หวานใจนายเรือ

หวานใจนายเรือ (2481/1938) ร.ท. เกษม ยุทธนาวิน ร.น. กับ ร.ต.ชลัชชาญนาวี ร.น. ต้องเดินทางไปฝึกยิงปืนป้อม ณ สถานีฝึกสัตหีบชั่วคราว วันหนึ่ง ขณะที่เกษมกับชลัชเดินเล่นที่ชายหาด ได้ยินเสียงร้องเพลงของหญิงสาว จึงเดินตามหาเสียงนั้น บังเอิญเห็นคนร้ายกำลังฉุดคร่าหญิงเจ้าของเสียง ทั้งสองจึงเข้าไปช่วย และโดนแทงบาดเจ็บ ชายชราคนหนึ่งวิ่งเข้ามาช่วย และพาเกษมไปทำแผลที่บ้าน จึงได้ทราบว่าหญิงสาวนั้นชื่อเพลินใจ อาศัยอยู่กับพ่อคือ พร เพียงสองคน พวกที่เข้ามาทำร้ายตนนั้นคือสมุนของ ทองอ่อน ซึ่งต้องการลายแทงขุมทรัพย์โจรสลัดที่พรครอบครอง จึงมักส่งสมุนมากลั่นแกล้งสองพ่อลูกอยู่เสมอ เกษมติดใจในน้ำเสียงของเพลินใจจึงเสนอให้เพลินใจไปเรียนร้องเพลงที่กรุงเทพ เพื่อให้เพลินใจพ้นน้ำมือของทองอ่อน โดยให้อาศัยอยู่ที่บ้าน พระยาพัศดุนาวา-การ ผู้เป็นบิดาของตน พรมีสีหน้าตกใจเมื่อได้ยินชื่อพระยาพัศดุฯ แต่ก็กำชับบุตรสาวให้อยู่ในโอวาทของท่าน ส่วนตัวเกษมเองต้องฝึกงานอยู่ที่สัตหีบต่อ เพลินใจตั้งใจเรียนร้องเพลงเป็นอย่างดีจนได้สมญานามว่า นักร้องเสียงทอง และเป็นที่หมายปองของ ประกอบ บุตรบุญธรรมของพระยาพัศดุฯ ไม่นาน เกษมก็กลับมารับราชการที่กรุงเทพฯ และเริ่มสนิทสนมกับเพลินใจมากขึ้นทำให้ พิศมัย คู่หมั้นของเกษมเกิดความหึงหวง ทองอ่อนสมคบกับ เถ้าแก่เลี่ยงฮง แซ่อึ้ง เจ้าของเรือตังเก ตามหาขุมทรัพย์โจรสลัด พรเริ่มกังวลว่าทองอ่อนจะรู้ที่ซ่อน จึงปรึกษา ทองต่อ น้องภรรยา ให้ไปเยี่ยมเพลินใจที่บ้านพระยาพัศดุฯ แทน และเล่าความหลังว่าหลังจากภรรยาเสียชีวิตได้ฝาก ประกอบ ลูกชายให้พระยาพัศดุฯ เลี้ยงดู และได้แอบซ่อนสมุดข่อยลายแทงขุมทรัพย์ในห้องเครื่องลายครามที่บ้านพระยาพัศดุฯ เมื่อทองต่อเดินทางมาพักที่บ้านพระยาพัศดุฯ ก็พยายามหาโอกาสขโมยสมุดข่อยแต่โดนประกอบจับได้ จึงต้องบอกความจริงว่าประกอบกับเพลินใจมีความเกี่ยวดองกันและรีบลากลับสัตหีบ พิสมัยร้องขอให้ คุณนายแจ่ม มารดา เร่งรัดการแต่งงานของตนกับเกษม พระยาพัศดุฯ จำต้องแบ่งรับแบ่งสู้ยอมตกลง เพลินใจกลับมาจากเรียนร้องเพลงเผอิญได้ยินสองแม่ลูกกล่าวดูถูกเหยียดหยามตนเอง บังเกิดเป็นความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจจึงเก็บข้าวของกลับมาหาบิดาที่สัตหีบ จากนั้น พร เพลินใจ และทองต่อก็เริ่มออกตามหาขุมทรัพย์ จนในที่สุดก็พบหีบสมบัติบรรจุเพชรนิลจินดาและทองคำมากมายทองอ่อนซึ่งสะกดรอยตามมาจึงแย่งชิงสมบัติไป เกษม ชลัช และประกอบนำเจ้าหน้าที่ไล่ตามทองอ่อนจนทัน เกิดการปะทะกันแต่ก็จับกุมทองอ่อนกับพวกได้สำเร็จ

นักแสดงและทีมงาน

กํากับการแสดง

นักเขียน

สังคามาระตา

บทประพันธ์

ช่างภาพ

อาร์ต

โปรดักชั่น

ข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ : หวานใจนายเรือ
Name : Love in the Navy
จัดจำหน่าย :
วันที่เข้าฉาย : 17 พฤษภาคม 2481 (ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง)
*เพลงประกอบภาพยนตร์
     เพลง เมื่อฉันคอยเธอ YouTube ขับร้องโดย : จำรัส สุวคนธ์
เป็นคนแรกที่รีวิว “หวานใจนายเรือ”

ยังไม่มีรีวิว

หวานใจนายเรือ (2481)