สามเกลอแผลงฤทธิ์ (2497)
สามเกลอแผลงฤทธิ์ (2497/1954) หลังจากเกษียณราชการ ขุนรักษาพยายามคิดค้นยาชุบชีวิตคนตายให้กลายเป็นคนเป็นเพราะหวังจะร่ำรวยมีเงินทอง แต่ยังขาดตัวยาอยู่สองขนาน บังเอิญ เสน่ห์ แป๊ะ และ ฮะ มาติดพัน นารี ลูกสาวสุดที่รักของขุนรักษา แกจึงออกอุบายให้สามเกลอไปหาตัวยาวิเศษกับเจ้าทองคำที่เชียงใหม่ โดยสัญญาว่าจะยกลูกสาวให้ถ้าทำสำเร็จ สามเกลอไม่รอช้า มุ่งหน้าสู่เชียงใหม่ แม้เจ้าทองคำจะขายตัวยาให้ธนาคารที่ลำปางไปแล้วก็ตามไปซื้อจนสำเร็จ และเดินทางต่อไปยังปราสาทหินพิมายซึ่งเป็นจุดหมายของตัวยาขนานสุดท้าย เมื่อหาตัวยาได้ครบก็รีบเดินทางกลับมารับรางวัลที่กรุงเทพ โดยไม่รู้ตัวว่ากำลังถูก สมพล วายร้ายสะกดรอยตามหวังชิงยาวิเศษ ขุนรักษาลงมือปรุงยาทันควัน แล้วสั่งให้สามเกลอไปขุดศพ เสือโพล้ง ที่ป่าช้ามาทำการทดลองชุบชีวิตเสือโพล้งฟื้นคืนชีพมาอาละวาดบีบคอเสน่ห์แล้วจับตัวนารีไป สามเกลอรีบตามไปชิงตัวนารีคืน แล้วฉีดยาพิษใส่เสือโพล้งให้ตายดังเดิม ส่วนขุนรักษาที่รออยู่ที่บ้าน ถูกสมพลจับตัวไปขู่จะเอายาวิเศษ โชคดีที่ เฉย คนใช้ช่วยขุนรักษาไว้ได้ ขุนรักษากลับมาปรุงยาอีกครั้งและประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้เป็นเพราะสามเกลอแผลงฤทธิ์นำพาความปรกติสุขกลับมา
Placeholder
กากี (2496/1953) เป็นภาพยนตร์สีวิจิตรพิศดาร ไม่ซ้ำรอยใคร เหาะเหินเดินอากาศ แปลงกาย หายตัว วิเศษนัก มีเพลงบรรเลงไพเราะ ตามหลักภาพยนตร์เพลงและเทพนิยาย แต่ไม่ใช่แบบลิเกหรือละครรำ
จันทโครพ (2496)

จันทโครพ (2496/1953) นิทานพื้นบ้านว่าด้วยเรื่องของจันทโครพ เจ้าชายแห่งเมืองพาราณสี ซึ่งไปฝึกวิชากับพระฤาษีจนสำเร็จ พระฤาษี อาจารย์ ได้มอบผอบให้จันทโครพก่อนเดินทางกลับบ้าน และกำชับไม่ให้เปิดผอบแก้วจนกว่าจะถึงบ้าน ความอยากรู้อยากเห็นของจันทโครพมีมากเกินกว่าจะระงับใจให้ทำตามสั่งของพระฤาษี จึงเปิดผอบระหว่างทาง ปรากฏว่ามีนางโมราโผล่ออกมา อิสตรีที่เป็นเหตุให้จันทโครพต้องพบกับความยุ่งเหยิง

รามเกียรติ์ไทย ตอน สิ้นแสงไอยสูรย์ (2495)
รามเกียรติ์ไทย ตอน สิ้นแสงไอยสูรย์ (2495/1952) ดูหนุมานแผลงฤทธิ์ นางมณโฑถูกศรสลับสี กบกายสิทธิ์และของแปลกประหลาดมหัศจรรย์ ตื่นเต้นโลดโผน ฯลฯ (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2495)
ซากผีดิบ (2495)
ซากผีดิบ (2495/1952) ดร.ชาญ จบจากประเทศฝรั่งเศสเป็นคนไม่เชื่อว่าผีมีจริงในโลก ได้โคจรมาพบ ผ่องพรรณ ลูกสาวของ ขุนจำนง และเริ่มชอบผ่องพรรณ แต่เธอมีคนรักแล้วคือ สาโรช ขุนจำนงมีภรรยาชื่อ พวง เป็นภรรยาหลวง และ พริ้ง เป็นภรรยาน้อย แม่พริ้งยังสาวและสวยอยู่ ส่วนขุนจำนงวันๆ เอาแต่หมกมุ่นอยู่กับการเล่นแร่แปรธาตุ เมื่อ ดร.ชาญ มาคลุกคลีในบ้านขุนจำนงนานเข้า ทั้งสองจึงเล่นชู้กัน คืนหนึ่ง ขุนจำนงฝันว่ามีผู้วิเศษมาเข้าฝัน บอกให้ขุนจำนงเอาตะกั่วหลอมเป็นลูกกลมๆ เอาไปใส่น้ำยาสมุนไพร นำไปบวงสรวงและฝังกลางโบสถ์ร้าง เมื่อครบกำหนด 3 วัน 3 คืน ให้ไปขุดขึ้นมา ก้อนตะกั่วจะกลายเป็นแก้วสารพัดนึก สามารถขอพรได้ 3 ประการ ขุนจำนงทำตามความฝันโดยมี ดร.ชาญ ตามไปด้วย แต่แล้ว ดร.ชาญ ผู้ไม่เชื่อเรื่องผีสางก็ถูกผีบีบคอตายอย่างน่าสยดสยอง เมื่อครบกำหนดขุนจำนงไปขุดเอาแก้วสารพัดนึก แล้วให้ภรรยานึกสิ่งที่ต้องการคนละ 1 ข้อ ไม่นานนักทุกคนในบ้านก็ถูกลอตเตอรี่พร้อมกันเป็นไปตามที่พวงขอ ส่วนพริ้ง ไม่มีใครล่วงรู้ว่าขอเรื่องอะไร จนกระทั่ง ผีดิบ ดร.ชาญ ตามมาอาละวาดที่บ้าน ทุกคนจึงได้รู้ว่าพริ้งขอให้ ดร.ชาญ ฟื้นคืนชีพ
วิญญาณปาฏิหาริย์ (2495)
วิญญาณปาฏิหาริย์ (2495/1952) เกร็ดพงษาวดารสมัยโบราณเก่าแก่ จนเกี่ยวไปถึงสิ่งมหัศจรรย์ (ที่มา: หนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ 4 เมษายน พ.ศ. 2495)
วิญญาณรักของนางนาค (2494/1951) ในวันสงกรานต์ ณ ตำบลพระโขนง ระหว่างที่หนุ่มสาวกำลังร่วมในงานรื่นเริง แต่ที่มุมหนึ่ง มาก และ นาค สาวงามแห่งทุ่งพระโขนงกำลังพลอดรักกันอยู่ที่กองฟาง สร้างความริษยาแก่ แม่เฮียง ซึ่งแอบหลงรักมากอยู่ฝ่ายเดียว กำนัน ลุงของมาก เพื่อนกินเหล้าของ เถ้าแก่เฮง กลับทาบทามแม่เฮียง ลูกสาวของเถ้าแก่เฮงมาเป็นสะใภ้ ซึ่งเถ้าแก่เฮงก็เห็นดีเห็นงามด้วย เพราะมากเป็นชายหนุ่มที่ตั้งใจทำมาหากิน นัดหมายเป็นมั่นเหมาะว่าจะให้หนุ่มสาวแต่งงานกันในเดือน 9 โดยมีข้อแม้คือให้กำนันช่วยเป็นพ่อสื่อจัดแจงให้ตนได้สมรักกับนาค มากปฏิเสธการแต่งงานอย่างหัวเด็ดตีนขาด แม้กำนันจะขู่ตัดออกจากกองมรดกก็ไม่สามารถเปลี่ยนใจเขาได้ มากหัวเสียกลับมาที่งานรื่นเริง เห็นเถ้าแก่เฮงรำเล่นอยู่กับนาคก็ยิ่งฉุนเฉียวหนัก โชคดีที่นาคตามมาปรับความเข้าใจและตกลงปลงใจอยู่ด้วยกันนับจากวันนั้นโดยมี ป้าแช่ม เมียของกำนันแอบให้ความช่วยเหลือเถ้าแก่เฮงยังไม่ละความพยายามจะเอานาคเป็นเมีย ร่วมมือกับกำนันส่งมากไปเป็นทหารเกณฑ์ ทั้งที่นาคกำลังตั้งครรภ์อยู่ กลางดึกคืนหนึ่งนาคเจ็บท้องอย่างหนัก พยายามออกมาขอความช่วยเหลือจากชาวบ้าน แต่ขาดใจตายกลางคัน เช้าวันรุ่งขึ้น เช้าบ้านช่วยกันนำศพนาคไปฝังไว้ที่ใต้ต้นตะเคียนคู่ ในป่าช้าวัดมหาบุศย์ แต่หลังจากนั้นวิญญาณของนาคก็ออกอาละวาดชาวบ้านละแวกนั้น แม้จะมีหมอผีอาสามาปราบก็ไม่สำเร็จ วันหนึ่ง มากขอลากลับมาเยี่ยมลูกเมียที่ทุ่งพระโขนง และต้องดีใจที่เห็นลูกเมียยืนคอยที่ริมตลิ่ง โดยไม่รู้เลยว่านั่นเป็นเพียงวิญญาณรักของนางนาค
ขุนช้างขุนแผน ตอน จับเสน่ห์เถรขวาด (2492)
ขุนช้างขุนแผน ตอน จับเสน่ห์เถรขวาด (2492/1949) พระไวยออกไปรบกับพลายชุมพลแต่ถูกขุนแผนไล่ฟันจนแตกทัพ พระไวยจึงเข้ามากราบทูลพระพันวษาว่าขุนแผนและพลายชุมพลเป็นกบฏ พระพันวษารับสั่งให้ศรีมาลาไปรับขุนแผนกับพลายชุมพลมาเข้าเฝ้า เพื่อถามถึงสาเหตุที่ทะเลาะกับพระไวย ขุนแผนกับพลายชุมพลกราบทูลว่า พระไวยถูกสร้อยฟ้าทำเสน่ห์มิหนำซ้ำยังเฆี่ยนตีศรีมาลา พระพันวษายังไม่เชื่อดี จึงตรัสว่าหากเป็นเช่นนั้นจริง ให้ขุนแผนจับตัวคนทำเสน่ห์พระไวยให้ได้ จึงจะอภัยโทษพลายชุมพล ขุนแผนรับคำโดยมีจมื่นศรีเสาวลักษณ์ไปเป็นพยานในการจับตัวคนทำเสน่ห์
ขุนช้างขุนแผน ภาคพิเศษ ตอน เปรตวันทองห้ามทัพ (2482)
ขุนช้างขุนแผน (2482/1939) ท่านที่สนใจในทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ หาความรู้ประดับประดาจากภาพยนตร์เรื่องนี้ ดูวิธีไสยศาสตร์ การใช้เวทย์มนต์อาถรรย์ของสมัยยุคนั้นอย่างแปลกประหลาดมหัศจรรย์ใจ ดูการรบของสามพ่อลูกที่ต่างคนต่างมีฤทธิมีเดช ใช้ของวิเศษเข้าประหัศประหารกัน ดูความรักของแม่ที่มีต่อลูก ความรักของแม่นั้นย่อมมีอยู่แก่ลูกเพียงไรแม้จนกระทั่งสิ้นชีวิตไปแล้ว ดูความรักของหนุ่มจ้าวมหาเสน่ห์ชั้นบรมครู ซึ่งพอถูกเสน่ห์ของหญิงเข้าบ้าง เล่นเอาลุ่มหลงงงงวยจนไม่รู้สึกผิดชอบ ถึงกับเกิดเรื่องร้ายใหญ่โตขึ้น เชิญมานั่งหัวเราะกันให้ท้องคัดท้องแข็ง ในตอนขบขันของคนที่ไม่ ชอบเล่นกับผี แต่ว่าผีชอบมาเล่นกับคน เชิญนั่งเบียดกัน จนตัวลีบ ดูเปรตวันทองแผลงเดชอย่างน่ากลัว เชิญท่าน ที่ไม่เคยเห็นเปรต ขอให้ท่านมาทำความรู้จักกับเปรตไว้เสีย เชิญมานั่งขำๆ ดูพระไวยเกี้ยวแม่ อย่างจวนๆหวิดๆ จะเข้าด้ายเข้าเข็มนั้นทีเดียว (ที่มา: นิตยสารประมวลภาพยนตร์ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482)
ขุนช้างขุนแผน ภาค 4 ตอน ขุนช้างกินเลี้ยง-สร้อยฟ้าทำเสน่ห์
ขุนช้างขุนแผน ภาค 4 ตอน ขุนช้างกินเลี้ยง-สร้อยฟ้าทำเสน่ห์ (2481/1938) สมเด็จพระพันวัสสา ประทานสร้อยฟ้า และ ศรีมาลา แก่ พระไวย ในคืนเลี้ยงฉลองการแต่งงาน วันทองกับขุนช้างมาร่วมงานด้วย ขุนช้างดื่มเหล้าเมามาย ร้องรำทำเพลงเป็นที่น่าหนวกหู และด้วยความมึนเมาจึงคะนองปากกล่าวคำหยาบคายต่อพระไวยเป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาทกัน ขุนช้างสู้ไม่ได้ไปฟ้องพระพันวัสสา พระพันวัสสาไต่สวนได้ความว่าขุนช้างเป็นฝ่ายผิด จึงสั่งจำคุกขุนช้าง ต่อมาพระไวยไปลักพาตัวนางวันทองมาให้ขุนแผน ขุนช้างถวายฎีกาแด่พระพันวัสสา เมื่อไต่สวนหาคนผิดไม่ได้ จึงให้วันทองตัดสินใจว่าจะอยู่กับขุนช้างหรือขุนแผน วันทองสองใจเกิดลังเลตอบไม่ได้ พระพันวัสสาจึงรับสั่งให้นำวันทองไปตัดหัว ที่บ้านพระไวย สร้อยฟ้ากับศรีมาลาตบตีกันไม่เว้นแต่ละวัน จนกระทั่งพระไวยทนการกระทำของสร้อยฟ้าไม่ไหวจึงสั่งเฆี่ยนสร้อยฟ้า สร้อยฟ้าเสียใจและเคียดแค้นศรีมาลามากขึ้นกว่าเดิม จึงไปหาทิดขวาดให้ช่วยทำเสน่ห์ให้
เพลิงพิศวาส (2481)
เพลิงพิศวาส (2481/1938) สุวรรณเกสร บุตรี ท้าวพรหมทัตแห่งเมืองพาราณสีผู้มีพระสิริโฉมงดงามยิ่งนัก แต่นางมีลักษณะประหลาดอย่างหนึ่ง คือตั้งแต่เกิดจนอายุได้สิบห้าไม่พูดกับชายใดเลย แม้พระบิดานางก็ไม่พูดด้วยจนสร้างความแปลกพระทัยต่อท้าวพรหมทัตยิ่งนัก ท้าวพรหมทัตจึงสั่งแต่งสารไปถึงเจ้านครต่างๆ ว่าพระองค์จะยกพระธิดาให้ หากมีใครสามารถชวนพระธิดาเจรจาด้วยได้พระองค์ก็จะจัดงานอภิเษกสมรสและยกพระนครให้ครอบครอง แต่ก็ไม่มีใครทำได้สำเร็จ กระทั่ง สรรพสิทธิ์บุตรเศรษฐีผู้มีสติปัญญาและเวทมนต์ ทราบเรื่องจากอำมาตย์ท่านหนึ่ง สรรพสิทธิ์จึงได้เข้าเฝ้าพระธิดา พร้อมทั้งหว่านล้อมพระธิดาด้วยนิทานเวทย์มนต์ปริศนา พาให้พระธิดาเกิดความข้องใจจนตรัสถามและเกิดชอบพอในการสนทนา สรรพสิทธิ์จึงได้อภิเษกสมรสกับนางสุวรรณเกสรทั้งได้ครองรักและดูแลพาราณสีร่วมกัน ทว่า นานวันเข้า สรรพสิทธิ์เสวยสุขารมณ์กับนางสุวรรณเกสรจนชักเบื่อหน่ายกับความมั่งมีในวัง จึงขอลาพระชายาออกประพาสไพรกับพี่เลี้ยงคู่ชีวิตที่ไว้วางพระทัย แต่ระหว่างประพาส สรรพสิทธิ์บังเอิญเห็นร่างของกวางตัวหนึ่งนอนตาย ก็นึกสนุกจึงถอดดวงวิญญาณเข้าสิงร่างกวางเพื่อเชยชมธรรมชาติในป่า ฝ่ายพี่เลี้ยงเห็นทีว่าร่างอันไร้วิญญาณของสรรพสิทธิ์จะเป็นประโยชน์แก่ตน จึงเข้าสิงร่างสรรพสิทธิ์หมายแอบอ้างครองบัลลังก์และตัวเจ้าหญิง แต่เพราะเจ้าหญิงและสรรพสิทธิ์นั้นรู้ทัน จึงหาทางวางแผนด้วยเล่ห์กลและเวทย์มนต์ จนสามารถกำจัดพี่เลี้ยงทรยศและกลับคืนสู่พาราณสีตามเดิม

หน้าที่