา, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ โอฬารตระการตาด้วย 8 เพลงเอกเสียงในฟิล์ม น้อย กมลวาทิน กำกับการแสดง รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อำนวยการสร้าง ศานิต รุจิรัตน์ตระกูล ถ่ายภาพ กัญญามาลย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
พรายพิฆาต (2510)
พรายพิฆาต (2510/1967) พรายพิฆาต เป็นภาพยนตร์สี 35 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2510 สร้างจากบทประพันธ์ของ พนมเทียน สร้างโดย กมลศิลป์ภาพยนตร์ โดยมี รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง เป็นผู้อำนวยการสร้างและนำแสดง กำกับการแสดงโดย น้อย กมลวาทิน ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกและเรื่องเดียวของ อาภัสรา หงสกุล ที่แสดงเป็นนางเอกเต็มตัว
แก้มทอง (2509)
แก้มทอง (2509/1966) ข้อความบนใบปิด กมลศิลปภาพยนตร์ เสนอ ไชยา สุริยัน รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อมรา อัศวนนท์ ประชันบทกับ รัตนาภรณ์น้อย อินทรกำแหง ร่วมด้วย ราชันย์ กาญจนมาศ, วิน วิษณุรักษ์, วีนัส ศรีประไพ, สังวรณ์, เมฆ, ชฎาพร วชิรปราณี, รัตนากร อินทรกำแหง, แววตา อาษาสุข, แพร ไพลิน และนักแสดงสมัครเล่น ไชยันต์ รัตนา รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อำนวยการสร้าง แก้มทอง ของ อรวรรณ 18 ดาวตลก..สมพงษ์ พงษ์มิตร, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, เสน่ห์ โกมารชุน, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, หม่อมชั้น พวงวัน, ทองฮะ, จุมพล, ทองแถม, ก๊กเฮง, ปราณีต คุ้มเดช, ยรรยงค์, ประสาน, สำราญ, เพ็ญแข, ขวัญ, เทิ่ง สติเฟื่อง, ท้วม ทรนง, บัญญัติ และ 6 ดาวร้ายรับเชิญ อดินันท์ สิงห์หิรัญ, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ทานทัต วิภาตะโยธิน, เทียว ธารา, แป้น ปลื้มสระชัย, สุวรรณ อนุศักดิ์ เจนจรัสสกุล ถ่ายภาพ น้อย กมลวาทิน กำกับการแสดง วัชรภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
ลูกหญิง (2508)
ลูกหญิง (2508/1965) ข้อความบนใบปิด กมลศิลปภาพยนตร์ เสนอ ใครๆก็มีพ่อแม่ ใครๆก็มีลูก แต่พ่อแม่คนไหนๆก็ไม่เคยมีลูกถุกใจเท่า ลูกหญิง ของ รพีพร นำแสดงโดย ไชยา สุริยัน รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง รัตนาภรณ์ น้อย อินทรกำแหง รัตนากร อินทรกำแหง อดุลย์ ดุลยรัตน์ ชฎาพร วชิรปราณี, สมควร กระจ่างศาสตร์, ราชันย์ กาญจนมาศ, สมพล กงสุวรรณ, ประมินทร์ จารุจารีต, สังวรณ์, สมพงษ์ พงษ์มิตร, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ, ทองแถม, หม่อมชั้น พวงวัน, ปราณีต คุ้มเดช, ก๊กเฮง, ขวัญ และด.ญ.วัชราภรณ์ พึ่งสังข์ ร่วมแสดง รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อำนวยการสร้าง น้อย กมลวาทิน กำกับการแสดง พลังจิต สร้างบท สังวรณ์-ธงชัย สร้างฉาก กมลศิลป์ ลำดับภาพ อนุศักดิ์ เจนจรัสสกุล ถ่ายภาพ วัชรภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
ลูกนก (2508)

ลูกนก (2508/1965) ไชยา-รัตนาภรณ์ ข้อความบนใบปิด กมลศิลปภาพยนตร์ เสนอ จาก “สกาวเดือน” “ลูกทาส” จึงถึง “ลกนก” กมลศิลปรายเดียวที่ “แกรนด์” โรงดังหน้าวังบูรพา อ้าแขนต้อนรับด้วยความยินดี มีโปรแกรมให้เสนอเสมอมา... ลูกนก ของ รพีพร ไชยา สุริยัน รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อมรา อัศวนนท์ วิไลวรรณ วัฒนพานิช อดุลย์ ดุลยรัตน์, สมควร กระจ่างศาสตร์, ประมินทร์ จารุจารีต, ราชันย์ กาญจนมาศ, วีนัส ศรีประไพ, ชฎาพร วชิรปราณี, นิตยา, สมพงษ์ พงษ์มิตร, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, ทองแถม, ด.ญ.วัชราภรณ์ พึ่งสังข์ สนับสนุน รัตนาภรณ์ (น้อย) อินทรกำแหง เริง อภิรมย์ สร้างบท อนุศักดิ์ เจนจรัสสกุล ถ่ายภาพ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อำนวยการสร้าง น้อย กมลวาทิน กำกับการแสดง เริ่มรอบโดยเสด็จพระราชกุศลของ 2 องค์ล้นเกล้าฯ ศุกร์ที่ 2 ก.ค.นี้ ที่ แกรนด์ โรงหนังดังย่านวังบูรพา จองบัตร “รอบมหากุศล”โดยเสด็จพระราชดำเนินฯ สมทบทุนมูลนิธิคนตาบอด คืนวันพุธที่ 30 มิ.ย.นี้ จุรี-สมพงษ์-รุจิกร ร่วมพากย์

 
หมอกสวาท (2508)
หมอกสวาท (2508/1965) จากบทประพันธ์ของ บุษยมาส 1 เพราะ เพชรา ประชันบทดาวค้างฟ้า รัตนาภรณ์ 1 เมื่อเป็นละครวิทยุก็โด่งดังที่สุดในรอบปี 2507 1 เป็นบทประพันธ์เรื่องแรกที่สร้างชื่อเสียงให้ "บุษยมาส"
เล็บเหล็ก (2507)

เล็บเหล็ก (2507/1964) ไชยา-รัตนาภรณ์ ข้อความบนรูปโฆษณา กมลศิลป์ภาพยนตร์ เสนอ เล็บเหล็ก จากบทประพันธ์ “เล็บมัจจุราช” ของ เมศร์ ศราวุธ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ไชยา สุริยัน แสดงนำ ร่วมด้วย อดุลย์ ดุลยรัตน์, สมควร กระจ่างศาสตร์, ชฎาพร วชิรปราณี, แววตา อาษาสุข, ราชันย์ กาญจนมาศ, สมพล กงสุวรรณ, เทียว ธารา, สังวรณ์ ฯลฯ ดารารับเชิญ อรสา อิศรางกูร, วีนัส พยัคฆชาติ อนุศักดิ์ เจนจรัสสกุล ถ่ายภาพ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อำนวยการสร้าง น้อย กมลวาทิน กำกับการแสดง วัชรภาพยนตร์ จัดจำหน่าย

 
ลูกทาส (2507)
ลูกทาส (2507/1964) แก้ว (ไชยา สุริยัน) ทาสในเรือนของพระยาไชยากร (สมควร กระจ่างศาสตร์) เขาพยายามต่อสู้ดิ้นรนเพื่อจะพ้นสภาพการเป็นทาส ในยุคแห่งกระบวนการเลิกทาสในสมัยของพระปิยะมหาราช (รัชกาลที่ 5) ในราชวงศ์จักรีที่เริ่มมีการประกาศเลิกทาสและเกษียณอายุลุกทาสในแต่ละช่วงอายุ หากแต่นายเงินของแก้วนั้นไม่ยอมให้ความเป็นไทแก่บรรดาเหล่าทาสในครอบครอง แก้วจึงดิ้นรนและไข่วคว้าอิสรภาพที่เขาสมควรได้ ขณะเดียวกันก็ใฝ่หาความรู้ เพื่อการทำงานหลังจากเป็นไท เพื่อยกฐานะของตนเองขึ้นมาให้ทัดเทียมกับคุณน้ำทิพย์ (รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง) หญิงสาวสูงศักดิ์บุตรสาวของพระยาไชยากรที่เป็นแรงใจให้เขามาตลอด ในที่สุดด้วยความมุมานะอุตสาหะของแก้ว และความเสียสละของเจิม (พิศมัย วิไลศักดิ์) ทาสสาวที่หลงรักแก้วอยู่ แก้วพ้นจากความเป็นทาสและมีความเจริญในชีวิตได้เป็นผู้พิพากษาและได้สมรสกับคุณน้ำทิพย์สมความตั้งใจ
งามงอน (2506)
งามงอน (2506/1963) สมบัติ-รัตนาภรณ์ ข้อความบนใบปิด รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง นำขบวนประชันบท สมบัติ เมทะนี มี วิไลวรรณ วัฒนพานิช, อรสา อิศรางกูร, เทียมแข กุญชร, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, จรัสศรี สายะศิลปี ปรียา รุ่งเรือง, ชฎาพร วชิรปราณี, แววตา อาษาสุข, ชั้น พวงวัน 10 ดาราหญิง อีกทั้ง ประจวบ ฤกษ์ยามดี, สาหัส บุญหลง, สังวรณ์ สมพงษ์ พงษ์มิตร, เสน่ห์ โกมารชุน และดารารับเชิญ ชรินทร์ นันทนาคร ใน งามงอน บทประพันธ์ของ หญิงนันทาวดี รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อำนวยการสร้าง น้อย กมลวาทิน กำกับการแสดง ชเนศร์ จรัสตระกูล ถ่ายภาพ บริษัท วัชรภาพยนตร์จำกัด จัดจำหน่าย
สิงห์สั่งป่า (2506)
สิงห์สั่งป่า (2506/1963) ข้อความบนใบปิด รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง สมบัติ เมทะนี สิงห์สั่งป่า ของ พนมเทียน ตึงตัง...! เมื่อเป็นนวนิยาย ดังจริง...! เมื่อเป็นละครวิทยุ ดีจัง…! เมื่อ กมลศิลปภาพยนตร์ นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ขอแนะนำ เทียมแข กุญชร ณ อยุธยา และ แพร ไทรงาม ร่วมด้วย ประจวบ ฤกษ์ยามดี, สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, เชาว์ แคล่วคล่อง, ราชันย์ กาญจนมาศ, ชาลี อินทรวิจิตร, สมพล กงสุวรรณ, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ล้อต๊อก, ประไพ, แววตา อาษาสุข, แน่งน้อย, สังวรณ์, กมลพันธ์ สันติธาดา รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อำนวยการสร้าง น้อย กมลวาทิน กำกับการแสดง กุหลาบทิพย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
สมิงสาว (2506)
สมิงสาว (2506/1963) ข้อความบนใบปิด สุดใจขาดดิ้น สิ้นบู๊! อะ...อา...อ๊ะ...อา...อร่อย ต้อง สมิงสาว ของ กมลศิลปภาพยนตร์ น้อย กมลวาทิน กำกับการแสดง รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อำนวยการสร้าง ก้อง อินทรกำจร ประพันธ์เรื่อง รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง สมบัติ เมทะนี นำแสดง ร่วมด้วย เทียมแข กุญชร ณ อยุธยา, ราชันย์ กาญจนมาศ, ฑัต เอกฑัต, วิน วิษณุรักษ์, ชาลี อินทรวิจิตร, ประไพ, สมพล กงสุวรรณ, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, ทศ, สังวรณ์, ล้อต๊อก, สมพงษ์ พงษ์มิตร, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ, ก๊กเฮง กุหลาบทิพย์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
สกาวเดือน (2505)

สกาวเดือน (2505/1962) กึกก้อง...เกรียวกราว...กันเกร่อกรุง! ทรงกลดหนุ่มหล่อ มีการศึกษาที่หลีกหนีความวุ่นวายจากสาวสาวที่มารดาของเขาจับคู่ให้มาทำวิทยานิพนธ์ที่บ้านไร่ของทรงกริชและมุกดาพี่ชายและพี่สะไภ้ของเขาทำให้ได้พบกับกระต่ายหรือ สกาวเดือนสาวน้อยจอมแก่นที่มีลุกสมุนมากมายโดยมักจะกลั่นแกล้งเจษฎาที่มาติดพันอาเล็กหรือเพ็ญลักษณ์ญาติสาวที่กระต่ายรักมาก ท่ามกลางญาติคนอื่นที่ดูถูก ดูแคลนในตัวเธอสกาวเดือนสนิทสนมกับทรงกลดจากการที่เขาให้ความเข้าใจและเอ็นดูเธอมาตลอดจึงพยายามจะจับคู่ตัวเขาให้กับเพ็ญลักษณ์แทนเจษฎาที่ไม่เอาไหนในสายตาของเธอโดยไม่รู้เลยสักนิดว่าเธอและเขานั่นเองคือคู่แท้ของกันและกัน

รุ้งเพชร (2504)
รุ้งเพชร (2504/1961) รุ้งเพชร เป็นเด็กสาวแก่นแก้วอยู่ในความอุปการะของครอบครัวพระเอก ขณะที่พระเอกเดินทางไปศึกษาที่ต่างประเทศ เมื่อกลับมาเมืองไทย ก็ต้องผจญกับความแก่นของรุ้งเพชร ขณะเดียวกับที่รุ้งเพชรก็ถูกกลั่นแกล้งจากบรรดาสาวๆที่หมายปองพระเอก แต่ในที่สุดพระเอกและรุ้งเพชรเริ่มมีใจให้กัน รุ้งเพชรเปลี่ยนจากเด็กสาวแก่นแก้วกลายเป็นหญิงสาวงดงาม และในที่สุดทั้งสองก็ได้สมรักกัน
น้ำตาทมิฬ (2503)
น้ำตาทมิฬ (2503/1960) น้ำตาทมิฬ เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2503 สร้างโดย กมลศิลปภาพยนตร์ โดยมี รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง เป็นผู้อำนวยการสร้างและนำแสดง กำกับการแสดงโดย น้อย กมลวาทิน และให้เสียงพากย์โดย รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง - จุรี โอศิริ
แม่ (2502)
แม่ (2502/1959) รัตนาภรณ์-สมควร ชนะ-รสริน ข้อความบนรูปโฆษณา ศาลาเฉลิมกรุง และ กมลศิลป์ภาพยนตร์ ขอให้ท่านอดใจรอสิ่งเปรียบเทียบจาก รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา ระหว่างแม่ไทยกับแม่อินเดีย นั่นคือ แม่ กับ ธรณีกรรแสง ใครจะเหนือกว่ากัน แม่ จากบทประพันธ์ของ เสน่ห์ โกมารชุน รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา ชนะ ศรีอุบล, สมควร กระจ่างศาสตร์, สมจิตร ทรัพย์สำรวย, สมพล กงสวรรณ, เสน่ห์ โกมารชุน, กมลพันธ์ สันติธาดา, ล้อต๊อก, ชั้น พวงวัน พร้อมด้วย รสริน วิลาวัลย์ (เทพีตุ๊กตาทอง) และขอแนะนำ ด.ญ.อ้อย อินทิรา ประสิทธิ์ ศิริบันเทิง สร้างบท ธีระ แอคะรัจน์ ถ่ายภาพ น้อย กมลวาทิน กำกับการแสดง กำหนดฉายที่ ศาลาเฉลิมกรุง แห่งเดียว ในเดือนสิงหาคมนี้ (ที่มา :Thai Movie Posters)
ไอ้แก่น (2502)
ไอ้แก่น (2502/1959) ไอ้แก่น (รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง) กับไอ้เปีย (ด.ช.ล้อต๊อกน้อย) ใช้แผนตลกรับประทาน หลอกตีสนิท ปิ่น (ลือชัย นฤนาท) ซึ่งกำลังนั่งกินก๊วยจั๊บริมถนน โดยทำทีให้คนขายเห็นว่าเป็นพี่น้องกัน นอกจากกินไปคนละ 2 ชามแล้ว ก็ยังสั่งหมูเปื่อยเอาไปฝากยายจัน (หม่อมชั้น พวงวัน) ยายตาบอดที่เลี้ยงไอ้แก่นมาตั้งแต่แบเบาะอีกด้วย กว่าปิ่นจะรู้ตัว ปิ่นก็กลายเป็นหมูเปื่อยตามชื่ออาหารที่ไอ้แก่นไอ้เปียเอาไปฝากยายจันแล้ว เมื่อได้หมูเปื่อยมาห่อหนึ่ง ไอ้แก่นไอ้เปียก็เผ่นเข้าซอยไปหยุดคุยกับ สุดใจ (เรวดี ศิริวิไล) แม่ค้าขายกล้วยปิ้งซึ่งมีสามีชื่อ เชิด (ประมินทร์ จารุจารีต) เป็นนักเลงหัวไม้ คุยกันยังไม่เท่าไหร่ เชิดก็ปรากฏตัวและไถเงินสุดใจ หวิดจะมีเรื่องกับ ไอ้แก่น แต่สุดใจห้ามไว้ก่อน ขณะจะเดินเข้าซอย ไอ้เปียก็วิ่งไปชนเข้ากับ อนุ (วิน วิษณุรักษ์) ซึ่งเป็นช่างภาพ แต่จากการพูดคุยกัน ทำให้อนุสนใจในตัวแก่น แม้ว่าตอนนั้นแก่นจะยังแต่งตัวม่อมแม่ม แต่อนุก็ชวนแก่นให้ไปถ่ายแบบ เมื่อไปถึงบ้านอนุ ไอ้แก่นไอ้เปียก็พบกับปิ่นหรือหมูเปื่อยที่นั่นอีก ปิ่นเป็นเพื่อนรักของอนุ อนุจึงฝากปิ่นดูแลแก่นให้อาบน้ำแต่งตัวเตรียมไว้ถ่ายแบบ ระหว่างนั้นคู่รักของอนุก็เข้ามาหาและเกิดปากเสียงกับแก่น ปิ่นก็ถือหางข้างไอ้แก่นเพราะเริ่มจะมีใจชอบๆ ไอ้แก่นเข้าบ้างแล้ว หลังจากถ่ายแบบเสร็จ ไอ้เปียก็เล่าให้ยายจันฟังว่า พี่แก่นใส่เสื้อผ้าชุดใหม่แล้วสวยน่ารัก ยายจันก็บอกว่า ใช่ แก่นหรือแก่นจันทร์เป็นคนสวย ไอ้เปียก็งงๆ เพราะยายจันตาบอด จะรู้ได้ยังไงว่า แก่นเป็นคนสวย ยายจันจึงเล่าเรื่องชีวิตไอ้แก่นเมื่อครั้งที่แม่ของไอ้แก่นคือ นงราม อุ้มไอ้แก่นมาฝากเลี้ยงและสิ้นใจตาย ตอนนั้นยายจันยังไม่ตาบอดจึงจำภาพแม่ของแก่นได้ดีว่าเป็นผู้ดี หน้าตาสวยงาม ก่อนที่นงรามจะเสียชีวิตก็ได้มอบแหวนประจำตระกูลเป็นรูปแมงมุมให้แก่ยายจันไว้หนึ่งวงเพื่อเป็นหลักฐานว่าไอ้แก่นเป็นใคร ต่อมาแก่นไปทำงานเป็นคนรับใช้ที่บ้านของนายเรียว รัชฎา (สมพล กงสุวรรณ) ก็ถูกนายเรียวปลุกปล้ำ แก่นเอาตัวรอดได้โดยมีปิ่นซึ่งคอยเฝ้าติดตามแก่นไปทุกที่เป็นผู้ช่วยอีกแรงหนึ่ง ฝ่ายสุดใจนั้น เมื่อทนการตบตีของเชิดไม่ไหวจึงหนีไปทำงานเป็นคนรับใช้ที่บ้านคุณหญิงสุดจิต ระหว่างที่นวดให้คุณหญิงก็เหลือบไปเห็นแหวนที่นิ้วคุณหญิงจึงทักว่า เคยเห็นแหวนแบบเดียวกันนี้ที่ไอ้แก่น คุณหญิงจึงให้ไปตามไอ้แก่นมาพบ เมื่อพบกันจึงรู้ความจริงว่า แก่นก็คือหลานยายที่นงรามผู้เป็นแม่พาหนีออกจากบ้านไปเมื่อ 18 ปีที่แล้ว ฝ่ายปิ่นนั้นเมื่อรู้ว่า แก่นได้เป็นลูกผู้ดีมีสกุลแถมร่ำรวยอีก ก็ได้แต่เฝ้ามองเมียงอยู่นอกบ้านคุณหญิงซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับที่ ชัย ราเมศร์ (สมควร กระจ่างศาสตร์) มาเดินป่วนเปี้ยนเช่นกัน ปิ่นนั้นไม่รู้ว่า ชัยเป็นพ่อของแก่นเพราะชัยไม่ยอมบอกเพราะกลัวแก่นจะอับอายที่มีพ่อเป็นคนขี้คุกขี้ตะราง แต่การที่ปิ่นกับชัยมาแวะเวียนที่หน้าบ้านคุณหญิงก็เป็นผลดีเพราะต่อมาเมื่อนัทที (กมลพันธ์ สันติธาดา) ซึ่งเป็นญาติกับนงรามรู้ว่า แก่นจะเป็นทายาทรับมรดกของคุณหญิงก็เกิดความอิจฉา ละโมบจึงร่วมมือกับนายเรียว นายเชิด จับแก่นไปฆ่าทิ้ง แต่ชัยกับปิ่นเห็นเหตุการณ์ก่อน จึงตามไปช่วยแก่นได้ทัน เมื่อผิดแผน นายเรียวกับนายเชิดจึงวางแผนปล้นบ้านคุณหญิงแทน เผอิญไอ้เปียแอบได้ยินแผนการจึงไปส่งข่าวให้เพื่อนๆ ของปิ่นรู้เรื่องและมาช่วย วันที่นายเรียวกับนายเชิดเข้าปล้นบ้านคุณหญิงนั้น ปิ่นกับชัยก็ยังคงเฝ้าหน้าบ้านจึงเข้าช่วยเหลือ ระหว่างที่ชัยกำลังประคองแก่นซึ่งสลบอยู่นั้น นายเรียวก็ใช้มีดแทงหลังชัยได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อคุณหญิงเห็นหน้าชัยก็บอกความจริงแก่แก่นว่า ชัยคนนี่แหละคือพ่อบังเกิดเกล้าของแก่น ทั้งคู่คร่ำครวญร้องไห้ถึงความรักที่มีต่อกัน ก่อนที่ชัยจะสิ้นใจนั้น ชัยก็ได้ขอให้คุณหญิงยอมยกแก่นให้แก่ปิ่นเพราะเห็นว่า ปิ่นรักแก่นจริงๆ ไม่อยากจะให้ผิดหวังเหมือนอย่างที่ตนเองเคยประสบมา

หน้าที่