กฎหมายป่า (2507)
กฎหมายป่า (2507/1964) ข้อความบนรูปโฆษณา (ในสื่อสิ่งพิมพ์) รัตนมาลย์ภาพยนตร์ เสนอ ยอดหนังไทย บู๊อร่อย! ต่อยกันสะบั้น! มันถึงใจ! ใน... กฎหมายป่า ของ ก้อง อินทรกำจร นำโดยยอดดารา สมบัติ เมทะนี อนุชา รัตนมาลย์ ฤทธี นฤบาล ปริม ประภาพร ปรียา รุ่งเรือง อภิญญา วีระขจร ร่วมด้วย พร ไพโรจน์, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, ประมินทร์ จารุจารีต, สมพล กงสุวรรณ, ทานทัต วิภาตะโยธิน, วิน วันชัย, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, เทียว ธารา, บู๊ วิบูลย์นันท์, เสน่ห์ โกมารชุน, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สำราญ, ชาย ฯลฯ
สมิงบ้านไร่ (2507)
สมิงบ้านไร่ (2507/1964) ในละแวกตำบลบ้านไร่ คนที่ใหญ่ยิ่งด้วยอิทธิพลที่สุด มั่งมีที่สุด เหี้ยมโหดที่สุดและดุร้ายที่สุด สามารถคุมนักเลงฝีมือดีไว้ได้มากมายหลายคนคือ โมกขศักดิ์ ผาณิตเวส (พันคำ) โมกขศักดิ์มาสู่บ้านไร่อย่างไมมีอะไรเลย แต่ด้วยความสามารถในเชิงนักเลงและเล่ห์เหลี่ยมของเขา ในที่สุดเขาก็ได้ครองตำหน่งผู้จัดการโรงงานน้ำตาล ที่ใหญ่ที่สุดของตำบล ปรากฎว่าเมื่อโมกขศักดิ์ขึ้นครองตำหน่งอำนาจนั้น โรงงานน้ำตาลจนจะล้มอยู่แล้ว เพราะว่าไม่มีชาวไร่คนใดให้ความร่วมมือ ปลูกอ้อยส่งโรงงาน และพากันหันไปปลูกพืชอื่นกันเสียหมด โมกขศักดิ์ต้องใช้วิธีแก้สถานการณ์อันน่าวิตกนี้ ด้วยการแผ่อิทธิพล ปล่อยนักเลงอันธพาลในสังกัด ให้ออกไปบังคับกดขี้ให้ชาวไร่หันกลับมาร่วมมือปลูอกอ้อยส่งโรงงาน ชาวไร่ทนต่อความบีบคั้นไม่ได้ ก็จำต้องยอมและโรงงานก็เจริญรุ่งเรืองสืบมา ในจำนวนชาวไร่ของบ้านไร่ ที่ขัดขืนไม่ยอมปลูกอ้อยส่งโรงงานนั้นมี ที่สำคัญอยู่คนหนึ่งคือ สมิง บ้านไร่ (มิตร ชัยบัญชา) เด็กหนุ่มคนนี้มีไร่กว้างขวางมากมาย และได้พยายามจะสลงส้มในไร่แทนพีชอย่างอื่น จึงเป็นการขัดกับจุดประสงค์ของโมกขศักดิ์นักเลงใหญ่ อย่างรุนแรง โดยธรรมดาโมกขศักดิ์จะต้องใช้อิทธิพลเล่นงานสมิง ก็ฌพราะว่าประการแรก สมิงเป็นนักสู้อย่างไม่ยอมแพ้ใคร และมีฝีมือในการต่อสู้ ไม่ว่าด้วยหมัด ปืน หรืออาวุธใด ๆ ได้อย่างดียิ่ง อีกประการหนึ่งเป็นเรื่องที่มีเบื้องหลังอยู่อย่างสำคัญ โมกขศักดิ์พาลูกเมียมาอยู่ ที่บ้านไร่ได้หน่อยเดียว ภริยาที่แสนรักของเขาก็ตายจากไป คงทิ้งลูกสาวแสนสวย และดื้อไว้ให้ชมเพียงคนเดียวชื่อว่า สัตวา ผาณิตเวส หรือที่ใคร ๆ เรียกกันว่า นกเขียว (เพชรา เชาวราษฏร์) ธิดาสาวคนเดียว ที่เป็นดวงใจของโมกศักดิ์ ผู้พ่อคนในบ้านไร่รู้กันว่า นกเขียว ธิดาสาวคนเดียวนี้ คือดวงใจของโมกขศักดิ์ ผู้พ่อคนในบ้านไร่รู้กันว่า ไม่มีใครกล้าขัดใจหรือว่าสู้รบปรบมือกับโมกขศักดิ์ได้ นอกจากคนเดียวคือนกเขียว ธิดาของเขานั่นเอง และเป็นการบังเอิญอย่างยิ่ง ที่ในตำบลบ้านไร่นั้นไม่มีใครถูกกับนกเขียวเท่ากับสมิง ทั้งสองคบกันเป็นเพื่อนที่ดี จนเป็นที่สงสัยกันว่าสองหนุ่มสาวจะรักกัน ด้วยเหตุนี้เอง เป็นเหตุให้โฒกขศักดิ์ไม่กล้ารุกราน สมิงบ้านไร่ เพราะเก่งว่าหากสมิงต้องเป็นอะไร เพราะเขา มันอาจจะกลายเป็นการทำลายหัวใจของลกสาวที่เปรียบด้วยชีวิตของเขาเอาก็ได้ สองฝ่ายจึงได้คุมเชิงกันเรื่อยมา วันหนึ่ง มีชายฉกรรจ์คนหนึ่งเดินผ่านมาที่บ้านไร่ และได้เข้าไปหาอะไรดื่มที่ในร้ายอาหรของน้ำผึ้ง (บุศรา นฤมิตร) หญิงสาวเจ้าของร้านที่สวยอย่างยิ่งอีกคนหนึ่ง ชายคนนั้นชื่อว่า สมัย บ้านดอน (ประจวบ ฤกษ์ยามดี) ได้เกิดเรื่องกับ เดช ไช และทองก้อนสมุนเอกง 3 นายของโมกขศักดิ์ ในร้านของน้ำผึ้ง เพราะน้ำผึ้งเป็นต้นเหตุ ในตอนแรกสมัยใช้ขวานขว้างขู่ให้นักเลงสามคนนั้นกลัว แต่พอเผลอก็ถูกรุมจากนักเลงสามคนนั้น บังเอิญสมิง บ้านไร่ มาพบเข้า และได้ช่วยเหลือสมัยไว้ทันท่งทีก่อนที่จะถูกรุมถึงตายสมัย - นักพนเจรก็ตกลงใจอยู่ที่บ้านไร่กับสมิงเพื่อช่วยสมิงทำสงครามล้างอิทธิพลโมกขศักดิ์ต่อไป ระหว่างที่พักอยู่กับสมิงที่บ้านไร่นั้น สมัยไออกเดินทางไดบริเวณไร่อันกว่างขวางของสมิงและที่ชายไร่ เขาได้พบกับหญิงงามอีกคนหนึ่งชื่อว่า ทองกร (อัมพิกา ดาราวรรณ) ขณะที่เธอกำลังเปลือยกายว่ายน้ำเล่นอยู่ในลำธารพอดี สมัยได้พยายาถามชื่อจนได้ความ และทั้งสองก็รู้สึกขอบพอกันตั้งแต่นั้นมา ต่อมาอีกวันหนึ่งสมัยได้ไปดื่มเหล้าอยู่ที่ร้านของน้ำผึ้ง นกเขียว ลูกสาวของโมกขศักดิ์ได้มาหาน้ำผึ้งซื้อแป้งสักอับหนึ่ง และได้มาพบสมัยที่กำลังเมาอย่างหนัก สมัยึงได้เอ่ยปากกับเขียวด้วยถ้อยคำที่สนุกสนานต่าง ๆ นา ๆ นกเขียวโกรธ จึงรีบกลับเข้าบ้าน นกเขียวพบแม่วอน (วิไลวรรณ วัฒนพานิช) แม่บ้านและอยู่ในฐานะที่เป็นภรรยาและฐานะ มารดาเลี้ยง ของนกเขียว เธออาละวาดแม่วอนเสียจนร้องไห้ แม่วอนก็ไม่เคยว่าอะไร เพราะเธอรักนกเขียวเหมือนลูกในไส้ของเธอ โมกขศักดิ์ทราบเรื่อง จึงบอกให้เดชไช และทองก้อนออกไปเล่นงานคนที่ก้าวร้าวกับนกเขียว แต่เมื่อไปถึงสมัยได้กลับไปไร่แล้ว มีแต่ชายแปลกหน้าคนหนึ่งนั่งอยู่ เขามีชื่อว่า สมาน บ้านนา (อดุลย์ ดุลยรัตน์) มีฝีมือในทางยิ่งปืนอย่างมาก ทั้งสองปะทะกันเพราะความเข้าใจผิด สมัยกลับมาที่ร้านเห็นก็เข้าช่วยสมาน ทั้งสองสาบานเป็นเพื่อนกัน นกเขียวนั้นรักสมิงอย่างจับใจ หากแต่ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามรรถบอกความในใจแก่กันได้ เพราะความขัดแย้งระหว่างโมกขศักดิ์กับสมิง มันมีมากเกินกว่าจะประณีประณอมได้ นกเขียวพยายามเป็นสือกลางแต่ไม่สำเร็จ สมิงได้พรรคพวกมาสมทบมากขึ้น นกเขียวแอบไปพบสมิง โมกขศักดิ์โกรธมากสั่งให้ลูกน้องพานกเขียวไปกักขังไว้ที่บ้านพักในป่า โดยมีแม่วอนไปคอยดูแล สมิงกลุ้มใจที่นกเขียวถูกนำตัวไปกักขัง ทำให้สมิงประกาศจะล้างอิทธิพลของโมกขศักดิ์ แล้วสมิงก็ได้เจอกับสมร บ้านด่าน (ฤทธิ์ นฤบาล) นักมวยพเนจร สมิงได้เพื่อนร่วมล้างอิทธิพลโมกขศักดิ์ 3 คน มี สมัย บ้านดอน สมร บ้านด่าน สมาน บ้านนาและเขาสมิง บ้านไร่ ศึกการล้างอิทธิพลจึงเริ่มขึ้น สุดท้ายโมกขศักดิ์ก็ถูกล้มอำนาจลงได้ โมกขศักดิ์ได้ชดใช้กรรมที่ตนเองกระทำ นกเขียวกลับมาอยู่ในอ้อมกอดของสมิง บ้านไร่ อย่างเต็มใจ
กัปตันเครียว ฉลามเหล็ก (2506)

กัปตันเครียว ฉลามเหล็ก (2506/1963) ข้อความบนใบปิด หนังไทยรสเผ็ดเด็ดถึงใจ เรื่องยิ่งใหญ่ทางทะเล... กัปตันเครียว ฉลามเหล็ก ภาพยนตร์ไทยเรื่องเดียวที่ผู้สร้างและดารา ลงทุนดำดิ่งลงไปถ่ายฉากใต้ทะเลงาม ตระการตา.. นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา เมตตา รุ่งรัตน์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี บุศรา นฤมิตร อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา, รุจน์ รณภพ, อภิญญา วีระขจร, สิงห์ มิลินทราศัย และผู้แสดงประกอบนับร้อย คุณาวุฒิ กำกับการแสดง รอย ฤทธิรณ ประพันธ์เรื่อง-สร้างบท โสภณ เจนพานิช ถ่ายภาพ มารุต อำนวยการสร้าง

 
ตะวันหลั่งเลือด (2506)
ตะวันหลั่งเลือด (2506/1963) ชายหนุ่มผู้ใฝ่หาความยุติธรรม ต้องออกไปเผชิญโชคในป่ากว้าง แต่เมื่อเขาพบกับความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับคนในบ้านป่า เขาจึงลุกขึ้นมาปราบอิทธิพลเถื่อน เรื่องราวของ เข้ม ชายหนุ่มผู้หลบหนีการตามล่ามาถึงบ้านโคกตะแบก ที่นั่นเขาได้รับความช่วยเหลือจาก สุดา และ พิศ วันหนึ่งเขาถูกสงสัยว่าเป็นฆาตกรหลังเกิดเหตุฆาตกรรมในหมู่บ้าน แต่เมื่อ กำนันแท่น กำลังมาจับกลับเกิดเหตุการณ์ชุลมุนจนกำนันแท่นถูกยิงเสียชีวิต ส่งผลให้ เกรียง หนุ่มอันธพาลผู้เป็นลูกชายของกำนันโกรธแค้นและตั้งตนเป็นศัตรูกับเข้มอย่างเอาเป็นเอาตาย
เจ็ดประจัญบาน (2506)
เจ็ดประจัญบาน (2506/1963) ข้อความบนใบปิด วัชรภาพยนตร์ ภูมิใจเสนอเป็นอย่างยิ่ง เจ็ดประจัญบาน จากบทประพันธ์ของ ส.อาสนจินดา 54 ดารา มิตร ชัยบัญชา ส.อาสนจินดา ทักษิณ แจ่มผล อาคม มกรานนท์ รุจน์ รณภพ และ 3 สาวต่างประเทศประชันโฉม มิสคริสติน เหลียง แห่ง ฮ่องกง มิสจางเซฟาง แห่ง ไต้หวัน มิสลินดา แห่ง ญี่ปุ่น ขอแนะนำสาวสวยคนใหม่ ปันใจ นาควัฒนา ส.อาสนจินดา กำกับฯ ฉลอง ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ วิมล ยิ้มละมัย อำนวยการสร้าง สนั่น นาคสู่สุข ดำเนินงานสร้าง
สิงห์เดี่ยว (2505)
สิงห์เดี่ยว (2505/1962) ข้อความบนใบปิด ธาดาภาพยนตร์ ยิ่งกว่าคำสั่งเสือ เหนือกว่านักเลงจริง คือ สิงห์เดี่ยว มิตร ชัยบัญชา ทักษิณ แจ่มผล พันคำ เชาว์ แคล่วคล่อง พร้อมด้วย ส.อาสนจินดา, ชาลี อินทรวิจิตร, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, น้ำเงิน บุญหนัก, เมืองเริง ปัทมินทร์, ทานทัต วิภาตะโยธิน, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ และขอเสนอสาวโสภิต นฤมล นราธิป อรชร สร้างเรื่อง ฐิติรัชต อำนวยการสร้าง ส.อาสนจินดา กำกับ ฉลอง ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ
ยอดธง (2505)
ยอดธง (2505/1962) ข้อความบนใบปิด ภาพยนตร์ชีวิตต่อสู้ผจญภัยอันเข้มข้น ของลูกผู้ชายที่นิยมการห้ำหั่นกันด้วยหมัดและปืน! บุศรา นฤมิต อุษา อัจฉรานิมิตร พงษ์ลดา พิมลพรรณ ปรียา รุ่งเรือง ชุติมา ศิริพรหม และ วารุณี นาคะนาวี 6 นางเอกขวัญใจ พบกับ... ไชยา สุริยัน สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ใน ยอดธง ร่วมด้วย เสน่ห์ โกมารชุน, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ, แป๊ะอ้วน, บุญส่ง ดวงดารา
สิงห์เมืองชล (2505)
สิงห์เมืองชล (2505/1962) ข้อความบนใบปิด ขึ้นชื่อว่าเสือหรือสิงห์ ไม่มีใครจริงเท่า สิงห์เมืองชล สีธรรมชาติ นำโดย สามเสือชื่อดังแห่งยุค ทักษิณ แจ่มผล เสือน้อย พันคำ เสือเฒ่า สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ เสือไทย พร้อมด้วย สมจิตร ทรัพย์สำรวย, ถวัลย์ คีรีวัต, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ล้อต๊อก และนักเลงดาบนักเลงปืนอีกมาก ขอแนะนำเทพี 4 จังหวัด เบญจวรรณ บุญญามี ปริญญา ลีละศร กำกับการแสดง ปานเทพ กุยโกมุท ถ่ายภาพ ประเสริฐ ตระกูลไทย อำนวยการสร้าง
มือโจร (2504)
มือโจร (2504/1961) สาวสวยจากเมืองกรุงหนีความผิดไปยังดินแดนไกลปืนเที่ยง ด้วยตั้งใจมาพึ่งใบบุญคุณอา ระหว่างทางเธอกลับถูกโจรป่าจับไปพร้อมหมอหนุ่มซึ่งโดยสารรถมาด้วยกัน ความจริงมาเปิดเผยว่าหัวหน้าโจรนั้นมุ่งจับหมอหนุ่มมาเพื่อให้ช่วยรักษาเมียรักที่กำลังป่วยหนัก ระหว่างนั้นทั้งสาวเมืองกรุงและหมอหนุ่มก็ช่วยกันหาลู่ทางหลบหนี โดยมีเมียขุนโจรที่อยากหนีเช่นกันคอยช่วยอีกแรง เมื่อสบโอกาสทั้งสามจึงพากันหนีไป ทิ้งให้ขุนโจรเดือดดาลและออกตามหาแทบพลิกแผ่นดิน
ฑูตนรก (2503)
ทูตนรก (2503/1960) นพรัตน์ภาพยนตร์ และ พนมเทียน ภูมิใจเสนอ ความเกรียงไกรอันโอฬารริก ใน ทูตนรก ภาพยนตร์ประจำปี 2503และแนะนำให้ท่านได้พบกับ พระเอกคนใหม่ ฤทธี นฤบาล เทพบุตรนัยน์ตาฝัน ซึ่ง พนมเทียน บรรจงสร้างให้ดีเด่นยิ่งกว่า ชีพ ชูชัย พร้อมกับชุมนุมดาราชั้นนำแห่งยุค มากเป็นประวัติการณ์
สิบสองนักสู้ (2502)
สิบสองนักสู้ (2502/1959) *ชื่อเดิม “สิบสองมือปืน” ไม่ผ่านเซ็นเซ่อร์ จึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น “สิบสองนักสู้” อดุลย์-วิไลวรรณ ข้อความบนรูปโฆษณา วิจิตรภาพยนตร์ เสนอ เกรียงไกรและยิ่งใหญ่ เหนือกว่านักสู้ทั้งหลายบนปฐพี.. นั่นคือ สิบสองนักสู้ ส.อาสนจินดา สร้างบทภาพยนตร์ และกำกับการแสดง วิจารณ์ ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ นำแสดงโดย อดลย์ ดุลยรัตน์, ชรินทร์ งามเมือง, ส.อาสนจินดา, อบ บุญติด, จำรูญ หนวดจิ๋ม, ทองฮะ วงศ์รักไทย, เปิ่น ปาฏิหาริย์ สิงห์ มิลินทราศัย, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, สุระ นานา, ชาลี อินทรวิจิตร, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, วิภา วัฒนธำรง, สงวน, สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช พร้อมด้วย เมืองเริง ปัทมินทร์, เทียนชัย สุนทรการันต์, จุมพล ปัทมินทร์, ประกอบ ดาราผู้ให้เกียรติ อาคม มกรานนท์, สาหัส บุญหลง, ประมินทร์ จารุจารีต, ศิริพงษ์ อิศรางกูร, ทองแป๊ะ, เกริก, พงษ์ศิริ และผู้ร่วมแสดงนับร้อย กำลังฉายวันนี้ที่ พัฒนากร-เอ็มไพร์ ฉายวันละ 5 รอบ 12.00 น. 14.00 น.16.30 .19.00 น. 21.15 น. (ที่มา :Thai Movie Posters)
แผ่นดินของใคร (2502)
แผ่นดินของใคร (2502/1959) แผ่นดินของใคร (ชื่อเดิม: แผ่นดินฉกรรจ์) เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2502 สร้างโดย สุวรรณสิงห์ฟิล์ม โปรดักชัน โดยมี สุเมธ คุณะปุระ เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดย ปริญญา ลีละศร ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ดั้งเดิมของ อรชร (ศรี ชัยพฤกษ์) มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเขาพระวิหารโดยตรง
เทพบุตรโจร (2502)
เทพบุตรโจร (2502/1959) เทพบุตรโจร เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2502 สร้างโดย นังคลาภิวัฒน์ภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย ประวิทย์ ลีลาไว ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ ส.อาสนจินดา
มือเหล็ก (2502)

มือเหล็ก (2502/1959) ไม่แน่ไม่แช่แป้ง! ไม่จริงไม่ยิงปืน! ถ้าจะยิงก็ยิงทีเดียว ไม่ต้องเหลียวไปดู ก็รู้ว่าตายแน่!
จากบทประพันธ์ของ ผาสุข วัฒนารมย์ หนังประเภทบู๊ขาดใจ ให้แข่งขันความดีเยี่ยม กับงานของ ภาพยนตร์สหะนาวีไทย ทุกๆเรื่องที่ท่านเคยดู...
หนังประเภทบู๊ขาดใจ ให้แข่งขันความดีเยี่ยมกับงานของ... ภาพยนตร์สหนาวีไทย ทุกเรื่อง หยิ่งผยองเสนอ... ต้อนรับเทศกาลตรุษจีน ปี 2502 นี้ที่ เอ็มไพร์

สั่งอินทรีย์ขาวถล่มกรุง (2501)
อินทรีย์ขาว (2501/1958) สุรสิทธิ์-ศรินทิพย์ ข้อความบนรูปโฆษณา สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ สั่ง อินทรีย์ขาว ถล่มกรุง! จากบทประพันธ์ของ สัติยวดี สร้างเป็นบทภาพยนตร์โดย สุพล สุวรรณสิทธิ์ และอำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง โดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ถ่ายภาพโดย เอก สุภาพันธ์ จากสุภาพบุรุษเสือไทย มาเป็นหัวหน้าแก๊งค์วายร้ายที่มีบริวารยอดบู๊นับพันๆ ทุกครั้งที่เขาประกาศิต มันหมายถึง บุกแหลก! เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิตของ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ (ที่สร้าง-กำกับ) เกรียงไกรไปด้วยขบวนดารานามโรจน์ และยิ่งใหญ่ที่สุดในการถ่ายทำ พรั่งพร้อมด้วย ชาลี อินทรวิจิตร, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, จรูญ สินธุเศรษฐ์, น้ำเงิน บุญหนัก, เสน่ห์ โกมารชุน, จันทรา เมธากุล, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทานทัต วิภาตะโยธิน, ทองแป๊ะ สินจารุ ฯลฯ (ที่มา :Thai Movie Posters)