Man Suang แมนสรวง (2566/2023) “เขม” และ “ว่าน” สองหนุ่มจากเมืองแปดริ้วรับภารกิจเข้าไปสืบสาวเงื่อนงำใน “แมนสรวง” สถานเริงรมย์อันโอ่อ่าและลึกลับที่สุดในพระนคร หลังม่านของสุขสถานที่ผู้คนนานาชาติมาชุมนุมกันแห่งนี้เป็นที่วางแผนและตกลงทางการเมืองในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สองเกลอได้เข้าร่วมคณะละครและพบกับ “ฉัตร” มือตะโพนของวงดนตรี ความสัมพันธ์ของทั้งสามพัฒนาไปพร้อมกับความลับมืดดำของแมนสรวงรวมถึงปมในใจของทั้งสามเองค่อยๆ เผยออกมา (Source: sfcinemacity.com)
My Precious รักแรก โคตรลืมยาก (2566/2023) เรื่องราวความรักของ "ต๋อง" (นนน-กรภัทร์ เกิดพันธุ์) เด็กผู้ชายในวัย 16 หัวโจกของแก๊งสุดห่ามประจําโรงเรียน และแก๊งเพื่อนอย่าง "โด่ง" (โอม-ภวัต จิตต์สว่างดี), "แบงค์" (ชิม่อน-วชิรวิชญ์ เรืองวิวรรธน์), "ไม้" (นีโอ-ตรัย นิ่มทวัฒน์) และ "เปา" (ยูโร-ธนเศรษฐ์ สุริยะพรชัยกุล) ที่มักจะก่อวีรกรรมสุดป่วนสร้างความปวดหัวให้กับเหล่าครูในโรงเรียนอยู่เสมอ แต่แล้ววันหนึ่ง "ต๋อง" และเพื่อน ๆ เกิดนึกสนุกเล่นพิเรนทร์กลางห้องเรียน จนทําให้ "ต๋อง" ถูกทําโทษด้วยการย้ายมานั่งอยู่หน้า "หลิน" (ฟิล์ม-รชานันท์ มหาวรรณ์) นักเรียนดีเด่นประจําโรงเรียนที่ทั้งน่ารักและเรียนเก่ง แถมยังเป็นคนที่เหล่าเพื่อน ๆ ในแก๊งของต๋องแอบชอบอีกด้วย มีเพียง "ต๋อง" ที่ไม่ได้ชอบ "หลิน" เพราะเขารู้สึกว่าตัวเองเป็นคนที่ 'โคตรเจ๋ง' เกินกว่าจะชอบใคร แต่สุดท้ายด้วยความใกล้ชิดเพราะต้องติวหนังสือให้กันก็เกิดเป็นความรู้สึกดี ๆ ที่พวกเขาเรียกมันว่า "รักแรก" และต่อให้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน "รักแรก" ก็ยังคงเป็นคนที่เราไม่มีวันลืมอยู่ดี
ขุนแหย 2565

เรื่องย่อ: ขุนแหย (2565/2022) ได้เวลาฮาลั่นอโยธยา กับภาพยนตร์คอมเมดี้ “ขุนแหย THE LOST HERO OF AYODHYA” ผลงานจาก MONO ORIGINALS ที่ได้ ‘เปลว ศิริสุวรรณ’ มานั่งแท่นกำกับและดึงเอาดาวตลกทั่วฟ้าเมืองไทย มาร่วมกันถ่ายทอด เรื่องราวสุดฮาเต็มคาราเบลของ “แหย” (กรภพ จันทร์เจริญ) หมอยาสมุนไพรใจพระแถมยังใจซื่อมือสะอาด ถูก “หลวงถลอก” (สมชาย ศักดิกุล) ขุนนางตัวร้าย ลวงให้ไปตัวหัว “เนเมียว” (จตุรงค์ พลบูรณ์) แม่ทัพชาวพม่าแล้วทำการพอกน้ำผึ้งไว้ไม่ให้หัวเน่า เพื่อจะได้ไปรับรางวัลที่อยุธยาได้ทันการ แต่เรื่องไม่ได้ง่ายอย่างนั้น เพราะถึงแม้แหยจะเอาชีวิตรอดจากสนามรบแถมยังมีหัวของแม่ทัพเนเมียวเป็นของแถม แต่ก็ต้องผจญกับจอมขมังเวทย์อสรพิษ (สายเชีย วงศ์วิโรจน์) ที่พยายามจะชิงหัวแม่ทัพ รวมถึงต้องเอาชีวิตรอดจาก “ลินดา” (ภัทรวดี เหลาสา) สาวนักฆ่าที่ถูกจ้างอีกด้วย งานนี้ต้องมาช่วยกันลุ้นว่า แหย จะสามารถเอาชีวิตรอด และจะได้กลับบ้านไปนอนกอด “สายสร้อย” (บุตรี กัลย์จารึก) เมียรักด้วยร่างกายที่ครบ 32 หรือไม่?  (ที่มา : monomax.me)

พญาโศกพิโยคค่ำ The Edge of Daybreak (2564/2021) ปี พ.ศ. 2549 ท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมือง ปาล นักการเมือง ได้อยู่กับครอบครัวภายในบ้านอันเป็นที่รักของเขาเป็นคืนสุดท้ายก่อนต้องหลบหนีเพราะเกิดรัฐประหาร ยามดึกคืนนั้นขณะที่ปาลกำลังหลบหนี เขาได้พบกับกลุ่มผู้ลักลอบเข้าเมืองบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ขณะที่ พลอย ภรรยาของปาลที่ถูกขังในโรงพยาบาลก็ฝันเห็นพ่อคือ ปราสาท ย้อนกลับไปเมื่อปี 2518 ตอนพลอยอายุ 9 ขวบ เธออยู่ในอาการโคม่า หลังพ่อหายตัวไปสามปี ส่วนแม่คือ ไพลิน ก็เพิ่งได้รับการปล่อยตัวจากโรงพยาบาลจิตเวช มาอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ประจำตระกูล สุริยุปราคาได้สะกดทุกคนให้ต้องมนต์ ไพลินและแพทย์หนุ่มร่วมกันระลึกถึงความหลังและเติมเต็มความปรารถนาที่เก็บซ่อนไว้มานาน ในวันนั้นแพทย์หนุ่มหายตัวไป พร้อมการกลับมาอย่างไม่คาดฝันของปราสาท
ขุนบันลือ (2561/2018) ในปี พ.ศ. 2447 ที่สยามมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงประเทศในหลายๆ ด้าน จนส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนมากมาย ขุนบันลือ ขุนนางในกระทรวงมหาดไทยผู้สนับสนุนแนวคิดการเลิกทาสมาโดยตลอด ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ไปทําธุระที่เมืองเชียงราย เพราะเคยไปราชการที่นั่นมาก่อน แต่ขุนบันลือกลับกังวลกับภารกิจนี้ เพราะตนเองเคยมีเรื่องราวแต่หนหลังในเชียงราย เรื่องราวชุลมุนในเรือนขุนบันลือจึงเริ่มขึ้น เรื่องราวเกิดขึ้นในสมัย รศ.๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๗) เมื่อ "ขุนบันลือ" (เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา) ได้รับมอบหมายให้ไปราชการที่เมืองเชียงราย แต่ขุนบันลือเองกลับกังวลใจ เพราะถูก "มด" (เอ็นดู วงษ์คำเหลา) ทาสหญิงที่ขุนบันลือแอบมีความสัมพันธ์ด้วยจับได้ว่าท่านขุนเคยมีสัมพันธ์กับใครบางคนที่เมืองเชียงรายมาก่อน เรื่องยุ่งมากขึ้นเมื่อเพื่อนรักของท่านขุน พาลูกสาวลูกชายมาฝากให้ช่วยดูแลระหว่างที่ไปราชการต่างประเทศ แต่ทั้งคู่กลับมีเรื่องชอบพอกับบรรดาทาสในเรือนท่านขุนซะอีก เรื่องราวความรักระหว่างชนชั้นจึงเริ่มขึ้นอีกครั้ง ตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ยันรุ่นลูก แลเวท่านขุนจะหาทางออกอย่างไร
ทองดีฟันขาว (2560)

ทองดี ฟันขาว (2560/2017) เรื่องราวความกล้าหาญและความจงรักภักดีในช่วงชีวิตสำคัญของ “นายทองดี ฟันขาว” นักสู้หัวใจแกร่งที่มากความสามารถและฝีไม้ลายมวย โชคชะตานำพาให้เขาได้เป็นทหารเอกคู่ใจแห่งพระเจ้าตากสินมหาราช และพลีชีพต่อสู้ปกป้องบ้านเมืองจนกลายเป็นวีรบุรุษของชาวไทยที่รู้จักกันในนาม “พระยาพิชัยดาบหัก” ทองดี นักสู้หัวใจแกร่ง ผู้มีความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อรักษาคำมั่นสัญญา กล้าหาญจงรักภักดี มีความสามารถและฝีไม้ลายมือทางหมัดมวยและดาบอย่างหาตัวจับยาก เขาไม่ชอบกินหมาก จึงเป็นที่มาของฉายา ทองดีฟันขาว ชีวิตของเขาต้องระหกระเหินจากครอบครัวตั้งแต่ครั้งเยาว์วัย และต้องออกเดินทางหาเงินเลี้ยงตัวจากการชกมวย และร่ำเรียนวิชามวยเพิ่มเติมจากบรรดาครูมวยตามเมืองต่างๆ จนสุดท้ายโชคชะตาและวีรกรรมอันเลื่องชื่อของเขาก็นำพาให้เขาได้เป็นทหารเอกคู่ใจแห่ง พระเจ้าตากสินมหาราช และพลีชีพต่อสู้ปกป้องบ้านเมืองจนกลายเป็นวีรบุรุษของชาวไทย ที่รู้จักกันในนาม พระยาพิชัยดาบหัก

ขุนพันธ์ (2559/2016) ในขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังก่อตัวขึ้น ญี่ปุ่นเริ่มแผ่ขยายอำนาจรุกรานทั่วเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยที่กำลังเกิดการปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่เพื่อเตรียมก้าวเข้าสู่โลกอารยะ ความเจริญเริ่มรุกล้ำ แต่กลับกลายเป็นว่าผู้คนกลับขัดสนยากจน ถูกกดหัวอยู่ภายใต้อาณัติของเหล่าชุมโจรเสือร้ายที่ก่อร่างสร้างอิทธิพลไปทั่วทุกหัวระแหงโดยหาได้หวั่นเกรงต่อกฎหมายแต่อย่างใด แต่ถึงกระนั้นก็ใช่ว่าผืนปฐพีจะไร้ซึ่งผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่สัตย์ซื่อ ภักดีในความถูกต้อง และยึดมั่นในความยุติธรรม จังหวัดชุมพร ปี พ.ศ. 2481 ภายหลังจากเด็ดชีพ “เสือกลับ คำทอง” และพวกพ้องที่อุกอาจปิดเมืองทั้งเมืองและจับ “สารวัตรดำเกิง” ผู้บังคับบัญชาเป็นตัวประกัน “นายบุตร์” หรือ “ร้อยตำรวจโท ขุนพันธรักษ์ราชเดช” (อนันดา เอเวอริงแฮม) นายร้อยตำรวจหนุ่มฝึกหัดก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าด้วยกระสุนเพียงนัดเดียวก็สามารถกำราบเสือร้ายเลื่องชื่อได้เป็นผลสำเร็จ นั่นเป็นเพราะความสามารถเฉพาะตัวและวิชาที่บ่มเพาะติดตัวมา ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกทำในสิ่งที่ยังไม่เคยมีนายตำรวจมือปราบรายใดในประวัติศาสตร์เคยทำมาก่อน นั่นคือเสนอตัวเข้ารับผิดชอบในภารกิจลับที่เสี่ยงที่สุด อันตรายที่สุด ซึ่งอาจใช้เวลานับเดือนหรือแรมปีโดยต้องทิ้งชีวิตที่เหลืออยู่เป็นเดิมพัน นั่นคือการเสาะหาและออกไล่ล่าเพื่อปิดตำนานของ “อัลฮาวียะลู” (กฤษดา สุโกศล แคลปป์) มหาโจรผู้โหดเหี้ยม ดุดัน แกร่งกล้า ฆ่าไม่ตาย หนำซ้ำยังคงกระพันหนังเหนียว ครองอิทธิพลแผ่ขยายครอบคลุมไปทั่วภาคใต้ ซึ่งเป็นที่เลื่องลือกันว่าแกร่งกล้าเพราะมีวิชาและของดีอยู่ในตัว ขุนพันธ์ในคราบของนายบุตร์จึงแอบแฝงตัวเข้าไปสืบข่าวโดยได้รับความช่วยเหลือจาก “ไข่โถ” (สนธยา ชิตมณี) และ “มาลัย” (กานต์พิสชา เกตุมณี) 2 พี่น้องครอบครัวชาวประมงที่ทำงานในสโมสรงาช้างของ “หลวงโอฬาร” (ภคชนก์ โวอ่อนศรี) ข้าราชการใหญ่ผู้ทรงอำนาจและอิทธิพลจนทุกคนต้องเคารพและยำเกรง ซึ่งทำให้ต้องเผชิญกับ “เสือสัง” (ชูพงษ์ ช่างปรุง) และ “บุหงา” (พิมลรัตน์ พิศลยบุตร) 2 มือสังหารข้างกายของมหาโจรที่ว่ากันว่าคือนักฆ่าเลือดเย็นและไร้ความปรานีอย่างที่สุด พร้อมด้วยเหล่าทัพเสือโจรร้ายนับไม่ถ้วน ณ ดินแดนแห่งนี้นี่เองที่ทำให้ขุนพันธ์ได้รู้ความจริงว่า เมืองทั้งเมืองคือชุมโจรขนาดใหญ่ ชาวบ้านตกเป็นเครื่องมือโดยมีนักการเมือง ข้าราชการท้องถิ่นรู้เห็นกับมหาโจร คอยชักโยงและอยู่เบื้องหลังเพื่อกอบโกยผลประโยชน์โกงกินและขายชาติ กระทั่งความจริงปรากฏ พวกโจรรู้ว่าขุนพันธ์แฝงตัวเข้ามา การไล่ล่าและเผชิญหน้าระหว่างสุดยอดมือปราบและมหาโจรฆ่าไม่ตายจึงอุบัติขึ้นท่ามกลางห่ากระสุน คาวเลือด และการต่อสู้ อาคมต่ออาคม ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ขุนพันธ์ต้องเลือกระหว่างหนีเพื่อเอาชีวิตตัวเองให้รอด หรือกลับไปช่วยเหลือและเปลี่ยนใจชาวบ้านให้ลุกขึ้นมาสู้กับโจร สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับเมืองนี้ และเพื่อพิสูจน์ให้รู้ว่าแรงกระสุนหรือจะสู้แรงศรัทธา…
เมย์ไหน ไฟแรงเฟร่อ (2558/2015) ป๋อง (ธิติ มหาโยธารักษ์) เด็กหนุ่มนักเรียนชั้นม.5 แบ่งนักเรียนในโรงเรียนในระดับฐานันดรต่างๆ คือ คนทั่วไป, อันธพาล, เด็กเนิร์ด, นักกีฬา, คนหน้าตาดี, และนักกิจกรรมตัวท็อป โดยจัดตัวเองเป็นอยู่ในกลุ่มไร้ตัวตน ไม่มีคนสนใจ แต่ป๋องก็มีความในใจคือแอบชอบมิ้ง (นรีกุล เกตุประภากร) นักกิจกรรมตัวท็อป เธอยังเป็นว่าที่ประธานสีคนต่อไป ทั้งที่เธอไม่เคยเหลียวป๋องเลย จนวันนึงป๋องได้รู้จักกับเมย์ไหน (สุทัตตา อุดมศิลป์) ผู้หญิงเก็บตัว ไม่เข้าสังคม และเป็นกลุ่มคนประเภทไร้ตัวตนเฉกเช่นเดียวกับตัวป๋องเอง ป๋องเองรู้ความลับของเมย์ไหนว่าเธอแอบชอบพี่เฟม (ธนภพ ลีรัตนขจร) เป็นนักกีฬาประจำโรงเรียน ประธานสี ป๋องยังทราบว่าเมย์ไหนเลือกที่จะไร้ตัวตนเพราะเธออยู่กับใครไม่ค่อยได้ ร่างกายของเธอจะปล่อยกระแสไฟฟ้าเมื่อเธอ ตื่นเต้น หรือตกใจ ทังสองจึงตกลงเป็นเพื่อนและเก็บความลับของกันและกัน ค่อยๆ สนิทกัน และช่วยกันจีบมิ้ง
ฟ.ฮีแลร์ (2558/2015) เรื่องราวของ พงศธร (ภรัณยู โรจนวุฒิธรรม) ครูในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง ซึ่งต้องการจะมีเงินเดือนที่มากขึ้น ทางเดียวที่เขาจะทำได้คือการลงเรียนต่อปริญญาโท เพื่อนำวุฒิการศึกษามาปรับขึ้นเงินเดือน พงศธร ซึ่งเป็นครูสอนภาษาไทยจึงลงเรียนปริญญาโทสาขาวรรณกรรมและเลือกทำวิทยานิพนธ์เรื่อง ฟ.ฮีแลร์ เป็นงานจบของเขา ฟ.ฮีแลร์ (เจสัน ยัง) คือนักบวชชาวฝรั่งเศส ผู้ที่เดินทางมายังประเทศไทยเมื่อ 100 กว่าปีก่อน เพื่อมาเป็นครูและเป็นครูฝรั่งที่นั่งเรียนภาษาไทยกับนักเรียนจนพูดภาษาไทยได้ และไม่ใช่เพียงพูดได้เท่านั้น ฟ.ฮีแลร์ ยังเก่งถึงขนาดเขียนตำราให้คนไทยเรียน ยิ่ง พงศธร ค้นคว้าเรื่องราวของ ฟ.ฮีแลร์ ใหม่ลึกลงไปเท่าไหร่ ก็ยิ่งเหมือนเป็นการตบหน้าตัวเอง เพราะเขาค้นพบว่า ฟ.ฮีแลร์ ก็เป็นครูเช่นเดียวกับเขา แต่ความเป็นครูเขาเทียบอะไรไม่ได้กับ ฟ.ฮีแลร์ เลย ขณะที่เขาสอนเพื่อแลกเงิน แต่ ฟ.ฮีแลร์ กลับสอนเพื่อต้องการให้ความรู้ เขาได้ค้นพบความจริงที่ว่า ตำราดรุณศึกษาที่เขาใช้สอนนักเรียนทุกวันนี้ ประพันธ์โดย ฟ.ฮีแลร์ นักบวชชาวฝรั่งเศสผู้ซึ่งอุทิศตัวเพื่อการศึกษาของไทยแม้ว่าจะไม่ใช่คนไทยก็ตาม พงศธร เริ่มค้นพบปรัชญาชีวิตบางอย่างจากการค้นคว้าชีวิตของ ฟ.ฮีแลร์ แต่ พงศธร ยังคงไม่เข้าใจว่าเพราะเหตุใด ฟ.ฮีแลร์ จึงได้เลือกอยู่ในประเทศเล็ก ๆ อย่างประเทศไทยจนวันสุดท้ายของชีวิต และเมื่อ พงศธร ได้รู้เหตุผลนั้น มันจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาตลอดไป...
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๖ อวสานหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๖ อวสานหงสา (2558/2015) ในปี พ.ศ. 2135 หลังพ่ายศึกยุทธหัตถี ฝ่ายหงสาวดีพระเจ้านันทบุเรง ทรงโทมนัสที่ต้องสูญเสียพระราชโอรส จึงมีรับสั่งให้คลอกไฟเหล่าแม่ทัพนายกอง ที่ตามเสด็จพระมหาอุปราช ให้ตายตกตามกัน ทั้งยังระบายพระโทสะไปที่ พระสุพรรณกัลยา องค์ประกัน และพระราชโอรสธิดาถึงสิ้นประชนม์ชีพ ข้าง สมเด็จพระนเรศวร นั้น มีพระราชประสงค์จะนำทัพปราบหงสาวดี ให้ราบคาบ มิให้ตกค้างเป็นเสี้ยนหนาม ครั้นมาได้ทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ ของพระพี่นาง และพระราชนัดดาก็ยิ่งโทมนัส จึงตัดสินพระทัยยกทัพใหญ่ หมายเหยียบหงสาวดีให้ราบเป็นหน้ากลอง ในระหว่างที่เดินทางมาถึงเมืองเมาะตะมะได้จับตัว พระยาลอ ผู้สำเร็จราชการแทน ที่พระเจ้านันทบุเรง ส่งให้มาปกครองเมือง ถูก เม้ยมะนิก ราชธิดาของ ศิริสุธรรมราชา เจ้าเมืองเมาะตะมะลอบสังหาร เพื่อแก้แค้นแทนบิดา พร้อมรวบรวมชาวรามัญเพื่ออาสาขอเข้าร่วมรบพม่ากับชาวอโยยา แต่ครั้นเมื่อทัพของพระองค์เสด็จถึงหงสาวดีก็พบแต่เพียงเศษซากของมหานครอันเคยยิ่งใหญ่ ด้วยนัดจินหน่อง ราชบุตรพระเจ้าตองอูได้วางอุบาย เชิญพระเจ้านันทบุเรงพร้อมกวาดต้อนผู้คนแลทรัพย์ศฤงคารของหงสาไปไว้ยังตองอูจนหมดสิ้น ครั้งนั้น สมเด็จพระนเรศวร จึงทรงยกทัพตามขึ้นไปถึงเมืองตองอู มีพระราชบัญชาให้ เมงเยสีหตู เจ้าเมืองส่งตัว พระเจ้านันทบุเรงออกมาถวาย ด้านนัดจินหน่องเห็นว่าพระเจ้านันทบุเรง ที่เชิญมานั้น เป็นภัยชักศึกเข้าบ้าน จึงหมายยืมมือ สมเด็จพระนเรศวร สังหาร พระเจ้านันทบุเรง เสีย แต่เมื่อ สมเด็จพระนเรศวร ได้ทอดพระเนตรเห็น พระเจ้านันทบุเรง ที่ทรงทุพพลภาพเป็นที่น่าสมเพช ก็ให้สลดพระราชหฤทัย ระหว่างนั้น เมงราชาญี เจ้าเมืองยะไข่ได้แต่งทัพเป็นกองโจร ตีลัดตัดเสบียงอยุธยามิให้ส่งข้าวน้ำขึ้นไปเลี้ยงทัพที่ล้อมพระนครตองอูอยู่ สมเด็จพระเอกาทศรถ จึงแบ่งทัพลงมาหมายจะเผด็จศึกยะไข่มิให้เป็นหอกข้างเเคร่ แต่ทรงพลาดท่าถูกเมงราชาญีจับตัวได้ พระราชมนู จำต้องขันอาสานำกำลังลงมา แก้เอา สมเด็จพระเอกาทศรถ กลับคืน และยกทัพกลับยังอยุธยา ข้างฝ่ายพุกามประเทศนั้นได้บังเกิดกษัตริย์ชาตินักรบขึ้นมา แทนพระเจ้าชนะสิบทิศ มีพระนามว่า พระเจ้ายองยาน ตามชื่อพระนครที่ปกครอง พระเจ้ายองยาน ทรงขยายแสนยานุภาพครอบคลุมดินแดนพม่าตอนบน เข้ายึดครองหัวเมืองในรัฐไทยใหญ่ทั้งหลาย และทรงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองยองห้วยและเมืองแสนหวีซึ่งขณะนั้นล้วนเป็นเมืองประเทศราชของอยุธยา เมื่อ สมเด็จพระนเรศวร ทรงล่วงรู้ก็ทรงมีพระราชดำริที่จะตัดไฟเสียแต่ต้นลม ไม่ให้อธิราชศัตรูพลิกฟื้นขึ้นมา เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดินอยุธยาได้อีก สมเด็จพระนเรศวร จึงได้เสด็จยกกองทัพไปตีอังวะ ครั้งนั้น พระมหาเถรคันฉ่อง และ พระอัครมเหสีมณีจันทร์ ซึ่งกำลังทรงพระครรภ์ก็ทูลขอให้งด ซึ่งราชการสงคราม สมเด็จพระนเรศวร จึงทรงให้สัญญาว่า จะเสด็จไปทำศึกครานี้เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อเสด็จถึงเมืองเชียงใหม่ก็ยั้งทัพจัดกระบวนอยู่หนึ่งเดือน แล้วให้ทัพ สมเด็จพระเอกาทศรถ ยกขึ้นไปทางเมืองฝาง ส่วนกองทัพหลวงยกไปทางเมืองหาง ตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้ว อยู่มา สมเด็จพระนเรศวร ทรงพระประชวรจึงโปรดให้ข้าหลวงรีบเชิญเสด็จ พระเอกาทศรถ มาเฝ้า ครั้นมาถึงได้ 3 วัน สมเด็จพระนเรศวร ก็เสด็จสวรรคตเมื่อวันจันทร์ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 สมเด็จพระเอกาทศรถ จึงได้อัญเชิญพระบรมศพ สมเด็จพระนเรศวร กลับกรุงศรีอยุธยาราชธานี

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี (2557/2014) ในปี พ.ศ. 2129 พระเจ้านันทบุเรง ทรงแค้นเคืองที่ต้องปราชั­ยต่อ สมเด็จพระนเรศฯ อย่างย่อยยับ ทั้งต้องเสียไพร่พลและพระสิริโฉม จึงระบายความแค้นนั้นไปที่องค์พระสุพรรณกั­ลยา เมื่อ สมเด็จพระมหาธรรมราชา พระราชบิดาทราบค­วามก็ให้โทมนัสด้วยสำนึกว่าชะตากรรมของพระ­ราชธิดาและแผ่นดินอยุธยาที่ถูกกระทำการย่ำ­ยีก็ด้วยเพราะพระองค์ทรงแปรพักตร์ไปเข้าข้­างศัตรู จนตรอมพระทัยเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศฯ ทรงมีพระชนมายุ 31 พรรษา จึงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติค­รองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อจากพระราชบิดา สมเด็จพระมหาธรรมราชา หรือ (สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 1) ข่าวการผลัดแผ่นดินของกรุงศรีอยุธยารู้ไปถึง พระเจ้านันทบุเรง แห่งกรุงหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรสในพระเจ้าบุเรงนอง สำคัญว่าราชอาณาจักรสยาม หรืออาณาจักรอยุธยาจะไม่เป็นป­กติสุขเป็นช่องชวนชิงเชิง จึงโปรดให้พระราชบุตร พระมังสาม­เกียด หรือ(พระมังกะยอขวาที่ 1) พระมหาอุปราชเจ้าวังหน้ากรีฑาทัพไปตีกรุงศรีอยุธยาอีกคำรบ นำกองทัพทหาร 240,000 นาย (สองแสนสี่หมื่นนาย) มาตีกรุงศรีอยุธยาหมายจะชนะศึกในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงทราบว่า พม่ายกทัพใหญ่มาตี จึงทรงเตรียมไพร่พล มีกำลัง 100,000 นาย (หนึ่งแสนนาย) เดินทางออกจากบ้านป่าโมก อ่างทองไปสุพรรณบุรี ข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทอง ลพบุรี และตั้งค่ายหลวงบริเวณหนองสาหร่าย โดย สมเด็จพระนเรศวร โปรดให้ พระราชมนู แต่­งพลเป็นทัพหน้าขึ้นไปลองกำลังข้าศึกถึงหนอง­สาหร่าย ทัพหน้า พระราชมนู ปะทะเข้ากับทัพพม่าถึงขั้­นตะลุมบอน แต่กำลังข้าง พระราชมนู น้อยกว่าจึงแตกพ่ายถ­อยลงมาเป็นอลหม่าน สมเด็จพระนเรศฯ ทราบความจึงออกอุบายให้ทัพข้าศึกไล่เตลิดลงมาจนเสียกระบวนแล้วจึงทรงนำกำลังออกยอทัพข้าศึก ครั้งนั้นพระคชสารทรงของสมเด็จพระนเรศฯ นามเจ้าพระยาไชยานุภาพ และพระคชสารทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถคือเจ้าพระ­ยาปราบไตรจักรต่างตกมัน วิ่งเตลิดแบกพลฝ่าเข้าไปในทัพพม่ารามัญกลางว­งล้อมข้าศึก และหยุดอยู่หน้าช้าง พระมังสามเกียดพระมหาอุปร­าชา พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้กับเหล่าพระยาขุนศึก จึงทราบได้ว่าพระคชสารทรงของสองพระองค์หลงถลำเข้ามาถึงกลางกองทัพข้าศึก และตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึกจึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า "พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้สมพระเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว" พระมังสามเกียดพระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสพระคชสารนามว่า พลายพัทธกอเข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพเสียหลัก พระมังสามเกียดพระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่ สมเด็จพระนเรศวร ทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้น เจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลัก สมเด็จพระนเรศวร ทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูก พระมังสามเกียด พระมหาอุปราชา เข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง ส่วน สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงฟันเจ้าเมืองจาปะโรเสียชีวิตเช่นกัน พม่าจึงยกทัพกลับกรุงหงสาวดีไป นับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเป็นระยะเวลาอีกยาวนาน

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง (2554/2011) เรื่องราวอันเป็นผลจากการปราชัยของหงสาวดีในคราวศึก พระยาพะสิม และ พระเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งทำให้ พระเจ้านันทบุเรง ทรงตระหนักในพระปรีชาสามารถของ สมเด็จพระนเรศวร และในความเข้มแข็งของกองทัพอยุธยา จึงทรงยกทัพใหญ่เป็นทัพกษัตริย์มาย่ำยีราชธานีสยามหวังให้ราบเป็นหน้ากลองเพื่อเป็นการแก้มือ และเพื่อรักษาซึ่งพระเกียรติยศ มิให้เป็นที่ดูแคลนแก่เหล่าเจ้าประเทศราชในการปกครองของฝ่ายพม่า กองทัพกษัตริย์ของ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง มีความสมบูรณ์ยิ่งใหญ่น่าเกรงขามกว่าทุกศึก ประกอบด้วยช้าง 3,200 ทัพม้า 12,000 และไพร่ราบซึ่งมีจำนวนถึง 252,000 โดยมีนายทัพผู้ปรีชาสามารถมาร่วมรบ ทั้ง พระมหาอุปราชา มังจาปะโร และลักไวทำมูทหารกล้า กิตติศัพท์ความยิ่งใหญ่น่าเกรงขามของทัพหงสาวดีที่ยกเข้ามานี้ ส่งผลให้เจ้าเมืองในขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักรอยุธยาข้างฝ่ายเหนือประหวั่นพรั่นพรึงถึงกับสมคบคิดกัน แปรพักตร์เข้าสมานสมัคร พระเจ้านันทบุเรง รบ สมเด็จพระนเรศวร เป็นเหตุให้ สมเด็จพระนเรศวร ต้องเผชิญทั้งศึกนอกและศึกใน สถานการณ์กลับยิ่งบีบคั้นให้คับขันยิ่งขึ้น เมื่อ พระศรีสุพรรณธรรมาธิราช พระอนุชาเจ้ากรุงละแวกซึ่งขัดพระทัย สมเด็จพระนเรศวร แต่กาลก่อน ได้ยุยงให้พระเชษฐาตัดสัมพันธไมตรีกับอยุธยา ละแวกจึงกลายเป็นหอกข้างแคร่ที่พร้อมจะกระหน่ำซ้ำเติมสยามให้ย่อยยับหากมีอันพลาดท่าเสียทีในศึกนันทบุเรงนี้ ภัยรอบด้านบีบรัดให้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงต้องเผชิญศึกอย่างโดดเดี่ยว ซ้ำเคราะห์กลับทับทวีคูณเมื่อสหายศึก เช่น เลอขิ่น และกองกำลังเมืองคัง ซึ่งร่วมกรำศึก กันมาแต่เบื้องต้นคิดถอนตัวตีจากเนื่องจากพิษรักระหว่างรบที่จบลงด้วยความร้าวฉานระหว่าง เลอขิ่น กับ พระราชมนู ขุนศึกคู่พระทัย ความขัดแย้งด้วยเหตุส่วนตัวได้บานปลายกลายเป็นภัยของแผ่นดินในคราวคับขันเมื่ออยุธยาต้องเผชิญศึก ซึ่งประมาณได้ว่าเป็นมหาสงครามภายใต้โทสจริตของ พระเจ้านันทบุเรง ด้วยข้อจำกัดที่รุมเร้าหลายประการ ผสานกับจำนวนไพร่พลที่เป็นรองหงสาวดีอยู่หลายขุม ทำให้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงจำต้องปรับยุทธศาสตร์การตั้งรับทัพหงสาวดี โดยทรงใช้พระนครศรีอยุธยาซึ่งมีทำเลที่ตั้งที่ได้เปรียบเป็นฐานบัญชาการรบแต่เพียงแห่งเดียว ทรงส่งกำลังออกไปปักปราการ วางแนวป้องกันมิให้พม่าเข้ามาปลูกค่ายใกล้ขอบคูพระนครและกำแพงเมือง ทั้งยังแต่งกำลังเป็นกองโจรเข้าปล้นค่ายข้าศึกอย่างอาจหาญ เมื่อศึกเหนือเสือใต้รุมกระหน่ำ ขุนนางผู้ใหญ่ขาดสามัคคีคิดคดคำนึงแต่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง จอมทัพผู้รั้งราชบัลลังก์และความอยู่รอดของแผ่นดินก็มาพลาดท่า ต้องศาสตรากลางสมรภูมิศึก ยอดทหารเอกกรุงศรีถูกขุนศึกผู้ชาญณรงค์กว่าจับเป็นเชลย ชะตากรรมกรุงศรีอยุธยา และ สมเด็จพระนเรศวร จะลงเอยอย่างไร

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี (2554/2011) การประกาศเอกราชที่เมืองแครง และสังหารสุระกำมาเหนือยุทธภูมิฝั่งแม่น้ำสะโตงของ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” (สมเด็จพระนเรศ) ในปีพุทธศักราช 2127 ได้สร้างความตระหนกแก่ “พระเจ้านันทบุเรง” องค์ราชันหงสาวดีพระองค์ใหม่ ด้วยเกรงว่าการแข็งข้อของอยุธยาในครั้งนี้จะเป็นเยี่ยงอย่างให้เหล่าเจ้าประเทศราชที่ขึ้นกับหงสาวดีอาศัยลอกเลียนตั้งตัวกระด้างกระเดื่องตาม แต่จนพระทัยด้วยติดพันศึกอังวะ จึงจำต้องส่งเพียงทัพ “พระยาพะสิม” และ “พระเจ้าเชียงใหม่” เข้าประชิดกรุงศรีอยุธยา ทางหนึ่งนั้นพระเจ้านันทบุเรงทรงประมาทสมเด็จพระนเรศ ด้วยเห็นว่ายังอ่อนพระชันษาคงมิอาจรับมือจอมทัพผู้ชาญณรงค์ทั้งสองได้ ทางหนึ่งก็สำคัญว่ากรุงศรีอยุธยายังบอบช้ำแต่คราวสงครามเสียกรุง ไพร่พลเสบียงกรังยังมิบริบูรณ์คงยากจะรักษาพระนคร ครั้งนั้นพม่ารามัญยกเข้ามาเป็นศึกกระหนาบถึง 2 ทาง ทัพพระยาพะสิมยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์เลยล่วงเข้ามาถึงแดนสุพรรณบุรี ส่วนพระเจ้าเชียงใหม่-นรธาเมงสอมาจากทางเหนือ นำทัพบุกลงมาตั้งค่ายถึงบ้านสระเกศ แขวงเมืองอ่างทอง กิตติศัพท์การชนะศึกของสมเด็จพระนเรศหลายครั้งหลายคราระบือไกลถึงแผ่นดินละแวก “เจ้ากรุงละแวก” มิได้ทอดธุระ ได้ลอบส่งจารชนชาวจีนฝีมือกล้านามว่า “พระยาจีนจันตุ” มาลอบสืบความที่กรุงศรีอยุธยาแต่ถูกจับพิรุธได้จนต้องลอบตีสำเภาหนีกลับกรุงละแวก สมเด็จพระนเรศทรงนำทัพเรือออกตามจนเกิดยุทธนาวี แต่พระยาจีนจันตุหนีรอดได้ เมื่อเจ้ากรุงละแวกได้ทราบกิตติศัพท์การณรงค์ของพระนเรศจึงเปลี่ยนพระทัยหันมาสานไมตรีกับอยุธยา และส่ง “พระศรีสุพรรณราชาธิราช” ผู้อนุชามาช่วยอยุธยาทำศึกหงสา หากแต่พระศรีสุพรรณผู้นี้ต่างจากเจ้ากรุงละแวกเพราะหาใคร่พอใจผูกมิตรด้วยอยุธยา การได้พระศรีสุพรรณฯ มาเป็นสหายศึกจึงประหนึ่งอยุธยาได้มาซึ่งหอกข้างแคร่

ห่วยขั้นเทพ Suck Seed!! ชีวิตมันต้องลองซักซี้ดนึง!! (2554/2011) เป็ด (จิรายุ ละอองมณี) เด็กประถมสุดเห่ย ที่ไม่เคยฟังเพลง นอกจากจะไม่ชอบฟังเพลงและยังเข้าใจเอาเองผิด ๆ ว่า เพลงเร็วเรียกเพลงร็อค เพลงช้าเรียกเพลงรัก ส่วนเพลงไทยนั้นก็มีแค่สองประเภทคือ เพลง แกรมมี่ และ อาร์เอส เป็ด หัดเล่นดนตรีเพียงเพราะแอบหลงรัก เอิญ (ณัฐชา นวลแจ่ม) เพื่อนร่วมห้องได้ทำให้เขารู้จักกับเพลง และความรัก เอิญ สอน เป็ด ว่าเวลาเราฟังเพลงก็จะเหมือนมีเพื่อนมาอยู่ข้าง ๆ เป็ด เลยอยากเป็นคนข้าง ๆ เอิญ บ้าง ยิ่งรู้ว่า เอิญ เป็นสาวหูเหล็ก เป็นสาวกเพลงร็อคที่คลั่งไคล้กีตาร์ฮีโร่เป็นชีวิตจิตใจ เป็ด จึงเกิดแรงฮึดที่จะผันตัวเองจากไอ้แหยขี้อายให้กลายเป็น ร็อคเกอร์ แต่รักครั้งแรกก็ต้องแตกสลาย เมื่อเธอต้องย้ายไปไกลแสนไกล เวลาผ่านไปไวถึง ม.6 เอิญ ก็กลับมาพร้อมกับความน่ารักและฝีมือกีตาร์ขั้นเทพ เป็ด ที่ยังเห่ยเหมือนเดิมจึงจับมือกับ คุ้ง (พชร จิราธิวัฒน์) มือกีตาร์ของวงนั้นมีบ้านเป็นโรงรับจำนำซึ่งเปรียบเสมือนดีสนีย์แลนด์ของเพื่อน ๆ ของเก่าของคนอื่นจะกลายมาเป็นของเล่นชิ้นใหม่ของ คุ้ง เสมอ ตั้งแต่ประถมยันมัธยมคุ้งคือผู้นำเทรนด์ ไม่ว่าจะเป็นเกมส์แฟมิคอม โรลเลอร์เบลด ตู้สติ๊กเกอร์ เกมเต้น โฟโต้ฮันท์ คุ้ง เป็นต้องได้ประเดิมเป็นคนแรก เป็นเพื่อนสนิทสุดเกรียนที่วัน ๆ คิดแต่จะหม้อหญิง พ่วงด้วย เอ็กซ์ (ธวัช พรรัตนประเสิรฐ) มือกลองบ้าพลังที่อยากสอยดาวโรงเรียนที่แอบชอบอยู่ รวมกันเป็นสามตัวห่วย ตั้งวงเพื่อจีบสาวสวย คุ้ง อาจจะมีชะตากรรมเป็นถึงไอดอลของโรงเรียน ถ้าจะไม่มีกรรมมาบังให้คุ้งดันมีฝาแฝดชื่อ เค น้องชายที่ทั้งเรียนเก่งกว่า ที่สำคัญเคยังเป็นมือกีตาร์ของวงโรงเรียนที่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนเข้าประกวด Hot Wave Music Award ไม่ต้องสงสัยเลยว่าความฮ็อตของ เค จะทำให้ คุ้ง กลายเป็นแค่ฝาแฝด เค ในสายตาของทุกคน ในปีสุดท้ายของชีวิตมัธยมปลาย เมื่อวงของ เค ลงสมัคร Hot Wave โดยมี เอิญ เข้าร่วมในฐานะนักร้องนำ เป็ด และ คุ้ง จึงจับมือกันปฏิวัติตัวเองฟอร์มวง SuckSeed ขึ้นมา หาญกล้าท้าแข่งเพื่อพิสูจน์ให้คนที่พวกเขาทั้งรักทั้งอยากเอาชนะได้เห็นว่า พวกเขาไม่ใช่แค่ "ตัวห่วย" อย่างที่ใคร ๆ คิด
สิ่งเล็กเล็ก ที่เรียกว่า..รัก (2553/2010) น้ำ (พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์) สาวน้อย ม.1 วัย 14 หน้าตาธรรมดา ๆ กระเดียดไปทางไม่สวย หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ขี้เหร่นั่นแหละ แต่เธอดันไปแอบชอบ พี่โชน (มาริโอ้ เมาเร่อ) พี่ม.4 ที่หล่อ เท่ ที่สุดในโรงเรียน แล้วแถมยังใจดีอีกตะหาก ทำให้น้ำมีคู่แข่งเป็นสาว ๆ ทั้ง ม.ต้น และ ม.ปลาย ที่มีแต่คนสวย ๆ เต็มไปหมด แต่น้ำไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ เธอพยายามลุยทำทุกอย่าง สู้ทุกรูปแบบเพื่อที่จะเก่งและสวย แล้วเด่นขึ้นในโรงเรียนให้ได้ เพราะแอบหวังในใจเล็ก ๆ ว่าถ้าทำสำเร็จพี่โชนอาจจะหันมามองเธอซักครั้ง น้ำ ทำตั้งแต่เอามะขามเปียกมาขัดผิว สมัครเป็นนางรำแม้จะถูกคัดออก หัดเป่าคาริเน็ตแล้วสมัครเข้าวงโยธวาทิตเพื่อที่จะได้อยู่ใกล้ ๆ พี่โชน ด้วยความช่วยเหลือของเพื่อน ๆ แก๊งหน้าแย่ ในที่สุด น้ำ ก็ได้เป็นดรัมเมเยอร์มือหนึ่งของโรงเรียน จนตอนที่เรียนอยู่ ม.3 เธอได้เป็นดาวของโรงเรียน จริง ๆ! น้ำ ตกเป็นเป้าสายตาของหนุ่ม ๆ ทั้งโรงเรียน มีคนเข้ามาจีบเป็นสิบ ๆ คน ยกเว้นคนที่เธอรอคอยอยู่คนเดียว โชน แล้วเรื่องราวความรักของ น้ำ จะเป็นอย่างไร โชน จะหันมาสนใจเธอมั้ย สุดท้ายแล้วความรัก ความฝัน กับความเป็นจริง จะได้พบกันเมื่อไหร่ เวลาคงเป็นคำตอบของทุกอย่างเอง
ครูบ้านนอก บ้านหนองฮีใหญ่ (2553/2010) “ความใฝ่ฝันของผมนั่นเหรอ ผมไม่ใฝ่ฝันที่จะเป็นเพียงเรือจ้าง ที่เขาเปรียบครูไว้เช่นนี้หรอก ลองคิดดูซิว่า ขณะที่เรากำลังแจวเรือ แล้วมีคนอื่นอีกมาก ใกล้จะจมน้ำตาย แล้วเราจะไม่จอดแวะรับเขาขึ้นมาด้วยกันกับเราเหรอ เราจะเอาเพียงเด็กนักเรียนขึ้นฝั่งเท่านั้น เท่านี้เหรอ สำหรับเกียรติของครู ความใฝ่ฝันของผมก็คือ ผมจะไม่เป็นเพียงเรือจ้างสำหรับเด็กนักเรียนเท่านั้น ถ้าเป็นไปได้ ผมจะเป็นเรือที่จะรับส่งและช่วยเหลือคนที่จะจมน้ำตายทุกคน” เรื่องเล่าที่ไม่มีวันตายของครูผู้มีอุดมการณ์และความปรารถนาจะเป็นยิ่งกว่า “ครู” เรื่องราวของความทรงจำอันยากจะลืมเลือนของครูบ้านนอกเกิดขึ้นเมื่อ “พิเชษฐ์” (พิเชษฐ์ กองการ) สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครูพระนคร พิเชษฐ์เลือกมาบรรจุเป็นครูที่ “โรงเรียนบ้านหนองฮีใหญ่” ซึ่งอยู่ในชนบทอันห่างไกลที่มีแต่ความทุรกันดาร โดยมี “ครูใหญ่ชาลี” (หม่ำ จ๊กม๊ก) เป็นครูสอนนักเรียนเพียงลำพังของโรงเรียน ต่อมาได้มีครูมาสมทบเพิ่มอีก 2 คนคือ “ครูสมชาติ” (อสงไขย ผาธรรม) ที่จำใจมาเป็นครูเพราะหางานทำในเมืองไม่ได้ และ “ครูแสงดาว” (ฟ้อนฟ้า ผาธรรม) ที่มาเป็นครูอยู่ที่หนองฮีใหญ่เพื่อรอจังหวะโยกย้ายเข้าไปเป็นครูในตัวเมือง ตลอดระยะเวลาที่มาเป็นครูอยู่ที่หมู่บ้านหนองฮีใหญ่ ครูพิเชษฐ์ได้อุทิศทั้งกายและใจในการพัฒนาการเรียนการสอน และชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กนักเรียนทุกคนจนกลายเป็นที่รักของเด็กนักเรียน คุณครู และผู้คนในหมู่บ้าน อีกทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจให้ครูในโรงเรียนบ้านหนองฮีใหญ่ ทั้งครูใหญ่ชาลี, ครูสมชาติ และครูแสงดาว ได้รู้ซึ้งถึงเกียรติยศของคำว่า “ครู” แต่แล้วทุกอย่างก็เปลี่ยนไปเมื่อครูพิเชษฐ์ได้เข้าไปเปิดโปงขบวนการผิดกฎหมายของผู้มีอิทธิพลในท้องที่ จนถูกมือปืนตามล่า เป็นเหตุให้ครูพิเชษฐ์ต้องพักการสอนและหนีออกจากหมู่บ้านไปซ่อนตัวซักระยะ แต่ด้วยวิญญาณความเป็นครู ทำให้ครูพิเชษฐ์หวนกลับมาสอนหนังสือเด็กที่โรงเรียนอีกครั้ง จนเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ทุกคนแห่งบ้านหนองฮีใหญ่จะจดจำไปอีกตราบนานเท่านาน…

หน้าที่