พระรถ-เมรี (2508)
พระรถ-เมรี (2508/1965) ข้อความบนใบปิด เสน่ห์ศิลป์ภาพยนตร์ สร้าง เสน่ห์ โกมารชุน อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง อนุศักดิ์ เจนจรัสสกุล ถ่ายภาพ พระรถ-เมรี หรือ นางสิบสอง จากวรรณคดีชาดกที่รู้กันทั่วไป นำโดย ไชยา สุริยัน เพชรา เชาวราษฎร์ และอีก 12 นางเอก เอื้อมเดือน อัษฎา, ปรียา รุ่งเรือง, เยาวเรศ นิสากร, บุษกร สาครรัตน์, อภิญญา วีระขจร, อุษา อัจฉรานิมิตร, วรรณา แสงจันทร์ทิพย์, ขวัญตา บัวเปลี่ยนสี, ใจดาว บุษยา, สุดเฉลียว เกตุผล, แพร ไพลิน, บุษบา และ...พาทีมเสน่ห์ศิลป์ครบครัน...
ปลาบู่ทอง (2508)
ปลาบู่ทอง (2508/1965) "เศรษฐีทารกะ" ผู้มีอาชีพจับปลามีภรรยาสองคน คนแรกชื่อ "ขนิษฐา" มีลูกสาวชื่อ "เอื้อย" ส่วนคนที่สองชื่อ "ขนิษฐี" มีลูกสาวชื่อ "อ้าย" และ "อี่" วันหนึ่งทารกะพยายามจับปลาแต่จับทีไรก็ได้แต่ปลาบู่ตั้งท้องตัวหนึ่งกระทั่งพลบค่ำทารกะจึงจะนำปลาบู่กลับบ้านแต่ด้วยความสงสารขนิษฐาผู้เป็นภรรยาขอร้องให้ปล่อยไป ทำให้ทารกะเกิดบันดาลโทสะฆ่านางขนิษฐาจนตายและทิ้งศพลงคลอง และบอกกับอ้ายลูกสาวว่ามารดาได้หนีตามผู้ชายไป เอื้อยเสียใจที่สูญเสียแม่ไปอีกทั้งยังโดนแม่เลี้ยงและพี่เลี้ยงกดขี่ข่มเหง สิ่งเดียวที่ปลอบประโลมเธอได้มีเพียง "ปลาบู่ทอง" ที่คือแม่ที่กลับชาติมาเกิด แต่สองแม่ลูกหารู้ไม่ว่าเธอทั้งคู่จะต้องถูกขนิษฐีและลูกๆของเธอพรากความสุขเล็กๆของพวกเธอไปครั้งแล้วครั้งเล่า ปลายทางของสองแม่ลูกที่น่าสงสารจะลงเอยเช่นไรเมื่อหนทางแห่งความสุขในชีวิตแทบจะไม่เห็นทางสว่างเลย
ธนูทอง (2508)
ธนูทอง (2508/1965) กมลสิงห์ กษัตริย์หนุ่มบ้าเลือดที่รักการทำสงครามเป็นชีวิตจิตใจ ยกทัพไปตีและยึดเมืองต่างๆไปทั่ว จนมีเมืองหนึ่งเจ้าผู้ครองเมืองไม่อยากรบเลยคิดแผนแยบยลส่งเจ้าหญิงพระราชธิดามาเป็นเครื่องบรรณาการ ตอนแรกกษัตริย์หนุ่มก็ไม่ได้สนพระทัยเพราะมุ่งแต่จะทำสงคราม แต่สุดท้ายก็ทนความเย้ายวนของเจ้าหญิงไม่ได้จึงอภิเษกเจ้าหญิงเป็นพระมเหสีและยุติการทำสงครามไปพักใหญ่ ต่อมาบรรดาเสนาก็มาทูลชวนให้ไปรบต่อ มิเช่นนั้นประชาชนจะเห็นว่ากษัตริย์ของตนนั้นขี้ขลาด ลุ่มหลงอยู่แต่กับอิสตรี กษัตริย์หนุ่มก็เลยจำใจเตรียมจะยกทัพไปบุกเมืองของเจ้าหญิงพระมเหสี ฝ่ายเจ้าหญิงแอบรู้แผนการก่อนเลยส่งสารไปบอกพระบิดาของตนเอง ทำให้ฝ่ายกษัตริย์หนุ่มรบไม่ชนะ กษัตริย์หนุ่มทรงพิโรธมาก ตรัสว่าถ้ารู้ว่าใครเป็นไส้ศึกจะประหารด้วยมือของพระองค์เอง เจ้าหญิงเลยออกมาพูดความจริงว่าตนเองที่เป็นไส้ศึก และขอให้พระสวามีประหารชีวิตตนเสียเพราะเป็นกษัตริย์ตรัสแล้วต้องไม่คืนคำ ฉากสุดท้ายสุดเศร้าคือฉากที่กษัตริย์หนุ่มจำใจประหารพระมเหสีสุดรักด้วย ธนูทอง และพระองค์ก็ตัดสินพระทัยดึงธนูทองที่ปักอยู่ที่พระอุระของมเหสียอดรักมาปักที่หัวใจพระองค์เอง สิ้นพระชนม์ไปด้วยกัน
ผู้พิชิตมัจจุราช (2506)

ผู้พิชิตมัจจุราช (2506/1963) ผู้พิชิตมัจจุราช เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2506 เป็นผลงานการกำกับของ ส.อาสนจินดา สร้างโดย วัชรภาพยนตร์ โดยมี วิมล ยิ้มละมัย เป็นผู้อำนวยการสร้าง ถ่ายภาพโดย ฉลอง ภักดีวิจิตร และลำดับภาพโดย ฉลวย ศรีรัตนา ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ เทียน เหลียวรักวงศ์

อุดมเด็กดี (2505)
อุดมเด็กดี (2505/1962) อุดม มั่นสุจริต เด็กยากจนแต่มีความขยันหมั่นเพียร มีมานะในการทำงานเพื่อเลี้ยงแม่และค่าเช่าที่ดิน ซึ่งหากไม่มีเงินมาจ่ายก็อาจจะเสียม้าที่ชื่อ เจ้าลอยลม มรดกที่พ่อทิ้งไว้ให้ การหาเงินเป็นเรื่องยากลำบากรวมถึงต้องพบกับอุปสรรค และชะลอ รักการค้า เพื่อนขี้เกียจที่ชวนอุดมให้เกียจคร้าน แต่ท้ายสุดด้วยความซื่อสัตย์และขยัน อุดมจึงช่วยแม่ จ่ายค่าเช่าที่ดิน และช่วยให้ชะลอให้หายหลังยาวได้สำเร็จ
มหาเวสสันดร (2504)
มหาเวสสันดร (2504/1961) มหาเวสสันดร เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2504 สร้างโดย เนรมิตภาพยนตร์ โดยมี จรี อมาตยกุล เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดยครูเนรมิต (อำนวย กลัสนิมิ) ถ่ายภาพโดย ส. อาสนจินดา และจัดจำหน่ายโดยบริษัทไทยฟิล์ม จำกัด ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากชีวประวัติเรื่องมหาเวสสันดรชาดกในทศชาติชาดก
ยอดชายชาตรี (2503)
ยอดชายชาตรี (2503/1960) ยอดชายชาตรี เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2503 กำกับการแสดงโดย วรุณ ฉัตรกุล ณ อยุธยา
ชูชกกับกัณหาชาลี (2500)
ชูชกกับกัณหาชาลี (2500/1957) ชูชกกับกัณหาชาลี เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 สร้างโดย 25 ศตวรรษภาพยนตร์ โดยมี ช.ลุนเผ่ เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดย ทองต่อ จาตุรงคกุล และให้เสียงพากย์โดย เสถียร-ละม่อม ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากชีวประวัติเรื่องมหาเวสสันดรชาดกในทศชาติชาดก
โอเคสังข์ทอง (2497)
โอเคสังข์ทอง (2497/1954) ท้าวสามล เป็นกษัตริย์ ณ สามลพระนคร มีเอกอัครชายาชื่อ มณฑาเทวี มีพระราชธิดา 7 พระองค์ องค์สุดท้องชื่อ รจนา วันหนึ่งท้าวสามลและนางมณฑาเทวีใช้ให้ ขุนหมื่น ไปเชิญหน่อกษัตริย์ร้อยเอ็ดหัวเมืองมาชุมนุมให้ธิดาทั้งเจ็ดพระองค์เลือกเป็นคู่ครอง ธิดาทั้ง 6 เลือกหน่อกษัตริย์ที่ตนพึงใจ เว้นเสียแต่รจนาที่เลือกเอาเจ้าเงาะหน้าตาอัปลักษณ์เป็นคู่ แม้เสด็จพ่อเสด็จแม่จะห้ามปรามยังไงก็ไม่ฟัง รจนาและเจ้าเงาะครองสุขได้ไม่นานก็ถูกกลั่นแกล้งให้ไปหาปลา นายเงาะหรือพระสังข์ก็ไปหามาได้ซ้ำยังแกล้งตัดจมูกหกเขยเสียด้วย ต่อมานายเงาะก็ถูกเกณฑ์ให้ไปหาเนื้ออีกนายเงาะจึงแกล้งตัดหูหกเขย เวลาผ่านไปเจ้าเงาะไม่ยอมถอดรูปออกจึงร้อนไปถึงสวรรค์พระอินทร์ออกอุบายแปลงตนมาชิงเมืองท้าวสามล ท้าวสามลส่งใครไปรบก็แพ้ ส่ง 6 เขยไปต่อสู้ก็แพ้ มองไม่เห็นทางออกใดจึงจำยอมเชิญเจ้าเงาะมาช่วยรบ เจ้าเงาะยอมไปรบโดยถอดรูปเงาะและรบได้ชัยชนะกลับมา ขับไล่พระอินทร์เหาะขึ้นฟ้าไป เมื่อท้าวสามลและนางมณฑาเห็นเจ้าเงาะถอดรูปก็หลงใหล ยิ่งรู้ว่าเจ้าเงาะคือ พระสังข์ราชบุตรท้าวยศวิมลกับนางจันทร์เทวี ก็ยิ่งปลาบปลื้มยกสมบัติพัสถานให้สังข์ทอง
พิมพิลาไลย (2498)
พิมพิลาไลย (2498/1955) นิยายจาก ขุนช้างขุนแผน วรรณคดีชั้นเยี่ยมของไทย ทองประศรี ต้องเลี้ยงดู พลายแก้วแต่เพียงผู้เดียวหลังจากที่ ขุนไกร ต้องโทษประหารชีวิต 15 ปีผ่านไป พลายแก้วบวชเรียนสั่งสมวิชาจนเก่งกล้าวันหนึ่งเณรแก้วออกเทศน์ทำให้ พิมพิลาไลยหลงใหลในสำเนียง เณรแก้วไม่สามารถระงับกิเลสจึงลาสิกขาบทมาหานางพิมและแต่งงานกันในเวลาต่อมา เป็นผลให้ ขุนช้างแค้นพลายแก้วเพราะหมายปองนางพิมอยู่ ขุนช้างฉวยโอกาสกราบทูลพระพันวษาให้แต่งตั้งพลายแก้วไปคุมทัพปราบเชียงทอง ในระหว่างที่พลายแก้วไม่อยู่ก็ออกอุบายต่างๆ เพื่อให้นางพิมแต่งงานด้วยแต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อมานางพิมล้มป่วย ขรัวตาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น วันทอง เพื่อสะเดาะเคราะห์ ขุนช้างกุเรื่องหลอกนางวันทองจนสำเร็จและได้แต่งงานกับนางวันทอง พลายแก้วนำทัพชนะได้รับพระราชทานยศเป็นขุนแผน พร้อมได้ลาวทอง ชาวเชียงทองเป็นภรรยาอีกคน วันทองดีใจที่พลายแก้วไม่ตายแต่ก็เสียใจที่ตกเป็นของขุนช้างแล้ว ขุนแผนกับขุนช้างได้รับราชโองการให้ไปรับราชการ ขุนช้างฟ้องพระพันวษาว่าขุนแผนทิ้งหน้าที่หนีไปหาลาวทองที่สุพรรณบุรี ขุนแผนจึงถูกเนรเทศไปเป็นนายด่านเมืองกาญจนบุรี ขุนแผนแค้นขุนช้างมากจึงสร้างดาบฟ้าฟื้น ปลุกเศกกุมารทองและค้นหาม้าสีหมอกตามตำราพิชัยสงคราม แล้วบุกไปชิงนางวันทองที่เรือนขุนช้าง
วารุณี (2498)
วารุณี (2498/1955) เมื่อร้อยกว่าปีมาแล้วมีคนตายที่บ้านของ จิต นักโบราณคดี ในตัวผู้ตายมีลายแทงกับกำไลข้างหนึ่งซึ่งเหมือนกับกำไลโบราณที่จิตมีอยู่ กำไลนี้มีลายสวัสดิกะสลักอยู่ ซึ่งเมื่อพันให้ตรงกันจะเกิดเป็นประกายไฟลุกขึ้น ตามลายแทงนั้นว่ากำไลนี้จะสามารถชุบชีวิตพระนางวารุณี ซึ่งถูกสาปเป็นหินอยู่ในถ้ำใต้ปราสาทหินพิมายให้คืนชีพขึ้นมาได้ จิตจึงชวนบุษบา น้องสาวและเชิด คนรักของบุษบาเดินทางไปปราสาทหินพิมายด้วยกัน โดยมีเมฆเป็นผู้นำทางผ่านดงพญาไฟ ระหว่างทางพวกเขาต้องเผชิญหน้ากับสิงสาราสัตว์ต่างๆ จิตและคณะถูกคนป่าพวกช่าย่าเหินซึ่งบูชาพระนางวารุณีจับตัว ปรากฏว่าแท้จริงแล้วเมฆเป็นหัวหน้าคนป่านั่นเอง เมฆสั่งประหารจิตแต่เชิดมาช่วยไว้ได้ เมื่อทั้งหมดเดินทางต่อจนถึงปราสาทหินพิมายก็เกิดแผ่นดินไหว แต่ในที่สุดก็สามารถหาทางเข้าถ้ำได้ และได้พบกับพระนางวารุณีซึ่งนอนเป็นหินอยู่บนแท่น จิตใช้กำไลวิเศษชุบชีวิตพระนางทำให้พระนางฟื้น และเล่าอดีตเมื่อหนึ่งพันปีก่อน ผู้ที่ไปตายบ้านจิตก็คือ ขุนพลกัมพุช ซึ่งกลับชาติมาเกิดและพยายามชุบชีวิตพระนางแต่ไม่สำเร็จ ทันใดนั้น ก็เกิดแผ่นดินไหวขึ้นทำให้หินถล่มมาปิดทางเข้าถ้ำ พระนางวารุณีวิ่งกลับไปหาร่างของขุนพลฯ ที่เป็นหิน แต่เพดานถล่มลงมาทับพระนางเสียก่อนพระนางบอกทางออกให้จิต เชิด และบุษบาก่อนจะสิ้นลมหายใจ
สามเกลอแผลงฤทธิ์ (2497)
สามเกลอแผลงฤทธิ์ (2497/1954) หลังจากเกษียณราชการ ขุนรักษาพยายามคิดค้นยาชุบชีวิตคนตายให้กลายเป็นคนเป็นเพราะหวังจะร่ำรวยมีเงินทอง แต่ยังขาดตัวยาอยู่สองขนาน บังเอิญ เสน่ห์ แป๊ะ และ ฮะ มาติดพัน นารี ลูกสาวสุดที่รักของขุนรักษา แกจึงออกอุบายให้สามเกลอไปหาตัวยาวิเศษกับเจ้าทองคำที่เชียงใหม่ โดยสัญญาว่าจะยกลูกสาวให้ถ้าทำสำเร็จ สามเกลอไม่รอช้า มุ่งหน้าสู่เชียงใหม่ แม้เจ้าทองคำจะขายตัวยาให้ธนาคารที่ลำปางไปแล้วก็ตามไปซื้อจนสำเร็จ และเดินทางต่อไปยังปราสาทหินพิมายซึ่งเป็นจุดหมายของตัวยาขนานสุดท้าย เมื่อหาตัวยาได้ครบก็รีบเดินทางกลับมารับรางวัลที่กรุงเทพ โดยไม่รู้ตัวว่ากำลังถูก สมพล วายร้ายสะกดรอยตามหวังชิงยาวิเศษ ขุนรักษาลงมือปรุงยาทันควัน แล้วสั่งให้สามเกลอไปขุดศพ เสือโพล้ง ที่ป่าช้ามาทำการทดลองชุบชีวิตเสือโพล้งฟื้นคืนชีพมาอาละวาดบีบคอเสน่ห์แล้วจับตัวนารีไป สามเกลอรีบตามไปชิงตัวนารีคืน แล้วฉีดยาพิษใส่เสือโพล้งให้ตายดังเดิม ส่วนขุนรักษาที่รออยู่ที่บ้าน ถูกสมพลจับตัวไปขู่จะเอายาวิเศษ โชคดีที่ เฉย คนใช้ช่วยขุนรักษาไว้ได้ ขุนรักษากลับมาปรุงยาอีกครั้งและประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้เป็นเพราะสามเกลอแผลงฤทธิ์นำพาความปรกติสุขกลับมา
แม่ศรีเรือน (2497)
แม่ศรีเรือน (2497/1954) เพราะทนถูกนายจ้างเอาเปรียบเรื่องเงินเดือนไม่ได้ โดม จึงตัดสินใจลาออกจากงานมาเป็นพ่อบ้าน ชไมพร ภรรยาที่ทำหน้าที่เป็นแม่บ้านจึงจำต้องออกไปหางานทำแทนสามี กระทั่งได้งานที่บริษัทสตรีไทยของ คุณนายแช่มช้อย บริษัทที่ออกกฎห้ามพนักงานหญิงมีสามี ชไมพรจึงต้องปิดบังเรื่องโดมไว้เป็นความลับ ความสามารถของชไมพรเป็นที่ปลาบปลื้มของคุณนายแช่มช้อย จึงพยายามจับคู่ชไมพรให้ ชวลิตลูกชาย ฟากโดมก็ได้รู้จักกับ วัทณีย์ ลูกสาวเจ้าของบ้านเช่าที่ตนอาศัยอยู่ ความรักระหว่างโดมกับชไมพรจึงส่อแววเข้าใจผิดเป็นเหตุให้เกิดเรื่องยุ่งๆ ตามมา กระทั่งความลับถูกเปิดเผย ในจังหวะเดียวกับที่ชวลิตและวัทณีย์ดันมาชอบกันโดยบังเอิญ ด้วยความเมตตาชไมพร คุณนายแช่มช้อยจึงยกเลิกกฎ และให้ชไมพรได้ทำงานต่อไป ฝ่ายโดมหลังจากว่างงานมานานก็ได้กลับมาทำงานอีกครั้ง ด้วยความช่วยเหลือจากวัทณีย์ เรื่องจึงจบลงด้วยความสุขสมหวังทุกประการ
Placeholder
กากี (2496/1953) เป็นภาพยนตร์สีวิจิตรพิศดาร ไม่ซ้ำรอยใคร เหาะเหินเดินอากาศ แปลงกาย หายตัว วิเศษนัก มีเพลงบรรเลงไพเราะ ตามหลักภาพยนตร์เพลงและเทพนิยาย แต่ไม่ใช่แบบลิเกหรือละครรำ
จันทโครพ (2496)

จันทโครพ (2496/1953) นิทานพื้นบ้านว่าด้วยเรื่องของจันทโครพ เจ้าชายแห่งเมืองพาราณสี ซึ่งไปฝึกวิชากับพระฤาษีจนสำเร็จ พระฤาษี อาจารย์ ได้มอบผอบให้จันทโครพก่อนเดินทางกลับบ้าน และกำชับไม่ให้เปิดผอบแก้วจนกว่าจะถึงบ้าน ความอยากรู้อยากเห็นของจันทโครพมีมากเกินกว่าจะระงับใจให้ทำตามสั่งของพระฤาษี จึงเปิดผอบระหว่างทาง ปรากฏว่ามีนางโมราโผล่ออกมา อิสตรีที่เป็นเหตุให้จันทโครพต้องพบกับความยุ่งเหยิง

พลายมลิวัลย์ (2496)
พลายมลิวัลย์ (2496/1953) ม.จ. สุริยา ผู้มีชาติตระกูลฐานะนักเรียนนอกมีความรู้ ผิดหวังชีวิตในการทำงาน ทําให้เป็นผู้ติดเหล้าขนาดหนัก จนกระทั่งหลงไปอยู่ในป่าไม้ศรีราชาโดยไม่มีใครรู้ว่าเป็นใคร ได้ทํางานเป็นควาญเลี้ยงช้างชื่อ "พลายมลิวัลลิ์" มีความผูกพันกันระหว่างคนกับสัตว์และสัตว์กับคน ในเวลา 2 ปีที่อยู่ในป่าไม้ มีตัวเชื่อมคือเหล้าเถื่อน กินทั้งคนและช้าง การหายไปของ ม.จ. สุริยา ที่มีบุตรชายกับภรรยา (อรพิน) ทําาให้คิดว่าเสียชีวิตไปแล้ว จึงได้แต่งงานใหม่ กับ ม.จ.วรวัฒน์ ภายหลัง 2 ปี ได้นําครอบครัวมาเยี่ยมเยียนดูแลธุรกิจของของครอบครัวที่ศรีราชา ทําให้ลูกชาย (จิ๋ว) และสุริยาได้พบกัน แต่พลายมลิวัลลิ์ที่มีความรักให้กับสุริยา เหมือนสัตว์รักคน เกิดรัก โลภ โกรธ หลง เหมือนปุถุชน จึงดันรถไฟจะให้ทับร่างจิ๋ว ลูกชายที่กําลังเดินทางกลับ พ่อเห็นจึงโดดให้รถไฟทับเพื่อช่วยลูกชาย