เสียงสาป (2496)
เสียงสาป (2496/1953) สำเนียงนั้นแผ่วโผยมาในอากาศ เป็นสำเนียงที่พลิกชีวิตหนึ่งให้กระเจิงไป ...สำเนียงประหลาดนั้น เป็น! "เสียงสาป" (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2496)
Placeholder
ซากผีดิบ (2495)
ซากผีดิบ (2495/1952) ดร.ชาญ จบจากประเทศฝรั่งเศสเป็นคนไม่เชื่อว่าผีมีจริงในโลก ได้โคจรมาพบ ผ่องพรรณ ลูกสาวของ ขุนจำนง และเริ่มชอบผ่องพรรณ แต่เธอมีคนรักแล้วคือ สาโรช ขุนจำนงมีภรรยาชื่อ พวง เป็นภรรยาหลวง และ พริ้ง เป็นภรรยาน้อย แม่พริ้งยังสาวและสวยอยู่ ส่วนขุนจำนงวันๆ เอาแต่หมกมุ่นอยู่กับการเล่นแร่แปรธาตุ เมื่อ ดร.ชาญ มาคลุกคลีในบ้านขุนจำนงนานเข้า ทั้งสองจึงเล่นชู้กัน คืนหนึ่ง ขุนจำนงฝันว่ามีผู้วิเศษมาเข้าฝัน บอกให้ขุนจำนงเอาตะกั่วหลอมเป็นลูกกลมๆ เอาไปใส่น้ำยาสมุนไพร นำไปบวงสรวงและฝังกลางโบสถ์ร้าง เมื่อครบกำหนด 3 วัน 3 คืน ให้ไปขุดขึ้นมา ก้อนตะกั่วจะกลายเป็นแก้วสารพัดนึก สามารถขอพรได้ 3 ประการ ขุนจำนงทำตามความฝันโดยมี ดร.ชาญ ตามไปด้วย แต่แล้ว ดร.ชาญ ผู้ไม่เชื่อเรื่องผีสางก็ถูกผีบีบคอตายอย่างน่าสยดสยอง เมื่อครบกำหนดขุนจำนงไปขุดเอาแก้วสารพัดนึก แล้วให้ภรรยานึกสิ่งที่ต้องการคนละ 1 ข้อ ไม่นานนักทุกคนในบ้านก็ถูกลอตเตอรี่พร้อมกันเป็นไปตามที่พวงขอ ส่วนพริ้ง ไม่มีใครล่วงรู้ว่าขอเรื่องอะไร จนกระทั่ง ผีดิบ ดร.ชาญ ตามมาอาละวาดที่บ้าน ทุกคนจึงได้รู้ว่าพริ้งขอให้ ดร.ชาญ ฟื้นคืนชีพ
วิญญาณปาฏิหาริย์ (2495)
วิญญาณปาฏิหาริย์ (2495/1952) เกร็ดพงษาวดารสมัยโบราณเก่าแก่ จนเกี่ยวไปถึงสิ่งมหัศจรรย์ (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 4 เมษายน พ.ศ. 2495)
วิญญาณรักของนางนาค (2494/1951) ในวันสงกรานต์ ณ ตำบลพระโขนง ระหว่างที่หนุ่มสาวกำลังร่วมในงานรื่นเริง แต่ที่มุมหนึ่ง มาก และ นาค สาวงามแห่งทุ่งพระโขนงกำลังพลอดรักกันอยู่ที่กองฟาง สร้างความริษยาแก่ แม่เฮียง ซึ่งแอบหลงรักมากอยู่ฝ่ายเดียว กำนัน ลุงของมาก เพื่อนกินเหล้าของ เถ้าแก่เฮง กลับทาบทามแม่เฮียง ลูกสาวของเถ้าแก่เฮงมาเป็นสะใภ้ ซึ่งเถ้าแก่เฮงก็เห็นดีเห็นงามด้วย เพราะมากเป็นชายหนุ่มที่ตั้งใจทำมาหากิน นัดหมายเป็นมั่นเหมาะว่าจะให้หนุ่มสาวแต่งงานกันในเดือน 9 โดยมีข้อแม้คือให้กำนันช่วยเป็นพ่อสื่อจัดแจงให้ตนได้สมรักกับนาค มากปฏิเสธการแต่งงานอย่างหัวเด็ดตีนขาด แม้กำนันจะขู่ตัดออกจากกองมรดกก็ไม่สามารถเปลี่ยนใจเขาได้ มากหัวเสียกลับมาที่งานรื่นเริง เห็นเถ้าแก่เฮงรำเล่นอยู่กับนาคก็ยิ่งฉุนเฉียวหนัก โชคดีที่นาคตามมาปรับความเข้าใจและตกลงปลงใจอยู่ด้วยกันนับจากวันนั้นโดยมี ป้าแช่ม เมียของกำนันแอบให้ความช่วยเหลือเถ้าแก่เฮงยังไม่ละความพยายามจะเอานาคเป็นเมีย ร่วมมือกับกำนันส่งมากไปเป็นทหารเกณฑ์ ทั้งที่นาคกำลังตั้งครรภ์อยู่ กลางดึกคืนหนึ่งนาคเจ็บท้องอย่างหนัก พยายามออกมาขอความช่วยเหลือจากชาวบ้าน แต่ขาดใจตายกลางคัน เช้าวันรุ่งขึ้น เช้าบ้านช่วยกันนำศพนาคไปฝังไว้ที่ใต้ต้นตะเคียนคู่ ในป่าช้าวัดมหาบุศย์ แต่หลังจากนั้นวิญญาณของนาคก็ออกอาละวาดชาวบ้านละแวกนั้น แม้จะมีหมอผีอาสามาปราบก็ไม่สำเร็จ วันหนึ่ง มากขอลากลับมาเยี่ยมลูกเมียที่ทุ่งพระโขนง และต้องดีใจที่เห็นลูกเมียยืนคอยที่ริมตลิ่ง โดยไม่รู้เลยว่านั่นเป็นเพียงวิญญาณรักของนางนาค
มือพิฆาต (2494/1951) ลึกลับ ตื่นเต้น โลดโผน ไม่ซ้ำแบบใคร (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน พิมพ์ไทย 3 กันยายน พ.ศ. 2494)
เจ้าจอมหม่อมห้าม (2492)
เจ้าจอมหม่อมห้าม (2492/1949) ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ทำการปฏิวัติการสร้างภาพยนตร์ไทยทั้งหมด ล้วนแต่สวยที่สุด หรูที่สุด แพงที่สุด เผยเรื่องลี้ลับสมัยรัชกาลที่ ๕
Placeholder
นางนาคคืนชีพ (2480/1937) "นางนาคพระโขนง" เท่าที่ทราบกันแต่เพียงว่า ได้ถูกถ่วงน้ำและหายสาบสูญไปนั้น บัดนี้นางนาคได้กลับคืนชีพมาอีก และหนีจากถ่วงน้ำมาแผลงฤทธิ์ ดุร้าย น่าหวาดเสียว น่าตื่นเต้น และแสดงอภินิหารร้ายกาจกว่าเก่าหลายสิบเท่า (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน ศรีกรุง 8 มิถุนายน พ.ศ. 2480)
เมืองแม่หม้าย 2478

เมืองแม่หม้าย (2478/1935) เกสร กับ กำจร สองเพื่อนรักนักเสี่ยงโชคกำลังตกอับถึงขีดสุด แม้แต่ค่าเช่าบ้านก็ยังค้าง นายสุดใจ ถึงสามเดือน ทั้งสองจึงปลอมตัวเป็นหญิงเพื่อเดินทางไปแสวงโชคยังเมืองแม่หม้ายดินแดนลึกลับที่มีแต่ผู้หญิง ระหว่างทางต้องผจญอุปสรรคมากมายแต่ก็รอดพ้นได้จนสามารถมาถึงเมืองแม่หม้าย ทหารเมืองค้นตัวเกสรกับกำจรและอธิบายว่า ก่อนจะเข้ามาอยู่ในเมืองนี้ ทุกคนต้องเข้าพิธีเสี่ยงน้ำสาบานว่าจะซื่อตรงต่อพระจันทร์ ผู้เป็นพระสามีของชาวเมือง หากพระจันทร์โปรดผู้ใดก็จะตั้งครรภ์ ทั้งสองกลัวความแตก จึงโกหกนางพญาว่าเป็นหมอดูและดูดวงชะตาให้นางพญา เมื่อหลอกล่อถามนางพญาจนรู้ว่านางเองก็ต้องการให้มีผู้ชายเข้ามาอยู่ในเมืองจึงเปิดเผยตน นางพญาซึ่งต้องการผู้ชายให้มาอยู่ในเมืองอยู่แล้ว จึงออกคำสั่งห้ามประหารชีวิตสองหนุ่ม แต่มีข้อแม้ว่าเกสรกับกำจรต้องอยู่ที่เมืองแม่หม้ายตลอดไป

นางนาคพระโขนง
นางนาคพระโขนง  (2476/1933) เรื่องราวของนางนาค กับสามี ที่พลัดพรากจากกัน เพราะสามีต้องไปรบ มีฉากพายเรือ ฉากคลอดลูกและกำลังจะตาย ฉากกลายร่างจากสาวสวยไปเป็นผี ฉากวิญญาณลงหม้อ รวมถึงฉากเอื้อมมือเก็บมะนาว
เลือดแค้น 2471

เรื่องย่อ : เลือดแค้น (2471/1928) เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก ที่มีความลึกลับ เกี่ยวกับการผจญภัยและการต่อสู้ในเชิงหมัดมวยอย่างน่าตื่นเต้น ถ้าว่าถึงตลกคะนอง ก็เป็นตลกที่ไม่ได้แกล้งให้ตลก เป็นตลกที่อาศัยเกิดจากลักษณะเดิมของตัวผู้แสดงเอง มีตาเชยเตี้ยเป็นต้น ลักษณะของตาเชย ผู้ดูโดยมากที่ไปเที่ยวตำบลบางลำพู คงจะได้เคยเห็น แกเดินชมอากาศอยู่ตามแถวนั้นบ่อยๆ หรือมิฉะนั้นก็แถวหน้าโรงปีนัง ผู้ทำเรื่อง เลือดแค้น ได้ใช้ความระวังหลายประการที่จะไม่ให้เลือดแค้นกลายเป็นเลือดไม่แค้นหรือเลือดจืด มีเหตุผลกินกลืนกันสมเรื่อง ตลอดจนภูมิฐานฐานะของบุคคลและการแต่งตัว ที่จัดให้เหมาะแก่ลักษณะ เหมาะแก่เวลาที่ควรไม่ควร ถ้าจะกล่าวแล้วเรื่อง เลือดแค้น ถึงจะมีข้อที่น่าติอยู่บ้าง แต่ก็เชื่อว่าน้อยที่สุด ท้องเรื่อง เลือดแค้น แสดงถึงน้ำใจของน้องเมียนายทองใบ ที่พยายามแก้แค้นแทนพี่สาวอันเนื่องจากนายทองใบทิ้งพี่สาวและทำทารุณโหดร้ายเมื่อ 20 ปีก่อน จึงตามมาแก้แค้นโดยปลอมตัวเป็นคนลึกลับ ท่านจะได้เห็นการต่อสู้กันบนเรือใบกลางทะเล การต่อสู้ในบ้าน และการต่อสู้ชิงนางกลางทุ่ง การต่อสู้นี้ล้วนไปด้วยหมัดมวยและอาวุธปืน ทุกตอนจะทำให้ท่านรู้สึกพอใจ ในที่สุดท่านจะต้องออกปากว่า "หนังไทยเรื่องนี้ของเขาควรผูกโบว์แดงให้ได้" พูดถึงผู้แสดง มีโดยมากนับว่าใช้บทบาทได้สนิท ผู้ที่ควรได้รับความชมเชยชั้นเยี่ยมของการแสดงในเรื่องก็คือ จรวย วีละเวีย ลีละชาติ นางเอกผู้เป็นตัว "สุลักษณ์" บุตรี เลี้ยงของนายทองใบ จรวยได้วางบทบาทสมแก่เป็นตัวภาพยนตร์ได้ดีจริงๆ ดีจนควรนับได้ว่าอยู่เหนือนางเอกภาพยนตร์ไทยที่ท่านเคยเห็นมา เช่น ยามโกรธ ยามตกใจ ดีใจ ยามออเซาะ เหล่านี้ ชวนให้รู้สึกว่าจรวยไม่มีการเก้อเขินแต่อย่างใดเลย ถัดจากนี้ก็ตัวพระเอกพระรองและตัวประกอบอีก ซึ่งมีบทดีไม่แพ้แม่จรวย นอกจากนั้นยังแสดงการชกต่อยและการขี่ม้าขี่ฬาคล่องแคล่วอย่างน่าชม บางคนสังเกตว่าพยายามเลียนจากบท ฮูด กิ๊บสัน หรือ เคน เมย์นาดไม่ผิดเลย ยังมีผู้แสดงที่ควรได้รับความชมเชยเป็นพิเศษอีกคนหนึ่ง คือ นายไกวัลย์ ซึ่งแสดงเป็นตัวบ้าหรือใบ้ นายคนนี้ เมื่อแสดง "ไม่คิดเลย" ยังมีอาการขวางๆ รีๆ อยู่มาก ครั้น มาแสดงเรื่องนี้กลับมีสภาพเป็นคนละคน การแสดงของนาย ไกวัลย์ในเรื่อง "เลือดแค้น" สกปรกโสมมเหลือกำลัง เสื้อผ้า ขาดกะรุ่งกะริ่งผมเผ้ายาวเหมือนบ้าหอบฟาง เพราะถูกเกณฑ์ให้เป็นคนใบ้เนื่องจากในเรื่องถูกน้องชายโกงสมบัติ ตามสังเกตดูเหมือนนายไกวัลย์จะเลียนแบบ "ลอน ชานีย์" เอา เสียจริงๆ ถึงหากบทจะด้อยกว่าลอน ชานีย์ ก็ยังนับว่าเป็น ลอน ชานีย์ ไทยได้ ไม่อายคนดูทีเดียว ตัวนี้คู่หูกับตาเชยเตี้ย นับว่าเป็นผู้ทำให้เรื่องครึกครื้นมากอยู่ (ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวภาพยนตร์ กรกฎาคม พ.ศ. 2471)

หน้าที่