ความรักครั้งสุดท้าย
ความรักครั้งสุดท้าย (2546/2003) “ความรักครั้งสุดท้าย” เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวของชีวิตหญิงสาวผู้อ่อนไหวและโหยหาในความรัก หล่อนเคยมีความรักที่สวยงาม และเมื่อถึงวันที่เหตุการณ์อันสุดจะคาดเดามาถึงชีวิตและครอบครัวที่อบอุ่นกลับแตกร้าว หล่อนเดินจากมาพร้อมกับลูกชายและหญิงอันเป็นที่รัก 3 คน หล่อนตั้งใจว่าจะไม่แต่งงานเป็นหนที่สอง แต่ชะตาก็บันดาลให้หล่อนมาพบกับเขา ความว้าเหว่ทำให้หล่อนคิดว่ารักเขา แต่แล้วโชคชะตาก็กลับมาเล่นตลกกับหล่อน จนในที่สุดความรักและความหวังของหล่อนได้เลือนหายไปอย่างไร้ร่องรอย…
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ผลงานอื่นของ : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี (2557/2014) ในปี พ.ศ. 2129 พระเจ้านันทบุเรง ทรงแค้นเคืองที่ต้องปราชัยต่อ สมเด็จพระนเรศฯ อย่างย่อยยับ ทั้งต้องเสียไพร่พลและพระสิริโฉม จึงระบายความแค้นนั้นไปที่องค์พระสุพรรณกัลยา เมื่อ สมเด็จพระมหาธรรมราชา พระราชบิดาทราบความก็ให้โทมนัสด้วยสำนึกว่าชะตากรรมของพระราชธิดาและแผ่นดินอยุธยาที่ถูกกระทำการย่ำยีก็ด้วยเพราะพระองค์ทรงแปรพักตร์ไปเข้าข้างศัตรู จนตรอมพระทัยเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศฯ ทรงมีพระชนมายุ 31 พรรษา จึงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อจากพระราชบิดา สมเด็จพระมหาธรรมราชา หรือ (สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 1) ข่าวการผลัดแผ่นดินของกรุงศรีอยุธยารู้ไปถึง พระเจ้านันทบุเรง แห่งกรุงหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรสในพระเจ้าบุเรงนอง สำคัญว่าราชอาณาจักรสยาม หรืออาณาจักรอยุธยาจะไม่เป็นปกติสุขเป็นช่องชวนชิงเชิง จึงโปรดให้พระราชบุตร พระมังสามเกียด หรือ(พระมังกะยอขวาที่ 1) พระมหาอุปราชเจ้าวังหน้ากรีฑาทัพไปตีกรุงศรีอยุธยาอีกคำรบ นำกองทัพทหาร 240,000 นาย (สองแสนสี่หมื่นนาย) มาตีกรุงศรีอยุธยาหมายจะชนะศึกในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงทราบว่า พม่ายกทัพใหญ่มาตี จึงทรงเตรียมไพร่พล มีกำลัง 100,000 นาย (หนึ่งแสนนาย) เดินทางออกจากบ้านป่าโมก อ่างทองไปสุพรรณบุรี ข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทอง ลพบุรี และตั้งค่ายหลวงบริเวณหนองสาหร่าย โดย สมเด็จพระนเรศวร โปรดให้ พระราชมนู แต่งพลเป็นทัพหน้าขึ้นไปลองกำลังข้าศึกถึงหนองสาหร่าย ทัพหน้า พระราชมนู ปะทะเข้ากับทัพพม่าถึงขั้นตะลุมบอน แต่กำลังข้าง พระราชมนู น้อยกว่าจึงแตกพ่ายถอยลงมาเป็นอลหม่าน สมเด็จพระนเรศฯ ทราบความจึงออกอุบายให้ทัพข้าศึกไล่เตลิดลงมาจนเสียกระบวนแล้วจึงทรงนำกำลังออกยอทัพข้าศึก ครั้งนั้นพระคชสารทรงของสมเด็จพระนเรศฯ นามเจ้าพระยาไชยานุภาพ และพระคชสารทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถคือเจ้าพระยาปราบไตรจักรต่างตกมัน วิ่งเตลิดแบกพลฝ่าเข้าไปในทัพพม่ารามัญกลางวงล้อมข้าศึก และหยุดอยู่หน้าช้าง พระมังสามเกียดพระมหาอุปราชา พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้กับเหล่าพระยาขุนศึก จึงทราบได้ว่าพระคชสารทรงของสองพระองค์หลงถลำเข้ามาถึงกลางกองทัพข้าศึก และตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึกจึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า "พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้สมพระเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว" พระมังสามเกียดพระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสพระคชสารนามว่า พลายพัทธกอเข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพเสียหลัก พระมังสามเกียดพระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่ สมเด็จพระนเรศวร ทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้น เจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลัก สมเด็จพระนเรศวร ทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูก พระมังสามเกียด พระมหาอุปราชา เข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง ส่วน สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงฟันเจ้าเมืองจาปะโรเสียชีวิตเช่นกัน พม่าจึงยกทัพกลับกรุงหงสาวดีไป นับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเป็นระยะเวลาอีกยาวนาน
เรื่องย่อ : พันท้ายนรสิงห์ (2558/2015) ในปี พ.ศ. 2231 รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตอนปลาย ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับอยู่ที่เมืองลพบุรีและประชวรหนัก หลวงสรศักดิ์ได้จับตัวเจ้าพระยาวิชเยนทร์ไปสำเร็จโทษ และพระเพทราชาได้กำจัดพระปีย์ พระโอรสบุญธรรมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จสวรรคต บรรดาข้าราชการได้อัญเชิญพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม หรือ สมเด็จพระเพทราชา ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) แห่งกรุงศรีอยุธยา ราว พ.ศ. 2246 – 2252 บ้านเมืองวุ่นวายเพราะพระยาราชสงครามรีดไถประชาชนด้วยการอ้างพระบรมราชโองการในการเกณฑ์ช้างม้าวัวควายไปเพื่อเป็นภาษี ส่วนสาววัยรุ่นจะนำไปถวายพระเจ้าเสือ เพื่อเป็นนางสนมในพระราชวัง ส่งผลให้ชาวบ้านทุกทั่วหัวระแหงได้รับความเดือดร้อน ขณะเดียวกันพระพิชัย เจ้าเมืองวิเศษชัยชาญ ก็ได้ตั้งกลุ่มเพื่อต่อต้านการกระทำของขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ด้วยการตั้งตัวเป็นกองโจรเพื่อปล้นเสบียงและผู้หญิงที่ถูกเกณฑ์ไปในวังหลวง ซึ่งหนึ่งในกองโจรนั้นมี สิน ซึ่งชอบช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน สินมีเมียรักชื่อ นวล ที่คอยช่วยเหลือทั้งงานบ้านและการต่อสู้กับทหารที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง เธอเคยรบเร้าให้สินเลิกเป็นโจรหลายครั้งแต่ไม่เป็นผลเนื่องจากสินต้องการสร้างความยุติธรรมให้กับชาวบ้าน ต่อมาพระเจ้าเสือได้ทรงพระราชดำเนินไปตกปลากับขุนนางคนสนิทเป็นการส่วนพระองค์ โดยปลอมตัวเป็นสามัญชนชื่อว่า ทิดเดื่อ ซึ่งนัยหนึ่งพระองค์ต้องการทราบถึงความเป็นอยู่ของชาวบ้าน การเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนั้นได้ปะฝีมือเชิงมวยกับสินผู้เป็นชาวบ้านธรรมดา โดยไม่รู้ว่าคนที่ตนกำลังชกอยู่ด้วยเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่ไม่ทันได้รู้ผลแพ้ชนะก็มีขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวงมาอ่านพระบรมราชองค์การในการเกณฑ์ราษฎรชายไปเป็นทหาร ทำให้พระเจ้าเสือได้รับทราบการทุจริตของข้าราชการและได้พูดคุยกับสินอย่างถูกคอ หลังจากพระเจ้าเสือเสด็จกลับพระราชวังได้มีรับสั่งให้สินเข้ารับราชการในตำแหน่งนายทหารคัดท้ายเรือประจำพระที่นั่งเอกไชยและช่วยเหลืองานราชการในการปราบขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง โดยต่อมาคือ พันท้ายนรสิงห์ จนได้รับคำยกย่องว่าเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดีและรักษาระเบียบวินัย ครั้นพระเจ้าเสือเสด็จประพาสปากน้ำสาครบุรี ซึ่งจะต้องผ่านตำบลโคกขามซึ่งคลองบริเวณดังกล่าวมีความคดเคี้ยวและแคบ ทำให้พระพิชัย และพระพินิจ ทหารเก่าในสมัยพระนารายณ์ที่เกลียดชังพระเจ้าเสือวางอุบายลอบปลงพระชนม์ได้ ขณะเดียวกันนั้นสินที่ได้ล่วงรู้แผนการนี้จึงให้นวลไปขอร้องกับพระพิชัยแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ตนจึงวางแผนบังคับเรือพระที่นั่งให้ชนกับริมตลิ่งเพื่อไม่ให้พระเจ้าเสือเสด็จพระราชดำเนินไปถึงจุดที่กลุ่มชาวบ้านซุ่มอยู่ เมื่อเรือพระที่นั่งเอกไชยมาถึงตำบลโคกขาม สินพยายามคัดท้ายเรือพระที่นั่งจนชนตลิ่ง ทำให้หัวเรือพระที่นั่งเอกไชยหักตกลงไปในน้ำ สินรู้โทษดีว่าความผิดครั้งนี้ถึงประหารชีวิตตามโบราณราชประเพณีซึ่งกำหนดว่าถ้าผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งหักผู้นั้นถึงมรณะโทษให้ตัดศีรษะเสีย สินจึงกราบทูลขอน้อมรับโทษตามพระราชประเพณี พระเจ้าเสือทรงพิจารณาเห็นว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นเหตุสุดวิสัยมิใช่ความประมาทจึงพระราชทานอภัยโทษให้ แต่สินก็กราบบังคมยืนยันให้ตัดศีรษะตนเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมในพระราชกำหนดกฎหมายและเป็นการป้องกันมิให้เกิดข้อติเตียนต่อพระเจ้าอยู่หัวว่าทรงละเลยพระราชกำหนดของแผ่นดิน พระเจ้าเสือไม่ต้องการประหารสินจึงทรงโปรดให้ฝีพายทั้งปวงปั้นมูลดินเป็นรูปสินแล้วให้ตัดศีรษะรูปดินนั้นเพื่อเป็นการทดแทน แต่สินยังคงยืนยันขอให้ตัดศีรษะตน โดยขอให้พระเจ้าเสืออภัยโทษให้แก่กลุ่มผู้ที่ลอบปลงพระชนม์ แม้พระเจ้าเสือจะทรงอาลัยรักน้ำใจพันท้ายนรสิงห์เพียงใดก็ทรงจำพระทัยปฏิบัติตามพระราชกำหนด จึงตรัสสั่งให้เพชฌฆาตประหารพันท้ายนรสิงห์แล้วโปรดให้ตั้งศาลสูงประมาณเพียงตาและนำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกไชยซึ่งหักนั้นขึ้นพลีกรรมไว้ด้วยกันบนศาล ทำให้พระพิชัยที่แอบดูอยู่รู้ความจริงว่าพระเจ้าเสือมิได้เลวร้ายอย่างที่คิด จึงถวายตัว รับใช้พระเจ้าเสือด้วยความซื่อสัตย์ตลอดมา
นักแสดงและทีมงาน
กํากับการแสดง
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
คุณต้อง เข้าสู่ระบบ จึงจะสามารถรีวิวได้

ยังไม่มีรีวิว