สามเสือสมุทร (2497)
สามเสือสมุทร (2497/1954) เนื้อเรื่อง หนักไปในเรื่องชาติเหมาะสมกับเหตุการณ์อนาคต ซึ่งไทยประเทศอาจจะต้องประสบก็อาจเปนได้ แสดงให้เห็นถึงความรักชาติไทยของเหล่าลูกนาวี เน้นให้เห็นถึงความรักระหว่างอากับหลานระหว่างชาติไทยอันเปนสุดที่รักของเขา แสดงให้ซึ้งถึงชีวิตของลูกดอกประดู่ซึ่งจะไม่รู้วันโรย การยกพลขึ้นบุก ยุทธวิธีการโจมตี ฯลฯ (ที่มา: นิตยสารข่าวภาพยนตร์ พฤษภาคม พ.ศ. 2497)
คำสั่งคำสาป (2497)
คำสั่งคำสาป (2497/1954) ดร.ทองคำ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยึดมั่นในลัทธิประชาธิปไตย มีสานุศิษย์เคารพเป็นจำนวนมาก เมื่อ ดร.ทองคำ เสียชีวิต นายพูน พี่ชายของดร.ทองคำ ซึ่งเป็นผู้ร่วมอุตสาหกรรมน้ำพูนจิตต์ รับ เครือมาศ ลูกสาวคนเดียวของ ดร.ทองคำ มาดูแล นายพูนได้สร้างอนุสาวรีย์ ดร.ทองคำ ขึ้น และพยามยามชักจูงผู้ที่เคยเลื่อมใส ดร.ทองคำ ให้มาเลื่อมใสตน แต่เบื้องหลังกลับวางแผนการกำจัดเครือมาศโดยการวางยาทำลายเส้นประสาท เครือมาศรู้ตัวทันจึงลอบหนีไปหา ขุนลีลาศาสตร์สุนทร เพื่อนรักของ ดร.ทองคำ ขุนลีลาศาสตร์สุนทรอาศัยอยู่กับ ชัยศิริ บุตรชายซึ่งมีอาชีพเป็นนักสืบชัยศิริจึงรับปากจะช่วยเครือมาศ ชัยศิริลอบเข้าบ้านพูนโพคาเพื่อสืบหาหลักฐานสาเหตุการเสียชีวิตของ ดร.ทองคำ นายพูนมาพบเข้าจึงเกิดการต่อสู้กัน นายพูนและแม่ผันแยกกันหนี แม่ผันออกไปทางลับเพื่อเรียกคนมาช่วย ส่วนนายพูนหนีไปทางตึกที่มีรูปปั้น ดร.ทองคำ ชัยศิริซ้อนกลนายพูนต่อหน้าคนที่แม่ผันเรียกมา โดยทำให้รูปปั้นเปิดโปงว่านายพูนทรยศต่อ ดร.ทองคำ และออกคำสั่งให้จัดการนายพูนเสีย แต่นายพูนพยายามแย่งระเบิดจากคนใกล้ๆ พ.ต.ต. ว่อง โดดออกมาจากด้านหลังรูปปั้นเข้าแย่งระเบิดไว้ทัน และใส่กุญแจมือนายพูนติดไว้กับรูปปั้น แต่ไม่ทันไรรูปปั้นนั้นก็ล้มทับนายพูนตายคาที่
สามเกลอเจอผี (2496)
สามเกลอเจอผี (2496/1953) สามเกลอเจอผี เป็นภาพยนตร์ไทย ฟิล์ม 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2496 กำกับการแสดงโดย ดอกดิน กัญญามาลย์ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีคำโปรยว่า ภาพยนตร์ตลก-แปลก และใหม่ที่สุด ไม่ซ้ำแบบใคร
วิญญาณคนอง (2496)
วิญญาณคนอง (2496/1953) นางนากพระโขนงแผลงฤทธิ์อีก นิยายใหม่ของนางนาก (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2496)
เสียงสาป (2496)
เสียงสาป (2496/1953) สำเนียงนั้นแผ่วโผยมาในอากาศ เป็นสำเนียงที่พลิกชีวิตหนึ่งให้กระเจิงไป ...สำเนียงประหลาดนั้น เป็น! "เสียงสาป" (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2496)
ฟ้าคำรณ (2496)
ฟ้าคำรณ (2496/1953) ดู! สงครามชิงรัก ดู! ชาวป่าบุกขึ้นเป็นกษัตริย์ (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 10 มีนาคม พ.ศ. 2496)
ทหารเอกพระบัณฑูร (2496)
ทหารเอกพระบัณฑูร (2496/1953) ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ พระมหาอุปราช ถูก จมื่นศรีสรลักษณ์ กับ เจ้าสามกรม ใส่ความว่าลอบคบชู้กับ เจ้าฟ้านิ่ม พระสนมเอกของพระราชบิดา จนต้องโทษประหารชีวิต มิหนำซ้ำยังสั่งให้ ขุนจิตร์สุนทร กับขุนฤทธิ์ภักดี ควบคุมตัว องค์หญิง พระขนิษฐาของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ไปคุมขัง แต่ หลวงกลาโหม ราชองครักษ์เอกผู้คุมหมู่ทหารพระบัณฑูรของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์มาขัดขวางและฆ่าขุนฤทธิ์ฯ เสียชีวิต หลวงกลาโหมพาเจ้าหญิงไปประทับที่ตำหนักของเจ้าฟ้าอุทุมพร เสด็จฯอาขององค์หญิง ก่อนจะหนีไปหลบซ่อนตัว หลังจากนั้นไม่นาน สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้าอุทุมพรซึ่งตามประเพณีต้องขึ้นครองราชย์ ได้ถวายให้เจ้าฟ้าเอกทัศน์ขึ้นครองราชย์แทนพระองค์ที่ประสงค์จะทรงผนวช แต่สมเด็จพระเอกทัศน์ทรงลุ่มหลงในความมัวเมา ขุนนางที่มักใหญ่ใฝ่สูงจึงคิดคดถึงขนาดเหิมเกริมจะโค่นราชบัลลังก์ ร้อนถึงกรมหมื่นเทพพิพิธและขุนนางที่จงรักภักดีต้องร่วมมือกันวางแผนให้เจ้าฟ้าอุทุมพรกลับมาขึ้นครองราชย์ตามเดิม แต่แผนการรั่วไหลทำให้กรมหมื่นฯ และพรรคพวกรวมทั้งหลวงกลาโหมถูกจับกุม ระยะนั้นเอง ฝ่ายพม่าได้ยกกองทัพเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยา เหล่านักโทษถูกเกณฑ์ออกมาสู้ศึกกับพม่ารวมทั้งหลวงกลาโหมได้เข้าร่วมในศึกครั้งนี้ด้วย ฝ่ายพม่าตีร่นมาถึงพระนคร หลวงกลาโหมจึงรีบไปช่วยองค์หญิงอย่างไม่ห่วงชีวิต องค์หญิงทรงซาบซึ้งพระทัยที่หลวงกลาโหมช่วยชีวิตพระองค์ไว้ถึงสองครา จึงทรงสละฐานันดรศักดิ์เพื่อครองรักกับหลวงกลาโหม
พรานนาวี (2496)
พรานนาวี (2496/1953) หลังเสร็จสิ้นการรบ นาวิน และเชิดชัย สองนักเรียนนายเรือเพื่อนรัก ก็ขึ้นฝั่ง ณ หาดหัวหินเพื่อพักผ่อนกันตามประสา ทว่าทั้งสองกลับต้องมามีเรื่องกินแหนงแคลงใจกัน เมื่อทั้งนาวินและเชิดชัยเกิดไปตกหลุมรักผู้หญิงคนเดียวกัน เธอคนนั้นคือ วันเพ็ญลูกสาว นายบุญลือ พ่อค้าของเถื่อน แต่แล้วนาวินก็เป็นฝ่ายพิชิตใจของวันเพ็ญไปพร้อมกับการได้รับกระบี่เป็นนายเรือ สวนทางกับเชิดชัยที่ช้ำรักจนสอบตกและต้องสอบใหม่จนได้ยศที่ต่ำกว่านาวิน แต่ก็ใช่ว่านาวินจะสมหวังไปทุกอย่าง เมื่อนายบุญลือหมายจะยกวันเพ็ญให้ เสี่ยเส็ง คู่ค้าของตน ด้วยกลัวว่านาวินจะมารู้เห็นการค้าผิดกฎหมายของตน จึงพาวันเพ็ญหนีมาอยู่หมู่บ้านชายทะเลแห่งหนึ่ง เมื่อนาวินกับเชิดชัยเวียนมาพบกันอีกครั้ง แม้ทั้งสองจะเคยบาดหมางใจกัน ก็ยอมร่วมมือเพื่อช่วยวันเพ็ญให้พ้นจากเงื้อมมือของนายบุญลือและเสี่ยเส็ง จนนาวินต้องถูกเหล่าร้ายจับเป็นตัวประกัน การต่อสู้จึงเกิดขึ้น
Placeholder
พระเจ้ากรุงธนบุรี (2495)
ซากผีดิบ (2495)
ซากผีดิบ (2495/1952) ดร.ชาญ จบจากประเทศฝรั่งเศสเป็นคนไม่เชื่อว่าผีมีจริงในโลก ได้โคจรมาพบ ผ่องพรรณ ลูกสาวของ ขุนจำนง และเริ่มชอบผ่องพรรณ แต่เธอมีคนรักแล้วคือ สาโรช ขุนจำนงมีภรรยาชื่อ พวง เป็นภรรยาหลวง และ พริ้ง เป็นภรรยาน้อย แม่พริ้งยังสาวและสวยอยู่ ส่วนขุนจำนงวันๆ เอาแต่หมกมุ่นอยู่กับการเล่นแร่แปรธาตุ เมื่อ ดร.ชาญ มาคลุกคลีในบ้านขุนจำนงนานเข้า ทั้งสองจึงเล่นชู้กัน คืนหนึ่ง ขุนจำนงฝันว่ามีผู้วิเศษมาเข้าฝัน บอกให้ขุนจำนงเอาตะกั่วหลอมเป็นลูกกลมๆ เอาไปใส่น้ำยาสมุนไพร นำไปบวงสรวงและฝังกลางโบสถ์ร้าง เมื่อครบกำหนด 3 วัน 3 คืน ให้ไปขุดขึ้นมา ก้อนตะกั่วจะกลายเป็นแก้วสารพัดนึก สามารถขอพรได้ 3 ประการ ขุนจำนงทำตามความฝันโดยมี ดร.ชาญ ตามไปด้วย แต่แล้ว ดร.ชาญ ผู้ไม่เชื่อเรื่องผีสางก็ถูกผีบีบคอตายอย่างน่าสยดสยอง เมื่อครบกำหนดขุนจำนงไปขุดเอาแก้วสารพัดนึก แล้วให้ภรรยานึกสิ่งที่ต้องการคนละ 1 ข้อ ไม่นานนักทุกคนในบ้านก็ถูกลอตเตอรี่พร้อมกันเป็นไปตามที่พวงขอ ส่วนพริ้ง ไม่มีใครล่วงรู้ว่าขอเรื่องอะไร จนกระทั่ง ผีดิบ ดร.ชาญ ตามมาอาละวาดที่บ้าน ทุกคนจึงได้รู้ว่าพริ้งขอให้ ดร.ชาญ ฟื้นคืนชีพ
ขุนศึก (2495)
ขุนศึก (2495/1952) เรื่องราวของ เสมา ช่างตีดาบที่อยากเป็นทหารรับใช้ชาติ ในสมัยพระนเรศวรมหาราช เสมามีฝีดาบในการต่อสู้เป็นเลิศ พันอินทราช พบเข้าก็ถูกชะตา และฝากให้เป็นทหารกับ ขุนราม แต่กลับต้องเป็นไม้เบื่อไม้เมากับ หมู่ขัน ทั้งเรื่องงานและเรื่องความรัก ทั้งสองหลงรัก เรไร ลูกสาวของขุนราม แต่เรไรนั้นมีใจเอนเอียงให้เสมา หมู่ขันจึงหาเรื่องใส่ร้ายจนเสมาถูกขุนรามลงโทษหลายครั้งหลายครา แม้ว่าเสมาจะเป็นกำลังสำคัญในการสู้รบกับหงสาวดี แต่ก็ไม่สามารถช่วยให้ขุนรามนั้นเห็นใจเสมาได้เลย ครั้งหนึ่งในการสู้รบกับฝ่ายหงสา เสมาได้ปราบหงสาจนแตกทัพและล่าถอยไป จึงได้ความดีความชอบเป็นหมื่นศึก และตั้งใจกลับมาหาเรไร แต่ก็โดนหมู่ขันกล่าวหาให้ร้ายทั้งคู่ จนขุนรามเกิดความอับอายอย่างมากจึงจับตัวเรไรไปขัง เมื่อเสมาทราบเรื่องก็ตามไปช่วยเรไรออกมาแม้ต้องต่อสู้กับทัพของขุนรามก็ตาม
เจดีย์หัก (2495)
เจดีย์หัก (2495/1952) สมัยกษัตริย์อุทุมพรแห่งอยุธยา พม่าเริ่มนำกำลังรุกรานประเทศ จนในที่สุดก็มาถึงบ้านแป้งและหัวคู พระยาโกษาธิบดี ขุนคลัง กับ เจ้าหญิงสุชาวดี ได้รับคำสั่งให้ตามหา หลวงตาธรรมคง เพื่อหารือเรื่องการซ่อนสมบัติไว้ใต้เจดีย์สี่ทิศ วัดทุ่ง ซึ่งเป็นเจดีย์ประจำหมู่บ้าน หลวงตาธรรมคงเคยมีศิษย์เอกสองคน คือ เพลิง กับ กลอง กลองริษยาเพลิงที่ได้ สไบ เป็นเมีย จึงร่วมมือกับ กำนันเทิ้ม พ่อของตนหาเรื่องใส่ร้ายเพลิง เป็นเหตุให้เพลิงต้องหลบไปกบดานในป่า พระยาโกษาฯ ที่กำลังออกตามหาหลวงตาธรรมคง ถูกพวกพม่าดักปล้นแย่งชิงสมบัติ เคราะห์ดีที่เพลิงผ่านมาช่วยเหลือไว้ เมื่อรู้จุดประสงค์ของพระยาโกษาฯเพลิงก็อาสานำทางไป ระหว่างที่พระยาโกษาฯ หารือกับหลวงตาธรรมคงจู่ๆ ทหารยามก็มาแจ้งว่าเจ้าหญิงสุชาดาถูกลักพาตัวไปทุกคนจึงรีบเดินทางไปช่วย ในขณะที่เพลิงกำลังประดาบกับศัตรูคนหนึ่ง เจ้าหญิงตะโกนให้เพลิงหยุด เพราะจำได้ว่าเขาผู้นั้นคือ หลวงแสนยาณรงค์ ลูกชายของพระยาโกษา ก่อนจะได้รู้ในเวลาต่อมาว่าเป็นไส้ศึกให้ฝ่ายพม่า และแล้วพม่าก็เริ่มย่างกรายเข้ามาใกล้หมู่บ้านเพลิงให้ เตี้ย สมุนเอก ไปแจ้งข่าวให้ชาวบ้านเตรียมตัวบุกค่ายพม่าในเวลาฟ้าสาง ส่วนตนเองจะลอบเข้าไปในค่ายพม่าก่อนเพื่อช่วยหลวงตาธรรมคง พระยาโกษาฯ และสไบที่ถูกจับตัวไป โดยไม่รู้ว่าทั้งสามถูกทรมานจนเสียชีวิตไปแล้ว เมื่อเข้าไปในค่ายพม่าเพลิงจึงตกเป็นเชลยทันที คืนนั้น ขุนพยัคฆ์ภูมิ ทหารเอกแห่งกรุงศรีอยุธยาเข้ามาช่วยเพลิง เมื่อฟ้าสาง เตี้ยนำทัพชาวบ้านโจมตีค่ายพม่าจนแตกร่นไปถึงเจดีย์สี่ทิศ วัดทุ่ง เป็นเวลาเดียวกับที่ อุยตอง กับ มะมังจะ สองหัวหน้าทหารของพม่า กำลังลงไปในอุโมงค์ใต้ดินเพื่อขโมยสมบัติ ทันใดนั้น ก็เกิดแผ่นดินไหว ทำให้เจดีย์หักลงมาทับร่างอุยตองกับมะมังจะจนเสียชีวิต ความสงบสุขจึงกลับมาสู่บ้านแป้งและหัวคูอีกครั้งหนึ่ง
วิญญาณปาฏิหาริย์ (2495)
วิญญาณปาฏิหาริย์ (2495/1952) เกร็ดพงษาวดารสมัยโบราณเก่าแก่ จนเกี่ยวไปถึงสิ่งมหัศจรรย์ (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 4 เมษายน พ.ศ. 2495)
เมื่อนเรศวรกู้ชาติ (2494)
เมื่อนเรศวรกู้ชาติ (2494/1951) เกร็ดพงศาวดารไทย ตอนอพยพครัวไทยและมอญสวามิภักดิ์จากหงษาวดี สู่เมืองแครง (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน พิมพ์ไทย 1 มกราคม พ.ศ. 2495)
วิญญาณรักของนางนาค (2494/1951) ในวันสงกรานต์ ณ ตำบลพระโขนง ระหว่างที่หนุ่มสาวกำลังร่วมในงานรื่นเริง แต่ที่มุมหนึ่ง มาก และ นาค สาวงามแห่งทุ่งพระโขนงกำลังพลอดรักกันอยู่ที่กองฟาง สร้างความริษยาแก่ แม่เฮียง ซึ่งแอบหลงรักมากอยู่ฝ่ายเดียว กำนัน ลุงของมาก เพื่อนกินเหล้าของ เถ้าแก่เฮง กลับทาบทามแม่เฮียง ลูกสาวของเถ้าแก่เฮงมาเป็นสะใภ้ ซึ่งเถ้าแก่เฮงก็เห็นดีเห็นงามด้วย เพราะมากเป็นชายหนุ่มที่ตั้งใจทำมาหากิน นัดหมายเป็นมั่นเหมาะว่าจะให้หนุ่มสาวแต่งงานกันในเดือน 9 โดยมีข้อแม้คือให้กำนันช่วยเป็นพ่อสื่อจัดแจงให้ตนได้สมรักกับนาค มากปฏิเสธการแต่งงานอย่างหัวเด็ดตีนขาด แม้กำนันจะขู่ตัดออกจากกองมรดกก็ไม่สามารถเปลี่ยนใจเขาได้ มากหัวเสียกลับมาที่งานรื่นเริง เห็นเถ้าแก่เฮงรำเล่นอยู่กับนาคก็ยิ่งฉุนเฉียวหนัก โชคดีที่นาคตามมาปรับความเข้าใจและตกลงปลงใจอยู่ด้วยกันนับจากวันนั้นโดยมี ป้าแช่ม เมียของกำนันแอบให้ความช่วยเหลือเถ้าแก่เฮงยังไม่ละความพยายามจะเอานาคเป็นเมีย ร่วมมือกับกำนันส่งมากไปเป็นทหารเกณฑ์ ทั้งที่นาคกำลังตั้งครรภ์อยู่ กลางดึกคืนหนึ่งนาคเจ็บท้องอย่างหนัก พยายามออกมาขอความช่วยเหลือจากชาวบ้าน แต่ขาดใจตายกลางคัน เช้าวันรุ่งขึ้น เช้าบ้านช่วยกันนำศพนาคไปฝังไว้ที่ใต้ต้นตะเคียนคู่ ในป่าช้าวัดมหาบุศย์ แต่หลังจากนั้นวิญญาณของนาคก็ออกอาละวาดชาวบ้านละแวกนั้น แม้จะมีหมอผีอาสามาปราบก็ไม่สำเร็จ วันหนึ่ง มากขอลากลับมาเยี่ยมลูกเมียที่ทุ่งพระโขนง และต้องดีใจที่เห็นลูกเมียยืนคอยที่ริมตลิ่ง โดยไม่รู้เลยว่านั่นเป็นเพียงวิญญาณรักของนางนาค